Tuesday, April 29, 2008
บูชาด้วยฉัตรทอง
การสักการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยจิตที่เลื่อมใส บูชาด้วยวัตถุที่ประณีตสวยงามทรงคุณค่า อันนำมาซึ่งความเลื่อมใสแห่งใจ เพราะการบูชาแต่ละครั้งนั้น เป็นการออกแบบชีวิตในอนาคต จะให้มีความสุขความสำเร็จอย่างไร เราออกแบบของเราเองได้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ธรรม ทั้งปวงด้วยพระองค์เองโดยชอบ คือถูกต้องทุกอย่าง ทรงรู้เหตุแห่งความเจริญ ทั้งในโลกนี้ โลกหน้า และความเจริญอย่างยิ่ง คือการบรรลุธรรม เข้าสู่พระนิพพาน ทรงเป็นบรมครูของทั้งเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย สอนทั้งมนุษย์ สอนทั้งเทวดา สอนได้แม้กระทั่งพรหมในพรหมโลก อย่างที่ไม่มีมนุษย์คนใดทำได้
พระองค์จึงควรได้รับ การสักการบูชาอย่างสูงสุด เพราะการบูชาบุคคลผู้ควรบูชา เป็นเหตุนำความสุขความเจริญมาให้ ดังเรื่องจริงในอดีต อันเป็นประวัติการสร้างบารมี ของพระเถรีนามว่า " อภิรูปนันทา" (ชื่อของท่านคือ นันทา ส่วนคำว่า อภิรูปะ แปลว่า มีรูปงามยิ่ง) เพราะท่านมีรูปงามจริงๆ จึงมีคำกล่าวให้ต่างจากนันทาองค์อื่นๆ
ประวัติของพระนางเริ่มต้นขึ้น ในสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ย้อนอดีตไปในกัปที่ ๙๑ จากภัทรกัปนี้ ในครั้งนั้น พระนางเกิดเป็นธิดาในตระกูลใหญ่ ที่มีฐานะมั่งคั่ง ในพระนครพันธุมดี เป็นหญิงสาวที่มีรูปสมบัติงดงาม น่าดูน่าชม
วันหนึ่ง ได้เข้าเฝ้า พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมกับมหาชน ครั้นฟังธรรมจากพระพุทธองค์แล้ว ก็เกิดความ เลื่อมใสได้ขอถึงพระองค์ ว่าเป็นสรณะ จากวันนั้นมา นางก็ตั้งมั่นอยู่ในศีล ได้รักษาศีล ๕ ทำให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ไม่ให้ด่างพร้อยเรื่อยมา
เมื่อพระวิปัสสีบรมศาสดา เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว มหาชนได้พากันสร้างพระสถูปเจดีย์ เพื่อบรรจุพระบรมธาตุ ส่วนนางได้ให้ช่างทำฉัตรทอง แล้วให้ยกขึ้น บูชา ประดิษฐานไว้เบื้องบนพระสถูปเจดีย์นั้น
ด้วยอานิสงส์ที่นางรักษาศีลจนตลอดชีวิต และอานุภาพบุญที่บูชาด้วยฉัตรทอง ที่สวยงามทรงคุณค่า เมื่อละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเทพธิดาที่มีรูปงาม เกินกว่าเทพธิดาทั้งหมด ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันเป็นทิพย์ และอายุ ผิวพรรณ ความสุข ยศ และความเป็นใหญ่อันเป็นทิพย์
ท่องเที่ยวเสวยทิพยสมบัติ และมนุษย์สมบัติ ตลอดกาลยาวนาน ด้วยอานิสงส์ ที่รักษาศีล และอานุภาพบุญที่บูชาพระเจดีย์ ด้วยฉัตรทองนั้น จะไปเกิดในภพใดก็เกิด ในตระกูลสูงมีรูปร่างสวยงาม กระทั่งครั้งสมัยพุทธกาล ได้มาเกิดเป็นธิดา ของศากยราช นามว่า "เขมกะ" ในกรุงกบิลพัสดุ์ เธอมีชื่อว่า "นันทา" ปวงชนชาวพระนคร พากันยกย่องชื่นชมว่า พระนางทรงมีความงาม น่าดูน่าชม ทั้งผิวพรรณ ก็ผ่องใส จึงเพิ่มคำนำหน้าชื่อว่า อภิรูปนันทา (พระนางนันทาผู้มีรูปงามยิ่ง)
