Wednesday, June 20, 2007

ไม้พุทธประวัติ..บัว,บัวหลวง

บัว บัวหลวง
Nelumbo nucifera Gaertn.


ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ
ชื่อวงศ์
ชื่อบาลี
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์

ประโยชน์




Nelumbo nucifera Gaertn.
Lotus
Nelumbonaceae

ปทุม (ปะ-ทุ-มะ) ,ปทุโม (ปะ-ทุ-โม), ปุณฑรีก (ปุน-ดะ-รี-กะ), สาลุก (สา-ลุ-กะ)
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ขึ้นในน้ำจืดออกดอกตลอดปี ชอบน้ำสะอาด ลึกพอควร
เพาะเมล็ด ตักแยกไหล เมล็ดบัวแม้ว่าจะร่วงจากฝักนานแล้วก็สามารถเพาะขึ้นได้ (มีอายุระหว่าง 3,000-5,000 ปี นักพฤกษศาสตร์นำไปเพาะเลี้ยงอยู่ 18 เดือน จึงออกดอก)
อาหาร ใบอ่อนยังไม่คลี่เป็นผัก เหง้าใช้เป็นอาหาร ต้มกับหมู ทำน้ำดื่มสมุนไพร ใช้เชื่อม ไหลใช้เป็นผัก ฝักบัวใช้เป็นอาหาร เมล็ดใช้เป็นอาหารหวานคาว ทำแป้ง ทางยา เหง้าบัวหลวงเป็นยาเย็น ดีบัว (ต้นอ่อนที่อยู่ในเมล็ดบัว) มีสารเป็นอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์ขยายเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เกสรบัว (จากดอกชนิดทรงสลวย) เป็นส่วนของเกสรตัวผู้ ใช้ร่วมกับดอกไม้อื่นๆ เรียกรวมว่า เกสรทั้ง 5 ทั้ง 7 ทั้ง 9 เกสรทั้ง 5,7,9 นี้ ใช้เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ



บัวหลวง ในพุทธประวัติ ตอนแรกกล่าวถึงสุบินนิมิตของพระนางสิริมหามายาว่า มีพระเศวตกุญชรใช้งวงจับดอกบัวหลวงสีขาวที่เพิ่งบานใหม่ๆ ส่งกลิ่นหอมตรลบ และทำประทักษิณสามรอบ แล้วจึงเข้าสู่พระครรภ์พระนางสิริมหามายาด้านข้าง ในขณะนั้นได้เกิดบุพนิมิตขึ้น 32 ประการ ประการหนึ่งเกี่ยวกับดอกบัว คือมีดอกบัวปทุมชาติห้าชนิด เกิดดารดาษไปในน้ำและบนบกอย่างหนึ่ง มีดอกบัวปทุมชาติ ผุดงอกขึ้นมาจากแผ่นหินแห่งละเจ็ดดอกอย่างหนึ่ง และต้นพฤกษาลดาชาติทั้งหลาย ก็บังเกิดดอกปทุมชาติออกตามลำต้นและกิ่งก้านอีกอย่างหนึ่ง
ตอนประสูติ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติที่สวนลุมพินี ทรงบ่ายพระพักตร์ไปทางทิศอุดร และย่างพระบาทไป 7 ก้าว มีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับ 7 ดอก ต่อมาเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเจริญพระชนมายุได้ 7 พรรษา พระราชบิดาโปรดให้ขุดสระโบกขรณี 3 สระ สำหรับพระราชโอรสทรงลงเล่นน้ำ โดยปลูกอุบลบัวขาบสระหนึ่ง ปลูกปทุมบัวหลวงสระหนึ่ง และปลูกบุณฑริกบัวขาวอีกสระหนึ่ง
อีกตอนกล่าวว่า ครหพินน์เจ็บใจที่สิริคุตถ์หลอกเดียรถีย์อาจารย์ ให้ตกลงในหลุมอุจจาระ จึงคิดแก้แค้นแก่พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นอาจารย์สิริคุตถ์เคารพเลื่อมใสมาก โดยล่อให้ตกลงในหลุมที่ก่อไฟด้วยไม้ตะเคียน เมื่อพระพุทธองค์ย่างพระบาทลงในหลุมเพลิง ก็พลันมีดอกบัวผุดขึ้นและรองรับพระบาทไว้มิให้เกิดอันตรายใดๆ ทั้งสิ้น
เมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงพิจารณาถึงธรรมะที่ได้ทรงตรัสรู้ว่าเป็นธรรมะอันล้ำลึกยากที่ชนผู้ยินดีในกามคุณจะรู้ตามได้ แต่ผู้ที่มีกิเลสเบาบางอันอาจรู้ตามก็มี จึงเกิดอุปมาเวไนยสัตว์เหมือน "ดอกบัว" ว่า เวไนยสัตว์ย่อมแบ่งออกเป็นสี่เหล่า คือ
เหล่า 1 อุคคติตัญญูบุคคล คือผู้ที่มีกิเลสน้อย เบาบาง มีสติปัญญาแก่กล้า เปรียบเสมือนดอกปทุมชาติที่โผล่พ้นเหนือพื้นน้ำขึ้นมา พอสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์ก็จะบานทันที
เหล่า 1 วิปัจจิตัญญบุคคล ผู้ที่มีกิเลสค่อนข้างน้อย มีอินทรีย์ปานกลางถ้าได้ทั้งธรรมคำสั่งสอนอย่างละเอียด ก็สามารถรู้แจ้งเห็นธรรมวิเศษได้ เปรียบเสมือนดอกบัวที่เจริญเติบโตขึ้นมา พอดีกับผิวน้ำจักบานในวันรุ่งขึ้น
เหล่า1 เนยยบุคคล ผู้ที่มีกิเลสยังไม่เบาบาง ต้องหมั่นศึกษาพากเพียรเล่าเรียน และคบกัลยาณมิตร จึงสามารถรู้ธรรมได้ เปรียบเสมือนดอกบัวที่ยังจมอยู่ในน้ำ คอยเวลาที่จะโผล่ขึ้นมาจากน้ำ และจะบานในวันต่อๆ ไป
เหล่า 1 ปทปรมบุคคล ผู้ที่มีกิเลสหนา ปัญญาทึบหยาบ หาอุปนิสัยไม่ได้เลย ไม่สามารถจะบรรลุธรรมวิเศษได้ เปรียบเสมือนดอกบัวที่เติบโตและจมอยู่ใต้น้ำ ไม่สามารถที่จะโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำได้ จะอยู่ได้เพียงใต้น้ำและเป็นอาหารของเต่า ปู และปลา
จะเห็นว่า บัวเป็นดอกไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาหลายๆตอน ชาวพุทธนิยมใช้ดอกบัวบูชาพระรัตนตรัย มาตั้งแต่โบราณกาล ประเทศไทยใช้บัวเป็นดอกไม้ประจำพระพุทธศาสนา



