Thursday, November 18, 2010

ห้องน้ำ - 5 ห้องชีวิต เนรมิตนิสัย

ห้องน้ำ
5 ห้องชีวิต เนรมิตนิสัย
เรียบเรียงจากโอวาทพระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทัตตะชีโว)

แหล่งที่มาของภาพ : www.roomdesign88.com/bathroom
ห้องน้ำ คือ ห้องมหาพิจารณา

ตื่นเช้าขึ้นมา เมื่อเราออกจากห้องนอน ก็จะไปห้องน้ำ
ห้องน้ำเป็นห้องมหาพิจารณา คือ ฝึกคิดให้ตรงตามความเป็นจริงของโลกและชีวิต เพราะห้องนอนหรือห้องอื่น ๆ เช่น ห้องครัว ห้องทำงาน เวลาจะใช้ สามารถใช้พร้อม ๆ กันได้หลายคน ยิ่งห้องครัวด้วยแล้ว หลายคนล้อมโต๊ะกินข้าวกัน แต่ห้องน้ำใช้ได้ทีละคนเท่านั้น จึงมีเวลาที่จะพิจารณาตัวเองมาก

หน้าที่หลักของห้องน้ำมีอะไรบ้าง

1) เป็นที่พิจารณาความไม่งามของร่างกาย
พิจารณาอายุของเราที่ผ่านไปแต่ละวันแต่ละคืนก็ตรงนี้ แล้วความหลงตัวเองก็จะหมดไป ความเคียดแค้นชิงชังใครก็จะไม่มี
2) เป็นที่พิจารณาความเสื่อมโทรมของร่างกายที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
3) เป็นที่พิจารณาความเป็นรังแห่งโรคของร่างกาย
ห้องน้ำเป็นห้องพิจารณาความมีโรคภัยไข้เจ็บของเรา ที่สำคัญที่สุด ห้องน้ำเป็นห้องสำหรับรักษาสุขภาพอย่างดี

หลวงพ่อขอฝากไปถึงคุณพ่อคุณแม่ที่ยังมีลูกเล็กอยู่ด้วย ถามว่าเวลาเราป่วยไข้ไปหาหมอ หมอต้องการอะไรจากเราอย่างรีบด่วน ถ้าเฉพาะหน้า เขาก็ต้องการเจาะเลือดมาตรวจดู ต้องการวัดความดัน แต่ว่าอย่างไรก็ตาม เดี๋ยวก็ขออุจจาระและปัสสาวะมาตรวจ เมื่อเรารู้อย่างนี้ ทำไมจะต้องรอให้ป่วยด้วย ก็หัดตรวจอุจจาระ ปัสสาวะ ของตัวเองให้เป็นจากในห้องนี้ แล้วสุขภาพจะดี

แหล่งที่มาของภาพ : www.konbaan.com/TipsTricks/TipsT...ks25.php

ตอนนี้หลวงพ่ออายุ 69 ปี สุขภาพยังใช้ได้ เพราะหมั่นตรวจดูความปกติหรือไม่ปกติของอุจจาระ ปัสสาวะ ของตัวเองเป็นประจำ ดูกระทั่งสบงจีวรที่นุ่งที่ห่มแต่ละวัน กลิ่นสาบสางมีอย่างไร เพราะถ้าคนจะป่วยจะไข้ จะมีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้า ตั้งแต่กลิ่นเสื้อกลิ่นผ้ามันจะบอก จากนั้นดูอุจจาระ ปัสสาวะ ตั้งแต่สี กลิ่น ของมันจะบอก ตรงนี้ฝากด้วย ใช้ห้องน้ำใช้ให้เป็น ฝึกให้ทุกคนในบ้านทำความสะอาดห้องน้ำให้เป็น

แล้วไม่ว่าฐานะเราจะดีอย่างไร ในเรื่องห้องน้ำส่วนตัว ต่อให้เราเป็นมหาเศรษฐีมีเงินกี่พันกี่หมื่นล้านก็ตาม หัดดูแลห้องน้ำตัวเองด้วย ฝึกให้ลูกดูแลห้องน้ำของเขาให้เป็น ไม่อย่างนั้นเขาจะดูแลสุขภาพไม่เป็น ตอนลูกเล็ก ๆ ฝึกให้เขาหัดขัดส้วมของเขาด้วย แล้วโตขึ้นจะเป็นคนไม่เกี่ยงงาน ต่อไปเบื้องหน้าแม้พ่อแม่ป่วย หรือตัวเขาป่วย เขาจะดูแลพ่อแม่เป็น ถ้าเขาจะต้องเช็ดอุจจาระ ปัสสาวะ หรือจะเทอุจจาระ ปัสสาวะ ให้พ่อแม่ก็ตาม เขาจะไม่รังเกียจ ที่สำคัญ เขาจะดูแลสุขภาพของเขาเป็น เรื่องนี้มองข้ามไม่ได้
หลวงพ่อได้ เรื่องนี้มาจากโยมพ่อ แล้วก็มาได้อีกครั้งอย่างมากที่คุณยาย แล้วอีกครั้งหนึ่งได้ตอนเรียนอยู่มหาวิทยาลัย เนื่องจากเรียนวิชาสัตวบาล มีเป็ดไก่เป็นพัน ๆ ตัว วัวนมวัวเนื้ออีกเป็นร้อย ๆ ตัว ควายนมเป็นฝูง หมูเป็นฝูง มาให้เราดู

สมัยเรียน วิชาที่เรียนบังคับให้ตอนเช้าจะต้องดูสุขภาพเจ้าสัตว์พวกนี้ก่อน แล้วจึงจะไปเข้าห้องเรียนได้ ต้องเดินผ่านคอกสัตว์เหล่านี้ แต่สัตว์บอกไม่ได้ว่ามันป่วย วัวก็บอกไม่ได้ ไก่ก็บอกไม่ได้ แล้วทำอย่างไร ก็ต้องไปดูอุจจาระ ปัสสาวะของมัน มองปราดไป เห็นผิดปรกติตรงไหน เดี๋ยวรีบไปตามหาให้ได้ว่า อุจจาระกองนี้ของสัตว์ตัวไหน แล้วก็รักษาแก้ไขกันไป ทำให้ดูแลสุขภาพสัตว์จำนวนพันมาได้อย่างนี้

หลวงพ่อเลยสะท้อนมาถึงตัวเองว่า คุณยายก็จ้ำจี้จ้ำไชเรื่องห้องน้ำกับหลวงพ่อไว้มากว่า ให้ไปอบรมพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา

คุณยายใช้คำหนึ่งว่า
ถ้า เขายังไม่เต็มใจขัดห้องน้ำให้เป็น ท่านอย่าให้บวชนะ ถ้าบวชต่อไปข้างหน้า เขาจะเป็นคนที่เกี่ยงงาน แล้วเกี่ยงทุกอย่าง ดูถูกคนก็ปานนั้น

ดังนั้น พวกเราหวังจะให้ลูกหลานของเราได้ดี อย่ามองข้ามการงานในห้องน้ำ

ห้องนอน - 5 ห้องชีวิต เนรมิตนิสัย

ห้องนอน
5 ห้องชีวิต เนรมิตนิสัย
เรียบเรียงจากโอวาทพระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทัตตะชีโว)
เมื่อหลวงพ่อเขียนหนังสือครอบครัวอบอุ่น เรียบร้อย ก็ใจชื้นขึ้นมาว่าเราทำงานของเราเสร็จแล้ว แต่หลังจากไปพลิกแล้วพลิกอีก พบว่าไม่เสร็จ เพราะคุณยายอาจารย์ได้ให้รายละเอียดมากกว่านี้

คุณยายอาจารย์เจาะลึกมาถึงการสร้างนิสัยที่เหมาะแก่การเข้าถึงธรรมว่า

1. ทำอย่างไรจะให้ลูกหลานของเรา มีนิสัยรักความสะอาดจริง

2. ทำอย่างไรจะให้ลูกหลานของเรา มีนิสัยเอาใจเขามาใส่ใจเรา และเอาใจเราใส่ใจเขา


หลวงพ่อนึกทบทวนว่า คุณยายอบรมหลวงพ่อก่อนบวชมาอย่างไร อบรมอุบาสก อุบาสิกาอย่างไร อบรมญาติโยมในสมัยบุกเบิกที่มาใกล้ชิดคุณยายอย่างไร หลับตานึกถึงภาพเหล่านั้นแล้ว ก็เลยทำเป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ ออกมาเล่มหนึ่ง ซึ่งได้สรุปหลักการเป็นหัวข้อในเชิงปฏิบัติไว้ระดับหนึ่ง ให้ชื่อหนังสือว่า 5 ห้องชีวิต เนรมิตนิสัย เพื่อให้พวกเรานำมาใช้ฝึกตัวเองให้ได้จริง ๆ แต่ถ้ามีหนังสือแล้วไม่เอามาฝึกตัวเอง ก็ไม่เกิดประโยชน์อีก เพราะว่าในเล่มนี้ เป็นการสรุปหลักการสร้างนิสัยที่คุณยายให้ไว้ คือ
ห้องนอน


1. ห้องนอน คือ ห้องมหาสิริมงคล


ถ้าถามว่าห้องนอนคือห้องอะไรกันแน่ บางท่านอาจตอบว่า ในเมื่อตั้งชื่อว่าห้องนอน มันก็ต้องใช้นอนน่ะสิ ถ้าอย่างนั้นตอบดูเบาไป
ห้องนอน คือ ห้องสำหรับพัฒนานิสัยรักบุญกลัวบาป

หน้าที่หลักของห้องนอนมีอะไรบ้าง

1) ห้องนอนเป็นห้องสำหรับการปลูกฝังสัมมาทิฐิ


การสอนลูกหลานให้รู้จัก ดี ชั่ว บุญ บาป อย่างชนิดฝังใจ จะอยู่ที่ห้องนอนนี้ เพราะโดยทั่วไปช่วงก่อนนอนเป็นช่วงที่อารมณ์ดีที่สุด การสอนลูกหลานให้มีความเคารพในพระรัตนตรัย ต้องฝึกจากห้องนอน โดยทั้งพ่อทั้งแม่กราบพระพุทธรูปด้วยกัน รำลึกถึงคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกัน

การสอนลูกให้กราบเท้าพ่อแม่ก็ฝึกจากห้องนอน เพราะเมื่อลูกกราบ พ่อแม่ก็ให้พร ความอบอุ่นใจก็เกิดขึ้นก่อนนอน ทำให้ปลูกฝังความกตัญญูกตเวทีลงไปในใจได้โดยง่าย

2) ห้องนอนเป็นห้องสำหรับฝึกสัมมาสมาธิให้ใจตั้งมั่นอยู่ในศูนย์กลางกายเป็นปกติ


พ่อ แม่ ลูก จะนั่งสมาธิ ก็นั่งในห้องนอน กลั่นใจให้บริสุทธิ์ก่อนนอน ทำอย่างนี้ หยุดจึงเป็นตัวสำเร็จได้ เข้าถึงพระธรรมกายในตัวได้ง่าย ทำให้มีกำลังใจในการสร้างบารมีไปให้ถึงที่สุดแห่งธรรม ตามที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำบอกเอาไว้

