Monday, June 29, 2009

เรื่องสุมนสามเณร

คัดลอกจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 43 หน้า 395-415

***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 395***

๑๒. เรื่องสุมนสามเณร [๒๖๓]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในบุพพาราม ทรงปรารภสุมนสามเณร
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โย หเว " เป็นต้น.
บุรพกรรมของพระอนุรุทธะ
อนุปุพพีกถาในเรื่องนั้น ดังต่อไปนี้ :-
ความพิสดารว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตระ
กุลบุตรผู้หนึ่ง เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งอันเลิศ
กว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ ในท่ามกลางบริษัท ๔ ปรารถนาสมบัติ
นั้น จึงนิมนต์พระศาสดา ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุขสิ้น ๗ วัน แล้วตั้งความปรารถนาว่า " พระเจ้าข้า แม้ข้าพระองค์
พึงเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้า
พระองค์หนึ่งในอนาคต."
พระศาสดาทรงตรวจดูสิ้นแสนกัลป์ ทรงทราบความสำเร็จแห่ง
ความปรารถนาของเขาแล้ว จึงทรงพยากรณ์ว่า " ในที่สุดแห่งแสนกัลป์
แต่ภัทรกัลป์นี้ เธอจักเป็นผู้ชื่อว่าอนุรุทธเถระ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้
ได้ทิพยจักษุ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดม." เขาฟัง
คำพยากรณ์นั้นแล้ว สำคัญสมบัตินั้นดุจว่าอันตนบรรลุในวันพรุ่งนี้, เมื่อ
พระศาสดาปรินิพพานแล้ว, จึงถามการบริกรรมเพื่ออันได้ทิพยจักษุกะ
พวกภิกษุ ให้ทำโคมต้นหลายพันต้น ล้อมพระสถูปทองอัน (สูงใหญ่ได้)
๗ โยชน์ แล้วให้ทำการบูชาด้วยประทีป จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดใน

***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 396**

เทวโลก ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกสิ้นแสนกัลป์ ในกัลป์นี้
เกิดในตระกูลของคนเข็ญใจ ในกรุงพาราณสี อาศัยสุมนเศรษฐี เป็นคน
ขนหญ้าของเศรษฐีนั้นเลี้ยงชีพแล้ว. เขาได้มีชื่อว่า " อันนภาระ." แม้
สุมนเศรษฐีก็ถวายมหาทาน ในพระนครนั้น ตลอดกาลเป็นนิตย์.
ภายหลังวันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธะนามว่าอุปริฏฐะ ออกจาก
นิโรธสมาบัติที่เขาคันธมาทน์แล้ว คิดว่า "วันนี้ เราจักทำความอนุเคราะห์
แก่ใครหนอแล ?" ทราบว่า " วันนี้ การที่เราทำความอนุเคราะห์แก่บุรุษ
ชื่ออันนภาระ ควร, ก็บัดนี้ เขาขนหญ้าจากดงแล้วจักมาเรือน" ดังนี้
แล้ว จึงถือบาตรและจีวรไปด้วยฤทธิ์ ปรากฏเฉพาะหน้าของอันนภาระ.
อันนภาระเห็นท่านมีบาตรเปล่าในมือแล้ว ถามว่า " ท่านขอรับ ท่านได้
ภิกษาบ้างแล้วหรือ ?" เมื่อท่านตอบว่า " เราจักได้ละ ท่านผู้มีบุญมาก "
จึงเรียนว่า "ท่านผู้เจริญ ถ้ากระนั้น ขอพระผู้เป็นเจ้าโปรดรอหน่อย
เถิด" ดังนี้แล้ว ก็ทิ้งหาบหญ้าไว้ ไปสู่เรือนโดยเร็ว ถามภรรยาว่า " นาง
ผู้เจริญ ภัตส่วนที่หล่อนเก็บไว้เพื่อฉันมีหรือไม่ ? " เมื่อนางตอบว่า " มี
อยู่ นาย," จึงกลับมาโดยเร็ว รับบาตรของพระปัจเจกพุทธะไปสู่เรือน
ด้วยคิดว่า " เมื่อความที่เราเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะให้ มีอยู่ ไทยธรรมไม่
มี, เมื่อไทยธรรมมี เราไม่ได้ปฏิคาหก แต่วันนี้ปฏิคาหกเราก็พบแล้ว
และไทยธรรมของเราก็มีอยู่, เป็นลาภของเราหนอ" ให้เทภัตลงในบาตร
แล้วนำกลับมาตั้งไว้ในมือพระปัจเจกพุทธะแล้วตั้งความปรารถนาว่า :-
" ก็ด้วยทานอันนี้ ความเป็นผู้ขัดสนอย่าได้มี
แล้วแก่ข้าพเจ้า, ชื่อว่าคำว่า ไม่มี อย่ามีแล้วใน
ภพน้อยภพใหญ่.

***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 397***

ท่านเจ้าข้า ขอข้าพเจ้าพึงพ้นจากการเลี้ยงชีพอันฝืดเคืองเห็นปานนี้,
ไม่พึงได้ฟังบทว่า ' ไม่มี ' เลย."
พระปัจเจกพุทธะกระทำอนุโมทนาว่า " ขอความปรารถนาของท่าน
จงเป็นอย่างนั้นเถิด ท่านผู้มีบุญมาก" ดังนี้แล้ว ก็หลีกไป.
เทพดาผู้สิงอยู่ในฉัตรแม้ของสุมนเศรษฐี กล่าวว่า :-
" น่าชื่นใจจริง ทานเป็นทานเยี่ยม อันนภาระ
ตั้งไว้ดีแล้วในพระอุปริฏฐปัจเจกพุทธะ "
ดังนี้แล้วก็ได้ให้สาธุการสามครั้ง.
ครั้งนั้น เศรษฐีกล่าวกะเทพดานั้นว่า "ท่านไม่เห็นเราผู้ถวายทาน
อยู่สิ้นกาลประมาณเท่านี้หรือ ? "
เทพดา. ข้าพเจ้าปรารภทานของท่านแล้วให้สาธุการก็หาไม่, แต่
สาธุการนี่ ข้าพเจ้าให้เป็นไปแล้ว ก็เพราะความเลื่อมใสในบิณฑบาตที่
อันนภาระถวายแล้วแก่พระอุปริฏฐปัจเจกพุทธะ.
เศรษฐีนั้นคิดว่า " น่าอัศจรรย์จริง ท่านผู้เจริญ: เราถวายทาน
สิ้นกาลเท่านี้ ก็ไม่สามารถเพื่อจะให้เทพดาให้สาธุการได้, อันนภาระ
อาศัยเราเป็นอยู่ ยังให้เทพดาสาธุการด้วยบิณฑบาตหนเดียวเท่านั้นได้,
เราจักทำสิ่งอันสมควรกันในทานของเขา แล้วทำบิณฑบาตนั้นให้เป็น
ของ ๆ เราเสีย " ดังนี้แล้ว จึงให้เรียกเขามาถามว่า " วันนี้ เจ้าได้ให้
อะไรแก่ใครบ้าง ?"
อันนภาระ. นายขอรับ, วันนี้ กระผมถวายภัตตาหารแก่พระ-
อุปริฏฐปัจเจกพุทธะ.

***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 398***

เศรษฐี. เอาเถอะ พ่อ เจ้าจงถือเอากหาปณะ แล้วให้บิณฑบาต
นั่นแก่ฉันเถิด.
อันนภาระ. ให้ไม่ได้ดอกนาย.
เศรษฐีนั้น ขึ้นราคาให้จนถึงพัน. ฝ่ายอันนภาระนี้ ก็มิได้ให้แม้
ด้วยทรัพย์ตั้งพัน. ลำดับนั้น เศรษฐีกล่าวกะเขาว่า " ผู้เจริญ ข้อนั้น
จงยกไว้เถิด, ถ้าเจ้าไม่ให้บิณฑบาต, จงถือเอาทรัพย์พันหนึ่ง แล้วให้ส่วน
บุญแก่ฉันเถิด."
เขากล่าวว่า " กระผมปรึกษากับพระผู้เป็นเจ้าดูแล้ว จักรู้ได้ " รีบ
ไปทันพระปัจเจกพุทธะแล้วเรียนถามว่า " ท่านผู้เจริญ สุมนเศรษฐีให้
ทรัพย์พันหนึ่ง แล้วขอส่วนบุญในบิณฑบาตของท่าน, กระผมจะทำ
อย่างไร ? "
ทีนั้น ท่านนำข้อความมาเปรียบเทียบแก่เขาว่า " แม้ฉันใด ท่าน
ผู้เป็นบัณฑิต ประทีปในเรือนหลังหนึ่งในบ้าน ๑๐๐ ตระกูล พึงลุก
โพลงขึ้น, พวกชนที่เหลือ เอาน้ำมันของตนชุบไส้แล้วพึงไปจุดไฟดวง
อื่นแล้วถือเอา; แสงสว่างของประทีปดวงเดิม อันบุคคลจะพึงกล่าวว่า
' มี ' หรือว่า ' ไม่มี. '
อันนภาระ. แสงสว่างย่อมมีมากกว่า ขอรับ.
พระปัจเจกพุทธะ. ฉันนั้นนั่นแล ท่านผู้เป็นบัณฑิต จะเป็นข้าว
ยาคูกระบวยหนึ่ง หรือภิกษาทัพพีหนึ่งก็ตาม, เมื่อบุคคลให้ส่วนบุญใน
บิณฑบาตของตนแก่ผู้อื่นอยู่, ให้แก่คนไปเท่าใด, บุญเท่านั้นย่อมเจริญ;
ก็ท่านได้ให้บิณฑบาตส่วนหนึ่งเท่านั้น, แต่เมื่อท่านให้ส่วนบุญแก่เศรษฐี,
บิณฑบาตชื่อว่าเป็นสองส่วน: ส่วนหนึ่งเป็นของท่าน ส่วนหนึ่งเป็นของ
เศรษฐี.

****พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 399***

เขารับว่า " ดีละ ท่านผู้เจริญ " แล้ว ไหว้พระปัจเจกพุทธะนั้น
แล้วไปสู่สำนักของเศรษฐี กล่าวว่า " นาย ขอท่านจงรับเอาส่วนบุญเถิด."
เศรษฐี. ถ้ากระนั้น พ่อจงรับเอากหาปณะเหล่านี้ไป.
อันนภาระ. กระผมไม่ได้ขายบิณฑบาต, กระผมให้ส่วนบุญแก่ท่าน
ด้วยศรัทธา.
เศรษฐีกล่าวว่า " เจ้าให้ด้วยศรัทธา, ถึงเราก็บูชาคุณของเจ้า;
ด้วยศรัทธา จงรับเอาไปเถิดพ่อ, อนึ่ง จำเดิมแต่นี้ไป เจ้าอย่าได้ทำการ
งานด้วยมือของตน, จงปลูกเรือนอยู่ริมถนนเถิด, และจงถือเอาวัตถุ
ทุกอย่างที่เจ้าต้องการ จากสำนักของฉัน. "
ก็บิณฑบาตที่บุคคลถวายแก่ท่านผู้ออกจากนิโรธ ย่อมให้ผลในวัน
นั้นนั่นเอง; เพราะฉะนั้น แม้พระราชาทรงสดับความเป็นไปนั้นแล้ว จึง
รับสั่งให้เรียกอันนภาระมาแล้ว ทรงรับส่วนบุญ พระราชทานโภคะมาก
มาย แล้วรับสั่งให้พระราชทานตำแหน่งเศรษฐีแก่เขา.

ประวัติพระอนุรุทธะ
อันนภาระนั้น เป็นสหายของสุมนเศรษฐี ทำบุญทั้งหลายตลอด
ชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลก
และมนุษยโลก, ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในตำหนักของเจ้าศากยะ
พระนามว่าอมิโตทนะ ในพระนครกบิลพัสดุ์. พระประยูรญาติทั้งหลาย
ทรงขนานพระนามแก่พระกุมารนั้นว่า " อนุรุทธะ. " พระกุมารนั้น เป็น
พระกนิษฐภาดาของเจ้ามหานามศากยะ เป็นพระโอรสของพระเจ้าอาของ
พระศาสดา ได้เป็นผู้สุขุมาลชาติอย่างยิ่ง มีบุญมาก.

***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 400***

ได้ยินว่า วันหนึ่ง เมื่อกษัตริย์หกพระองค์เล่นขลุบเอาขนมทำ
คะแนนกัน, เจ้าอนุรุทธะแพ้, จึงส่งข่าวไปยังสำนักของพระมารดาเพื่อ
ต้องการขนม. พระมารดานั้น เอาภาชนะทองคำใบใหญ่บรรจุให้เต็มแล้ว
ส่งขนม (ให้). เจ้าอนุรุทธะเสวยขนมแล้ว ทรงเล่นแพ้อีก ก็ส่งข่าวไป
อย่างนั้นเหมือนกัน.
เมื่อคนนำขนมมาอย่างนั้นถึง ๓ ครั้ง, ในครั้งที่ ๔ พระมารดาส่งข่าว
ไปว่า " บัดนี้ ขนมไม่มี." เจ้าอนุรุทธะ ทรงสดับคำของพระมารดานั้น,
แล้ว ทำความสำคัญว่า " ขนมที่ชื่อว่าไม่มี จักมีในบัดนี้ " เพราะความ
ที่บทว่า " ไม่มี " เป็นบทที่ตนไม่เคยสดับแล้ว จึงทรงส่งไปด้วยพระดำรัส
ว่า " เจ้าจงไป, จงนำขนมไม่มีมา."
ครั้งนั้นพระมารดาของพระกุมารนั้น, เมื่อคนรับใช้ ทูลว่า " ข้าแต่
พระแม่เจ้า นัยว่า ขอพระแม่เจ้าจงให้ขนมไม่มี," จึงทรงดำริว่า " บทว่า
' ไม่มี ' อันบุตรของเราไม่เคยฟังมาแล้ว, เราพึงให้เขารู้ความที่ขนมไม่มี
นั้นอย่างไรได้หนอแล ?" จึงทรงล้างถาดทองคำปิดด้วยถาดทองคำใบอื่น
ส่งไปว่า " เอาเถิด พ่อ เจ้าจงให้ถาดทองคำนี้แก่บุตรของเรา. "
ขณะนั้น เทพดาทั้งหลายผู้รักษาพระนคร คิดว่า " เจ้าอนุรุทธะ
ผู้เป็นเจ้าของพวกเรา ถวายภัตอันเป็นส่วน (ของตน) แก่พระปัจเจกพุทธะ
นามว่าอุปริฏฐะ แล้วตั้งความปรารถนาไว้ว่า ' เราไม่พึงได้ฟังบทว่า
ไม่มี ' ในกาลแห่งตนเป็นคนขนหญ้าชื่ออันนภาระ. หากว่า เราทราบ
ความนั้นแล้ว พึงเฉยเสียไซร้, แม้ศีรษะของเราพึงแตกออก ๗ เสี่ยง "
จึงบรรจุถาดให้เต็มด้วยขนมทิพย์ทั้งหลายแล้ว . บุรุษนั้นนำถาดมาวางไว้ใน
สำนักของเจ้าศากยะเหล่านั้น แล้วเปิดออก. กลิ่นของขนมทิพย์เหล่านั้น

****พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 401***

แผ่ซ่านไปทั่วพระนคร. ก็เมื่อขนมพอสักว่าอันเจ้าศากยะเหล่านั้น ทรงวาง
ไว้ในพระโอษฐ์ กลิ่นนั้นได้แผ่ไปสู่เส้นสำหรับรสตั้ง ๗ พันตั้งอยู่แล้ว.
เจ้าอนุรุทธะทรงดำริว่า "ในกาลก่อนแต่นี้ พระมารดาเห็นจะไม่
ทรงรักเรา. เพราะในกาลอื่น พระองค์ท่านไม่เคยทอดขนมไม่มีแก่เรา. "
พระกุมารนั้นไปแล้ว ทูลกะพระมารดาอย่างนี้ว่า " ข้าแต่พระมารดา
หม่อมฉันไม่เป็นที่รักของพระองค์หรือ ?"
มารดา. พ่อ พูดอะไร ? เจ้าเป็นที่รักยิ่งของแม่ แม้กว่านัยน์ตา
ทั้งสอง แม้กว่าเนื้อในหทัย.
อนุรุทธะ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้าหม่อมฉันเป็นที่รักของพระองค์ไซร้.
เพราะเหตุอะไร ? ในกาลก่อน พระองค์จึงไม่ได้ประทานขนมไม่มีเห็น
ปานนี้แก่หม่อมฉัน.
พระนางตรัสถามบุรุษนั้นว่า " พ่อ อะไรได้มีในถาดหรือ ?"
บุรุษนั้นทูลว่า " มี พระแม่เจ้า, ถาดเต็มเปี่ยมด้วยขนมทั้งหลาย,
ขนมเห็นปานนี้ ข้าพระองค์ไม่เคยเห็น."
พระนางดำริว่า " บุตรของเราได้ทำบุญไว้แล้ว, ขนมทิพย์จัก
เป็นของอันเทพดาทั้งหลายส่งไปให้บุตรของเรา."
แม้เจ้าอนุรุทธะ ก็ทูลกะพระมารดาว่า " ข้าแต่พระแม่เจ้า ขนม
เห็นปานนี้ หม่อมฉันไม่เคยกินเลย, จำเดิมแต่นี้ พระองค์พึงทอดเฉพาะ
ขนมไม่มีเท่านั้น แก่หม่อมฉัน."
จำเดิมแต่นั้น พระนางทรงล้างถาดทองคำแล้ว ปิดด้วยถาดใบอื่น
ส่งไป (ให้) ในเวลาเจ้าอนุรุทธะทูลว่า " หม่อมฉันมีประสงค์จะบริโภค
ขนม." เทพดาทั้งหลายย่อมยังถาดให้เต็ม (ด้วยขนม). พระกุมารนั้น