บัวหลวง เป็นไม้อยู่ในสกุล " Nelumbo " ในวงศ์ " Nelumbonaceae "
ลักษณะ บัวหลวงเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน เหง้า จะมีลักษณะเป็นท่อนยาว มีปล้องสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลือง แข็งเล็กน้อย ถ้าตัดตามขวางจะเป็นรูกลมๆ หลายรู ไหลจะเป็นส่วนที่เจริญไปเป็นต้นใหม่ ใบ ใบเดี่ยรูปโล่ ออกสลับ แผ่นใบจะชูเหนือน้ำ รูปใบเกือบกลม ขนาดใหญ่ ขอบเรียบและเป็นคลื่น ผิวใบมีนวล ก้านใบแข็งเป็นหนาม ถ้าตัดตามขวางจะเห็นเป็นรูภายใน ก้านใบมีน้ำยางขาว เมื่อหักจะมีสายใยสีขาว ใบอ่อนสีเทานวล ปลายม้วนงอขึ้นทั้งสองด้าน ก้านใบจะติดตรงกลางแผ่นใบ ดอก เดี่ยว มีสีขาว สีชมพู กลิ่นหอม บัวหลวงจะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมืนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4- 5 กลีบ ขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว หรือสีเทาอมชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกมีจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนมากสีเหลือง ปลายอับเรณูมีระยางคล้ายกระบองเล็กๆ สีขาว เกสรตัวเมียจะฝังอยู่ในฐานรองดอกรูปกรวยสีเหลืองนวล ผล รูปกลมรีสีเขียวนวล มีจำนวนมาก ฝังอยู่ในส่วนที่เป็นรูปกรวย เมื่ออ่อนมีสีเหลือง รูปกรวยนี้เมื่อเป็นผลแก่จะขยายใหญ่ขึ้นมีสีเทาอมเขียว ที่เรียกว่า "ฝักบัว" มีผลสีเขียวอ่อนฝังอยู่เป็นจำนวนมาก


ปทุมชาติ
ัวหลวง Nelumbo nucifera Gaertn.





แบ่งออกเป็น
บัวหลวงพันธุ์ดอกสีชมพู

  • ชนิดทรงสลวย รูปดอกจะเป็นพุ่มทรงสูง กลีบดอกสีชมพู ซ้อนกันหลายชั้น แต่ละกลีบโค้ง มีเกสรตัวผู้สีเหลืองเป็นจำนวนมาก ถัดเข้าไปตรงกลางเป็นส่วนฐานรองดอก จะขยายเป็นรูปกรวยสีเหลือง เป็นส่วนที่ไข่จะฝังอยู่ และไข่จะเจริญไปเป็นผลบัวและฝังอยู่บนฝักบัว บัวชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า "ปทุม ปัทมา โกกระนต โกกนุต"

  • ชนิดทรงป้อม ดอกตูมจะมีทรงอ้วนป้อม ไม่สลวยเหมือนชนิดแรก เมื่อดอกบานจะเห็นมีกลีบเล็กๆ สั้นๆ สีขาวปนชมพูซ้อนอยู่ข้างใน และอยู่ปนกับเกสรตัวผู้ใกล้กับรูปกรวย ซึ่งจะเจริญไปเป็นฝักบัว ส่วนกลีบดอกชั้นนอก 2-3 ชั้น จะคล้ายกับชนิดแรก แต่กลีบจะสั้นป้อมกว่า บัวหลวงทรงป้อมนี้มักไม่ติดเมล็ด ชนิดนี้เรียกว่า บัว"สัตตบงกช"

  • ชนิดดอกเล็ก ชนิดนี้กลีบดอกสีชมพู รูปร่างเหมือนทรงสลวย แต่จะย่อส่วนลง ใบ ดอก เล็กลงประมาณ 3 เท่า มีผู้รู้กล่าวว่าพันธุ์นี้น่าจะนำมาจากจีน จึงมีชื่อเรียกว่า "บัวหลวงจีน บัวปักกิ่ง บัวเข็ม บัวไต้หวัน" มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า " Nelembo nucifera var.pekinese"

    บัวหลวงพันธุ์ดอกสีขาว

  • ชนิดทรงสลวย จะมีรูปร่าง ขนาดดอกเหมือนกับบัวปทุม แต่กลีบดอกเป็นสีขาว บัวชนิดนี้เรียกว่า "บุณฑริก"

  • ชนิดทรงป้อม จะมีรูปร่างเช่นเดียวกับสีชมพูทรงป้อม หรือ สัตตบงกช ชนิดนี้จะหอมมาก แต่กลีบดอกเป็นสีขาวเรียกว่า "สัตตบุษย์"

กล่าวถึงบัวในเชิงศิลปะ

ดอกบัวหลวงเป็นต้นเค้าของพุทธศิลปไทย ใช้เป็นองค์ประกอบเชิงศิลปที่นิยมทำเป็นรูปรองรับพระพุทธปฏิมากร สถูปเจดีย์ อาคารที่สร้างขึ้นสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์ อาคารสำหรับสถาบันทางพุทธศาสนา เทวรูป และเครื่องราชูปโภค ฯลฯ

ศัพท์ที่กล่าวกับบัวในศิลปะ

เช่น บัวกระจับ บัวหัวเสา เป็นต้น

บัวเป็นชื่อจังหวัดและชื่ออำเภอของประเทศไทย

ที่เป็นชื่อจังหวัดและยังใช้เป็นตราประจำจังหวัดด้วย ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี อุบลราชธานี และหนองบัวลำภู มีชื่ออำเภอหลายแห่งที่มีคำว่า "บัว" เช่น อำเภอบางบัวทอง อำเภอลาดบัวหลวง ฯลฯ และยังเป็นตราของกระทรวงต่างประเทศ คือ "ตราบัวแก้ว"

บัวในเงินตรา ดวงตรา

เงินตราทวาราวดี ซึ่งเป็นเงินเหรียญมีรูปร่างต่างๆ ผสมกัน เช่น รูปสังข์ "รูปกระต่ายบนดอกบัว" ฯลฯ
เงินตรากรุงศรีอยุธยา เป็นเงินพดด้วง ส่วนใหญ่ตีตราธรรมจักร และตราประจำรัชกาล เช่น ครุฑ ช้าง "ดอกบัว" ฯลฯ
เงินตรากรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 เป็นเงินพดด้วง ตราจักร มีตราประจำรัชกาล เป็น "บัวผัน" หรือ "บัวอุณาโลม"


