Sunday, November 30, 2008

เอาบุญมาฝากจ้า....มะม่วงน้ำปลาหวาน

วันนี้เป็นส้มตำ มะม่วงน้ำปลาหวาน สังขยาฟักทอง
























































Monday, November 24, 2008

กรณีที่ผู้พิพากษาสั่งลงโทษผู้ต้องหาถึงขั้นตัดสินประหารชีวิต กรณีนี้ผู้พิพากษาท่านไม่ได้ลงมือเอง ท่านจะผิดศีลข้อที่1 ด้วยหรือไม่ครับ

หลวงพ่อตอบปัญหา

โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว)
เรียบเรียง จาก รายการหลวงพ่อตอบปัญหา ทาง DMC


คำถาม
:
หลวงพ่อครับ...กรณีที่ผู้พิพากษาสั่งลงโทษผู้ต้องหาถึงขั้นตัดสินประหารชีวิต
กรณีนี้ผู้พิพากษาท่านไม่ได้ลงมือเอง ท่านจะผิดศีลข้อที่1 ด้วยหรือไม่ครับ
คำตอบ: คุณ โยม...ในเรื่องของการลงโทษคนตามกฎหมาย นี่เป็นเรื่องของกฎหมายบ้านเมือง และในเรื่องของกฎหมายนี้ ต้องทำความเข้าใจอีกนิดหนึ่งด้วย กฎหมายยังมีกฎหมายแม่ กฎหมายลูก
กฎหมายลูกก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายแม่ ถ้าลูกว่าผิด แต่แม่ว่าไม่ผิดก็ เป็นว่าไม่ผิด ก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายแม่
คุณโยม...แต่ว่ากฎหมายลูกกฎหมายแม่ มันเป็นเรื่องที่มนุษย์ตั้งกันขึ้นมา ส่วนว่าผิดศีลหรือไม่ผิดศีล นั่นมันกฎแห่งกรรม อย่ามาปนกันนะคุณโยม ถ้าปนกันเมื่อไหร่ พลาดเมื่อนั้น
กฎหมาย มนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้นมาตามวาระ ตามเทศะ บางประเภทด้วยกรณีตัดสินเรื่องเดียวกัน อาจจะเหมือนกัน ไม่เหมือนกัน แต่ว่าในเรื่องของ กฎแห่งกรรม แล้ว...ไม่ว่าเรื่องการตัดสินหรือการฆ่านั้นๆ จะเกิดตรงไหนในโลกก็ตาม คุณโยม...มันผิดทั้งนั้น เพราะว่ากฎแห่งกรรมนั้น เป็นกฎของจักรวาล มันไม่ใช่กฎของบ้านเมืองใดบ้านเมืองหนึ่ง
ดวงอาทิตย์ที่ ประเทศจีน ประเทศไทย ประเทศฝรั่ง เห็น มันดวงเดียวกัน ดวงอาทิตย์ที่คนต่างศาสนาเห็น มันดวงเดียวกัน เพราะฉะนั้นความรู้สึกนึกคิดหรือว่าความร้อนแรงมันก็ระดับ เดียวกัน ไม่เปลี่ยน
ขณะนี้ เมื่อเราพูดถึงกฎหมายบ้านเมืองแล้ว ดูเหมือนว่าผู้พิพากษาท่านไม่ผิด ท่านไม่ผิดโดยกฎหมาย เพราะกฎหมายอนุญาตท่าน แต่ถึงอย่างไรก็เข้าข่ายฆ่าสัตว์ตัดชีวิตตามกฎแห่งกรรม
กฎเกณฑ์ในเรื่องของฆ่าสัตว์ตัดชีวิตในศีลข้อที่1 ว่าอย่างไร
1.สัตว์นั้นมีชีวิต
2.รู้ด้วยว่ามีชีวิต
3.มีจิตคิดจะฆ่า
4.ลงมือฆ่า
5.ได้ตายสมใจนึก
เมื่อไหร่ก็ตาม เมื่อได้มีการสั่งฆ่ากันขึ้นแล้ว และได้ฆ่าเสร็จสรรพแล้ว ใครมีส่วนไหนใน 5ขั้นตอนนี้ ก็รับเอาไป...ชัดเจนดีนะ
แต่ว่า มันก็มีข้อคิดกัน บางอย่างผ่อนหนักเป็นเบาได้...ผ่อนหนักเป็นเบาทำอย่างไร...อย่างกรณีที่กล่าวมาแล้วว่า
ประการที่1.เราก็ไม่ได้ยินดีด้วยกับการที่จะต้องฆ่านั้นๆ
ประการที่2.คน ที่ถูกสั่งฆ่า มันก็รู้ตัวนะว่ามันทำผิดจริง มันยอมรับด้วยว่า มันทำผิด มันยอมรับว่ามันเลว แล้วก็มันก็ไม่ได้ผูกพยาบาทกับผู้พิพากษา
อย่างนี้ผิดก็ผิด แต่พอเบาหน่อย

แต่ถ้า...มันเองมันว่ามันไม่ผิด ทั้งๆที่จริงมันผิด แล้วมันก็จองเวรด้วย ถ้าอย่างนี้คงจะได้ตามล้างตามผลาญกันอีกหลายชาติ อันนี้ชัดๆนะคุณโยมนะ
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้า ในกรณีที่ไปตัดสินผิดคนเข้า คนไม่ผิดแต่หลักฐานเท็จที่ไปมัดเขา เลยทำให้ต้องตัดสินให้กลายเป็นคนผิดไป ตรงนี้มันจะยิ่งหนักเข้าไปอีก
ก็ขอฝากเอาไว้เป็นข้อคิด ตำรวจก็ตาม ทหารก็ตาม ท่านผู้พิพากษาก็ตาม อย่าปนกันระหว่างกฎหมายกับกฎแห่งกรรม ถ้าเมื่อไหร่พูดถึงกฎแห่งกรรม ผิดคือผิด ขึ้นอยู่กับบุญกับบาป
ส่วนว่ากฎหมาย มันเป็นเรื่องของคนมาช่วยกันกำหนดกันขึ้นมา เพราะฉะนั้นก็ขอให้ระมัดระวังเรื่องนี้ให้ดี
และอาตมาก็อยากจะแถมไว้ด้วยว่า ไม่ว่าตำรวจ ไม่ว่าทหาร ไม่ว่าท่านผู้พิพากษา ท่านมารับภาระตรงนี้...นี่มันปลายเหตุ... ปลายเหตุอย่างไร...เขาทำกรรมกันมาเรียบร้อย เขาก่อเวรกันมาเรียบร้อย เขาทำ ผิดพลาดกันมาแล้ว ท่านผู้พิพากษา ท่านนั่งอยู่บนบัลลังก์ เขาฆ่ากันมาเรียบร้อย เขาทำเหตุกันมาแล้ว แล้วมาสั่งให้ท่านไปสั่งฆ่าอีกทีหนึ่ง ตรงนี้กฎหมายจะว่าอย่างไร อาตมาไม่เกี่ยว แต่อยากจะพูดว่า ขณะนี้เราทำกันที่ปลายเหตุ
ถ้าต้นเหตุนะ ทั้งทหาร ทั้งตำรวจ ทั้งท่านผู้พิพากษา มาช่วยกันคิดอย่างนี้ดีกว่าว่า ทำอย่างไรจะเอาธรรมะ จะเอาพระพุทธศาสนาเข้าไปอยู่ในจิตใจคน ดูเผินๆว่า ไม่ใช่หน้าที่ของท่าน

ความจริงเป็นหน้าที่ของคนไทยทั้งชาติ ไปช่วยกันคิด ช่วยกันวางมาตรการตัดไฟต้นลมตรงนั้น ถ้ามันถึงคราวจะต้องฆ่า ต้องฟันกัน ก็ให้...
1.น้อยหน่อย
2.บางทีอาจจะผ่อนหนักเป็นเบาได้...เป็นอย่างไร คือ แทนที่จะต้องฆ่าก็เอาแค่จำคุกตลอดชีวิตเถอะ

เพราะอะไร...เพราะว่า ใครๆก็ไม่มีสิทธิที่จะฆ่าใคร เพราะเราไม่ได้ให้ชีวิตเขาขึ้นมา เมื่อเราไม่ให้ชีวิตเขามา แล้วเราไปฆ่าเขา กรณีไหนมันก็บาปทั้งนั้น จองเวรกันไม่รู้จบ
ยิ่งกว่า นั้น ฆ่าเจ้าคนผิดลงไปแล้ว เจ้า Number1...ตายไปแล้ว เดี๋ยว Number2 Number3 Number4 ก็ตามมา...ทำไมมันตามมา...ก็ยังไม่ได้แก้ไขนิสัยสันดานของไอ้เจ้ารุ่นหลัง ให้ดี มันก็มีแต่การฆ่าไม่รู้จบอยู่นั่นแหละ คุณโยม...มาช่วยกันนะ
หลวงพ่ออยากจะฝากอีกนิดหนึ่ง คนที่บาปมากๆเลยนะ ในเมื่อเกิดมีความจำเป็นต้องตัดสินประหารชีวิตขึ้นมาแล้ว คือผู้ที่ออกกฎหมายเอง ไม่ ว่าผู้ที่ออกกฎหมายชุดนั้นๆ คนนั้นๆ ตายไปแล้วนานเท่าไหร่ก็ตาม เมื่อมีการสั่งประหารตามกฎหมายที่เขาออกเอาไว้ นี้ แม้ตัวเองตกนรกอยู่แล้ว บาปก็เพิ่มขึ้น ตกนรกหนักเข้าไปอีก
เพราะฉะนั้น ใครจะออกกฎหมายเกี่ยวกับการฆ่ากัน...คิดให้เยอะ ประหารชีวิต...คิดกันให้เยอะนะ เพราะใครๆ ก็ไม่มีสิทธิ์ฆ่าใคร เนื่องจากไม่มีใครเป็นผู้สร้างชีวิตให้ใคร


Sunday, November 23, 2008

ถ้าเราจำเป็นจะต้องคัดบุคคลที่ไม่มีคุณภาพออก เราจะมีหลักในการตัดสินใจอย่างไร?