***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 402***

เมื่ออยู่ในท่ามกลางวัง มิได้ทราบเนื้อความแห่งบทว่า "ไม่มี" ด้วย
อาการอย่างนี้ เสวยแต่ขนมทิพย์ทั้งนั้น.
ก็เมื่อโอรสของเจ้าศากยะผนวชตามลำดับตระกูล เพื่อเป็นบริวาร
ของพระศาสดา, เมื่อเจ้ามหานามศากยะตรัสว่า " พ่อ ในตระกูลของพวก
เรา ใคร ๆ ซึ่งบวชแล้วไม่มี, เธอหรือฉันควรจะบวช." เจ้าอนุรุทธะ
ตรัสว่า " หม่อมฉันเป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง ไม่สามารถจะบวชได้."
เจ้ามหานาม. ถ้ากระนั้น เธอจงเรียนการงานเสีย. ฉันจักบวช.
เจ้าอนุรุทธะ. ชื่อว่าการงานนี้ เป็นอย่างไร ?
จริงอยู่ เจ้าอนุรุทธะย่อมไม่ทราบแม้ที่เกิดขึ้นแห่งภัต, จักทราบ
การงานได้อย่างไร ? เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนั้น.
ก็วันหนึ่ง เจ้าศากยะสามพระองค์ คือ อนุรุทธะ ภัททิยะ กิมพิละ
ปรึกษากันว่า " ชื่อว่าภัต เกิดในที่ไหน ?" บรรดาเจ้าศากยะทั้งสาม
พระองค์นั้น เจ้ากิมพิละตรัสว่า " ภัตเกิดขึ้นในฉาง." ได้ยินว่าวันหนึ่ง
เจ้ากิมพิละนั้น ได้เห็นข้าวเปลือกที่เขาขึ้นใส่ในฉาง; เพราะฉะนั้น จึงตรัส
อย่างนี้ ด้วยสำคัญว่า " ภัต ย่อมเกิดขึ้นในฉาง."
ครั้งนั้น เจ้าภัททิยะตรัสกะเจ้ากิมพิละนั้นว่า " ท่านยังไม่ทราบ "
ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ธรรมดาภัต ย่อมเกิดขึ้นในหม้อข้าว." ได้ยินว่า
วันหนึ่ง เจ้าภัททิยะนั้น เห็นชนทั้งหลายคดภัตออกจากหม้อข้าวนั้นแล้ว
ได้ทำความสำคัญว่า " ภัตนั่นเกิดขึ้นในหม้อนี้เอง," เพราะฉะนั้น จึงตรัส
อย่างนั้น.
เจ้าอนุรุทธะตรัสกะเจ้าทั้งสองนั้นว่า " แม้ท่านทั้งสองก็ยังไม่
ทราบ" แล้วตรัสว่า " ภัตเกิดขึ้นในถาดทองคำใบใหญ่๑ ซึ่งสูงได้
๑. โตก.

***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 403***

ศอกกำมา." ได้ยินว่า ท่านไม่เคยเห็นเขาตำข้าวเปลือก ไม่เคยเห็นเขาหุงภัต,
ท่านเห็นแต่ภัตที่เขาคดออกไว้ในถาดทองคำแล้ว ตั้งไว้ข้างหน้าเท่านั้น;
เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้ทำความสำคัญว่า " ภัตนั่น ย่อมเกิดขึ้นในถาด
นั่นเอง; เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนั้น. กุลบุตรผู้มีบุญมาก เมื่อไม่รู้แม้
ที่เกิดขึ้นแห่งภัตอย่างนั้น จักรู้การงานทั้งหลายอย่างไรได้.
เจ้าอนุรุทธะนั้น ได้สดับความที่การงานทั้งหลายที่เจ้าพี่ตรัสบอก
โดยนัยเป็นต้นว่า " อนุรุทธะ จงมาเถิด, ฉันจักสอนเพื่อการอยู่ครองเรือน
แก่เธอ: อันผู้อยู่ครองเรือน จำต้องไถนาก่อน " ดังนี้ เป็นของไม่มีที่สุด
จึงทูลลาพระมารดาว่า " ความต้องการด้วยการอยู่ครองเรือนของหม่อมฉัน
ไม่มี" แล้วเสด็จออกไปพร้อมกับพระโอรสของเจ้าศากยะห้าพระองค์มีเจ้า
ภัททิยะเป็นประมุข เข้าไปเฝ้าพระศาสดาที่อนุปิยอัมพวัน ทรงผนวชแล้ว,
ก็แลครั้นผนวชแล้ว พระอนุรุทธะเป็นผู้ปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งซึ่งวิชชา ๓
โดยลำดับ เป็นผู้นั่งบนอาสนะเดียว สามารถเล็งดูโลกธาตุพ้นหนึ่งได้
ด้วยทิพยจักษุ ดุจผลมะขามป้อมที่บุคคลวางไว้บนฝ่ามือฉะนั้น จึงเปล่ง
อุทานขึ้นว่า :-
" เราย่อมระลึกได้ซึ่งบุพเพนิวาส,๑ ทิพยจักษุเรา
ก็ชำระแล้ว, เราเป็นผู้ได้วิชชา ๓ เป็นผู้ถึงฤทธิ์,
คำสอนของพระพุทธเจ้า อันเราทำแล้ว."
พิจารณาดูว่า " เราทำกรรมอะไรหนอ ? จึงได้สมบัตินี้ " ทราบได้ว่า
" เราได้ตั้งความปรารถนาไว้แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า
ปทุมุตตระ " ทราบ (ต่อไป) อีกว่า " เราท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร ในกาล
๑. ขันธ์อันอาศัยอยู่ในกาลก่อน.

***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 404***

ชื่อโน้น ได้อาศัยสุมนเศรษฐี ในกรุงพาราณสีเลี้ยงชีพ เป็นผู้ชื่อว่า
อันนภาระ" ดังนี้แล้ว กล่าวว่า :-
" ในกาลก่อน เราเป็นผู้ชื่อว่าอันนภาระ เป็นคน
เข็ญใจ ขนหญ้า เราถวายบิณฑบาตแก่พระอุปริฏฐ-
ปัจเจกพุทธะ ผู้มียศ."
พระเถระระลึกถึงสหายเก่า
ครั้งนั้น ท่านได้มีความปริวิตกฉะนี้ว่า " สุมนเศรษฐีผู้เป็นสหาย
ของเรา ได้กหาปณะแล้วรับเอาส่วนบุญจากบิณฑบาตซึ่งเราถวายแก่พระ-
อุปริฏฐปัจเจกพุทธะ ในกาลนั้น, บัดนี้ เกิดในที่ไหนหนอแล ?" ทีนั้น
ท่านได้เล็งเห็นเศรษฐีนั้นว่า " บ้านชื่อว่ามุณฑนิคม มีอยู่ที่เชิงเขาใกล้ดงไฟ
ไหม้. อุบาสกชื่อมหามุณฑะในมุณฑนิคมนั้น มีบุตรสองคน คือมหาสุมนะ,
จูฬสุมนะ, ในบุตรสองคนนั้น สุมนเศรษฐี เกิดเป็นจูฬสุมนะ; " ก็แล
ครั้นเห็นแล้ว คิดว่า " เมื่อเราไปในที่นั้น, อุปการะจะมีหรือไม่มีหนอ ?"
ท่านใคร่ครวญอยู่ได้เห็นเหตุนี้ว่า " เมื่อเราไปในที่นั้น. จูฬสุมนะนั้น
มีอายุ ๗ ขวบเท่านั้นจักออกบวช, และจักบรรลุพระอรหัตในเวลาปลงผม
เสร็จนั่นเอง:" ก็แลท่านครั้นเห็นแล้ว เมื่อภายในกาลฝนใกล้เข้ามา จึง
ไปทางอากาศลงที่ประตูบ้าน. ส่วนมหามุณฑอุบาสก เป็นผู้คุ้นเคยของ
พระเถระแม้ในกาลก่อนเหมือนกัน. เขาเห็นพระเถระครองจีวรในเวลา
บิณฑบาต จึงกล่าวกะมหาสุมนะผู้บุตรว่า " พ่อ พระผู้เป็นเจ้าอนุรุทธ-
เถระของเรามาแล้ว; เจ้าจงไปรับบาตรของท่านให้ทันเวลาที่ใครๆ คนอื่น
ยังไม่รับบาตรของท่านไป; พ่อจักให้เขาปูอาสนะไว้." มหาสุมนะได้ทำ
อย่างนั้นแล้ว. อุบาสกอังคาสพระเถระภายในเรือนโดยเคารพแล้ว รับ

***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 405***

ปฏิญญาเพื่อต้องการแก่การอยู่ ( จำพรรษา ) ตลอดไตรมาส. พระเถระรับ
นิมนต์แล้ว.
ครั้งนั้น อุบาสกปฏิบัติพระเถระนั้นตลอดไตรมาส เป็นเหมือน
ปฏิบัติอยู่วันเดียว ในวันมหาปวารณา จึงนำไตรจีวรและอาหารวัตถุ
มีน้ำอ้อย น้ำมัน และข้าวสารเป็นต้นมาแล้ว วางไว้ใกล้เท้าของพระเถระ
เรียนว่า " ขอพระผู้เป็นเจ้าจงรับเถิด ขอรับ."
ไม่รับวัตถุกลับได้สามเณร
พระเถระ. อย่าเลยอุบาสก ความต้องการด้วยวัตถุนี้ของฉัน ไม่มี.
อุบาสก. ท่านผู้เจริญ นี่ชื่อว่า วัสสาวาสิกลาภ (คือลาภอันเกิดแก่
ผู้อยู่จำพรรษา), ขอพระผู้เป็นเจ้าจงรับวัตถุนั้นไว้เถิด.
พระเถระ. ช่างเถิด อุบาสก.
อุบาสก. ท่านย่อมไม่รับเพื่ออะไร ? ขอรับ.
พระเถระ. แม้สามเณรผู้เป็นกับปิยการก ในสำนักของฉันก็ไม่มี.
อุบาสก. ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้นมหาสุมนะเป็นบุตรของกระผม
จักเป็นสามเณร.
พระเถระ. อุบาสก ความต้องการด้วยมหาสุมนะของฉันก็ไม่มี.
อุบาสก, ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้าจงให้จูฬสุมนะ
บวชเถิด.
พระเถระ. รับว่า "ดีละ" แล้วให้จูฬสุมนะบวช. จูฬสุมนะนั้น
บรรลุอรหัตในเวลาปลงผมเสร็จนั่นเอง.

****พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 406***

พระเถระ อยู่ในที่นั้นกับจูฬสุมนสามเณรนั้นประมาณกึ่งเดือนแล้ว
ลาพวกญาติของเธอว่า " พวกฉันจักเฝ้าพระศาสดา" ดังนี้แล้วไปทาง
อากาศ ลงที่กระท่อมอันตั้งอยู่ในป่า ในหิมวันตประเทศ.
พระเถระปรารภความเพียรเสมอ
ก็พระเถระ แม้ตามปกติเป็นผู้ปรารภความเพียร. เมื่อท่านกำลัง
จงกรมอยู่ในที่นั้น ในคืนแรกและคืนต่อมา ลมในท้องตั้งขึ้นแล้ว.
ครั้งนั้น สามเณรเห็นท่านลำบาก จึงเรียนถามว่า " ท่านขอรับ
โรคอะไร ? ย่อมเสียดแทงท่าน."
พระเถระ. ลมเสียดท้องเกิดขึ้นแก่ฉันแล้ว.
สามเณร. แม้ในกาลอื่น ลมเสียดท้องเคยเกิดขึ้นหรือ ขอรับ.
พระเถระ. เออ ผู้มีอายุ.
สามเณร. ความสบาย ย่อมมีด้วยอะไรเล่า ? ขอรับ.
พระเถระ. เมื่อฉันได้น้ำดื่มจากสระอโนดาต, ความสบายย่อมมี
ผู้มีอายุ.
สามเณร. ท่านขอรับ ถ้ากระนั้น กระผมจะนำมา (ถวาย).
พระเถระ. เธอจักอาจ (นำมา) หรือ ? สามเณร.
สามเณร. อาจอยู่ ขอรับ.
พระเถระ. ถ้ากระนั้น นาคราชชื่อปันนกะ ในสระอโนดาตย่อม
รู้จักฉัน. เธอจงบอกแก่นาคราชนั้น แล้วนำขวดน้ำดื่มขวดหนึ่งมาเพื่อ
ประโยชน์แก่การประกอบยาเถิด.
เธอรับว่า " ดีละ" แล้วไหว้พระอุปัชฌายะ เหาะขึ้นสู่เวหาสได้ไป
ตลอดที่ ๕๐๐ โยชน์แล้ว.

***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 406***

พระเถระ อยู่ในที่นั้นกับจูฬสุมนสามเณรนั้นประมาณกึ่งเดือนแล้ว
ลาพวกญาติของเธอว่า " พวกฉันจักเฝ้าพระศาสดา" ดังนี้แล้วไปทาง
อากาศ ลงที่กระท่อมอันตั้งอยู่ในป่า ในหิมวันตประเทศ.
พระเถระปรารภความเพียรเสมอ
ก็พระเถระ แม้ตามปกติเป็นผู้ปรารภความเพียร. เมื่อท่านกำลัง
จงกรมอยู่ในที่นั้น ในคืนแรกและคืนต่อมา ลมในท้องตั้งขึ้นแล้ว.
ครั้งนั้น สามเณรเห็นท่านลำบาก จึงเรียนถามว่า " ท่านขอรับ
โรคอะไร ? ย่อมเสียดแทงท่าน."
พระเถระ. ลมเสียดท้องเกิดขึ้นแก่ฉันแล้ว.
สามเณร. แม้ในกาลอื่น ลมเสียดท้องเคยเกิดขึ้นหรือ ขอรับ.
พระเถระ. เออ ผู้มีอายุ.
สามเณร. ความสบาย ย่อมมีด้วยอะไรเล่า ? ขอรับ.
พระเถระ. เมื่อฉันได้น้ำดื่มจากสระอโนดาต, ความสบายย่อมมี
ผู้มีอายุ.
สามเณร. ท่านขอรับ ถ้ากระนั้น กระผมจะนำมา (ถวาย).
พระเถระ. เธอจักอาจ (นำมา) หรือ ? สามเณร.
สามเณร. อาจอยู่ ขอรับ.
พระเถระ. ถ้ากระนั้น นาคราชชื่อปันนกะ ในสระอโนดาตย่อม
รู้จักฉัน. เธอจงบอกแก่นาคราชนั้น แล้วนำขวดน้ำดื่มขวดหนึ่งมาเพื่อ
ประโยชน์แก่การประกอบยาเถิด.
เธอรับว่า " ดีละ" แล้วไหว้พระอุปัชฌายะ เหาะขึ้นสู่เวหาสได้ไป
ตลอดที่ ๕๐๐ โยชน์แล้ว.