ศัตรูตัวฉกาจของห้องนอนคืออะไร


หลวงพ่อต้องถามก่อนว่า ใครมีทีวีอยู่ในห้องนอนบ้าง กลับไปบ้านวันนี้ ยกออกมาข้างนอกเสีย เพราะทีวีทำให้ไม่ได้นั่งสมาธิ เริ่มแรกว่าจะดูข่าว ต่อมาก็ดูละคร จบแล้วก็ดูหนังต่อ พอง่วงขึ้นมาก็เข้านอนโดยยังไม่ได้สวดมนต์เลย ละครน้ำเน่า ถ้าไม่มีเรื่องตบกันจนจอแตก ก็ต้องตีกันจนเลือดท่วมจอ นอนดูเพลินจนหลังขดหลังแข็ง บางทีนอนคอเคล็ดอีกต่างหาก ส่งผลให้เรื่องสุดท้ายที่ติดใจของเราไปตอนหลับ ก็คือ เรื่องที่ตบกันจอแตก หรือตีกันเลือดท่วมจอ ทำให้นึกถึงอู่ทะเลบุญไม่ออก จึงไม่ได้นอนในอู่ทะเลบุญ ตื่นเช้าขึ้นมาให้นึกถึงองค์พระก็นึกไม่ออก

ธรรมชาติของคนที่ตื่นขึ้นมาใหม่ จะนึกถึงเรื่องสุดท้ายก่อนเข้านอน ถ้าก่อนนอนดูละครน้ำเน่า ใจจะขุ่นมัวทั้งก่อนนอนและตื่นนอน

เพราะฉะนั้น ใครมีทีวีอยู่ในห้อง เดี๋ยวก็ไม่ได้สวดมนต์ ไม่ได้ไหว้พระ หลวงพ่อขอให้เอาออกไปนอกห้องนอนเสีย แล้วจะทำให้เราตรงต่อเวลา ทำให้มีเวลาพูดกับลูกหลาน ก่อนนอนจะฝึกให้เด็กกราบพ่อแม่ จะให้พรลูกหลาน ก็ทำได้ในเวลานั้น ก่อนนอนเด็กจะนึกถึงคำอวยพรของพ่อแม่ พอตื่นขึ้นมาคำอวยพรของพ่อแม่ก็ยังติดอยู่ในใจ ทำให้เด็กมีจิตใจดี ไม่ขาดความอบอุ่น

ดังนั้น ห้องนอน คือ ห้องมหาสิริมงคล มีไว้ใช้ปลูกฝังศีลธรรม ทบทวนบัญชีบุญ-บาป ให้พรลูกหลานก่อนนอน กราบพ่อกราบแม่ก่อนนอน นั่งสมาธิก่อนนอน ทำให้ชีวิตเกิดสิริมงคล

ที่มา

http://www.dmc.tv/pages/yunaiboon_journal/bedroom-%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99.html

Monday, November 15, 2010

การถวายผ้ากฐินที่ถูกต้องควรทำอย่างไร? (จบ)

ปุจฉา : ข้าพเจ้ามีความสับสนเรื่องการถวายผ้ากฐินซึ่งมีอานิสงส์มาก ว่าการถวายผ้ากฐินอย่างไรที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา เพราะบางวัดรับผ้าไตรจีวรตัดเย็บแล้ว บางวัดรับผ้าขาวไปตัดเย็บเอง และบางวัดก็ไม่ตัดเย็บใดๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปจนไม่รู้ว่า แบบไหนคือแบบที่ถูกต้อง

โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส

ปุจฉา : ข้าพเจ้ามีความสับสนเรื่องการถวายผ้ากฐินซึ่งมีอานิสงส์มาก ว่าการถวายผ้ากฐินอย่างไรที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา เพราะบางวัดรับผ้าไตรจีวรตัดเย็บแล้ว บางวัดรับผ้าขาวไปตัดเย็บเอง และบางวัดก็ไม่ตัดเย็บใดๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปจนไม่รู้ว่า แบบไหนคือแบบที่ถูกต้อง

ด้วยความเคารพอย่างสูง

“ศรัทธาธรรมส่องโลก”

วิสัชนา : มีจุดมุ่งหมายให้ความสำคัญในเรื่องความพร้อมเพรียงและความสามัคคีของหมู่สงฆ์เป็นสำคัญ ในขณะเดียวกันก็ยังเอื้อเฟื้อให้ญาติโยมได้มีส่วนร่วมในการก่อบุญดังกล่าวขึ้น โดยเปิดโอกาสให้ทายกทายิกาทั้งหลายที่มีศรัทธาปสาทะ ได้ร่วมกันถวายผ้ากฐินพร้อมทั้งบริวาร ตามกำลังความพร้อมแห่งตนและหมู่คณะ จะเห็นได้ว่าการถวายผ้าเพื่อภิกษุจะได้ใช้กรานกฐินนั้น จะถวายครบเพื่อจัดทำจีวรทั้ง ๓ ผืน หรือเพียงผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวรก็ย่อมได้ ก็สามารถกรานกฐินได้ถูกต้องตามระเบียบการที่พุทธบัญญัติไว้ โดยมุ่งเน้นวัตถุบริสุทธิ์ บุคคลบริสุทธิ์ และเจตนาบริสุทธิ์ ซึ่งคงรวมถึงการมีความรู้ในการจัดการ/ดำเนินการจัดถวายผ้ากฐินสำหรับฝ่ายคณะศรัทธา และต้องรู้จักการกรานกฐินสำหรับฝ่ายพระสงฆ์ เพื่อสืบสานข้อปฏิบัติอันดีตามประเพณีนิยมในพระพุทธศาสนาให้สืบทอดต่อไปอย่างบริสุทธิ์

สิ่งที่ควรติติงและมีมากกับการประพฤติปฏิบัติที่ผิดๆ คือ จำนวนพระสงฆ์ไม่ครบ ๕ รูปอยู่ร่วมจำพรรษาในอาวาส หรืออยู่ร่วมครบ ๕ รูป แต่มีพระภิกษุประพฤติปฏิบัติผิด ทำให้ขาดพรรษาก็คือว่า ขาดองค์คุณของผู้ควรรับผ้ากฐิน กับอีกประเด็นหนึ่งคือการชักชวนญาติโยม ผู้ไม่ได้ปวารณาไว้ ให้มาทอดถวายผ้ากฐินในวัดของตน ล้วนแล้วแต่เป็นความวิบัติตามที่กล่าวมา ไม่สามารถกรานกฐินได้ หรือพูดสรุปคือ ไม่สามารถรับผ้ากฐินเพื่อไปดำเนินการกรานกฐินได้ด้วย กิริยาที่ทำวิบัติ จึงหวังว่าสาธุชนพึงควรให้ความสนใจในหลักธรรมอันถูกต้อง จะได้ถึงซึ่งความบริสุทธิ์แห่งบุญกุศล ที่สำคัญคือการช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนาให้สืบอายุต่อไป ด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม

ขอเจริญพร


ที่มา

http://www.posttoday.com/%E0%

การถวายผ้ากฐินที่ถูกต้องควรทำอย่างไร? (ตอน๕)

ปุจฉา : กราบเรียน พระอาจารย์อารยะวังโส ข้าพเจ้ามีความสับสนเรื่องการถวายผ้ากฐินซึ่งมีอานิสงส์มาก ว่าการถวายผ้ากฐินอย่างไรที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา เพราะบางวัดรับผ้าไตรจีวรตัดเย็บแล้ว บางวัดรับผ้าขาวไปตัดเย็บเอง และบางวัดก็ไม่ตัดเย็บใดๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปจนไม่รู้ว่า แบบไหนคือแบบที่ถูกต้อง

โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส

ปุจฉา : กราบเรียน พระอาจารย์อารยะวังโส ข้าพเจ้ามีความสับสนเรื่องการถวายผ้ากฐินซึ่งมีอานิสงส์มาก ว่าการถวายผ้ากฐินอย่างไรที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา เพราะบางวัดรับผ้าไตรจีวรตัดเย็บแล้ว บางวัดรับผ้าขาวไปตัดเย็บเอง และบางวัดก็ไม่ตัดเย็บใดๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปจนไม่รู้ว่า แบบไหนคือแบบที่ถูกต้อง

ความเคารพอย่างสูง

“ศรัทธาธรรมส่องโลก”

วิสัชนา : อันกล่าวไว้ว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการควรกรานกฐิน องค์ ๘ ประการ คือ

๑. รู้จักบุพพกรณ์

๒. รู้จักถอนไตรจีวร

๓. รู้จักอธิษฐานไตรจีวร

๔. รู้จักการกราน

๕. รู้จักมาติกา

๖. รู้จักปลิโพธกังวล

๗. รู้จักการเดาะกฐิน

๘. รู้จักอานิสงส์กฐิน

ในอานิสงส์ของกฐินนั้น มีอยู่ ๕ ประการ ซึ่งภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้วทั้งหลายจะได้รับ คือ

๑. เที่ยวไปโดยไม่ต้องบอกลา

๒. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไห้ ครบ ๓ ผืน

๓. ฉันคณโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้

๔. เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา

๕. จีวรที่เกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของควรได้แก่ พวกเธอ

ทั้งโอกาสขยายเขตจีวรกาลให้ยาวออกไปตลอด ๔ เดือน สำหรับในหัวข้ออื่นอีก ๗ ประการ สามารถหาอ่านได้จากตำรับตำราโดยทั่วไป ในที่นี้ขอยกมาเพื่อแสดงให้เห็นว่า “กฐินกรรม” นั้น มีรูปแบบ มีวิธีการ และมีระเบียบประเพณีปฏิบัติของสงฆ์ ซึ่งถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมายาวนาน ๒,๕๐๐ กว่าปี



ที่มา

http://www.posttoday.com/%E0%

การถวายผ้ากฐินที่ถูกต้องควรทำอย่างไร? (ตอน ๔)

ปุจฉา : กราบเรียน พระอาจารย์อารยะวังโส ด้วยข้าพเจ้ามีความสับสนเรื่องการถวายผ้ากฐินซึ่งมีอานิสงส์มาก ว่าการถวายผ้ากฐินอย่างไรที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา เพราะบางวัดรับผ้าไตรจีวรตัดเย็บแล้ว บางวัดรับผ้าขาวไปตัดเย็บเอง และบางวัดก็ไม่ตัดเย็บใดๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปจนไม่รู้ว่า แบบไหนคือแบบที่ถูกต้อง

โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส

ปุจฉา : กราบเรียน พระอาจารย์อารยะวังโส ด้วยข้าพเจ้ามีความสับสนเรื่องการถวายผ้ากฐินซึ่งมีอานิสงส์มาก ว่าการถวายผ้ากฐินอย่างไรที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา เพราะบางวัดรับผ้าไตรจีวรตัดเย็บแล้ว บางวัดรับผ้าขาวไปตัดเย็บเอง และบางวัดก็ไม่ตัดเย็บใดๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปจนไม่รู้ว่า แบบไหนคือแบบที่ถูกต้อง

มีพิธีการจากสำนักวัฒนธรรมฯ แห่งหนึ่งเป็นโฆษกบรรยายว่า “การถวายผ้ากฐินให้กับพระสงฆ์มหานิกายก็จะทำอย่างหนึ่ง ถวายให้กับพระสงฆ์ธรรมยุติก็จะทำอย่างหนึ่ง จึงให้สับสนว่า “ทำไมถือปฏิบัติไม่เหมือนกัน ทั้งที่เป็นพุทธศาสนาเดียวกัน”

ขอพระอาจารย์ช่วยแจกแจงแสดงเหตุผลให้หายสงสัยด้วยเถิด เพื่อจะได้ถึงบุญกุศลที่แท้จริงสำหรับชาวพุทธไทยเรา...

ความเคารพอย่างสูง

“ศรัทธาธรรมส่องโลก”

วิสัชนา : โดยเฉพาะการที่พระสงฆ์พูดเลียบเคียง ชักชวนให้ญาติโยมมาถวายผ้ากฐินให้กับวัดของตนนั้น เป็นวิบัติว่าด้วยข้อทำนิมิตและเลียบเคียง การกรานกฐินย่อมใช้ไม่ได้ นี่คือความบริสุทธิ์ของพระพุทธศาสนาที่ญาติโยมควรศึกษา และควรช่วยกันรักษาพระธรรมวินัยนี้ให้สืบเนื่องต่อไป

วิบัติอีกประการหนึ่ง คือ กาลวิบัติ หมายถึง การกรานกฐินนั้นมีช่วงกำหนดเขตกาล ไม่สามารถทำได้ทุกกาลสมัย ดังที่กล่าวไปแล้วว่าทรงอนุญาตให้กรานกฐินอยู่ในช่วงเวลาใด

วิบัติในข้อสุดท้าย คือ กิริยาที่ทำวิบัติ ก็คงได้แก่ การทำบุพพกรณ์ไม่ถูกต้อง หรือไม่ทำบุพพกรณ์เลยดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีหลายแห่งรับผ้าไตรจีวรสำเร็จรูปมา ซึ่งไม่ได้รับผ้ากฐินอันเหมาะควรแก่การซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม และพินทุ ที่เรียกว่า บุพพกรณ์ ๗ ประการ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น กิริยาที่ทำวิบัติ ทำให้การกรานกฐินย่อมใช้ไม่ได้ หรือแม้แต่การกล่าวคำกรานผ้าผิดไป เช่น จะกรานด้วยผ้าสบง กลับไปกล่าวเป็นผ้าจีวร เรียกว่า วิบัติกิริยา เช่นเดียวกัน

อาตมาได้นำเรื่อง “ผ้ากฐิน” มากล่าวโดยสรุปพอเข้าใจ เพื่อสาธุชนจะได้เทียบเคียงดูว่า ที่เราปฏิบัติกันอยู่ถูกต้องหรือไม่... หากกังขาในเรื่องใดๆ ก็ต้องถามเป็นเรื่องๆ ไป ในที่นี้จะให้หลักธรรมที่สาธุชนควรทราบและเข้าใจ เพื่อไม่ให้ถึงความวิบัติในบุญกิริยาที่ควรจะได้รับ จากการได้มีโอกาสถวายผ้ากฐิน ซึ่งปีหนึ่งก็มีครั้งเดียว

อันปรากฏตามเขตกาลกฐินที่พุทธานุญาตให้ประกอบ “กฐินกรรม” ได้ ดังที่กล่าวมา โดยมีประเด็นสำคัญคือ จำนวนพระภิกษุสงฆ์ในอาวาสแห่งนั้น จะต้องอยู่จำพรรษาครบถ้วนไตรมาส (๓ เดือน) มีจำนวนตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป และสามารถมีคุณสมบัติในการทำการกรานกฐินได้



ที่มา
http://www.posttoday.com/%E0%B

การถวายผ้ากฐินที่ถูกต้องควรทำอย่างไร? (ตอน ๓)

“ผ้ากฐินนั้น มิใช่ผ้าไตรจีวรที่ตัดเย็บเรียบร้อยแล้ว ที่ญาติโยมจัดซื้อมาถวายพระสงฆ์ เพราะถ้าตัดเย็บย้อมมาเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์ก็จะไม่ได้ทำการรับผ้ามาเพื่อทำการกรานกฐิน ซึ่งจะไม่ครบองค์คุณสมบัติในกฐินกรรม อันเป็นไปตามพุทธบัญญัติในพระพุทธศาสนา”

โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส

“ผ้ากฐินนั้น มิใช่ผ้าไตรจีวรที่ตัดเย็บเรียบร้อยแล้ว ที่ญาติโยมจัดซื้อมาถวายพระสงฆ์ เพราะถ้าตัดเย็บย้อมมาเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์ก็จะไม่ได้ทำการรับผ้ามาเพื่อทำการกรานกฐิน ซึ่งจะไม่ครบองค์คุณสมบัติในกฐินกรรม อันเป็นไปตามพุทธบัญญัติในพระพุทธศาสนา”

ปุจฉา : กราบเรียน พระอาจารย์อารยะวังโส ด้วยข้าพเจ้ามีความสับสนเรื่องการถวายผ้ากฐิน ซึ่งมีอานิสงส์มาก ว่า การถวายผ้ากฐินอย่างไรที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา เพราะบางวัดรับผ้าไตรจีวรตัดเย็บแล้ว บางวัดรับผ้าขาวไปตัดเย็บเอง และบางวัดก็ไม่ตัดเย็บใดๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปจนไม่รู้ว่าแบบไหนคือแบบที่ถูกต้อง

พิธีการจากสำนักวัฒนธรรมฯ แห่งหนึ่งเป็นโฆษกบรรยายว่า “การถวายผ้ากฐินให้กับพระสงฆ์มหานิกายก็จะทำอย่างหนึ่ง ถวายให้กับพระสงฆ์ธรรมยุตก็จะทำอย่างหนึ่ง จึงให้สับสนว่า “ทำไมถือปฏิบัติไม่เหมือนกัน ทั้งที่เป็นพุทธศาสนาเดียวกัน”

ขอพระอาจารย์ช่วยแจกแจงแสดงเหตุผลให้หายสงสัยด้วยเถิด เพื่อจะได้ถึงบุญกุศลที่แท้จริงสำหรับชาวพุทธไทยเรา...

ความเคารพอย่างสูง

“ศรัทธาธรรมส่องโลก”

วิสัชนา : “อันสามารถย้อมสีสำหรับจีวรของพระได้” ซึ่งสีที่อนุญาตว่าใช้ได้นั้น คือ

๑.สีเหลืองเจือแดงเข้ม

๒.สีเหลืองหม่น

๓.สีกรัก

สำหรับสีที่ห้ามย้อมจีวร คือ สีคราม สีเหลือง สีแดง สีบานเย็น สีแสด สีชมพู และสีดำ

ดังนั้น ลักษณะผ้าสีขาวจึงเป็นสีนิยม ที่สาธุชนจะได้จัดทำมาเป็นผ้ากฐินเพื่อถวายสงฆ์ ตรงนี้จึงเป็นคำตอบที่ชัดเจนว่า “ผ้ากฐินนั้น มิใช่ผ้าไตรจีวรที่ตัดเย็บเรียบร้อยแล้ว ที่ญาติโยมจัดซื้อมาถวายพระสงฆ์” เพราะถ้าตัดเย็บย้อมมาเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์ก็จะไม่ได้ทำการรับผ้ามาเพื่อทำการกรานกฐิน ซึ่งจะไม่ครบองค์คุณสมบัติในกฐินกรรม อันเป็นไปตามพุทธบัญญัติในพระพุทธศาสนา

สำหรับเครื่องบริวารทั้งหลายของ “ผ้ากฐิน” ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยเงินทอง ของมีค่า เครื่องใช้ทั้งหลาย ที่ญาติโยมจัดหามา ซึ่งเรียกว่า บริวารผ้ากฐินนั้น มักจะน้อมนำถวายสงฆ์ โดยผู้ถวายไม่ได้จำกัดเฉพาะเจาะจงภิกษุผู้กรานกฐิน ก็คือว่า เป็นของสงฆ์ สงฆ์เป็นใหญ่ คือ ให้จัดการไปตามมติของสงฆ์

อนึ่ง ความวิบัติแห่ง “กฐินกรรม” มีอยู่ ๓ ประการ ซึ่งทำให้การกรานกฐินย่อมใช้ไม่ได้ คือ

๑.วัตถุวิบัติ

๒.กาลวิบัติ

๓.กิริยาที่ทำวิบัติ

วัตถุวิบัติ นั้น ก็คงต้องนึกถึงผ้าที่จะใช้กรานกฐินเป็นสำคัญ ซึ่งมีผ้าต้องห้ามอยู่ ๓ ชนิด ที่สาธุชนควรรับทราบ ได้แก่

๑.ผ้าที่ได้โดยไม่เป็นสิทธิ (ไม่ใช่เจ้าของ) ทำวิบัติ

๒.ผ้าที่ได้มาโดยอาการมิชอบ

๓.ผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์

ขอขยายความพอเข้าใจในส่วนของผ้า ซึ่งอาจจะทำให้ กฐินวิบัติ ได้ ดังที่กล่าวไปแล้วในส่วนวิบัติข้อที่ ๑ คือ ผู้ถวายผ้ามิได้มีกรรมสิทธิ์หรือเป็นเจ้าของผ้านั้น เช่น ขอยืมผ้าเขามา ฯลฯ ในข้อที่ ๒ ผ้าที่ได้มาโดยอาการมิชอบ คือ ทำนิมิตและพูดเลียบเคียง ในหัวข้อนี้ หากพูดให้เข้ากับกาลสมัยคือ พระสงฆ์ไปแสดงเจตนาพูดขอให้โยมนำผ้ากฐินมาทอดถวาย หรือพูดชักชวนโน้มน้าวโดยมีเจตนา เพื่อหวังให้ญาติโยมที่มิได้กล่าวปวารณาไว้ นำผ้าหรือวัตถุปัจจัยไทยทานทั้งหลายมาถวายตนหรือหมู่คณะ เรียกว่า พูดจาโน้มลาภ อันต้องอาบัติและเป็นวิบัติของกฐินกรรมนั้น และในข้อที่ ๓ ผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์ อันเป็นผ้าที่เขาถวายกฐินแล้ว แต่ภิกษุเก็บไว้ค้างคืน ไม่ได้ทำให้เสร็จในวันนั้น ผ้าเหล่านี้ท่านห้ามนำมาทำเป็นผ้ากฐิน ไม่ได้เป็นกฐินที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย


ที่มา

http://www.posttoday.com/%E0%B8

การถวายผ้ากฐินที่ถูกต้องควรทำอย่างไร? (ตอน ๒)

ปุจฉา : กราบเรียน พระอาจารย์อารยะวังโส วัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย

โดย....พระอาจารย์อารยะวังโส

ปุจฉา : กราบเรียน พระอาจารย์อารยะวังโส วัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย

ด้วยข้าพเจ้ามีความสับสนเรื่องการถวายผ้ากฐินซึ่งมีอานิสงส์มาก ว่าการถวายผ้ากฐินอย่างไรที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา เพราะบางวัดรับผ้าไตรจีวรตัดเย็บแล้ว บางวัดรับผ้าขาวไปตัดเย็บเอง และบางวัดก็ไม่ตัดเย็บใดๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปจนไม่รู้ว่า แบบไหนคือแบบที่ถูกต้อง

มีพิธีการจากสำนักวัฒนธรรมฯ แห่งหนึ่งเป็นโฆษกบรรยายว่า “การถวายผ้ากฐินให้กับพระสงฆ์มหานิกายก็จะทำอย่างหนึ่ง ถวายให้กับพระสงฆ์ธรรมยุตก็จะทำอย่างหนึ่ง จึงให้สับสนว่า “ทำไมถือปฏิบัติไม่เหมือนกัน ทั้งที่เป็นพุทธศาสนาเดียวกัน”

ขอพระอาจารย์ช่วยแจกแจงแสดงเหตุผลให้หายสงสัยด้วยเถิด เพื่อจะได้ถึงบุญกุศลที่แท้จริงสำหรับชาวพุทธไทยเรา......

ความเคารพอย่างสูง

“ศรัทธาธรรมส่องโลก”

วิสัชนา : เพื่อถวายสงฆ์ในส่วนความเป็นบริวารของผ้ากฐิน จึงสามารถที่จะจัดทำได้ตามกำลังความศรัทธาของญาติโยม

ประเด็นสำคัญ จึงต้องอยู่ที่ “ผ้ากฐิน” อันเป็นองค์ประธานของปัจจัยที่น้อมถวายตามกาลทาน ซึ่งเป็นทานที่จำกัดเขตกาล หรือเป็นไปตามกาลเฉพาะ ไม่เป็นไปตามกาลทั่วๆ ไป

คำว่า “กฐิน” มีชื่อมาจากไม้สะดึงที่ไว้ลาดหรือกางออกเพื่อขึงเย็บจีวร พูดให้เข้าใจง่ายๆ ไม้สะดึง คือ ไม้แบบที่ใช้สำหรับขึง เพื่อตัดเย็บจีวรนั่นเอง โดยกฐินหรือการรับผ้ากฐินของสงฆ์นั้นจัดเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่งใน ๔ อย่าง คือจัดเป็นญัตติทุติยกรรม หมายถึง จะต้องเผดียงสงฆ์หรือประกาศให้สงฆ์ทราบว่า ต่อไปนี้จะทำอะไร เรื่องอะไรในสังฆกรรม (กรรมที่สงฆ์พึงทำ และให้มีการสวดอนุสาวนา ๑ ครั้ง (อนุสาวนา หมายถึง คำประกาศความปรึกษาและตกลงของสงฆ์) โดยในส่วนของกฐินนั้น

นอกจากจะจัดเป็นญัตติทุติยกรรมแล้ว ยังมีอปโลกนกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในช่วงต้น (อปโลกนกรรม แปลว่า กรรมที่ทำด้วยการบอกกันในที่ประชุมสงฆ์ ไม่ต้องตั้งญัตติ ไม่ต้องสวดอนุสาวนา) ในช่วงของการให้ผ้ากฐิน เพื่อจะมอบให้กับพระภิกษุรูปหนึ่งรูปใดนั้นก็จะต้องมีธรรมเนียมในการขอปรึกษาหารือกันท่ามกลางสงฆ์ ว่าจะตกลงกันเป็นอย่างไร จะมอบให้ภิกษุรูปใด และการอปโลกน์ให้ผ้าบริวารผ้ากฐินก่อน แล้วจึงสวดกรรมวาจาที่กล่าวนั้นเป็นเรื่องของฝ่ายสงฆ์ ที่จะต้องดำเนินการไปตามขั้นตอน ซึ่งสาธุชนควรจะทราบไว้ด้วย เพื่อประโยชน์ในการสืบอายุพระพุทธศาสนา

ประเด็นสำคัญของสาธุชนผู้มีศรัทธาพึงควรทราบว่า จำนวนพระสงฆ์ผู้จะให้ผ้ากฐินนั้นต้องมีจำนวนอย่างน้อย ๕ รูป จึงมีคุณสมบัติที่จะรับผ้ากฐินไปดำเนินกฐินกรรม มีการกรานกฐินเป็นสำคัญ โดยเหตุที่กำหนดสงฆ์ไว้ให้มีจำนวน ๕ รูปนั้น เพราะจะต้องเป็นผู้รับผ้ากฐินเสียรูปหนึ่ง ที่เหลืออีก ๔ รูปจะได้เข้าเป็นจำนวนสงฆ์ คือครบองค์สงฆ์ มากกว่า ๕ รูปใช้ได้ น้อยกว่า ๕ รูปใช้ไม่ได้ ตรงนี้จึงขอหมายเหตุเป็นสำคัญ ให้สาธุชนได้มีความเห็นอันตรงกันว่า ในอาวาสหรือวัดใดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาครบถ้วนไตรมาส หรือ ๓ เดือน ในฤดูกาลฝน และอยู่ครบจำนวน ๕ รูปขึ้นไป เป็นผู้ไม่ขาดพรรษาตามพระธรรมวินัย จึงจะมีอานิสงส์รับผ้ากฐินได้ตามเขตกฐินปกติ เพื่อทำการกรานกฐิน ซึ่งระบุสิทธิของภิกษุผู้กรานกฐินไว้อย่างชัดเจนว่า จะต้องประกอบด้วยองค์กำหนด ๓ ประการ คือ

๑.เป็นผู้จำพรรษาถ้วนไตรมาสไม่ขาด

๒.อยู่ในอาวาสเดียวกัน

๓.ภิกษุมีจำนวนตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป

ซึ่งถ้าภิกษุได้กรานกฐินแล้ว เขตกฐินก็จะยืดออกไปอีก ๔ เดือน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔

สำหรับคำว่า “การกรานกฐิน” นั้น เป็นการดำเนินการของฝ่ายพระสงฆ์ที่มีองค์คุณสมบัติครบ “ตามสิทธิของภิกษุผู้กรานกฐิน” คือ เมื่อมีผ้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ในกาลเช่นนั้น พอจะจัดทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งได้ สงฆ์พร้อมใจกันยกให้แก่ภิกษุรูปใด เพื่อประโยชน์แห่งการกราน ภิกษุผู้นั้นรับผ้านั้นแล้วให้เอาไปทำเป็นจีวรให้แล้วเสร็จภายในวันนั้น (ภายในสันหนึ่งคืนหนึ่ง ก่อนรุ่งอรุณของวันใหม่) และนำมาบอกแก่ภิกษุผู้ยกผ้านั้นให้เพื่ออนุโมทนา ภิกษุเหล่านั้นร่วมอนุโมทนาแล้วจะได้รับอานิสงส์กฐินเช่นเดียวกันกับภิกษุผู้รับผ้ากฐินอันสงฆ์ให้แล้วไปทำจีวร จึงต้องทำบุพกรณ์ให้แล้วเสร็จภายในวันนั้น

จากการรับผ้ากฐินหรือผ้าขาวผืนนั้นที่สาธุชนเจ้าของผ้าน้อมถวายมา โดยบุพกรณ์มีอยู่ ๗ ประการ ที่พระสงฆ์ผู้ได้รับผ้ากฐินมาต้องกระทำ ได้แก่

๑.ซักผ้า

๒.กะผ้า

๓.ตัดผ้า

๔.เนาผ้าที่ตัดแล้ว

๕.เย็บเป็นจีวร

๖.ย้อมจีวรที่เย็บแล้ว

๗.ทำกัปปะ คือพินทุ

หมายเหตุสำคัญตรงนี้ จึงขอตอบให้ชัดเจนว่า “ผ้ากฐิน คือ ผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล หรือผ้าตกตามร้านที่มีลักษณะเป็นสีขาว


ที่มา

http://www.posttoday.com/%E0%B

การถวายผ้ากฐินที่ถูกต้องควรทำอย่างไร? (ตอน๑)

ปุจฉา : กราบเรียนพระอาจารย์ ข้าพเจ้ามีความสับสนเรื่องการถวายผ้ากฐินซึ่งมีอานิสงส์มาก ว่าการถวายผ้ากฐินอย่างไรที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา เพราะบางวัดรับผ้าไตรจีวรตัดเย็บแล้ว บางวัดรับผ้าขาวไปตัดเย็บเอง และบางวัดก็ไม่ตัดเย็บใดๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปจนไม่รู้ว่า แบบไหนคือแบบที่ถูกต้อง

โดย....พระอาจารย์อารยะวังโส

ปุจฉา : กราบเรียนพระอาจารย์ ข้าพเจ้ามีความสับสนเรื่องการถวายผ้ากฐินซึ่งมีอานิสงส์มาก ว่าการถวายผ้ากฐินอย่างไรที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา เพราะบางวัดรับผ้าไตรจีวรตัดเย็บแล้ว บางวัดรับผ้าขาวไปตัดเย็บเอง และบางวัดก็ไม่ตัดเย็บใดๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปจนไม่รู้ว่า แบบไหนคือแบบที่ถูกต้อง

ความเคารพอย่างสูง

“ศรัทธาธรรมส่องโลก”

วิสัชนา : ขอเจริญพรสาธุชนผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ก่อนที่จะวิสัชนาในปัญหาเรื่องของการถวายผ้ากฐิน ใคร่ขอแจ้งให้โยมแสงจันทร์ฉาย สงวนสุข ซึ่งมีจดหมายเข้ามาขอหนังสือธรรมส่องโลกรวมเล่ม ว่าได้มอบให้ทางวัดป่าฯ จัดส่งเล่ม ๑๒๓ ไปให้แล้ว ในส่วนคำถามที่ว่า “ดิฉันอยากทำบุญกับทางวัด จะส่งด้วยวิธีใดได้บ้าง” ก็ขอแนะนำให้ส่งเป็นธนาณัติไปถึงวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย อ.เมือง จ.ลำพูน โดยตรงเลย และจดหมายอีกฉบับหนึ่งจาก น.ส.นิลวรรณ ลีอังกูรเสถียร สถาบันพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ ที่ได้มีอีเมลมาขอหนังสือธรรมส่องโลกรวมเล่ม ๑๒๓ ได้แจ้งให้วัดป่าพุทธพจน์ฯ จัดส่งไปให้แล้ว หากมีเหตุขัดข้องประการใด แจ้งมาให้อาตมาทราบด้วย จะได้ช่วยดำเนินการให้ต่อไปตามประสงค์

สำหรับคำถามของ “โยมที่ไม่มีชื่อมา” ในเรื่องความสับสนของการถวายผ้ากฐินนั้น ก็คงเป็นเรื่องปกติของสังคมยุคนี้ ที่ต่างความคิด ต่างการกระทำ และเริ่มล่วงเกินพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้ากันมากขึ้น โดยยึดความเห็นหรือทิฏฐิของตนเป็นใหญ่ เพื่อจะได้คลายความสับสนของศรัทธาสาธุชน ซึ่งกำลังเร่งปลูกร่างสร้างบุญกุศล โดยเฉพาะในสมัยที่ยังอยู่ในเขตกาลถวายผ้ารับผ้ากฐินได้ ซึ่งจะอยู่ในระหว่างตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ (๒๔ ต.ค. ๒๕๕๓) จนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (๒๑ พ.ย. ๒๕๕๓) เราจึงเห็นการเชิญชวนกันไปร่วมเป็นเจ้าภาพถวายผ้ากฐินตามวัดต่างๆ กันมากมาย มีการชักชวนจัดหาบริวารผ้ากฐินกันตามแต่ประสงค์ของคณะศรัทธา เช่น การสร้างครุภัณฑ์อุปกรณ์ต่างๆ หรือการจัดสร้างเสนาสนะ อุโบสถ วิหาร พระเจดีย์ กุฏิ หรือห้องน้ำ ฯลฯ

ที่มา

http://www.posttoday.com/%E0%B8%98%E0

Thursday, October 28, 2010

อนุปุพพิกถาธรรม ก่อนการถวายสังฆทาน โดยพระครูสุธรรมวีราจารย์ วัดถ้ำขวัญเมือง อ.สวี จ.ชุมพร

อนุปุพพิกถาธรรม ก่อนการถวายสังฆทาน โดยพระครูสุธรรมวีราจารย์ วัดถ้ำขวัญเมือง อ.สวี จ.ชุมพร