หลวงพ่อตอบปัญหา

โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว)
เรียบเรียง จาก รายการหลวงพ่อตอบปัญหา ทาง DMC
คำถาม:กราบนมัสการพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ด้วยความเคารพครับ ลูกและเพื่อนๆต่างก็เปิดบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจ ในการนี้ต้องรับพนักงานเข้าทำงาน เราควรจะใช้หลักธรรมข้อใดในการพิจารณาเพื่อรับพนักงานครับ
ตอบ:เจริญ พร...โดยทั่วไปในการคัดคนเข้ามาทำงาน จะเป็นในระดับไหนก็ตาม ส่วนมากในยุคนี้ เขาก็มักจะมองว่า มีวุฒิอย่างไร จบอันโน้น จบอันนี้ ปริญญาตรี ปริญญาโท หรือปริญญาเอก...กันบ้าง พิจารณาจากประสบการณ์ในการทำงาน...บ้าง พิจารณาจากบุคลิกลักษณะ...บ้าง อะไรทำนองนี้ บางทีก็ไล่ไปจนกระทั่งชาติตระกูลก็มี สอบสาวเข้าไป เจ็ดชั่วโคตรเลย บางทีก็สอบไปถึงการเงินการทอง ประวัติของตระกูลในอดีต
แต่ว่าจะใช้หลักอะไรก็ใช้ไป นั่นถือว่า เป็นแค่องค์ประกอบ แต่เรื่องหลักจริงๆแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้เราคัดคนดีเข้ามาอยู่ร่วมกับเรา ในการคัดคนดีก็มีวิธีมองว่า ใครเป็นคนดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการที่จะเอาคนมาทำงาน ถือหลักง่ายๆ คนที่จะทำงานได้ดี คือ คนอย่างไร...คำตอบ คือ คนที่มีความรับผิดชอบ พูดง่ายๆ...คนดี ดีกันด้วยความรับผิดชอบ ไม่ใช่ดีเพราะมีปริญญา ไม่ใช่ดีเพราะหุ่นดี เสียงดี ชื่อดี หรือ ตระกูลดี...ไม่ใช่ เมื่อจะเอาคนมาทำงาน เพราะฉะนั้นคนจะดี ต้องดีด้วยความรับผิดชอบ
ความรับผิดชอบ มีดังนี้
ประการที่1.รับผิดชอบตนเอง
ที่เรียกว่า...รับผิดชอบต่อตนเองเป็นอย่างไร เอาขั้นต้นก็แล้วกัน ในทางศาสนา รับผิดชอบต่อตนเอง คือ รับผิดชอบต่อความเป็นมนุษย์ของตัวเอง วัดด้วยอะไร...ก็วัดด้วยศีลห้าของเขา เขาอาจจะมีความรู้ความสามารถเยอะ แต่ถ้าศีลไม่มี ถือว่าเขาไม่รับผิดชอบต่อความเป็นมนุษย์ของเขา เอาเข้ามาใกล้ตัวอันตราย จะฆ่าเราตายเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ จะหักหลังเราเมื่อไหร่ก็ไม่รู้
ประการที่2.รับผิดชอบต่อครอบครัว พ่อแม่ พี่น้อง วงศ์วาน ว่านเครือ รับผิดชอบหมด
มี ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ดูง่ายๆ ตั้งแต่เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่หรือไม่ ถ้ามีครอบครัวแล้ว เลี้ยงลูก เลี้ยงภรรยาหรือไม่ เลี้ยงสามีหรือไม่ ถ้าเขายังปล่อยปละละเลยในสิ่งเหล่านี้...อย่าเอามาเลย
ประการที่3.รับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ อาจจะฟังยากสักหน่อย
รับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ หมายถึง ไม่ไปแตะต้องอบายมุขนั่นเอง สุรา นารี พาชี กีฬาบัตร ไม่เกี่ยวข้อง เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ ถมไม่รู้จักเต็ม
สุรา ยาเสพติด...รู้จักกันอยู่แล้วว่าไม่ดีอย่างไร
นารี...ก็เจ้าพวกที่เที่ยวกลางคืน
พาชี...ไม่ใช่ไปแทงม้าที่สนามม้า แต่ว่าไอ้พวกนี้คือขี่ม้ากินลม ขี่รถกินลม พูดง่ายๆ ไอ้ขี้เกียจ อย่าไปเอามา
ประการสุดท้าย กีฬาบัตร...คือการพนันทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเล่นไพ่หรือว่าพนันมวย พนันบอล การพนันทุกชนิด
ไปแตะต้องกับอบายมุขทุกชนิด ได้ชื่อว่าไม่รับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ เพราะ อย่างนั้น ใครแตะต้องสิ่งเหล่านี้ อย่าไปเอามาเลย คนพวกนี้ในใจไม่มีคิดดี คนในวงไพ่คิดอย่างเดียว จะให้ทุกคนที่เล่นไปด้วยฉิบหาย เพราะถ้าเขาไม่ฉิบหาย เราก็ไม่รวย...แล้วทั้งวงมีกี่คน...มันก็คิดแบบเดียวกัน เพราะฉะนั้นวงพวกนี้จึงเรียกว่า “วงฉิบหาย” เพราะฉะนั้นเอาพวกนี้มาร่วมด้วยไม่ได้
ประการที่4.รับผิดชอบต่อสังคม ตรงนี้เราคุ้น แต่ถ้าถามว่า “มันเป็นอย่างไร รับผิดชอบสังคม” เราอาจจะตอบกันไม่ได้
รับผิดชอบต่อสังคม คือ ไม่มีความลำเอียง คนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหน...คนพวกนี้จะเกลียดนักเกลียดหนาคือ ความอยุติธรรม ความลำเอียง ถ้าเอาคนมาใช้งาน แล้วมีความลำเอียงอยู่ในใจ เอามาใช้ไม่ได้ จำไว้ก็แล้วกัน คุณต้องสอบจนแน่ใจได้ว่า เขาไม่มีความลำเอียง คุณเอามาเถอะ
ประการที่5.รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
รับ ผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม พูดง่ายๆ เราอยู่ในโลกนี้ ถ้าไม่ช่วยกันถนอมโลก ไม่ว่าแผ่นดินในโลกนี้ อากาศในโลกนี้ น้ำในโลกนี้ ต้นไม้ ต้นไร่ในโลกนี้ แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร ถ้าเขามีสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมดีละก็ อย่างนั้น สมบัติทุกชิ้นที่เรามี ที่เราต้องไปเกี่ยวข้อง คนแบบนี้เขาจะช่วยเรารักษา
ทั้งห้าประการนี้ เป็นเรื่องหลัก ซึ่งแสดงถึงความรับผิดชอบ หรือเป็นตัวบ่งบอกให้เรารู้ล่วงหน้าว่า “ฝึกเขาเข้าไปเถอะ จะช้าจะเร็ว เขาจะมีความรับผิดชอบต่องานที่เราต้องการให้เขาทำ” นี่เป็นหลัก
เมื่อ ได้คนที่มีคุณสมบัติทั้ง 5ประการนี้ล่ะก็ เราจะฝึกขึ้น ถ้าไม่อย่างนั้นฝึกไม่ขึ้นหรอกคุณ ทีนี้เมื่อเราได้มาแล้ว ยังไม่พอนะ คุณจะต้องฝึกให้เป็นด้วย แต่เอาเถอะ...หลวงพ่อเชื่อว่า ในความสามารถของคุณ ตั้งเนื้อตั้งตัวกันมาขนาดนี้แล้ว ฝึกตัวเองมาขนาดนี้ คุณสามารถฝึกเขาได้ ยกเว้นไม่ได้ทุ่มเทในการฝึก ถ้าอย่างนั้นแม้ได้คนดีมา ก็เอามาทำอะไรไม่ได้เหมือนกัน ตรงนี้ต้องโทษคุณนั่นแหละ อย่าไปโทษเขานะ
คำถาม:กราบหลวงพ่อด้วยความเคารพครับ ในอีกด้านหนึ่งครับ ถ้าเราจำเป็นจะต้องคัดบุคคลที่ไม่มีคุณภาพออก เราจะมีหลักในการตัดสินใจอย่างไรบ้างครับ
ตอบ:คุณโยม...ความจริงเมื่อตอนเอาเขาเข้ามา เราก็ว่าเราคัดแล้วล่ะนะ...ตรงนี้ ครั้งใดที่คัดคนออก ต้องโทษว่า เป็นความผิดของเราเป็นประการแรก คือ ดูคนพลาด หรือดูคนไม่เป็น ไม่ใช่ความผิดของเขาเพียงลำพัง...เอาล่ะ...เราพบว่าเขาไม่ดี แต่ขอให้รู้ด้วยว่า นั่นเป็นความผิดของเราด้วย เพราะว่า เราว่าเราคัดแล้ว แล้วเราคัดอย่างไร เขาถึงได้หลุดหูหลุดตาเรามาได้
อีก ประการหนึ่ง ต้องดูด้วย เราอาจจะคัดเขามาดี ดูแล้วดูอีกก็ดีจริง แต่ว่าเมื่อมาถึงเราแล้ว เราฝึกเขาไม่ถึงขั้น แม้อย่างนี้ก็เป็นความผิดของเรา
ที นี้...เมื่อดูว่า จำเป็นต้องคัดเขาออกเสียแล้ว ผลปรากฏว่า ขณะนี้...เขาไม่ค่อยดีเท่าที่เราหวัง หรือไม่ใช่เขาไม่ค่อยดี แต่แย่เอามากๆเลย ตรงนี้ก็ต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่าทำด้วยความเคียดแค้น เพราะถ้าเราจะคัดใครออกสักคน จำไว้...หากเราทำผิดพลาดนิดเดียว มีโอกาสถึงตายเชียวล่ะคุณ คุณจำไว้ คัดคนเข้าว่ายากแล้ว คัดคนออกยิ่งแสนยากหนักเข้าไปอีก
เมื่อเป็นอย่างนี้ จะคัดคนออกแต่ละครั้ง คิดแล้วคิดอีกให้ดี ไล่ความหนักหนาสาหัสไปตามลำดับว่า ควรจะกรณีอย่างไหน เอาออกก่อน-หลัง
ขั้นต้นเลย... ในการจะเอาคนออก ที่จะประจักษ์กับคนทั้งหลายว่า เขาไม่เหมาะสมที่จะอยู่ต่อไป แล้วคนอื่นก็สามารถเห็นได้ด้วย ตัวเขาก็ยอมรับด้วยว่า เขามันไม่ค่อยจะเข้าท่า
บุคคลประเภทแรก ที่พอจะคัดออกได้ง่ายหน่อย แล้วใครก็ติเราไม่ได้ คือ ผู้ที่เขาก็ไม่ค่อยจะมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน พูดง่ายๆ เช้าชามเย็นชาม พวกทำงานอย่างนี้ เช้าช้อนเย็นช้อน พวกอย่างนี้...ออกไปได้ก็ดี พรรคพวกก็อยากให้ออกอยู่แล้ว อย่างนี้อันตรายไม่เกิดกับเรา เอาออกไปเถอะ
บุคคลประเภทที่สอง คือ ผู้ที่ไม่รับผิดชอบต่อศีลธรรม กล่าว คือ เขาอาจจะรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน แต่ว่าศีลธรรมที่จะพึงมีกับหมู่คณะมันไม่ค่อยจะมี เช่น แอบไปกินเหล้าบ้าง หรือยืมเงินเพื่อนแล้วไม่คืนบ้าง อะไรทำนองนี้ คนพวกนี้เอาไว้ไม่ได้ จัดเป็นพวกไม่รับผิดชอบต่อศีลธรรม อย่าเอาไว้ หาทางคัดออกไปเถอะ เพราะฝึกก็ยาก