***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 407***

สามเณรต่อสู้กับพระยานาค
ก็วันนั้น นาคราชมีนาคนักฟ้อนแวดล้อมแล้ว ปรารถนาจะเล่นน้ำ.
นาคราชนั้น พอได้เห็นสามเณรผู้ไปอยู่เท่านั้น ก็โกรธคิดเห็นว่า " สมณะ
โล้นนี้ เที่ยวโปรยฝุ่นที่เท้าของตนลงกระหม่อมของเรา, สมณะโล้นนี้
จักเป็นผู้มาแล้วเพื่อต้องการน้ำดื่มในสระอโนดาต, บัดนี้เราจะไม่ให้น้ำดื่ม
แก่เธอ " ดังนี้แล้ว นอนปิดสระอโนดาตซึ่งมีประมาณถึง ๕๐๐ โยชน์ด้วย
พังพาน ดุจบุคคลปิดหม้อข้าวด้วยถาดใหญ่ฉะนั้น.
สามเณร พอแลดูอาการของนาคราชแล้วก็ทราบว่า " นาคราชนี้
โกรธแล้ว" จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
" นาคราช ผู้มีเดชกล้า มีกำลังมาก ท่านจงฟัง
(คำ) ของข้าพเจ้าเถิด, จงให้หม้อน้ำดื่มแก่ข้าพเจ้า,
ข้าพเจ้าเป็นผู้มาแล้วเพื่อประโยชน์แก่น้ำสำหรับประ-
กอบยา."
นาคราชฟังคาถานั้นแล้ว กล่าวคาถานี้ว่า :-
" แม่น้ำใหญ่ชื่อคงคา ณ เบื้องทิศบูรพา ย่อมไหล
ไปสู่มหาสมุทร, ท่านจงนำเอาน้ำดื่มจากแม่น้ำคงคา
นั้นไปเถิด."
สามเณรฟังคำนั้นแล้วคิดว่า " พระยานาคนี้จักไม่ให้ตามความ
ปรารถนาของตน, เราจักทำพลการให้มันรู้อานุภาพใหญ่ จักข่มพระยานาค
นี้แล้ว จึงจักนำน้ำดื่มไป " ดังนี้แล้ว กล่าวว่า " มหาราช พระอุปัชฌายะ
ให้ข้าพเจ้านำน้ำดื่มมาจากสระอโนดาตเท่านั้น, เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึง

***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 408***

จักนำน้ำดื่มนี้อย่างเดียวไป, ท่านจงหลีกไปเสียอย่าห้ามข้าพเจ้าเลย" ดังนี้
แล้ว กล่าวคาถานี้ว่า:-
" ข้าพเจ้าจักนำน้ำดื่มไปจากสระอโนดาตนี้เท่า
นั้น, ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความต้องการด้วยน้ำดื่มนี้เท่านั้น,
ถ้าเรี่ยวแรงและกำลังมีอยู่ไซร้, นาคราชท่านจงขัด
ขวางไว้เถิด."
ครั้งนั้น พระยานาคกล่าวกะเธอว่า :-
" สามเณร ถ้าท่านมีความกล้าหาญอย่างลูกผู้ชาย
ไซร้, ข้าพเจ้าชอบใจคำพูดของท่าน, เชิญท่านนำ
น้ำดื่มของข้าพเจ้าไปเถิด."
ลำดับนั้น สามเณรตอบกะพระยานาคนั้นว่า " มหาราช ข้าพเจ้าจัก
นำไปอย่างนั้น, เมื่อพระยานาคพูดว่า " เมื่อท่านสามารถก็จงนำไปเถิด"
รับปฏิญญาถึง ๓ ครั้งว่า " ถ้ากระนั้น ท่านจงรู้ด้วยดีเถิด " แล้วคิดว่า
" การที่เราแสดงอานุภาพแห่งพระพุทธศาสนาแล้วจึงนำน้ำไป สมควรอยู่"
ได้ไปสู่สำนักของพวกอากาสัฏฐกเทพดาก่อน. เทพดาเหล่านั้นมาไหว้แล้ว
กล่าวว่า " อะไรกัน ? ขอรับ " แล้วพากันยืนอยู่.
สามเณรกล่าวว่า " สงครามของข้าพเจ้ากับปันนกนาคราชจักมี ที่
หลังสระอโนดาตนี่, พวกท่านจงไปในที่นั้นแล้ว ดูความชนะและความ
แพ้." สามเณรนั้นเข้าไปหาท้าวโลกบาลทั้ง ๔ และท้าวสักกะ ท้าวสุยาม
ท้าวสันดุสิต ท้าวสุนิมมิต และท้าววสวัตดี แล้วบอกเนื้อความนั้นโดย
ทำนองนั้นแล. ต่อแต่นั้น สามเณรไปโดยลำดับจนถึงพรหมโลก อัน
พรหมทั้งหลาย ในที่นั้นๆ ผู้มาไหว้แล้วยืนอยู่ถามว่า " อะไรกัน ? ขอรับ "
จึงแจ้งเนื้อความนั้น.

***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 409***

สามเณรนั้นเที่ยวไปบอกในที่ทุกแห่ง ๆ โดยครู่เดียวเท่านั้น เว้น
เสียแต่อสัญญีสัตว์และอรูปพรหม ด้วยอาการอย่างนี้.
ถึงเทพดาทุก ๆ จำพวกฟังคำของเธอแล้ว ประชุมกันเต็มอากาศ
ไม่มีที่ว่าง ที่หลังสระอโนดาต ดุจจุรณแห่งขนมที่บุคคลใส่ไว้ในทะนาน
ฉะนั้น.
สามเณรเชิญเทพดามาดูการรบ
เมื่อหมู่เทพดาประชุมกันแล้ว, สามเณรยืน ณ อากาศ กล่าวกะ
พระยานาคว่า:-
" นาคราช ผู้มีเดชกล้า มีกำลังมาก ท่านจงฟัง
คำของข้าพเจ้า ท่านจงให้หม้อน้ำดื่มแก่ข้าพเจ้า,
ข้าพเจ้าเป็นผู้มาเพื่อต้องการน้ำประกอบยา."
ทีนั้น นาคกล่าวกะเธอว่า :-
" สามเณร ถ้าท่านมีความกล้าหาญอยู่อย่างลูก
ผู้ชายไซร้, ข้าพเจ้าชอบใจคำพูดของท่าน, ท่านจงนำ
น้ำดื่มของข้าพเจ้าไปเถิด."
สามเณรนั้นรับคำปฏิญญาของนาคราชถึง ๓ ครั้งแล้ว ยืน ณ อากาศนั้นเอง
นิรมิตอัตภาพเป็นพรหมประมาณ ๑๒ โยชน์ แล้วลงจากอากาศ เหยียบ
ที่พังพานของพระยานาค กดให้หน้าคว่ำลงแล้ว. ในทันทีนั้นเอง เมื่อ
สามเณรพอสักว่าเหยียบพังพานของพระยานาคเท่านั้น แผ่นพังพานได้
หดเข้าประมาณเท่าทัพพี ดุจหนังสดอันบุรุษผู้มีกำลังเหยียบแล้วฉะนั้น.
ในที่ซึ่งพ้นจากพังพานของพระยานาคออกมา สายน้ำประมาณเท่าลำตาล

***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 410***

พุ่งขึ้นแล้ว. สามเณรยังขวดน้ำดื่มให้เต็ม ณ อากาศนั้นเอง. หมู่เทพได้
ให้สาธุการแล้ว.
พระยานาคแพ้สามเณร
นาคราชละอาย โกรธต่อสามเณรแล้ว. นัยน์ตาทั้งสองของนาคราช
นั้นได้มีสีดุจดอกชบา. พระยานาคนั้นคิดว่า " สมณะโล้นนี้ให้หมู่เทพ
ประชุมกันแล้ว ถือเอาน้ำดื่ม ยังเราให้ละอายแล้ว, เราจะจับเธอ สอด
มือเข้าในปากแล้ว ขยี้เนื้อหทัยของเธอเสีย, หรือจะจับเธอที่เท้า แล้ว
ขว้างไปฟากแม่น้ำข้างโน้น " ดังนี้แล้วติดตามไปโดยเร็ว. แม้ติดตามไป
อยู่ ก็ไม่สามารถจะทันสามเณรได้เลย.
สามเณรมาแล้ว วางน้ำดื่มไว้ในมือพระอุปัชฌายะ เรียนว่า " ขอท่าน
จงดื่มเถิด ขอรับ."
พระยานาคพูดเท็จแต่สามเณรไม่พูดเท็จ
แม้พระยานาคก็มาข้างหลัง กล่าวว่า " ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ สามเณร
ถือเอาน้ำซึ่งข้าพเจ้ายังไม่ได้ให้เลยมา, ขอท่านจงอย่าดื่ม."
พระเถระ. ถามว่า " นัยว่า อย่างนั้นหรือ ? สามเณร."
สามเณร. ขอนิมนท์ท่านดื่มเถิด ขอรับ, น่าดื่มอันพระยานาคนี้
ให้แล้ว กระผมจึงนำมา.
พระเถระทราบว่า " ขึ้นชื่อว่าการกล่าวคำเท็จของสามเณรผู้เป็น
ขีณาสพ ย่อมไม่มี " จึงดื่มน้ำแล้ว. อาพาธของท่านสงบลงในขณะนั้นเอง.
นาคราชกล่าวกะพระเถระอีกว่า " ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นผู้อัน
สามเณรให้หมู่เทพทั้งหมดประชุมกันให้ละอายแล้ว ข้าพเจ้าจักผ่าหทัย
ของเธอ, หรือจักจับเธอที่เท้า และขว้างไปที่ฝั่งแม่น้ำข้างโน้น."

***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 411**

พระเถระกล่าวว่า " มหาราช สามเณรมีอานุภาพมาก, ท่านจักไม่
สามารถเพื่อสู้รบกับสามเณรได้; ท่านจงให้สามเณรนั้น อดโทษแล้วกลับ
ไปเสียเถิด."
พระยานาคขอขมาสามเณร
พระยานาคนั้น ย่อมรู้อานุภาพของสามเณรแม้เอง, แต่ติดตามมา
เพราะความละอาย.
ลำดับนั้น พระยานาคให้สามเณรนั้นอดโทษตามคำของพระเถระ
ทำความชอบพอกันฉันมิตรกับเธอ จึงกล่าวว่า " จำเดิม
ความต้องการด้วยน้ำในสระอโนดาตมีอยู่, กิจด้วยการมาแห่งพระผู้เป็นเจ้า
ย่อมไม่มี พระผู้เป็นเจ้าพึงส่ง (ข่าว) ไปถึงข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าเองจักนำ
น้ำมาถวาย " ดังนี้แล้ว หลีกไป, แม้พระเถระก็พาสามเณรไปแล้ว .
พระศาสดาทรงทราบความมาแห่งพระเถระแล้ว ประทับนั่งทอด-
พระเนตรการมาแห่งพระเถระบนปราสาทของมิคารมารดา. ถึงพวกภิกษุ
ก็เห็นพระเถระซึ่งกำลังมา ลุกขึ้นต้อนรับ รับบาตรและจีวร.
พวกภิกษุล้อเลียนสามเณร
ครั้งนั้น ภิกษุนางพวกจับสามเณรที่ศีรษะบ้าง ที่หูทั้ง ๒ บ้าง
ที่แขนบ้าง พลางเขย่า กล่าวว่า " ไม่กระสันหรือ ? สามเณร." พระศาสดา
ทอดพระเนตรเห็นกิริยาซึ่งภิกษุนั้นแล้ว ทรงดำริว่า " กรรมของ
ภิกษุเหล่านี้หยาบจริง. ภิกษุเหล่านี้ จับสามเณรเป็นดุจจับอสรพิษที่คอ,
พวกเธอหารู้อานุภาพของสามเณรไม่; วันนี้ การที่เราทำคุณของสุมน-
สามเณรให้ปรากฏ สมควรอยู่." แม้พระเถระก็มาถวายบังคมพระศาสดา
แล้วนั่ง.

***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 412***

พระศาสดาทรงทำคุณของสามเณรให้ปรากฏ
พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับด้วยท่านแล้ว ตรัสเรียกพระอานนท-
เถระมาว่า " อานนท์ เราเป็นผู้มีความประสงค์เพื่อจะล้างเท้าทั้งสองด้วย
น้ำในสระอโนดาต เธอจงให้หม้อแก่พวกสามเณรแล้วให้นำน้ำมาเถิด."
พระเถระ ให้สามเณรประมาณ ๕๐๐ ในวิหารประชุมกันแล้ว.
บรรดาสามเณรเหล่านั้น สุมนสามเณรได้เป็นผู้ใหม่กว่าสามเณร
ทั้งหมด. พระเถระกล่าวกะสามเณรผู้แก่กว่าสามเณรทั้งหมดว่า " สามเณร
พระศาสดามีพระประสงค์จะทรงล้างพระบาททั้งสองด้วยน้ำในสระอโนดาต,
เธอจงถือหม้อน้ำไปนำน้ำมาเถิด." สามเณรนั้นไม่ปรารถนา ด้วยกล่าวว่า
" กระผมไม่สามารถ ขอรับ. " พระเถระถามสามเณรทั้งหลายแม้ที่เหลือ
โดยลำดับ. แม้สามเณรเหล่านั้น ก็พูดปลีกตัวอย่างนั้นแล.
มีคำถามว่า " ก็บรรดาสามเณรเหล่านี้ เณรผู้เป็นขีณาสพ
ไม่มีหรือ ?"
แก้ว่า " มีอยู่. แต่สามเณรเหล่านั้นไม่ปรารถนา ด้วยคิดเห็นว่า
" พวงดอกไม้นี้ พระศาสดาไม่ทรงผูกไว้เพื่อพวกเรา พระองค์ทรงผูกไว้
เพื่อสุมนสามเณรองค์เดียว. แต่พวกสามเณรผู้เป็นปุถุชนไม่ปรารถนา
ก็เพราะความที่ตนเป็นผู้ไม่สามารถนั่นเอง. "
ก็ในที่สุด เมื่อวาระถึงแก่สุมนสามเณรเข้า, พระเถระกล่าวว่า
" สามเณร พระศาสดามีพระประสงค์จะทรงล้างพระบาททั้งสองด้วยน้ำ
ในสระอโนดาต, ได้ยินว่า เธอจงถือเอาหม้อไปตักน้ำมา" สุมนสามเณร
นั้น เรียนว่า " เมื่อพระศาสดาทรงให้นำมา, กระผมจักนำมา" ดังนี้แล้ว
ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า

***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 413***

พระองค์ให้ข้าพระองค์นำน้ำมาจากสระอโนดาตหรือ ? พระเจ้าข้า "
พระศาสดา ตรัสว่า " อย่างนั้น สุมนะ. "
สุมนสามเณรนั้น เอามือจับหม้อใหญ่ใบหนึ่ง ซึ่งจุน้ำได้ตั้ง ๖๐
หม้อ ในบรรดาหม้อสำหรับเสนาสนะ ซึ่งเลี่ยมดาดด้วยทองแท่ง อัน
นางวิสาขาให้สร้างไว้ หิ้วไปด้วยคิดว่า " ความต้องการของเราด้วยหม้อ
อันเรายกขึ้นตั้งไว้บนจะงอยบ่านี้ ย่อมไม่มี " เหาะขึ้นสู่เวหาส บ่ายหน้า
ต่อหิมวันตประเทศ รีบไปแล้ว.
นาคราชเห็นสามเณรซึ่งกำลังมาแต่ไกลเทียว จึงต้อนรับ แบกหม้อ
ด้วยจะงอยบ่า กล่าวว่า " ท่านเจ้าข้า เมื่อผู้รับใช้เช่นข้าพเจ้ามีอยู่เพราะ
อะไร พระผู้เป็นเจ้าจึงมาเสียเอง; เมื่อความต้องการน้ำมีอยู่, เหตุไร ?
พระผู้เป็นเจ้าจึงไม่ส่งเพียงข่าวสาสน์มา" ดังนี้แล้ว เอาหม้อตักน้ำแบกเอง
กล่าวว่า " นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าล่วงหน้าไปก่อนเถิดขอรับ, ข้าพเจ้าเอง
จักนำไป. " สามเณรกล่าวว่า " มหาราช ท่านจงหยุด, ข้าพเจ้าเองเป็นผู้
อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้มา " ดังนี้ให้พระยานาคกลับแล้ว เอามือจับ
ที่ขอบปากหม้อ เหาะมาทางอากาศ.
ลำดับนั้น พระศาสดาทรงแลดูเธอซึ่งกำลังมา ตรัสเรียกพวกภิกษุ
มาแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูการเยื้องกรายของสามเณร,
เธอย่อมงดงามดุจพระยาหงส์ในอากาศฉะนั้น."
แม้สามเณรนั้นวางหม้อน้ำแล้ว ได้ถวายบังคมพระศาสดาแล้วยืนอยู่.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า " สุมนะ เธอมีอายุได้เท่าไร ?
สามเณรกราบทูลว่า " มีอายุ ๗ ขวบ พระเจ้าข้า." พระศาสดาตรัสว่า
" สุมนะ ถ้ากระนั้น ตั้งแต่วันนี้ เธอจงเป็นภิกษุเถิด" ดังนี้แล้ว
ได้ประทานทายัชชอุปสมบท.

