Tuesday, March 24, 2009

วีซีดีมหัศจรรย์



































วีซีดีที่เปลี่ยนแปลงชีวิตคนมาแล้วหลายหมื่นคน ภายในวันเดียว และเป็นวีซีดีที่มีค่ามากกว่าเงินหลายแสนล้านบาท

  • จะทำบุญอย่างไรให้ร่ำรวยได้ภายในชาตินี้
  • สังฆทานอันตราย ทำแล้วอาจตายกลายเป็นเปรต โปรดระวัง!
  • ต้องการมีทรัพย์สินเงินทอง ๕ ล้านบาท ภายใน ๕ ปี จะต้องทำอย่างไรถึงจะได้แน่ๆ
  • ภรรยาของท่านจะต้องเกรงกลัว เกรงใจ และบูชาท่านไปตลอดชีวิตด้วยความเต็มใจ
  • ท่านจะรู้จักพระพุทธเจ้า และเข้าใจพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งภายในวันเดียว
  • จะทำให้ท่านรู้จักและเข้าใจหลักการทำสมาิธิอย่างลึกซึ้ง และรู้ว่าสมาธิที่ถูกต้องมีกี่ระดับ
  • ถ้าพ่อแม่ของคุณยังมีชีวิตอยู่ และคุณก็ไม่รู้จักธรรมะ ถือว่าคุณเป็นผู้หมดบุญในชาตินี้เสียแล้ว
  • วิธีพิสูจน์ชีวิตหลังความตายอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ด้วยการไปดูนรกและสวรรค์ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่
  • วีซีดี ที่เป็นเหมือนกุญแจไขจักรวาล ทำให้ท่านเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้ ซึ่งท่านสามารถจะเกิดเป็นมหาเศรษฐีหรือยิ่งใหญ่กว่านี้ก็ยังได้
บรรยายธรรมโดย อ.ศิริพงษ์ อัครศรียุกต์ ผู้ที่พิสูจน์ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นผลสำเร็จ ด้วยการไปดูชีวิตหลังความตายและกลับมาบอกทุกคนได้อย่างน่าอัศจรรย์

ราคาวีซีดี คอร์ส 1 จำนวน 9 แผ่น พร้อมซีดีนั่งฌาณ 1 แผ่น รวมราคา 800 บาท(รวมค่าจัดส่งแล้ว)
เพียง 800 บาท กับความสุข ความเจริญ และความรุ่งเรือง ตลอดทั้งชาตินี้และในชาติต่อๆ ไป

สนใจสั่งซื้อ วีซีดี "คอร์ส 1 " โดยชำระเงินผ่านบัญชี ศิริพงษ์ อัครศรียุกต์ ธนาคารกสิกรไทย
สาขาย่อยเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 758-2-30384-8 พร้อมแฟกซ์หลักฐานการโอนเงิน (เขียนชื่อและนามสกุล, เบอร์โทร, ที่อยู่ที่จัดส่ง) มาที่ Fax. 0-2961-7316, 0-2961-7318
โทร. 081-808-6796, 086-978-9379, 089-813-2179, 087-922-2311 , 086-090-9950 , 0-2961-7318

Monday, March 23, 2009

การอบรมเทคนิคการทำงานให้เจริญรุ่งเรืองอย่างน่าอัศจรรย์


































เทคนิคที่ทำให้ท่านเป็นคนแรกที่ถูกพิจารณาขึ้นเงินเดือน และจะเป็นคนสุดท้ายที่ถูกพิจารณาให้ออก
  • เทคนิคการทำงานให้เจริญก้าวหน้านั้นเป็นความจำเป็นอย่างมาก แต่กลับไม่มีใครสอน ในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัย จึงทำให้ผู้ที่จบมา ต้องมาเรียนรู้ด้วยตนเอง อาจจะใช้เวลานับ ๑๐ ปี ซึ่งน้อยคนที่จะรู้จริง แต่ส่วนใหญ่กลับไม่รู้ จนกระทั่งแก่ตายก็ยังไม่รู้
  • ทำไมตัวเองทำงานดี มีความขยัน มีความตั้งใจและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ แต่กลับไม่เจริญก้าวหน้า ทั้งเงินเดือนและตำแหน่งก็เลื่อนช้ามาก แถมเจ้านายยังไม่ค่อยชอบหน้าด้วยซ้ำ และยังพิจารณาให้ิิออกอีกต่างหาก เหล่านี้คือ คำถามที่คนส่วนใหญ่ หาคำตอบที่แท้จริงไม่ได้จนถึงวันตาย เลยสรุปเอาเองว่าเรามันไม่มีเส้น เรามันเลียไม่เก่ง
  • วันนี้ท่านมีโอกาสที่จะเจริญก้าวหน้าแล้ว ชนิดที่ว่าอะไรก็หยุดท่านไม่ได้เพราะอ. ศิีริพงษ์ อัครศรียุกต์ ผู้เขียนหนังสือ"ความสำเร็จที่มาจากพระพุทธเจ้า" ซึ่งเป็นหนังสือขายดี พิืมพ์มาแล้ว ๓๓ ครั้ง ได้ปลีกเวลาจากการสอนธรรมะ เพื่อมาสอนทางโลก ในขณะที่เศรษฐกิจย่ำแย่ และคนกำลังจะตกงานอีกจำนวนมาก เพื่อให้คนเหล่านั้นได้รู้วิธีการ ที่จะทำให้ตนไม่ต้องตกงานและกลับเจริญก้าวหน้าอย่างรุ่งเรืองในสภาวะวิิกฤตเช่นนี้ได้
  • ด้วยการรู้เทคนิคการทำงาน ทำให้อ.ศิริพงษ์ ผู้ซึ่งเคยเป็นพนักงานล้างจานในร้านพิซซ่า เจริญก้าวหน้าจนเป็นผู้จัดการร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ต้องดูแลพนักงานกว่า ๕๐ คน ในขณะที่มีอายุ ๒๑ ปี และเพียงอายุ ๒๖ ปี ก็ได้ก้่าวไปสู่ตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการบริษัทเหมืองหินอ่อน ซึ่งต้องดูแลคนงานหลายร้อยคน ท่านก้าวหน้าในทุกบริษัทที่ทำงานอย่างรวดเร็ว และยังได้รับการติดต่อให้เป็นผู้บริหารในบริษัทต่างๆ และห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ซึ่งปัจจุบันท่านเป็นประธานกรรมการ บริษัท ฮาเวลส์(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจของท่านเอง รวมทั้งเป็นประธานมูลนิธิพิสูจน์ธรรมอีกแห่งหนึ่งด้วย

โอกาสของทุกท่านได้มาถึงแล้ว! กับการรับฟังเทคนิคการทำงานที่จะทำให้ท่านไม่ต้องตกงานแม้ในภาวะเศรษฐกิจ เช่นนี้ ทั้งยังเป็นคนแรกที่จะถูกเลือกให้เลื่อนขั้นหรือขึ้นเงินเดือนอีกด้วย การอบรมในครั้งนี้ ผู้บรรยาย คืออาจารย์ศิริพงษ์ อัครศรียุกต์ได้นำประสบการณ์การทำงานนับ 20 ปี จากพนักงานระดับล่าง สู่ตำแหน่งผู้บริหารและเจ้าของกิจการที่มีพนักงานหลายร้อยชีวิต มาถ่ายทอดถึงแก่นแท้ของการ..."ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน อย่างที่ใครก็มารั้งเอาไว้ไม่อยู่..."

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้ารับการอบรบอย่างเข้มข้นเป็นเวลา ๓ ชั่วโมง ในวันที่ ๓ พ.ค. ๒๕๕๒ ณ มูลนิธิพิสูจน์ธรรม ซึ่งมีค่าอบรมท่านละ ๒,๐๐๐ บาท สามารถเข้ารับฟังได้ทุกสายงาน ถ้าท่านเป็นลูกน้อง และมีผู้บังคับบัญชา เพียงแค่ ๓ ชั่วโมง แต่จะทำให้ท่านไม่ต้องเสียเวลานับ ๑๐ ปี โดยชำระเงินผ่านบัญชี ศิริพงษ์ อัครศรียุกต์ ธนาคารกสิกรไทย สาขาราษฎร์บูรณะ ออมทรัพย์ เลขที่ 745-2-42244-6 พร้อมแฟกซ์ใบนำฝากมาที่ Fax. 0-2961-7316, 0-2961-7318 โทร. 081-808-6796, 086-978-9379, 089-813-2179, 087-922-2311 , 086-090-9950 , 0-2961-7318


ประวัติการทำงานของผู้บรรยาย
ปี 2521-2524 ขายไอศกรีมสะพาย ช่วง ป.4-ม.1
ปี 2525-2529 ขายน้ำตาลสด ช่วง ม.2-ม.6
ปี 2529-2530 เป็นพนักงานพิซซ่าฮัท
ปี 2530-2531 เป็นพนักงานที่ไอศกรีมสเวนเซ่นส์
ปี 2531-2532 เป็นผู้จัดการฝ่ายผลิต บ.อังเคิลเรย์ ไอศกรีม จก.
ปี 2532-2533 เป็นผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป บ.แดรี่ฟู้ดส์ จก. ธุรกิจฟาสฟู้ด ร้านแดรี่ควีน
ปี 2533 เป็นทหารบก กองพันทหารราบ ทบ.1
เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หจก. อีส อิท ไอศกรีม
ปี 2533-2535 เป็นทหารบก กองดุริยางค์ทหารบก
ปี 2535-2542 เป็นกรรมการผู้จัดการ บ.โดนัลด์แร็บบิท จก. ธุรกิจไอศกรีมเค้ก
ปี 2536-2537 เป็นรองกรรมการผู้จัดการ บ.เอ็ม. จี. มาเบิลแอนด์แกรนิตเซ็นเตอร์ จก. ธุรกิจเหมืองหินอ่อนที่ปากช่อง
ปี 2537 2540 เป็นกรรมการผู้จัดการ บ.โมเดิร์นไลน์ มาร์เปิ้ลแกรนิตเซ็นเตอร์ จก.
ปี 2545-2546 เป็นประธานกรรมการ บ.ศรียุกต์เกษตรแปรรูป จก. ธุรกิจโรงงานแปรรูปสินค้าทางการเกษตร
ปัจจุบัน
ปี 2542-ปัจจุบัน เป็นประธานกรรมการ บ.ฮาเวลส์ (ประเทศไทย) จก. ธุรกิจโรงงานผลิต
และจำหน่ายไอศกรีมนมพรีเมี่ยมและดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์
เป็นวิทยากรบรรยายด้านประสบการณ์ความรู้ และเทคนิคทางธรุกิจให้หน่วยงานต่างๆ
กำหนดการอบรม ในวันอาทิตย์ที่ 3 พ.ค. 2552
07.30-09.00 ลงทะเบียน
09.00-10.30 อบรมเทคนิคการทำงาน ช่วงที่ 1
10.30-10.45 รับประทานอาหารว่าง
10.45-12.00 อบรมเทคนิคการทำงาน ช่วงที่ 2

Friday, March 13, 2009

ภูเขาทอง













ขอบคุณภาพสวยจากคุณปอมค่า..
http://pompomgirls.multiply.com/

วันนี้ตั้งใจจะไปชิมขนมเบื้องแถวบางลำภู จิระเย็นตาโฟ
แต่หาร้านข้าวแช่ร้านนั้นไม่เจอ อดกินเลย..
แล้วก็เดินเรื่อย ตระเวนชิมแถว ศาลเจ้าพ่อเสือ
ขนมเบื้องญวนร้านแม่ละเมียด ว่าจะไปชิมขนมเบื้องแพร่งนรา
แต่ร้านยังไม่เปิด ร้านเค้าเลยอดได้ตังค์เราเลย
เดินมาเรื่อย เลยแวะไปดูร้านน้ำอบนางลอยเสียหน่อย
ได้น้ำอบมาขวดหนึ่ง 35 บาท ว่าจะเอาไว้ใช้ตอนสงกรานต์ ขวดมันสวยดี
แล้วก็เดินเรื่อยเห็นภูเขาทอง แต่ว่ายังไม่เคยขึ้นไปเลย
เลยคิดว่าจะไปเสียหน่อย วันนี้ไม่รีบด้วย ไปแบบไม่ได้เตรียมตัวเลยบูชาอะไรได้ไม่มาก

กว่าจะเดินขึ้นมาถึงด้านบน เล่นเอาหอบเหมือนกัน แต่ไปแล้วไม่ผิดหวัง
ไ้ว้มีโอกาสจะมาบูชาพระเจดีย์ใหม่นะ แต่คราวหน้าต้องไปตอนเย็นหน่อยจะได้ไม่ร้อนมาก




















ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น



















เดินวนดูเห็นยังมีที่แขวนกระดิ่งลม
เลยลงไปซื้อมาอันหนึ่ง 70 บาท ถวายเป็นพุทธบูชา





























เสียงกระดิ่งลมที่ดังกรุ๊งกริ๊ง ช่างไพเราะเสียนี่กระไร
ความประทับใจวันนี้ก็ตรงเสียงกระดิ่งเนี่ยแหละ

































มาฟังเสียงกระดิ่งลมกัน


จะกลับแล้ว เดินลงมาได้ครึ่งทางนึกขึ้นได้ว่าก่อนจะมาที่นี่ แวะร้านน้ำอบนางลอย
เราซื้อมาน้ำอบมาขวดหนึ่งนี่หน่า
เอาน้ำอบนี้ไปพรมพระเจดีย์ดีกว่า ก็เลยวิ่งกลับขึ้นไปใหม่

แล้วก็ต้องออกแรงดึงจุกขวดอยู่พักหนึ่ง กว่าจะแกะจุกได้เล่นเอาเหนื่อยเลย
บุญทำยากจริงหนอ



















บูชากันให้หมดขวดเลย

อานิสงค์จากการไล้ทาพระเจดีย์ด้วยของหอม


Friday, March 6, 2009

นิทานเรือนธรรม - เรื่องที่ ๖ ชัมพุกาชีวก

นิทานเรือนธรรม - เรื่องที่ ๖ ชัมพุกาชีวก

เรียบเรียงจาก หนังสือทางแห่งความดี เล่ม ๑ โดยอาจารย์วศิน อินทสระ



ใน สมัยแห่งพระพุทธเจ้าพระนามกัสสป กุฏุมพีคนหนึ่งสร้างที่อยู่ถวายพระเถระรูปหนึ่ง แล้วบำรุงด้วยปัจจัย ๔ พระเถระรูปนั้น ฉันอาหารในเรือนกุฏุมพี (ผู้มีอันจะกิน) เป็นเนืองนิตย์

เช้า วันหนึ่ง ภิกษุขีณาสพ (ผู้สิ้นกิเลสแล้ว) รูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตมาถึงเรือนกุฏุมพีนั้น เขาเห็นพระขีณาสพ มีอิริยาบถน่าเลื่อมใส จึงนิมนต์เข้าไปในเรือน เลี้ยงดูด้วยอาการอันประณีตด้วยความเคารพ ถวายผ้าสาฏกผืนใหญ่ พลางกล่าวว่า

“ท่านผู้เจริญ ท่านพึงย้อมผ้าสาฎกผืนนี้นุ่งเถิด” และกล่าวต่อไปว่า “ผมของท่านยาวแล้ว ข้าพเจ้าจะนำช่างมาปลงผมของท่าน ข้าพเจ้าจักจัดเตียงและตั่งเพื่อท่าน”

พระเถระผู้ฉันเป็นประจำ เห็นอาการแล้วก็เกิดจิตริษยาขึ้น คิดว่า กุฏุมพีทำสักการะแก่ภิกษุที่เพิ่งพบเพียงครู่เดียวถึงเพียงนี้ ไม่เคยทำกับตนผู้สนิทสนมเลย

ภิกษุขีณาสพไปสู่วิหารพร้อมกับพระเถระ เจ้าของถิ่น ย้อมผ้าสาฎกแล้วนุ่ง กุฏุมพีพาช่างมาปลงผม ให้คนจัดเตียงตั่งถวาย แล้วนิมนต์พระเถระทั้งสองรูปเพื่อฉันในเรือนของตนในวันรุ่งขึ้น

ภิกษุเจ้าของถิ่นเดือดร้อนด้วยแรงริษยา เวลาเย็นเข้าไปหา พระขีณาสพด่าว่าด้วยอาการ ๔ อย่างว่า

“ดู ก่อนอาคันตุกะ การที่ท่านจะพึงเคี้ยวกินอุจจาระ ยังประเสริฐกว่าการบริโภคอาหารในเรือนของกุฏุมพี ท่านให้ถอนผมด้วยแปรงตาลดีกว่าปลงผมด้วยช่างกลบกที่กุฏุมพีนำมา การเปลือยกายของท่านประเสริฐกว่าการนุ่งห่มผ้าสาฎกที่กุฏุมพีถวาย การนอนเหนือแผ่นดินของท่านประเสริฐกว่าการนอนบนเตียงที่กุฏุมพีนำมา”

พระ ขีณาสพฟังแล้วก็เข้าใจความรู้สึกของเจ้าถิ่นคิดว่า “คนพาลนี่อย่าต้องวอดวายเพราะเราเลย” ดังนี้แล้ว ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ มิได้คำนึงถึงการนิมนต์ของกุฏุมพี ฝ่ายภิกษุเจ้าของถิ่นตื่นแต่เช้าทำสิ่งที่ควรทำ เช่น กวาดลานวัด เป็นต้น แล้วเคาะระฆังด้วยหลังเล็บด้วยเกรงพระขีณาสพ จะตื่นด้วยเสียงระฆัง แล้วเข้าสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต

กุฏุมพีเมื่อไม่เห็นพระขีณาสพจึงถามพระเถระว่า ทำไมไม่มาด้วย ภิกษุของถิ่นกล่าวว่า

“อย่า ได้พูดถึงเขาเลย เมื่อวานนี้พอท่านกลับเท่านั้น เขาก็เข้านอน จนป่านนี้ยังไม่ตื่นตอนเช้าเมื่ออาตมา กวาดวิหาร กรอกน้ำฉันใส่หม้อ ตีระฆังด้วยเสียงอันดัง เขายังไม่รู้สึก ยังนอนหลับอยู่”

กุฏุมพี พิจารณาคำของพระเถระและท่าทางที่พูดแล้วไม่เชื่อว่าเป็นจริงดังนั้น เพราะผู้มีอิริยาบถเช่นนั้น ย่อมไม่นอนมากอย่างพระภิกษุนั้นกล่าวอย่างแน่นอน ภิกษุนี้คงจะไม่ยินดีในสักการะที่เราทำแล้วแก่พระขีณาสพ

เขาล้างบาตรของพระเถระ บรรจุอาหารประณีตเต็ม ฝากไปถวายพระขีณาสพ และเลี้ยงภิกษุนั้นให้อิ่มหนำในเรือนตนด้วยความเคารพ

ภิกษุ เจ้าถิ่นคิดว่า “ถ้าพระอาคันตุกะได้ฉันอาหารอันประณีตปานนี้ เธอจะติดรสอาหารแล้วไม่ยอมไปที่อื่น” ดังนี้แล้วทิ้งบิณฑบาตนั้นเสียระหว่างทาง ไปสู่ที่อยู่ของพระขีณาสพ แต่ไม่เห็นท่าน (เพราะท่านไปเสียแล้วแต่เช้ามืด)

สมณธรรมอันภิกษุ นั้นทำมาเป็นเวลานานถึง ๒ หมื่นปี ก็ไม่อาจช่วยได้ เพราะการเบียดเบียนพระอรหันต์นั้น เมื่อสิ้นชีพแล้วไปเกิดในนรกอเวจี เสวยทุกข์เป็นอันมากสิ้นพุทธันดรหนึ่ง (คือ ช่วงระหว่างพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งถึงอีกองค์หนึ่ง) มาถึงพุทธกาลนี้ เขาเกิดในตระกูลมั่งคั่งในเมืองราชคฤห์

เด็กนั้น ตั้งแต่พอเดินได้ ไม่ต้องการนอนบนที่นอน ไม่ต้องการบริโภคอาหาร กินแต่อุจจาระตนเอง มารดาบิดาเข้าใจว่า ลูกประพฤติเช่นนั้น เพราะยังเด็กอยู่

แม้เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว เขาก็ไม่ละความประพฤตินั้น คือไม่นุ่งผ้า ชอบเปลือยกาย ชอบนอนบนพื้นดิน กินอุจจาระของตนเอง

มารดา บิดาคิดว่าลูกคนนี้จะทำให้ตระกูลเสื่อม เขาไม่ควรครองเรือน ควรบวชในสำนักของอาชีวกทั้งหลาย แล้วนำไปฝากให้บวชในสำนักของอาชีวก (นักบวชลัทธิหนึ่ง)

เมื่อบวชแล้ว เขาถอนผมด้วยแปลงตาล เมื่อมารดา เชิญอาชีวกทั้งหลายไปบริโภคอาหารที่เรือนตน เขาก็ไม่ไป พออาชีวกทั้งหลายไปแล้ว เขารีบไปเปิดประตูส้วมปั้นอุจจาระบริโภค มีคนนำอาหารมาจากบ้านของเขา เขาก็ไม่กิน เมื่อพวกเขาอาชีวกทั้งหลายกลับมา ถามเขาว่าได้อาหารที่ใด เขาบอกว่าได้ที่นี่เอง