บุคคลประเภทที่สาม คือ ผู้ที่ไม่เคารพต่อกฎระเบียบ ฝีมือ อาจจะดี ความรับผิดชอบการงานใช้ได้ แต่ว่า...ทำงานอยู่กับหมู่กับคณะ แล้วมักไม่เคารพกฎระเบียบ มีกฎมีระเบียบขั้นตอนอย่างนั้น...อย่างนี้ เขาก็มักข้ามขั้นตอนอยู่บ่อยๆ ทำให้หมู่คณะกระทบกระทั่ง...ตรงนี้คัดออก แต่ต้องระวังนะ มีโอกาสเดือดร้อนได้ เพราะว่าคนส่วนมากในองค์กร อาจจะไม่ทราบในความไม่เหมาะไม่ควรในสิ่งเหล่านี้ ต้องระมัดระวังให้ดี คนประเภทนี้ควร “เชิญออก” หรือ “แนะนำให้ออก” ไม่ใช่ “ไล่ออก” ไม่อย่างนั้น เดี๋ยวเดือดร้อน
บุคคลประเภทที่สี่ ประเภทนี้อันตรายแล้วเอาออกยากมากๆด้วย คือ ผู้ที่ชักนำ ไปชักชวน เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงานไปในทางที่ผิด ตัวอย่าง เช่น ชักชวนกันไปยกพวกตีกันกับคนอื่น ชักชวนไปเที่ยวในที่ไม่ควรเที่ยว ไม่ว่าที่ไหนก็ตามที ถ้ามีแววชักชวนในทางนี้บ่อยๆล่ะก็ คนประเภทนี้ ถ้าหาทางเชิญเขาออกมาได้แต่ต้นมือจะดี แต่ว่าขอเตือนไว้นะ...ยากมาก แล้ว ถ้าปล่อยเอาไว้ คนประเภทอย่างนี้จะชักชวนกันเดินขบวน ชักชวนสไตร์ท ทีแรกก็ไปเดินขบวนให้กับที่อื่น ไปๆมาๆ เดี๋ยวเถอะเดินขบวนในที่ของคุณเองนั่นแหละ บุคคลประเภทนี้เป็นบุคคลที่ต้องพึงระมัดระวัง เพราะฉะนั้นถ้าคุณไม่ดูให้ดีตั้งแต่ต้น จะมาเสียหายตรงนี้
ตรง นี้ฟ้องว่าอะไร...ฟ้องว่าจริงๆแล้ว เขาไม่ค่อยจะรับผิดชอบทั้งตัวเอง และครอบครัวของเขาเท่าที่ควรจะเป็น คนที่รับผิดชอบต่อครอบครัวดีจริงแล้ว จะไม่ทำแน่นอน ในเรื่องของชักชวนพรรคพวกเพื่อนฝูงร่วมงานในทางที่ผิด เขาจะไม่ทำ ถ้ามีอย่างนี้เมื่อไหร่ แสดงว่า คุณแย่มากเลย ไม่ได้เช็คถึงความรับผิดชอบในครอบครัวของเขาตั้งแต่ต้น
บุคคลประเภทที่ห้า ประเภทนี้ยิ่งยากต่อการที่จะคัดออก แต่จริงๆเอาไว้ไม่ได้ เป็นอย่างไร...ก็คือ ผู้ที่ใครๆก็เตือนไม่ได้ ถาม ว่า มีฝีมือดีหรือไม่...ดี แต่ถือตัวว่าเจ๋งมาก เพราะอย่างนั้นใครๆก็เตือนไม่ได้ เตือนก็โกรธ พวกนี้ถึงคราวจะต้องเอาออกก็ยาก...คุณแทบจะต้องกราบให้เขาออกเลย เตือนไว้ อย่าเอาออกด้วยวิธีการง่ายๆ ไม่งั้นอันตราย
เพราะ ฉะนั้น ดีที่สุด คือ คุณต้องคัดคนให้สุดฝีมือ แล้วก็ทดลองงานให้นานพอสมควร แล้วหาวิธีค้นให้ได้ว่า เขาเป็นมนุษย์ที่ใครเตือนไม่ได้หรือไม่ หรือถ้ามีแววว่า ทีแรกค้นอย่างไรก็ไม่เจอ ต่อมามีแววว่าจะเตือนไม่ได้ ใครเตือนไม่ได้ เหลือแต่เราคนเดียวล่ะก็...ตรงนี้หาทางยักย้ายถ่ายเทให้ดี ให้ไปอยู่ในตำแหน่งหรือในงานที่พร้อมจะยุบล่ะก็...บางทีจะรอดตัว...ถ้าไม่ อย่างนั้นจะยาก
บุคคลประเภทที่หก ที่คุณจะต้องกำจัดออก คือ ผู้ที่ชอบก้าวก่ายหน้าที่ของคนอื่น... คนพวกนี้ จะมีความสามารถในการที่จะรายงานเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องของคนอื่นทั้งๆที่ไม่เกี่ยวกับตัวเอง แล้วเราก็มีความรู้สึกว่า “เออ...คนนี้เป็นหูเป็นตาเราดี” ที่ไหนได้ คนแบบนี้ชอบแต่ยุ่งเรื่องของคนอื่น คุณเองก็ระวังเอาก็แล้วกัน ถ้าคุณไม่ระวังในสิ่งเหล่านี้ตั้งแต่ต้น แล้วคุณต้องมาคัดออกตอนท้าย องค์กรของคุณจะป่วนหมดนะ แล้วคุณก็มีสิทธิ์ตายได้อีกด้วย
คำถาม:หลวงพ่อครับ ถ้าเราจะเลื่อนตำแหน่งลูกน้อง ขึ้นมาเป็นหัวหน้างาน บุคคลผู้นั้นควรจะมีคุณสมบัติอย่างไรบ้างครับ
ตอบ:คุณโยม...ถ้าพูดโดยหลักการ การจะเลือกใครขึ้นมาเป็นหัวหน้างาน นั้นไม่ยาก...ลองฟังหลักการก่อน หลักการมีอยู่ 2ประการ คือ
ประการแรก บุคคลนั้นต้อง ไม่ลำเอียง เพราะถึงเขาจะเก่งงานขนาดไหนก็ตาม แต่ถ้าเขาลำเอียงเสียแล้ว เมื่อเขาขึ้นมาเป็นหัวหน้าคน เดี๋ยวเขาก็ทำหน่วยงานนั้นพังหมด คนเก่งแต่ลำเอียง ฝีมือดี เก่งขนาดไหนก็ทำให้หน่วยงานพังซะจนได้ เพราะฉะนั้นอย่าเอาขึ้นไปเป็นหัวหน้า
ผู้ที่จะขึ้นมาเป็นหัวหน้าคน ที่ว่าไม่ลำเอียงเป็นอย่างไร...คือ ผู้ที่ไม่มีความลำเอียง ดังต่อไปนี้
1.ลำเอียงเพราะรัก คือ ประเภทที่ชอบเล่นพวกเล่นพ้อง พูด ง่ายๆ เอาคนชอบเล่นพวกเล่นพ้องมาเป็นหัวหน้าหน่วยงาน เดี๋ยวก็ทำงานพัง ดูเผินๆ คนพวกนี้มีมนุษยสัมพันธ์ แต่จริงๆไม่ใช่ ถ้าหันหน้าหน่วยงานเล่นพวกแล้ว งานก็จะพัง คือ จะมีคนประจบสอพลอ หรือคนคุณภาพไม่ถึง มาอยู่เต็มไปหมด แล้วคุณจะพัง
2.ลำเอียงเพราะชัง คือ ประเภทที่ตัวเองฝีมือดี แต่ว่า...ถ้าได้โกรธใครล่ะก็...ผูกอาฆาตเลย ใครไม่ถูกใจ...จะจงเกลียดจงชัง ขังลืมเอาไว้ในใจ ใครทำให้ไม่ถูกใจสักหน่อย...คนคนนั้น ชาตินี้ทำอะไรก็ไม่ถูกตลอด อย่างนี้ก็ให้ไปเป็นหัวหน้าคนไม่ได้
3.ลำเอียงเพราะกลัว คือ ประเภทที่กลัวเส้นก๋วยเตี๋ยว กลัวเส้นกวยจั๊บ พูดง่ายๆ คนพวกนี้ พอมีลูกน้องที่หัวแข็งสักหน่อย ไม่กล้าว่า ไม่กล้าเตือน ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ถือว่าลำเอียงเพราะกลัว เราได้คนอย่างนี้ขึ้นมา หน่วยงานก็รวน
4.ลำเอียงเพราะโง่ ตรงนี้ยากหน่อย การที่ใครคนใดคนหนึ่งจะไม่ลำเอียงเพราะโง่นี่...ตรงนี้ยากนะลูกนะ...เพราะอะไร...เพราะทุกคนในโลกไม่ได้เป็นสัพพัญญู คือ รู้ไม่หมดทุกอย่าง โอกาสที่จะลำเอียงเพราะโง่จึงมีมาก
สรุป การเลือกคนที่จะไม่ลำเอียง เพื่อมาขึ้นเป็นหัวหน้า หลักง่ายๆก็คือ
1.ดูว่า เขาไม่เล่นพรรคเล่นพวก
2.ดูว่า เขาไม่ใช่เป็นคนที่อาฆาตคน
3.ดูว่า เขากล้าเตือนคน กล้าเตือนลูกน้อง
4.ดูว่า เขาเป็นคนที่อ่อนน้อมถ่อมตน รักการค้นคว้า รักความก้าวหน้า และใครก็สามารถจะเตือนเขาได้
คนอย่างนี้ คือ เป็นคนที่มีแววว่าจะไม่ลำเอียง พร้อมที่จะเป็นหัวหน้า
ประการที่สอง บุคคลที่จะขึ้นเป็นหัวหน้างานได้ ต้องมีมนุษยสัมพันธ์ดี แต่ คุณต้องระมัดระวังไว้ พวกที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีนั้น ส่วนมากฝีมืองาน หรือความทุ่มเทในงาน มักจะหย่อน ในขณะที่ผู้ที่ทุ่มเทกับงานอย่างชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพัน มนุษยสัมพันธ์มักจะหย่อน พูดง่ายๆ ถ้าดีในเรื่องงานล่ะก็ มนุษยสัมพันธ์จะหย่อน ถ้ามนุษยสัมพันธ์ดีล่ะก็ งานจะหย่อน ตรง นี้เราต้องชั่งใจให้ดี ถ้าชั่งใจไม่ดี เดี๋ยวมันพลาดไป แน่นอนเราอยากได้ทั้งมนุษยสัมพันธ์ก็ดี การทุ่มเทกับงานก็ดี ถ้าได้อย่างนี้มันก็วิเศษ แต่...มันไม่ง่ายหรอกนะ...อันนี้เตือนไว้ก่อน
ดูความมีมนุษยสัมพันธ์ของเขาให้ดี คือ คุณจะเอาใครขึ้นมา คุณก็คงจะมองว่า เขามีความสามารถในงาน ถ้าไม่มีความสามารถในงาน คุณก็คงไม่คิดจะเอาเขาขึ้นไปเป็นหัวหน้า ตรง นี้อีกเหมือนกัน ระวังก็แล้วกัน ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น...มีความสามารถในงาน แต่มักจะขาดมนุษยสัมพันธ์ อีกพวกหนึ่ง มีความสามารถในมนุษยสัมพันธ์ แต่ว่างานมักจะหย่อน
ตรงนี้คุณดูนะ...ในพวกมีความสามารถในงาน แต่มนุษยสัมพันธ์หย่อน คุณต้องเข้าไปประกบ แล้วค่อยๆสอนให้เขา ตั้งแต่...
1.ให้เขารู้จักเป็นคนให้ทาน หรือว่าโอบอ้อมอารีต่อลูกน้อง
2.ให้เขาพูดเพราะๆให้เป็น ไม่อย่างนั้น เดี๋ยวกระทบกระทั่งกันตาย
3.คอยสอนเขาว่า...อย่าหวงความรู้ อบรมลูกน้องให้เป็น
4. ให้เขาเป็นคนประเภทที่เสมอต้นเสมอปลาย ได้ดีไม่เหลิง ไม่ยกตนข่มท่าน ตกต่ำทำผิดทำพลาดไม่ใช่เศร้าสร้อยหงอยเหงา คุณต้องไปประกบตรงนี้ให้ดี
พุทธองค์ทรงให้หลักเอาไว้ คนที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีนั้น คือ
1.มีทาน คือ รู้จักปัน
2.มีปิยวาจา คือ พูดเพราะ พูดให้กำลังใจคนเป็น
3.มีอัตถจริยา คือ พร้อมจะให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วยให้ความรู้เป็นทาน
4.มีความเสมอต้นเสมอปลาย ได้ดีก็ไม่ยโสโอหัง ไม่ใช่พอได้รับการ Promote ขึ้น ไปเป็นหัวหน้าเลยดูถูกคนทั้งแผนก คุณดูให้ดีว่า เขาเสมอต้นเสมอปลายได้ อย่างนี้ก็ถือว่าเขามีมนุษยสัมพันธ์ ถ้ายังมีไม่พอคุณก็เติมให้เต็ม
ส่วนพวกที่มนุษยสัมพันธ์ดี แต่ว่างานหย่อน ก็ฝึกงาน เคี่ยวงานให้หนักหน่อย ก่อนจะไป Promote หรือถ้าจำเป็นต้อง Promote คุณก็ต้องประกบให้ดี ไม่อย่างนั้นงานของคุณจะแย่
ก็มีหลักง่ายๆสองประการ ดังที่ได้กล่าวมานี้ ทั้งไม่ลำเอียง ทั้งมีมนุษยสัมพันธ์ดี อย่างนี้งานของคุณจะเดิน เพราะเขาเหมาะจะเป็นหัวหน้างาน

