Tuesday, September 6, 2011

วิธีสอนลูกให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม

ทันโลก ทันธรรม
ตอน วิธีสอนลูกให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม

สอนลูกให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม

ปัจจุบันเราจะเห็นปัญหาเยาวชน อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่นยกพวกตีกัน หรือว่า การลักเล็กขโมยน้อย แล้วจะมีวิธีการดูแลอย่างไร เด็กคนหนึ่งจะดีได้ควรได้รับการปลูกฝังอย่างไร ผู้เป็นพ่อแม่ควรเข้ามาศึกษากัน

สอนลูกอย่างไรให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม

สอนลูกอย่างไรให้รับผิดชอบต่อสังคม

สิ่งที่สังคมคาดหวังกับ “คนดี” นั้นมีอะไรบ้าง

คุณลักษณะอันพึงประสงค์5ประการ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 5 ประการ คือ

1. ความซื่อสัตย์
2. มีจิตสาธารณะ
3. รักความเป็นธรรม
4. มีความรับผิดชอบ
5. ชีวิตพอเพียง


ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดี ส่งเสริมให้ได้เรียนรู้ในเรื่องของประวัติศาสตร์ บุคคลต้นแบบ เราลองมาดูว่า..ฝรั่งเขามีมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไรบ้าง

ที่ โรงพยาบาลแบรดลี่ย์ (Bradley Hospital) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแม่และเด็ก ได้สรุปไว้ว่า ถ้าจะให้เด็กเกิดความรับผิดชอบต่อสังคมต้อง มอบหมายงานบ้านให้ทำ (ซึ่งเป็นงานบ้านเท่าที่กำลังความสามารถของเด็กจะทำได้)

ช่วยกันเก็บผ้า

ช่วยกันเก็บผ้าเข้าตู้

โดยเบื้องต้นต้องสอนให้รู้ ความหมาย งานบ้านนั้น ทำไปเพื่ออะไร เพราะงานบ้าน คือการสร้าง Sense ดังนี้
1. Sense of Contribution สร้างความรู้สึกแบ่งปัน คือเด็กได้ช่วยเหลือครอบครัว
2. Sense of accomplishment คือ เกิดความสำเร็จในงาน
3. Sense of proud เกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง นำมาซึ่งการยอมรับนับถือตนเอง (self-respect) และในการยอมรับนับถือตนเองนั้น จะสามารถเชื่อมโยงไปสู่ ความสุขในชีวิต และ สุขภาพจิตที่ดีของเด็กด้วย
เพราะฉะนั้นเด็กที่มี AQ* และ EQ** อยู่ในระดับสูงๆ นั้น มาจากการที่เด็กยอมรับนับถือตัวเอง (self-respect)

สอนเด็กทำงานบ้าน

สอนเด็กทำงานบ้าน

เชื่อมโยงระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง

การให้เด็กไปทำงานบ้านนั้น คือ การเชื่อมโยง (Connection) ระหว่างเด็ก กับ ผู้ปกครอง
แต่เนื่องจาก “งานบ้าน” เป็นงานที่น่าเบื่อ การที่จะให้เด็กยอมทำงานบ้านนั้น ในขั้นแรก
คือ ทัศนคติ (Attitude) ของพ่อแม่ที่มีต่องานบ้าน ซึ่งพ่อแม่ต้องเข้าใจก่อนว่า “งานบ้าน” นั้น เป็นเครื่องมือการสอนที่ทรงประสิทธิภาพมาก (Effective teaching tool) และเป็นเครื่องมือที่หาได้ง่าย ซึ่งงานบ้านนั้นสอนให้เรียนรู้ถึง
1. การเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในครอบครัว
2. การสอนให้เด็กรู้จักสร้างความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นในสังคม

ศิลปะการสอนงานบ้านให้เด็กรู้สึกสนุก
1. ชมและเชียร์ทำให้เกิดบรรยากาศ สนุกสนาน
2. หากมีผิดพลาดก็สอนให้รู้จัก “การให้อภัย” เช่นจานตกแตก ก็อย่าไปดุเด็ก แต่ให้ใช้โอกาสนี้สอนให้เด็กเรียนรู้ และสร้างประสบการณ์ภายในที่ดีของเด็ก เพราะจิตของเด็กนั้น เหมือนผ้าขาว มันมีค่ามากกว่าจานที่แตกหลายเท่านัก จานแตกก็ซื้อใหม่ได้ แต่คุณค่าทางใจของเด็กที่กำลังจะพัฒนาเพื่อโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพเป็น สิ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสำคัญอย่างที่สุด

งานบ้านล้างจาน

ช่วยงานบ้านผู้ปกครองเด็กจะภูมิใจว่าได้เป็น "ส่วนหนึ่ง" ของครอบครัว
เพราะว่าเราทำงาน (บ้าน) ร่วมกัน..
หากจะผิดพลาดอะไรไปบ้าง เสียหายบ้าง เช่นเด็กทำจานแตก เราต้องดูแลคนของเราก่อน ไม่ใช่ไปดูที่สิ่งของก่อน สิ่งของนั้นไม่ตายก็หาซื้อใหม่ได้ แต่..คนและจิตใจของคนนี้ซื้อไม่ได้ หากเราสร้างให้เขามีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ให้เขารู้สึกว่า พ่อแม่เห็นเขาเป็นส่วนหนึ่ง เพียงแค่สอนเขาเมื่อเกิด ความเสียหายจากการกระทำของเขาว่า ไม่เป็นไร แต่คราวหลังให้ระมัดระวังหน่อยแล้วกัน ด้วยวาจาแห่งรักและปรารถนาดี เด็กจะเกิดการเรียนรู้ และสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ จะฝังอยู่ในจิตใจเขา ซึ่งมีค่ามากกว่าจานที่แตกไปแล้วมากมายนัก

การให้รางวัลแก่เด็กจะดีหรือไม่?
ไม่ควรเลย...อย่าไปให้เงินค่าขนม เนื่องจากการให้ทำงานบ้านเป็นการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม แล้ว เงินนั้นมันจะทำลายไปทุกอย่างหมดเลย ทำให้เห็นว่า การจะทำอะไรนั้นสุดท้ายต้องได้รางวัลตอบแทน ซึ่งผิดวัตถุประสงค์

Call Center ที่รับปรึกษา การฝึกเด็กทำงานบ้าน : 4014321000 Bradley Hospital ประเทศอเมริกา
ในทางธรรมะ การฝึกคนๆ หนึ่งนั้น ควรยึดหลักธรรม “มรรคมีองค์ 8” ตั้งแต่เบื้องต้น จนหมดกิเลสเข้านิพพาน

มรรคมีองค์8

หากมรรคมีองค์8 เปรียบเสมือนต้นไม้ 1 ต้น
1. สัมมาทิฏฐิ – ความเห็นถูก ก็เปรียบได้กับรากของต้นไม้ ถ้ารากดูดซับสิ่งที่เป็นพิษ ทุกอย่างที่ออกมาเป็นพิษหมด
ปลูกฝังสัมมาทิฏฐิได้อย่างไร...

1.1 เล่านิทาน กฎแห่งกรรม (kama law) ให้ลูกฟัง ซึ่งหาชมได้จาก โรงเรียนอนุบาลฝันในฝัน, ชาดกธรรมบท พ่อแม่ควรเร่งศึกษาแล้วนำไปเล่าให้ลูกฟัง ตัวพ่อแม่เองก็จะได้ประโยชน์ไปด้วย เด็กๆ ยิ่งฟังยิ่งลงลึก ไม่ต้องกลัวว่าจะเล็กเกินที่จะเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าว สิ่งนี้เป็นการปลูกฝังความคิดที่ดีลงในใจเด็ก เรื่องความกตัญญู หาอ่านได้จาก 24กตัญญู-จีน นอกจากเล่าให้ลูกฟังแล้วต้อง ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีด้วย

1.2 การสร้างนิสัยโดย ฝึกการใช้ “ปัจจัย 4” อาหาร (มารยาทในวงอาหาร) เครื่องนุ่งห่ม (แต่งกายให้เหมาะสมกาลเทศะ สะอาดและเป็นระเบียบ) ที่อยู่อาศัย (ทำความสะอาดเก็บของให้เรียบร้อย) และยารักษาโรค (อิริยาบถ 4 เดิน ยืน นั่ง นอน ในท่าที่ถูกทาง จะได้ไม่ป่วย)

1.3 ให้ลูกฝึกเป็นอาสาสมัครช่วยงานวัด หรืองานอาสาอะไรก็ได้ (เพื่อสร้างจิตสำนึกต่อส่วนรวม จะได้ในเรื่องการเข้าสังคม)

2. สัมมาสังกัปโป – มีความคิดถูก (ลำต้น) ไม่หมกมุ่นเรื่องกาม มองการณ์ไกล ไม่หุนหันพลันแล่น ไม่ใช่อยากทำอะไรก็ทำ เช่น พาลูกไปดูชีวิตในสวนสัตว์ ว่าถ้าหากเรารังแกสัตว์อย่างนี้ ครอบครัวจะกระทบกระเทือนอย่างไร ฝึกให้เป็นคนคิดถึงจิตใจผู้อื่นไม่อาฆาต ไม่เบียดเบียนใคร
3. สัมมาวาจา – การพูดถูก (กิ่ง)
4. สัมมากัมมันตะ – การทำการงานถูกต้อง (ใบ)
5. สัมมาอาชีวะ – เลี้ยงชีพถูกต้อง (ดอก)
6. สัมมาวายามะ – ความเพียรชอบ ให้กำลังใจลูกจะได้ทำดียิ่งๆ ขึ้นไป
7. สัมมาสติ – สติชอบ
8. สัมมาสมาธิ(Meditation) – สมาธิชอบ
สติ-สมาธิ

ฝึกตนได้อะไรมากมาย

ฝึกลูกให้สวดมนต์ นั่งสมาธิ (ก่อนนอน หรือช่วงเวลาว่าง)

ครอบครัวสุขสันต์

ครอบครัวสุขสันต์

พ่อแม่นั้นจะเป็น ดั่ง ปฏิมากร ที่สร้างสรรค์ชีวิตน้อยๆ ให้เติบโตและหยัดยืนอยู่ในสังคมได้อย่างสง่างาม รับผิดชอบชีวิตตัวเองได้ ทั้งยังมีความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม ลูกจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับพ่อแม่ เพราะลูกที่ดี คือปฏิมากรรมชั้นยอดของพ่อและแม่ ไปไหนใครก็ชม พ่อแม่ก็จะชื่นใจมิรู้คลาย..