วันต่อมา ๆ ก็เหมือนกัน จนคนสงสัยว่าได้อาหารจากที่ไหนอย่างไร วันหนึ่งจึงแอบตามดู เมื่อทราบเรื่องแล้วก็พากันคิดว่า “กรรมนี้หนักหนอ หาสาวกของพระสมณโคดมรู้ ความเสื่อมจะบังเกิดแก่พวกเรา” จึงขับไล่ชัมพุกะออกจากสำนัก

ชัมพุ กาไปอาศัยอยู่ที่หินดาดแห่งหนึ่ง สำหรับประชาชนมาถ่ายอุจจาระ กินอุจจาระที่ประชาชนถ่ายไว้ เวลาปกติเอามือข้างหนึ่งเหนี่ยวก้อนหิน ยกเท้าหนึ่งพาดบนเข่า ยืนเงยหน้าอ้าปากอยู่

มหาชนคนโง่เข้าไปไหว้แล้วถามถึงอาการที่เห็นนั้น เขาตอบว่า

“เรา มีตบะสูง ตบะกล้า หากเราเหยียบแผ่นดินด้วยเท้าทั้งสองข้าง แผ่นดินจะไหว จะยกข้างหนึ่งเสีย ส่วนที่อ้าปากนั้น เพราะเรามีลมเป็นอาหาร เราอยู่อย่างนี้ทั้งวันทั้งคืน ไม่นั่งไม่นอน”

คนโง่ได้ฟังก็ เลื่อมใส เล่าลือกันไปทั่วแคว้นอังคะและมคธ มหาชนเอาสักการะมาเป็นอันมาก อาชีวกจึงเอาปลายหญ้าคาวางบนอาหารแล้วแตะปลายลิ้น ส่งคืนเจ้าของ กล่าวว่า “เอาคืนไปเถิด เท่านี้พอแล้วสำหรับความสุข ความเจริญของท่านทั้งหลาย”

เขาประพฤติเช่นนี้ ล่วงไป ๕๕ ปี

เช้า วันหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูสัตว์โลก ทรงเห็นอุปนิสัยของชัมพุกาชีวก เวลาบ่ายจึงเสด็จไปยังที่อยู่ของเขา ขออาศัยอยู่ด้วย แต่เขาบอกว่าไม่มีที่ พระศาสดาตรัสว่า

“ชัมพุกะ ธรรมดาบรรพชิตย่อมมาสู่สำนักของบรรพชิตด้วยกัน พวกสัตว์ย่อมไปสู่สำนักของสัตว์ ท่านจงให้ที่อยู่แก่เราเถิด”

“ก็ท่านเป็นบรรพชิตหรือ” ชัมพุกะทูลถาม

“ใช่แล้ว ชัมพุกะ เราเป็นบรรพชิต”

“ถ้าท่านเป็นบรรพชิต เต้าน้ำของท่านอยูที่ไหน ทัพพีสำหรับโบกควันของท่านอยู่ที่ไหน ด้ายสำหรับบูชายัญอยู่ที่ไหน”

พระศาสดาตอบว่า “น้ำเต้าเป็นต้น ของเรามีอยู่ แต่เราเก็บไว้ภายในด้วยเห็นว่าถือไปไหนแต่ละอย่างรุงรังลำบาก”

ชัมพุกะโกรธ ถามพระศาสดาว่า

“ท่านเป็นบรรพชิตอย่างไร น้ำเต้าก็ไม่ถือ อะไร ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ก็ไม่มี จะเชื่อได้อย่างไร ว่าเป็นบรรพชิตจริง”

พระศาสดาตรัสว่า “ชัมพุกะ ช่างเถิด อย่าโกรธเราเลย ขอจงบอกที่อยู่แก่เราเถิด”

“สมณะ ที่อยู่ในที่นี้ไม่มี”

“ที่เงื้อมนั้น ใครอยู่ชัมพุกะ”

“ไม่มีใครอยู่”

“ถ้าอย่างนั้น เราขอเงื้อมนั้น”

“ตามใจท่าน” ชัมพุกะพูดปัดความรำคาญ

พระ ศาสดาไปประทับที่เงื้อมนั้น ตกกลางคืนมีเทวดามาเฝ้าพระพุทธเจ้ากันมากมีแสงสว่างอยู่ตลอดคืน ด้วยอานุภาพของเทวดาเหล่านั้น ชัมพุกาชีวกก็ได้เห็นแสงสว่างนั้น

รุ่งขึ้นชัมพุกะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทูลถามว่าเหตุใดเมื่อคืนจึงมีแสงสว่างในที่ประทับตลอดราตรี

“พวกเทพพากันมา ชัมพุกะ” พระศาสดาตรัสตอบ

“เทพเหล่านั้นเป็นเทพเหล่าไหนบ้าง” ชัมพุกะทูลถาม

“มีท้าวมหาราชทั้ง ๔ ,ท้าวสักกะ และท้าวมหาพรหม เป็นต้น”

“เทพเหล่านั้นมาทำอะไร”

“มาเพื่อบำรุงเรา”

“ท่านเป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่า ท้าวสักกะ เป็นต้นหรือ”

“แน่ นอน ชัมพุกะ เรายอดเยี่ยมกว่าเทพทั้งปวง ท้าวสักกะนั้นเมื่อเราป่วยก็มาปฏิบัติบำรุงเราเหมือนสามเณรน้อย แม้ท้าวมหาพรหมก็มาสู่ที่บำรุงเรา เราเป็นพรหมยิ่งกว่าพรหม”

ชัมพุกะกล่าวว่า

“มหา สมณะ ท่านเป็นผู้อัศจรรย์แท้ ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มา ๕๕ ปีแล้ว ไม่เคยมีเทพใด ๆ มาปฏิบัติบำรุงเราแม้แต่องค์เดียว ข้าพเจ้ามีลมเป็นภักษาอยู่ด้วยอิริยาบถยืนอย่างเดียวไม่นั่งไม่นอน สิ้นเวลานานปานนี้ เทวดามิได้เลื่อมใสเลย ไม่เคยบำรุง”

“ชัมพุกะ ท่านนั้นหลอกลวงมหาชนผู้โง่เขลามานานแล้ว ยังลอกลวงเราอีกหรือ แม้ในกาลก่อนท่านเคยมีทิฐิชั่ว จึงต้องมาอยู่ในสภาพอย่างนี้ คือต้องกินอุจจาระ นอนบนแผ่นดิน เปลือยกาย ถอนผมด้วยแปรงตาล เพราะทิฐิชั่วในปางก่อน มาบัดนี้ท่านถือทิฐิอันชั่วอยู่อีก”

“มหาสมณะ ข้าพเจ้าได้ทำกรรมอะไรไว้”

พระ ศาสดาตรัสเล่ากรรมที่เขาทำไว้ในอดีต สมัยเป็นภิกษุเจ้าถิ่น เบียดเบียนพระขีณาสพ ความสังเวชเกิดขึ้นกับชัมพุกะเป็นอันมาก หิริโอตตัปปะปะก็เกิดขึ้น ลุกขึ้นนั่งโย่งประนมมือ พระศาสดายื่นผ้าสาฎกสำหรับอาบน้ำใช้อาบน้ำให้ไป เขานุ่งผ้านั้น ถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่งอยู่

พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพิกถา และธรรมเทศนาอื่น ๆ โดยอเนกปริยาย เมื่อจบเทศนา เขาได้บรรลุอรหัตผลนั้นด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ทูลขอบรรพชากรรมในปางก่อนสิ้นแล้วเพราะอนุภาพแห่งอรหัตผลนั้น สมณธรรมอันเธอได้ทำมา ๒ หมื่นปียังมีผลอยู่ ไม่มีสิ่งใดทำลายได้ สิ่งนั้นเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้เธอสำเร็จอรหันต์โดยพลัน พระศาสดาทรงประทานเอหิภิกขุอุปสมบทแก่เธอ

วันนั้น ชาวอังคะและมคธมาถวายสักการะอย่างเคย ได้เห็นพระตถาคตและชัมพุกะซึ่งเปลี่ยนแปลงไปแล้ว สงสัยว่า “ใครหนอเป็นใหญ่ หากพระสมณโคดมเป็นใหญ่ ชัมพุกะก็น่าจะไปสู่สำนักพระสมณโคดม นี่สมณโคดมมาสู่สำนักของชัมพุกะ ชัมพุกะต้องเป็นใหญ่กว่าสมณโคดมเป็นแน่แท้”

พระศาสดาทราบความคิด ของมหาชนแล้ว รับสั่งให้ชัมพุกะแก้ข้อสงสัย ชัมพุกะจึงประกาศให้คนทั้งหลายทราบว่าพระศาสดาเป็นครูของตน ตนเป็นสาวก

มหาชนทราบความแล้วเปล่งอุทานออกมาว่า

“โอ้ พระพุทธเจ้ามีพระคุณเป็นอัศจรรย์จริง ๆ”

พระพุทธเจ้าประสงค์จะประกาศธรรมอันถูกต้องแก่มหาชนจึงตรัสว่า

“ท่าน ทั้งหลาย ชัมพุกะวางสักการะที่ท่านนำมาแล้วไว้ที่ปลายลิ้นด้วยปลายหญ้าคา เพราะเข้าใจว่าตนประพฤติบำเพ็ญตบะ การกระทำเช่นนั้นของเธอแม้ ๑๐๐ ปี ก็สู้กุศลเจตนาอย่างที่เธอมีอยู่ในบัดนี้ไม่ได้ เธอไม่มีเจตนาบริโภคด้วยความหลอกลวงอีกต่อไป”

นิทานเรือนธรรม - เรื่องที่ ๑๒ รู้เท่าทันชั้นเชิงกิจการ

นิทานเรือนธรรม - เรื่องที่ ๑๒ รู้เท่าทันชั้นเชิงกิจการ

จากหนังสือ คุณสมบัติของผู้มีโชคลาภ ๗ ประการ
โดยอาจารย์วศิน อินทสระ



มีผู้ชายคนหนึ่งเป็นบุตรเศรษฐีที่เมืองราชคฤห์ มีทรัพย์อยู่ ๔๐ โกฏิ ๔๐ โกฏิ นี่ก็ ๔๐๐ ล้าน กหาปณะ คราวหนึ่งอหิวาตกโรคระบาดหนัก

เมื่อ อหิวาตกโรคก็แล้วแต่ มาถึงเศรษฐีและภรรยา เขาทั้งสองก็ร้องไห้ ด้วยว่ามีหน้านองด้วยน้ำตา มองดูบุตรซึ่งอยู่ใกล้ ๆ แล้วก็กล่าวว่า การหนีโรคชนิดนี้ท่านว่าต้องพังฝาเรือนไป เจ้าจงทำอย่างนั้นเถิด อย่าได้ห่วงใยพ่อและแม่เลย เมื่อยังไม่ตายก็จงกลับมาขุดเอาทรัพย์ที่พ่อและแม่ฝังไว้ ๔๐ โกฏิ เลี้ยงชีวิตต่อไป

เด็กน้อยเชื่อมารดาร้องไห้แล้วก็ไหว้ท่านทั้งสอง แล้วก็พังฝาเรือนหนีไป ไปอยู่ที่ภูเขาลูกหนึ่งเป็นเวลาถึง ๑๒ ปี จึงกลับมา เมื่อเขากลับมาใคร ๆ ก็จำเขาไม่ได้ เพราะว่าตอนไปยังเด็กกลับมาเมื่อตอนเป็นหนุ่มแล้วมีหนวดเครารุงรัง คราวนี้เด็กหนุ่มคนนี้ไปตรวจดูที่ฝังทรัพย์ เห็นยังเรียบร้อยดีทุกอย่าง เขาก็คิดต่อไปว่า ใคร ๆ ก็จำเราไม่ได้ ถ้าเราขุดเอาทรัพย์ออกไปใช้สอยคนทั้งหลายก็จะประหลาดใจว่า คนเข็ญใจนี้ไปเอาทรัพย์มาจากที่ไหนก็จะจับตัว เราก็จะถูกจับแล้วคนทั้งหลายก็จะเบียดเบียนเรา อย่ากระนั้นเลย เราเก็บทรัพย์ไว้อย่างเดิมก่อน แล้วไปรับจ้างทำงานเลี้ยงชีพดีกว่า เขาตกลงใจอย่างนี้แล้วก็ออกหางานทำ ไปได้งานรับจ้างปลุกคนงานในที่แห่งหนึ่ง หน้าที่ของเขาก็คือตื่นแต่เช้ามืดเที่ยวปลุกคนงานให้ลุกขึ้น เตรียมเกวียน หุงข้าว หุงข้าวต้ม ข้าวสวย เป็นต้น ก็ได้เรือนหลังเล็ก ๆ หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ แล้วอยู่คนเดียว รวมความว่าไปได้งานเป็นแขกยาม เขาได้ทำหน้าที่นั้นอย่างดีที่สุดไม่บกพร่อง ไม่เคยนอนตื่นสาย

เช้า วันหนึ่งพระเจ้าพิมพิสารได้สดับเสียงของเขา พระเจ้าพิมพิสารมีพระคุณสมบัติพิเศษ คือทรงรู้เสียงสัตว์ทุกชนิด เมื่อทรงสดับเสียงของชายหนุ่มคนนี้จึงได้ตรัสว่า เสียงของคนคนนี้เป็นเสียงของคนมีทรัพย์มาก นางสนมคนหนึ่งที่ยืนอยู่ใกล้ คิดว่าพระราชาคงไม่ได้ตรัสอะไรเหลวไหลเป็นแน่แท้ จึงรีบสั่งคนผู้หนึ่งให้ไปสืบดู แต่ความจริงกลับปรากฏว่าเป็นเสียงของชายเข็ญใจคนหนึ่ง รับจ้างเป็นแขกยามคอยปลุกทุกคนให้ตื่นขึ้นทำงาน พระราชาทรงสดับเรื่องนั้นแล้วก็ทรงเฉยเสีย

ในวันที่ ๒ และวันที่ ๓ เมื่อทรงสดับฟังเสียงของชายผู้นั้นอีกก็ทรงตรัสเช่นเดียวกัน นางสนมก็คิดว่าพระราชาไม่เคยตรัสอะไรเหลวไหล จะต้องมีอะไรลี้ลับอยู่เป็นแน่ จึงทูลพระราชาว่า หากข้าพระองค์ได้ทรัพย์สักพันหนึ่ง ข้าพระองค์ก็จะไปทำอุบายเอาทรัพย์จากชายคนนั้นมาให้ราชสกุลให้จงได้ พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานทรัพย์หนึ่งพันให้นางสนม นางและลูกสาวแกล้งแต่งตัวปอน ๆ ทำทีเป็นคนยากจนไปยังถนนเป็นที่อยู่ของคนรับจ้าง เข้าไปขอพักอาศัยในเรือนหลังหนึ่ง แต่เจ้าของบ้านปฏิเสธ บอกว่ามีคนอยู่มากแล้วให้ไปขออาศัยชายคนหนึ่งชื่อ กุมภโฆสก ซึ่งอยู่คนเดียว นางสนมไปขออาศัยอยู่กับบ้านของกุมภโฆสก คือผู้ชายคนที่กำลังพูดถึงอยู่นี้ เขาปฏิเสธหลายครั้งแต่นางก็อ้อนวอนจนได้ กุมภโฆสกยอมให้พักอย่างเสียไม่ได้

วันรุ่งขึ้นเมื่อกุมภโฆสกจะออก ไปทำงานนอกบ้าน นางได้ขอค่าอาหารไว้สำหรับทำอาหารให้ กุมภโฆสกปฏิเสธบอกว่า ไม่ต้องก็ได้ ฉันทำกินเองได้ ฉันทำกินของฉันมาตลอด แต่นางสนมก็ยังคงอ้อนวอนจนได้ แต่ไม่ได้ใช้ทรัพย์ของกุมภโฆสกไปซื้อหาอะไรเลย เพียงสักแต่ว่ารับไว้เท่านั้น นางได้ไปซื้อเครื่องแกง เครื่องครัว ข้าวสารอาหารอย่างดีมาปรุงอาหารให้อร่อยอย่างชาววัง อาหารนั้นรสเลิศสมควรแก่พระราชาเสวย เมื่อกุมภโฆสกกลับมาได้ลิ้มรสอาหารเช่นนั้น ก็ชื่นชมเบิกบาน นางรู้อาการนั้นแล้วจึงขอพักต่อไป คราวนี้กุมภโฆสกก็อนุญาตด้วยความพอใจ นางได้หุงต้มอย่างดีให้กุมภโฆสกและก็ขอพักอาศัยยืดเยื้อเรื้อรังเรื่อยมา นางวางอุบายเพื่อให้กุมภโฆสกตกหลุมรักกับบุตรีของตน จึงแอบตัดเชือกเตียงของกุมภโฆสก

อันนี้ท่านผู้อ่านต้องเข้าใจ ว่าเตียงนั้นเป็นเตียงโครงไม้ถักด้วยเชือก ในอินเดียเขาจะใช้เตียงแบบนั้น โครงไม้แต่ถักด้วยเชือก จึงได้ไปแอบตัดเชือกเตียงนอนของกุมภโฆสกจนเขานอนไม่ได้ เมื่อกุมภโฆสกถามก็บอกว่าพวกเด็กเข้ามาเล่นจนเตียงขาด เมื่อกุมภโฆสกบอกว่าเขาไม่มีที่นอนแล้วจะทำอย่างไร นางก็ให้ไปนอนกับบุตรีของตน ทั้งสองก็ได้เสียกันในคืนนั้น กุมารีร้องไห้บอกว่าสิ่งนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้เป็นแม่ก็บอกว่าช่างเถอะ ๆ เจ้าทั้งสองก็เหมาะสมกันดีแล้ว กุมภโฆสกนี่ก็มีเมียเพราะเชือกเตียงขาดแท้ ๆ

ต่อมาอีก ๒-๓ วัน นางสนมก็ส่งสารไปถึงพระราชา ว่าขอให้มีพระบรมราชโองการให้จัดงานมหรสพในย่านถนนพวกรับจ้างทำงาน คนใดไม่จัดทำมหรสพในเรือนนั้นจะต้องถูกปรับ พระราชาทรงมีพระบรมราชโองการอย่างนั้น นางจึงพูดกับกุมภโฆสกว่า พระราชาทรงจัดให้มีมหรสพทุกบ้านเรือน ใครไม่ทำจะถูกปรับ พวกเราจะต้องทำตามพระบรมราชโองการขัดขืนไม่ได้ กุมภโฆสกบอกแม่ยายว่า เขาทำงานรับจ้างก็เพียงได้รับอาหารรับประทานไปมื้อ ๆ เท่านั้น จะเอาเงินที่ไหนมาจัดงานมหรสพ

แม่ยายก็บอกว่า ธรรมดาผู้อยู่ครองเรือนต้องมีหนี้บ้าง เพราะฉะนั้น เมื่อเจ้าไม่มีก็ไปยืมใครมาก่อนใช้หนี้เขาทีหลังก็ได้ ไปเถอะไปยืมมาสัก ๑ กหาปณะหรือ ๒ กหาปณะก็พอ กุมภโฆสกติเตียนแม่ยายพึมพำแล้ว ออกจากบ้านไปนำกหาปณะที่ฝังไว้มา ๑ กหาปณะแล้วก็มอบให้แม่ยาย นางก็ได้แอบส่งกหาปณะไปถวายพระราชา พอล่วงไปอีก ๒-๓ วัน นางก็ขอให้พระราชารับสั่งให้มีมหรสพอีก กุมภโฆสกจึงต้องไปนำกหาปณะมา ๑ กหาปณะอีก นางได้ส่งกหาปณะนั้นไปถวายพระราชาเช่นเคย

ต่อมาอีก ๒-๓ วัน ผู้หญิงคนนั้นได้ส่งข่าวไปขอให้พระราชาสั่งคนมารับกุมภโฆสกเข้าไปในพระราช นิเวศน์ พระราชาก็ได้สั่งราชบุรุษให้ไปรับ พระราชบุรุษก็มาที่ถนนเป็นที่อาศัยอยู่ของพวกคนรับจ้าง ถามหากุมภโฆสก เมื่อพบตัวแล้ว จึงได้บอกว่าพระราชารับสั่งให้เข้าเฝ้า

กุมภโฆสก ไม่ปรารถนาที่จะไป บอกว่าพระราชาไม่เคยรู้จักตัวเขาเรื่องอะไรจะต้องรับสั่งให้เข้าเฝ้า เมื่อไม่ยอมไปโดยดีพระราชบุรุษก็ฉุดไปโดยพลการ นางสนมเห็นอย่างนั้นจึงทำทีเป็นขุ่นเคืองแล้วก็ขู่ตะคอก บอกพระราชบุรุษพวกนี้ไม่มีมารยาท ไม่สมควรฉุดบุตรเขยของตน แล้วก็หันมาปลอบกุมภโฆสกว่า ไปเถิดลูก ไปเถิด เมื่อไปถึงพระราชวังแล้ว แม่จะกราบทูลพระราชาให้ตัดมือตัดเท้าของคนพวกนี้เสีย นางได้รีบพาบุตรีล่วงหน้าไปก่อน เมื่อไปถึงพระราชวังก็รีบเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวเสียใหม่ แต่งแบบชาววังยืนเฝ้าพระราชาอยู่