เพราะความสวยของพระนาง ทำให้เจ้าศากยะหนุ่มทั้งหลาย ก่อการทะเลาะวิวาทแย่งชิงกัน พระบิดาของพระนางคิดว่า พวกศากยราช อย่าได้ถึงความพินาศ เพราะความสวยของนางเลย จึงตัดสินให้พระนางบวช เป็นภิกษุณี เมื่อบวชแล้วก็ไม่ยินดี ที่จะเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อฟังธรรม เพราะพระองค์ตรัส ให้เห็นความไม่งาม ของร่างกาย ซึ่งใครๆ ก็ชมว่าพระนางสวยงามยิ่งนัก
แต่พระบรมศาสดาก็ทรง ใช้อุบายให้อภิรูปนันทา ภิกษุณีเข้าเฝ้าจนได้ แต่ท่านก็ยังคงนั่งแอบอยู่ข้างหลัง ไม่อยากให้พระบรมศาสดา ทรงมองเห็น วันนั้น พระบรมศาสดาทรง แสดงธรรมเจาะจง เฉพาะพระนาง ทรงเนรมิตสาวสวยดังเทพธิดา ยืนถวายงานพัดให้พระองค์ เมื่อพระนางเห็น ก็มีความรู้สึก ว่าตนเองเหมือนกา ต่อหน้านางพญาหงส์ทอง
พระบรมศาสดาทรงแสดงรูปเนรมิต นั้นให้แก่ชราขึ้น ทำให้เป็นคนป่วยดิ้นทุรนทุราย ทำให้ตายแล้วค่อยๆ ขึ้นอึดเน่า น้ำเหลืองไหลเยิ้ม มีหมู่หนอนชอนไชไปทั่วร่าง พร้อมกับทรงแสดงธรรม ให้เห็นความไม่เที่ยงของร่างกายไปตามลำดับว่า " ดูก่อนนันทา เธอจงดูร่างกายที่ทุรนทุราย ไม่สะอาด มีของสกปรกไหลเข้าไหลออกอยู่ ที่พวกคนพาลต้องการนัก"
"เธอจงทำจิตให้เป็นสมาธิ ให้มีอารมณ์เดียวตั้งมั่นว่าไม่งาม รูปของหญิงนี้เป็นเช่นไร รูปกายของเธอก็เช่นนั้น รูปกายของเธอเป็นเช่นไร รูปของหญิงนี้ก็เช่นนั้น" พระนางปล่อยใจไปตามพระธรรมเทศนา เห็นความไม่เที่ยง ของร่างกายทั้งภายนอกภายใน เกิดความเบื่อหน่าย ในสังขารทั้งปวง ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์เถรี ในทันทีนั้นเอง
เราจะเห็นว่า พระนางอภิรูปนันทาประสบความสุข ความสำเร็จในชีวิต ก็เพราะบุญที่ทำไว้ในอดีต เพราะฉะนั้น ชีวิตในอนาคตของเรา จะให้เป็นเช่นไร อยู่ที่บุญในปัจจุบันของเราเอง
เรียบเรียงจาก พระธรรมเทศนา พระราชภาวนาวิสุิทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย)
Monday, April 28, 2008
ปริศนาธรรมจากพระพุทธรูป
พระพุทธรูปเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าชาวพุทธ
ให้ความเคารพศรัทธามาก บางแห่งก็มีชื่อเรียกเฉพาะ
เช่น หลวงพ่อพุทธโสธร วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
หรือพระพุทธชินราชวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น
ความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปแต่ละองค์นั้น
มีตำนานเล่าขานกันมามากบ้าง
น้อยบ้าง สุดแท้แต่ความศรัทธาของชาวบ้าน
แต่สิ่งที่เหมือนกันของรูปเปรียบหรือตัวแทนของ พระพุทธเจ้านี้
ที่สังเกตเห็นได้มีอยู่ด้วย กัน 3 ประการ คือ
1. พระเศียรแหลม มีคำถามว่า
ทำไมพระพุทธรูปจึงมีพระเศียรแหลมในเมื่อพระพุทธเจ้าของเราก็เป็นมนุษย์