***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 414***

ได้ยินว่า สามเณรผู้มีอายุ ๗ ปี ๒ รูปเท่านั้น ได้อุปสมบท คือสุมน-
สามเณรนี้รูปหนึ่ง โสปากสามเณรรูปหนึ่ง เมื่อสุมนสามเณรนั้นอุปสมบท
แล้วอย่างนั้น พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย
กรรมนี้น่าอัศจรรย์:- อานุภาพของสามเณรน้อย แม้เห็นปานนี้ก็มีได้,
อานุภาพเห็นปานนี้ พวกเราไม่เคยเห็นแล้ว ในกาลก่อนแต่กาลนี้."
สมบัติย่อมสำเร็จแก่เด็ก ๆ ได้
พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ
นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ?" เมื่อพวกเธอกราบทูลว่า " ด้วยเรื่อง
ชื่อนี้ พระเจ้าข้า" ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ในศาสนาของเรา บุคคล
แม้เป็นเด็ก ปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมได้สมบัติเห็นปานนี้เหมือนกัน" เมื่อ
จะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๑๒. โย หเว ทหโร ภิกฺขุ ยุญฺชติ พุทฺธสาสเน
โส อิมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา.
" ภิกษุใด แลยังหนุ่ม พากเพียรอยู่ในพระพุทธ-
ศาสนา, ภิกษุนั้น ย่อมยังโลกนี้ให้สว่างดุจพระจันทร์
ที่พ้นแล้วจากหมอก (เมฆ) สว่างอยู่ฉะนั้น."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยุญฺชติ ได้แก่ พากเพียร คือ
พยายามอยู่.
บทว่า ปภาเสติ เป็นต้น ความว่า ภิกษุนั้นย่อมยังโลกต่างโดย
ขันธโลกเป็นต้น ให้สว่างได้ คือย่อมทำให้มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน

***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 415***

ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยอรหัตมรรคของตน ดุจพระจันทร์ที่พ้นแล้วจาก
เครื่องกำบังมีหมอกเป็นต้นฉะนั้น.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องสุมนสามเณร จบ.
ภิกขุวรรควรรคนา จบ.
วรรคที่ ๒๕ จบ.

Sunday, June 28, 2009

เอาบุญมาฝากจ้า...สังฆทาน...ขนมไทย

































ทักษิณาวิภังคสูตร

คัดลอดจากพระไตรปิฏกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 23 หน้าที่ 391-410


---พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 391-----
๑๒. ทักษิณาวิภังคสูตร
[๗๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขต
พระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท. สมัยนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมี
ทรงถือผ้าคู่หนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอประทับนั่งเรียบร้อย
แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่
คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้าย ทอเอง ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์ โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ของหม่อมฉันเถิด.
[๗๐๗] เมื่อพระนางกราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
ดังนี้ว่า ดูก่อนโคตมี พระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอัน
พระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้าย
ทอเอง ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความ
อนุเคราะห์ โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่นี้ของหม่อมฉันเถิด แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ใน
ครั้งที่ ๓ แล พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสกะพระนาง แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ใน
ครั้งที่ ๓ ดังนี้ว่า ดูก่อนโคตมี พระนางถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว
จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์.
[๗๐๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค-
เจ้า โปรดรับผ้าทั้งคู่ ของพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถิด พระนางมหาปชาบดี

----พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 392----
โคตมี มีอุปการะมาก เป็นพระมาตุจฉาผู้ทรงบำรุงเลี้ยง ประทานพระขีรรส
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระชนนีสวรรคตแล้ว ได้โปรดให้พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงดื่มเต้าพระถัน แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงมีอุปการะมากแก่
พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระนางทรงอาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงถึง
พระพุทธะ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะได้ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงทรงงดเว้น จากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท
จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยได้ ทรง
อาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธะ พระธรรม พระสงฆ์ ทรงประกอบด้วยศีลที่พระอริยะมุ่งหมาย
ได้ ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์ ในทุกข-
สมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงมีพระอุปการะมากแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี.
[๗๐๙] พ. ถูกแล้ว ๆ อานนท์ จริงอยู่ บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว
เป็นผู้ถึงพระพุทธะ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะได้ เราไม่กล่าวการที่
บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี ทำ
สามีจิกรรมด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร
บุคคลใดอาศัยบุคคลใดแล้ว งดเว้น จากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จาก
กาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเพราะ
ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยได้ เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วย
ดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑ-
บาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร. บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็น
ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระพุทธะ พระธรรม พระสงฆ์

------พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 393-----

ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะมุ่งหมายได้ เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทน
บุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร. บุคคลอาศัยบุคคล
ใดแล้ว เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทาได้ เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้
ลุกรับ ทำอัญชลี ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจยเภสัชบริขาร.
[๗๑๐] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ อย่าง คือ
ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการ
ที่ ๑. ให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธะ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๒.
ให้ทานในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการ
ที่ ๓. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุค-
คลิกประการที่ ๔. ให้ทานแก่พระอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการ
ที่ ๕. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิ-
ปุคคลิกประการที่ ๖. ให้ทานแก่พระสาทกคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๗. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็น
ทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๘. ให้ทานในพระโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิ-
ปุคคลิกประการที่ ๙. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง นี้
เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๐. ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจาก
ความกำหนัดในกาม นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๑. ให้ทานใน
ปุถุชนผู้มีศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๒. ให้ทานในปุถุชน
ผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๓ ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๔.

-----พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 394---
[๗๑๑] ดูก่อนอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น บุคคลให้ทานในสัตว์
เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผล
ทักษิณาได้พันเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า.
ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้
แสนโกฏิเท่า. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผล
ทักษิณาจะนับไม่ได้ จะประมาณไม่ได้ จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติ
เพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผล
ให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ในปัจเจกสัมพุทธะ และใน
ตถาคตอรหันต์ สัมมาสัมพุทธเจ้า.
[๗๑๒] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือ ให้
ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์
ประการที่ ๑. ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว เป็น
ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็น
ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๒. ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่
ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๓. ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้ว
ในสงฆ์ประการที่ ๔. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวน
เท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์
ประการที่ ๕. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่
ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๖. เผดียงสงฆ์
ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน
เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๗.

---พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 395---
[๗๑๓] ดูก่อนอานนท์ ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู
มีผ้ากาสาวะพันคอ เป็นคนทุศีล มีธรรมลามก คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะ
สงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น ดูก่อนอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ใน
เวลานั้นเราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุค-
คลิกทานว่ามีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไร ๆ เลย
[๗๑๔] ดูก่อนอานนท์ ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณานี้มี ๔ อย่าง. ๔
อย่าง เป็นไฉน. ดูก่อนอานนท์ ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์
ฝ่ายปฏิคาหก บางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก บางอย่างฝ่าย
ทายกก็ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์ บางอย่างบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและ
ฝ่ายปฏิคาหก.
[๗๑๕] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทาหก ไม่บริสุทธิ์
ฝ่ายปฏิคาหกอย่างไร ดูก่อนอานนท์ ในข้อนี้ ทายกมีศีล มีธรรมงาม ปฏิ-
คาหกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก
ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก.
[๗๑๖] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่
บริสุทธิ์ฝ่ายทายกอย่างไร. ดูก่อนอานนท์ ในข้อนี้ ทายกเป็นผู้ทุศีล มีธรรม
ลามก ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่าย
ปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก.
[๗๑๗] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่าย
ปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์อย่างไร. ดูก่อนอานนท์ ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้ทุศีล มี
ธรรมลามก ปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่า
ฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์.

---พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 396----
[๗๑๘] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก และฝ่าย
ปฏิคาหกอย่างไร. ดูก่อนอานนท์ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม
ปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่าย
ทายกและฝ่ายปฏิคาหก.
ดูก่อนอานนท์ นี้แล ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ อย่าง.
[๗๑๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้
แล้วได้ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ ต่อไปอีกว่า
(๑) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม
มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลแห่งธรรม
อย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีล ทักษิณาของ
ผู้นั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก.
(๒) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่
เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมไสไม่เชื่อธรรม
และผลของธรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคน
มีศีล ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่าย
ปฏิคาหก.
(๓) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่
เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใสไม่เชื่อกรรม
และผลของธรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคน
ทุศีล เราไม่กล่าวทานของผู้นั้นว่า มีผล
ไพบูลย์.

---พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 397---
(๔) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม
มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรม
อย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล เรากล่าว
ทานของผู้นั้นแลว่า มีผลไพบูลย์.
(๕) ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้
ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อ
กรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทาน
ในผู้ปราศจากราคะ ทานของผู้นั้นนั่นแล
เลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย.
จบ ทักขิณาวิภังคสูตร ที่ ๑๒
จบ วิภังควรรค ที่ ๔

---พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 398----
อรรถกถาทักขิณาวิภังคสูตร
ทักขิณาวิภังคสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
ในทักขิณาวิภังคสูตรนั้น บทว่า มหาปชาปตี โคตมี ได้แก่
พระโคตรว่า โคตมี. ก็ในวันขนานพระนาม พราหมณ์ทั้งหลายได้รับสักการะ
แล้ว เห็นพระลักษณสมบัติของพระนางแล้ว ได้พยากรณ์ว่า ถ้าพระนางนี้
จักได้พระธิดา พระธิดาจักเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าจักได้พระ
โอรส พระโอรสจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระปชาของพระนาง จักเป็น
ผู้ยิ่งใหญ่ โดยประการแม้ทั้งสองนั้นเทียว ดังนี้. พระญาติทั้งหลายจึงได้
ขนานพระนามของพระนางว่า ปชาบดี ด้วยประการฉะนี้. แต่ในสูตรนี้
ท่านรวมเอาพระโคตรด้วย จึงกล่าวว่า มหาปชาบดีโคตมี. บทว่า
นวํ ได้แก่ ใหม่. บทว่า สามํ วายิตํ คือทรงทอเองด้วยพระหัตถ์. ก็ใน
วันนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี อันหมู่พระพี่เลี้ยงนางนม แวดล้อมแล้ว
เสด็จมาสู่โรงงานทอผ้าของศิลปินทั้งหลาย ทรงจับปลายกระสวย ได้ทรงทำ
อาการแห่งการทอผ้า. คำนั้น ท่านกล่าวหมายถึงการทอผ้านั้น. ถามว่า พระ
นางโคตมีทรงเกิดพระทัย เพื่อถวายผ้าคู่หนึ่ง แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในกาล
ไหน. ตอบว่า ในกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณแล้ว
เสด็จมาสู่กรุงกบิลพัสดุ์ โดยการเสด็จครั้งแรก. จริงอย่างนั้น พระเจ้าสุทโธทน-
มหาราชทรงพาพระศาสดาซึ่งเสด็จบิณฑบาต ให้เสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ของ
พระองค์. ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงเห็นพระรูปโสภาของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทรงพระดำริว่า พระอัตภาพของบุตรเรางดงามหนอ
ดังนี้ . ลำดับนั้น พระนางก็เกิดพระโสมนัสเป็นกำลัง. แต่นั้น ทรงพระดำริว่า

------พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 399----
เมื่อบุตรของเราอยู่ในท่ามกลางวัง ตลอด ๒๙ ปี วัตถุที่เราให้แล้วโดยที่สุด
แม้สักว่าผลกล้วยนั้นเทียว ไม่มีเลย แม้บัดนี้เราจักถวายผ้าจีวรแก่บุตรนั้น.
ทรงยังพระหฤทัยให้เกิดขึ้นว่า ก็ในกรุงราชคฤห์นี้มีผ้าราคาแพงมาก ผ้าเหล่า-
นั้น ย่อมไม่ยังเราให้ดีใจ ผ้าที่เราทำเองนั้นแล ย่อมยังเราให้ดีใจได้ เราจำจะ
ต้องทำผ้าเองถวาย ดังนี้.
ครั้งนั้น พระนางทรงให้นำฝ้ายมาจากตลาด ทรงขยำทรงยีด้วย
พระหัตถ์ กรอด้ายอย่างละเอียด ทรงให้สร้างโรงงานทอผ้าในภายในพระราช-
วังนั้นเทียว ทรงให้เรียกช่างศิลป์ทั้งหลาย พระราชทานเครื่องบริโภค ขาทนียะ
และโภชนียะ ของพระองค์นั้นแลให้แก่ช่างศิลป์ทั้งหลายแล้วทรงให้ทอผ้า.
ก็พระนางอันคณะพระพี่เลี้ยงนางนม แวดล้อมแล้ว เสด็จไปจับปลายกระสวย
ตามสมควรแก่กาลเวลา. ในกาลที่ผ้านั้นทอเสร็จแล้ว ทรงทำการสักการะใหญ่
แก่ช่างศิลป์ทั้งหลายแล้ว ทรงใส่ผ้าคู่หนึ่งในหีบอันมีกลิ่นหอม ทรงให้ถือผ้า
ทูลแด่พระราชาว่า หม่อมฉันจักถือผ้าจีวรไปถวายแก่บุตรเรา. พระราชาตรัส
สั่งให้เตรียมทางเสด็จ. ราชบริวารทั้งหลายปัดกวาดถนน ตั้งหม้อน้ำเต็ม
ยกธงผ้าทั้งหลาย ตกแต่งทางตั้งแต่พระทวารพระราชวัง จนถึงพระวิหาร
นิโครธาราม ทำทางให้เกลื่อนกล่นด้วยดอกไม้. ฝ่ายพระนางมหาปชาบดีทรง
ประดับเครื่องอลังการทุกอย่าง ผู้อันคณะพระพี่เลี้ยงนางนมแวดล้อมแล้ว
ทรงทูลหีบผ้า เสด็จไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้เป็นของหม่อมฉัน ดังนี้เป็นต้น บทว่า
ทุติยมฺปิ ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโคตมี พระนาง
จงถวายสงฆ์เถิด พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้กราบทูลอ้อนวอนว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันอาจเพื่อถวายผ้าจีวรทั้งหลายจากคลังผ้าแก่ภิกษุ
ร้อยรูปบ้าง พันรูปบ้าง ก็ผ้าใหม่คู่นี้หม่อมฉันกรอด้ายเอง ทอเอง ตั้งใจอุทิศ


----พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 400---
พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดรับผ้า
ใหม่คู่นั้นของหม่อมฉันเถิด. พระนางกราบทูลอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง. แม้พระผู้มี
พระภาคเจ้าก็ตรัสห้ามอย่างนั้นเทียว. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงทรงให้ถวายผ้าใหม่คู่ที่พระนางจะถวายแด่พระองค์ แก่พระภิกษุสงฆ์
เล่า. ตอบว่า เพราะเพื่อทรงอนุเคราะห์พระมารดา. ก็ได้ยินว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระดำริว่า เจตนา ๓ อย่างคือ บุพเจตนา
มุญจนเจตนา อปราปรเจตนา ของพระนางมหาปชาบดีนี้ เกิดขึ้นปรารภเรา
แล้ว จงเกิดขึ้นปรารภพระภิกษุสงฆ์บ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ เจตนาทั้ง ๖ อย่าง
ก็จะรวมเป็นอันเดียวกัน จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ตลอด
กาลนานแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมีนั้น ดังนี้. ฝ่ายวิตัณฑวาที (ผู้พูดให้
หลงเชื่อ) กล่าวว่า ทานที่ถวายสงฆ์มีผลมาก. พึงท้วงติงวิตัณฑวาทีนั้น ว่า
เพราะเหตุไรจึงกล่าวอย่างนั้น ท่านย่อมกล่าวถึงทานที่ถวายสงฆ์ มีผลมากกว่า
ทานที่ถวายแก่พระศาสดาหรือ. เออขอรับ เรากล่าว. ท่านจงอ้างพระสูตรมา.
ท่านวิตัณฑวาทีอ้างพระสูตรว่า ดูก่อนโคตมี พระนางถวายสงฆ์เถิด เมื่อ
ถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์. ก็พระสูตรนี้
มีเนื้อความเพียงเท่านี้หรือ. เออ เพียงเท่านี้. ผิว่าเป็นเช่นนั้น ทานที่ให้แก่
คนกินเดนทั้งหลายก็พึงมีผลมาก ตามพระดำรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าอย่างนั้น
เธอจงให้ขนมแก่คนกินเดนทั้งหลาย และว่า ดูก่อนกัจจานะ ถ้าอย่างนั้น เธอ
จงให้งบน้ำอ้อยแก่คนกินเดนทั้งหลาย ดังนี้. ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น พระศาสดา
จึงทรงยังผ้าที่จะถวายพระองค์ให้ถึงสงฆ์แล้ว ดังนี้. ก็ชนทั้งหลายแม้มีพระราชา
และมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น ย่อมสั่งให้บรรณาการที่นำมาเพื่อ
ให้แก่ชนทั้งหลายมีตนเลี้ยงช้างเป็นต้น ชนเหล่านั้นก็พึงใหญ่กว่าพระราชา
เป็นต้น. จริงอยู่ ทักขิไณยบุคคลที่ยอดเยี่ยมกว่าพระศาสดาไม่มี ตามพระ-

---พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 401----
บาลีว่า เพราะฉะนั้น ท่านอย่าถืออย่างนั้น ทักขิไณยบุคคลที่ถึงความเป็น
ผู้เลิศแห่งอาหุไนยบุคคลทั้งหลาย ผู้ต้องการบุญ แสวงผลไพบูลย์ที่ประเสริฐ
ที่สุด เช่นกับ พระพุทธเจ้าไม่มีในโลกนี้ หรือในโลกอื่น. พระเจตนา ๖ ประการ
ของพระนางมหาปชาบดีโคตมี นั้นรวมเข้ากันแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกุล
เพื่อความสุข ตลอดกาลนานอย่างนี้.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามถึง ๓ ครั้งแล้ว ทรงให้ถวายแก่สงฆ์
ทรงมุ่งหมายอะไร. ตรัสอย่างนั้น เพื่อชนรุ่นหลัง และเพื่อทรงให้เกิดความ
ยำเกรงในสงฆ์ด้วย. นัยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดำริอย่างนี้ว่า เราไม่
ดำรงอยู่นาน แต่ศาสนาของเราจักตั้งอยู่ในพระภิกษุสงฆ์ ชนรุ่นหลังจงยังความ
ยำเกรงในสงฆ์ให้เกิดขึ้น ดังนี้ จึงทรงห้ามถึง ๓ ครั้งแล้ว ทรงให้ถวายสงฆ์
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดาจึงทรงให้ถวายผ้าใหม่คู่หนึ่ง แม้ที่พระนางจะ
ถวายแด่พระองค์ให้แก่สงฆ์ ทักขิไณยบุคคลชื่อว่า สงฆ์ เพราะฉะนั้น ชน
รุ่นหลังยังความยำเกรงให้เกิดขึ้นในสงฆ์ จักสำคัญปัจจัยสี่เป็นสิ่งพึงถวายสงฆ์
เมื่อไม่ลำบากด้วยปัจจัยสี่ จักเรียนพระพุทธวจนะทำสมณธรรม เมื่อเป็นอย่าง
นั้น ศาสนาของเราจักตั้งอยู่ถึง ๕,๐๐๐ ปี ดังนี้. ก็คำว่า ธรรมดา ทักขิไณย
บุคคลที่ยอดเยี่ยมกว่าพระศาสดาไม่มีนั้น ควรกล่าวแม้โดยคำว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดรับเถิด ดังนี้ ก็พระอานนทเถระไม่มี
ความอาฆาต หรือเวรในพระนางมหาปชาบดี ทั้งพระเถระไม่ต้องการว่า
ทักขิณาของพระนางอย่าได้มีผลมาก. จริงอยู่ พระเถระเป็นบัณฑิต พหูสูต
บรรลุเสกขปฏิปทา พระเถระนั้น เมื่อเห็นความที่ผ้าใหม่คู่หนึ่งที่พระนางถวาย
พระศาสดานั้นมีผลมาก จึงกราบทูลขอเพื่อทรงรับว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดรับเถิด ดังนี้. วิตัณฑวาทีกล่าวอีกว่า พระศาสดา

---พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 402----
ทรงนับเนื่องกับสงฆ์ เพราะพระดำรัสว่า เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอัน
พระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์ดังนี้. วิตัณฑวาทีนั้น ควรถูกท้วงติงว่า
ก็ท่านรู้หรือว่า สรณะมีเท่าไร ความเลื่อมใสแน่นแฟ้นมีเท่าไร. วิตัณฑวาที
เมื่อรู้ ก็จะกล่าวว่า สรณะมี ๓ ความเลื่อมใสแน่นแฟ้นมี ๓. แต่นั้น ก็ควรถูก
กล่าวว่า ตามลัทธิของท่านสรณะก็คงมี ๒ อย่างเท่านั้น เพราะความที่พระ
ศาสดานับเนื่องกับสงฆ์. เมื่อเป็นอย่างนั้น บรรพชาที่ทรงอนุญาตอย่างนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบรรพชาอุปสมบท ด้วยไตรสรณคมน์ ดังนี้
แม้อุปสมบทก็ไม่เจริญขึ้น. แต่นั้น ท่านก็จะไม่เป็นบรรพชิต คงเป็นคฤหัสถ์.
ครั้นแม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่ง ณ พระคันธกุฎี ภิกษุทั้งหลายกระทำ
อุโบสถบ้าง ปวารณาบ้าง สังฆกรรมทั้งหลายบ้าง กรรมเหล่านั้นก็พึงกำเริบ
เพราะความที่พระศาสดาทรงนับเนื่องกับสงฆ์ และจะไม่มี. เพราะฉะนั้นจึง
ไม่ควรกล่าวคำนี้ว่า พระศาสดาทรงนับเนื่องกับสงฆ์. บทว่า อาปาทิตา
ได้แก่ ทรงให้เจริญพร้อมแล้ว อธิบายว่า ครั้น พระหัตถ์และพระบาทของ
พระองค์ไม่ยังกิจด้วยพระหัตถ์และพระบาทให้สำเร็จ พระนางก็ทรงให้พระหัตถ์
และพระบาทให้เจริญปรนปฏิบัติ. บทว่า โปสิกา ความว่า พระนางทรงเลี้ยง
พระองค์ โดยให้อาบน้ำ ทรงให้เสวย ทรงให้ดื่ม วันละ ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง.
บทว่า ถญฺญํ ปาเยสิ ความว่า ได้ยินว่า นันทกุมารโพธิสัตว์ ทรงเป็นหนุ่ม
เพียงสอง - สามวันเท่านั้น ครั้น เมื่อนันทกุมารประสูติแล้ว พระนางมหาปชาบดี
ทรงไห้พระโอรสของพระองค์ ให้แก่พระพี่เลี้ยงนางนม พระองค์เองให้หน้าที่
นางนมให้สำเร็จ ประทานพระขีรรสแด่พระโพธิสัตว์ พระเถระหมายถึงการ
ประทานพระขีรรสนั้น จึงกราบทูลอย่างนี้.
พระเถระครั้นแสดงความที่พระนางมหาปชาบดีทรงมีพระอุปการะมาก
ด้วยประการฉะนั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงความที่พระตถาคตทรงมีพระอุปการ

---พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 403---
มาก จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้
เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภควนฺตํ อาคมฺม คือ ทรงอาศัย คือ
ทรงพึ่งพา ทรงมุ่งหมายพระผู้มีพระภาคเจ้า. ลำดับ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงอนุโมทนาถึงพระอุปการะยิ่ง ๆ ขึ้นไป ในพระอุปการะทั้งสอง จึง
ตรัสว่า ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ หานนฺท
ปุคฺคโล ปุคฺคลํ อาคมฺม ความว่า บุคคลผู้อันเตวาสิกอาศัยบุคคลผู้อาจารย์
ใด. บทว่า อิมสฺสานนฺท ปุคฺคลสฺส อิมินา ปุคฺคเลน ความว่า บุคคล
ผู้อันเตวาสิกนี้ตอบแทนต่อบุคคลผู้อาจารย์นี้. บทว่า น สุปฏิการํ วทามิ
ความว่า เราไม่กล่าวการตอบแทนอุปการะเป็นการทำด้วยดี. ในกรรมทั้งหลาย
มีการอภิวาทนะเป็นต้น การเห็นอาจารย์แล้วทำการกราบไหว้ ชื่อว่า
อภิวาทนะ ได้แก่ เมื่อจะสำเร็จอิริยาบถทั้งหลาย ผินหน้าไปทางทิศาภาคที่
อาจารย์อยู่ ไหว้แล้วเดิน ไหว้แล้วยืน ไหว้แล้วนั่ง ไหว้แล้วนอน ส่วน
การเห็นอาจารย์แต่ที่ไกลแล้ว ลุกขึ้นทำการต้อนรับ ชื่อว่า ปัจจุฏฐานะ. ก็
กรรมนี้คือ เห็นอาจารย์แล้ว ประคองอัญชลีไว้เหนือศีรษะ นมัสการอาจารย์
หรือแม้ผินหน้าไปทางทิศาภาคที่อาจารย์นั้นอยู่ นมัสการอย่างนั้นแล เดินไป
ก็ดี ยืนก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี ประคองอัญชลีแล้วนมัสการนั้นเทียว ชื่อว่า
อัญชลีกรรม. การทำกรรมอันสมควร ชื่อว่า สามีจิกรรม. ในวัตถุทั้งหลาย
มีจีวรเป็นต้น เมื่อจะถวายจีวร ไม่ถวายตามมีตามเกิด. ถวายจีวรอันมีค่ามาก
มีมูลค่า ๑๐๐ บ้าง ๒๐๐ บ้าง ๑,๐๐๐ บ้าง. ในวัตถุทั้งหลายแม้มีบิณฑบาต
เป็นต้น มีนัยนี้เหมือนกัน . ด้วยปัจจัยมากอย่างไร. แม้เมื่อยังระหว่างจักรวาล
ให้เต็มด้วยปัจจัยอันประณีต ๔ ถือเอายอดเท่าสิเนรุบรรพตถวาย ย่อมไม่อาจ
เพื่อทำกิริยาที่สมควรแก่อาจารย์เลย.

---พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 404---
เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภว่า ก็ทักขิณา ๑๔
นี้แล. สูตรนี้เกิดขึ้นปรารภทักขิณาเป็นปาฏิบุคคลิก. ฝ่ายพระอานนทเถระถือ
ทักขิณาเป็นปาฏิบุคคลิกอย่างเดียวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าโปรดรับ ดังนี้. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเทศนี้ เพื่อทรง
แสดงว่า ทานที่บุคคลให้แล้ว ในฐานะสิบสี่ชื่อว่า เป็นปาฏิบุคคลิก. บทว่า
อยํ ปฐมา ความว่า ทักขิณานี้ประการที่ ๑ ด้วยอำนาจคุณบ้าง ด้วยอำนาจ
เป็นทักขิณาเจริญที่สุดบ้าง จริงอยู่ ทักขิณานี้ ที่หนึ่งคือ ประเสริฐ ได้แก่
เจริญที่สุด ชื่อว่า ประมาณแห่งทักขิณานี้ ไม่มี. ทักขิณาแม้ประการที่ ๒๓
เป็นทักขิณาอย่างยิ่งเหมือนกัน. ทักขิณาทั้งหลายที่เหลือ ย่อมไม่ถึงความเป็น
ทักขิณาอย่างยิ่งได้. บทว่า พาหิรเก กาเมสุ วีตราเค ได้แก่ ผู้กัมมวาที
ผู้กิริยวาที ผู้มีอภิญญา ๕ อันเป็นโลกิยะ. บทว่า ปุถุชฺชนสีลวา ความว่า
ปุถุชนผู้มีศีล โดยชื่อเป็นผู้มีศีลเป็นพื้นไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ไม่เบียดเบียน
คนอื่น สำเร็จชีวิตด้วยกสิกรรมหรือพาณิชกรรม โดยธรรม โดยชอบ. บทว่า
ปุถุชฺชนทุสฺสีเล ความว่าบุคคลทั้งหลายมีนายเกวัฏฏะ และผู้จับปลาเป็นต้น
ชื่อว่า ปุถุชนผู้ทุศีล. เลี้ยงชีวิต ด้วยการเบียดเบียนสัตว์อื่น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงกำหนดวิบากของทักขิณา เป็น
ปาฏิบุคคลิก จึงตรัสว่า ตตฺรานนฺท เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า
ติรจฺฉานคเต ความว่า ทานใดที่บุคคลให้แล้ว เพื่อเลี้ยงด้วยอำนาจแห่งคุณ
ด้วยอำนาจแห่งอุปการะ ทานนี้ไม่ถือเอา. ทานแม้ใดสักว่าข้าวคำหนึ่งหรือ
ครึ่งคำอันบุคคลให้แล้ว ทานแม้นั้น ไม่ถือเอาแล้ว. ส่วนทานใดอันบุคคล
หวังผลแล้วให้ตามความต้องการแก่สัตว์ทั้งหลายมีสุนัข สุกร ไก่ และกาเป็นนี้
ตัวใดตัวหนึ่งที่มาถึง ทรงหมายถึงทานนี้ จึงตรัสว่า ให้ทานในสัตว์ดิรัจฉาน

---พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 405---
ดังนี้. บทว่า สตคุณา ได้แก่มีอานิสงส์ร้อยเท่า. บทว่า ปาฏิกงฺขิตพฺพา
คือ พึงปรารถนา. มีอธิบายว่า ทักขิณานี้ย่อมให้อานิสงส์ห้าร้อยเท่า คือ
อายุร้อยเท่า วรรณะร้อยเท่า สุขร้อยเท่า พละร้อยเท่า ปฏิภาณร้อยเท่า.
ทักขิณาให้อายุในร้อยอัตภาพ ชื่อว่า อายุร้อยเท่า ให้วรรณะในร้อยอัตภาพ
ชื่อว่า วรรณะร้อยเท่า ให้สุขในร้อยอัตภาพ ชื่อว่า สุขร้อยเท่า ให้พละใน
ร้อยอัตภาพ ชื่อว่า พละร้อยเท่า ให้ปฏิภาณ ทำความไม่สะดุ้งในร้อย-
อัตภาพ ชื่อว่า ปฏิภาณร้อยเท่า. แม้ในภพร้อยเท่าที่กล่าวแล้ว ก็มีเนื้อความ
อย่างนี้แล. พึงทราบนัยทุกบท ด้วยทำนองนี้. ในบทนี้ว่า ผู้ปฏิบัติ เพื่อทำ
ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล แม้อุบาสกผู้ถึงไตรสรณะโดยที่สุดเบื้องต่ำ ชื่อว่า
ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. แม้ทานที่ให้ในอุบาสก ผู้ปฏิบัติเพื่อทำ
ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลนั้น นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้. ส่วนทานที่ให้แก่บุคคล
ผู้ตั้งอยู่ในศีลห้า มีผลมากกว่านั้น ทานที่ให้แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในศิลสิบ มีผล
มากกว่านั้นอีก. ทานที่ถวายแก่สามเณรที่บวชในวันนั้น มีผลมากกว่านั้น ทาน
ที่ถวายแก่ภิกษุผู้อุปสมบท มีผลมากกว่านั้น ทานที่ถวายแก่ภิกษุผู้อุปสมบท
นั้นแล ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตรมีผลมากกว่านั้น ทานให้แก่ผู้ปรารภวิปัสสนา มี
ผลมากกว่านั้น. ก็สำหรับผู้มรรคสมังคีโดยที่สุดชั้นสูง ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
ซึ่งโสดาปัตติผล ชื่อว่า ปฏิบัติแล้ว. ทานที่ให้แก่บุคคลนั้น มีผลมากกว่า
นั้นอีก ถามว่า ก็อาจเพื่อให้ทานแก่ภิกษุผู้มรรคสมังคี หรือ. ตอบว่า เออ
อาจเพื่อให้. ก็ภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา ถือบาตรและจีวร เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต
เมื่อภิกษุผู้มรรคสมังคีนั้น ยืนที่ประตูบ้าน ชนทั้งหลายรับบาตรจากมือก็ใส่
ขาทนียะและโภชนียะ. การออกจากมรรคของภิกษุย่อมมีในขณะนั้น.
ทานนี้ชื่อว่า เป็นอันให้แล้วแก่ภิกษุผู้มรรคสมังคี. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุ
นั้นนั่ง ณ โรงฉัน. มนุษย์ทั้งหลายไปแล้ววางขาทนียะ โภชนียะในบาตร.

----พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 406---
การออกจากมรรคของภิกษุนั้น ย่อมมีในขณะนั้น. ทานแม้นี้ ชื่อว่าให้แล้ว
แก่ภิกษุผู้มรรคสมังคี. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุนั้นนั่ง ณ วิหาร หรือ โรงฉัน
อุบาสกทั้งหลายถือบาตรไปสู่เรือนของตนแล้ว ใส่ขาทนียะและโภชนียะ. การ
ออกจากมรรคของภิกษุนั้น ย่อมมีในขณะนั้น . ทานแม้นี้ ชื่อว่าให้แล้วแก่ภิกษุ
ผู้มรรคสมังคี. พึงทราบความที่ทานอันบุคคลให้แล้วแก่ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
ซึ่งโสดาปัตติผลนั้น เหมือนน้ำในลำรางไม่อาจนับได้ฉะนั้น. พึงทราบความที่
ทานอันบุคคลให้แล้วในบุคคลทั้งหลาย มีพระโสดาบันเป็นต้น ดุจน้ำในมหา-
สมุทรแล ในบรรดามหานทีนั้น ๆ เป็นอันนับไม่ได้. พึงแสดงเนื้อความนี้
แม้โดยความที่ทำฝุ่นในสถานสักว่าลานข้าวแห่งแผ่นดินเป็นต้น จนถึงฝุ่นทั้ง
แผ่นดิน อันประมาณไม่ได้.
เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภว่า ก็ทักขิณา ๗ อย่างนี้.
ทรงปรารภเทศนานี้ ที่ตรัสว่า ดูก่อนโคตมี พระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อ
ถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมาภาพและสงฆ์ เพื่อทรง
แสดงว่า ทานที่ให้ในฐานะ ๗ นั้น เป็นอันชื่อว่าถวายสงฆ์แล้ว. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า พุทฺธปฺปมุเข อุภโตสงฺเฆ ความว่า สงฆ์นี้คือ ภิกษุสงฆ์
ฝ่ายหนึ่ง ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายหนึ่ง พระศาสดาประทับนั่ง ณ ท่ามกลาง ชื่อว่า
สงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. บทว่า อยํ ปฐมา ความว่า ชื่อว่า
ทักขิณา มีประมาณเสมอด้วยทักขิณานี้ไม่มี. ก็ทักขิณาทั้งหลายมีทักขิณาที่สอง
เป็นต้น ย่อมไม่ถึงทักขิณาแม้นั้น. ถามว่า ก็เมือพระตถาคตปรินิพพานแล้ว
อาจเพื่อถวายทานแด่พระสงฆ์ ๒ ฝ่ายมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขหรือ. ตอบว่า
อาจ. อย่างไร. ก็พึงตั้งพระพุทธรูปที่มีพระธาตุในฐานะประมุขของสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ในอาสนะ วางตั้ง ถวายวัตถุทั้งหมดมีทักขิโณทกเป็นต้นแด่พระศาสดาก่อนแล้ว
ถวายแด่พระสงฆ์ ๒ ฝ่าย. ทานเป็นอันชื่อว่าถวายสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้า

-----พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 407---
เป็นประมุข ด้วยประการฉะนี้. ถามว่า ในพระสงฆ์ ๒ ฝ่ายนั้น ทานใด
ถวายพระศาสดา ทานนั้นพึงทำอย่างไร. ตอบว่า พึงถวายภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย
วัตร ผู้ปฏิบัติพระศาสดา ด้วยว่า ทรัพย์อันเป็นของบิดาย่อมถึงแก่บุตร
แม้การถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ ก็ควร. ก็ถือเนยใสและน้ำมัน พึงตามประทีป
ถือผ้าสาฏกพึงยกธงปฏาก. บทว่า ภิกฺขุสงฺเฆ ได้แก่ ภิกษุสงฆ์ส่วนมากยัง
ไม่ขาดสาย. แม้ในภิกษุณีสงฆ์ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า โคตฺรภุโน ได้แก่
เสวยสักว่า โคตรเท่านั้น อธิบายว่า เป็นสมณะแต่ชื่อ. บทว่า กาสาวกณฺฐา
คือผู้มีชื่อว่ามีผ้ากาสาวะพันคอ. ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นพันผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง
ที่มือ หรือที่คอเที่ยวไป. ก็ประตูบ้าน แม้กรรมมีบุตรภริยากสิกรรมและ
วณิชกรรม เป็นต้นทั้งหลาย ของภิกษุผู้ทุศีลเหล่านั้น ก็จักเป็นปกติเทียว.
ไม่ได้ตรัสว่า สงฆ์ทุศีล ในบทนี้ว่า คนทั้งหลายจักถวายทาน เฉพาะสงฆ์ได้
ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น จริงอยู่ สงฆ์ชื่อว่าทุศีลไม่มี แต่อุบาสกทั้งหลายชื่อว่า
ทุศีล จักถวายทานด้วยคิดว่า เราจักถวายเฉพาะสงฆ์ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น
แม้ทักขิณาที่ถวายสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข อันพระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสว่า มีผลนับไม่ได้ ด้วยการนับคุณ ด้วยประการฉะนี้. แม้ทักขิณาที่
ให้ในสงฆ์ซึ่งมีภิกษุมีผ้ากาสาวะพันคอ ตรัสว่ามีผลนับไม่ได้ ด้วยการนับคุณ
เหมือนกัน. ก็ทักขิณาที่ถึงสงฆ์ย่อมมีแก่บุคคลผู้อาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์
แต่ความยำเกรงในสงฆ์ ทำได้ยาก. ก็บุคคลได้เตรียมไทยธรรมด้วยคิดว่า
เราจักให้ทักขิณาถึงสงฆ์ ไปวิหารแล้วเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจง
ให้พระเถระรูปหนึ่งเจาะจงสงฆ์เถิด. ลำดับนั้น ได้สามเณรจากสงฆ์ย่อมถึง
ความเป็นประการอื่นว่า เราได้สามเณรแล้ว ดังนี้. ทักขิณาของบุคคลนั้น
ย่อมไม่ถึงสงฆ์. เมื่อได้พระมหาเถระแม้เกิดความโสมนัสว่า เราได้มหาเถระ
แล้ว ดังนี้ ทักขิณาก็ไม่ถึงสงฆ์เหมือนกัน. ส่วนบุคคลใดได้สามเณร ผู้อุป-

---พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 408---
สมบทแล้ว ภิกษุหนุ่ม หรือเถระ ผู้พาลหรือ บัณฑิต รูปใดรูปหนึ่งจาก
สงฆ์แล้ว ไม่สงสัย ย่อมอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ว่า เราจะถวายสงฆ์.
ทักขิณาของบุคคลนั้นเป็นอัน ชื่อว่าถึงสงฆ์แล้ว. ได้ยินว่า พวกอุบาสกชาว
สมุทรฝังโน้น กระทำอย่างนี้. ก็ในอุบาสกเหล่านั้น คนหนึ่งเป็นเจ้าของวัด
เป็นกุฏุมพี เจาะจงจากสงฆ์ว่า เราจักถวายทักขิณาที่ถึงสงฆ์ จึงเรียนว่า
ขอท่านจงให้ภิกษุรูปหนึ่ง. อุบาสกนั้น ได้ภิกษุทุศีลรูปหนึ่ง พาไปสู่สถานที่นั่ง
ปูอาสนะผูกเพดานเบื้องบน บูชาด้วยของหอม ธูป และดอกไม้ ล้างเท้า
ทาด้วยน้ำมัน ได้ถวายไทยธรรมด้วยความยำเกรงในสงฆ์ ดุจทำความนอบน้อม
แด่พระพุทธเจ้า. ภิกษุรูปนั้น มาสู่ประตูเรือนว่าท่านจงให้จอบเพื่อประโยชน์
แก่การปฏิบัติวัดในภายหลังภัต. อุบาสกนั่งเขี่ยจอบด้วยเท้าแล้วให้ว่า จงรับไป.
มนุษย์ทั้งหลายได้กล่าวกะเขานั้นว่า ท่านได้ทำสักการะแก่ภิกษุนี้แต่เช้าตรู่เทียว
ไม่อาจเพื่อจะกล่าว บัดนี้ แม้สักว่า อุปจาระ (มรรยาท) ก็ไม่มีนี้ชื่อว่าอะไร
ดังนี้. อุบาสก กล่าวว่า แนะนาย ความยำเกรงนั้นมีต่อสงฆ์ ไม่มี
แก่ภิกษุนั้น. ถามว่า ก็ใครย่อมยังทักขิณาที่ถวายสงฆ์ ซึ่งมีภิกษุมีผ้ากาสาวะ
พันคอให้หมดจด. ตอบว่า พระมหาเถระ ๘๐ รูปมีพระสารีบุตรและพระ-
โมคคัลลานะเป็นต้น ย่อมให้หมดจดได้. อนึ่ง พระเถระทั้งหลายปรินิพพาน
นานแล้ว พระขีณาสพทั้งหลายที่ยังมีชีวิตอยู่ตั้งแต่พระเถระเป็นต้น จนถึงทุก
วันนี้ ย่อมให้หมดจดเหมือนกัน.
ในบทนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ แต่ว่า เราไม่กล่าวปาฏิบุคคลิก
ทานว่ามีผลมากกว่าทักขิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไร ๆ เลย
สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขมีอยู่ สงฆ์ปัจจุบันนี้มีอยู่ สงฆ์ซึ่งมีภิกษุมีผ้า
กาสาวะพันคอในอนาคตก็มีอยู่ สงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขไม่พึงนำเข้า
ไปกับสงฆ์ในปัจจุบันนี้ สงฆ์ในปัจจุบันนี้ก็ไม่พึงนำเข้าไปกับสงฆ์ซึ่งมีภิกษุมีผ้า

-----พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 409---
กาสาวะพันคอในอนาคต พึงกล่าวตามสมัยนั้นเท่านั้น. ก็สมณปุถุชนซึ่งนำไป
เฉพาะจากสงฆ์ เป็นปาฏิบุคคลิกโสดาบัน เมื่อบุคคลอาจเพื่อทำความยำเกรง
ในสงฆ์ ทานที่ให้ในสมณะผู้ปุถุชน มีผลมากกว่า. ในคำแม้มีอาทิว่า โสดาบัน
อันทายกถือเอาเจาะจง เป็นปาฏิบุคคลิกสทาคามี ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่
เมื่อบุคคลอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ ให้ทานแม้ในภิกษุทุศีล
ซึ่งเจาะจงถือเอา มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายในพระขีณาสพนั้น
แล. ก็คำใดที่กล่าวว่า ดูก่อนมหาบพิตร ทานที่ให้แก่ผู้มีศีลแล มีผลมาก
ทานที่ให้ในผู้ทุศีลหามีผลมากอย่างนั้นไม่ คำนั้นพึงละนัยนี้แล้ว พึงเห็นใน
จตุกะนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักขิณานี้มี ๔ อย่าง.
บทว่า ทายกโต วิสุชฺฌติ ความว่า ทักขิณาบางอย่างบริสุทธิ์ โดยความมี
ผลมาก อธิบายว่า เป็นทาน มีผลมาก. บทว่า กลฺยาณธมฺโม ได้แก่ มีสุจิธรรม
บทว่า ปาปธมฺโม คือมีธรรมอันชั่ว. ก็พึงแสดงพระเวสสันดรมหาราชใน
บทนี้ว่า ทักขิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก. ก็พระเวสสันดรมหาราชนั้น ทรง
ให้พระโอรสพระธิดาแก่พราหมณ์ชูชกแล้ว ยังแผ่นดินให้หวั่นไหว พึงแสดง
นายเกวัฏฏะ ผู้อาศัยอยู่ที่ประตูปากน้ำกัลยาณนทีในคำนี้ว่า ทักขิณาบางอย่าง
บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก. ได้ยินว่า เกวัฏฏะนั้น ได้ถวายบิณฑบาตแก่พระทีฆ-
โสมเถระถึง ๓ ครั้ง นอนบนเตียงเป็นที่ตายได้กล่าวว่า บิณฑบาตที่ถวายแก่
พระผู้เป็นเจ้าทีฆโสมเถระ ย่อมยกข้าพเจ้าขึ้น. พึงแสดงถึงพรานผู้อยู่ใน
วัฑฒมานะในบทว่า เนว ทายกโต นี้. ได้ยินว่า นายพรานนั้นเมื่อให้ทุกขิณา
อุทิศถึงผู้ตายได้ให้แก่ภิกษุผู้ทุศีลรูปหนึ่งนั้น แลถึง ๓ ครั้ง. ในครั้งที่ ๓ อมนุษย์
ร้องขึ้นว่า ผู้ทุศีลปล้นฉัน ดังนี้. ในเวลาที่พรานนั้นถวายแก่ภิกษุผู้มีศีลรูป
หนึ่งมาถึง ผลของทักขิณาก็ถึงแก่เขา. พึงแสดงอสทิสทานในคำนี้ว่า ทักขิณา
บางอย่างบริสุทธิ์ ฝ่ายทายกเท่านั้น.

---พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 410---
ในคำว่า ทักขิณานั้นบริสุทธิ์ฝ่ายทายกนี้ พึงทราบความบริสุทธิ์แห่ง
ทานในบททั้งปวง โดยทำนองนี้ว่า ชาวนาผู้ฉลาดได้นาแม้ไม่ดี ไถในสมัย
กำจัดฝุ่น ปลูกพืชที่มีสาระ ดูแลตลอดคืนวัน เมื่อไม่ถึงความประมาท ย่อมได้
ข้าวดีกว่านาที่ไม่ดูแลของคนอื่น ชื่อฉันใด ผู้มีศีลแม้ให้ทานแก่ผู้ทุศีลย่อมได้ผล
มากฉันนั้น. ในบทว่า วีตราโค วีตราเคสุ พระอนาคามี ชื่อว่า ปราศ
จากราคะ ส่วนพระอรหันที่เป็นผู้ปราศจากราคะโดยสิ้นเชิงทีเดียว เพราะฉะนั้น
ทานที่พระอรหันต์ให้แก่พระอรหันต์นั่นแหละ เป็นทานอันเลิศ. เพราะเหตุไร.
เพราะไม่มีความปรารถนาภพของผู้อาลัยในภพ. ถามว่า พระขีณาสพย่อมไม่
เชื่อผลทานมิใช่หรือ. ตอบว่า บุคคลทั้งหลายเธอผลทาน ที่เป็นเช่นกับพระ-
ขีณาสพเทียว ไม่มี ก็กรรมที่พระขีณาสพทำแล้ว ไม่เป็นกุศล หรืออกุศล
เพราะเป็นผู้ปราศจากฉันทราคะแล้ว ย่อมตั้งอยู่ในฐานกิริยา ด้วยเหตุนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าวว่า ทานของพระขีณาสพนั้นมีผลเลิศ ดังนี้. ถามว่า
ก็ทานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้แก่พระสารีบุตรเถระมีผลมาก หรือว่าทาน
ที่พระสารีบุตรเถระถวายแด่พระสัมมมาสัมพุทธเจ้ามีผลมาก. ตอบว่า บัณฑิต
ทั้งหลายกล่าวว่าทานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้แก่พระสารีบุตรมีผลมาก.
เพราะเหตุไร. เพราะบุคคลอื่นเว้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าสามารถให้ผล
ทานให้เกิดขึ้นไม่มี. จริงอย่างนั้น ทานย่อมให้ผลแก่ผู้อาจเพื่อทำด้วยสัมปทา ๔
ในอัตภาพนั้นแล. สัมปทาในสูตรนี้มีดังนี้ คือความที่ไทยธรรมไม่เบียดเบียน
ผู้อื่นเกิดขึ้น โดยธรรม โดยชอบ, ความที่เจตนาด้วยอำนาจแห่งบุพเจตนา
เป็นต้น เป็นธรรมใหญ่, ความเป็นผู้มีคุณอันเลิศยิ่ง โดยความเป็นพระขีณาสพ.
ความถึงพร้อมด้วยวัตถุ โดยความเป็นผู้ออกแล้ว จากนิโรธในวันนั้น ดังนี้.
จบอรรถกถาทักขิณาวิภังคสูตรที่ ๑๒
จบวรรคที่ ๔

