ปุจฉา : กราบเรียน พระอาจารย์อารยะวังโส ด้วยข้าพเจ้ามีความสับสนเรื่องการถวายผ้ากฐินซึ่งมีอานิสงส์มาก ว่าการถวายผ้ากฐินอย่างไรที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา เพราะบางวัดรับผ้าไตรจีวรตัดเย็บแล้ว บางวัดรับผ้าขาวไปตัดเย็บเอง และบางวัดก็ไม่ตัดเย็บใดๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปจนไม่รู้ว่า แบบไหนคือแบบที่ถูกต้อง
โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
ปุจฉา : กราบเรียน พระอาจารย์อารยะวังโส ด้วยข้าพเจ้ามีความสับสนเรื่องการถวายผ้ากฐินซึ่งมีอานิสงส์มาก ว่าการถวายผ้ากฐินอย่างไรที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา เพราะบางวัดรับผ้าไตรจีวรตัดเย็บแล้ว บางวัดรับผ้าขาวไปตัดเย็บเอง และบางวัดก็ไม่ตัดเย็บใดๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปจนไม่รู้ว่า แบบไหนคือแบบที่ถูกต้อง
มีพิธีการจากสำนักวัฒนธรรมฯ แห่งหนึ่งเป็นโฆษกบรรยายว่า “การถวายผ้ากฐินให้กับพระสงฆ์มหานิกายก็จะทำอย่างหนึ่ง ถวายให้กับพระสงฆ์ธรรมยุติก็จะทำอย่างหนึ่ง จึงให้สับสนว่า “ทำไมถือปฏิบัติไม่เหมือนกัน ทั้งที่เป็นพุทธศาสนาเดียวกัน”
ขอพระอาจารย์ช่วยแจกแจงแสดงเหตุผลให้หายสงสัยด้วยเถิด เพื่อจะได้ถึงบุญกุศลที่แท้จริงสำหรับชาวพุทธไทยเรา...
ความเคารพอย่างสูง
“ศรัทธาธรรมส่องโลก”
วิสัชนา : โดยเฉพาะการที่พระสงฆ์พูดเลียบเคียง ชักชวนให้ญาติโยมมาถวายผ้ากฐินให้กับวัดของตนนั้น เป็นวิบัติว่าด้วยข้อทำนิมิตและเลียบเคียง การกรานกฐินย่อมใช้ไม่ได้ นี่คือความบริสุทธิ์ของพระพุทธศาสนาที่ญาติโยมควรศึกษา และควรช่วยกันรักษาพระธรรมวินัยนี้ให้สืบเนื่องต่อไป
วิบัติอีกประการหนึ่ง คือ กาลวิบัติ หมายถึง การกรานกฐินนั้นมีช่วงกำหนดเขตกาล ไม่สามารถทำได้ทุกกาลสมัย ดังที่กล่าวไปแล้วว่าทรงอนุญาตให้กรานกฐินอยู่ในช่วงเวลาใด
วิบัติในข้อสุดท้าย คือ กิริยาที่ทำวิบัติ ก็คงได้แก่ การทำบุพพกรณ์ไม่ถูกต้อง หรือไม่ทำบุพพกรณ์เลยดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีหลายแห่งรับผ้าไตรจีวรสำเร็จรูปมา ซึ่งไม่ได้รับผ้ากฐินอันเหมาะควรแก่การซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม และพินทุ ที่เรียกว่า บุพพกรณ์ ๗ ประการ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น กิริยาที่ทำวิบัติ ทำให้การกรานกฐินย่อมใช้ไม่ได้ หรือแม้แต่การกล่าวคำกรานผ้าผิดไป เช่น จะกรานด้วยผ้าสบง กลับไปกล่าวเป็นผ้าจีวร เรียกว่า วิบัติกิริยา เช่นเดียวกัน
อาตมาได้นำเรื่อง “ผ้ากฐิน” มากล่าวโดยสรุปพอเข้าใจ เพื่อสาธุชนจะได้เทียบเคียงดูว่า ที่เราปฏิบัติกันอยู่ถูกต้องหรือไม่... หากกังขาในเรื่องใดๆ ก็ต้องถามเป็นเรื่องๆ ไป ในที่นี้จะให้หลักธรรมที่สาธุชนควรทราบและเข้าใจ เพื่อไม่ให้ถึงความวิบัติในบุญกิริยาที่ควรจะได้รับ จากการได้มีโอกาสถวายผ้ากฐิน ซึ่งปีหนึ่งก็มีครั้งเดียว
อันปรากฏตามเขตกาลกฐินที่พุทธานุญาตให้ประกอบ “กฐินกรรม” ได้ ดังที่กล่าวมา โดยมีประเด็นสำคัญคือ จำนวนพระภิกษุสงฆ์ในอาวาสแห่งนั้น จะต้องอยู่จำพรรษาครบถ้วนไตรมาส (๓ เดือน) มีจำนวนตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป และสามารถมีคุณสมบัติในการทำการกรานกฐินได้
ที่มา
http://www.posttoday.com/%E0%B
No comments:
Post a Comment