ที่เป็นเช่นนี้ เพราะ เขาสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้คิดเป็นปริศนาธรรม พระเศียรที่แหลมนั้น หมายถึง
สติปัญญาที่เฉียบ แหลมในการดำเนินชีวิตสอนให้ชาวพุทธแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยสติปัญญาไม่ใช่ใช้อารมณ์
หากใช้ปัญญาคิดพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อนแล้วจึงทำความผิดพลาด
ก็เกิดขึ้นน้อย หรือไม่เกิดขึ้นเลย
2. พระกรรณยาน หรือหูยาน เป็น ปริศนาธรรม ให้ชาวพุทธเป็นคนหูหนัก
คือมีจิตใจหนักแน่นมั่นคงนั่นเอง ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ
แต่คิดพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาอันแยบคาย
แล้วจึงเชื่อในฐานที่เป็นชาวพุทธก็ต้องเชื่อใน กฎแห่งกรรม
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใดย่อมได้รับผลเช่นนั้น เชื่อว่าไม่มีอะไร ทำให้ใครเป็นอะไรๆ ทั้งนั้น
แต่ตัวเราเองนั่นแหละทำให้เราเป็นสุขเป็นทุกข์
คนเราจะดีจะชั่วจะเสื่อมจะเจริญไม่ได้ขึ้นอยู่กับอำนาจภายนอก หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ขึ้นอยู่กับ การทำ
การพูดการคิดของตนเองนี้เป็นการเชื่อตามหลักของพระพุทธศาสนา
3. พระเนตรมองต่ำ พระพุทธ
รูปที่สร้างโดยทั่วไปจะมีพระเนตรมองลงที่พระวรกายของพระองค์อย่างในพระอุโบสถ ของวัดทั่วไป
จะนั่งมองดูพระวรกายไม่ได้มองดูหน้าต่างหรือมองดูประตูพระอุโบสถว่าจะมีใครเข้ามาไหว้บ้าง
นี้เป็นปริศนาธรรม สอนให้มองตนเองพิจารณาตนเอง
ตักเตือนแก้ไขตนเองไม่ใช่คอยจับผิดผู้อื่นซึ่งตาม
ปกติของคนแล้วมักจะมองเห็นความผิดพลาดของบุคคลอื่น
แต่ลืมมองของตนเองทำให้สูญเสียเวลาและโอกาสใน การปรับปรุงพัฒนาตนเอง
ใครเล่าจะตักเตือนตัวเราได้ดี กว่าตัวเราเองจึงมีพุทธพจน์ ตรัสให้เตือนตนเองว่า
"อตฺตนา โจทยตฺตาน" = จงเตือนตนด้วยตนเอง
จงเตือน ตนของตนให้พ้นผิด
ตนเตือน จิตตนได้ ใครจะเหมือน
ตนเตือน ตนเตือน ไม่ได้ใครจะเตือน
ตนแชเชือนรีบเตือนตนให้พ้นภัย
ที่กล่าวมาทั้ง 3 ประการนั้นเป็นการสอนโดยใช้ปริศนาธรรม
จากพระพุทธรูปเป็นสื่อการสอนใจตนเอง
ดังนั้น ชาวพุทธเมื่อมีปัญหาอะไรแก้ไขไม่ได้คิดไม่ตกก็เข้าวัดเสียบ้าง
นั่งประนมมือตรงหน้าพระพุทธรูป หรือถ้าที่บ้านมีพระพุทธรูป ก็นั่งประนมมือต่อหน้าพระพุทธรูป
ที่บ้านนั่นแหละค่อยๆเพ่งพินิจที่พระพักตร์ ของพระพุทธเจ้า ก่อนที่จะกราบ
จะมองเห็นพระเศียรแหลม สอนใจตน ว่า "อย่าแก้ปัญหาด้วยอารมณ์ นะ ใจเย็นๆ ปัญหาต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ไม่มีอะไรแก้ไขไม่ได้ ค่อยๆ คิด ค่อยๆแก้ด้วยสติปัญญาที่เฉียบแหลม
เหมือนพระพุทธเจ้าของเราที่พระองค์ใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหา "
เห็นพระกรรณยานก็บอกตน เองว่า
"สุขุมเยือกเย็นมีเหตุผล เข้าไว้ อย่าปล่อยใจตามอารมณ์หรือหุนหันพลันแล่น