Wednesday, June 10, 2009

ทำบุญอย่างไรให้ได้แฟนหน้าตาดี

ข้าพเจ้าเขียนเรื่องเกี่ยวกับ "ทาน" มาเป็นหลายเรื่องแล้ว เนื้อหาก็วนเวียนซ้ำ ๆ ซาก ๆ ทว่า ก็ยังมีผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องของ "ทาน" อันเป็นบุญกิริยาวัตถุขั้นเบสิค พื้นฐานที่สุด ยิ่งเขียนเรื่องศีล ก็ยิ่งแล้วใหญ่ อย่าเพิ่งไปถึงภาวนาเลยครับ มาปูพื้นฐานกันให้แน่นหนาเสียก่อน จะได้ต่อยอดขึ้นไปแล้ว ไม่ไปคว่ำกลางทาง หรือขึ้นสูงถึงยอดหอไอเฟิ่ลแล้ว พังครืน เพราะน็อตที่ฐานไม่แน่นแค่ตัวเดียว

วันนี้ลองมาทำความเข้าใจกับเรื่องกฏแห่งกรรมสักเล็กน้อย ความจริงเรื่องนี้พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นเรื่องอจินไตย หนึ่งในสี่เรื่อง หมายถึง เรื่องไม่ควรคิด ๔ ประการ นั่นคือ วิสัยของผู้ได้ฌาน ๑, วิสัยของพระพุทธเจ้า ๑, เรื่องของโลก ๑, และกฏแห่งวิบากกรรม ๑ (พอดีไปอ่านพบเอ็นทรี่ของคุณโก๋ ขออนุญาต นำมาปะไว้เสียเลย เรื่องอจินไตย)

ในศาสนาอื่น กฏแห่งกรรม คือ พระเจ้า ครับ มันซับซ้อนยุ่งยากยิ่งกว่า วงจรโทรศัพท์มือถือรุ่นล่าสุด เพราะวัน ๆ หนึ่ง คนเราทำกรรม ทั้งกรรมดี กรรมชั่ว เป็นร้อยอย่าง พันอย่าง แต่ละอย่าง ระยะเวลาให้ผลไม่เท่ากัน ความหนักหน่วงของผลกรรมแต่ละอย่าง ก็ต่างกัน ทำดีวันนี้ กว่าจะได้รับผลของกรรมดี อาจต้องรอตอนแก่ หรือรอไปถึงชาติหน้า ทำชั่วก็เช่นกัน ทำดีกับปุถุชน เช่น ทำทานให้ขอทาน กับทำดีกับพระอริยเจ้า เช่น ถวายภัตตาหารให้พระโสดาบัน ความหนักหน่วงของผลแห่งกรรมดีก็ไม่เท่ากัน และกรรมที่เราทำ ก็มิใช่มีแต่เฉพาะชาตินี้ ทำมาแล้วตั้งแสน ตั้งโกฏิ ล้านชาติ เพราะฉะนั้นต่อให้คิดจนหัวหงอก ตีนกาขึ้น ก็ไม่ได้ข้อสรุป และคิดให้ตาย ก็ไม่ใคร่เกิดประโยชน์อะไร เอาเวลาไปตัดกิเลสดีกว่า และด้วยความยุ่งยากซับซ้อนนี่เอง ทำให้ศาสนาอื่น นิยามกฏแห่งกรรมว่า "พระเจ้า"

อะไรคือนิยามของคำว่า "พระเจ้า" สำหรับข้าพเจ้าแล้ว คือ สิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถอธิบายได้ ไม่สามารถเข้าใจได้ สิ่งที่ซับซ้อนเหนือความสามารถของมนุษย์ หรือเป็นสิ่งที่หลักธรรมของศาสนา ไม่มีคำตอบ หรือมีคำตอบก็ไม่มีประโยชน์อะไร เช่น ใครสร้างโลก (รู้ไปแล้วได้อะไร) ใครสร้างมนุษย์คนแรก (รู้แล้วก็ไม่เห็นมีประโยชน์อะไร จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้) สิ่งเหล่านี้ ถ้ารู้แล้วมีความสุข ก็น่ารู้ แต่ถ้ารู้แล้ว เป็นทุกข์ว่า มันจะจริงเร้อ รีบไปค้นคว้าหาหลักฐาน ไปวิเคราะห์โครงสร้างของมนุษย์ว่า วิวัฒนาการมาจากลิงหรือเปล่า ข้าพเจ้าว่า มันไปเพิ่มทุกข์โดยใช่เหตุ

ฉะนั้น อะไรที่ไม่สามารถอธิบายได้ ก็โบ้ยให้พระเจ้าให้หมด เช่น ทำไมถึงเกิดมาพิการ อ๋อ...ก็พระเจ้าให้คุณพิการ แล้วถามต่อว่า ทำไมพระเจ้าถึงให้คุณพิการ คำตอบคือ แผนการของพระเจ้า มนุษย์ไม่มีวันเข้าใจ ทำนองเดียวกัน ศาสนาพุทธก็บอกว่า มันเป็นกฏแห่งกรรม ชาติที่แล้ว อาจไปทำนั่น ทำนี่ไว้ ชาตินี้จึงเกิดมาพิการ แต่ถามว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไร ก็ต้องพึ่งคนที่มีญาณวิเศษ และก็จะเป็นปัญหาต่อไปว่า ญาณวิเศษนั้น เชื่อถือได้แค่ไหน ฉะนั้น อนุรักษ์คำตอบนี้ไว้ให้เป็นเรื่อง อจินไตย ไปเถิด เพราะถึงได้คำตอบไป ก็ใช่ว่าคุณจะหายพิการ ประโยชน์ของกฏแห่งกรรมนั้น มีไว้ให้เราเจริญชีวิตให้ถูกทำนองคลองธรรมเท่านั้น เช่น กฏแห่งกรรม บอกว่า เราเกิดเป็นคนขาด้วน เพราะชาติก่อน เคยไปตัดขาคนอื่นไว้ ฉะนั้นชาตินี้ และชาติต่อไป เรา และคนทั้งหลาย ก็ไม่ควรไปตัดขาใครเลย แค่นั้นเอง ใช่ต้องไปนั่งพิสูจน์ว่า ชาตินั้น ฉันเกิดมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ชื่อนายโหด โคตรฆ่าสัตว์ ได้ไปตัดขาของเด็กชายชื่อด้วน ควรไม่มีขา เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗ เนื่องจากไปลักพาตัวเด็กมา แล้วผู้ปกครองไม่ยอมจ่ายค่าไถ่ เช่นนั้นพิสูจน์ไป ก็ไม่ได้ประโยชน์กระไร

การทำบุญนั้น ผล หรืออานิสงส์ที่ได้จะแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่หนึ่ง คือ "บุญ" อะไรคือบุญ บุญคือความสุข บุญคือการละกิเลส มี ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น ได้เคยเขียนไปแล้วหลายรอบ ขอโค้ดมาอีกสักที เดี๋ยวจะลืม

ท่านจึงบัญญัติ คำว่า "บุญ หรือ ทาน" ขึ้น เพื่อเป็นกลไกอันชาญฉลาด น้อมนำให้เกิดการปฏิบัติ

แต่นานไป คนเริ่มลืมไปแล้วว่า บุญ หรือ ทาน คืออะไร

บุญ คือ ความสุขครับ และตัววัดว่า ได้บุญมาก หรือบุญน้อย คือ การละกิเลสครับ

ละกิเลสได้มาก เป็นบุญมาก
ละกิเลสได้น้อย เป็นบุญน้อย
ละกิเลสไม่ได้เลย ไม่เป็นบุญเลย
พอกกิเลสได้มาก เป็นบาปมาก
พอกกิเลสได้น้อย เป็นบาปน้อย
พอกกิเลสไม่ได้เลย ไม่เป็นบาปเลย

อีกส่วนหนึ่งคือ กุศลกรรม อันนี้เป็นหัวข้อที่จะเขียนในวันนี้

ก่อนจะเข้าสู่เรื่องกฏแห่งกรรม มาทำความเข้าใจกับคำว่า "เรา" เสียก่อน คนทั่วไปมักคิดว่า ร่างกายของเรานี้แหละ คือ "เรา" แต่พระพุทธเจ้าบอกว่า "เรา" ไม่ใช่ร่างกาย แต่คือ "จิต" ที่มาอาศัยร่างกายอยู่ชั่วคราว ดังนั้น ถ้าจะทำความเข้าใจกับเรื่อง กฏแห่งกรรม ก็ขอให้วางความรู้สึกว่า กายนี้ คือ "เรา" ไว้ชั่วคราว คิดเสียว่า "เรา" คือ "จิต" หรือภาษาหรู ๆ เขาเรียกว่า อทิสสมานกาย

ถ้าตัดเรื่องร่างกายของเราออกแล้ว หรือแต่ จิต เพียว ๆ เรื่องกฏแห่งกรรม บุญ บาป เป็นเรื่องไม่ยากครับ ....อ้อ....ขอบอกว่า เรื่องทั้งหลายที่จะเขียนต่อไปนี้ เป็นจินตนาการของข้าพเจ้าคนเดียวนะครับ อ่านแล้วลองเอาไปพิจารณาว่า เข้าท่าหรือไม่ ข้าพเจ้าไม่ได้บังคับให้ท่านทั้งหลาย มาเชื่อตามข้าพเจ้านะครับ

ทำไมเขาถึงว่า ทำทานมาก ๆ ชาติหน้าเกิดมาร่ำรวย อันนั้นเป็นข้อสรุปโดยหยาบ ๆ เรียกว่า เป็นความน่าจะเป็น โดยส่วนใหญ่ ของคนที่ทำทานมาก ๆ แล้ว ชาติต่อไปเกิดมารวย ความจริงแล้วจะจับให้มั่น คั้นให้ตาย ต้องลงดีเทล หรือ ลงรายละเอียดครับว่า ตอนที่เขาทำทาน เขาทำด้วยความรู้สึกเช่นไร กฏแห่งกรรม จะตอบเขาอย่างตรงไปตรงมา ถ้าตัดร่างกายออกแล้ว ก็เหลือแค่ "ใจ" หรือ "ความรู้สึก" ครับ วัตถุทาน เป็นเพียงแค่ "สื่อ" เท่านั้นเอง

ยกตัวอย่างเช่น ชายคนหนึ่ง เห็นขอทานหน้าตามอมแมม น่าสงสาร จึงควักเงินออกมา ๑๐ บาท ใส่ขันที่ขอทานถือมา ด้วยความรู้สึก "อยากสงเคราะห์" กฏแห่งกรรมจะตอบเขาด้วยคำตอบที่ว่า เมื่อใดที่เขาอยู่ในสถานะเดือดร้อน ก็จะมีคนรู้สึก "อยากสงเคราะห์" เขาเช่นกัน ผลแห่งกรรมนั้น ไม่อาจประเมินแน่นอนได้ว่า ผลจะได้รับเมื่อไหร่ แต่ที่ยืนยันได้ คือ ต้องได้รับผลนั้นแน่นอน และเมื่อไม่สามารถระบุชี้ชัดลงไปว่า ผลแห่งกรรมดี กรรมชั่ว จะส่งผลเมื่อไหร่ ศาสนาอื่นจึงใช้คำว่า "พระเจ้า" มาตอบ แทนว่า นั่นเป็นแผนการณ์ของพระเจ้า

ลองดูอีกตัวอย่างหนึ่ง มีคนเขียนเข้ามาว่า เคยเอาข้าวที่ร้านค้า จัดเป็นชุด ๆ สำหรับใส่บาตร ไปลองกินเอง แล้วกินไม่ลง รสชาติห่วยแตก แล้วถามว่า เอาของเช่นนั้น ใส่บาตรพระ บาปหรือไม่ ข้าพเจ้าได้เขียนเม้นท์ตอบไปแล้ว ขออนุญาต นำมาลงที่นี่อีกครั้ง

ทีนี้มาว่ากันถึงว่า ใส่บาตรด้วยของไม่ประณีต จะเป็นอย่างไร

ความจริงเรื่องนี้ (อะ ยาวอีกแล้วเรา) ต้องขออ้างพระพุทธพจน์ก่อนว่า

มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา
ธรรมใดล้วนมีใจเป็นใหญ่ มีใจประเสริฐสุด และสำเร็จที่ใจ

ดังนั้นแล้ว วัตถุทาน เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นเองครับ ความจริง พระท่านจะฉัน หรือไม่ฉัน ฉันได้ หรือ ฉันไม่ได้ เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ มีผลน้อยกว่ามาก ผลที่มากจริง ๆ คือ ใจของคนให้ทานครับ

ระหว่างคนที่ตั้งใจทำอาหารจนสุดฝีมือ ตั้งใจอย่างดี ประณีตสุด ๆ แต่อาหารออกมา เปรี้ยวปรี๊ด เค็มปั๊ด กินแทบไม่ลง เอาใส่บาตร พระฉันแล้วอยากเอาหัวกระแทกฝาผนังตาย กับเศรษฐีเงินล้าน เอาเค้กราคาก้อนละแสน ที่ตัวเองกินเหลือ มาใส่บาตร เค้กชิ้นนั้น อร่อยมาก ๆ พระฉันแล้วเหมือนได้ขึ้นสวรรค์ทั้งเป็น ท่านว่า ใครได้บุญมากกว่ากันครับ

คำตอบคือ คนที่ตั้งใจทำอาหารครับ ส่วนเค้กของเศรษฐี เป็นเพียงของเดนที่เขากินเหลือ จะทิ้งก็เสียดาย เอาถวายพระดีกว่า

สองตัวอย่างนี้ ใครละกิเลสได้มากกว่ากันครับ

ยิ่งตอบง่ายเข้าไปใหญ่

ฉะนั้นเห็นแล้วใช่ไหมว่า อาหารจะประณีต หรือ หยาบ จะอร่อย หรือไม่อร่อย เป็นเรื่องรองครับ ประเด็นสำคัญ อยู่ที่ใจ

มันคนละเรื่องกัน แต่ส่วนใหญ่มันจะไปด้วยกัน แค่นั้นเอง

อย่างอาหารที่ใส่บาตร ถ้าไม่รู้ ไม่เป็นไรครับ เราตั้งใจใส่บาตรอย่างดี ก็ได้บุญไปเรียบร้อย อ๊ะ...ลองกินเองแล้ว ยังกินแทบไม่ได้ แต่ก็ยังใส่บาตรเช่นเดิมอยู่ เพราะเอาสะดวกเข้าว่า อย่างนี้มันมีเจตนาเจือลงไปด้วยครับ ว่าช่างเถอะ ใส่ ๆ ไป พระกินหรือไม่กินก็ช่าง ถือว่า วันนี้ฉันได้ทำบุญแล้ว อย่างนี้มันทำบุญตามประเพณีครับ เปลืองตังค์โดยใช่เหตุ และผลก็น้อยเหลือเกิน

ที่ว่าส่วนใหญ่มันไปด้วยกัน ก็หมายถึง เวลาคนเราตั้งใจทำอาหารอย่างดีที่สุด โอกาสที่อาหารจะออกมา รสชาติแหลกไม่ลง มันไม่ค่อยมีครับ ส่วนใหญ่ ถ้าตั้งใจทำ อาหารก็จะออกมาอร่อย คนเลยเข้าใจไปว่า อานิสงส์มาก เกิดจากอาหารอร่อย พระฉันแล้วแซ่บอีหลี ถ้าบ่แซ่บก็เป็นอันได้บุญน้อย แต่ความจริงแล้ว อานิสงส์มาก อานิสงส์น้อย อยู่ที่ความตั้งใจต่างหาก ตรงนี้ ถ้าย้อนมาดูว่า ทำไมเป็นเช่นนั้น ก็ตัดร่างกายออกจากการพิจารณาครับ ร่างกายของเรา คนทำอาหาร ตัดทิ้ง ร่างกายของพระ ผู้ฉันอาหาร ตัดทิ้ง เหลือแต่ "ใจ" เพียว ๆ ๒ ดวง อานิสงส์นั้นก็เกิดจาก "ความตั้งใจ" ในการทำอาหาร "ความตั้งใจ" ต้องการสงเคราะห์พระผู้ไม่สามารถเลือกฉันอะไรตามใจตนได้ "ความตั้งใจ" นั่นเขาเรียกอีกอย่างได้ว่า "เจตนา" เจตนาหัง ภิกขะเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เจตนานั่นแล คือ ตัวกรรม พอเข้าใจไหมครับ ส่วนอาหารจะอร่อย ไม่อร่อย มันไปเกิดกับร่างกาย ซึ่งเราตัดทิ้งไปจากการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว

เช่นนี้แล้ว จะเห็นได้ชัดว่า อาหารเป็นเพียง "สื่อ" ของใจเท่านั้นเอง ฉะนั้นอาหารจะอร่อย หรือไม่อร่อย มันก็ทำหน้าที่ของมัน คือ สื่อความตั้งใจ ไปถึงผู้รับทาน เรียบร้อยแล้ว