กุมภโฆสกถูกฉุดกระชากลากถูมาเฝ้า พระราชาจนได้ พระราชาก็ตรัสถามว่าเจ้าชื่อ กุมภโฆสกใช่หรือไม่ เขาทูลตอบว่าใช่ พระราชาตรัสว่าทำไมจึงปกปิดทรัพย์เป็นอันมากไว้ เขาทูลว่า เขาไม่มีทรัพย์ เป็นคนยากจนหาเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้าง พระราชาก็ตรัสว่าอย่าหลอกลวง เรารู้ว่าเจ้ามีทรัพย์ เสียงของเจ้าบอกว่า เจ้ามีทรัพย์

ข้าพระพุทธเจ้าเป็นคนยากจน ไม่มีทรัพย์เลย เขายังคงยืนยันกับพระราชา แล้วพระราชาก็ชูกหาปณะให้ดู ตรัสว่านี่เป็นกหาปณะของใคร

กุมภ โฆสกจำกหาปณะของตนได้ คิดว่ากหาปณะมาถึงพระหัตถ์ของพระราชาได้อย่างไร มองดูไปทางโน้นทางนี้จึงได้เห็นหญิงทั้งสองแต่งกายสวยงามอย่างชาววังยืนเฝ้า อยู่ริมพระทวารห้อง เขาจึงเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยตลอด

พระ ราชาจึงได้ตรัสถามต่อไปว่า พูดไปเถอะกุมภโฆสก พูดไปเถอะ ทำไมเจ้าจึงทำอย่างนี้ ทำไมเจ้าจึงปกปิดทรัพย์สินอันมากไว้ กุมภโฆสกจึงเล่าความคิดของตนเองให้พระราชาทรงทราบโดยตลอด แล้วสรุปว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีที่พึ่งจึงปกปิดทรัพย์เอาไว้ พระราชาตรัสว่าคนอย่างพระองค์พอจะเป็นที่พึ่งได้หรือไม่

“ได้แน่นอน ได้แน่นอนพระเจ้าข้า”

ถ้า อย่างนั้นทรัพย์ของเจ้ามีเท่าไหร่ ก็ทูลบอกว่ามี ๔๐ โกฏิ พระเจ้าข้า ถ้า ๔๐ โกฏิ ก็ควรจะต้องเอาเกวียนไปบรรทุกมา พระราชารับสั่งให้เอาเกวียนไปขนทรัพย์ของเขามากองอยู่หน้าพระลานหลวง รับสั่งให้คนในเมืองราชคฤห์มาประชุมกัน แล้วก็ตรัสถามว่าในเมืองนี้มีใครมีทรัพย์เท่านี้บ้าง ราษฎรก็กราบทูลว่าไม่มี พระราชาตรัสถามว่าควรจะทำอย่างไรกับกุมภโฆสก ประชาชนกราบทูลว่าควรจะยกย่องให้เป็นเศรษฐี พระราชาจึงได้แต่งตั้งให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งเศรษฐี กุมภโฆสกได้เป็นเศรษฐี แล้วพระราชทานบุตรีของนางสนมนั้นให้เป็นภรรยา และก็เสด็จไปสำนักของพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยกุมภโฆสก

พระราชาได้ถวาย บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็กราบทูลว่า นี่คือกุมภโฆสกเศรษฐีคนใหม่ของข้าพระองค์ คนมีปัญญาอย่างนี้ข้าพระองค์ไม่เคยเห็นเลย มีทรัพย์ถึง ๔๐ โกฏิ ก็มิได้มีอาการเย่อหยิ่ง มิได้อวดตน มิได้มีความทะนงตัว ทำตนประดุจคนเข็ญใจ นุ่งผ้าเก่า ๆ ทำงานรับจ้างอยู่ที่ถนนเป็นที่อาศัยอยู่ของคนรับจ้าง เป็นผ้าขี้ริ้วห่อทองหรือห่อเพชร เป็นคนที่รู้จักรักษาตัวรู้จักถนอมตัว ว่าในสถานการณ์แบบนี้ควรทำอย่างไร พระราชาได้ทรงเล่าเรื่องทั้งปวงถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็สรุปลงว่า ไม่เคยเห็นคนที่มีปัญญาแยบคายอย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็ตรัสสนองพระดำริ คือทรงเห็นด้วยกับคำกราบทูลของพระเจ้าพิมพิสาร

แล้วก็ตรัสว่า มหาบพิตร ชีวิตของคนผู้เป็นอยู่อย่างกุมภโฆสกนี้ชื่อว่าประกอบด้วยธรรม มีความสุขความเจริญเป็นผล ส่วนโจรกรรม เป็นต้น เป็นไปเพื่อการเบียดเบียนบีบคั้น มีความทุกข์เป็นผล ในคราวเสื่อมทรัพย์ การประกอบอาชีพเช่นทำนา การรับจ้าง ชื่อว่าเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยธรรม ความเป็นใหญ่ หรือยศย่อมเจริญแก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียร บริบูรณ์ด้วยสติมีการงานบริสุทธิ์ ใคร่ครวญด้วยปัญญาแล้วจึงทำ สำรวมระหว่างกายวาจาใจด้วยดี เลี้ยงชีวิตโดยธรรมไม่ประมาท นี่เป็นพระพุทธดำรัสที่ตรัสกับพระเจ้าพิมพิสารและกุมภโฆสก

นิทานเรือนธรรม - เรื่องที่ ๙ พระมหากัปปินเถระ

นิทานเรือนธรรม - เรื่องที่ ๙ พระมหากัปปินเถระ

เรียบเรียงจาก หนังสือทางแห่งความดี เล่ม ๒
โดยอาจารย์วศิน อินทสระ




ใน อดีต พระมหากัปปินะ เกิดเป็นหัวหน้าช่างหูกในหมู่บ้านใกล้กรุงพาราณสี ครั้งนั้นมีพระปัจเจกพระพุทธเจ้าประมาณพันรูปพักอยู่ไม่ไกลกรุงพาราณสี เมื่อถึงฤดูฝนต้องการทำที่อยู่อาศัย จึงส่งตัวแทน ๘ รูปไปเฝ้าพระราชา เพื่อทูลขอ บังเอิญเวลานั้นเป็นเวลามีงานมงคลแรกนาขวัญ พระราชามีภาระยุ่ง เมื่อทรงทราบเหตุที่พระปัจเจกพุทธเจ้ามาเฝ้าแล้ว จึงตรัสว่าวันนี้ไม่มีเวลา เพราะกำลังเตรียมงานที่จะมีในพรุ่งนี้ จะทำเสนาสนะถวายในวันที่ ๓ พระปัจเจกพุทธเจ้าคิดว่า จะไปขอความอนุเคราะห์จากที่อื่น จึงหลีกไป

ขณะเดินทางกลับได้พบภรรยาของหัวหน้าช่างหูก นางทราบความแล้วมีจิตเลื่อมใส นิมนต์ให้รับอาหารที่บ้านของตนในวันรุ่งขึ้น

“พวกเรามีมากด้วยกัน-น้องหญิง” พระปัจเจกพุทธเจ้าบอก นางถามว่ามีเท่าไหร่

“มีประมาณพันรูป”

“ท่าน ผู้เจริญ พวกข้าพเจ้ามีประมาณพันคนเหมือนกัน คนหนึ่งจักถวายภิกษาแก่พระคุณเจ้ารูปหนึ่ง ขอท่านจงรับอาหารที่บ้านของข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าผู้เดียวจะทำที่อยู่ถวายท่านทั้งหลาย”

พระปัจเจกพุทธเจ้ารับอาราธนา

นางเที่ยวป่าวประกาศให้เพื่อนบ้านทราบว่าได้นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าพันรูป ขอให้ทุกคนจัดแจงที่นั่งและจัดอาหาร

นาง ได้สร้างปะรำใหญ่กลางบ้าน ปูอาสนะไว้เรียบร้อยเลี้ยงพระเสร็จแล้ว ขอให้พระพักจำพรรษาอยู่ที่นั่น เมื่อท่านรับแล้วนางก็ป่าวประกาศ ขอแรงเพื่อนบ้านให้ช่วยกันสร้างเสนาสนะถวาย

ในวันออกพรรษา นางได้ชวนคนทั้งหลายถวายจีวรแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า พระปัจเจกพระพุทธเจ้าอนุโมทนาแล้วลาจากไป

นางและบริวารทำบุญอย่างนี้ไปเกิดในภพดาวดึงส์

มา ในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป เทพบุตรเทพธิดาเหล่านั้นเกิดในกรุงพาราณสีอีก หัวหน้าช่างหูกเป็นบุตรของกุฎุมพีใหญ่ ภรรยาของเขาได้มาเกิดเป็นธิดาของกุฎมพีใหญ่เหมือนกัน เมื่อเจริญวัยแล้วได้แต่งงานกัน ส่วนบริวารก็มาเกิดในสกุลกุฎุมพีบริวาร และได้แต่งงานกันเหมือนกัน

วันหนึ่งมีการป่าวร้องให้คนไปฟังธรรมใน วัด พวกกุฎุมพีเหล่านั้นก็ชวนกันไป เมื่อไปถึงกลางวัด ฝนตกลงมา คนพวกอื่นที่มีภิกษุหรือสามเณรที่คุ้นเคยก็เข้าไปอาศัยกุฎิของภิกษุหรือ สามเณรนั้น แต่พวกกุฎุมพีพันคนไม่มีญาติหรือสามเณรที่สนิทสนมเลย จึงยืนตากฝนอยู่กลางวัด

หัวหน้ากุฎุมพีรู้สึกละอายในสภาพเช่นนั้น ของตน จึงกล่าวกับกุฎุมพีทั้งหลายว่า ควรจะรวบรวมทรัพย์สร้างเสนาสนะกันเถิด จึงเรี่ยไรทรัพย์กัน หัวหน้าออกพันหนึ่ง บริวารออกคนละ ๕๐๐ พวกผู้หญิงออก ๒๕๐ ทำที่ประทับของศาสดา มีเรือนยอดพันหลังเป็นบริวาร เมื่อทรัพย์ไม่เพียงพอ ได้ออกอีกคนละครึ่งของจำเดิมที่ออกไว้ เมื่อเสนาสนะเสร็จแล้วได้ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุขตลอด ๗ วันจัดจีวรถวายสงฆ์ ๒๐,๐๐๐รูป

ภรรยาของหัวหน้ากุฏุมพี ได้ถวายผอบดอกอังกาบและผ้ามีสีดอกอังกาบราคาพันหนึ่ง แล้วกราบทูลพระศาสดาว่า

“ด้วยอานุภาพแห่งทานนี้ ขอหม่อมฉันจงมีสรีระดุจดอกอังกาบในชาติต่อไป และขอให้มีชื่อว่าอโนชา”

พระศาสดาทรงอนุโมทนา


ชน เหล่านั้นทั้งหมดตายแล้วเกิดในเทวโลก มาในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมของเรานี้ คนเหล่านั้นลงมาเกิดในมนุษยโลก หัวหน้ากุฏุมพีเกิดในราชตระกูลในกุกกุฏวดีนคร ต่อมาได้เป็นพระราชาพระนามว่ามหากัปปินะ คนอื่นๆเกิดในสกุลอำมาตย์ ได้เป็นราชบริวาร ส่วนภรรยาของหัวหน้ากุฎุมพีเกิดในราชตระกูลในนครสาคละแคว้นมัททะ พระนางมีผิวดังดอกอังกาบ มีพระนามว่า ‘อโนชา’ เมื่อทรงเจริญวัยแล้วได้อภิเษกสมรสกับพระมหากัปปินะ

ด้วยนิสัยอันสั่งสมไว้กับพระรัตนตรัย พระราชามหากัปปินะ ให้คนเที่ยวถามข่าวพระรัตนตรัยแต่ไม่ได้ข่าวเลย

วัน หนึ่งพระราชาทรงม้า ชื่อ สุปัตต์ เสด็จไปยังอุทยาน มีอำมาตย์พันหนึ่งแวดล้อมเป็นบริวาร เห็นพ่อค้าม้าประมาณ ๕๐๐ มีอาการอ่อนเพลีย ดำริว่าคนพวกนี้เดินทางมาไกล คงจะมีข่าวดีอะไรบ้าง จึงไต่ถาม พ่อค้าบอกข่าวการเสด็จอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า

พระราชา ปีติมาก พระราชทานทรัพย์ให้พ่อค้าม้าเหล่านั้น ๓ แสน พระราชาบอกอำมาตย์ว่าจะไม่กลับเข้าวังอีก จะออกบวช อำมาตย์ก็จะเสด็จด้วย พระราชาจึงส่งสาส์นถึงพระนางอโนชาเทวีว่าให้เสวยราชสมบัติแทนพระองค์ พวกอำมาตย์ก็เขียนถึงภรรยาตนเช่นนั้นเหมือนกัน

แล้วพระราชาก็มุ่งสู่สาวัตถี

เช้า วันนั้น พระศาสดาตรวจดูอุปนิสัยของสัตว์โลก ทรงเห็นเรื่องราวของพระราชามหากัปปินะ และพระอุปนิสัยแห่งอรหัตผลแล้ว จึงเสด็จมาแต่เช้า มาต้อนรับพระราชาประทับนั่งเปล่งรัศมีอยู่ใต้ต้นไทรใหญ่ ริมฝั่งแม่น้ำจันทภาคา

พระราชามาถึงฝั่งแม่น้ำอารวปัจฉา ไม่มีเรือหรือแพจะข้ามจึงตรัสว่า “เมื่อพวกเรามัวคิดหาเรืออยู่ ความเกิดย่อมนำไปสู่ความแก่ ความแก่นำไปสู่ความตาย เราไม่มีความสงสัยในคุณพระรัตนตรัย เราบวชอุทิศพระรัตนตรัย ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนตรัยนั้น ขอน้ำนี้อย่าได้เป็นเหมือนน้ำเลย”

ดัง นี้แล้วระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า แล้วขับม้าลงในแม่น้ำ พร้อมด้วยอำมาตย์พันคน ม้าทั้งหลายเหมือนวิ่งบนแผ่นหิน ปลายกีบก็มิได้เปียกน้ำ

ทรงพบแม่น้ำอีกสายหนึ่ง ชื่อ นีลวาหนา ก็ข้ามมาได้โดยวิธีเดียวกัน โดยระลึกถึงคุณพระธรรม

เมื่อเสด็จมาถึงฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ก็ระลึกถึงคุณพระสงฆ์แล้วข้ามมา
เมื่อ ทรงข้ามแม่น้ำจันทภาคาได้แล้ว ได้เห็นรัศมี ๖ สี อันพุ่งจากพระสรีระของพระศาสดา กิ่งใบของต้นไทรมีสีดั่งทองคำ ทอดพระเนตรเห็นสิ่งมหัศจรรย์ จึงทรงดำริว่า

“แสงสว่างนี้มิใช่แสง จันทร์ แสงอาทิตย์หรือแสงสว่างแห่งเทวดามารพรหม การที่เราออกบวชอุทิศพระมหาสมณโคดมนั้น พระองค์คงจะรู้แล้วเสด็จมาต้อนรับเป็นแน่แท้”

ดังนี้แล้ว เสด็จลงจากหลังม้า น้อมพระกายเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคตามสายแห่งพระรัศมี เสด็จเข้าภายใต้พระรัศมีประหนึ่งดำลงไปในมโนสิลารส ถวายบังคมแล้ว ประทับนั่งอยู่ พร้อมด้วยอำมาตย์ทั้งพันคน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ต้อนรับ และทรงแสดงอนุปุพพิกถา เมื่อจบอนุปพพิกถา พระราชาและบริวารได้สำเร็จโสดาปัตติผล ได้ลุกขึ้นทูลขอบวช พระศาสดาทรงใคร่ครวญว่า “บาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ของคนพวกนี้มีหรือหนอ”ทรงทราบด้วยพระญาณว่า มี เพราะอานิสงส์ที่เคยถวายจีวรแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสงฆ์ ๒ หมื่นรูป สมัยพระพุทธเจ้าพระนามกัสสป ดังนั้นการพวกเขาจะได้บาตรและจีวร จึงมิใช่ของอัศจรรย์ ดังนี้แล้วทรงเหยียดพระหัตถ์ออกพลางตรัสว่า

“ท่านทั้งหลายจงเป็นภิกษุเถิด จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบเถิด”

ฝ่าย พวกพ่อค้าม้านำความไปกราบทูลพระนางอโนชาเทวี ทรงทราบแล้ว ทรงมีความรู้สึกเดียวกับพระราชา เต็มตื้นไปด้วยปิติโสมนัส พระราชทานทรัพย์แก่พ่อค้ามา ครั้งละ ๓ แสน ๓ ครั้ง

พระนางอโนชา เทวีทรงดำริว่า การยอมรับพระราชสมบัติที่พระราชาทรงสละแล้วนั้น เหมือนรับน้ำลายที่บ้วนทิ้งแล้ว ราชสมบัติไม่ได้นำทุกข์มาให้เพียงแต่พระราชา แต่ได้นำทุกข์มาให้เราเหมือนกัน เราไม่ต้องการราชสมบัติ เราจะออกบวชอุทิศพระศาสดาเหมือนกัน

ทรงแจ้งเรื่องทั้งปวงให้ภรรยาของอำมาตย์ ภรรยาเหล่านั้นก็พร้อมใจกัน ตามเสด็จออกบวช

เสด็จ ข้ามแม่น้ำทั้ง ๓ สาย โดยทำนองเดียวกับพระราชา เสด็จเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ประทับนั่งแล้วทูลถามถึงพระราชสวามีว่า เสด็จออกบวชอุทิศพระพุทธองค์ คงจะเสด็จมาที่นี่

พระผู้มีพระภาคเจ้าบันดาลด้วยฤทธิ์ มิให้หญิงเหล่านั้นเห็นสามีของตน รับสั่งว่า

“ขอท่านทั้งหลายจงนั่งฟังธรรมก่อน ท่านทั้งหลายจะได้เห็นสามีของท่าน ณ ที่นี้เอง”

หญิง เหล่านั้นมีจิตยินดีว่าจะได้เห็นของตน พระศาสดาทรงแสดงธรรม คืออนุปุพพิกกถามีทาน เป็นต้น ให้หญิงเหล่านั้นบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ส่วนพระมหากัปปินเถระพร้อมทั้งบริวารทรงสดับธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงแก่ หญิงเหล่านั้นแล้ว ได้บรรลุอรหัตผล ณ ที่นั้นเอง พระศาสดาทรงทราบดังนั้นแล้วทรงคลายฤทธิ์ให้หญิงเหล่านั้นเห็นสามีของตน

การ ที่พระศาสดาทรงบันดาลด้วยฤทธิ์ มิให้หญิงเหล่านั้นเห็นสามีของตนในเบื้องต้นก็เพราะว่า หากหญิงเหล่านั้นได้เห็นสามีของตนบวชเป็นภิกษุ ศีรษะโล้น นุ่งห่มผ้ากาสายะ จิตใจจะฟุ้งซ่าน จิตใจไม่ดิ่งลงเป็นหนึ่ง แต่เมื่อพวกเธอได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว มีศรัทธาอันไม่คลอนแคลนแล้ว พระพุทธองค์จึงให้พวกเธอได้เห็นสามีของตน ไม่มีอันตรายในการประพฤติธรรมอีกแล้ว

หญิงเหล่านั้นขอบวช พระศาสดารับสั่งให้เดินทางไปบวชในสำนักภิกษุณีที่วัดเชตวันกรุงสาวัตถี พระพุทธองค์เองก็ทรงพาภิกษุใหม่ไปสู่วัดเชตวันเหมือนกัน

บรรดาภิกษุทั้งพันรูปนั้น พระมหากัปปินเถระ จะนั่ง ยืน เดิน นอน ที่ใดก็ตาม เปล่งอุทานอยู่เสมอว่า “สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ”

ภิกษุทั้งหลายได้ยินดังนั้นเข้าใจว่า พระมหากัปปินะระลึกถึงความสุขในราชสมบัติจึงเปล่งอุทานดังนั้น จึงนำความไปกราบทูลพระศาสดา

พระผู้มีพระภาครับสั่งให้พระมหากัปปินะเข้าเฝ้า ตรัสถามว่า “กัปปินะ ได้ยินว่าเธอเปล่งอุทานปรารภกามสุข และสุขในราชสมบัติจริงหรือ”

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ย่อมทรงทราบดีว่าข้าพระองค์ เปล่งอุทานเพราะปรารภกามสุขหรือไม่”

พระพุทธองค์ทรงทราบความจริง จึงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า

“ภิกษุทั้งหลาย มหากัปปินะ บุตรของเราเปล่งอุทานหาใช่เพราะปรารภกามสุขไม่ แต่เพราะปรารภเนกขัมมสุข นิพพานสุข จึงเปล่งอุทานเช่นนั้น”

นิทานเรือนธรรม - เรื่องที่ ๘ บัณฑิตสามเณร

นิทานเรือนธรรม - เรื่องที่ ๘ บัณฑิตสามเณร

เรียบเรียงจาก หนังสือทางแห่งความดี เล่ม ๒
โดยอาจารย์วศิน อินทสระ



ใน อดีตกาล สมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสป พระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์สองหมื่นเสด็จไปยังพาราณสี ชาวเมืองชวนถวายทานตามกำลังของตน