ขอขอบคุณ http://www.dmc.tv

Sunday, November 16, 2008

เอาบุญมาฝากจ้า.....LENOTRE

วันนี้ไปทำสังฆทานมา....




















































ดูรูปต่อที่นี่นะ
http://picasaweb.google.com/dhammavoice/

Thursday, November 13, 2008

กรรมจากความโกรธ

ผู้ใดก็ตามที่รู้สึกโกรธขึ้นมา กรรมของความโกรธนั้นจะกลับมาหาเขาอีกในอนาคต ส่วนจำนวนนั้นจะขึ้นอยู่กับกำลังของศีล เช่น ถ้าผู้ที่เขาโกรธนั้นไม่มีศีล ความโกรธที่เขากระทำไปจะกลับมาหาเขา 1,000 ครั้ง ถ้าผู้ที่เขาโกรธเป็นผู้มีศีล 5 เขาจะได้รับผลกรรมนั้น ประมาณ 10,000 ครั้ง แล้วยิ่งถ้าโกรธและไปเบียดเบียนไฟนรก 7 กองเข้า อันนี้ก็จะถือเป็นกรรมใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น พ่อแม่ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ของลูกและเป็นไฟนรกกองที่ 4 ผลกรรมนั้นจะเพิ่มเป็น 10,000 ล้านเท่าเป็นอย่างน้อย ซึ่งควรระวังเป็นอย่างยิ่ง

ยศ ถาบรรดาศักดิ์ ตำแหน่งหรือความเจริญในการงานจะไม่ก้าวหน้ากลับลดลงด้วยซ้ำ ทั้งที่ ขยันและทำผลงานได้ดีกว่าคนอื่นซึ่งเข่าก็ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

ผู้โกรธจะต้องสูญเสียทรัพย์จากภัยทั้ง 3 ได้แก่ ราชภัย โจรภัย และโรคภัย

ราชภัยได้แก่ ภัยจากหลวงหรือจากทางราชการ เช่นทางการขอเวรคืนที่ดิน โดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง โดยตำรวจจับผิดตัว ทำให้ต้องประกันตัวสู้คดีเสียเงินเสียทองมากมาย หรืออาจไปเจอเลขเด็ดจึงแทงหวยรัฐบาลเสียเต็มที่ สุดท้ายก็ถูกกินเรียบ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีภัยอื่นมากมายที่มาจากทางราชการ โดยที่ผู้นั้นไม่รู้ถึงต้นเหตุเลย

โจรภัยก็ได้แก่ ภัยอันเกิดจากโจรนั่นเอง โดยอาจจะถูกโจรงัดบ้าน ลูกน้องขโมยของในร้าน หรือบางทีของต่างๆ อยู่ๆ ก็หายไปโดยไม่รู้ว่าหายไปไหน เป็นต้น

โรคภัย ได้แก่ โรคภัยไข้เจ็บที่ทำให้ เราต้องเสียเงินเสียทองรักษาตัว เช่น ถ้าเรามีประกันสุขภาพ เราอาจจะไม่เป็นอะไร แต่ลูกเมีย พ่อแม่หรือใครสักคนก็มีอันต้องเจ็บไข้ และเราต้องเป็นผู้จ่ายเงินค่ารักษาในที่สุด

ภัยทั้ง 3 จะเกิดแก่ผู้ที่โกรธอยู่ร่ำไป โดยที่เขาไม่รู้ตัวเลย เมื่อเสียเงินเสียทองไปแล้วก็จะโกรธต่อไปอีก

ความโกรธเป็นกรรมที่นำไปเกิดในอนาคตได้ เมื่อโกรธบ่อยๆ เข้า และทำเป็นประจำ กรรมที่โกรธก็จะรวบรวมกลายเป็นอาจิณกรรม และอาจกลายเป็นชนกกรรมซึ่งนำไปเกิดในนรกได้

เมื่อผู้โกรธที่ตกนรกได้ใช้กรรมในนรกหมดแล้ว เมื่อมีโอกาสมาเกิดเป็นมนุษย์ จะเป็นคนที่มีใบหน้าขี้ริ้วขี้เหร่และดูน่ากลัวซึ่งเป็นผลของเศษกรรมที่ติดมา

ไฟนรก 7 กอง

ไฟนรก 7 กอง ก็คือ สิ่งเจ็ดสิ่งที่เป็นตัวเลขสะท้อนบุญและสะท้อนบาปแก่เราอย่างมากมายมหาศาล พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ หากเราทำบุญกับผู้ที่เป็นไฟนรกแล้ว ก็จะได้ผลบุญเป็นอันมโหฬาร แต่ถ้าหากเราทำบาปต่อไฟนรกเหล่านั้นแล้ว ก็จะได้ผลบาปอย่างหนักหนาแสนสาหัส จนถึงกับต้องลงนรกอย่างทุกข์ทรมานและยาวนาน แม้จะมีศีลห้าที่จะช่วยให้เกิดเป็นมนุษย์ แต่หากไปล่วงเกินไฟนรกเข้าแล้ว ก็ย่อมมีนรกเป็นที่รองรับอย่างแน่นอน ดังนั้นไฟนรก 7 กอง จึงเป็นสิ่งที่เราไม่ควรไปล่วงเกินโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะด้วย กาย วาจา หรือใจ

ไฟนรกกองที่ 1 ได้แก่ พระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ที่มีบุญบารมีมากที่สุดในโลก เป็นผู้เดียวในโลกที่มีสัพพัญญุตญาณ(ญาณที่รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลโดยไม่มีที่สิ้นสุด) และพระพุทธเจ้ายังเป็นนายกของโลกตามตำแหน่งของกฎธรรมชาติที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งผู้ใดก็ตามที่ได้ทำกุศลกรรมกับพระองค์ บุคคลนั้นจะต้องได้อานิสงฆ์ผลบุญมากที่สุดในโลก ซึ่งมนุษย์คนใดได้ไปทำทานด้วยแล้วจะได้ผลบุญมากเท่ากับทำทานแด่พระพุทธเจ้าเป็นไม่มี แต่หากผู้ใดทำอกุศลกรรมกับพระองค์ บุคคลนั้นจะต้องได้รับกรรมมากที่สุดในโลกที่เรียกว่า อนันตริยกรรม นั่นเอง

ไฟนรกกองที่ 2 ได้แก่ พระธรรม

พระธรรม คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ได้ถ่ายทอดออกมาจากการรู้ซึ่งความจริงของกฎธรรมชาติทุกอย่าง

ไม่มีผู้ใดในโลกที่จะฝืนหรือเปลี่ยนแปลงกฎธรรมชาติไปได้ แม่แต่พระพุทธเจ้า ผู้ใดก็ตามที่ไม่เชิ่อในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า บุคคลนั้นถือว่า เป็นผู้มีความเห็นผิด (มิจฉาทิฎฐิ) ซึ่งจะทำให้คนผู้นั้นได้รับความเดือดร้อนในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการเชื่อว่าเกิดครั้งเดียว ตายครั้งเดียว ชาติหน้าไม่มี ตายแล้วสูญ ผู้ที่เชื่อเช่นนี้ เมื่อตายไปต้องไปเกิดในอบายภูมิอย่างแน่นอน หากผู้นั้นยังสอนให้ผู้อื่นเชื่อตามนี้ด้วยอีกแล้ว เมื่อตายไปต้องตรงไปเกิดที่โลกันต์นรกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ไฟนรกกองที่ 3 ได้แก่ พระสงฆ์

พระสงฆ์ คือ พระอริยสงฆ์ที่ตรัสรู้ธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในขั้นใดขั้นหนึ่งแล้ว ได้แก่ พระโสบัน พระสาทาคามี พระอนาคามี หรือขั้นสูงสุด คือ พระอรหันต์ เมื่อเราได้ทำบุญกับพระอริยสงฆ์เราก็จะได้บุญมากมายมหาศาลนับไม่ถ้วน แต่ถ้าใครก็ตามไปล่วงเกินทำบาปกับท่าน ก็จะต้องได้รับผลกรรมอย่างรุนแรง และมหาศาลเช่นเดียวกัน

ไฟนรกกองที่ 4 ได้แก่ บิดามารดาผู้ให้กำเนิด

พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่า พ่อแม่นั้นคือ พระอรหันต์ของลูก ผู้ใดก็ตามที่พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ ถือว่าผู้นั้นมีบุญวาสนาอย่างมาก เพราะเราสามารถทำบุญกับพ่อแม่ได้และได้รับผลบุญเทียบเท่ากับพระอรหันต์เช่นกัน เพียงแต่ว่าอาจจะได้ผลบุญช้ากว่าพระอรหันต์ซักหน่อย สาเหตุที่ได้บุญมากก็เพราะว่าพ่อแม่อยู่ในฐานะผู้มีพระคุณอย่างมากมายมหาศาลต่อลูกตามกฎของธรรมชาติ แม้พ่อแม่จะให้แต่กำเนิดเท่านั้นแต่ไม่เลี้ยงดูเลยก็ตาม ก็ยังถือว่าบุญคุณของพ่อแม่นั้นหา ที่สุดมิได้ ถ้าใครก็ตามที่ล่วงเกินท่านด้วยกาย วาจา ใจ ผู้นั้นก็ย่อมจะได้รับกรรมอย่างมหาศาลเทียบเท่ากับล่วงเกินพระอรหันต์เลยทีเดียว