ไม้พุทธประวัติ...ใบไม้สีทอง(แถม)

ใบไม้สีทอง
Bauhinia aureifolia K.&S.S.Larsen


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia aureifolia K.&S.S.Larsen
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : ใบไม้สีทอง , เถาใบสีทอง, ย่านดาโอ๊ะ


ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะม้วนงอ เลื้อยขึ้นไปคลุมตามเรือนยอดของต้นไม้ใหญ่ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปเกือบกลม ปลายใบหยักเว้าเป็นแฉกลึก 2 แฉก โคนใบเว้าหยักคล้ายรูปหัวใจ ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง หรือขนสีทองแดงเป็นมันคล้ายเส้นไหมปกคลุมหนาแน่น ดอกมีกลิ่นหอม ออกบนช่อแตกแขนงสั้นๆ ตามปลายกิ่ง กลีบดอก ๕ กลีบ รูปใบพาย สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีนวล ผลเป็นฝักแบนยาวคล้ายดาบ เมื่อแก่จะแตกออกมี ๖-๘ เมล็ด
เขตกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิด : พบเฉพาะในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลา ขึ้นตามที่โล่งริมลำธารในป่าดิบชื้น อุทยานแห่งชาติน้ำตกบาโจ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ระดับความสูง ๕๐-๒๐๐ เมตร ออกดอกและผลเดือน สิงหาคม – ธันวาคม
สถานภาพ : พืชถิ่นเดียวและพืชหายากในสภาพธรรมชาติ ปัจจุบันนำมาขยายพันธุ์และปลูกเป็นไม้ประดับกันบ้าง แต่ยังไม่แพร่หลาย



ไม้พุทธประวัติ...หญ้้าแพรก

หญ้าแพรก
Cynodon dactylon Pers.


ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ชื่อวงศ์
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์

หญ้าแผด (ภาคเหนือ), หนอเก่เด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
สทฺทล (สัด-ทะ-ละ), สทฺทโล (สัด-ทะ-โล), หริต (หะ-ริ-ตะ)
Cynodon dactylon Pers.
Bermuda grass, Bahama grass, Dub grass,Florida grass,Scutch grass,Lawn grass,Dog's tooth grass
Gramineae
(Poaceae)
เอเชีย ยุโรป
ขึ้นตามที่รกร้าง และที่โล่งทั่วๆ ไป
เพาะเมล็ด
ยาต้มของต้นหญ้าแพรกใช้แก้ท้องเดินเรื้อรัง ยาต้มของรากใช้ขับปัสสาวะ ทั้งต้นสดใช้ในพิธีไหว้ครู ร่วมกับดอกเข็มและดอกมะเขือ



หญ้าแพรก ในพุทธประวัติกล่าวว่าพระสิทธัตถะได้ทรงพระสุบิน ก่อนที่จะสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณคำรบสองว่า ต้นหญ้าแพรกต้นหนึ่ง ได้ขึ้นแต่พื้นพระนาภี และเจริญสูงขึ้นไปจนจดคัดนาดลนภากาศ ซึ่งทำนายว่าการที่หญ้าแพรกงอกจากพระนาภี สูงไปจดอากาศนั้น เป็นบรรพนิมิตที่ได้ตรัสเทศนาพระอริยมรรคมีองค์ 8 (อัฏฐังคิกมรรค) แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งปวง
หญ้าแพรก เป็นหญ้าชนิดหนึ่งในสกุล " Cynodon " และอยู่ในวงศ์เดียวกับอ้อย ไผ่ คือวงศ์ "Gramineae " หรือ "Poaceae"
ลักษณะ เป็นต้นหญ้าขนาดเล็ก ชอบเลื้อยแผ่ไปตามดิน แตกแขนงออก และมีรากงอก ใบ เดี่ยว ขนาดเล็กออกสลับ ดอก ช่อ ขนาดเล็กสีเขียวหรือสีม่วง ก้านช่อดอกออกตรงข้อ



ไม้พุทธประวัติ..หญ้ากุศะ

หญ้ากุศะ
Desmostachy bipinnata Stapf.


ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อพ้อง
ชื่อสามัญ

ชื่อวงศ์
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์

กุศะ (ไทย)
กสะ (กะ-สะ), กุส (กุ-สะ) ,กุโส (กุ-โส), พริหิส (พะ-ริ-หิ-สะ), ทพฺภ (ทับ-พะ)
Desmostachy bipinnata Stapf
Poa cynocuroides Retz.
Kush, Kusha grass
Gramineae
(Poaceae)
เนปาล อินเดีย
ขึ้นตามที่รกร้างและที่โล่งๆ ทั่วไป
เพาะเมล็ด แยกกอ
ทั้งต้นใช้เป็นยาฝาดสมาน ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ รากมีรสหวานเป็นยาเย็น แก้อาการกระหายน้ำ


หญ้ากุศะ เป็นหญ้าชนิดหนึ่งซึ่งถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก ในพุทธประวัติกล่าวไว้ว่า พระสิทธัตถะได้รับหญ้ากุศะ 8 กำ จากโสตถิยะพราหมณ์ นำเอามาทรงลาดต่างบัลลังก์ ภายใต้ควงศรีมหาโพธิ พอรุ่งอรุณก็ได้สำเร็จพระโพธิญาณ และต่อมาก็ได้ทรงชนะมารบนบัลลังก์หญ้ากุศะนี้ หญ้านี้จึงเป็นหญ้าที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง
หญ้ากุศะ เป็นพืชในวงศ์เดียวกับไม้ไผ่และหญ้าอื่นๆ คืออยู่ในวงศ์ " Gramineae " หรือ " Poaceae "
ลักษณะหญ้ากุศะ เป็นหญ้าชนิดหนึ่งชอบขึ้นในที่แห้งแล้ง และขึ้นตามริมฝั่งแม่น้ำ เป็นหญ้าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก ใช้ในทางศาสนา ในงานมงคล เช่น การแต่งงาน ฯลฯ ชอบขึ้นเป็นกอ เหง้าใหญ่อวบ ใบ รูปยาวแหลมเหมือนหอก ขอบใบแหลมคม ดอก ช่อ รูปปิรามิด หรือเป็นแท่งตั้งตรง แข็ง สีน้ำตาลอ่อน ดอกจะออกตลอดฤดูฝน

ไม้พุทธประวัติ...มณฑา

มณฑา
Talauman candollei Bl.


ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ชื่อวงศ์
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์

จอมปูน จำปูนช้าง (สุราษฎร์ธานี), มณฑา (สตูล), ยี่หุบ(ภาคกลาง,ภาคเหนือ)
มณฺฑารวะ (มัน-ทา-ระ-วะ), มนฺทารโว (มัน-ทา-ระ-โว)
Talauma candollei Bl.
Magnolita
Magnoliaceae
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชอบแดดรำไร ในประเทศไทยขึ้นได้ดีทางภาคใต้ ที่มีความสูง 50-400 เมตรจากระดับน้ำทะเล
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง
ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้ดอกหอม


มณฑา ในพุทธประวัติกล่าวว่า พระมหากัสสปะเถระ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์บริวาร 500 รูป จะเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่กรุงกุสินารา ได้หยุดพักอยู่ข้างทาง เห็นอาชีวกผู้หนึ่งถือดอกมณฑามาแต่เมืองกุสินารา โดยเอาไม้เสียบดอกมณฑาเข้าเป็นคันกั้นต่างร่มเดินสวนทางมา พระมหากัสสปะเห็นดังนั้นก็สงสัยมาก เพราะดอกมณฑาเป็นดอกไม้ที่มิได้มีในมนุษยโลก แต่ปรากฎเฉพาะตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ครรภ์พระมารดา หรือเมื่อประสูติออกสู่มหาภิเนษกรมณ์อภิสมโพธิ ตรัสเทศนาพระธรรมจักรกระทำยมกปาฏิหาริย์ เสด็จจากเทวโลก กำหนดปลงพระชนมายุสังขาร จึงจะบันดาตกลงมาจากเทวโลก แต่บัดนี้มีดอกมณฑาปรากฎ หรือพระพุทธเจ้าจะเข้าสู่ปรินิพพานเสียแล้ว จึงเข้าไปถามอาชีวกผู้นั้น และได้ทราบว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จสู่ปรินิพพานมาแล้ว 7 วัน พระมหากัสสปะจึงพาพระภิกษุสงฆ์รีบเดินทางไปสู่นครกุสินารา



มณฑา เป็นไม้พุ่ม อยู่ในสกุลเดียวกันกับบุณฑา ยี่หุบปรี คือสกุล " Talauma " ในวงศ์เดียวกันกับพวกจำปา จำปี คือวงศ์ " Magnoliaceae"
มณฑาเป็นไม้พุ่ม ใบ เดี่ยว ออกสลับ รูปใบหอกขนาดใหญ่ เนื้อใบค่อนข้างเหนียว แผ่นใบมักเป็นคลื่นหรือเป็นลอน ดอก เดี่ยว สีเหลืองอ่อนขนาดใหญ่ ออกตามซอกใบ ใกล้ๆ ปลายกิ่ง ดอกรูปไข่แหลมหัวแหลมท้าย มักห้อยลง กลีบเลี้ยง 3 กลีบ สีเขียวอ่อนอมเทา หนาแข็ง กลีบดอก 6 กลีบ สีเหลืองอ่อน แข็ง จัดเป็น 2 ชั้น เกสรตัวผู้และตัวเมียมีจำนวนมาก ผล เป็นผลกลุ่ม ดอกจะบานในเวลาเช้าตรู่ มีกลิ่นหอมแรง

ไม้พุทธประวัติ...สมอ

สมอ
Terminalia chebula Retz.


ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ชื่อวงศ์
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์


สมอไทย,สมออัพยา(ภาคกลาง),ม่าแน่(กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)ลหมากแน่ะ

(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
หรีตก (หะ-รี-ตะ-กะ), หรีตกี (หะ-รี-ตะ-กี), หรีตโก (หะ-รี-ตะ-โก),
อภยา (อะ-พะ-ยา)
Terminalia chebula Retz.
Myrobalan Tree,Chebulic Myrobalan, Ink Nut
Combretaceae
อินเดีย พม่า ไทย
ชอบขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง และชื้น ในทุกภาคของประเทศไทย
เพาะเมล็ด
ผลดิบเป็นยาระบาย ขับเสมหะ แก้บิด แก้ไข้ ผลแก่จัดเป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเดิน เนื้อไม้ทำเสา รอด ตง คาน สร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน ทำเกวียน คราด ครก สาก ฯลฯ เปลือกต้น ผล ย้อมผ้าและอวน แห ให้สีเขียว ผลสดทำน้ำปานะ ใช้แช่อิ่ม และเป็นผักจิ้มน้ำพริก



สมอ เป็นไม้ต้น ในพุทธประวัติกล่าวว่า ขณะที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับเสวยวิมุตผลสุขสมบัติอยู่ใต้ต้นไม้ พระอินทร์ทรงเห็นว่า พระพุทธองค์ควรเสวยพระกระยาหาร จึงนำผลสมอทิพย์มาถวาย เมื่อเสวยแล้วจะช่วยให้ลดอาการกระหายน้ำและช่วยระบายด้วย




สมอ เป็นพืชในสกุลเดียวกันกับสมอพิเภก สมอดีงู หูกวาง ฯลฯ คือสกุล " Terminalia " และอยู่ในวงศ์ " Combretaceae "
ลักษณะ สมอ เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ผลัดใบ ลำต้น เปลาตรง เปลือกต้นขรุขระ สีน้ำตาลแก่ค่อนข้างดำ ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปไข่ บริเวณขอบใบใกล้ๆ โคนใบจะมีตุ่มหูดหนึ่งคู่ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ดอก ช่อ ยาว ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ผล รูปเกือบกลม มีสัน 5 สัน ช่อผลห้อยลง ผลแก่สีเขียวอมเหลือง ผลแห้งสีดำ มี 1 เมล็ด

ไม้พุทธประวัติ...จันทร์แดง

จันทน์แดง
Pterocarpus santalinus Linn.filius.


ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ชื่อวงศ์
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์


จันทน์แดง (ทั่วไป)
รตฺตจนฺทน (รัต-ตะ-จัน-ทะ-นะ), รตฺตจนฺทนํ (รัต-ตะ-จัน-ทะ-นัง), สีสก (สี-สะ-กะ)
Pterocarpus santalinus Linn. filius.
Red Sandal Wood, Red Santal, Ruby Wood,Chandam, Red Saunders,
Santalum Rubrum
Papilionaceae
อินโดจีนและตอนใต้ของอินเดีย
ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
ในแก่นมีสารสีแดง ชื่อ "santalin" เป็นสีที่ละลายในแอลกอฮอล์ ใช้แต่งสีในยาบางชนิด


จันทน์แดง เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ในพุทธประวัติกล่าวว่า มีเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ ได้ปุ่มไม้จันทน์แดง จึงนำมาทำเป็นบาตร แล้วนำไปแขวนไว้บนยอดเสา ซึ่งทำขึ้นจากไม้ไผ่ต่อๆกันจนสูงถึง 60 ศอก และประกาศว่าผู้ใดสามารถเหาะมาเอาบาตรไปได้ จะเชื่อว่าผู้นั้นเป็นองค์อรหันต์ พระปิณโฑลภารทวาชเถระได้แสดงปาฏิหาริย์ไปนำเอาบาตรมาได้ ความทราบถึงพระพุทธเจ้า ทรงตำหนิในการกระทำเช่นนั้นแล้วทำลายบาตรให้เป็นจุล แจกให้พระสงฆ์ทั้งหลายบดใช้เป็นโอสถใส่จักษุ และทรงมีบัญญัติห้ามมิให้สาวกกระทำปาฏิหาริย์สืบไป
จันทน์แดง เป็นพืชในสกุล " Pterocarpus " ได้แก่พวกประดู่ ประดู่ป่า อยู่ในวงศ์ " Papilionaceae "
ลักษณะ จันทน์แดงเป็นไม้ใหญ่ แตกกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยรูปไข่ปลายใบเว้าเข้า ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก สีเหลือง รูปดอกเหมือนรูปดอกถั่ว ผล กลมแห้งเป็นฝัก ภายในมี 2 เมล็ด

ไม้พุทธประวัติ....ฝ้าย

ฝ้าย
Gossypium barbadense Linn.


ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ชื่อวงศ์
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์


ฝ้ายเทศ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ฝ้ายชัน (ลำปาง), ฝ้ายดอก (เชียงใหม่)
กปฺปาสิ (กับ-ปา-สิ), กปฺปาส (กับ-ปา-สะ), กปฺปาสี (กับ-ปา-สี), กปฺปาโส(กับ-ปา-โส), พทรา(พะ-ทะ-รา)
Gossypium barbadense Linn.
Cotton, Sea Iceland Cotton
Malvaceae
พบในทวีปอเมริกาใต้
ขึ้นตามที่รกร้างทั่วๆ ไป
เพาะเมล็ด
เปลือกรากฝ้ายเป็นยาบีบมดลูก ปุยฝ้ายทำสำลีและอุปกรณ์ใช้ในทางการแพทย์ และใช้เตรียมเป็นยาแผนปัจจุบันหลายชนิด น้ำมันเมล็ดฝ้ายใช้เป็นน้ำมันหุงต้มแต่ต้องเอาสารบางชนิดออกก่อน



ฝ้าย ตามพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้า ได้ทรงส่งสาวก ซึ่งสำเร็จเป็นพระอรหันต์ชุดแรกจำนวน 60 องค์ ไปโปรดเวไนยสัตว์แล้ว พระพุทธองค์ได้เสด็จอุรุเวลาประเทศ ครั้นถึงไร่ฝ้ายจึงหยุดยังรุกขมูล (โคนต้นไม้) ฝ้ายต้นหนึ่ง
ปัจจุบัน ฝ้ายที่ใช้เก็บสมอฝ้ายในทางการเกษตร นักวิชาการพยายามผสมพันธุ์ให้ลำต้นเตี้ยลงและมีผลดก เพื่อสะดวกในการเก็บสมอฝ้าย ในอดีตต้นฝ้ายน่าจะมีขนาดใหญ่มาก จึงสามารถเข้าไปอาศัยใต้ร่มเงาของต้นได้



ฝ้าย เป็นไม้สกุลเดียวกับฝ้ายตุ่น คือสกุล " Gossypium " และอยู่ในวงศ์ " Malvaceae "
ลักษณะ ฝ้ายเป็นไม้พุ่ม ลำต้น มีสีน้ำตาลแดงอาจเป็นเหลี่ยม ใบ เดี่ยว รูปไข่กว้าง ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก 3-5 หยัก ฐานใบเป็นรูปหัวใจ ก้านใบค่อนข้างยาว ดอก เดี่ยว มีใบประดับ 5 กลีบติดกัน กลีบดอกสีเหลือง ผล กลมปลายยาวแหลม เมล็ด รูปไข่ มีขนสีขาวยาว 3.7-5 เซนติเมตร รอบๆ เมล็ด


ไม้พุทธประวัติ...ไผ่

ไผ่
Bambusa spp.





ชื่อพื้นเมือง* แตกต่างกันไปตามชนิดของไผ่
ชื่อบาลี * แตกต่างกันไปตามชนิดของไผ่
ชื่อวิทยาศาสตร์* แตกต่างกันไปตามชนิดของไผ่
ชื่อสามัญ Bamboo
ชื่อวงศ์ Gramineae (Poaceae)
ถิ่นกำเนิด ส่วนใหญ่ในเขตร้อน เช่น อินเดีย ไทย ฯลฯ ในเขตอบอุ่นมีบ้าง
สภาพนิเวศน์ พบตามป่าที่ระดับต่ำกว่า 300 เมตร
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด แยกเหง้า ปักชำต้นที่มีข้อติดอยู่ด้วย
ประโยชน์ ใบปรุงเป็นยาขับฟอกระดู ใบต้มกับน้ำขับพยาธิ ตาใบผสมกับพริกไทยดำและเกลือเล็กน้อยใช้ขับพยาธิ รากใช้รักษาเกลื้อน ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะและแก้หนองใน (รากไผ่นิยมใช้รากไผ่รวก) หน่อไม้ใช้เป็นอาหาร ผลหุงรับประทานเหมือนข้าว ไม้ไผ่ ใช้จักสาน สร้างบ้าน ทำหมวก ทำตอกเย็บของ ฯลฯ


ไผ่ มีความสำคัญในพุทธประวัติมาก เพราะเป็นพระอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนาเรียก "เวฬุวนาราม" โดยพระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ถวาย ต่อมาพระอรหันต์ (พระขีณาสพ) จำนวน 1,250 รูป ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ อารามแห่งนี้โดยมิได้มีการนัดหมาย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนสาม พระพุทธองค์ได้ถือเอาวันนี้เป็นวันประกาศหลักสามประการของพระพุทธศาสนาเรียกว่า "โอวาทปาฏิโมกข์" ชาวพุทธทั้งหลายจึงถือวันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา นั่นคือ "วันมาฆะบูชา" สืบเนื่องกันมาตราบเท่าทุกวันนี้



ไผ่ มีจำนวนมากมายหลายสกุลหลายชนิด ทั่วโลกน่าจะมีมากกว่า 1,000 ชนิด ในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 50 ชนิด
ไผ่ เป็นพืชที่มีสกุลหลายสกุล และหลายชนิด เป็นพืชในวงศ์เดียวกับหญ้า ข้าว คือวงศ์ " Gramineae" หรือ " Poaceae "
ลักษณะ เป็นพืชที่มีเนื้อไม้แข็ง ความสูงแล้วแต่ชนิด อาจสูงได้ถึง 30 เมตร ขึ้นรวมกันเป็นกอใหญ่ มีเหง้าใต้ดินมีลักษณะแข็ง ลำต้น ตรง มีข้อและปล้องชัด มีกาบแข็งสีฟางหุ้ม (culm sheath) มีตาที่ข้อ ปล้องกลวง ไผ่ที่มีลำโตที่สุดมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร ปล้องยาวประมาณ 60 เซนติเมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับ รูปหอก หรือรูปขอบขนาน ปลายเรียวแหลม ขอบใบสากคายมีขนทั่วไป ดอก ช่อยาวออกตามซอกใบ และปลายกิ่ง ผล มีขนาดเล็กมาก มี 1 เมล็ด ไผ่ออกดอกแล้วต้นจะตาย


* ชื่อพื้นเมือง ชื่อวิทยาศาสตร์ และชื่อสามัญ แตกต่างกันไปในแต่ละชนิด เช่น

ชื่อพื้นเมือง
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ไผ่ป่า ,ไผ่หนาม
Bambusa arundinacea Willd.
Thorn Bamboo, Spiny Bambo



ชื่อพื้นเมือง
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ไผ่งาช้าง
Bambusa vulgaris schrad.
Feathery Bamboo



ชื่อพื้นเมือง
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ไม้ซาง
Dendrocalamus strictus Nees
Male Bamboo



ชื่อพื้นเมือง
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ไผ่เหลือง
Phyllostachys aurea Riv.
Yellow Bamboo



ทุกชนิดอยู่ในวงศ์ Gramineae (Poaceae) ชื่อบาลี เวฬุ (เว-รุ), ตจสาโร (ตะ-จะ-สา-โร), เวณุ (เว-นุ), วํ โส (วัง-โส)

ไม้พุทธประวัติ...มะตูม

มะตูม
Aegle marmelos Corr.


ชื่อพื้นเมือง

ชื่อบาลี

ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ชื่อวงศ์
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์





กะทันตาเถร ตุ่มตัง ตูม (ปัตตานี),พะโนงค์(เขมร),มะปิน (ภาคเหนือ), มะปีส่า(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
มาลุร (มา-ลุ-ระ), เพลุว (เพ-ลุ-วะ),พิลฺโล (พิน-โล),เวฬุว (เว-ลุ-วะ), มาลูร (มา-ลู-ระ), มาลุโร (มา-ลุ-โร)
Aegle marmelos Corr.
Bengal Quince, Bael Fruit Tree, Bilak Bael, Elephant Apple, Bel Apple
Rutaceae
อินเดีย และในประเทศไทย
ป่าเบญจพรรณและป่าทั่วๆไป ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 50-700 เมตร
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง สัตว์ป่าบางชนิดช่วยแพร่พันธุ์ได้
ผลดิบฝานทำให้แห้ง คั่ว ใช้ชงน้ำดื่ม แก้อาการท้องเสีย แก้บิด ผลสุกเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยย่อย ใบสดคั้นน้ำกิน ลดอาการหลอดลมอักเสบ เปลือกรากและเปลือกต้น รักษาไข้มาเลเรีย ใบสดเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพราหมณ์ ช้ในพิธีสำคัญต่างๆ เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานใบมะตูมสดแก่คู่บ่าวสาวในสมรสพระราชทานหรือพระราชทานแก่นักเรียนทุนอานันทมหิดล ที่กราบบังคมทูลลาไปศึกษาต่อ เป็นต้น ใบสด ใช้ตำใส่แกงบวน ผลดิบใช้เชื่อม ผลสุกเป็นผลไม้และใช้ทำน้ำปานะ ยางจากผลดิบผสมสีทากระดาษ

ใช้แทนกาว



มะตูม ในพุทธประวัติ ตอนที่พระพุทธเจ้าประทับ ณ นิโครธาราม เขตกบิลพัสดุ์ เช้าวันหนึ่ง พระพุทธองค์เสด็จเข้าสู่พระนครกบิลพัสดุ์ เพื่อบิณฑบาต เมื่อเสด็จกลับได้เสด็จเข้าไปยังป่ามหาวันเพื่อทรงพักผ่อนในเวลากลางวัน และทรงประทับ ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม





มะตูมเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์เดียวกับพืชพวก ส้ม มะนาว คือวงศ์ "Rutaceae"
ลักษณะ เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ ลำต้น กิ่งมีหนามแหลมคมยาว เปลือกสีเทาอมขาว มักแตกเป็นแผ่นๆ ห้อยย้อยลง ใบ เป็นใบประกอบ เรียงสลับ ใบย่อยรูปวงรีหรือรูปไข่แกมใบหอก ขอบใบหยักมน แต่ละใบประกอบมีใบย่อย 3 ใบ สองใบด้านข้างขวาซ้ายมีขนาดเล็กและอยู่ตรงข้าม ส่วนใบตรงกลางมีขนาดใหญ่กว่าสองใบข้างๆ หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบสีเขียวอ่อน ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีนวลถึงสีเหลือง มีกลิ่นหอม มี 5 กลีบ เกสรตัวเมียมีจำนวนมาก ผล รูปไข่ หรือทรงกลม เปลือกนอกแข็ง มีขนาดใหญ่ เนื้อในสีเหลือง มีเนื้อเยื่อสีเหลืองที่มีน้ำยางเหนียวๆ ใสและมีเมล็ดรูปรีฝังอยู่ในน้ำยางนี้เป็นจำนวนมาก

ไม้พุทธประวัติ...ตาล

ตาล
Borassus flabellifer Linn.