เมื่อเสร็จภัตตกิจ พระพุทธเจ้าได้ทรงอนุโมทนาใจ ความว่า คนบางคนทำบุญเอง แต่มิได้ชวนคนอื่น เมื่อเกิดในที่ใดย่อมได้ทรัพย์สมบัติ แต่ไม่ได้บริวารสมบัติ บางคนชักชวนคนอื่นทำแต่ไม่ทำเอง เมื่อเกิดในที่ใด ย่อมได้บริวารสมบัติ แต่ไม่ได้ทรัพย์สมบัติ บางคนไม่ทำเองด้วย ไม่ชักชวนผู้อื่นด้วย เมื่อเกิดในที่ใดย่อมไม่ได้ทั้งทรัพย์สมบัติและบริวารสมบัติ ส่วนบางคนทำเองด้วย ชักชวนผู้อื่นด้วย เมื่อเกิดในที่ใดย่อมได้ทั้งทรัพย์สมบัติและบริวารสมบัติ

ขณะนั้น มีบุรุษผู้เป็นบัณฑิตคนหนึ่งได้ฟังอนุโมทนาแล้วคิดว่า เราจะทำบุญอันเป็นเหตุให้ได้ทั้งทรัพย์สมบัติและบริวารสมบัติ จึงไปเฝ้าอาราธนาพระพุทธองค์ และภิกษุสาวกให้รับอาหารของตนในวันรุ่งขึ้น เสด็จแล้วเข้าไปในหมู่บ้าน เที่ยวบอกชาวบ้านว่า

“ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้านิมนต์พระสงฆ์ ๒ หมื่นรูป มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุขไว้ เพื่อฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ ท่านผู้ใดมีศรัทธาและมีกำลังจะถวายได้เท่าใด ขอได้โปรดบอก เพื่อข้าพเจ้าจะได้จดไว้ในบัญชี”

คนทั้งหลายกำหนดกำลังและศรัทธา ของตนแล้ว บางคนกล่าวว่า จะถวาย ๑๐ รูป บางคน ๒๐ รูป บางคน ๑๐๐ รูป บางคน ๕๐๐ รูป บุรุษผู้เป็นบัณฑิตจดชื่อและจำนวนสงฆ์ที่เขาต้องการลงไว้ในบัญชี
ในสมัยนั้นมีชายคนหนึ่ง เป็นคนยากจนมากกว่าใครในกรุงพาราณสี ใคร ๆ เรียกเขาว่า มหาทุคคตะ แปลว่ายากจนมาก

บุรุษผู้เป็นบัณฑิตได้พบชายเข็ญใจ มหาทุคคตะนั้นแล้วบอกเรื่องที่ตนได้นิมนต์พระไว้ ชักชวนให้มหาทุคคตะช่วยเลี้ยงพระสักรูปหนึ่ง

“จะ เลี้ยงได้อย่างไร ตัวข้าพเจ้าหาเลี้ยงตนและภรรยาก็แสนยาก การเลี้ยงพระเป็นเรื่องของคนมีทรัพย์ ส่วนข้าพเจ้าไม่มีแม้แต่ข้าวสารสักทะนานหนึ่ง ที่จะหุงต้มกันในวันพรุ่งนี้ ข้าพเจ้าทำงานรับจ้าง เลี้ยงชีพด้วยความฝืดเคือง”

บุรุษผู้เป็น บัณฑิตได้พูดหว่านล้อมต่อไปว่า “สหายท่านเห็นหรือไม่ ในเมืองนี้มีคนมั่งคั่งเป็นอันมากได้บริโภคโภชนะอย่างดี นุ่งห่มผ้าเนื้อละเอียด แต่งกายด้วยอาภรณ์ต่าง ๆ นอนบนที่นอนอันกว้างใหญ่สง่างามเพราะเขาทำบุญไว้ในกาลก่อน ส่วนสหายทำงานรับจ้างทั้งวัน ก็ไม่ได้อาหารแม้เพียงสักว่าให้เต็มท้อง เพราะท่านมิได้ทำบุญไว้ในกาลก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจึงไม่ควรประมาท รีบขวนขวายในเรื่องบุญกุศลเถิด ท่านสามารถทำตามสติกำลังของท่าน”

เมื่อได้ฟังดังนี้ มหาทุคคตะก็สลดใจ กล่าวว่า “ขอท่านลงบัญชีภิกษุรูปหนึ่งสำหรับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะทำงานจ้างได้ของมาทำบุญพรุ่งนี้”

ผู้ชักชวนเห็นว่าเป็นภิกษุจำนวนน้อย เพียงรูปเดียว จึงมิได้จดลงในบัญชี

ฝ่ายมหา ทุคคตะกลับไปเรือน บอกเรื่องนั้นให้ภรรยาทราบ ภรรยาของเขาเป็นคนดี มีความเห็นชอบกับการกระทำชอบของสามีพลอยยินดีร่าเริงด้วย กล่าวว่า “เพราะชาติก่อนเรามิได้ทำบุญไว้ด้วยดี เกิดมาชาตินี้จึงเป็นคนจน เราควรทำงานเลี้ยงพระสักรูปหนึ่ง”

เขาทั้งสองได้ไปยังเรือนของมหา เศรษฐี ของานทำ ได้จังหวะเหมาะเศรษฐีรับเลี้ยงพระ ๒-๓ ร้อยในวันรุ่งขึ้น จึงจัดให้มหาทุคคตะผ่าฟืนสำหรับหุงต้ม เขาทำงานด้วยความร่าเริง มีความอุตสาหะยิ่ง เศรษฐีเห็นอาการของเขาแปลกกว่าที่เคยเห็นจึงถามว่า เหตุไรจึงร่าเริงผิดกว่าวันก่อน ๆ เขาเล่าเรื่องที่รับเลี้ยงพระให้เศรษฐีทราบ เศรษฐีเลื่อมใส นับถือจิตใจของเขาว่า เขาทำในสิ่งที่ทำได้ยาก มิได้เฉยเมยว่ายากจน อุตสาห์ทำงานจ้างด้วยเรี่ยวแรงกำลังทั้งหมด เพื่อจะได้มีส่วนเลี้ยงพระสักรูปหนึ่ง

ฝ่ายภรรยาของมหาทุคคตะ เข้าไปหาภรรยาเศรษฐีขอทำงานจ้าง ภรรยาเศรษฐีได้ให้ตำข้าวในโรงกระเดื่องนางมีความยินดี ร่าเริง ตำข้าวและฝัดข้าวเสมือนหนึ่งว่ารำละคร ภรรยาเศรษฐีเห็นดังนั้นประหลาดใจ จึงถาม ทราบความแล้วเลื่อมใสว่าภรรยาของมหาทุคคตะทำสิ่งที่ทำได้ยาก

เมื่อ มหาทุคคตะผ่าฟืนเสร็จ เศรษฐีได้สั่งให้ ให้ข้าวสาลีแก่เขา ๔ ทะนานเป็นค่าจ้าง และอีก ๔ ทะนานให้ด้วยความพอใจในตัวเขา ฝ่ายภรรยาเศรษฐี สั่งให้จ่ายเนยใสขวดหนึ่ง นมส้มกระปุกหนึ่ง เครื่องเทศหนึ่งทะนาน ข้าวสาลีหนึ่งทะนาน

สองสามีภรรยาดีใจว่า ได้ไทยธรรมแล้ว ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ภรรยาบอกสามีให้ไปหาผัก เขาไม่เห็นผักที่ตลาด จึงไปริมแม่น้ำ มีใจยินดีว่าจะได้ถวายอาหารภิกษุสงฆ์ ไม่อาจเก็บความรู้สึกไว้ได้ จึงร้องเพลงพลาง เก็บผักพลาง ชาวประมงคนหนึ่งยืนทอดแหอยู่ริมแม่น้ำ ได้ยินเสียงมหาทุคคตะจำได้ มหาทุคคตะเล่าให้ฟัง

ในเบื้องแรก ชาวประมงพูดจาเป็นเชิงล้อเลียนว่า พระที่ฉันผักของแกคงจะต้องอิ่มมาก แต่เมื่อมหาทุคคตยะบอกว่าจะทำอย่างไรได้ เขาเป็นคนจนต้องเลี้ยงพระตามที่ได้ ชาวประมงเห็นใจจึงให้เขาร้อยปลาเอาไปทำกับข้าว แต่ขณะที่เขาร้อยอยู่นั่นเองชาวเมืองก็มาซื้อเอาไปเสียหมด จนกระทั่งถึงเวลาที่พระจะมาฉัน เขาจึงบอกชาวประมงว่า เขาจะต้องรีบไป เมื่อชาวประมงเห็นว่าพวงปลาหมดเสียแล้ว จึงขุดเอาปลาตะเพียน ๔ ตัว ซึ่งหมกทรายไว้เพื่อตัวเขาเองให้มหาทุคคตะไป

เช้าวันนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูอุปนิสัยของเวไนยสัตว์ มหาทุคคตะเข้าไปในข่ายแห่งพระญาณของพระองค์ ทรงทราบเรื่องโดยตลอดแล้ว ทรงดำริว่า “วันนี้มหาทุคคตะ จะไม่ได้ภิกษุใด ๆ เลย เพราะเจ้าหน้าที่ลืมจดบัญชี จำนวนภิกษุที่เขาต้องการ เว้นเราเสียแล้ว มหาทุคคตะจะไม่มีที่พึ่ง เราควรสงเคราะห์เขา”

เป็นธรรมดาของพระ พุทธเจ้า ที่ทรงพอพระทัยในการสงเคราะห์คนยากจน ดังนั้น เมื่อทรงทำสรีรกิจแต่เช้าตรู่แล้ว จึงเสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎี ประทับนั่ง ทรงตั้งพระทัยว่าจะสงเคราะห์มหาทุคคตะ

มหาทุคคตะนำปลาตะเพียนมาสู่ เรือนแล้ว มอบให้ภรรยาทำกับข้าว ในตำนานกล่าวว่า มีเทพลงมาช่วยด้วย มหาทุคคตะรีบไปรับพระ เพื่อมาฉันที่เรือนของตน เข้าไปหาบุรุษผู้เป็นบัณฑิตที่ชักชวนให้เขาทำบุญ แต่บุรุษนั้นไม่ได้จดไว้ เขาพยายามขอโทษมหาทุคคตะ แต่ไม่สามารถระงับความเสียใจของบุรุษผู้เข็ญใจได้ เขารู้สึกเหมือนถูกประหารที่ท้องด้วยหอกคม ร่ำไห้ว่า

“เหตุไรท่าน จึงทำผมให้ต้องพิบัติขัดข้องขนาดนี้ ท่านชวนข้าพเจ้าให้รับเลี้ยงพระสักรูปหนึ่ง ข้าพเจ้ารับแล้ว เมื่อวานข้าพเจ้าและภรรยาออกทำงานจ้างทั้งวัน เพื่อได้ค่าจ้างมาเลี้ยงพระ ขอท่านจงให้พระแก่ข้าพเจ้าสักรูปหนึ่งเถิด”

คนทั้งหลายได้เห็นอาการของมหาทุคคตะแล้วสงสาร กล่าวกับบุรุษผู้เป็นบัณฑิตว่า

“ท่าน ได้ทำกรรมหนักเสียแล้ว” บุรุษผู้นั้นละอายใจ จึงพูดกับมหาทุคคตะว่า “เพื่อน ฉันลำบากใจเหลือเกิน ไม่รู้จะทำอย่างไรดี คนทั้งหลายได้นำภิกษุไปตามบัญชีของตนหมดแล้ว ไม่มีใครยอมถอนบัญชีภิกษุแม้เพียงรูปเดียว แต่ยังมีพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่อยู่รูปหนึ่ง คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บัดนี้พระองค์ทรงล้างพระพักตร์แล้ว ประทับนั่งอยู่ในพระคันธกุฎี พระราชา พระยุพราช และ คนใหญ่โตทั้งหลาย มีเสนาบดี เป็นต้น เฝ้ารอรับบาตรของพระองค์อยู่ ก็ธรรมดาพระพุทธเจ้า ย่อมพอพระทัยอนุเคราะห์คนยากจน ท่านจะไปยังที่ประทับของพระองค์ แล้วกราบทูลว่า ข้าพระองค์เป็นคนยากจนพระเจ้าข้า ขอพระองค์จงทำสงเคราะห์ข้าพระองค์ด้วยเถิด ดูก่อน สหาย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ถ้าท่านมีบุญ ท่านจักได้พระศาสดาไปสู่เรือนของท่านอย่างแน่นอน”

มหาทุคคตะ รีบมุ่งหน้าไปสู่วิหาร

พระ ราชา และพระยุพราช เป็นต้น เห็นเขาแล้วกล่าวว่ามหาทุคคตะเข้ามาทำไม เวลานี้มิใช่เวลาอาหาร ออกไปเสียเถิด ที่ตรัสเช่นนี้เพราะเคยทอดพระเนตร เห็นเขาเป็นคนกินเดนอยู่ในวิหารในวันก่อน ๆ มหาทุคคตะจึงทูลว่า

“ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มาเพื่อต้องการอาหาร แต่มาเพื่อต้องการทูลพระศาสดาเพื่อเสวยที่บ้านของข้าพระพุทธเจ้า”

ดัง นี้แล้วได้หมอบลงที่ธรณีพระคันธกุฏี ถวายบังคม ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ และกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ ในพระนครนี้ขึ้นชื่อว่าผู้ยากจนกว่าข้าพระพุทธเจ้ามิได้มี ขอพระองค์ได้โปรดสงเคราะห์และทรงเป็นที่พึ่งของข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด”

พระศาสดาทรงเปิดพระทวารพระคันธกุฎี ทรงประทานบาตรแก่เขา มหาทุคคตะปลาบปลื้มเสมือนได้สมบัติพระจักรพรรดิ์

พระ เจ้าแผ่นดินและพระยุพราช เป็นต้น มองหน้ากันอย่างพิศวง แต่ธรรมดามีอยู่ว่า ใครจะยิ่งใหญ่เพียงใดก็ตาม ย่อมไม่กล้าแย่งบาตรที่พระศาสดาทรงประทานแล้วแก่ผู้ใด ดังนั้น พระราชาจึงไม่กล้าแตะต้องบาตรในมือมหาทุคคตะ ได้แต่อ้อนวอนขอซื้อบาตรว่า

“มหา ทุคคตะ ท่านเป็นคนยากจน จะต้องการบาตรของพระศาสดาทำไม จงให้บาตรแก่เราเถิด เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่งหรือแสนหนึ่งแก่ท่าน” คนทั้งหลาย เมื่อเห็นว่าอ้อนวอนไม่ได้ผลก็กลับไป เหลือแต่พระราชาเท่านั้นที่เสด็จติดตามพระศาสดาไป เพื่อทอดพระเนตรว่าไทยธรรมที่มหาทุคคตะถวายพระศาสดามีอะไรบ้าง หากว่าไทยธรรมมีน้อย พระศาสดาเสวยไม่พออิ่ม ก็จะนำเสด็จพระราชวังอีกครั้งหนึ่ง

ดังได้กล่าวแล้วว่า ในการทำอาหาร ครั้งนี้เทพเจ้ามาช่วยปรุงด้วย พอเปิดออกเท่านั้นกลิ่นหอมของอาหารก็ฟุ้งตลบไป แม้พระราชาเองก็ไม่เคยทรงได้กลิ่นอาหารอย่างนี้มาก่อน พระองค์ได้กราบทูลพระศาสดาตามเป็นจริงว่า เสด็จตามมาทำไม แล้วจึงเสด็จกลับวัง

เมื่อพระศาสดาเสวยเสร็จทรงอนุโมทนาแล้ว มหาทุคคตะส่งเสด็จพระศาสดา ท้าวสักกเทวราช (ซึ่งปลอมมาเป็นพ่อครัว) ได้บันดาลให้ฝนแก้ว ๗ ประการตกลงเต็มเรือนของมหาทุคคตะ เขาได้เห็นแก้วแหวนเงินทองเต็มเรือนเช่นนั้นก็ปลาบปลื้มว่า บุญที่ทำแก่พระพุทธเจ้าให้ผลเห็นทันตา เขาได้ไปกราบทูล พระราชาขอให้นำเกวียนไปบรรทุกทรัพย์เหล่านั้นมา พระราชาให้กระทำเช่นนั้น แล้วตั้งเขาไว้ในตำแหน่งเศรษฐี

เศรษฐีนั้นทำบุญมีทานเป็นต้นตลอด ชีวิต สิ้นชีพแล้วบังเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติอยู่พุทธันดรหนึ่ง มาถึงสมัยแห่งพระโคตมพุทธะนี้ บังเกิดในท้องธิดาคนโตของสกุลอุปฐากของพระสารีบุตรในกรุงสาวัตถี

นาง แพ้ท้องอยากถวายอาหารพระสัก ๕๐๐ รูป ด้วยปลาตะเพียน แล้วนุ่งห่มผ้าสากายะ นั่งบริโภคอาหารเป็นเดนของภิกษุ พวกญาติได้จัดให้เธอทำอย่างประสงค์ อาการแพ้ท้องระงับลง

นางให้ลูกชื่อบัณฑิต เพราะเหตุที่ตั้งแต่เด็กนั้นอยู่ในท้องจนคลอด คนโง่ในบ้านของนางกลับเป็นคนฉลาด นางคิดว่าจะไม่ทำลายอัธยาศัยของบุตร คือบุตรต้องการสิ่งใดอย่างไร หากเป็นไปในทางที่ชอบแล้ว ก็จะอนุโลมตาม

เมื่อ บุตรอายุได้ ๗ ขวบก็ขอบวชในสำนักของพระสารีบุตรเถระ แม้พระเถระจะอธิบายสักเพียงใดว่าการบวชเป็นของยากทำได้ยาก แต่เด็กน้อยก็ยืนยันว่าทำได้ จะพยายามทำตามโอวาทพระเถระ พระเถระจึงให้บวชเป็นสามเณร

มารดาบิดาของสามเณรไปอยู่วัดทั้ง ๗ วัน ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุข เป็นวันที่ ๗ จึงกลับเรือน

เช้าวันที่ ๘ พระเถระพาสามเณรไปบิณฑบาต ระหว่างทางสามเณรเห็นเหมืองจึงถามอุปัชฌาย์ว่านี่อะไร

“เหมือง สามเณร”พระเถระตอบ

“เขามีไว้ทำอะไร”สามเณรถาม

“เขาไขน้ำจากเหมืองนี้ไปหานาข้าวกล้า เมื่อนาขาดน้ำ”

“น้ำมีจิตไหมครับ”

“ไม่มี”

สามเณร คิดว่า เมื่อน้ำเป็นของไม่มีจิต แต่คนทั้งหลายยังไขไปทำประโยชน์ตามปรารถนาได้ ไฉนเล่า คนซึ่งมีจิตจึงจักไม่อาจฝึกจิตของตนให้ดี คนต้องสามารถฝึกจิตของตนให้ดีได้

สามเณรเดินต่อไป ได้เห็นช่างศรกำลังเอาลูกศรลนไฟเล็งด้วยหางตาดัดให้ตรง จึงถามอุปัชฌาย์ว่า ลูกศรมีจิตหรือไม่ เมื่ออุปัชฌาย์ตอบว่าไม่มี เธอจึงคิดโดยนัยก่อน

เดินทางต่อมาอีกเห็นช่างถาก ถากไม้ทำล้อเกวียน เธอถามพระอุปัชฌาย์และคิดโดยนัยก่อน

สามเณรบัณฑิตมีความคิดอันลึกซึ้ง ด้วยการเห็นสิ่งต่าง ๆ เพียงเท่านี้ เธอน้อมนำเข้ามาปรารถนาตนว่า เมื่อช่างศรดัดลูกศรได้ ช่างไม้ถากไม้ให้เป็นไปตามต้องการได้ บัณฑิตก็ควรฝึกตนได้ เธอได้บอกอุปัชฌาย์ว่าขอกลับไปวัดและขอให้พระอุปัชฌาย์ กรุณานำอาหารที่มีปลาตะเพียนมาให้ด้วย

“จะหาได้ไหนเล่า สามเณร” พระเถระถาม

“ท่านผู้เจริญ หากไม่ได้ด้วยบุญของท่านก็คงจักได้ด้วยบุญของกระผม”

พระ เถระอนุญาตให้สามเณรกลับ เพราะรู้อัธยาศัยและได้มอบลูกกุญแจให้ไปด้วย เพื่อสามเณรจะได้เข้าไปนั่งในห้อง สามเณรกลับมาบำเพ็ญสมณธรรมหยั่งความรู้ลงในกายตน พิจารณาอัตตภาพอยู่

พระ เถระรับภาระของสามเณรแล้ว คิดว่าทำอย่างไรหนอจะได้คือ ปลาตะเพียน ท่านตัดสินใจไปสู่เรือนของอุปัฏฐากคนหนึ่ง ซึ่งเคารพเลื่อมใสในท่านมาก พอดีวันนั้นอุปัฏฐากได้ปลาตะเพียนมาหลายตัว กำลังนั่งคอยการมาของพระเถระอยู่ เมื่อเห็นพระเถระก็ดีใจนิมนต์ให้นั่ง ถวายอาหาร มีรสปลาตะเพียน พระเถระแสดงอาการว่าจะลุกไปฉันที่วัด เพื่อให้สามเณรด้วย แต่อุปัฏฐากขอร้องให้ฉันที่บ้าน และว่าอาหารที่จะนำไปนั้นมีอยู่จะถวายเมื่อฉันเสร็จแล้ว พระเถระฉันเสร็จแล้ว อุปัฏฐากได้ถวายอาหารเจือด้วยปลาตะเพียนอีกจนเต็มบาตร

พระเถระรีบกลับมาด้วยห่วงสามเณร

ฝ่ายสามเณรนั่งบำเพ็ญธรรมอยู่ได้บรรลุผล ๓ คือ โสดาบันปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล

วัน นั้น พระศาสดาทรงพิจารณาเห็นเรื่องทั้งปวงของสามเณรแล้ว ทรงดำริ บัดนี้สามเณรบัณฑิตได้บรรลุอนาคามิผลแล้ว และอุปนิสัยแห่งอรหัตผลของเธอมีอยู่ หากเราไม่ไปช่วย พระสารีบุตรจักนำอาหารมา ทำลายสมณธรรมของสามเณรเสีย”

ดังนี้แล้ว เสด็จไปดักพระสารีบุตรที่ซุ้มประตู เพื่อชะลอเวลา

เมื่อพระสารีบุตรมาถึง พระศาสดาตรัสถามปัญหา ๔ ข้อ เกี่ยวกับเรื่องอาหารว่า

“อาหารย่อมนำมาซึ่งอะไร”

“นำเวทนามา พระเจ้าข้า”

“เวทนานำมาซึ่งอะไร”

“นำมาซึ่งรูปพระเจ้าข้า”

“รูป นำมาซึ่งอะไร”

“นำผัสสะมาพระเจ้าข้า”

มีคำอธิบายโดยย่อดังนี้

“เมื่อ บุคคลหิว บริโภคอาหารบำบัดความหิวแล้ว สุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น ต่อจากนั้นวรรณสมบัติย่อมมีในสรีระ คือทำให้รูปเปล่งปลั่งมีนวล ต่อจากนั้น นั่งอยู่หรือนอนอยู่ก็ตามย่อมได้สุขผัสสะ”

ขณะที่พระสารีบุตร แก้ปัญหาพระศาสดาอยู่นี้ สามเณรได้บรรลุอรหัตผล พระศาสดาทรงทราบด้วยพระญาณ แล้วจึงทรงอนุญาตให้พระเถระนำอาหารไปให้สามเณร

พระเถระไปเคาะประตู สามเณรออกมารับบาตรวางไว้แล้ว เอาพัดก้านตาลพัดพระเถระเมื่อพระเถระ บอกให้ฉัน จึงฉัน

เด็กอายุ ๗ ขวบบวชแล้ว บรรลุพระอรหัตผลในวันที่ ๘ ประหนึ่งดอกประทุมอันแย้มบานแล้วด้วยประการฉะนี้

บ่ายวันนั้น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันเรื่องสามเณรบัณฑิต พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสว่า

“ภิกษุ ทั้งหลาย ธรรมดาบัณฑิตย่อมเป็นอย่างนี้ คือเห็นคนไขน้ำจากเหมือง ช่างศรดัดลูกศรเป็นต้นแล้ว ย่อมน้อมนำเข้ามาในตนและฝึกฝนตน ย่อมสามารถบรรลุอรหัตผลได้โดยพลัน”

นิทานเรือนธรรม - เรื่องที่ ๗ นางจิญจมาณวิกา

นิทานเรือนธรรม - เรื่องที่ ๗ นางจิญจมาณวิกา

จากหนังสือ พุทธชัยมงคลคาถา
โดยอาจารย์วศิน อินทสระ



ในปฐมโพธิกาล คือระยะต้นแห่งการประกาศศาสนาของพระพุทธเจ้า เมื่อพระสาวกของพระองค์มีมากประมาณไม่ได้ เมื่อเทวดาและมนุษย์เป็นจำนวนมากหยั่งลงในอริยภูมิ คือภูมิแห่งพระอริยะ คือเป็นพระอริยะ และเมื่อคุณสมุทัย คือเหตุที่จะให้ทราบถึงพระคุณของพระศาสดากำลังแผ่ไพศาลอยู่นั้นเอง ลาภสักการะและความนับถือเป็นอันมาก เกิดขึ้นแก่พระศาสดาและพระสาวก พวกเดียรถีย์นิครนถ์ทั้งหลาย เป็นเช่นกับแสงหิ่งห้อย ท่ามกลางแสงอาทิตย์ เสื่อมจากลาภสักการะเพราะไม่มีใครนับถือ หรือมีผู้นับถือน้อยลงมาก

พวกเดียรถีย์ก็มายืนอยู่กลางถนนแล้วประกาศว่าพระโคดมเท่านั้นหรือที่เป็นพระ พุทธเจ้า พวกเราก็เป็นพระพุทธเจ้าเหมือนกัน ทานที่ให้แก่พระสมณโคดมเท่านั้นหรือที่มีผลมาก ทานที่ให้แก่พวกเราก็มีผลมากเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงให้ทานแก่พวกเราบ้าง

เรียกว่าขอกันดื้อๆ เลยทีเดียว แม้กระนั้นก็ไม่สามารถที่จะกระทำให้ลาภสักการะเกิดขึ้นได้ จึงประชุมกันว่า พวกเราควรจะหาโทษใส่พระสมณโคดมสักอย่างหนึ่ง ให้คนทั้งหลายหมดความเชื่อ หมดความเลื่อมใสในพระสมณโคดม ลาภสักการะ ความนับถือจะได้เกิดขึ้นกับพวกเราดังเดิม เขาตกลงกันว่าจะใช้หญิงหนึ่งทำลายชื่อเสียงของพระพุทธเจ้า อันนี้ก็เป็นไปด้วยอำนาจของกิเลส

กิเลสเป็นสิ่งน่ากลัว บรรดาศัตรูทั้งหลาย กิเลสเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของมนุษย์เรา เรื่องที่ยุ่งๆ กันอยู่ในสังคมมนุษย์ ก็มีกิเลสเป็นแดนเกิด คือต้นเหตุอยู่ที่กิเลส มันถึงทำให้เกิดเรื่องยุ่งยากมากมายในสังคมมนุษย์ ในสังคมใดที่คนมีกิเลสน้อย เรื่องยุ่งยากก็มีน้อย แต่พอมีกิเลสมากขึ้น หรือว่าไม่สามารถดับมันได้ ระงับมันอยู่ มันก็สร้างปัญหาต่างๆ สร้างเรื่องต่างๆ ให้เกิดขึ้น ใส่ร้ายผู้อื่นบ้าง กล่าวร้ายผู้อื่นบ้าง ทำร้ายผู้อื่นบ้าง มากมายเหลือที่จะคณานับ เพราะว่าดูเรื่องราวยิ่งดูก็ยิ่งสังเวชใจในพฤติกรรมของมนุษย์ ทำไมมนุษย์จึงทำกันได้ถึงขนาดนี้ ทำลายและทำร้ายกันได้ถึงขนาดนี้

นี่ก็ทำนองเดียวกัน แรงริษยาที่เกิดขึ้นในใจของพวกเดียรถีย์นิครนถ์ทั้งหลาย ก็ใส่ร้ายป้ายสีพระพุทธเจ้า และได้เครื่องมือคือหญิงคนหนึ่ง

ในครั้งนั้น มีหญิงคนหนึ่งชื่อจิญจมาณวิกา รูปสวยมาก ท่านกล่าวว่า สวยงามเหมือนเทพอัปสร แต่เราก็ไม่เคยเห็นเทพอัปสรหรือเทพธิดา ก็ไม่รู้ว่าสวยขนาดไหน ต้องถามท่านที่เคยเห็น ท่านว่ารัศมีออกจากกายของเธอ น่าดูน่าชม เป็นพวกเดียวกับเดียรถีย์

วันหนึ่ง ขณะที่นางจิญจมาณวิกาปริพาชิกา ไปหาพวกเดียรถีย์ที่อาราม ทำความเคารพแล้วยืนอยู่ ที่เคยมานั้นเดียรถีย์ก็ย่อมแสดงอาการยินดีต้อนรับเมื่อนางมา แต่วันนั้นทุกคนเฉยไปหมด นางพูดว่า

“พระคุณเจ้า ดิฉันไหว้” อย่างนี้ถึง 3 ครั้ง แต่พวกเดียรถีย์ก็ยังคงเฉยดังเดิม นางคิดว่าเธออาจมีความผิดอะไรสักอย่างหนึ่ง จึงถามว่า “ดิฉันมีความผิดอะไรหรือ ดิฉันได้ทำอะไรให้ไม่เป็นที่พอใจพระคุณเจ้าหรือ จึงพากันนิ่งไปหมด ไม่ยอมพูดกับดิฉัน”

เดียรถีย์จึงกล่าวขึ้นว่า “เจ้าไม่ทราบดอกหรือว่าเวลานี้ลาภสักการะของเราเสื่อมหมดแล้วเพราะใคร เพราะพระสมณโคดมคนเดียว เจ้าไม่รู้สึกเจ็บร้อนแทนพวกเราบ้างเลยหรือ”

จิญจมาณวิกาตอบว่า “ความทุกข์ของพระคุณเจ้าทั้งหลายก็เหมือนความทุกข์ของดิฉันเอง ไว้เป็นหน้าที่ของดิฉันเถิด จะจัดการให้เรียบร้อย ทำลาภสักการะให้เกิดแก่พระคุณเจ้าทั้งหลายดังเดิม”

พูดอย่างนี้แล้วก็จากไป นางก็วางแผนว่าจะทำอย่างไร นางก็เริ่มแต่งกายอย่างดี ห่มผ้าสีสวยเหมือนสีปีกแมลงก้อนทอง ถ้าไม่ผิดก็เป็นสีเขียวและมีสีทองปนอยู่ ถือของหอมและดอกไม้มุ่งหน้าไปวัดเชตวัน ในเวลาที่ชาวเมืองสาวัตถีฟังธรรมแล้วก็กลับออกมา นางเดินสวนเข้าไป เมื่อมหาชนถามว่าจะไปไหนเวลานี้ นางตอบว่า “ธุระอะไรของพวกท่านในการไปหรือการมาของข้าพเจ้า”

อย่างนี้แล้วก็เดินผ่านวัดเชตวันไปพักวัดของพวกเดียรถีย์ ใกล้วัดเชตวันนั้นเอง ตอนเช้าเมื่ออุบาสกอุบาสิกาชาวนครสาวัตถีออกจากนครไปวัดเชตวัน เพื่อถวายบังคมพระศาสดา นางจิญจมาณวิกาทำทีเหมือนตนพักอยู่ในวัดเชตวันทั้งคืน ด้วยการเดินสวนออกมา

เมื่อถูกถามว่า พักอยู่ที่ไหน นางตอบว่า “ธุระอะไรของพวกท่านกับที่พักของข้าพเจ้า” นางทำอยู่อย่างนี้ประมาณ 2 เดือน

เมื่อคนทั้งหลายถามอีก จึงตอบว่า “ข้าพเจ้าพักอยู่ในพระคันธกุฎีของพระสมณโคดม ในวัดเชตวันนั่นเอง”

ชาวพุทธที่เป็นปุถุชนทั้งหลายสงสัยกันมากว่า ข้อความที่นางจิญจมาณวิกากล่าวนั้น เป็นความจริงหรือหนอ ส่วนพระอริยบุคคลไม่มีใครเชื่อเลย

ล่วงไป 3-4 เดือน นางเอาผ้าพันท้องให้หนาขึ้นเพื่อแสดงว่ามีครรภ์ และให้คนทั้งหลายเข้าใจว่านางตั้งครรภ์เพราะร่วมอภิรมย์กับพระโคดมบรมศาสดา ที่คันธกุฎีในวัดเชตวัน

พอถึงเดือนที่ 8 ที่ 9 นางก็เอาไม้กลม ๆ ผูกไว้ที่ท้อง เอาผ้าห่มทับไว้ ให้คนเอาไม้คางโคทุบหลังมือหลังเท้าให้บวมขึ้น ให้มีอวัยวะต่างๆบอบช้ำ ล่อลวงคนทั้งหลายให้เข้าใจว่าตนมีครรภ์แก่จวนคลอดเต็มทีแล้ว

เย็นวันหนึ่ง ขณะที่พระศาสดากำลังแสดงธรรมอยู่ ท่ามกลางพุทธบริษัทในธรรมสภา นางได้เข้าไปยืนตรงพระพักตร์พระตถาคตเจ้า แล้วก็กล่าวว่า

“มหาสมณะ พระองค์ดีแต่แสดงธรรมแก่มหาชนเท่านั้น กระแสเสียงของพระองค์ไพเราะยิ่งนัก พระโอษฐ์ของพระองค์ดูสนิทดี แต่พระองค์มิได้สนพระทัยในหม่อมฉันเลย หม่อมฉันซึ่งตั้งครรภ์ครบกำหนดคลอดแล้ว ครรภ์นี้อาศัยพระองค์ตั้งขึ้น พระองค์ไม่เอาพระทัยใส่ต่อเครื่องบริหารครรภ์เลย แม้ไม่ทำเองก็ควรตรัสบอกสานุศิษย์คนใดคนหนึ่ง เช่น นางวิสาขา หรืออนาถบิณฑิกะ หรือพระเจ้าปเสนทิโกศล ให้ช่วยเหลือในการนี้ พระองค์ทรงรู้แต่การอภิรมย์อย่างเดียว แต่ไม่ทรงสนพระทัยในการคลอดของหม่อมฉันเลย”

ความพยายามของนางเป็นเหมือนจับก้อนคูถขึ้นปาพระจันทร์ พระตถาคตเจ้าหยุดแสดงธรรมอยู่ครู่หนึ่ง เมื่อนางพูดจบ พระองค์ก็ตรัสด้วยพระกระแสเสียงอันเรียบว่า

“น้องหญิง เรื่องนี้เราทั้งสองคนเท่านั้นที่รู้ว่าจริงหรือไม่จริง”

นางจิญจมาณวิกาโกรธมาก เต้นด่าพระตถาคตเจ้าจนเชือกขาด ผ้าและท่อนไม้กลมเกลี้ยงหล่นลงมาจากท้องของนาง

อันนี้ขอเล่าเพิ่มเติมนิดหนึ่งคือ ถ้าเล่าตามตำนานในอรรถกถา ท่านกล่าวว่า เมื่อพระศาสดาตรัสเช่นนี้แล้ว ก็ร้อนถึงท้าวสักกะเทวราช เทวดามาช่วย ท้าวสักกะมาถึงด้วยเทพบุตร 4 องค์ เทพบุตรแปลงเป็นลูกหนูเข้าไปกัดเชือกที่นางผูกไว้ จนเชือกขาด ผ้าและท่อนไม้ก็หล่นลงมา อรรถกถาท่านว่าอย่างนั้น

มหาชนได้เห็นกับตาเช่นกัน ก็แช่งด่านางจิญจมาณวิกาว่าเป็นหญิงกาลกรรณี ใส่ร้ายพระพุทธเจ้า ก็พากันถ่มน้ำลายใส่บ้าง ขว้างด้วยก้อนดินและท่อนไม้ใส่บ้าง ฉุดกระชากออกไปจากวัดเชตวัน พอลับคลองพระเนตรของพระศาสดาไปเท่านั้น นางจิญจมาณวิกาก็ถูกแผ่นดินสูบไปเกิดในอเวจีมหานรก

วันรุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภา ถึงเรื่องที่นางจิญจมาณวิกาใส่ร้ายพระพุทธเจ้าแล้วถูกแผ่นดินสูบ พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อนนางจิญจมาณวิกานี้ ก็เคยหาเรื่องใส่ร้ายเราตถาคตแล้วเหมือนกัน และก็ถึงความพินาศเหมือนกัน ดังนี้แล้วตรัสใจความสำคัญในมหาปทุมชาดกว่า

“ผู้เป็นใหญ่ ยังไม่เห็นโทษน้อยใหญ่ของผู้อื่นโดยประการทั้งปวงแล้ว ไม่พิจารณาด้วยตนเองแล้ว ไม่พึงลงโทษหรืออาชญา”

ความย่อในมหาปทุมชาดก จะนำมาเล่าให้ฟังนิดหนึ่ง

ครั้งนั้นนางจิญจมาณวิกา เป็นหญิงร่วมสามีกับพระมารดาของพระมหาปทุมกุมาร นางเป็นมเหสีองค์หนึ่งของพระราชา คือพระราชบิดาของพระมหาปทุมโพธิสัตว์

นางมีจิตประดิพัทธ์ในมหาปทุมนั้น จึงเย้ายวนชวนเชิญให้ประกอบกามกิจกับนาง แต่พระโพธิสัตว์ไม่ทรงยินยอมตาม ด้วยเห็นว่าเป็นเรื่องไม่สมควร

นางจึงแกล้งทำอาการว่าเป็นไข้ และมีอาการแห่งผู้ตั้งครรภ์ เมื่อพระราชาตรัสถามก็ใส่ความว่า มหาปทุมกุมารราชโอรสของพระองค์ ทำให้หม่อมฉันมีอาการอันแปลกนี้

พระราชาทรงกริ้ว จึงให้ทิ้งพระโพธิสัตว์ลงในเหวที่ทิ้งโจร เทวดาที่สิงสถิตอยู่อุ้มพระโพธิสัตว์ไว้ ให้ประดิษฐานอยู่ที่พังพานนาคราช พระยานาคราชนำท่านไปสู่นาคพิภพ แบ่งราชสมบัติให้ครองครึ่งหนึ่ง

พระโพธิสัตว์อยู่ในนาคพิภพปีหนึ่ง อยากจะบวช จึงไปสู่หิมวันตประเทศ บวชได้ฌานและอภิญญา

อันนี้ก็แสดงถึงว่า คนดีเมื่อตกทุกข์ได้ยากก็จะมีผู้ช่วยเหลือ จะเป็นใครก็แล้วแต่ แล้วก็นำไปให้ได้รับความสุขพอสมควรแก่อัตภาพ แต่ท่านก็ไม่พอใจในสภาพเช่นนั้น ก็อยู่ไประยะหนึ่งแล้วก็มีความสังเวชสลดใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก็อยากบวชแล้วไปบวชที่หิมวันตประเทศ ได้ฌานและอภิญญา

ต่อมาพรานไพรผู้หนึ่งมาพบพระโพธิสัตว์เข้าจำได้ จึงกลับไปกราบทูลพระราชา พระราชาเสด็จมาเฝ้า ทรงทราบเรื่องความเป็นมาทั้งหมดแล้ว ทรงเชื้อเชิญให้ไปครองราชสมบัติ แต่พระโพธิสัตว์ทรงปฏิเสธ ขอร้องให้พระราชาทรงครองแผ่นดินโดยธรรม อย่าได้มีอคติ

พระราชาเสด็จกลับพระนคร ให้จับพระมเหสีผู้กลั่นแกล้งใส่ร้ายพระโพธิสัตว์นั้นไปทิ้งที่เหวทิ้งโจร แล้วครองแผ่นดินโดยธรรม

อันนี้เรียกว่ากรรมสนอง ถึงเวลาที่กรรมที่ได้กระทำไว้มาสนอง แต่ว่าคนที่ไม่ดีก็ไม่มีใครช่วย ก็ต้องได้รับผลแห่งกรรมของตนไป

พระศาสดาทรงประชุมชาดกว่า หญิงผู้นั้นในกาลนั้นมาเป็นนางจิญจมาณวิกา ส่วนพระมหาปทุมนั้นคือพระองค์เอง

นิทานเรือนธรรม - เรื่องที่ ๕ พระอานนท์

นิทานเรือนธรรม - เรื่องที่ ๕ พระอานนท์

จากหนังสือ พุทธชัยมงคลคาถา โดยอาจารย์วศิน อินทสระ



พุทธ ชัยมงคลข้อที่ ๓ คือ กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่เกี่ยวกับช้างนาฬาคิรี ซึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูร่วมกับพระเทวทัตปล่อยมา เพื่อจะทำร้ายพระองค์ ในขณะที่เสด็จบิณฑบาต ณ เมืองราชคฤห์ นี่ก็เป็นครั้งที่ ๓ ที่พระเทวทัต พยายามปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า

ครั้งแรกก็ได้ส่งคนแม่นธนูไป เพื่อจะให้ยิงพระพุทธเจ้า ก็ส่งคนแม่นธนูไปหลายชุดเหมือนกัน มีแผนว่าส่งไป ๔ คน ต่อมาก็ส่งไป ๘ คนเพื่อให้ฆ่า ๔ คน ต้องการฆ่าปิดปาก แล้วก็ส่งไป ๑๖ คนเพื่อให้ฆ่า ๘ คน ทำนองนั้น แต่ว่าคนแม่นธนูทุกชุด ที่พระเทวทัตส่งไป ก็ปรากฏว่าไปเลื่อมใสพระพุทธเจ้าหมด ไม่สามารถทำร้ายพระพุทธเจ้าได้

ครั้ง ต่อมา พระเทวทัตก็ลงมือเอง กลิ้งหินลงมาจากยอดภูเขาคิชกูฏ ขณะที่พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นภูเขาคิชกูฏ กลิ้งหินก้อนใหญ่เพื่อให้ทับพระพุทธเจ้า โชคดีหรือเป็นพุทธบารมีที่หินไปค้างอยู่ ไม่กลิ้งลงไป แต่ว่าสะเก็ดหินได้ไปกระทบพระบาทของพระพุทธเจ้าจนพระโลหิตห้อ คือตามธรรมดาของพระพุทธเจ้า ไม่มีใครสามารถทำพระโลหิตให้ออกจากพระกายได้ โดยความตั้งใจที่จะทำร้าย ก็ไม่สำเร็จสมใจของพระเทวทัต

พระเทวทัต ก็มาคิดต่อไปว่าทำอย่างไรจึงจะทำร้ายพระพุทธเจ้าได้ ในที่สุดก็มาคิดได้ว่า มีช้างดุร้ายอยู่เชือกหนึ่ง คือช้างนาฬาคิรี ของพระเจ้าอชาตศัตรู ก็ไปชักชวนให้พระเจ้าอชาตศัตรูยอมปล่อยช้างนาฬาคิรี เพื่อมาประหารพระพุทธเจ้า

ตามธรรมดาเขาจะมอมเหล้าช้างนาฬาคิรี ๘ หม้อ วันนั้นพระเทวทัตได้ขอร้องควาญช้างในฐานะที่เป็นผู้สนิทกับพระราชาว่าให้มอม เหล้าช้างนาฬาคิรีอีกเท่าหนึ่ง คือเป็น ๑๖ หม้อ

พอเช้า ช้างนาฬาคิรีก็ถูกปล่อยออกมา เพื่อจะไปทำร้ายพระพุทธเจ้า ซึ่งเสด็จออกบิณฑบาตพร้อมด้วยพระอานนท์และภิกษุสงฆ์

แต่ ที่จริงข่าวนี้ ก็ได้รั่วไหลไปก่อนแล้ว เรื่องที่พระเทวทัตสมคบกับพระเจ้าอชาตศัตรู เพื่อจะปล่อยช้างนาฬาคิรีในวันรุ่งขึ้น ใครๆ ก็พากันเป็นห่วงพระพุทธเจ้า และห้ามว่าพรุ่งนี้อย่าได้เสด็จออกไปบิณฑบาต แต่พระพุทธเจ้าก็นิ่งเฉยเสีย พอเช้าก็เสด็จออกไปบิณฑบาตตามปกติก็ได้เวลาปล่อยช้างพอดี ช้างก็วิ่งมาจะทำร้ายพระพุทธเจ้า

ปรากฏตามตำราว่ามีคนมาดูกันมาก ที่ตกใจก็มี ที่อยากเห็นอยากรู้ปีนขึ้นไปบนต้นไม้ บนบ้านก็มี ก็เป็นสงครามระหว่างช้างศึกที่ดุร้ายกับพระพุทธเจ้า

พระอานนท์ออก ขวางหน้าไว้ ขอร้องให้พระพุทธเจ้าอยู่ข้างหลัง ท่านจะรับหน้าเอง ยอมสละชีวิตเพื่อรักษาพระพุทธเจ้าเอาไว้ พระพุทธเจ้าท่านห้ามถึง ๓ ครั้งว่า อานนท์อย่าทำอย่างนั้นเลย นี่เป็นหน้าที่ของตถาคตที่จะต้องปราบช้างด้วยเมตตา พระอานนท์ก็ไม่ยอม ในตำราบอกว่า พระพุทธเจ้าบันดาลด้วยฤทธิ์ให้พระอานนท์มาอยู่ข้างหลังพระองค์ เมื่อช้างวิ่งมาถึง พระพุทธเจ้าก็แผ่พระเมตตาไป ช้างนาฬาคิรีทั้งๆ ที่เมาอยู่อย่างนั้น ก็กระทบถึงกระแสพระเมตตาของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีพลังมากเหลือเกิน ไม่อาจทำร้ายพระพุทธเจ้าได้ กลับหมอบลง

พระ พุทธเจ้าก็ทรงให้โอวาทสั่งสอนช้าง เป็นทำนองว่า เกิดมาเป็นเดรัจฉานก็เพราะบาปกรรมที่เคยทำมา ชาตินี้อย่าได้ทำบาปกรรมอะไรอีกเลย ช้างก็เชื่อง ไม่ดุร้ายอีกต่อไป ตั้งแต่นั้นมาก็กลายเป็นช้างที่มีศีล

ปรากฏว่าวันนั้น ประชาชนก็ตื่นเต้นกันมาก ทั้งเมืองราชคฤห์โจษขานกันตลอดทั้งเมืองทั้งวัน พระพุทธเจ้าทรงดำริว่าวันนี้เราได้ทำอภินิหารมากแล้ว ในการปราบช้างนาฬาคิรี อย่าได้ออกไปบิณฑบาตอีกเลย ก็เลยเสด็จกลับไปเวฬุวัน ปรากฏว่ามีประชาชนได้ไปประชุมกันที่ เวฬุวันเป็นจำนวนมาก ไปถวายข้าวปลาอาหารแก่พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์

ความพยายามของพระเทวทัตก็ไม่สำเร็จอย่างเคย ความร้ายของพระเทวทัตไม่สำเร็จ สู้ความดีของพระพุทธเจ้าไม่ได้

เย็น วันนั้นเอง ภิกษุทั้งหลายก็ประชุมกันในธรรมสภา สนทนากันถึงเรื่องที่เกิดขึ้นตอนเช้า แล้วก็พรรณนาถึงคุณของพระอานนท์ว่า พระอานนท์นั้นเป็นมหามิตรของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ยอมเสียสละชีวิตเพื่อพระองค์ มีความกล้าหาญ เอาชีวิตเข้าแลกกับผู้มีพระภาคเจ้า

เย็นวันนั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาที่ธรรมสภา ทราบเรื่องที่ภิกษุทั้งหลายสนทนากันแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า อานนท์ได้สละชีวิตเพื่อเราไม่ใช่เพียงแต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ในสมัยที่เป็นกำเนิดของเดรัจฉาน อานนท์ก็เคยสละชีวิตเพื่อเราแล้วเหมือนกัน เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงแสดงเรื่องในอดีต พระพุทธเจ้าก็ทรงเล่าเรื่องในอดีต ที่พระองค์และพระอานนท์ได้เป็นมิตรและได้ช่วยเหลือกันอย่างไร เรื่องเป็นอย่างนี้

ในอดีตกาลไม่ไกลจากนครสาคละ แคว้นมหิสกะ มีสระบัวหลวง สวยงามกว้างใหญ่น่ารื่นรมย์ เป็นที่อาศัยหากินของนกเป็นอันมาก พรานนกคนหนึ่งมาดักบ่วงได้อยู่เสมอ นำไปกินและขายด้วย

หงส์ฝูงหนึ่งอาศัยอยู่ในถ้ำ ณ ภูเขาคิชกูฏ หัวหน้าฝูงคือพญาหงส์ชื่อธตรฐ มีหงส์ที่สนิทชื่อสุมุข เป็นกัลยาณมิตร คราวหนึ่งนกหงส์ ๒-๓ ตัว ไปหากินที่สระบัวหลวงชื่อมานุษยะ รู้สึกพอใจจึงมาเล่าให้พญาหงส์ฟังว่าเป็นสระที่มีอาหารมาก แต่เป็นถิ่นของมนุษย์ พวกเขาอยากไปหากินที่สระนั้นอีก

พญาหงส์ห้าม ว่าถิ่นมนุษย์มีอันตรายมากสำหรับนกไม่ควรจะไป แต่บริวารก็อ้อนวอนครั้งแล้วครั้งเล่า พญาหงส์จึงอนุโลมตามและบอกว่าจะไปด้วย คราวนั้นมีหงส์บริวารตามไปด้วยเป็นจำนวนมาก พอร่อนลงเท่านั้น พญาหงส์ก็ติดบ่วงของพรานรัดเท้าไว้แน่น คิดว่าจะทำให้บ่วงขาดจึงดึงเท้าอย่างแรง ครั้งแรกหนังถลอก ครั้งที่ ๒ เนื้อขาด ครั้งที่ ๓ เอ็นขาด ถึงครั้งที่ ๔ บ่วงกินลึกลงไปถึงกระดูก เลือดไหลมากเจ็บปวดแสนสาหัส

พญาหงส์คิดว่าถ้าจะร้องขึ้นว่าติดบ่วง บริวารซึ่งกำลังกินอาหารเพลินอยู่ ก็จะตกใจกินอาหารไม่ทันอิ่ม เมื่อกินอาหารไม่อิ่ม บินกลับไปไม่มีกำลังพอ ก็จะตกทะเลตายกันหมด จึงเฉยอยู่ รอให้บริวารกินอาหารจนอิ่ม ตนเองยอมทนทุกข์ทรมานด้วยบ่วงนั้น

เมื่อ เวลาล่วงไปพอสมควร เห็นว่าพวกหงส์กินกันหมดแล้วกำลังเล่นเพลินกันอยู่ จึงร้องขึ้นด้วยเสียงอันดังว่าติดบ่วงๆ พอได้ยินดังนั้น หงส์บริวารทั้งหลายก็ตกใจ คุมกันเป็นพวกๆ แล้วบินหนีไปยังภูเขาคิชกูฏ

หงส์ สุมุขก็บินไปกับบริวารเหมือนกัน เพราะได้ยินแต่คำว่าติดบ่วง ไม่รู้แน่ว่าเป็นใคร เมื่อบินไปสักครู่หนึ่ง ก็นึกเฉลียวใจว่าพญาหงส์อาจจะติดบ่วงก็ได้ จึงบินด้วยกำลังทั้งหมดสำรวจหงส์ทุกฝูง เมื่อไม่เห็นพญาหงส์ก็คิดว่าอันตรายคงเกิดขึ้นแก่พญาหงส์ จึงรีบบินกลับไปยังสระมานุษยะ เห็นพญาหงส์กำลังติดบ่วง จึงปลอบใจว่า อย่ากลัวเลย จะสละชีวิตแทน จะอยู่เป็นเพื่อนตาย พญาหงส์กล่าวว่า ฝูงหงส์บินหนีกันไปหมดแล้ว ขอท่านจงเอาตัวรอดเถิด ไม่มีประโยชน์อะไรในการอยู่ที่นี่ เมื่อข้าพเจ้าติดบ่วงอยู่เช่นนี้ ความเป็นสหายจะมีประโยชน์อะไรเล่า

สุมุขก็กล่าวตอบว่า ข้าพเจ้าจะอยู่หรือจะไปก็ต้องตายอยู่ดี จะหนีความตายหาได้ไม่ เมื่อท่านมีสุข ข้าพเจ้าอยู่ใกล้ เมื่อท่านมีทุกข์ ข้าพเจ้าจะจากไปเสียอย่างไร การตายพร้อมกับท่านประเสริฐกว่าการมีชีวิตอยู่โดยไม่มีท่าน เมื่อท่านมีทุกข์อยู่เช่นนี้ ข้าพเจ้าจะไปเสีย ดูไม่เป็นธรรมเลย

พญา หงส์กล่าวว่า คติของผู้ติดบ่วงเช่นข้าพเจ้าจะมีอะไรนอกจากต้องเข้าโรงครัว ท่านเป็นผู้มีความคิด จะเข้าใจคติเช่นนี้ได้อย่างไร ท่านเห็นประโยชน์อะไรในการยอมตายกับข้าพเจ้า ท่านมายอมสละชีวิตในเรื่องที่ไม่ได้เห็นคุณอย่างแจ่มแจ้ง เหมือนคนตาบอดทำกิจการในที่มืด จะให้สำเร็จประโยชน์อย่างไร ท่านมิได้เล็งให้เห็นประโยชน์อันรุ่งเรืองเลย

พญาหงส์พูดดีเหลือ เกิน กระทั่งคนก็ยังพูดไม่ได้ สุมุขยังกล่าวดีขึ้นไปอีก กล่าวตอบว่า ทำไมท่านจึงไม่รู้แจ้งซึ่งความหมายแห่งธรรม ธรรมที่บุคคลเคารพแล้ว ย่อมแสดงประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าเพ่งถึงธรรมและประโยชน์ที่จะได้จากธรรม มิใช่ผลประโยชน์ทางวัตถุ คำนึงถึงความภักดีในท่าน จึงมิได้เสียดายชีวิต ธรรมดามิตรเมื่อระลึกถึงธรรมอยู่ ก็ไม่ควรทอดทิ้งมิตรในยามทุกข์ แม้จะต้องเสียชีวิตก็ตาม นี่คือธรรมของสัตบุรุษ

พญาหงส์กล่าวว่า ท่านประพฤติธรรมดีแล้ว ความภักดีในตัวข้าพเจ้าท่านก็แสดงออกชัดเจนแล้ว ข้าพเจ้าขอร้องให้ท่านไปเสียจากที่นี่ ขอให้ทำตามความต้องการของข้าพเจ้า ขอช่วยไปดูแลฝูงหงส์บริวารของข้าพเจ้าด้วย

เมื่อหงส์ทั้งสองกำลัง เจรจากันอยู่อย่างนี้ นายพรานก็มาถึงสงสัยว่าหงส์ตัวหนึ่งติดบ่วงอยู่ แต่อีกตัวหนึ่งมิได้ติดบ่วง ทำไมจึงยืนอยู่ใกล้ๆ มิได้บินหนีไป จึงไต่ถามสุมุขตอบให้ทราบว่าพญาหงส์เป็นนายของตน ไม่อาจละทิ้งท่านไปได้ เขาจึงถามพญาหงส์ว่า เป็นถึงพญาหงส์ เหตุไฉนจึงมาติดบ่วง ทั้งที่บริวารก็มิได้ติด หัวหน้าผู้ฉลาดควรรู้ถึงอันตรายนี้ เป็นธรรมดาของผู้เป็นใหญ่ สุมุขได้ตอบแทนพญาหงส์ว่า เมื่อความเสื่อมมาถึงเข้าในกาลใด กาลนั้นสัตว์ไม่เข้าใกล้บ่วงก็ไม่รู้สึก เมื่อถึงคราวจะสิ้นชีวิตก็เช่นเดียวกัน

ที่จริงชาดกนี่ เค้าเรื่องก็น่าสนใจอยู่แล้ว แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่า คือคำสนทนาของนกหรือของสัตว์หรือบุคคลในชาดกนั้นเอง เป็นคำพูดที่น่าสนใจ เป็นสุภาษิต บางคราวแร้งก็ไปติดบ่วง ก็มีผู้ถามว่าตาของนกแร้งนี่มองเห็นได้ไกลถึง ๑๐๐ โยชน์ ซากศพอยู่ที่ไหนก็มองเห็นมองเห็นได้ไกล แต่ทำไมบ่วงอยู่ใกล้ๆ ถึงมองไม่เห็น พญาแร้งก็ตอบทำนองเดียวกันนี่ ว่าเมื่อความวิบัติจะมาถึง ก็ทำให้ไม่เห็นบ่วง

เพื่อจะขอชีวิตของพญาหงส์ สุมุขกล่าวถ้อยคำอ่อนหวานให้นายพรานเห็นใจ ขอให้ปล่อยเขาทั้งสองไป เพื่อพบญาติและบริวาร เป็นทำนองว่า ถ้าฆ่าเขาทั้งสอง ก็ได้อาหารเพียงมื้อสองมื้อ หรือถ้าจะนำไปขาย ก็คงได้เงินเพียงเล็กน้อยไปเลี้ยงชีพ แต่ถ้าปล่อยเขาไปพรานก็จะได้บุญไม่น้อยทีเดียว

พรานนั้นตามปกติ นิยมสรรเสริญในน้ำใจภักดี และเสียสละของสุมุขอยู่แล้ว ที่ยอมสละชีวิตเป็นมิตรพลี จึงมีจิตใจอ่อนโยน ต้องการจะปล่อยหงส์ทั้งสองไป แต่เพื่อทดลองใจของสุมุขมากขึ้นจึงกล่าวว่า ท่านเองมิได้ติดบ่วง และเราก็มิได้ปรารถนาจะฆ่าท่านท่านจงรีบไปเสียเถิด ขอให้ท่านอยู่เป็นสุขตลอดกาลนาน

สุมุขตอบว่า ข้าพเจ้าไม่ประสงค์มีชีวิตอยู่โดยไม่มีพญาหงส์ ถ้าท่านพอใจเพียงชีวิตเดียว ก็ขอให้ปล่อยพญาหงส์เถิด ส่วนตัวข้าพเจ้าเองนั้นท่านจะปล่อยหรือจะกินเสียก็ได้ ข้าพเจ้าทั้งสองมีรูปกายเท่ากัน ถึงจะเอาข้าพเจ้าไปแทน ลาภของท่านก็มิได้พร่อง ขอได้โปรดเปลี่ยนตัวข้าพเจ้ากับพญาหงส์เถิด ถ้าท่านไม่แน่ใจ ก็ขอให้เอาบ่วงผูกมัดข้าพเจ้าไว้แล้วปล่อยพญาหงส์ไป

พราน มีจิตใจอ่อนโยนยิ่งขึ้น ต้องการจะยกพญาหงส์ให้เป็นรางวัลแก่สุมุข จึงได้กล่าวว่า ขอให้ใครๆ ทราบเถิดว่า พญาหงส์พ้นจากบ่วงและพ้นจากความตายก็เพราะท่าน บรรดามิตรทั้งหลาย มิตรอย่างท่านหาได้ยากในโลก หรืออาจไม่มีในโลก ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงเห็นใจท่าน เคารพในน้ำใจของท่าน ขอท่านทั้งสองจงบินไปเถิด ไปสู่หมู่ญาติและบริวาร

สุมุขทราบว่านาย พรานมีกิจคือการดักบ่วง ก็เพื่อได้ทรัพย์มาเลี้ยงชีพ ก็ควรจะตอบแทนน้ำใจของนายพรานที่ปล่อยตนทั้งสอง จึงขอร้องให้พรานนำตนและพญาหงส์ไปเฝ้าพระราชา พระราชาทรงทราบเรื่องทั้งหมดแล้ว ทรงเลื่อมใสในหงส์และพรานที่ประพฤติธรรมต่อกัน ทรงพระราชทานทรัพย์เป็นอันมาก แก่พรานเพียงพอแก่การเลี้ยงชีพไปตลอดชีวิต

ท่าน ผู้อ่านจะสังเกตพบในชาดกนี้ และเรื่องราวของพระพุทธเจ้าว่า การคบบัณฑิตและนักปราชญ์ มีประโยชน์มากอย่างนี้ การมีคนดีเป็นมิตรสหาย เมื่อมีทุกข์ก็เป็นที่พึ่งได้ ไม่ยอมละทิ้งในยามวิบัติ และยอมสละได้แม้ชีวิตเพื่อมิตรที่ดี กัลยาณมิตรผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมในมิตร หาได้ยากในโลก เพราะฉะนั้น ผู้ที่ได้แล้วก็ควรประคับประคองมิตร ควรรักษามิตรด้วยดี

คุณ ประโยชน์ของการมีกัลยาณมิตร เช่นเรื่องที่พระอานนท์ได้พระพุทธเจ้าเป็นกัลยาณมิตร ต่ออีกสักเรื่องพอเป็นตัวอย่าง ซึ่งมีมากมายเหลือเกินเกี่ยวกับพระอานนท์กับ พระพุทธเจ้า ซึ่งเกื้อกูลกันมาตลอดสังสารวัฏ เรื่องที่จะเล่าต่อไปเป็นเรื่องราชสีห์ติดหล่ม ปรารภเรื่องพระอานนท์เหมือนกันว่า พระอานนท์เถระได้รับอาราธนาให้ไปสอนธรรมในพระราชวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล สอนแก่มเหสีพระราชเทวี และสนม

วันหนึ่งพระราชาถวายผ้าราคา ๑,๐๐๐ กหาปณะแก่พระอานนท์ จำนวน ๑,๐๐๐ ผืน ต่อมาพระราชาได้พระราชทานผ้าเนื้อดีแก่พระราชเทวี ๕๐๐ พระองค์ องค์ละผืน รวม ๕๐๐ ผืน พระราชเทวีเหล่านั้นฟังธรรมของพระอานนท์แล้วเลื่อมใส ได้ถวายผ้าเหล่านั้นแก่พระเถระจนหมด เมื่อไปเฝ้าพระราชาในเวลาเสวยพระกระยาหาร ก็สวมฉลองพระองค์เก่าๆ ไป พระราชาทอดพระเนตรเห็นแล้ว ตรัสถามว่า ได้ให้ผ้าใหม่เนื้อดีไปแล้ว ไฉนจึงไม่ใช้สอย นุ่งผ้าเก่าๆ มาที่เฝ้า

พระราชเทวีทูลว่า ได้ถวายผ้าเหล่านั้นแก่พระอานนท์หมดแล้ว พระอานนท์รับไว้ทั้งหมดหรือ ทั้งหมดเลยพระเจ้าขา

พระ ราชาทรงพิโรธว่าพระศาสดาทรงบัญญัติให้สมณศากยบุตรใช้ผ้าเพียง ๓ ผืน ไฉนพระอานนท์จึงรับผ้าไว้มากมายเพียงนั้น จะตั้งร้านค้าผ้าหรืออย่างไร เสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้วเสด็จไปหาพระอานนท์เถระ ตรัสถามเรื่องอื่นก่อนว่า พระคุณเจ้า สตรีที่ตำหนักยังเรียนธรรมอยู่หรือ ขอถวายพระพรยังเรียนอยู่ เรียนธรรมอย่างเดียว หรือถวายผ้าด้วย ถวายผ้าด้วยมหาบพิตร วันนี้ถวายมา ๕๐๐ ผืน ล้วนผ้าราคาแพงผืนละ ๑,๐๐๐ กหาปณะทั้งนั้น ท่านรับไว้ทั้งหมดหรือ รับไว้ทั้งหมดมหาบพิตร ก็พระสุคตเจ้าทรงบัญญัติให้สาวกใช้ผ้าเพียง ๓ ผืนเท่านั้นมิใช่หรือ ถูกแล้วมหาบพิตร แต่มิได้ทรงห้ามการรับ พระอานนท์เถระได้ทูลตอบพระราชา ฉะนั้นอาตมภาพรับไว้เพื่อภิกษุอื่นที่จีวรเก่าด้วย

พระราชาตรัสถาม ต่อไปว่า ภิกษุเหล่านั้นเอาจีวรเก่าไปทำอะไร เอาไปทำผ้าปูนั่ง มหาบพิตร ผ้าปูนั่งเก่าเอาไปทำอะไร ทำผ้าเช็ดเท้า มหาบพิตร, ผ้าเช็ดเท้าเก่าทำอะไร เอามีดสับผ้าเช็ดเท้าเก่าแล้วเคล้ากับดินเหนียวฉาบทาเสนาสนะ มหาบพิตร

พระ ราชาก็ตรัสต่อไปว่า ของที่ถวายพระคุณเจ้ามิได้สูญเปล่าเลยหรือ ไม่สูญเปล่าเลย มหาบพิตร ของที่ถวายด้วยศรัทธา ภิกษุจะทำให้เสียหายมิได้ ต้องทำให้เป็นประโยชน์ถึงที่สุด

พระราชาชื่นชมโสมนัส ให้คนนำผ้าอีก ๕๐๐ ผืนมาถวายอีก ผ้า ๕๐๐ ผืนชุดก่อน พระเถระได้แจกให้แก่พระเถระทั้งหลายที่จีวรเก่าแล้ว ส่วนผ้า ๕๐๐ ผืนชุดหลัง ท่านได้ให้แก่ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งทั้งหมด

พระอานนท์มี สัทธิวิหาริก คือศิษย์อุปัชฌาย์ ศิษย์ที่ท่านบวชให้เองอยู่ประมาณ ๕๐๐ รูป แต่มีภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เป็นผู้มีอุปการะมากแก่ท่าน เพราะฉะนั้น ท่านก็ได้ให้จีวร ๕๐๐ ผืนแก่ภิกษุหนุ่มเพียงรูปเดียว

ที่ว่ามี อุปการะมากแก่ท่านนั้นก็คือ เป็นผู้กวาดบริเวณกุฏิ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ให้ท่าน ถวายไม้สีฟัน น้ำล้างปาก น้ำล้างหน้า และน้ำสรง ดูแลเว็จกุฎี คือห้องน้ำห้องส้วม เรือนไฟและเสนาสนะ นวดมือนวดเท้า และทำอุปการกิจอื่นๆสุดแล้วแต่จะมีมา พระเถระก็คิดถึงอุปการคุณของภิกษุนั้น จึงได้มอบจีวรให้ทั้ง ๕๐๐ ผืน ท่านก็คงทราบเพราะท่านรู้จักลูกศิษย์ของท่านดี ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้มีนิสัยดี ก็ได้แจกจ่ายจีวรนั้นแก่เพื่อนร่วมอุปัชฌาย์จนหมดสิ้น

ภิกษุเหล่า นั้นเย็บย้อมจีวรของตนแล้วก็ห่มไปเฝ้าพระศาสดา ทูลถามว่า การให้เพราะเห็นแก่หน้ามีอยู่แก่บุคคลชั้นโสดาบันหรือพระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสตอบว่า ไม่มีดอกภิกษุ มีอะไรเป็นเหตุแห่งคำถามนี้หรือ

ภิกษุ กราบทูลว่า มีพระเจ้าข้า คืออุปัชฌาย์ของพวกข้าพระองค์ได้ผ้ามา ๕๐๐ ผืนไปให้แก่ภิกษุหนุ่มรูปเดียวจนหมด อย่างนี้ไม่เรียกว่าให้เพราะเห็นแก่หน้าหรือ พระศาสดาตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุ อานนท์ทำเพราะเห็นแก่อุปการะของภิกษุหนุ่มรูปนั้น เห็นเธอเป็นผู้มีอุปการะมาก ต้องการยกย่องให้ปรากฏแก่ศิษย์ทั้งหลาย นี่เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งของครูหรืออาจารย์ ดูก่อนภิกษุ แม้บัณฑิตในครั้งโบราณ แม้เป็นสัตว์เดรัจฉานก็รู้อุปการะของผู้อื่นและทำตอบแทน

พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ก็นำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟัง ดังนี้

ใน อดีตกาล ราชสีห์ตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ในถ้ำบนภูเขา วันหนึ่งยืนมองลงไปที่เชิงเขา ณ เชิงเขานั้นมีสระใหญ่สระหนึ่ง มีหญ้าเขียวสดอ่อนไสวขึ้นตามเชิงเลนขอบสระ สัตว์เล็กๆ เช่น กระต่ายและแมวป่า สุนัขจิ้งจอกต่างก็เที่ยวเล็มหญ้าอยู่ตามเชิงเลนของสระ เนื้อตัวหนึ่งเที่ยวเล็มหญ้าอยู่ สีหเห็นเนื้อนั้นแล้ว ต้องการจับเนื้อเป็นอาหาร จึงกระโดดจากภูเขาวิ่งอย่างเร็ว เนื้อวิ่งสุดกำลังของตนเหมือนกัน สีหไม่อาจยั้งกำลังได้จึงตกลงไปติดที่เชิงเลนขึ้นไม่ได้ เท้าทั้ง ๔ ฝังลงไปเหมือนเสา ยืนอดอาหารอยู่ถึง ๗ วัน

สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งหา กินเพลินอยู่ มาเห็นสีหตกใจกลัวทำท่าจะวิ่งหนี สีหร้องบอกว่าอย่าหนีเลย เราติดหล่มขึ้นไม่ได้หลายวันแล้ว ช่วยชีวิตเราทีเถอะ สุนัขจิ้งจอกเข้าไปใกล้สีหพลางกล่าวว่า เรากลัวว่าเมื่อช่วยท่านได้แล้ว ท่านจะจับเรากินเป็นอาหารเสีย

ราชสีห์ยืนยันว่า อย่ากลัวเลย เรารับรองว่าจะไม่กินท่าน แต่เราจะสนองคุณท่าน จงช่วยเราถอนขึ้นจากหล่มเถิด

สุนัข จิ้งจอกรับคำมั่นสัญญาแล้ว คุ้ยเลนรอบๆเท้าของราชสีห์ออก ขุดลำรางให้น้ำไหลเข้ามา ทำให้เลนเหลว สุนัขจิ้งจอกมุดตัวเข้าไประหว่างท้องสีห เอาศีรษะดันท้อง แล้วก็ร้องดังๆว่า นายพยายามเข้าเถิด สีหออกแรงตะกายขึ้นจากเลนได้วิ่งไปยืนพักเหนื่อยอยู่ครู่หนึ่ง แล้วก็ลงสระล้างโคลนอาบน้ำระงับความกระวนกระวายแล้ว จับกระบือตัวหนึ่งได้แล้ว เอาเขี้ยวแหวะฉีกล้วงเนื้อมาวางไว้ข้างหน้าของสุนัข ให้สุนัขจิ้งจอกกินก่อน ส่วนตนกินทีหลัง

สุนัขจิ้งจอกคาบเอาเนื้อ ชิ้นหนึ่งวางไว้ เมื่อสีหว่าเนื้อนั้นเพื่อใคร สุนัขจิ้งจอกบอกว่า เพื่อนางสุนัขจิ้งจอก ราชสีห์ก็ว่าจงเอาไปเถิด เพราะตนก็จะเก็บไว้ส่วนหนึ่งเพื่อนางสิงห์เหมือนกัน สัตว์ทั้งสองกินเนื้อจนอิ่มหนำสำราญ แล้วเอาเนื้อไปฝากนางสุนัขจิ้งจอกและนางสิงห์ ไปที่อยู่ของนางสุนัขจิ้งจอกก่อน ชวนครอบครัวสุนัขจิ้งจอกไปอยู่กับตนที่ถ้ำบนภูเขา รับว่าจะเลี้ยงดูให้มีความสุข

สัตว์สองตระกูลสองครอบครัวอยู่ร่วม กันอย่างมีความสุข สุนัขจิ้งจอกกับราชสีห์ นางสิงห์กับนางสุนัขจิ้งจอก และลูกๆ ก็กลมเกลียวกันอย่างดี

จำเนียรกาลล่วงมา นางสิงห์คิดว่า ไฉนหนอราชสีห์สามีเราจึงรักนางสุนัขจิ้งจอกและลูกๆ ของมันนักหนา อาจจะเคยลักลอบได้เสียเป็นเมียผัวกับนางสุนัขจิ้งจอกก็ได้ จึงเสน่หามันมากนัก อย่ากระนั้นเลย เราจะหาอุบายให้นางสุนัขจิ้งจอกไปจากที่นี่
คิดอย่างนี้แล้ว เมื่อสุนัขจิ้งจอกและสีหสามีตนออกไปหากิน จึงกลั่นแกล้งขู่เข็ญนางสุนัขจิ้งจอกนานาประการ อาทิ ว่าทำไมอยู่ที่นี่นานนัก ไม่ไปที่อื่นบ้าง ส่วนลูกนางสิงห์ก็ขู่เข็ญลูกนางสุนัขจิ้งจอกบ้างเหมือนกัน

เมื่อ สุนัขจิ้งจอกกลับมา นางสุนัขจิ้งจอกก็เล่าเรื่องต่างๆ ให้สามีฟัง และตั้งข้อสงสัยว่าไม่ทราบว่าที่นางสิงห์ทำนั้น ทำไปโดยพลการ หรือทำไปตามคำสั่งของสีห

สุนัขจิ้งจอกได้ฟังดังนั้น จึงเข้าไปหาสีห พูดว่า

“นาย ข้าพเจ้าอยู่ในสำนักของท่านนานนักแล้ว ผู้อยู่ร่วมกันนานเกินไป ทำให้ความรักจืดจางลงได้ ผู้ใดไม่พอใจให้คนอื่นอยู่ในสำนักของตน ก็จะขับไล่เสียว่า จงไปเสียทีเถิด จะเหน็บแนมเอาประโยชน์อะไรกัน” ดังนั้นแล้ว ก็เล่าพฤติการณ์ของนางสิงห์ให้ราชสีห์ฟังทุกประการ พร้อมกับถามว่า พญาเนื้อผู้มีกำลัง อยากจะให้ใครไปก็ย่อมจะไล่ได้ นี้เป็นธรรมดาของผู้มีกำลังทั้งหลาย ท่านเป็นผู้มีเขี้ยวโง้ง โปรดทราบเถิดว่าบัดนี้ภัยเกิดจากที่พึ่งเสียแล้ว

สีหราชฟังเช่นนี้ แล้ว ถามนางสิงห์ว่า เป็นความจริงหรือที่ขู่เข็ญนางสุนัขจิ้งจอก นางสิงห์รับว่าเป็นความจริง ราชสีห์จึงว่านางไม่รู้หรือ เมื่อเราไปหากินครั้งโน้น เราไม่กลับมาถึง ๗ วันเพราะเหตุไร นางสิงห์ตอบว่าไม่ทราบ สีหราชจึงเล่าเรื่องที่ตนติดหล่มให้นางสิงห์ฟัง และว่าสุนัขจิ้งจอกนี้เป็นสหายผู้ช่วยชีวิตเรา มิตรที่สามารถดำรงมิตรธรรมไว้ได้ ชื่อว่าอ่อนกำลังย่อมไม่มี ตั้งแต่นี้ต่อไปอย่าได้ดูหมิ่นมิตรของเราและครอบครัวของเขาอีก

และ ย้ำว่ามิตรเขามีกำลังน้อย แต่เขาดำรงอยู่ในมิตรธรรมคือเป็นมิตรแท้ เป็นกัลยาณมิตร ก็นับว่าเป็นทั้งญาติ ทั้งพี่น้อง เป็นทั้งมิตรสหาย อย่าได้ดูหมิ่นสุนัขจิ้งจอกผู้ที่ได้ช่วยชีวิตของเราไว้

นี่ก็เป็น ความกตัญญูกตเวทีของสีหราชหรือพญาราชสีห์ นางสิงห์รู้ว่าตนเข้าใจผิดไป จึงขอขมา ตั้งแต่นั้นมาสัตว์ทั้ง ๒ ตระกูลก็กลมเกลียวรักใคร่กันดังเดิม

เมื่อพ่อแม่สิ้นชีวิตแล้ว ลูกของสัตว์ทั้งสองก็มีไมตรีต่อกันมาถึง ๗ ชั่วอายุ

นี่ ก็เป็นเรื่องที่เป็นตัวอย่างให้กับมนุษย์ ความจริงเรื่องมันก็เกิดในสังคมมนุษย์นั่นแหละ แต่ท่านก็นำเรื่องของสัตว์ชนิดต่างๆ มาเป็นตัวอย่าง


นิทานเรือนธรรม - เรื่องที่ ๔ พระนางสามาวดี

นิทานเรือนธรรม - เรื่องที่ ๔ พระนางสามาวดี


เรียบเรียงจากหนังสือ ทางแห่งความดี เล่ม ๑ โดยอาจารย์วศิน อินทสระ



มีเรื่องเล่าไว้ในพระไตรปิฏก ดังนี้ว่า...

พระนางสามาวดี เดิมชื่อสามา เป็นลูกสาวเศรษฐีชื่อภัททวดีในภัททวดีนคร เป็นเพื่อนกับโฆสกเศรษฐีแห่งเมืองโกสัมพี ท่านเรียกว่าเป็น “อทิฏฐบุพพสหาย” แปลว่าเพื่อนที่ไม่เคยเห็นกัน กล่าวคือเศรษฐีทั้งสองต่างได้ยินเกียรติคุณของกันและกันจากพวกพ่อค้าที่เดิน ทางไปมาค้าขายระหว่างเมืองทั้งสอง แล้วต้องการคบกันไว้เป็นมิตร ต่างก็ส่งบรรณาการโดยฝากพ่อค้าไป

คราวหนึ่งเกิดอหิวาตกโรคขึ้นใน เมืองภัททวดี ทำลายชีวิตคนมาก เขามีเคล็ดอย่างหนึ่งคือ ถ้าจะหนีอหิวาต์ ต้องพังฝาเรือนหนี ออกทางประตูไม่ได้

ภัททวดีเศรษฐี ภรรยาและลูกสาวก็หนีอหิวาต์ไปเมืองโกสัมพี ไปหาโฆสกเศรษฐี ในระหว่างทางเสบียงหมด ต้องอดทนเดินต่อไปจนถึงประตูเมืองโกสัมพี ทั้งสามต้องอิดโรยด้วยความหิวและลมแดดอย่างน่าสงสาร เมื่อมาถึงศาลาพักหน้าเมือง เศรษฐีกล่าวขึ้นว่า

“สภาพของเราในเวลา นี้ แม้บิดามารดาก็ไม่ต้องการเห็น เราควรบำรุงร่างกายให้ดีพอสมควรเสียก่อนแล้วจึงค่อยไปหาเศรษฐีสหายของเรา ฉันทราบมาว่าโฆสกะ สหายเราสละทรัพย์วันละพันให้ทานแก่คนเดินทางและคนกำพร้า คนยากจน เป็นต้น เราควรให้สามาไปขออาหารมาเลี้ยงดูกัน บำรุงร่างกายให้กระปรี้กระเปร่า สักหน่อยหนึ่งแล้วค่อยไปหาสหาย”

วัน รุ่งขึ้นสามาถือภาชนะ เดินปะปนไปกับคนขอทาน คนกำพร้าอนาถา มีความละอายมาก แต่ก็ต้องตัดความละอายนั้นลง เธอเดินก้มหน้าตามคนทั้งหลายไป เมื่อถึงวาระของเธอ ผู้แจกทานชื่อ มิตตกุฎุมพี ถามขึ้นว่า

“เธอรับกี่ส่วน”

“๓ ส่วนค่ะ”เธอตอบ

มิ ตตกุฎุมพีก็มอบให้ ๓ ส่วน เธอได้นำอาหารมาให้พ่อแม่ฝ่ายแม่ก็อ้อนวอนให้พ่อกินก่อน แต่เศรษฐีกินมากเกินไป คืนนั้นอาหารไม่ย่อย รุ่งเช้าก็ตาย

วันนั้น สามาไปขออาหารมา ๒ ส่วน คนแจกทานก็ให้ เธอให้แม่กินก่อน แม่ของเธอกินแล้วอาหารไม่ย่อยอีก จึงตายลงวันนั้น

วันรุ่งขึ้น สามาร้องไห้คร่ำครวญไป ขออาหารจากมิตตกุฎุมพี

“ต้องการเท่าไหร่”

“หนึ่งส่วนเจ้าค่ะ”เธอตอบ

มิ ตตกุฎุมพีจำได้ จึงด่าว่า “จงฉิบหายเสียเถิดหญิงถ่อยเจ้าเพิ่งรู้จักประมาณท้องของเจ้าวันนี้เองหรือ วันก่อนขอ ๓ ส่วน เมื่อวาน ๒ ส่วน วันนี้ขอส่วนเดียว”

นางสามาผู้มีกำเนิดและเติบโต มาในตระกูลดีมั่งคั่งได้ฟังดังนั้น ก็เจ็บแสบเหมือนมีอาวุธมาเสียบอก ถามย้ำออกไปว่า “ท่านว่าอะไรนะนาย”

มิตตกุฎุมพีก็ย้ำเหมือนกันว่า

“วันก่อนเจ้ารับเอาไป ๓ ส่วน เมื่อวานรับ ๒ ส่วน วันนี้รับส่วนเดียว ฉันถามเจ้าว่าเจ้าเพิ่งรู้จักประมาณท้องของตัววันนี้เองหรือ”

“นาย ท่านโปรดอย่าเข้าใจว่าฉันรับไปเพื่อตัวคนเดียว ฉันรับไป ๓ ส่วนวันก่อน เพราะเรามีอยู่ด้วยกัน ๓ คน คือ พ่อ แม่ และฉัน วันก่อนนี้ พ่อฉันทานอาหารแล้วตาย เมื่อวานนี้แม่ทานอาหารแล้วตาย วันนี้จึงเหลือฉันเพียงคนเดียว ฉันจึงขอเพียงส่วนเดียว”

“พ่อแม่ของเจ้าเป็นใคร มาจากไหน เมื่อพ่อแม่ตายหมดแล้วเจ้าจะอยู่กับใคร” มิตตกุฎุมพีถามอย่างสงสารและเห็นใจ

สามาเล่าเรื่องให้ฟัง มิตตุกุฎุมพีฟังแล้วเศร้าใจ เอามือลูบศีรษะสามา จุมพิตที่ศีรษะด้วยเมตตาอย่างลูกแล้วกล่าวว่า

“อย่าคิดอะไรมากเลยสามา เจ้าเป็นลูกสาวของภัททวดีเศรษฐีก็เหมือนเป็นลูกสาวเรา ตั้งแต่วันนี้ไปจงเป็นลูกสาวเรา”

แล้วพาไปเรือน เลี้ยงอย่างลูกสาว และให้เป็นลูกหญิงคนโต สามาก็มีความสุขขึ้น

ตาม ปรกติโรงทานจะมีเสียงอื้ออึง เพราะคนแย่งกัน วันหนึ่งสามาจึงบอกกับพ่อว่า ให้ล้อมโรงทานเข้า มีประตู ๒ ด้าน ด้านหนึ่งเข้าด้านหนึ่งออก ให้เข้าและออกเป็นแถวเรียงหนึ่ง เมื่อทำดังนี้แล้วเสียงอื้ออึงก็หมดไป

ฝ่าย โฆสกะเศรษฐีเจ้าของโรงทาน เคยได้ยินเสียงเซ็งแซ่ก็ยินดีว่าเป็นเสียงในโรงทานของตน เมื่อไม่ได้ยิน ๒-๓ วันก็ประหลาดใจ เมื่อพบมิตตกุฎุมพีก็ถามรู้เรื่องทั้งปวงแล้วจึงรับสามาไว้ในฐานะลูกสาวของ ตน มอบหญิงจำนวนร้อยให้เป็นบริวาร

ชื่อของสามา ได้มีคำต่อท้ายว่า “วดี” เป็นสามาวดี เพราะเธอให้ล้อมรั้วที่โรงทาน (วดี แปลว่ารั้ว)