ไฟนรกกองที่ 5 ได้แก่ ครูบาอาจารย์

ครูบาอาจารย์ เป็นผู้ที่มีความสำคัญมากตามกฎของธรรมชาติ โดยเฉพาะอาจารย์ผู้ที่สั่งสอน หรือ เขียนตำราให้เราอ่านแล้วทำให้เรารู้ธรรมะ ถ้าผู้ใดเกิดมาแล้วไม่รู้ธรรมะอะไรเลย ผู้นั้นย่อมใช้ชีวิตอย่างผิดๆ ถูกๆ ไม่รู้ว่าอะไรเป็นบุญอะไรเป็นบาปและทำทุกอย่างตามความคิดของตัวเองว่าถูก เมื่อตายไปเขาย่อมไปเกิดในอบายภูมิซึ่งมีนรกเป็นที่ต่ำที่สุด แต่เมื่อใดก็ตามที่เขามีบุญวาสนาได้พบอาจารย์ที่มีความรู้ในธรรมะตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง เขาผู้นั้นก็เสมือนว่าได้เกิดใหม่ ทั้งที่ยังไม่ตาย เขาจะรู้ว่า การกระทำใดเป็นบุญและการกระทำใดเป็นบาป เขาจะสามารถตั้งมั่นอยู่ในศีลในธรรมตลอดชีวิต ทำให้ได้รับความสุขความเจริญทั้งในชาตินี้ เมื่อตายไปก็จะมีโลกสวรรค์เป็นที่รองรับ ทั้งนี้ ก็ด้วยพระคุณของครูบาอาจารย์ที่ฉุดเขาพ้นจากนรกนั่นเอง และการที่เราเคารพครูบาอาจารย์จะทำให้เราเป็นผู้มีความสำเร็จเร็วและเป็นผู้มีปัญญามากอีกด้วย ดูอย่างเช่าน พระสาริบุตรเมื่อได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิ ก็เกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระสารีบุตรรู้บุญคุณของพระอัสสชิที่ทำให้ตนได้รู้จักธรรมะที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา จึงยกย่องนับถือไว้เป็นอาจารย์ เมื่อพระสารีบุตรอยู่ที่ใดก็ตามก่อนจะจำวัด (นอน) จะต้องหันศรีษะไปทางที่พระอัสสชิอยู่ แล้วตั้งจิตอธิฐาน ถวายสิ่งที่อยู่เหนือเศียรเกล้าของตนเพื่อบูชาพระอาจารย์ จึงไม่น่าแปลกเลยที่ท่านเป็นพระอัครสาวก ผู้เป็นเลิศด้านผู้มีปัญญามาก

ไฟนรกกองที่ 6 ได้แก่ สมณะชีพราหมณ์

สมณะหรือพระที่บวชในพระพุทธศาสนา โดยปฎิบัติตามพระวินัย คือ รักษาศีล 227 ข้อ เรียกว่า สมมติสงฆ์ หลายคนเข้าใจว่า สมมติสงฆ์ ก็คือ พระสงฆ์ แท้จริงแล้ว พระสงฆ์หมายถึง พระอริยะสงฆ์ที่บรรลุธรรมตั้งแต่พระโสดาบรรณจนถึงพระอรหันต์เท่านั้น ส่วนพระทั่วไปที่ยังไม่ได้บรรลุธรรมนั้นเรียกว่า สมมติสงฆ์ แม้จะเป็นสมมติสงฆ์แต่ถ้ารักษาศีลดี และปฎิบัติธรรมเพื่อความเป็นไปตามทางแห่งพระอรหันต์แล้ว ถ้าเราไปทำบุญกับท่าน เราก็จะได้บุญมากมายจนนับไม่ถ้วนเลยทีเดียว แต่ถ้าเราไปทำบาปกับท่าน เราก็จะได้รับผลบาปนับไม่ถ้วนเช่นกัน หลายคนที่ไม่เข้าใจเห็นพระบางรูปกำลังทำชั่วอยู่ เช่น เดินช๊อปปิ้ง ซื้อซีดีโป๊ ก็อดไม่ได้ที่จะตำหนิ ในใจ หรือต่อว่าด่าทอต่างๆ นานา ซึ่งการไปตำหนิติเตียนหรือด่าว่าพระสมณะ ชี พราหมณ์ นั้น ถือเป็นบาปที่ต้องได้รับกรรม เพราะเรามีสิทธิ์ที่จะทำบุญกับพระรูปใดก็ได้ แต่เราไม่มีสิทธิ์ที่จะไปด่าว่าใคร เพราะเป็นการไปเบียดเบียนผู้อื่นนั่นเอง

ไฟนรกกองที่ 7 ได้แก่ สามี

ผู้ชายนั้นจะมีไฟนรกแค่ 6 กอง แต่ผู้หญิงที่มีสามีจะมีไฟนรก 7 กอง เพราะสามีนั้นเปรียบเสมือนพ่อคนที่ 2 ของภรรยา ที่คอยทำหน้าที่ป้องกันภัย และดูแลห่วงใยภรรยา สามีจึงเป็นไฟนรกของภรรยาตามกฎของธรรมชาติ ฉะนั้นผู้หญิงคนใดที่มีสามีไม่ดี ถือว่าเป็นความโชคร้ายของผู้หญิงคนนั้นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อมีการทะเลาะเบาะแว้งกัน ผู้หญิงจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบมาก เพราะจะมีโอกาส ทำกรรมหนัก จากการล่วงเกินไฟนรกนั่นเอง

ขอยกตัวอย่าง ถ้าเราทำบุญให้กับบิดามารดา เราก็จะได้รับผลบุญอย่างน้อยประมาณ 10,000 ล้านเท่า แต่ถ้าเราล่วงเกิน ก็จะได้บาปอย่างน้อยประมาณ 10,000 ล้านเท่าเหมือนกัน

ถ้าภรรยา ทำบุญให้กับสามี ภรรยาก็จะได้บุญอย่างน้อยประมาณ 5,000 ล้านเท่า ถ้าไปล่วงเกินเข้า ก็ต้องได้รับผลบาปอย่างน้อยประมาณ 5,000 ล้านเท่าเช่นกัน

ส่วนสามี ถ้าได้ล่วงเกินภรรยา ถ้าภรรยาเป็นผู้ไม่มีศีล สามีจะได้ผลบาป 1,000 เท่า แต่ถ้าภรรยาเป็นผู้รักษาศีล 5 สามีก็จะได้รับบาป 10,000 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว จะเห็นได้ว่า การไปล่วงเกินสามีด้วย กาย วาจา ใจ นั้นไม่คุ้มเลย

* แค่เห็นความไม่ดีของไฟนรก 7 กอง ก็ถือเป็นกรรมแล้ว *

ตัวอย่างเช่น ถ้าพ่อเราเป็นคนไม่ดี กินเหล้าเมายา ไม่รับผิดชอบต่อครอบครัว ถึงแม้ความจริงพ่อของเราเป็นอย่างนั้นจริงๆ และเมื่อเราเห็นพ่อหรือนึกถึงความไม่ดีที่พ่อเคยทำไว้นั่นก็เท่ากับว่าเราได้ล่วงเกินไฟนรกกองที่ 4 เข้าแล้ว ทั้งๆ ที่ในใจตอนนั้นไม่ได้โกรธหรือไม่ได้ต่อว่าตำหนิใดๆ ทั้งสิ้นก็ตาม


มีเรื่องจะเล่าให้ฟัง เรื่องที่เราเคยโง่มาก่อน หลายปีด้วย เรื่องไฟนรก 7 กองนี้ เพราะอ่านเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ

ฟังตอนแรกๆ ขัดใจมากโดยเฉพาะกองสุดท้าย อิอิ เพิ่งจะมาเข้าใจเมื่อไม่กี่เดือนมานี้

มีคนถามว่าพิมพ์แล้วกดค้นหา พอไม่เจอก็คิดว่าไม่น่าเชื่อถือ แล้วก็ได้คำตอบว่า..

เรื่องไฟนรก 7 กองนั้น หลวงปู่สรวง อ่านพระไตรปิฎก 3 รอบ แล้วก็ดึงมาสรุปว่าไฟนรกทั้ง 7 กองนี้ที่ให้พึ่งระวัง
และก็ได้สั่งสอนศิษย์ต่อๆ กันมา ดังนั้นเราอยากจะให้อ่านพระไตรปิฎกแบบวิเคราะห์ มีขุมทรัพย์มากมายซ่อนอยู่
ซึ่งต้องวิเคราะห์เอา ^0^ มิใช่ว่าพิมพ์กดพอไม่เจอแล้วก็ว่าไม่น่าเชื่อถือ


ผลบุญแห่งการทำสมาธิ

บุญแห่งการทำฌานเป็นบุญชั้นสูง ไม่มีบุญอะไรในโลกที่จะสูงไปกว่า ผู้ที่ทำฌาน 4 ได้ อย่างสม่ำเสมอจะเป็นผู้ที่มีฤทธิ์อำนาจเหนือคนธรรมดา การใช้อธิษฐานบารมีจะมีคุณภาพมากถ้าเข้ารูปฌาน 4 ดังนั้น ฌาน 4 จึงเป็นเสมือน แก้วสารพัดนึก เพราะนึกสิ่งใดก็จะได้สมความปราถนา

นอกจากนี้ ฌาน 4 ยังเป็นตัวคูณของผลทานเป็นอย่างมาก เช่น เมื่อเราทำทาน ปรกติผลบุญบางส่วนจะกลับมาในชาตินี้ ก็อาจใช้เวลาประมาณสิบกว่าปี ถ้ารักษาศีลด้วยก็อาจเหลือแค่ 5-6 ปี แต่ถ้าได้ใช้อำนาจของฌานด้วยแล้ว ก็อาจเห็นผลในเวลา 3-4 ปี ก็เป็นได้

การเปรียบเทียบอานิสงฆ์ของการทำบุญแต่ละอย่าง ดังนี้

  • ทำทาน 100 ครั้ง บุญไม่เท่ารักษาศีลห้า 1 ครั้ง
  • รักษาศีลห้า 100 ครั้ง ไม่เท่านั่งสมาธิ 1 ครั้ง
สรุปแล้ว ให้ทาน 10,000 ครั้ง (27 ปี 8 เดือน) บุญยังไม่เท่านั่งสมาธิ 1 ครั้ง (รูปฌาน4) เพราะเหตุว่า การให้ทานหรือรักษาศีล เป็นเพียงปัจจัยขั้นต้น ทำให้ถึงพระนิพพานยังไม่ได้ แต่การนั่งสมาธิให้เกิดปัญญารู้แจ้ง รู้จักธรรมชาติ ตามความเป็นจริง สามารถทำให้ถึงพระนิพพานได้

บุญของการรักษาศีล

บุญของการรักษาศีลในชาตินี้ คือ ทำให้ผู้รักษาศีลมีความโชคดี ทำอะไรก็จะประสบความสำเร็จได้เร็ว หน้าที่การงานจะได้เลื่อนขั้นเร็ว เป็นที่รักใคร่เมตตาแก่ผู้พบเห็น มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง โรคน้อย หากผู้มีศีลนั้นได้ทำทานอย่างสม่ำเสมอก็จะได้รับผลบุญของทานเร็วกว่าปรกติ เช่น ปรกติเมื่อเราได้ทำทานแล้ว ผลของทานบางส่วนก็จะกลับมาในชาตินี้ โดยใช้เวลาประมาณสิบกว่าปี แต่ถ้ารักษาศีลด้วยแล้วจะทำให้ผลของทานกลับมาหาเราเร็วขึ้น คือ อาจแค่เพียง 5-6 ปี ก็เป็นได้ นอกจากนี้ เมื่อเกิดชาติหน้าก็มีโอกาสเกิดเป็นมนุษย์ได้อีก และมีรูปร่างผิวพรรณดีเหมือนอย่างดาราที่มีรูปเป็นทรัพย์นั่นเอง

เป็นคนดียังไม่พ้นนรก

สำหรับผู้ที่ไม่รักษาศีลนั้น แม้จะเป็นคนดีของโลก เป็นพลเมืองดีของประเทศ ของครอบครัว ไม่ได้ทำผิดศีลหรือผิดกฎหมายใดๆ แต่ไม่ได้รักษาศีล เมื่อตายไปคนส่วนใหญ่ต้องไปเกิดในอบายภูมิถึง 99 % สาเหตุก็เพราะ การเกิดเป็นมนุษย์ได้นั้นต้องอาศัยศีลห้าเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่สำคัญ

ดัง นั้นถ้าตอนเป็นมนุษย์ทำบุญไม่มากพอที่จะไปสวรรค์ได้ หรือบาปไม่มากพอที่จะลงนรกได้ ครั้นจะเกิดเป็นมนุษย์อีกก็ไม่ได้เพราะไม่ได้รักษาศีล จึงต้องไปเกิดเป็นเปรตหรือสัตว์เดรัจฉาน หากทำทานมามาก ก็อาจได้เกิดเป็นสุนัขที่มีคนเลี้ยงดูอย่างดีเพียงเท่านั้น

การถวายสังฆทานที่ถูกต้อง

การถวายสังฆทานที่ถูกต้อง

การทำสังฆทานที่ไม่ถูกต้องในปัจจุบัน

ชาว พุทธในปัจจุบัน เข้าใจผิดว่าการถวายสังฆทาน คือ การนำของใส่ถังไปถวายพระหนึ่งรูปบ้าง สองรูปบ้าง แท้จริงแล้วการทำบุญแบบนั้นเป็นสังฆทานที่ผิดได้บุญต่ำ บางสิ่งอาจได้ทำบาปอีกด้วย ถ้ามีการถวายเงินแล้วพระรับกับมือหรือครอบครองเงินนั้นไว้กับตัว

การถวายสังฆทานที่ถูกต้อง

วิธีการปฎิบัติที่ถูกต้อง

1. ต้องเป็นอาหารที่พระฉันได้ในเวลานั้น และต้องถวายก่อนเที่ยงเหมือนกับการถวายภัตราหารเพลพระนั่นเอง

2. ต้องกล่าวคำถวายสังฆทาน ดังนี้ อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ (ในหัตถบาสใช้อิมานิ นอกหัตถบาสใช้เอตานิ)

3. พระตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป (ครบองค์สงฆ์) พระน้อยกว่า 4 รูป ไม่สามารถรับสังฆทานได้ เป็นบาป เพราะเป็นเพียงบุคคลเท่านั้น เมื่อพระครบ 4 รูป จึงจะถือว่าเป็นสงฆ์ จะถวายพระ 1 รูป ได้ก็ต่อเมื่อ พระรูปนั้นเป็นพระอรหันต์ เพราะท่านเองเป็นสงฆ์นั่นเอง

4. จะต้องทำการอปโลกข์สังฆทาน

หลังจากที่พระรับสังฆทานแล้ว พระรูปที่ 2 จะต้องทำการอปโลกข์สังฆทาน (คือ ประชุมสงฆ์ เพื่อทำการแบ่งปันอาหารมาตามลำดับจนถึงให้ญาติโยม) หากไม่ได้ทำการอุปโลกข์ อาหารทุกชิ้นที่เป็นของสงฆ์ ใครจะนำไปกินไม่ได้เด็ดขาด พระบางรูปจะบอกยกให้ก็กินไม่ได้ แม้แต่พระผู้รับสังฆทาน ก็จะฉันไม่ได้ ถ้าผู้ใดกินเข้าไป เมื่อตายไปแล้วต้องไปเกิดเป็นเปรตประมาณ 92 กัลป์ (1 กัลป์ คือ 6,420 ล้านปี) ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างมากของชาวพุทธที่ไม่รู้ธรรมะ

คำอปโลกข์สังฆทานก็คือ ยัคเฆ ภัณเต สังโฆ ชานาตุ อะยัง ปะฐะมะ ภาโค มะหาเถรัสสะ ปาปุณาติ อะวะเสสา ภาคา อัมหากัง ปาปุณาติ

ถวายสังฆทานอานิสงค์เกินความคาดหมาย

ในสมัยพุทธกาล มีพี่น้องอยู่ สองคน คนพี่นามว่า ภัททา คนน้องนามว่า สุภัททา ภัททาคนพี่เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทำทานโดยใส่บาตรตอนเช้าเป็นประจำทุกวัน มาตั้งแต่วัยเยาว์ต่อมานางได้ไปอยู่ในตระกูลของสามี แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน ภัททาจึงบอกให้สามีรับสุภัททาน้องสาวมาอยู่ร่วมกันเพื่อนที่จะได้มีลูกสืบสกุล ภัททาได้ให้โอวาทแก่น้องสาวว่าให้ทำทานเสมอ จักได้ทรัพย์สมบัติในภายภาคหน้า นางสุภัททาก็เชื่อฟังและปฎิบัติตามคำที่พี่สอน วันหนึ่งนางจึงให้คนไปนิมนต์พระเรวตะเถระ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ให้เข้ามาฉันภายในบ้านของตน พระเรวตะเถระได้มีจิตกรุณาปราถนาจะให้นางสุภัททาได้บุญมาก จึงพาพระภิกษุ 7 รูป ที่ล้วนเป็นพระอรหันต์ขีณาสพได้ด้วย เพื่อให้นางได้ถวายเป็น สังฆทานนางก็ได้ถวายพระอรหันต์ทั้งหลายด้วยใจที่เลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก ต่อมาก็ถวายสังฆทาน ขั้นพระอรหันต์ทานอีกหลายครั้ง เมื่อถึงอายุขัย นางทั้งสองก็ตายไปตามธรรมดาสังขาร

นางสุภัททา ผู้เป็นน้องได้มาบังเกิดเป็นเทพนารี ทรงรัศมีรุ่งเรืองงดงาม มีปราสาททองเป็นวิมาน อยู่บนสรวงสวรรค์ชั้น นิมมานรดี เมื่อนางามาพิจารณาดูถึงเหตุแห่งผลบุญอันมหาศาลนี้ ก็ได้รู้แจ้งว่า ได้เคยถวายสังฆทานแด่พระอริยสงฆ์ และที่ทำไปก็เพราะโอวาทที่พี่สาวเคยอบรมไว้ นางจึงไปหาพี่สาว ซึ่งได้มาบังเกิตเป็นบาทบริจาริการ(คนรับใช้)แห่งท้าวสักกะบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นางภัททาเกิดความสงสัยว่าผลบุญอันใดที่ทำให้นางเป็นผู้เรืองยศ และมีความสุขสมบูรณ์เช่นนี้

นางภัททาเทพธิดา จึงถามว่า พี่ได้เลี้ยงดูพระภิกษุทั้งหลาย ผู้สำรวมดี ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวและน้ำ ด้วยมือของตนเองมากกว่าเธอ ก็ยังได้บังเกิดในเหล่าเทพเจ้าต่ำกว่าเธอ ส่วนเธอได้ถวายทานเพียงเล็กน้อย อย่างไรจึงมาได้ผลอย่างพิเศษไพบูลย์ถึงเช่นนี้เล่าแม่เทพธิดา ฉันถามเธอแล้ว นี่เป็นผลแห่งกรรมอะไร โปรดตอบฉันด้วยเถิด นางสุภัททาเทพธิดา ได้ตอบว่า เมื่อชาติก่อน ดิฉันได้เห็นพระภิกษุผู้อบรมจิตใจเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ จึงได้นิมนต์ท่านรวม 8 รูปด้วยกัน มีพระเรวตะเถระเป็นประธานด้วยภัตตาหาร ท่านพระเรวตะนั้นมุ่งจะให้เกิดประโยชน์ อนุเคราะห์แก่ดิฉัน จึงบอกแก่ดิฉันว่า จงถวายทานแค่สงฆ์เถิด ดิฉันได้ทำตามคำของท่าน ทักขิณาของดิฉันนั้นจึงเป็นสังฆทาน ดิฉันเข้าตั้งไว้ในสงฆ์เป็นทานที่ไม่อาจปริมาณผลได้ว่ามีอยู่เท่าไร ส่วนทานที่คณพี่ได้ถวายแด่ภิกษุด้วยความเลื่อมใสเป็นรายบุคคล จึงมีผลไม่มากนางภัททาเทพธิดา จึงกล่าวรับรองดังนั้นว่า พี่เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่าการถวายสังฆทานนี้มีผลมาก ถ้าว่าพี่ได้ไปบังเกิดเป็นมนษย์อีก จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่ ถวายสังฆทานและจะไม่ประมาทเป็นนิตย์

อยากทำบุญกับพระอรหันต์จะทำอย่างไร

ในสมัยพุทธกาล มีอุบาสกคนหนึ่งอยากจะทำบุญกับพระอรหันต์ แต่ไม่สามารถรู้ว่าพระองค์ไหนเป็นพระอรหันต์ จึงเกิดความสงสัย อุบาสกคนนั้นจึงเข้าไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ตรัสแก่อุบาสกคนนั้นว่า การที่เราจะรู้ว่าพระองค์ไหนเป็นพระอรหันต์นั้น เราจะต้องอยู่ใกล้ชิดท่าน และฟังธรรมะจากท่านบ่อยๆ เราก็จะสามารถรู้ได้ แต่ถ้าเราไม่มีเวลาใกล้ชิดและไม่มีเวลาฟังธรรม แต่อยากทำบุญแล้วให้ได้ผลบุญมากเทียบเท่ากับพระอรหันต์ ถ้าอย่างนั้นต้องไปทำสังฆทาน

ทำบุญตั้งมากมาย แต่ทำไมไม่รวยซักที

การที่คนทั่วไปทำบุญแล้ว ไม่เห็นผล ไม่เจริญก้าวหน้า ไม่ได้ในสิ่งที่ตนปราถนา เหตุก็เพราะว่า คนทั่วไปนั้นทำบุญไม่เป็น ไม่รู้จักวิธีทำบุญที่ถูกต้อง จึงทำเท่าไหร่ ก็ไม่เป็นผลสักที ถึงแม้จะทำบุญมาก็จะได้ผลน้อย ถ้าทำบุญน้อย ก็จะยิ่งได้น้อยขึ้นไปอีก แม้จะทำด้วยใจก็ตามที เปรียบเสมือนคน 2 คนถือข้าวเปลือกคนละ 1 กำมือ คนแรกโรยข้าวเปลือกไปบนแผ่นคอนกรีต คนที่ 2 โรยไปบนผืนดินที่อุดมสมบูรณ์และมีน้ำชุ่ม ลองคิดดูเถิดว่าข้าวเปลือกของใครจะเจริญงอกงามกว่ากัน สำหรับคนแรกที่โรยไปบนแผ่นคอนกรีตนั้น แม้ว่าโรยข้าวเปลือกลงไปมากเท่าใด ก็ย่อมได้ผลน้อย แต่คนที่ 2 นั้น ถึงจะโรยข้าวเปลือก แต่น้อยลงบนผืนดินที่เหมาะสม ข้าวก็จะเจริญงอกงามอย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับการทำบุญ ถ้ารู้จักการทำบุญที่ถูกต้อง ก็ย่อมจะได้ผลบุญมากเกินความคาดหมายนั่นเอง

Wednesday, November 12, 2008

ข้องดเว้นของศีล ๕

ข้องดเว้นของศีล ๕

๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

( งดเว้นจากการฆ่าสัตว์หรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า มีองค์ ๕ คือ ) สัตว์มีชีวิต ๑. รู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิต ๑.

จิตคิดจะฆ่า ๑. พยายามเพื่อจะฆ่า ๑. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น ๑.

๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

( งดเว้นจากการลักทรัพย์หรือใช้ให้ผู้อื่นลักทรัพย์ มีองค์ ๕ คือ ) ของที่เขาหวงแหน ๑.

รู้อยู่ว่าเขาหวงแหน ๑. จิตคิดที่จะลักทรัพย์ ๑. พยายามเพื่อจะลักทรัพย์ ๑. ลักทรัพย์ของเขา

มาด้วยความพยายามนั้น ๑. ( กรณีซื้อของหนี้ภาษีลักลอบผ่านด่านตรวจเข้ามา ศีลขาดทันที )

๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

( งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงมีความต่างกันคือ )

- สำหรับผู้ชายนั้นผู้หญิงต้องงดเว้น คือ ผู้หญิงมีสามีแล้ว ผู้หญิงมีญาติปกครองเช่น

มารดา บิดา พี่ชาย พี่สาว ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย ปกครองอยู่ และผู้หญิงรักษาศีล ๘

- สำหรับผู้หญิงนั้น ผู้ชายต้องงดเว้นมี ๒ ประเภท คือ

๑. ผู้ชายอื่นนอกจากสามีตน ( กรณีผู้หญิงมีสามีแล้ว )

๒. ผู้ชายที่มีจารีต ( กรณีผู้หญิงมีสามีแล้ว และผู้หญิงทั่วไป ) เช่น พระภิกษุ สามเณร

อุบาสกที่รักษาศีล ๘

๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

( งดเว้นจากการพูดเท็จ การกระทำกิริยาท่าทางให้ผู้อื่นเข้าใจผิด ) เช่น การส่ายหน้าว่าไม่ใช่

ในเรื่องที่ใช่, และการพยักหน้าในเรื่องไม่ใช่ว่าใช่, การโกหกเพื่อให้เขาสบายใจก็ผิดศีล, การ

พูดคำหยาบศีลไม่ขาดแต่ศีลทะลุและเป็นกรรม, การพูดส่อเสียด คือ การเอาเรื่องที่คนหนึ่ง

พูดถึงอีกคนหนึ่งในทางที่ไม่ดีไปบอกผู้นั้น เพื่อให้เขาทะเลาะกันก็ทำให้ศีลด่างพล้อยเป็น

กรรม การพูดเพ้อเจ้อไร้สาระ เช่น พูดในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ พูดเกินความจริง ก็ทำให้ศีลด่าง

พล้อยก็เป็นกรรม

๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

( งดเว้นจากการดื่มเครื่องดองของเมา รวมทั้งสิ่งเสพติดทั้งหลาย ) อันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ประมาท ทำให้ขาดสติ เช่น สุรา เบียร์ ไวน์ เฮโรอีน ฝิ่น กัญชา ยาบ้า ยาอี ยาไอร์ เป็นต้น


โดย..มูลนิธิพิสูจน์ธรรม

ว่าด้วยผลแห่งการสร้างศาลาโรงฉัน

อายาตทายกเถราปทานที่ ๘ (๓๘)

ว่าด้วยผลแห่งการสร้างศาลาโรงฉัน

เมื่อพระโลกนาถพระนามว่าสิขี ผู้ประเสริฐกว่าพวกคนผู้กล่าว (ยกย่องตน) นิพพานแล้ว เราร่าเริง มีจิตโสมนัส ได้ไหว้พระสถูปอันอุดม ในกาลนั้น เราร่าเริง มีจิตโสมนัส ให้คนไปบอกกับนายช่าง ให้ทรัพย์แล้ว จ้างให้ทำศาลา (ลี) โรงฉัน

เรา อยู่ในเทวโลกตลอด ๘ กัลปโดยไม่สับสนกันเลย ในกัลปที่เหลือ เราท่องเที่ยวไปสับสนกัน ยาพิษย่อมไม่กล้ำกลายในกายเรา และศาตราไม่กระทบกายเรา เราไม่พึงตายในน้ำ นี้เป็นผลแห่งการสร้างศาลาโรงฉัน เราปรารถนาฝนเมื่อใด มหาเมฆย่อมยังฝนให้ตกเมื่อนั้น แม้เทวดาทั้งหลายก็ตกอยู่ในอำนาจเรา นี้เป็น

ผลแห่งบุญกรรม เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ ๓๐ ครั้ง ใครๆ ย่อมไม่ดูหมิ่นเรา นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม

ในกัลปที่ ๓๐ แต่ กัลปนี้ เราได้ให้สร้างศาลาโรงฉันใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการสร้างศาลาโรงฉัน คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้ ทราบว่า ท่านพระอายาตทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล

(จากพระไตรปิฎกออนไลน์ www.84000.org เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑)

ว่าด้วยผลแห่งการรักษาเบญจศีล

เบญจสีลสมาทานนิยเถราปทานที่ ๔ (๒๔)

ว่าด้วยผลแห่งการรักษาเบญจศีล

เวลา นั้น เราเป็นคนทำการรับจ้างอยู่ในนครจันทวดี เรามัวประกอบในการนำมาซึ่งการงานของผู้อื่น จึงไม่ได้บวช โลกทั้งหลายถูกความมืดใหญ่หลวงปิดบังแล้ว ย่อมถูกไฟ ๓ กองเผา เราควรจะประกอบด้วยอุบายอะไรหนอ ไทยธรรมของเราไม่มี และเราเป็นคนยากไร้ทำการรับจ้างอยู่ ผิฉะนั้น เราพึงรักษาเบญจศีลให้บริบูรณ์เถิด เราจึงเข้าไปหาพระภิกษุชื่อนิสภะ ผู้เป็นสาวกของพระมุนีพระนามว่าอโนมทัสสี แล้วได้รับสิกขาบท ๕ เวลานั้นเรามีอายุแสนปี เรารักษาเบญจศีลให้บริบูรณ์ตลอดเวลาเท่านั้น เมื่อเวลาใกล้ตายมาถึงเข้า ทวยเทพย่อมยังเราให้ชื่นชม (เชื้อเชิญเรา) ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ รถอันเทียมด้วยม้าพันหนึ่งนี้ปรากฏ แล้วเพื่อท่าน เมื่อจิตดวงหลังเป็นไป เราได้ระลึกถึงศีลของเรา

ด้วย กุศลกรรมที่ได้ทำแล้วนั้น เราได้ไปสู่ภพดาวดึงส์ ได้เป็นจอมเทวดาเสวย ราชสมบัติในเทวโลก ๓๐ ครั้ง แวดล้อมด้วยนางอัปสรทั้งหลาย เสวยสุขอันเป็นทิพย์อยู่ และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๕ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้ เราอันกุศลมูลตักเตือนแล้วเคลื่อนจากเทวโลก มาเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาลอันมั่งคั่งในนครไพสาลี เมื่อศาสนาของพระชินเจ้ายังรุ่งเรืองอยู่ มารดาและบิดาของเราได้

รับ สิกขาบท ๕ ในเวลาใกล้พรรษา เราฟังศีลอยู่พร้อมกับมารดาและบิดาจึงระลึกถึงศีลของเราได้ เรานั่งอยู่บนอาสนะอันเดียว ได้บรรลุอรหัตแล้ว เราได้บรรลุอรหัตนับแต่เกิดได้ ๕ ปี พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุทรงทราบคุณของ

เรา แล้ว ได้ประทานอุปสมบทให้เรา เรารักษาสิกขาบท ๕ ให้บริบูรณ์แล้ว ไม่ได้ไปสู่วินิบาตเลย ตลอดกัลปหาประมาณมิได้แต่กัลปนี้ เรานั้นได้เสวยยศเพราะกำลังแห่งศีลเหล่านั้น เมื่อจะประกาศผลของศีลที่เราได้

เสวย แล้ว โดยจะนำมาประกาศตลอดโกฏิกัลป ก็พึงประกาศได้เพียงเอกเทศ เรารักษาเบญจศีลแล้ว ย่อมได้เหตุ ๓ ประการ คือ เราเป็นผู้มีอายุยืนนาน ๑ มีโภคสมบัติมาก ๑ มีปัญญาคมกล้า ๑

เมื่อ เราประกาศผลของศีลทั้งปวงกะหมู่มนุษย์อันมีประมาณยิ่ง เราท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยใหญ่ย่อมได้ฐานะเหล่านี้ พระสาวกของพระชินเจ้าทั้งหลาย ประพฤติอยู่ในศีลหาประมาณมิได้ ถ้าจะพึงยินดีอยู่ในภพ จะพึงมีผลเช่นไร เบญจศีลอันเราผู้เป็นคนรับจ้าง มีความเพียรประพฤติดีแล้ว เราพ้นจากเครื่องผูกทั้งปวงได้ในวันนี้ ด้วยศีลนั้น ในกัลปอันประมาณมิได้ แต่กัลปนี้ เรารักษาเบญจศีลแล้ว ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง (การรักษา) เบญจศีล คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และแม้อภิญญา ๖ เราพึงทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล ทราบว่า ท่านพระเบญจศีลสมาทานิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

(จากพระไตรปิฎกออนไลน์ www.8400.org เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑)

5 สิ่งที่พึงระลึกในวันรักษาศีลอุโบสถ

อุโปสถสูตร

สมัย หนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมารดา ในบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาดาได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับในวันอุโบสถ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค

แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรนางวิสาขา ท่านมาแต่ไหนแต่ยังวันอยู่ นางวิสาขากราบทูลว่า วันนี้ดิฉันเข้าจำอุโบสถ เจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรนางวิสาขา อุโบสถมี ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน คือ โคปาลกอุโบสถ ๑ นิคัณฐอุโบสถ ๑ อริยอุโบสถ ๑ ดูกรนางวิสาขา ก็โคปาลกอุโบสถเป็นอย่างไร ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนนายโคบาล เวลาเย็นมอบฝูงโคให้แก่เจ้าของแล้ว พิจารณาดังนี้ว่า วันนี้โคเที่ยวไปในประเทศโน้นๆ ดื่มน้ำในประเทศโน้นๆ พรุ่งนี้โคจักเที่ยวไปในประเทศโน้นๆ จักดื่มน้ำในประเทศโน้นๆ แม้ฉันใด ดูกรนางวิสาขา ฉันนั้นเหมือนกัน คนรักษาอุโบสถบางคนในโลกนี้ พิจารณาดังนี้ว่า วันนี้เราเคี้ยวของเคี้ยวชนิดนี้ๆ กินของชนิดนี้ๆ พรุ่ง นี้เราจะเคี้ยวของเคี้ยวชนิดนี้ๆ จักกินของกินชนิดนี้ๆ เขามีใจประกอบด้วยความโลภอยากได้ของเขา ทำวันให้ล่วงไปด้วยความโลภนั้น ดูกรนางวิสาขา โค ปาลกอุโบสถเป็นเช่นนี้แล ดูกรนางวิสาขา โคปาลกอุโบสถที่บุคคลเข้าจำแล้วอย่างนี้แล ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่รุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก

ดูกร นางวิสาขา ก็นิคัณฐอุโบสถเป็นอย่างไร ดูกรนางวิสาขา มีสมณนิกายหนึ่ง มีนามว่านิครนถ์ นิครนฐ์เหล่านั้นชักชวนสาวกอย่างนี้ว่า มาเถอะ พ่อคุณท่านจงวางทัณฑะในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศบูรพา ในที่เลยร้อยโยชน์ไป จงวางทัณฑะในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศปัจจิมในที่เลยร้อยโยชน์ไป จงวางทัณฑะในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศอุดรในที่เลยร้อยโยชน์ไป จงวางทัณฑะในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศทักษิณในที่เลยร้อยโยชน์ไป นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนเพื่อเอ็นดูกรุณาสัตว์บางเหล่า ไม่ชักชวนเพื่อเอ็นดูกรุณาสัตว์บางเหล่า ด้วยประการฉะนี้ นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนสาวกในวันอุโบสถเช่นนั้นอย่างนี้ว่า มาเถอะ พ่อคุณ ท่านจงทิ้งผ้าเสียทุกชิ้นแล้วพูดอย่างนี้ว่า เราไม่เป็นที่กังวลของใครๆ ในที่ไหนๆ และตัวเราก็ไม่มีความกังวลในบุคคลและสิ่งของใดๆ ในที่ไหนๆ ดังนี้ แต่ว่ามารดาและบิดาของเขารู้อยู่ว่า ผู้นี้เป็นบุตรของเรา แม้เขาก็รู้ว่า ท่านเหล่านี้เป็นมารดาบิดาของเรา อนึ่ง บุตรและภรรยาของเขาก็รู้อยู่ว่า ผู้นี้เป็นบิดาสามีของเรา แม้เขาก็รู้อยู่ว่า ผู้นี้เป็นบุตรภรรยาของเรา พวกทาสและคนงานของเขารู้อยู่ว่า ท่านผู้นี้เป็นนายของเรา ถึงตัวเขาก็รู้ว่า คนเหล่านี้เป็นทาสและคนงานของเรา เขาชักชวนในการพูดเท็จ ในสมัยที่ควรชักชวนในคำสัตย์ ด้วยประการฉะนี้ เรากล่าวถึงกรรมของผู้นั้นเพราะมุสาวาท พอล่วงราตรีนั้นไป เขาย่อมบริโภคโภคะเหล่านั้นที่เจ้าของไม่ได้ให้ เรากล่าวถึงกรรมของผู้นั้นเพราะอทินนาทาน ดูกรนางวิสาขา นิคัณฐอุโบสถเป็นเช่นนี้แล ดูกรนางวิสาขา นิคัณฐอุโบสถที่บุคคลเข้าจำแล้วอย่างนี้ ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่รุ่งเรืองมากไม่แผ่ไพศาลมาก

ดูกร นางวิสาขา ก็อริยอุโบสถเป็นอย่างไร ดูกรนางวิสาขาจิตที่เศร้าหมอง ย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ก็จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมเมื่อเธอหมั่นนึกถึงพระตถาคตอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนศีรษะที่เปื้อนจะทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียร ก็ศีรษะที่เปื้อนจะทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียรอย่างไรจะทำให้สะอาดได้เพราะ อาศัยขี้ตะกรัน ดินเหนียว น้ำ และความพยายามอันเกิดแต่เหตุนั้นของบุรุษ ดูกรนางวิสาขา ศีรษะที่เปื้อนย่อมทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรฉันนั้นเหมือนกัน จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร ดูกร นางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ... ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกนี้เรียกว่าเข้าจำพรหมอุโบสถ อยู่ร่วมกับพรหม และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภพรหม เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล

ดูกร นางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคลผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน เมื่อเธอหมั่นนึกถึงธรรมอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนกายที่เปื้อนจะทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียร ดูกรนางวิสาขา ก็กายที่เปื้อนย่อมทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียรอย่างไร จะทำให้สะอาดได้เพราะอาศัยเชือก จุรณสำหรับอาบน้ำและความพยายามที่เกิดแต่เหตุนั้นของบุรุษ ดูกรนางวิสาขา กายที่เปื้อนย่อมทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน ... ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกนี้เรียกว่าเข้าจำธรรมอุโบสถอยู่ อยู่ร่วมกับธรรม และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภธรรม เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล

ดูกร นางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ก็จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ หมั่นระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติสมควร นี้คือคู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษ บุคคล ๘ นี้พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่ มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า เมื่อเธอหมั่นระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนผ้าที่เปื้อนจะทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียร ก็ผ้าที่เปื้อนจะทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียรอย่างไร จะทำให้สะอาดได้เพราะอาศัยเกลือ น้ำด่าง โคมัย น้ำ กับความเพียร อันเกิดแต่เหตุนั้นของบุรุษ ดูกรนางวิสาขา ผ้าที่เปื้อนย่อมทำให้สะอาดด้วยความเพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ก็ด้วยความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน ... ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกนี้เรียกว่า เข้าจำสังฆอุโบสถ อยู่ร่วมกับสงฆ์ และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภสงฆ์ เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้วด้วยความเพียรอย่างนี้แล

ดูกร นางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ก็จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงศีลของตนอันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทยแก่ตัว ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหา ทิฐิลูบคลำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เมื่อเธอหมั่นระลึกถึงศีลอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขาเปรียบเหมือนกระจกเงาที่มัวจะทำให้ใสได้ด้วยความเพียร ก็กระจกเงาที่มัวจะทำให้ใสได้ด้วยความเพียรอย่างไร จะทำให้ใสได้เพราะอาศัยน้ำมัน เถ้า แปลงกับความพยายามอันเกิดแต่เหตุนั้นของบุรุษ ดูกรนางวิสาขา กระจกที่มัวจะทำให้ใสได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ก็ด้วยความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน ก็จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ระลึกถึงศีลของตน ...ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกนี้เรียกว่าเข้าจำศีลอุโบสถ อยู่ร่วมกับศีล และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภศีล เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมอง ย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล

ดูกร นางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ก็จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาพวกชั้นจาตุมหาราชิกามีอยู่ เทวดาพวกชั้นดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาพวกชั้นยามามีอยู่ เทวดาพวกชั้นดุสิตมีอยู่ เทวดาพวกชั้นนิมมานรดีมีอยู่ เทวดาพวกชั้นปรินิมมิตวสวัตตีมีอยู่ เทวดาพวกที่นับเนื่องเข้าในหมู่พรหมมีอยู่ เทวดาพวกที่สูงกว่านั้นขึ้นไปมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเราก็มี เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น ศีลเช่นนั้น แม้ ของเราก็มี เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น สุตะเช่นนั้นแม้ของเราก็มี เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น จาคะเช่นนั้นแม้ของเราก็มี เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มี เมื่อเธอระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตนกับของเทวดาเหล่า นั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนทองที่หมองจะทำให้สุกได้ก็ด้วยความเพียร ทอง ที่หมองจะทำให้สุกได้ด้วยความเพียรอย่างไร จะทำให้สุกได้เพราะอาศัยเบ้าหลอมทอง เกลือ ยางไม้ คีม กับความพยายามที่เกิดแต่เหตุนั้นของบุรุษ ดูกรนางวิสาขา ทองที่หมองจะทำให้สุกได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน ... ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกเช่นนี้เรียกว่า เข้าจำเทวดาอุโบสถ อยู่ร่วมกับเทวดา มีจิตผ่องใสเพราะ

ปรารภ เทวดา เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล

ดูกร นางวิสาขา พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตราแล้ว มีความละอาย มี ความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่จนตลอดชีวิต แม้เราก็ได้ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตราแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลายละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นคนขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่จนตลอดชีวิต แม้เราก็ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นคนขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้านจนตลอดชีวิต แม้เราก็ได้ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลกจนตลอดชีวิต แม้เราก็ได้ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูด แต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท แม้จนตลอดชีวิต แม้เราก็ละการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันหนเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาลจนตลอดชีวิต แม้เราก็บริโภคหนเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดจากการบริโภคในเวลาวิกาล ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถจักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย เว้นขาดจากฟ้อนรำขับร้อง การประโคมดนตรี และการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล จากการทัดทรงประดับและตกแต่งกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัวจนตลอดชีวิต แม้เราก็เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้องการประโคมดนตรีและดูการเล่นอันเป็นข้า ศึกแก่กุศล จากการทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ สำเร็จการนอนบนที่นอนอันต่ำ คือ บนเตียงหรือบนเครื่องปูลาดที่ทำด้วยหญ้าจนตลอดชีวิต แม้เราก็ได้ละการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ สำเร็จการนอนบนที่นอนอันต่ำ คือบนเตียงหรือบนเครื่องปูลาดที่ทำด้วยหญ้า ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว ดูกรนางวิสาขา อริยอุโบสถเป็นเช่นนี้แล อริยอุโบสถอันบุคคลเข้าจำแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแผ่ไพศาลมาก

อริย อุโบสถมีผลมากเพียงไร มีอานิสงส์มากเพียงไร มีความรุ่งเรืองมากเพียงไร มีความแผ่ไพศาลมากเพียงไร ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนผู้ใดพึงครองราชย์เป็นอิศราธิบดีแห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นเหล่านี้ อันสมบูรณ์ ด้วยรัตนะ ๗ ประการ คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตีวังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ของผู้นั้นยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อ นั้นเพราะเหตุไร เพราะราชสมบัติที่เป็นของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุขที่เป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย ดูกรนางวิสาขา ๕๐ ปีซึ่งเป็นของมนุษย์เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๕๐๐ ปีอันเป็นทิพย์เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ดูกรนางวิสาขา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้ เข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ดูกร นางวิสาขา เราหมายเอาความข้อนี้แล จึงกล่าวว่า ราชสมบัติที่เป็นของมนุษย์ เมื่อจะนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย ดูกรนางวิสาขา ๑๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น พันปีอันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ดูกรนางวิสาขา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้

เข้า จำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ดูกรนางวิสาขา เราหมายเอาความข้อนี้แลจึงกล่าวว่า ราชสมบัติของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์เป็นของเล็กน้อย ดูกรนางวิสาขา ๒๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาชั้นยามา โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น สองพันปีอันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นมายา ดูกรนางวิสาขา ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้ เข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึง เข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นมายา ดูกรนางวิสาขา เราหมายเอาความข้อนี้แล จึงกล่าวว่า ราชสมบัติอันเป็นของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย ดูกรนางวิสาขา ๔๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาชั้นดุสิต โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๔,๐๐๐ ปี อันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดุสิต ดูกรนางวิสาขา ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือสตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้ เข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดุสิต ดูกรนางวิสาขาเราหมายเอาความข้อนี้แล จึงกล่าวว่า ราชสมบัติอันเป็นของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย ดูกรนางวิสาขา ๘๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นวันหนึ่งกับคืนหนึ่งของเทวดาชั้นนิมมานรดี โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๘,๐๐๐ ปี อันเป็นทิพย์ เป็นประมาณของอายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี ดูกรนางวิสาขา ก็ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้ เข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นนิมมานรดี ดูกรนางวิสาขา เราหมายเอาความข้อนี้แล จึงกล่าวว่าราชสมบัติอันเป็นของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย ดูกรนางวิสาขา ,๖๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับ

วันหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๑๖,๐๐๐ ปีอันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ดูกรนางวิสาขา ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้ เข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ดูกร นางวิสาขา เราหมายความเอาข้อนี้แล จึงกล่าวว่า ราชสมบัติอันเป็นของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย ฯ

บุคคล ไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงงดเว้นเมถุน อันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาล ในกลางคืน ไม่ พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม และพึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือบนที่ซึ่งเขาปูลาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แลว่า อันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้ พระจันทร์ พระอาทิตย์ ทั้งสองที่น่าดู ส่องแสง โคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด และพระจันทร์ พระอาทิตย์นั้น กำจัดความมืด ไปในอากาศทำให้ทิศรุ่งโรจน์ ส่องแสงอยู่ในนภากาศ ทั่วสถานที่มีประมาณเท่าใด ทรัพย์ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ ทองสิงคี และทองคำ ตลอดถึงทองชนิดที่เรียกว่าหฏกะ เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น ยังไม่ถึงแม้ซึ่งเสี้ยวที่ ๑๖ ของอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ และทั้งหมดยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของแสงจันทร์และหมู่ดาว เพราะฉะนั้นแหละ สตรีบุรุษผู้มีศีล เข้าจำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ทำบุญซึ่งมีสุขเป็นกำไร เป็นผู้ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสัคคสถาน ฯ

 
(จากพระไตรปิฏกออนไลน์ www.84000.org เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย 
เอก-ทุก-ติกนิบาต)