และนี่ก็เป็นคำตอบด้วยว่า ถ้าไม่ได้ทำอาหารเอง ระหว่างอาหารราคาแพง กับอาหารราคาถูก อย่างไหนจะได้บุญมากกว่ากัน เพราะการซื้อของ ก็มีเจตนาใส่ลงไปด้วยครับ สมมุติว่า คุณเป็นนายกฯ มีรายได้วันละล้าน คุณเลี้ยงโต๊ะจีนให้พระ โต๊ะละแสน เพื่อความนับหน้าถือตาในสังคม กับยายเพิ้งแก่ ๆ บ้านก่อด้วย ไม้ และสังกะสี มีรายได้วันละ ๒๐ บาท ตั้งใจซื้อหมูปิ้ง ๓ ไม้ ราคา ๑๘ บาทใส่บาตรถวายพระ กำลังใจของใครสูงกว่ากันครับ ระหว่างนายกฯเหลือเงินอีก ๙ แสน กับยายเพิ้งเหลือเงินแค่ ๒ บาท กำลังใจของนายกฯ ก็สูงพอควรเลยทีเดียว ที่สามารถตัดใจจ่ายเงินทีหนึ่งตั้งแสน ถวายพระ แต่เขาก็ยังเหลือเงินอีก เก้าแสน กับยายเพิ้ง เหลือเงินไว้ให้ตัวเองกินข้าวแค่ ๒ บาท ประมาณว่า กูอดก็ได้ ขอให้พระอิ่ม อย่างนี้เรียกว่า กำลังใจในการให้ทาน "เต็ม" ซึ่งกำลังใจ เขาเรียกได้อีกอย่างว่า "บารมี" เช่นนี้ ก็เรียกได้ว่า ทานบารมี เต็ม

แล้วถ้ากำลังใจเต็ม ทำแล้วจะได้อะไร ก็ง่าย ๆ ซื่อ ๆ ทำอย่างไร ก็ได้อย่างนั้น เมื่อผลของกรรม ถึงวาระของมัน ก็อาจจะให้ผลในลักษณะที่ว่า เกิดมาแล้ว มีแต่คนเอ็นดูรักใคร่ อยากมอบทรัพย์สมบัติให้ หรือ อีกนัยหนึ่ง ให้สิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตเขา แก่เรา เคยทำทานด้วยกำลังใจเท่านี้ ก็จะได้รับทานที่มีกำลังใจประมาณกันตอบแทน ยกตัวอย่าง ยายเพิ้งคนเดิม เกิดมาชาติหน้า หรือชาติต่อ ๆ ไป อาจจะมีวิบากกรรมบางอย่าง ทำให้ไปเกิดในครอบครัวยากจน แต่พอแม่คนใหม่ของยายเพิ้งตั้งท้อง อำนาจแห่งกุศลกรรมที่ยายเพิ้งทำไว้ อาจทำให้พ่อแม่ใหม่ของยายเพิ้ง ร่ำรวยขึ้นทันตาเห็น เพื่อจะได้สงเคราะห์ยายเพิ้งต่อไปในอนาคต สมกับที่ยายเพิ้งได้เคยทำบุญทำกุศลไว้ ใช่เป็นอย่างที่มักเข้าใจกันว่า ลูกคนนี้นำโชคมาให้ เป็นตัวเงินตัวทอง (เฮ้ย...คนนะไม่ใช่เหี้ย) กฏแห่งกรรม ก็เป็นฉะนี้แล

มาถึงเทศกาลสารทจีน ที่เพิ่งผ่านไป เขาไหว้อะไรกัน ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบแล ทราบแต่คนจีนเขานับถือบรรพบุรุษ ซึ่งถ้าใช้หลักการเดียวกันพิจารณา ตัดร่างกายของเรา ร่างกายของบรรพบุรุษ ทิ้งไป ก็จะทราบได้เลยครับว่า ความจริงแล้ว เขาให้เรา "นึกถึง" หรือ "ระลึกถึง" บรรพบุรุษ จิตนั่นแล เป็นตัวนึกถึง ระลึกถึง ไม่ใช่ร่างกายเรานึก ถูกไหม ระหว่างที่เราทำขนมเข่ง ขนมเทียน หรือหมู เห็ด เป็ด ไก่ อะไรก็ตาม ใจก็ระลึกถึงบรรพบุรุษ ว่า "เฮ้ย ท่านชอบเป็ดพะโล้ ยี่ห้อซีพี นี่หว่า...." หรือ อื่น ๆ ระลึกถึงความดีของบรรพบุรุษ นั่นแล คือสิ่งที่บรรพบุรุษรับรู้ หรือเสวยได้ ไอ้พวกเป็ดไก่ ของเซ่นไหว้ต่าง ๆ บรรพบุรุษที่ตายไปแล้ว ท่านเสพไม่ได้แล้ว แต่ท่านเสพ ความตั้งใจของเรานั่นแล ท่านเสพ ความสุขที่เกิดจากความรู้สึกว่า "เฮ้ย...มันยังจำอั๊วะได้หว่ะ"

นั่นเป็นกุศโลบาย ให้คนรู้จักกตัญญูกตเวที ในศาสนาพุทธกล่าวไว้เลยว่า ความกตัญญูกตเวที เป็นสัญลักษณ์ของคนดี

แล้วเคยสงสัยไหมครับว่า ทำไมบูชาพระต้องจุดธูปจุดเทียน การที่เราจุดเทียนบูชาพระ จุดธูปบูชาพระ ก็คือ บูชาพระด้วยแสงสว่าง บูชาพระด้วยกลิ่น(ที่คิดว่า)หอม ไม่ใช่บูชาพระด้วยวัตถุธาตุ คือ เทียน หรือธูปหอม แต่อย่างใด และแสงสว่าง ก็เป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญา นัตถิ ปัญญาสมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี ปัญญา โลกัสมิง ปัชโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก จิตที่เจตนาบูชาพระ ด้วยแสงสว่าง ก็เปรียบด้วยการบูชาพระธรรม ซึ่งบรรจุไว้ด้วยปัญญา หรือบูชาพระปัญญาธิคุณ อันเป็นประหนึ่งแสงสว่างในโลก ชาติถัด ๆ ไป จึงเกิดมามากไปด้วยปัญญา

อีกสักตัวอย่างหนึ่ง คาดว่า ทุกคนคงรู้จักชูชก ยอดขอทาน เฮียแกขอดะ ขอทุกอย่างที่ขวางหน้า ขอจนได้เมียสาวอายุคราวลูก ขอได้แม้กระทั่งลูกของคนอื่น คือ กัณหา และชาลี ลูกของพระเวสสันดร อยากทราบรายละเอียด อ่านได้ใน http://maha-oath.spaces.live.com/blog/cns!6D66525A182F717E!950.entry แต่ วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะพูดเรื่อง ความสามารถในการขอทาน ของตาชูชก แต่อยากพูดเรื่องบุพพกรรมของตาชูชก และเมียสาว บุพพกรรมของเมียชูชก ทำให้ต้องได้ผัวแก่ ทราบว่า สมัยหนึ่ง เธอบูชาพระด้วยดอกไม้เหี่ยว ๆ ส่วนตาชูชก บูชาด้วยดอกไม้สด ๆ ใหม่ ๆ ชาตินี้มาเจ๊อะกัน เลยปิ๊งกันด้วยอานิสงส์การบูชาพระด้วยดอกไม้ ต่างชนิดกัน

วิเคราะห์ลงไปครับว่า ทำไมการบูชาด้วยดอกไม้ต่างชนิดกัน ถึงให้ผลเช่นนี้

ดอกไม้คือสัญลักษณ์ของอะไรครับ ดอกไม้คือสัญลักษณ์ของความสวยงาม ถูกไหมครับ ฉะนั้น เจตนาของผู้ที่บูชาพระด้วยดอกไม้ คือ ต้องการบูชาด้วยสิ่งสวยงาม อะ...พิจารณาตามเกณฑ์เดิม ตัดร่างกายของเราออกไป ตัดดอกไม้ออกไป เหลือแต่เจตนา หรือใจ ของผู้ให้ทาน พอเห็นภาพหรือยังครับว่า จิตเรา ตั้งใจบูชาพระ ด้วยของสวยงาม จึงได้สิ่งสวยงามตอบแทน นั่นคือ ชูชกได้เมียเด็ก เมียสวย ส่วนเมียชูชก บูชาด้วยดอกไม้เหี่ยว เลยได้ผัวแก่ ตอบแทน

ฉะนั้นถ้าอยากได้ผัวหล่อ เมียสวย อย่าลืมตั้งเจตนาให้ถูก แล้วบูชาพระด้วยสิ่งสวยงาม หรือชีวิตบัดซบได้ผัวถังเบียร์ เมียบ๊ะจ่าง มาเรียบร้อยแล้ว ก็พึงทราบได้เลยว่า เราไม่เคยบูชาพระด้วยสิ่งสวยงามเลย เริ่มต้นวันนี้ไม่สายครับ

เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ

ปล.แต่ต้องพึงระลึกไว้ด้วยนะครับว่า การอธิษฐานขอให้ชาติหน้ามีผัวหล่อ เมียสวย พูดอีกนัยหนึ่ง ก็คือการตั้งความปรารถนาขอให้เกิดอีกนั่นแล เกิดแล้วมีแต่ทุกข์ครับ ทางที่ดีบูชาพระด้วยอะไรก็แล้วแต่ ขออย่างเดียวเลยครับ ขอไม่ต้องเกิดอีก ดีที่สุด

ที่มา

http://akkarakitt.exteen.com/20080819/entry

Thursday, June 4, 2009

ภาวะผู้นำ ศักยภาพและศิลปะแห่งการครองใจคน

ปุจฉา
ภาวะผู้นำ ศักยภาพและศิลปะแห่งการครองใจคน


วิสัชนา

ภาวะผู้นำ

ศักยภาพและศิลปะแห่งการครองใจคน

........................

ว.วชิรเมธี

๑.ใครคือผู้นำ

ผู้นำ ในทางพระพุทธศาสนาตรงกับคำว่า นายก แปลว่า ผู้ที่มีศักยภาพในการเป็นหัวหน้ามหาชน หรือ ผู้ที่มหาชนพอใจในการบทบาทการเป็นผู้นำ และ/หรือ ผู้ที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลในการดำเนินรอยตาม หรือ ผู้ที่อำนวยการให้การทำงานประสบความสำเร็จและทุกคนพอใจ

กล่าวอย่างสั้นที่สุด

ผู้นำ คือ ผู้ที่สามารถสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นและผู้อื่นอยากดำเนินตาม

ภาวะผู้นำ ตรงกับคำว่า นายกภาวะ (นา-ยะ-กะ-พา-วะ) แปลว่า คุณสมบัติที่ทำให้เป็นผู้นำ

พระพุทธเจ้า เคยได้รับพระสมัญญานามว่า โลกนายก แปลว่า ผู้นำของชาวโลก หรือ ผู้นำของมนุษยชาติทั้งโลก

ดังนั้น การเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จสูงสุด ต้อง สามารถเป็นผู้นำที่สามารถนำคนได้ทั้งโลก หรือเป็นผู้นำที่มนุษยชาติทั้งโลกให้การยอมรับ แต่การประสบความสำเร็จของการเป็นผู้นำในความหมายอย่างสามัญก็คือ การที่ผู้นำช่วยอำนวยการให้การทำงานประสบความสำเร็จและทุกคนพอใจจนเกิดภาวะ คนสำราญ งานสำเร็จ หรือ งานก็สัมฤทธ์ ชีวิตก็รื่นรมย์

๒. ผู้นำสำคัญอย่างไร

ผู้ นำ คือ ผู้กำหนดทิศทาง หรือชะตากรรมขององค์กรที่ตนสังกัด เช่น ผู้นำโลกก็เป็นผู้กำหนดทิศทางหรือชะตากรรมของชาวโลก ผู้นำประเทศก็เป็นผู้กำหนดชะตากรรมของประเทศ ผู้นำบริษัทก็เป็นผู้กำหนดชะตากรรมของบริษัท ฯลฯ ผู้นำ เป็นคนอย่างไร องค์กรก็มีชะตากรรมอย่างนั้น ถ้าผู้นำเป็นคนเก่ง เป็นคนดี เป็นคนมีความสามารถในการบริหารจัดการ องค์กรหรือบริษัทนั้นๆ ก็มีชะตากรรมไปในทางที่ดี ประสบความสำเร็จในทุกกิจกรรมที่ดำเนินการ แต่ถ้าผู้นำเป็นคนไม่เก่ง เป็นคนเลว ทุจริตคอรัปชั่น ไร้ความสามารถในการบริหารจัดการ องค์กรหรือบริษัทก็ประสบความล้มเหลว กิจกรรมที่ดำเนินการก็ไม่ประสบความสำเร็จ

ความสำคัญของผู้นำต่อชะกรรมของคนที่เป็นผู้ตาม หรือต่อองค์กรที่ตนเป็นผู้บริหารนั้นเป็นอย่างไร เห็นได้จากพุทธวัจนะที่ตรัสไว้ว่า

ยามฝูงโคว่ายน้ำข้ามฟาก หากโคจ่าฝูงนำไปตรง โคบริวารก็ว่ายตรง หากโคจ่าฝูงนำไปคด โคบริวารก็ว่ายคดตามไปด้วย

๓.ภาวะผู้นำ

คุณสมบัติที่ทำให้เป็นผู้นำ เรียกว่า ภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำนั้นบางคุณสมบัติก็เป็นสิ่งที่มีติดตัวมาแต่กำเนิด เช่น หน้าตา ผิวพรรณวรรณะ บุคลิกภาพ ปฏิภาณในการตัดสินใจ วาทศิลป์ แต่บางอย่างก็สามารถพัฒนาให้มีขึ้นได้ในภายหลังโดยการศึกษา ฝึกหัด ปฏิบัติจนกลายเป็นความโดดเด่นเฉพาะตัว

คุณสมบัติที่ก่อให้เกิด ภาวะผู้นำ ประกอบด้วย

(๑) คุณสมบัติพื้นฐาน คือ ผู้นำต้องเป็นคนดีที่เรียกว่า สุภาพบุรุษ ที่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งความเป็นชนชั้นนำ ๗ ประการ

(๒) คุณสมบัติพิเศษ คือ ผู้นำควรมีพลังของการเป็นผู้นำ ๑๒ ประการ

(๓) คุณสมบัติเฉพาะ คือ ผู้นำต้องมีศักยภาพในการตัดสินใจที่ทรงประสิทธิภาพ

(๔) คุณสมบัติทั่วๆ ไป เช่น สถานการณ์แวดล้อม (เช่น คำกล่าวที่ว่า สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ) บุคคล เหตุการณ์ สถานที่ เงื่อนไขทางวัฒนธรรม หรือทางสังคมในขณะนั้นๆ ที่เกื้อกูลให้ผู้นำสามารถแสดงภาวะผู้นำออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมือนที่กล่าวกันว่า คนที่เหมาะสม ย่อมมาในเวลาที่เหมาะสม นั่นเอง

๑.เป็นสุภาพบุรุษ (คนดี) ก่อนเป็นผู้นำ

คำว่า สุภาพบุรุษ หมายถึง คนที่ดีพร้อมเพราะกอปรด้วยสมบัติผู้ดีที่ทำให้เป็นชนชั้นนำ ๗ ประการ

(๑) รู้จักเหตุ คือ รู้หลักการว่าเรื่องต่างๆ ที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องต้องทำมีหลักการอย่างไร เช่น หลักการของการเมือง คือ การรับใช้ประชาชน ไม่ใช่การกดขี่ ข่มเหงรังแกประชาชน

(๒) รู้จักผล คือ รู้จุดมุ่งหมาย เช่น รู้ว่า จุดมุ่งหมายของการเมือง คือ การ สร้างประโยชน์สุข แก่มหาชน ไม่ใช่การ แสวงหาผลประโยชน์

(๓) รู้จักตน คือ ดูตัวเองออก บอกตัวเองได้ ใช้ตัวเองเป็น เห็นตัวเองชัด

(๔) รู้จักประมาณ คือ รู้ว่าความพอดีของสิ่งต่างๆ ควรอยู่ตรงไหน

(๕) รู้จักกาล คือ รู้จักการบริหารเวลาโดยการเห็นคุณค่าของเวลา ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งรู้ว่าเวลาไหน ควรทำ หรือไม่ควรทำอะไร

(๖) รู้จักเข้าสังคม คือ รู้จักการวางตนให้อยู่ในสังคมอย่างสมกับบทบาทหรือสถานภาพทางสังคมของตน

(๗) รู้จักเลือกคบคน คือ รู้จักเลือกคบคนดนดีมีปัญญา ที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน