Tuesday, February 24, 2009

สร้างภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระมหาชนก ที่อุโบสถวัดไทยในอินเดีย

ระดมทุนสร้างภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง พระมหาชนก ที่อุโบสถวัดไทยในอินเดีย

คณะกรรมการ โครงการเขียน

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ สาธารณรัฐอินเดีย นำโดย

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล จัดงานแนะนำโครงการฯ ซึ่งได้รับพระราชทานภาพ

เขียนจากพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก เพื่อวาดเป็นจิตรกรรมฝาผนัง

ในพระอุโบสถ โดยเป็นงานใหญ่ที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล กล่าวถึงที่มาของโครงการ

การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระอุโบสถวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์

สาธารณรัฐอินเดีย ว่า สืบเนื่องจากเมื่อปี 2537 พุทธบริษัทชาวไทยได้ร่วม

ใจกันก่อสร้างวัดไทยขึ้นที่เมืองกุสินารา ณ ปริมณฑลพุทธปรินิพพาน

อันเป็นสังเวชนียสถานแห่งสุด ท้าย เพื่อเป็นพุทธบูชาและเฉลิมฉลองใน

โอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา

และครองราชสมบัติครบ 50 ปีในปี 2542 การก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ตามกำหนด

ได้มีการสมโภชวัดเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2542 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ

พระราชทานนามว่า วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์

ต่อมาในปี 2544 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

พระราชทานแบบแปลนพระมหาเจดีย์ พร้อมพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์

เพื่อร่วมการก่อสร้าง และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์

เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2544 โดยพระราชทานนามว่า พระมหาธาตุเฉลิมราชย์ศรัทธา

พร้อมพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุและเส้นพระเจ้า เพื่ออัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้

ณ พระมหาธาตุเฉลิมราชย์ ศรัทธา อีกด้วย

แต่เนื่องจาก พระราชรัตนรังษี พระธรรมทูตสายประเทศอินเดียและประธานสงฆ์

วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ มีความกังวลว่า งานสำคัญและด่วนที่จะต้องดำเนินการต่อไป

คืองานเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถและมุขทางเข้าพระอุโบสถ

จากด้านเหนือ ซึ่งได้รับพระราชทานภาพเขียนในหนังสือพระราชนิพนธ์

เรื่อง พระมหาชนกจำนวน 16 ภาพ และภาพพระราชกรณียกิจ 6 ภาพ

เพื่อวาดเป็นจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถตั้งแต่ปี2543 แต่ก็มีอุปสรรคนานา

ประการทำให้ไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จลงได้ กระทั่งเมื่อเดือน พ.ค. 2549

ได้มีคณะผู้มีจิตศรัทธาคณะหนึ่งเดินทางไปสักการะสังเวชนียสถานในประเทศ

อินเดีย พระราชรัตนรังษีจึงได้ขอให้ผู้มีจิตศรัทธาคณะนี้ช่วยหาทางดำเนินการ

ให้การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถบรรลุผลสำเร็จ

เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลในมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้า

อยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ทางคณะจึงได้นำข้อปรารภของ

พระราชรัตน-รังษีมากราบทูลสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ และทูลขอพระเมตตา

ให้ทรงรับเป็นประธานโครงการฯ เพื่อให้สมพระเกียรติยศและเป็นสิริมงคลแก่ผู้ดำเนินการ

เนื่อง จากงานนี้เป็นงานศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นสถานที่ที่อยู่ในบริเวณปริมณฑลที่

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพาน ประกอบกับเรื่องที่อัญเชิญมาเขียน

เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังก็เป็นพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