ชื่อพื้นเมือง

ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ชื่อวงศ์
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์





ต๋าล (เชียงใหม่), โหนด(ภาคใต้), ตาล ตาลี (อินเดีย),ตาลโหนด ตาลใหญ่ (ทั่วไป), ทองถู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ท้าง (กะเหรี่ยง-ตาก,เชียงใหม่)
ลฏฐิ (ลัด-ถิ), ตาโล (ตา-โล), ตาล (ตา-ละ), วิเภทิกา (วิ-เพ-ทิ-กา)
Borussus flabellifer Linn.
Lontar Palm, Brab Palm, Palmyra Palm, Fan Palm
Palmae
(Arecaceae)
ทวีปแอฟริกา และนำไปปลูกทั่วๆไป จนมีทั่วเอเชียเขตร้อน
ชอบขึ้นในที่มีน้ำท่วมถึงบ้างเป็นครั้งคราว
เพาะเมล็ด
ใช้เป็นอาหาร ทำน้ำตาลจากก้านช่อดอกตัวผู้และตัวเมีย ผลอ่อนเป็นอาหาร ผลสุกทำขนม เมล็ดเมื่องอกนำไปเชื่อมเป็นของหวาน ใบอ่อนใช้จักสานทำของเล่น สานหมวก ตะกร้า ใบแก่มุงหลังคา ด้านท้องของก้านใบที่สด ใช้ลอกมาทำฟั่นทำเชือก เป็นเชือกที่เหนียวมาก ใช้ทำเชื้อเพลิงได้ทุกส่วน ลำต้นใช้ทำกระดาน เสา เครื่องเรือน ทำเรือขุด และขุดทำท่อส่งน้ำในพื้นที่การเกษตร เสี้ยนตาลใช้ทำไม้ตีพริก



ตาล ฮินดูเรียก "ตาละ" "ตาลี" ตามพุทธประวัติกล่าวไว้ว่า ในพรรษาที่ 2 หลังจากที่พระพุทธองค์สำเร็จสัมมาสัมโพธิญาณแล้วได้ไปประทับ ณ ลัฏฐีวนุทยานคือวนอุทยานที่เป็น "สวนตาลหนุ่ม" เพื่อโปรดให้พระเจ้าพิมพิสาร ผู้ซึ่งเป็นราชาแห่งแคว้นมคธ รวมทั้งบริวารทั้งหลายเข้าเฝ้า แล้วพระเจ้าพิมพิสารได้ทูลเชิญเสด็จเข้าประทับในเมือง และถวายพระกระยาหาร เสร็จแล้วได้ถวายเวฬุวนาราม แด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก

ตาล เป็นพืชพวกปาล์มชนิดหนึ่ง อยู่ในสกุล " Borussus " และอยู่ในวงศ์เดียวกับมะพร้าว หมาก คือวงศ์ " Palmae " หรือ "Arecaceae "
ลักษณะ ตาลเป็นพันธุ์ไม้พวกปาล์มที่มีลำต้นสูงใหญ่ ต้นตัวผู้และตัวเมียแยกกัน ต้นสูงได้ถึง 40 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของต้นประมาณ 50-60 เซนติเมตร ลำต้นผ่าออกเป็นเสี้ยนสีดำแข็งมาก ตรงไส้กลางลำต้นจะอ่อนนิ่ม ใบ เดี่ยว ขนาดใหญ่ รูปร่างเหมือนพัด ขอบใบหยัก ก้านใบใหญ่ยาว ยาว 1-2 เมตร แข็งแรง ขอบของก้านใบทั้งสองข้างมีหนามเหมือนฟันเลื่อยสีดำแข็ง และคมมาก โคนก้านใบจะแยกออกคล้ายคีมโอบหุ้มลำต้นไว้ ดอก ช่อ ดอกเพศผู้มีขนาดใหญ่และยาว ลักษณะเป็นแท่งๆ ในหนึ่งช่อดอกมีหลายสิบแท่งคล้ายนิ้วมือ เรียก "นิ้วตาล" แต่ละนิ้วยาวได้ 30-45 เซนติเมตร โคนกลุ่มช่อจะมีก้านช่อรวม และมีกาบแข็งๆ หลายกาบหุ้มโคนก้านช่อดอกอีกชั้นหนึ่ง ดอกเพศเมียจะออกคล้ายดอกเพศผู้แต่ละนิ้วจะมีปุ่มๆ ซึ่งเป็นอวัยวะของเพศ แต่ละดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร มีกาบแข็งๆ หุ้มแต่ละดอก แต่ละกาบจะเจริญเป็นกลีบเลี้ยง และจะคงอยู่จนเป็นผลตาล ผล รูปทรงกระบอกกลม ขนาดใหญ่ ผิวผลยังไม่สุกสีเขียวถึงน้ำตาล เมื่อผลแก่จัดมีสีน้ำตาลดำ ผลสุกจะนิ่มถ้าผ่าผลจะมีเนื้อเละๆ สีเหลืองหุ้มเส้นใยซึ่งเหนียวจำนวนมาก มีเมล็ดแข็ง 1-3 เมล็ด

ไม้พุทธประวัติ...ปาริฉัตร

ปาริฉัตร
Erythrina variegata Linn.


ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ชื่อวงศ์
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์



ทองหลาง ทองหลางด่าง(กรุงเทพฯ), ปาริชาต ทองบ้าน ทองเผือก (ภาคเหนือ)
ปาริจฺฉตฺตก (ปา-ริด-ฉัด-ตะ-กะ), ปาริฉตฺตก(ปา-ริ-ฉัด-ตะ-กะ),ปาริจฺฉตฺตโก(ปา-ริด-ฉัด-ตะ-โก)
Erythrina variegata Linn.
Indian Coral Tree, Variegated Coral Tree, Variegated Tiger's Claw,Tiger's Craw,Parijata
Papilionaceae
พบทั่วไปในเขตเอเชียเขตอบอุ่น และเขตร้อน เช่น อินเดีย
ชอบขึ้นริมน้ำ
ปักกิ่งชำ เพาะเมล็ด
ใบอ่อนเป็นผัก การปลูกพลูถ้าให้เลื้อยขึ้นบนต้นทองหลาง พลูจะเจริญเติบโตรวดเร็วมาก ทางยา จีนใช้เปลือกต้น
เป็นยาแก้ไอและแก้ไข้ ในโมรอคโค ใช้เปลือกต้นเคี้ยวรักษาบิด


ปาริฉัตร ฮินดูเรียก "มังการา" ในพุทธประวัติ กล่าวว่าพุทธองค์เสด็จไปสู่ดาวดึงส์เทวโลก ได้นำเอาปาริฉัตรพฤกษชาติกลับมาด้วย



ปาริฉัตร เป็นต้นไม้ขนาดกลาง เป็นพืชในสกุลเดียวกับทองหลางต้น ทองหลางใบมน คืออยู่ในสกุล "Erythrina " และอยู่ในวงศ์เดียวกับยางพารา สลัดได คือวงศ์ " Papilionaceae "
ลักษณะ เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ ตามกิ่งหรือต้นอ่อนจะมีหนามแข็งๆ แต่หนามจะค่อยๆกลุดไปเมื่อกิ่งหรือต้นมีอายุมากขึ้น เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบย่อยมี 3 ใบ ขนาดใหญ่ ดอก ช่อ มีขนาดยาวมาก ดอกย่อยสีแดง ผล เป็นฝักยาวแตกได้

ไม้พุทธประวัติ...มะขามป้อม

มะขามป้อม
Phylanthus emblica Linn.


ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ชื่อวงศ์
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์



กันโตด (เขมร-จันทบุรี), กำทวด (ราชบุรี),มั่งลู่ สันยาส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
อมตา (อะ-มะ-ตา), อามาลกี (อา-มะ-ละ-กี), อามลก (อา-มะ-ละ-กะ),อามลโก(อา-มะ-ละ-โก)
Phylanthus emblica Linn.
Emblic Myrabolan, Malacca Tree, Indian Gooseberry, Amala Plant, Amalak Tree
Euphorbbiaceae
พบในเอเชียเขตร้อน
ชอบดินที่มีการระบายน้ำได้ดี
เพาะเมล็ด
เปลือกต้นต้มน้ำดื่มแก้ไอ ผลสดมีวิตามินซีสูง ใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ผลใช้แก้ไอ ขับเสมหะ
ทำให้ชุ่มคอ ช่วยลดอาการกระหายน้ำ เนื้อไม้ใช้ทางการเกษตร ใบสดและเปลือกต้นย้อมผ้าให้สี้นำตาลแกมเหลือง


มะขามป้อม ฮินดูเรียก "อะมะลา" หรือ "อะมะลิกา" ในพุทธประวัติ กล่าวไว้เช่นเดียวกับเรื่องของมะม่วง คือในคราวที่พระพุทธองค์เสด็จไปเก็บมะม่วง ก็ได้ทรงเก็บมะขามป้อมมาด้วย



มะขามป้อม เป็นพันุ์ไม้พวกเดียวกับ มะยม ลูกใต้ใบ หญ้าใต้ใบ คือสกุล "Phyllanthus " และอยู่ในวงศ์เดียวกับยางพารา สลัดได คือวงศ์ " Euphorbiacea "
ลักษณะ มะขามป้อมเป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ แต่จะผลิใบใหม่เร็วมาก เปลือก สีเขียวอ่อนปนเทา กิ่งจะโน้มโลง ใบ เป็นใบเดี่ยว แต่ทว่าดูแล้วเหมือนใบประกอบ เพราะใบขนาดเล็กมาก เล็กกว่าใบมะขาม ใบจะออกสลับเรียงแถวในระนาบเดียวกัน รุปขอบขนาน ดอก ช่อสีนวล ออกเป็นกระจุกตรงโคนของกิ่งย่อยออกมายาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร แล้วจึงจะเป็นส่วนของใบ ดอกแยกเพศ แต่อยู่ในกิ่งเดียวกัน ผล กลมมีเส้นแนวยาวตามผิวผลหกแนว ผลแก่สีเขียวอ่อน รสเปรี้ยวอมฝาด เมล็ดกลมแข็งมี 1 เมล็ด

ไม้พุทธประวัติ...ส้ม

ส้ม
Citrus aurantium Linn.


ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ชื่อวงศ์
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์


ซาฮ้อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), นาเรงกี (อินเดีย)
เอราวโต (เอ-รา-วะ-โต), นารงฺโค (นา-รัง-โค), เอราวต (เอ-รา-วะ-ตะ)
Citrus aurantium Linn.
Orange, Seville Orange, Bitter Orange, Bigarade,Sour Orange
Rutaceae
ทวีปเอเชียตอนใต้
ชอบขึ้นที่ดินที่ชุ่มชื้น การระบายน้ำดี ต้องการแสงแดดมาก
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง ติดตา
ส้มใช้เนื้อผลเป็นอาหาร บางชนิดใช้แต่งรสเปรี้ยวในอาหาร ใช้ใบส้มบางชนิดใส่ในหม้อต้มน้ำร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ
เพื่อใช้อาบอบสมุนไพร เช่น ใบส้มโอ


ส้ม ที่กล่าวถึงถึงในพุทธประวัติก็เช่นเดียวกบมะม่วง คือเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์เสด็จไปทรงเก็บมะม่วง ได้ทรงเก็บผลส้มมาด้วย
ส้มในโลกนี้มีหลายชนิด (species) สำหรับส้มป่าที่พบในอินเดียมี "ส้มมะงั่ว" หรือที่เรียก "มะนาวควาย" ชาวพื้นเมืองเรียก"นิมบู" มีชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus medica Linn. ชื่อสามัญว่า "Citron" จะออกดอกออกผลตลอดปี ส่วนอีกชนิดหนึ่งชาวพื้นบ้านของอินเดียเรียก "นาเรงกี" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrus aurantium Linn. มีชื่อสามัญ "Bigarade" Bitter Orange, Sour Orange, Seville Orange" ส้มชนิดหลังนี้จะออกดอกออกผลปีละครั้ง
ส้ม เป็นพันธุ์ไม้พวกเดียวกับมะกรูด มะนาว คืออยู่ในสกุล " Citrus " ในวงศ์ " Rutaceae "
ลักษณะ ส้มเป็นพันธุ์ไม้ต้นขนาดเล็กถึงกลาง ใบ เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อยหนึ่งใบ ส่วนก้านใบจะแผ่เป็นปีกเรียก winged petiole จะมีขนาดใหญ่หรือเล็กแล้วแต่ชนิดของส้ม เช่น ส้มเขียวหวาน มะนาว ฯลฯ winged petiole จะมีขนาดเล็ก สำหรับส้มโอ มะกรูด winged petiole จะมีขนาดหใญ่เท่าแผ่นใบ ถ้านำใบมาส่องดู จะเห็นเป็นจุดใสๆ ซึ่งเป็นจุดของต่อมน้ำมันอยู่ทั่วไป เมื่อขยี้ใบดมดูจะมีกลิ่นหอม เพราะมีน้ำมันหอมระเหย ลำต้น กิ่งก้าน มีหนามแหลมอยู่ทั่วไป ดอก ออกเป็นกระจุกตามกิ่งเล็กๆ หรือปลายยอด มีกลิ่นหอม กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย ผล กลม หรือกลมรี ผลแก่ผิวผลสีเหลือง ภายในมีเนื้อและมีเมล็ด เนื้อรับประทานได้ หวานหรือเปรี้ยว