๑. เรื่องพระราธเถระ [๖๐]
ข้อความเบื้องต้น
ราธพราหมณ์ซูบผอมเพราะไม่ได้บวช
ราธพราหมณ์มีอุปนิสัยพระอรหัต
ในเวลาเย็น เป็นเหมือนเสด็จเที่ยวจาริกไปในวิหาร เสด็จไปสู่สำนักของ
พระศาสดา. เธอได้การสงเคราะห์จากสำนักของภิกษุเหล่านั้นหรือ? พราหมณ์. ได้พระเจ้าข้า, ข้าพระองค์ได้แต่เพียงอาหาร, แต่ท่านไม่ให้ข้าพระองค์บวช. พระสารีบุตรเป็นผู้กตัญญูกตเวที เมื่อพระศาสดาตรัสว่า "สารีบุตร ก็การที่เธอเปลื้องพราหมณ์ผู้มีอุปการะอันกระทำ พราหมณ์บวชแล้วเป็นคนว่าง่าย ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกะท่านแล้ว ตรัสว่า "สารีบุตร อันเตวาสิกของเธอเป็นผู้ว่าง่ายแลหรือ?" พระเถระ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า เธอเป็นผู้ว่าง่ายเหลือเกิน เมื่อโทษไรๆ ที่ข้าพระองค์แม้กล่าวสอนอยู่ ไม่เคยโกรธเลย. พระศาสดา. สารีบุตร เธอเมื่อได้สัทธิวิหาริกเห็นปานนี้ จะพึงรับได้ประมาณเท่าไร? พระเถระ. ข้าพระองค์พึงรับได้แม้มากทีเดียว พระเจ้าข้า. พวกภิกษุสรรเสริญพระสารีบุตรและพระราธะ พระศาสดาทรงแสดงอลีนจิตตชาดก "เสนาหมู่ใหญ่อาศัยเจ้าอลีนจิตตกุมาร ร่าเริงทั่วกันแล้ว ได้ให้ช้างจับพระเจ้าโกศลทั้งเป็น ผู้ไม่พอพระทัยด้วยราชสมบัติ, ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยนิสัยอย่างนี้ เป็นผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว เจริญกุศลธรรมอยู่, เพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ พึง บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวงโดยลำดับ." ได้ยินว่า ช้างตัวหนึ่งเที่ยวไปตัวเดียว รู้อุปการะที่พวกช่างไม้ทำแล้วแก่ตน โดยภาวะคือทำเท้าให้หายโรค แล้วให้ลูกช้างตัวขาวปลอด ในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตรเถระแล้ว. ____________________________ ๑- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๑๖๑; อรรถกถา ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๑๖๑. ภิกษุควรเป็นผู้ว่าง่ายอย่างพระราธะ ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ บทว่า ปวตฺตารํ คือ เหมือนอย่างผู้ทำความอนุเคราะห์คนเข็ญใจ ซึ่งเป็นอยู่โดยฝืดเคือง แล้วชักชวนว่า "ท่านจงมา, เราจักชี้อุบายเลี้ยงชีพโดยสะดวกแก่ท่าน" ดังนี้แล้ว นำไปยังที่ขุมทรัพย์แล้ว เหยียดมือออกบอกว่า "ท่านจงถือเอาทรัพย์นี้ เลี้ยงชีพตามสบายเถิด." วินิจฉัยในบทว่า วชฺชทสฺสินํ ภิกษุผู้ชี้โทษมี ๒ จำพวก คือ ภิกษุคอยแส่หาโทษ ด้วยคิดว่า "เราจักข่มภิกษุนั้นด้วยมารยาทอันไม่สมควร หรือด้วยความพลั้งพลาดอันนี้ในท่ามกลางสงฆ์" ดังนี้ จำพวก ๑, ภิกษุผู้ดำรงอยู่แล้วตามสภาพ ด้วยสามารถแห่งการอุ้มชูด้วยการแลดูโทษนั้นๆ เพื่อประโยชน์จะให้รู้สิ่งที่ยังไม่รู้ เพื่อต้องการจะได้ตามถือเอาสิ่งที่รู้แล้ว เพราะความเป็นผู้ปรารถนาความเจริญแห่งคุณมีศีลเป็นต้นแก่ผู้นั้น จำพวก ๑; ภิกษุจำพวกหลังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ในบทว่า วชฺชทสฺสินํ นี้. คนเข็ญใจถูกผู้อื่นคุกคามก็ดี ตีก็ดี ชี้ขุมทรัพย์ให้ว่า "แกจงถือเอาทรัพย์นี้" ย่อมไม่ทำความโกรธ, มีแต่ปราโมทย์อย่างเดียว ฉันใด; เมื่อบุคคลเห็นปานดังนั้น เห็นมารยาทมิบังควรก็ดี ความพลั้งพลาดก็ดี แล้วบอกอยู่, ผู้รับบอกไม่ควรทำความโกรธ ควรเป็นผู้ยินดีอย่างเดียว ฉันนั้น, ควรปวารณาทีเดียวว่า "ท่านเจ้าข้า กรรมอันใหญ่ อันท่านผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นอาจารย์ เป็นอุปัชฌาย์ของกระผมแล้ว สั่งสอนอยู่กระทำแล้ว, แม้ต่อไป ท่านพึงโอวาทกระผม" ดังนี้. บทว่า นิคฺคยฺหวาทึ ความว่า ก็อาจารย์บางท่านเห็นมรรยาท อันมิบังควรก็ดี ความพลั้งพลาดก็ดี ของพวกศิษย์มีสัทธิวิหาริกเป็นอาทิแล้ว ไม่อาจเพื่อจะพูด ด้วยเกรงว่า "ศิษย์ผู้นี้อุปัฏฐากเราอยู่ด้วยกิจวัตร มีให้น้ำบ้วนปากเป็นต้นแก่เรา โดยเคารพ ถ้าเราจักว่าเธอไซร้ เธอจักไม่ ส่วนอาจารย์ใด เมื่อเห็นโทษปานนั้นแล้ว คุกคาม ประฌาม ลงทัณฑกรรม ไล่ออกจากวิหาร ตามสมควรแก่โทษ ให้ศึกษาอยู่. อาจารย์นี้ ชื่อว่าผู้กล่าวนิคคหะ แม้เหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. สมจริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ไว้ว่า "ดูก่อนอานนท์ เราจักกล่าวข่มๆ ดูก่อนอานนท์ เราจักกล่าวยกย่องๆ ผู้ใดเป็นสาระ ผู้นั้นจักดำรงอยู่ได้." บทว่า เมธาวึ คือ ผู้ประกอบด้วยปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม. บทว่า ตาทิสํ เป็นต้น ความว่า บุคคลพึงคบ คือพึงเข้าไปนั่งใกล้ บัณฑิตเห็นปานนั้น, เพราะเมื่ออันเตวาสิกคบอาจารย์เช่นนั้นอยู่, คุณอย่างประเสริฐย่อมมี โทษที่ลามกย่อมไม่มี คือมีแต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเสีย. ในที่สุดเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล. เรื่องพระราธเถระ จบ. ---------------------- ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=16&p=1 |
No comments:
Post a Comment