น.อ.อาวุธ เงินชูกลิ่น อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับ

ผิดชอบในส่วนของภาพจิตรกรรมฝาผนัง จึงมีความเห็นว่า ภาพจากพระราชนิพนธ์

เรื่อง พระมหาชนกที่ ทางวัดได้รับพระ ราชทานมา เป็นภาพประกอบหนังสือ

เป็นตอนๆและเป็นภาพที่วาดโดยศิลปินหลายท่าน การนำภาพเหล่านั้นไปวาดเป็น

จิตรกรรมฝาผนัง คงจะไม่สามารถ ถ่ายทอดเนื้อหาสาระของพระราชนิพนธ์

ได้ครบถ้วน หากใช้วิธีเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยดั้งเดิมจะเหมาะกว่า

อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ศิลปะไทยในต่างแดนด้วย จึงมอบหมายให้นายมณเฑียร

ชูเสือหึง จิตรกร 6 กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนฯ

ก็ทรงเห็นด้วยว่า แทนที่จะเขียนภาพจิตรกรรมลงไปบนผนังพระอุโบสถตามที่

เคยปฏิบัติมา ควรจะเขียนลงในแผ่นผ้าใบ แล้วจึงนำไปปิดลงบนผนังพระอุโบสถ

วิธีนี้จะแก้ปัญหาเรื่องความชื้นของผนังพระอุโบสถซึ่งทำให้ภาพจิตรกรรมชำรุด

ต้องซ่อมแซมอยู่เสมอ รวมทั้งทุ่นค่าใช้จ่ายและเวลา เพราะการเขียนภาพจะทำ

ในประเทศไทย สามารถหาจิตรกรที่ชำนาญได้เป็นจำนวนมาก

และการเขียนภาพจะใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปีครึ่งถึง 2 ปี และภาพเขียนลายเส้นทั้งหมด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทอดพระเนตรและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2551

งานนี้ถือเป็นงานใหญ่ที่ต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก เพราะผนังพระอุโบสถวัด

ไทยกุสินาราเฉลิมราชย์มีเนื้อที่มากถึง 254 ตารางเมตร

ภาพจิตรกรรมจะวาดตั้งแต่เพดานลงมาเต็มพื้นที่ นอกจากนี้

ยังมีภาพเขียนพระราชกรณียกิจด้านการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาในมุขทางเข้าพระ

อุโบสถจากด้านเหนือ เนื้อที่ประมาณ 80 ตารางเมตร เมื่อรวมค่าติดตั้งและ

ค่าใช้จ่ายอื่นๆแล้วคงต้องเตรียมงบประมาณไว้ 20-25 ล้านบาท ทางคณะกรรมการ

โครงการฯ จึงได้เปิดบัญชีไว้ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสวนจิตรลดา

ในชื่อบัญชี “โครงการจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดไทยกุสินารา

เฉลิมราชย์อินเดีย” เลขที่บัญชี 0672117209 เพื่อให้พุทธบริษัททุกท่าน

ที่มีศรัทธาได้มีส่วนร่วมสร้างกุศลในครั้งนี้ด้วย

จาก ไทยรัฐหน้าสังคม -สตรี วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

เอาบุญมาฝากจ้า...สังฆทาน...ขนมถั่วแปบ





























Thursday, February 19, 2009

ขอเชิญร่วมทำบุญก่อสร้างวัดไทยเชตวันมหาวิหาร อินเดีย


หากประสงค์จะร่วมสร้างวัด ก็สามารถ โอนได้ที่ บัญชี มูลนิธิวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์-อินเดีย เพื่อวัดไทยเชตวันมหาวิหาร-อินเดีย เลขบัญชี 078-2-14801-9 ประเภทออมทรัพย์ ธ.ทหารไทย สาขาสุรวงศ์ แล้วส่งสลิปการโอนมาหรือโทรไปที่เหรัญญิก มูลนิธิ หมายเลข 0898100548 เพื่อออกอนุโมทนาบัตรสืบไป

Wednesday, February 18, 2009

ขอเชิญร่วมมหากุศลบูรณะปิดทองคำและบูรณะเพิ่มทองคำยอดฉัตรทองคำพระบรมธาตุช่อแฮ

ขอเชิญสาธุชนทุกท่านรวมทำบุญบูรณะปิดทองคำองค์พระบรมธาตุช่อแฮ และบูรณะเพิ่มทองคำยอดฉัตรทองคำพระบรมธาตุช่อแฮ

วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง เลขที่ 1 หมู่ที่ 11 ต.ช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่
เป็นหนึ่งในพระธาตุประจำปีเกิด 12 ราศี เป็นพระบรมธาตุประจำปีเกิดของผู้เกิดปีขาล (ปีเสือ)

โดยทางวัดได้มีบูรณะปิดทองคำพระบรมธาตุใหม่ทั้งหมด และได้อัญเชิญยอดฉัตรทองคำเดิมมาบูรณะเพิ่มทองคำและประดับพลอย

จึงขอเชิญทุกท่านได้ร่วมถวายปัจจัย ทองคำ พลอย
ได้โดยตรงกับได้ที่ วัดพระธาตุช่อแฮ
โทร. 0-5459-9209 , 0-5459-9073-4 โทรสาร 0-54633248


หรือ โอน เงินเข้าบัญชีอออมทรัพย์ ธ.ทหารไทย สาขาแพร่ ชื่อบัญชี กองทุนปิดทององค์พระธาตุช่อแฮ เลขบัญชี 354-2244-391 หรือ เลขบัญชี 354-2-12846-1





อนุโมทนาข้อมูลจาก
http://board.palungjit.com/showthread.php?t=174406

วัดพระธาตุช่อแฮ : จังหวัดแพร่

๏ พระธาตุมีแต่ครั้ง โบราณ
ปรากฏตามตำนาน กล่าวไว้
บรรพชนท่านสืบสาน บูรณะ
ปฏิสังขรณ์ให้ แพร่ล้านนาสยาม ๚

ชื่อพระธาตุช่อแฮนี้ได้มาจากชื่อผ้าแพรชั้นดีซึ่งทอมาจากสิบสองปันนา
ชาวบ้านนิยมนำมาผูกบูชาพระธาตุ





• ประวัติพระธาตุช่อแฮ

พระธาตุช่อแฮ เป็นเจดีย์บรรจุพระเกศาและพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็น ปูชนียสถานที่ศักดิ์ศิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของเมืองแพร่มาแต่โบราณตามตำนาน กล่าวว่าขุนลัวะอ้ายก๊อมเป็นผู้สร้าง ปรากฏหลักฐานการบูรณะปฏิสังขรณ์ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๗๙-๑๘๘๑ ในสมัยพระมหาธรรมราชา(ลิไท) เมื่อครั้งยังทรงเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัย ลักษณะองค์พระธาตุเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะแบบเชียงแสนสูง ๓๓ เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๑๑ เมตร สร้างด้วยอิฐโบกปูน หุ้มด้วยแผ่นทองเหลือง ลงรักปิดทอง จังหวัดแพร่กำหนดให้องค์พระธาตุช่อแฮประดิษฐานบนหลังม้า เป็นตราสัญญลักษณ์ของจังหวัด

• ประวัติครูบาศรีวิชัย

นัก บุญแห่งล้านนาไทย ผู้บำเพ็ญประโยชน์ทางด้านศาสนานานัปการ กำเนิดที่บ้านปาง ต.แม่ตีน อ.ลี้จ.ลำพูน เกิดวันอังคารขึ้น ๑๑ ค่ำปีขาล พ.ศ. ๒๔๒๑ มรณะภาพเมื่อวันอังคารที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ณ วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ทางคณะกรรมการได้แบ่งอัฐิธาตุออกเป็น ๙ ส่วน ๑ ส่วนได้บรรจุไว้ที่วัดพระธาตุช่อแฮ จ.แพร่

เพื่อ เป็นการเทิดเกียรติคุณ น้อมรำลึกถึงพระครูบาศรีวิชัย นักบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนาไทย ที่ท่านได้ช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาทางภาคเหนือรวม ๑๐๙ แห่ง รวมทั้งวัดพระธาตุช่อแฮด้วย ทางวัดได้สร้างสถูปบรรจุอัฐิธาตุให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา เพื่อยึดถือพระครูบาศรีวิชัย เป็นแบบอย่างการปฏิบัติธรรมะ เพื่อจรรโลงพระศาสนาสืบต่อไป

Tuesday, February 17, 2009

อาฏานาฏิยะปะริตตัง

บทขัดอาฏานาฏิยะปะริตตัง




อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต

อะมะนุสเสหิ จันเฑหิ สะทา กิพพิสะการิภิ

ปะริสานัญจะตัสสันนะ มะหิงสายะ จะ คุตติยา

ยันเทเสสิ มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ






อาฏานาฏิยะปะริตตัง




วิปัสสิสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต

สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภูตานุกัมปิโน

เวสสะภุสสะ นะมัตถุ น๎หาตะกัสสะ ตะปัสสิโน

นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน

โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ วุสีมะโต

กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ

อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สัก๎ยะปุตตัสสะ สิรีมะโต

โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง

เย จาปิ นิพพุตา โลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง

เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา

หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง

วิชชาจาระระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทังฯ




นะโม เม สัพพะพุทธานัง
อุปปันนานัง มะเหสินัง

ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส

สะระณังกะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร

โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ

สุมะโน สุมะโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน

โสภีโต คุณสัมปันโน อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม

ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระสาระถี

ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล

สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ

อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท

สิทธัตโถ อะสะโม โลเก ติสโส จะ วะทะตัง วะโร

ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม

สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก

กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญชะโห

กัสสะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สัก๎ยะปุงคะโวฯ




เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา
อะเนกะสะตะโกฏะโย

สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา

สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา

สัพเพ เต ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง

สีหะนาทัง นะทันเต เต ปะริสาสุ วิสาระทา

พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะฏิวัตติยัง

อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา

ท๎วัตติงสะลักขะณูเปตา สีต๎ยานุพ๎ยัญชะนาธะรา

พ๎ยามัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา

พุทธา สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา

มะหัปปะภา มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา

มะหาการุณิกา ธีรา สัพเพสานัง สุขาวะหา

ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา เลณา จะ ปาณินัง

คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ หิเตสิโน

สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรายะนา

เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม

วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต

สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา

สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง

เตหิ ต๎วัง รักขิโต สันโต มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ

สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตาปะวัชชิโต

สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะฯ




เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ
ขันติเมตตาพะเลนะ จะ

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะฯ




ปุรัตถิมัส๎มิง ทิสาภาเค
สันติ ภูตา มะหิทธิกา

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ

ทักขิณัส๎มิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ

ปัจฉิมัส๎มิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มิหิทธิกา

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ

อุตตะรัส๎มิง ทิสาภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ

ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก

ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง

จัตตาโร เต มะหาราชา โลกะปาลา ยะสัสสิโน

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ

อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา

เตปิ ตุมหา อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ




นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง
พุทโธ เม สะระณัง วะรัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง




ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก
วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ

ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เต

ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ

ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เต

ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ

ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เตฯ




สักกัต๎วา พุทธะระตะนัง
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง

หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะเตเชนะ โสตถินา

นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต

สักกัต๎วา ธัมมะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง

ปะริฬาหูปะสะมะนัง ธัมมะเตเชนะ โสตถินา

นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ภะยา วูปะสะเมนตุ เต

สักกัต๎วา สังฆะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง

อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ โสตถินา

นัสสันตุปัททะวา สัพเพ โรคา วูปะสะเมนตุ เตฯ




สัพพีติโย วิวัชชันตุ
สัพพะโรโค วินัสสะตุ

มา เต ภะวัต๎วันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภาวะ

อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน

จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลังฯ



คำแปล




ขอนอบน้อมพระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้ทรงพระจักษุทรงพระสิริ ขอนอบน้อมแด่พระสิขีพุทธเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง

ขอนอบน้อมพระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ชำระกิเลสได้แล้ว มีตบะ ขอนอบน้อมพระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้ทรงเอาชนะมารและกองทัพได้

ขอนอบน้อมพระโกณาคมนพุทธเจ้า ผู้ลอยบาปแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ขอนอบน้อมพระกัสสปพุทธเจ้า ผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง

ขอนอบน้อมพระโคตมพุทธเจ้า ผู้ทรงพระฉัพพรรณรังสี ผู้ทรงสิริ ผู้ทรงแสดงธรรมขจัดทุกข์ทั้งปวง

อนึ่ง พระอรหันต์เหล่าใดในโลก ดับกิเลสได้แล้วรู้แจ้งตามความเป็นจริง พระอรหันต์เหล่านั้นปราศจากวาจามุ่งร้าย เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไม่สะทกสะท้าน

ท่านเหล่านั้นย่อมนมัสการพระโคตมะ ผู้ทรงเกื้อกูลเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ผู้ยิ่งใหญ่ผู้ไม่สะทกสะท้าน

พระสัมพุทธเจ้าเจ็ดพระองค์เหล่านั้น และพระสัมพุทธเจ้าหลายร้อยโกฏิเหล่าอื่นทุกพระองค์เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเปรียบ ทุกพระองค์ล้วนทรงฤทธิ์ยิ่งใหญ่

พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงพระทศพลญาณและพระเวสารัชชญาณ ทรงยืนยันความตรัสรู้อันประเสริฐ แกล้วกล้าของพระองค์

พระพุทธเจ้าเหล่านี้ทรงปราศจากความครั่นคร้ามบันลือสีหนาทในท่ามกลางพุทธบริษัท ประกาศธรรมจักรอันประเสริฐในโลก ไม่มีผุ้ใดจะคัดค้านได้

พระองค์ทรงเป็นผู้นำ ทรงคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า ๑๘ ประการ ทรงประกอบด้วยพระพุทธลักษณะ ๓๒ และพระอนุลักษณะ ๘๐

พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงพระฉัพพรรณรังสีโดยรอบหนึ่งว่า ทรงเป็นมุนีผู้ประเสริฐ รู้แจ้งธรรมทั้งปวง สิ้นอาสวะ และเป็นผู้ชนะ

ทรงมีพระรัศมีสว่างไสว ทรงมีเดชมาก มีปัญญามาก มีกำลังมาก มีความกรุณาใหญ่หลวงมั่นคง ประทานความสุขแก่ชนทั้งปวง

พระองค์ทรงเป็นที่พัก ที่พึ่ง ที่พำนัก คุ้มรองหลบภัยของเหล่าสัตว์ ทรงเป็นที่ไป เป็นญาติ เป็นผู้อุปถัมภ์ เป็นผู้ขจัดทุกข์ กระทำประโยชน์

พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของชาวโลก และเทวดา ข้าพระองค์ขอน้อมไหว้พระบาทยุคลของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยเศียรเกล้า ขอน้อมไหว้พระพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษประเสริฐ

ข้าพระองค์ขอน้อมไหว้พระตถาคตเจ้าเหล่านั้นในเวลายืน เดิน นั่ง นอน ด้วยวาจา ด้วยใจเสมอ

ขอพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ประทานพระนิพพานจงคุ้มครองท่านให้มีความสุขเสมอ เมื่อพระองค์คุ้มครองท่านแล้วขอให้ท่านปลอดจากภัยทั้งปวงเถิด

ขอท่านจงปลอดจากโรคทั้งปวง ปราศจากความเดือดร้อนทุกอย่าง ไม่มีใครๆ ปองร้าย เป็นผู้สงบ

ขอพระพุทธเจ้าเหล่านั้นจงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ปราศจากโรค มีความสุข ด้วยพลานุภาพแห่งความสัตย์ ศีล ขันติ และเมตตาธรรม

เหล่าคนธรรพ์ผู้มีฤทธิ์มากในทศบูรพา จงคุ้มครองข้าเพจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

เหล่ากุมภัณฑ์ผู้มีฤทธิ์มากในทิศทักษิณ จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

เหล่านาคผู้มีฤทธิ์มากในทิศประจิม จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

เหล่ายักษ์ผู้มีฤทธิ์มากในทิศอุดร จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

ท้าวธตรฐเป็นผู้รักษาโลกทิศบูรพา ท้าวิรุฬหกรักษาโลกทิศทักษิณ ท้าววิรูปักษ์รักษาโลกทิศประจิม ท้าวกุเวรรักษาโลกทิศอุดร

ขอมหาราชผู้รักษาโลกทั้งสี่พระองค์ ผู้มีบริวารมากดังกล่าวจงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

ขอเหล่าเทวดาและนาคผู้มีฤทธิ์มาก สถิตอยู่ในอากาศและบนพื้นดิน จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

ขอเทวดาผู้มีฤทธิ์มากอาศัยอยู่ในพระศาสนานี้ จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

ขอสิ่งร้ายทั้งปวงจงบำราศไป ขอโรคทั้งปวดจงพินาศไป ขอท่านอย่ามีอันตราย เป็นผู้มีความสุข มีอายุยืนยาว

ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้นบไหว้และอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์



สรรพคุณ




บทนี้เมื่อสวดแล้ว ช่วยให้รอดพ้นจากภัยอันตรายต่างๆที่เทวดาและยักษ์ผู้ไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาทำร้าย (แต่จะใช้ได้เฉพาะผู้ที่มีศีลเท่านั้น ดังนั้นหากจะสวดบทนี้ก็ตรวจดูศีลของตนเองก่อน หรือไม่ก็สมาทานศีลก่อน)





อาฏานาฏิยะปะริตตัง (ย่อ)




สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตาปะวัชชิโต

สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะฯ

สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ

มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ

อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน

จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลังฯ

Tuesday, February 10, 2009

ธงพุทธทิเบต..และสื่อความหมาย














ธง พุทธของชาวทิเบต...มี ๕ สี คือ สีเหลือง น้ำเงิน แดง เขียว และขาว สื่อถึงธาตุดิน น้ำ ไฟ ไม้ และเหล็ก มักจะผูกติดตามพุทธสถานทั่วไป ติดธงนี้ไว้ถึงการบันทึกซึ่งพระสูตร คำสอนของพระพุทธเจ้า พร้อมมนตรา ต่าง ๆ ไว้ในธง มีทัศนคติว่าตราบเท่าที่สายลมพัดผ่าน..กระแสธรรมแห่งองค์พระสัมมา ก็จักล่องลอยไป..ในอากาศ ขอลมโปรดได้นำพระธรรมแผ่ไปต้องโสตประสาท ต้องจิตใจของทุกคนไปผ่านไปมา ขอทุกท่านจงได้รับพร รับพลังแห่งพระธรรมขององค์พระสัมมาทุกทั่วทุกตัวตน.. ฯ












และทุกครั้งที่กระแสลมต้องแผ่นธง..ทุกครั้งที่ธงโบกสะบัดพัดไปมา ก็จักถือว่าเป็นการสาธยายมนตราเพื่อสิริมงคลชีวิตของผู้ผูกติดธงนี้ไว้ แลเป็นการป้องกันภัยปกปักรักษาแก่ผู้คนที่เดินทางผ่านไปมา













ที่มา http://www.oknation.net/blog/mylifeandwork/2009/02/10/entry-1

มาฆบูชา 9 กุมภาพันธ์ 2552


































ตอนเช้าทำสังฆทาน ตอนค่ำเวียนเทียนและจุดพลุถวายเป็นพุทธบูชา

Monday, February 2, 2009

วิธีปราบปีศาจ

วิธีปราบปีศาจ


ณ พระราชวังแห่งหนึ่ง มีปีศาจตนหนึ่งบุกเข้ามาในวัง
ทหารเห็นดังนั้นก็ตะโกนขับไล่ ทันทีที่ ปีศาจโดนด่า ตัวใหญ่มันก็ใหญ่ขึ้น
และมันก็ตรงไปนั่งบนบัลลังก์ของพระราชา ทหารก็เอาอาวุธไล่ฟันและแทง
และด่าด้วยคำหยาบคาย!!


ทุกครั้งที่ปีศาจ โดนด่าหรือโดนทำร้าย ตัวมันจะใหญ่ขึ้นๆๆ
ร่างกายเริ่มน่าเกลียด และส่งกลิ่นเหม็นเน่า โชยหนักขึ้นเรื่อยๆๆ
แต่ทหารก็ไม่สามารถขับไล่มันได้


จน เมื่อ พระราชากลับมาก็พบว่า ปีศาจ ได้ใหญ่โตจนคับท้องพระโรง
และหน้าตาก็น่าเกลียดสุดๆ ส่งกลิ่นเหม็นเน่าไปทั่ว ทันทีที่พระราชา
เห็นดังนั้น ก็พูดขึ้นว่า


“โอ ท่าน มาเยี่ยมข้าพเจ้า เหรอ ทำไมไม่บอกล่วงหน้า”
“ทหารหาน้ำ อาหารมาเลี้ยงท่านเร็ว”ทุกคำพูดดีๆ ที่พระราชาพูด
ทำให้ขนาดของปีศาจเล็กลง !!


ทหารเห็นท่าทีของพระราชา จึงเริ่มเข้าใจต่างพากันวางอาวุธ
และหันมาพูดเพราะๆ กับเจ้าปีศาจ ถามว่า “ท่านต้องการกินอะไร
ไก่ย่าง ส้มตำ ข้าวเหนียวไม๊ “ ( อิอิ เอาความชอบคนเขียนเป็นหลัก)
ว่าแล้ว อาหารมากมายก็ถูกลำเลียงมาให้ปีศาจกิน
แล้วเจ้าปีศาจก็ตัวเล็กลงๆๆอีก


“ท่าน เมื่อยไม๊” ว่าแล้วทหารก็พากันมานวดให้ ปีศาจ
ปีศาจก็เล็กลงๆ จนตัวเท่ากับคนธรรมดา และเมื่อ
พระราชาได้พูด คำหวานและเอาใจครั้งสุดท้าย
เจ้าปีศาจ ก็หายวับไปกับตา!!


ในชีวิตเรา หลายครั้ง เราเจอปีศาจในที่ทำงาน ที่รร.หรือที่บ้าน
แล้วเราได้ จัดการกับปีศาจด้วยวิธีใด? เราทำให้ปีศาจตัวใหญ่ขึ้น
และน่าเกลียดมากขึ้น ด้วย คำพูดแย่ๆ และด้วยท่าที ที่ไม่ดีหรือไม๊?


แต่ตอนนี้เรารู้แล้วว่า วิธีปราบปีศาจ ก็ด้วย คำพูดที่ดีๆ
เต็มไปด้วยเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ การเอาอกเอาใจ ในครอบครัว
เมื่อ ปีศาจกลับเข้าบ้าน (เพราะเขาไปเจอเรืองแย่ๆมาก็ได้ใครจะรู้)
เรากลับทำให้ปีศาจตัวใหญ่และน่าเกลียดขึ้น
ด้วยคำพูดว่า “ไปไหนมา!! ทำไม กลับมาป่านนี้ !!“ ฯลฯ


ต่อไป เราจะเปลี่ยนเป็นพูดว่า
“เป็นไงบ้าง ? เหนื่อยไม๊ ? กินอะไรมาหรือยัง ?” แล้วเราก็จะพบว่า
ปีศาจ ก็จะเล็กลงๆๆ และ ก็จะหายวับไป เหลือ แต่
สามี , ภรรยา, พ่อ, แม่, พี่, น้อง หรือ เจ้านายที่น่ารัก ของ เรา !!
เย้ๆๆปราบ ปีศาจ ได้แล้ว !!!!!!!
ที่มา http://www.tamdee.net/