เดี๋ยวจะผิดพลาดได้ ต้องมีจิตใจหนักแน่นมั่นคง เชื่อในสิ่งที่มีเหตุผล"
เห็นสายพระเนตรที่มองต่ำ ก็บอกตนเองว่า
"มองตนเองบ้างนะ อย่า ไปมองคนอื่นมากนักเลยเดี๋ยวจะไม่สบายใจ และอาจมีปัญหาได้
การมองตนเอง บ่อยๆ จะได้พิจารณาตนเองปรับปรุงตนเอง และแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น"
จากนั้นก็ค่อยกราบ พระพุทธรูป ด้วยสติ
ปัญญาและจิตใจที่ชื่นบาน นี้เรียกว่า "ยิ่งกราบยิ่งฉลาด" สมกับ เป็นผู้รู้
ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ที่แท้จริง
Wednesday, April 9, 2008
อานิสงค์ของการสร้างพระเจดีย์ทรายและบูชา
ในสมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าจะลงมาอุบัติ มีดาบสท่านหนึ่งชื่อว่า เทวละ เป็นดาบสที่มีฤทธิ์สามารถระลึกชาติได้ จึงรู้ว่าในอดีตชาตินั้นมีพระพุทธเจ้ามามากมายแล้ว และพระพุทธเจ้านั้นยิ่งใหญ่เหลือเกินและตอนนี้พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้วเราจะทำอย่างไรดี ถึงจะได้บูชาพระพุทธเจ้า จึงได้ ออกจากอาศรมไป ครั้งนั้น ศิษย์ ๘๔,๐๐๐คนอุปัฏฐาก ดาบสจึงไปที่ริมหาดทรายได้ก่อพระเจดีย์ทรายแล้ว ตบแต่งอย่างสวยงามแล้ว รวบรวมเอาดอกไม้นานาชนิดมาบูชาพระเจดีย์นั้น เรายังจิตให้เลื่อมใสในองค์พระสัมาสัมพุทธเจ้านั้น และได้เห็นว่าพระเจดีย์ทรายนั้นเป็นองค์แทนของพระพุทธเจ้าในกาลก่อน หลังจากนั้น พวกศิษย์ได้มาประชุมพร้อมกันทุกคนแล้ว ถามถึงข้อความนี้ว่าข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ สถูปที่ท่านนมัสการก่อด้วยทรายแม้ข้าพเจ้าทั้งหลายก็อยากจะรู้ ว่าท่านอาจารย์บูชากองทรายทำไม
ดาบสตอบว่า เราไม่ได้บูชากองทรายแต่เราบูชาพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีพระจักษุมียศใหญ่ ท่านทั้งหลายได้พบแล้ว ในบทเรียนของเรามิใช่หรือ เรานมัสการพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด มียศใหญ่เหล่านั้น ศิษย์เหล่านั้นได้ถามอีกว่า พระพุทธเจ้าผู้มีความเพียรใหญ่ รู้ธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำโลกเหล่านั้น เป็นเช่นไร มีคุณเป็นอย่างไรมีศีลเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าผู้มียศใหญ่เหล่านั้น มีศีลเป็นอย่างไรนั้น เราได้ตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มีพระทนต์ครบ ๔๐ ทัศ มีดวงพระเนตรดังตาแห่งโค และเหมือนผลมะกล่ำ อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่านั้น เมื่อเสด็จดำเนิน ไป ก็ย่อมทอดพระเนตรดูเพียงชั่วอก พระชานุของพระองค์ไม่ลั่น ใคร ๆ ไม่ได้ยินเสียงที่ต่อ อนึ่งพระสุคตทั้งหลาย เมื่อเสด็จดำเนินไป ย่อมไม่รีบร้อนดำเนินไป ทรงก้าวพระบาทเบื้องขวาก่อน นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นผู้ไม่หวาดกลัว เปรียบเหมือนไกรสร มฤคราช ฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่ทรงยกพระองค์ และไม่ทรงข่มขี่สัตว์ทั้งหลาย ทรงหลุดพ้นจากการตัว และดูหมิ่น ทรงเป็นผู้มีพระองค์เสมอ ในสัตว์ทั้งปวง พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่ทรงยก พระองค์ นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อเสด็จอุบัติขึ้นพระองค์ทรงแสดงแสงสว่าง ทรงประกาศวิการ ๖ ทั่วพื้นแผ่นดินนี้ทั้งสั้น ทั้งพระองค์ทรงเห็นนรกด้วยครั้งนั้นไฟนรกดับ มหาเมฆยังฝนให้ตก นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มหานาถะเหล่านั้นเป็นเช่นนี้ พระพุทธเจ้าผู้มียศใหญ่เหล่านั้นไม่มีใครเทียบเท่า พระตถาคตทั้งหลาย เป็นผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ ใคร ๆ ไม่เกินพระองค์โดย เกียรติคุณ.ศิษย์ทุกคนเป็นผู้มีความเคารพ ชื่นชมถ้อยคำของเรา ต่างได้ปฏิบัติเช่นนั้น ตามสติกำลัง พวกเขามีความเพลิดเพลินในกรรมของตนชื่อฟังถ้อยคำของเรามีฉันทะอัธยาศัย น้อมไปในความเป็นพระพุทธเจ้าพากันบูชาพระเจดีย์ทราย ในกาลนั้น เทพบุตรผู้มี ยศใหญ่ จุติจากชั้นดุสิต บังเกิดในพระครรภ์ของพระมารดา หมื่นโลกธาตุหวั่นไหว เรายืนอยู่ในที่จงกรมไม่ไกลอาศรม ศิษย์ทุกคนได้มาประชุมพร้อมกันในสำนักของเรา ถามว่า แผ่นดินบันลือลั่น ดุจโคอุสภะ คำรนดุจมฤคราช ร้องดุจจระเข้ จักมีผลเป็นอย่างไร? เราตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดที่เราประกาศ ณ ที่ใกล้พระสถูป คือ กองทราย บัดนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีโชค เป็นศาสดาพระองค์นั้น เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว
เราแสดงธรรมแก่พวกศิษย์เหล่านั้นแล้ว กล่าวสดุดีพระมหามุนี ส่งศิษย์ของตนไปแล้ว นั่งขัดสมาธิและกำลังของเราก็สิ้นไป ด้วยความเจ็บไข้อย่างหนักเราระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดพระองค์นั้นทำกาลกิริยา ณ ที่นั้นเอง ครั้งนั้น ศิษย์ทุกคนพร้อมกันทำเชิงตะกอนแล้ว ยกซากศพของเราขึ้นเชิงตะกอนพวกเขาล้อมเชิงตะกอน ประนมอัญชลีเหนือเศียรอันลูกศรคือความโศกครอบงํา พากันมาคร่ำครวญเมื่อศิษย์เหล่านั้น พิไรรำพันอยู่ เราได้ไปใกล้เชิงตะกอน สั่งสอนพวกเขาว่า เราคืออาจารย์ของท่าน
ดูก่อนท่านผู้มีปัญญาดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ เศร้าโศกเลย ท่านทั้งหลายไม่ควรเป็นผู้เกียจคร้านควรพยายามในประโยชน์ของตน ทั้งกลางคืนและ
กลางวัน ท่านทั้งหลายอย่าได้ประมาท ควรทำขณะเวลาให้ถึงเฉพาะ เราพร่ำสอนศิษย์ของตนแล้วกลับไปยังเทวโลก เราได้อยู่ในเทวโลกถึง ๑๘ กัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง และได้เสวยสมบัติใน เทวโลกเกิน ๕๐๐ ครั้ง ในกัปที่เหลือเราได้ท่องเที่ยวไปอย่างสับสน แต่ก็ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการก่อเจดีย์ทราย ในเดือนที่ดอกโกมุทบาน ต้นไม้เป็นอันมากต่างก็ออกดอกบานฉันใด เราเป็นผู้อันพระศาสดาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ให้บานแล้วในสมัย ฉันนั้นเหมือนกัน ความเพียรของเรานำธุระน้อยใหญ่ไป นำมาซึ่งธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ เราตัดกิเลสเครื่องผูก ดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ อยู่ ในกัปที่แสน แต่ภัทรกัปนี้ เราได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าใด ด้วยการสรรเสริญนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลยนี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญ. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้วฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว
ดาบสตอบว่า เราไม่ได้บูชากองทรายแต่เราบูชาพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีพระจักษุมียศใหญ่ ท่านทั้งหลายได้พบแล้ว ในบทเรียนของเรามิใช่หรือ เรานมัสการพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด มียศใหญ่เหล่านั้น ศิษย์เหล่านั้นได้ถามอีกว่า พระพุทธเจ้าผู้มีความเพียรใหญ่ รู้ธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำโลกเหล่านั้น เป็นเช่นไร มีคุณเป็นอย่างไรมีศีลเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าผู้มียศใหญ่เหล่านั้น มีศีลเป็นอย่างไรนั้น เราได้ตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มีพระทนต์ครบ ๔๐ ทัศ มีดวงพระเนตรดังตาแห่งโค และเหมือนผลมะกล่ำ อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่านั้น เมื่อเสด็จดำเนิน ไป ก็ย่อมทอดพระเนตรดูเพียงชั่วอก พระชานุของพระองค์ไม่ลั่น ใคร ๆ ไม่ได้ยินเสียงที่ต่อ อนึ่งพระสุคตทั้งหลาย เมื่อเสด็จดำเนินไป ย่อมไม่รีบร้อนดำเนินไป ทรงก้าวพระบาทเบื้องขวาก่อน นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นผู้ไม่หวาดกลัว เปรียบเหมือนไกรสร มฤคราช ฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่ทรงยกพระองค์ และไม่ทรงข่มขี่สัตว์ทั้งหลาย ทรงหลุดพ้นจากการตัว และดูหมิ่น ทรงเป็นผู้มีพระองค์เสมอ ในสัตว์ทั้งปวง พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่ทรงยก พระองค์ นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อเสด็จอุบัติขึ้นพระองค์ทรงแสดงแสงสว่าง ทรงประกาศวิการ ๖ ทั่วพื้นแผ่นดินนี้ทั้งสั้น ทั้งพระองค์ทรงเห็นนรกด้วยครั้งนั้นไฟนรกดับ มหาเมฆยังฝนให้ตก นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มหานาถะเหล่านั้นเป็นเช่นนี้ พระพุทธเจ้าผู้มียศใหญ่เหล่านั้นไม่มีใครเทียบเท่า พระตถาคตทั้งหลาย เป็นผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ ใคร ๆ ไม่เกินพระองค์โดย เกียรติคุณ.ศิษย์ทุกคนเป็นผู้มีความเคารพ ชื่นชมถ้อยคำของเรา ต่างได้ปฏิบัติเช่นนั้น ตามสติกำลัง พวกเขามีความเพลิดเพลินในกรรมของตนชื่อฟังถ้อยคำของเรามีฉันทะอัธยาศัย น้อมไปในความเป็นพระพุทธเจ้าพากันบูชาพระเจดีย์ทราย ในกาลนั้น เทพบุตรผู้มี ยศใหญ่ จุติจากชั้นดุสิต บังเกิดในพระครรภ์ของพระมารดา หมื่นโลกธาตุหวั่นไหว เรายืนอยู่ในที่จงกรมไม่ไกลอาศรม ศิษย์ทุกคนได้มาประชุมพร้อมกันในสำนักของเรา ถามว่า แผ่นดินบันลือลั่น ดุจโคอุสภะ คำรนดุจมฤคราช ร้องดุจจระเข้ จักมีผลเป็นอย่างไร? เราตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดที่เราประกาศ ณ ที่ใกล้พระสถูป คือ กองทราย บัดนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีโชค เป็นศาสดาพระองค์นั้น เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว
เราแสดงธรรมแก่พวกศิษย์เหล่านั้นแล้ว กล่าวสดุดีพระมหามุนี ส่งศิษย์ของตนไปแล้ว นั่งขัดสมาธิและกำลังของเราก็สิ้นไป ด้วยความเจ็บไข้อย่างหนักเราระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดพระองค์นั้นทำกาลกิริยา ณ ที่นั้นเอง ครั้งนั้น ศิษย์ทุกคนพร้อมกันทำเชิงตะกอนแล้ว ยกซากศพของเราขึ้นเชิงตะกอนพวกเขาล้อมเชิงตะกอน ประนมอัญชลีเหนือเศียรอันลูกศรคือความโศกครอบงํา พากันมาคร่ำครวญเมื่อศิษย์เหล่านั้น พิไรรำพันอยู่ เราได้ไปใกล้เชิงตะกอน สั่งสอนพวกเขาว่า เราคืออาจารย์ของท่าน
ดูก่อนท่านผู้มีปัญญาดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ เศร้าโศกเลย ท่านทั้งหลายไม่ควรเป็นผู้เกียจคร้านควรพยายามในประโยชน์ของตน ทั้งกลางคืนและ
กลางวัน ท่านทั้งหลายอย่าได้ประมาท ควรทำขณะเวลาให้ถึงเฉพาะ เราพร่ำสอนศิษย์ของตนแล้วกลับไปยังเทวโลก เราได้อยู่ในเทวโลกถึง ๑๘ กัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง และได้เสวยสมบัติใน เทวโลกเกิน ๕๐๐ ครั้ง ในกัปที่เหลือเราได้ท่องเที่ยวไปอย่างสับสน แต่ก็ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการก่อเจดีย์ทราย ในเดือนที่ดอกโกมุทบาน ต้นไม้เป็นอันมากต่างก็ออกดอกบานฉันใด เราเป็นผู้อันพระศาสดาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ให้บานแล้วในสมัย ฉันนั้นเหมือนกัน ความเพียรของเรานำธุระน้อยใหญ่ไป นำมาซึ่งธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ เราตัดกิเลสเครื่องผูก ดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ อยู่ ในกัปที่แสน แต่ภัทรกัปนี้ เราได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าใด ด้วยการสรรเสริญนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลยนี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญ. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้วฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว
Subscribe to:
Posts (Atom)