วัน หนึ่ง เธอไปอาบน้ำที่ท่าน้ำกับบริวาร ในงานนักขัตฤกษ์ บังเอิญต้องเดินผ่านทางพระลานหลวง พระเจ้าอุเทนประทับที่หน้าต่างเห็นสามาวดีแล้วก็ชอบ ถามราชบุรุษว่าเป็นใคร เมื่อทราบว่าเป็นธิดาของโฆสกเศรษฐีจึงทรงส่งพระราชสาส์นไปว่า “ขอให้เศรษฐีมอบธิดา ชื่อสามาวดีให้ฉัน”

แต่เศรษฐีไม่ยอมให้ เพราะกลัวลูกสาวไปลำบากในวังหากพลาดพลั้งอาจลงโทษถึงประหารหรือโบยตี

พระ ราชาอุเทนส่งพระราชสาส์นไปถึง ๒ ครั้ง แต่เศรษฐีก็ปฏิเสธ พระราชาทรงกริ้ว รับสั่งให้จับเศรษฐีและภรรยาออกนอกเรือน ให้ตีตราปิดบ้านใครเข้าไม่ได้

สามาวดีกลับจากอาบน้ำเข้าบ้านไม่ได้

“อะไรกันคะพ่อ”

“พระราชาต้องการเจ้า แต่พ่อไม่ให้ จึงรับสั่งให้ปิดบ้าน”

สามาอึ้งอยู่ครู่หนึ่ง เห็นว่าการฝืนพระราชโองการมีแต่โทษจึงบอกพ่อว่า

“เมื่อพระราชาทรงพระประสงค์ ต้องถวาย พ่อ”

“หากเจ้าไม่ขัดข้อง พ่อก็ไม่ขัดข้องเหมือนกัน”

เป็นอันว่าพระเจ้าอุเทนได้สามาวดีเป็นพระมเหสีตั้งไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี แต่นั้นมาก็เป็นพระนางสามาวดี

พระเจ้าอุเทนมีพระมเหสีหลายพระองค์ เช่น พระนางวาสุลทัตตา พระราชธิดาของพระเจ้าจัณฑปัชโชตแห่งอุชเชนีนคร

พระ นางมาคันทิยา สาวงามแห่งมาคันทิยคาม เป็นต้น พระนางแรกไม่มีบทบาทอะไรที่เกี่ยวข้องกับพระนางสามาวดี ส่วนพระนางมาคันทิยามีส่วนเกี่ยวข้องมาก จึงต้องขอเล่าเรื่องของพระนางไว้ ณ ที่นี้ด้วย

พระนางมาคันทิยาเป็นลูกสาวพราหมณ์ชื่อ มาคันทิยา ในแคว้นกุรุ (นิวเคลฮีปัจจุบัน) เป็นสาวสวยมาก มีคนมาขอกันมากล้วนแต่ตระกูลใหญ่ๆทั้งนั้น แต่พ่อไม่ให้บอกว่าคนเหล่านั้นไม่เหมาะสมกับลูกสาวของตน

วันหนึ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นอุปนิสัยของพราหมณ์มาคันทิยะและภรรยา ว่าหากพระองค์เสด็จไปโปรดก็จะสามารถสำเร็จอนาคามิผลได้ จึงเสด็จไปสู่ที่บูชาไฟของพราหมณ์

พราหมณ์ได้เห็นพระตถาคต ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยพระลักษณะทุกประการแล้วคิดว่า “คนอื่นจะเลิศกว่านี้ไม่มี บุรุษนี้สมควรแก่ธิดาของเรา เราจะให้เขาครองเรือนอยู่ด้วยกัน”

เขากล่าวกับพระศาสดาว่า

“สมณะ ข้าพเจ้ามีบุตรีอยู่คนหนึ่ง สวยมาก ข้าพเจ้ามองไม่เห็นใครเหมาะสมเท่าท่าน ข้าพเจ้าขอยกเธอให้แก่ท่าน ขอท่านจงยืนคอยอยู่ตรงนี้สักประเดี๋ยวหนึ่ง”

พระศาสดามิได้ตรัสอะไร

พราหมณ์เข้าไปในบ้าน บอกภรรยาแต่งตัวลูกสาวให้ดี แล้วนำออกไป เพราะได้พบบุรุษที่สมควรแก่นางแล้ว

ข่าวเรื่องนี้แพร่ไปอย่างรวดเร็ว มีคนมาดูกันมาก เพราะสงสัยว่าชายผู้นั้นจะมีลักษณะประการใด

พระ ศาสดาได้เหยียบรอย พระบาทไว้แล้วเสด็จเลี่ยงไปประทับที่อื่น ท่านกล่าวว่ารอยพระบาทที่พระศาสดาทรงอธิษฐานแล้วเหยียบไว้นั้น ทรงประสงค์ให้บุคคลใดเห็นบุคคลนั้นเท่านั้น จึงจะเห็นรอยพระบาทนั้นจะไม่ลบ เพราะช้างเหยียบ ฝนตกหนัก หรือลมพัดแรง

พราหมณ์และภรรยา ลูกสาว เที่ยวตามหาพระศาสดาแต่ไม่เห็นนางพราหมณ์ได้เห็นรอยพระบาทก่อน นางตรวจดูลักษณะพระบาทแล้วกล่าวว่า “นี้ มิใช่รอยเท้าของผู้ข้องในกามารมณ์”

“คนเจ้าราคะ รอยเท้าเว้ากลาง คนเจ้าโทสะรอยเท้าหนักส้น คนเจ้าโมหะ หนักทางปลายนิ้วเท้า รอยเท้าเช่นนี้เป็นรอยเท้าของคนไม่มีกิเลส”

พราหมณ์บอกว่า นางอวดดีอวดรู้ไม่เข้าเรื่อง ให้นิ่งเสีย แล้วก็เที่ยวเดินหาพระศาสดาจนพบ

พระ ศาสดาตรัสเล่าชีวประวัติของพระองค์ให้พราหมณ์ฟังตั้งแต่ต้นว่า ทรงมีความสุขมาอย่างไร จนเสด็จออกผนวช ถูกนางตัณหา ราคา อรดี ยั่วยวน แต่หาทรงพึงพระทัยในนางเหล่านั้นไม่ แล้วตรัสย้ำว่า

“พราหมณ์ เอย เรามิได้พอใจในเมถุน (การเสพกาม) เพราะได้เห็นนางตัณหา ราคา อรดี ผู้สวยเลิศ ก็ไฉนเล่าเราจักพอใจในธิดาของท่านเต็มไปด้วยมูตรและกรีส(อุจจาระ ปัสสาวะ) เราไม่ปรารถนาจะแตะต้องธิดาของท่านแม้ด้วยเท้า”

พระศาสดาทรงแสดงธรรมอีกหลายเรื่อง จนพราหมณ์และพราหมณีได้บรรลุอนาคามิผล ฝ่ายนางมาคันทิยาผูกอาฆาตในพระศาสดาว่า

“สมณะ นี้ปากร้ายนัก เมื่อไม่ต้องการเราก็ควรจะบอกเพียงว่าไม่ต้องการ หรือตอบเลี่ยงอย่างใดอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมารยามอันดีของสุภาพบุรุษ แต่นี่กลับดูหมิ่นเราว่าเต็มไปด้วยอุจจาระ ปัสสาวะเอาเถอะ เมื่อใด เราได้ภัสดาอันพรั่งพร้อมด้วยชาติตระกูล ประเทศ โภคะ ยศ และวัยแล้ว เราจักแก้แค้นพระสมณโคดมนี้ให้ได้”

มีปัญหาถามกันอยู่เสมอว่า พระศาสดาตรัสคำเช่นนี้ทำไม พระองค์ไม่ทรงทราบหรือว่า เมื่อตรัสออกไปแล้วนางมาคันทิยาจักผูกอาฆาตในพระองค์ พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า พระศาสดาทรงทราบดี แต่ทรงมุ่งมรรคผลแก่พราหมณ์และพราหมณี ธรรมดาพระพุทธเจ้าย่อมไม่ทรงคำนึงว่าตรัสออกไปแล้ว ใครจะชอบหรือไม่ชอบ แต่ทรงมุ่งประโยชน์เป็นที่ตั้ง ใครจะอาฆาตก็เป็นเรื่องของใครคนนั้น พระวาจาที่พระองค์ตรัสนั้นต้องจริงและเป็นประโยชน์

ฝ่ายพราหมณ์และพราหมณีสำเร็จพระอนาคามิผลแล้วพามาคันทิยาไปฝากกับจูฬมาคันทิยา ผู้เป็นอา แล้วออกบวชไม่นานนักก็ได้สำเร็จอรหัตตผล

ฝ่าย จูฬมาคันทิยา คิดว่าหลานของตนไม่สมควรแก่คนต่ำ จึงนำไปสู่โกสัมพี ถวายแก่พระเจ้าอุเทน ทรงรับไว้และแต่งตั้งในตำแหน่งอัครมเหสีมีบริวาร ๕๐๐

ขณะ ที่พระนางมาคันทิยา ทรงเป็นอัครมเหสีที่โปรดปรานของพระเจ้าอุเทนอยู่นั้น พระพุทธเจ้าก็เสด็จมากรุงโกสัมพี พระนางก็จ้างคนให้เที่ยวตามด่าพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ จนพระอานนท์ทนไม่ไหว ทูลเสด็จให้ไปเมืองอื่น แต่พระศาสดามิได้ทรงหวั่นไหว ตรัสกับพระอานนท์ว่า ถ้าไปไหนมีคนด่าแล้วหนีก็ต้องหนีกันเรื่อยไป ทรงยืนยันว่า

“เราจักอดทนต่อถ้อยคำล่วงเกินของผู้อื่น ดังช้างศึกในสงครามอดทนต่อลูกศร ซึ่งมาจากทิศทั้ง๔ เพราะคนส่วนมากเป็นคนชั่ว บุคคลย่อมนำสัตว์พาหนะที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม สัตว์ที่ฝึกแล้วเป็นสัตว์ประเสริฐฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น คนที่ฝึกให้อดทนต่อคำล่วงเกินของคนอื่นได้ จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด”

พระศาสดาตรัสว่า เรื่องทั้งหลายที่เกิดขึ้นนี้จะสงบลงภายในวันที่ ๗ ฉะนั้นอย่าได้วิตก

ฝ่าย พระนางมาคันทิยาทราบว่า การจ้างคนให้เที่ยวตามด่าพระพุทธเจ้านั้น ไม่สามารถให้องค์เสด็จออกจากเมืองโกสัมพีได้จึงคิดว่า พระนางสามาวดีเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าหากกำจัดพระนางสามาวดี พระพุทธเจ้าขาดผู้อุปถัมภ์บำรุงก็จะเสด็จออกจากโกสัมพีไปเอง

พระ นางหาเรื่องใส่ความพระนางสามาวดีว่าคิดนอกพระทัยพระเจ้าอุเทน เอาพระทัยไปฝักใฝ่กับพระพุทธเจ้าจึงให้อามาคันทิยะเอาไก่เป็น ๘ ตัวและไก่ตาย ๘ ตัว มาถวายพระราชา ขณะที่พระราชาประทับ ณ ห้องเสวยน้ำจัณฑ์

“มีผู้นำไก่มาถวาย พระเจ้าข้า” มหาดเล็กทูล

“ใคร” พระราชาตรัสถาม

“ปุโรหิตมาคันทิยา พระเจ้าข้า”

“เท่าไหร่”

“ ๘ ตัว พระเจ้าข้า”

“เออดี แกงแกล้มเหล้า ให้ใครแกงดี”

“พระนางสามาวดี เพคะ” พระนางมาคันทิยาทูล พระนางสามาวดีและบริวารว่างงาน เที่ยวเตร่อยู่ทุกวัน”

พระราชารับสั่งให้มหาดเล็กนำไก่ ไปให้พระนางสามาวดีแกง พระนางมาคันทิยาให้รางวัลมหาดเล็ก กระซิบให้นำไก่เป็น ๘ ตัวไป

พระนางสามาวดีทูลกลับมาว่า พระนางแกงถวายไม่ได้ เพราะไม่ทรงทำปาณาติบาต

พระ นางมาคันทิยา ทูลพระเจ้าอุเทนว่า “ขอพระองค์ทรงลองใหม่ คือรับสั่งว่าให้แกงไปถวายพระสมณโคดม คราวนี้พระองค์จักทรงทราบว่า หญิงเหล่านั้น ทำปาณาติบาตหรือไม่ทำ”

พระราชารับสั่งอย่างนั้น

พระ นางมาคันทิยากระซิบให้นำไก่ตาย ๘ ตัวไป พระนางสามาวดีทอดพระเนตรเห็นไก่ตายแล้ว และพระราชามีรับสั่งให้แกงถวายพระพุทธเจ้า ก็ทรงโสมนัสตรัสว่า “นี้เป็นหน้าที่ของเรา” มหาดเล็กนำข้อความนั้นมาทูลแด่พระราชา

พระ นางมาคันทิยาได้โอกาสจึงทูลว่า “ทรงเห็นไหม หญิงเหล่านั้นเป็นอย่างไร เมื่อรับสั่งให้แกงไก่ถวายพระองค์ไม่ทรงกระทำ ไม่ทรงกระทำ แต่พอรับสั่งว่าให้แกงถวายพระสมณโคดมก็รีบทำทีเดียว” พระเจ้าอุเทน ทรงเฉยเสีย

ตามปกติ พระราชาจะประทับที่ประสาทของพระนางทั้ง ๓ คือพระนางสามาวดี พระนางวาสุลทัตตา และพระนางมาคันทิยาแห่งละ๗ วัน พระนางมาคันทิยา ทราบว่าอีก ๒ วัน พระราชาจักเสด็จไปประสาทของพระนางสามาวดี จึงส่งข่าวให้อาว่าให้นำงูตัวหนึ่งมาให้ และให้ถอนเขี้ยวออกให้หมดเสียก่อน พระนางได้งูมาแล้วเอาใส่ไว้ช่องรางพิณ แล้วเอาดอกไม้อุดเสีย งูนอนในรางพิณนั้น ๒-๓ วัน

ในวันที่พระราชาเสด็จสู่ปราสาทของพระ นางสามาวดี พระนางมาคันทิยาทูลว่า “มหาราช หม่อมฉันสุบินร้าย พระองค์ไม่ควรเสด็จไปที่นั่น”แต่พระราชาไม่ทรงเชื่อ พระนางทูลถึง ๓ ครั้ง พระราชาทรงยืนยัน พระนางก็ขอตามเสด็จด้วย พระเจ้าอุเทนรับสั่งให้กลับก็ไม่ยอมกลับ อ้างว่าไม่ทราบจะมีเหตุร้ายอะไรเกิดขึ้น ตามเสด็จมาก็เพราะทรงเป็นห่วง

พระ ราชาเสด็จไปไหนก็ทรงนำพิณคู่พระทัยไปด้วย ทรงวางไว้เบื้องบนพระเศียรแล้วบรรทม พระนางมาคันทิยาเสด็จกลับไปกลับมาอยู่ในห้องบรรทม เมื่อได้โอกาสก็นำดอกไม้ในรางพิณออก งูซึ่งอดอาหารมา ๒-๓ วัน ก็เลื้อยออกมาแผ่พังพานอยู่บนแท่นบรรทม พระนางมาคันทิยาจึงร้องขึ้นด้วยเสียงดังว่า “งู พระเจ้าข้า”

แล้ว พระนางก็ด่าพระราชาและพระนางสามาวดีเสียมากมายเป็นต้นว่า”พระราชาองค์นี้โง่ นัก ไม่มีวาสนา ไม่ฟังคำพูดของเรา อีกหญิงเหล่านี้ก็เป็นคนไม่มีสิริ หัวดื้อพวกมันไม่ได้รับเลี้ยงดูหรืออย่างไร เมื่อพระเจ้าแผ่นดินสวรรคตแล้ว พวกมันจะอยู่กันสบายหรืออย่างไร เมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงพระชนม์อยู่ มันอยู่กันลำบากนักหรือ วันนี้เราเองก็ฝันร้าย พยายามอ้อนวอนว่าอย่าเสด็จประสาทของอีหญิงถ่อยคนนี้ แต่พระราชาโง่เขลาก็หาฟังไม่”

พระราชาทรงพิโรธมาก เพราะหลายครั้งหลายคราวมาแล้ว แต่ไม่ประจักษ์ชัดเหมือนคราวนี้ ทรงโก่งธนูจะยิงพระนางสามาวดีและหญิงบริวาร

พระนางสามาวดีบอกกับบริวารของตนว่า “ที่พึ่งอย่างอื่นไม่มีอีกแล้ว ขอพวกเราจงแผ่เมตตาไปยังพระราชา พระเทวี และในตนให้มีจิตสม่ำเสมอ อย่าได้โกรธใครเลย”

ธนู ของพระเจ้าอุเทนนั้นร้ายแรงนัก ว่าสามารถทำลายแม้หินแท่งทึบได้ ทรงปล่อยลูกศรอาบยาพิษออกไปยังพระนางสามาวดี แต่ด้วยอำนาจแห่งเมตตา ลูกศรได้กลับมายังพระองค์ มีอาการเหมือนจะเจาะหทัยของพระองค์ แล้วตกลง

พระ ราชาคิดว่าลูกศรไม่มีจิตยังรู้คุณของพระนางสามาวดี เราเป็นผู้มีจิตไฉนจึงไม่รู้คุณของพระนาง จึงทิ้งคันธนู นั่งลงไหว้พระนางสามาวดี ขอให้เป็นที่พึ่ง

แต่พระนางทูลว่า ขออย่าได้ทรงถือพระนางเป็นที่พึ่งเลย พระนางถือผู้ใดเป็นที่พึ่ง ขอพระองค์จงถือผู้นั้นเป็นที่พึ่งด้วย ผู้นั้นคือพระพุทธเจ้า

พระ ราชาเลื่อมใส ทรงนิมนต์พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์มาเสวยที่วังและขอให้พระนางสามาวดีรับพร พระนางจึงขอพรว่า ขอให้นิมนต์พระศาสดามาเสวยในวังเสมอๆพระราชาจึงทูลอาราธนาพระศาสดา แต่พระพุทธองค์ตรัสว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าไม่ควรเสวยที่เดียวเป็นประจำ เพราะประชาชนย่อมต้องการให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังบ้านเรือนของเขาบ้าง ทรงมอบหมายหน้าที่ให้พระอานนท์มาแทน พระอานนท์ก็พาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ไปสู่ราชสกุลเป็นเนืองนิตย์ พระนางสามาวดีและบริวารจึงได้ถวายทานและฟังธรรมเสมอ

ส่วนพระนางมา คันทิยา มีความคั่งแค้นเพิ่มพูน พระนางขอร้องให้อามาคันทิยะไปเผาปราสาทของพระนางสามาวดี ขณะนั้นพระเจ้าอุเทน เสด็จทรงกีฬา

พระนางสามาวดี เห็นนายมาคันทิยะเอาผ้าชุบน้ำมันแล้วพันเสาปราสาท จึงเสด็จมาถามว่าทำอะไรกัน เขาตอบว่าพระราชารับสั่งให้ทำ เพื่อให้ปราสาทมั่นคง ขอพระนางเสด็จเข้าประทับในห้องเสียเถิด

เมื่อ พระนางสามาวดีและบริวารเสด็จเข้าห้องแล้ว เขาก็ลั่นประตูภายนอกหมด แล้วจุไฟเผาปราสาท พระนางสามาวดีทรงทราบว่าจะถูกเผาทั้งเป็น จึงบอกบริวารว่า

“เมื่อพวกเราท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏอันยาว นานนี้ เคยถูกไฟเผามาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน แม้พุทธญาณก็กำหนดได้ยาก ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด”

หญิงเหล่านั้น ขณะที่ตำหนักถูกไฟไหม้อยู่ ก็กำหนดเวทนากรรมฐาน บางพวกได้บรรลุโสดาบัน บางพวกเป็นสกทาคามี บางพวกเป็นอนาคามี

ครั้ง นั้นภิกษุเป็นอันมาก กลับจากบิณฑบาต ฉันอาหารแล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในบุรีของพระเจ้าอุเทนถูกไฟไหม้ หญิง ๕๐๐ มี พระนางสามาวดีเป็นประมุขได้ตายแล้ว สัมปรายภพของอุบาสิกาเหล่านั้นเป็นอย่างไร”

พระศาสดาตรัสว่า “อุบาสิกาเหล่านั้นเป็นโสดาบันก็มี เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี อุบาสิกาเหล่านั้นตายอย่างไม่ไร้ผล”

พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานว่า

“โลก มีความหลงเป็นเครื่องผูกพัน จึงปรากฏให้เห็นเสมือนมีรูปควรแก่ความยึดมั่นถือมั่น คนพาลมีอุปธิคือกิเลสเป็นเครื่องผูกไว้ ถูกความมืดแวดล้อม จึงมองเห็นสิ่งต่างๆว่าเที่ยง แต่ความกังวลย่อมไม่มีแก่ผู้เห็นแจ้ง”

พระศาสดาทรงแสดงธรรมต่อไปว่า “สัตว์ ที่ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารที่ไม่ประมาท ทำบุญกรรมอยู่เป็นนิตย์ก็มี ที่ประมาททำบาปกรรมอยู่เนือง ๆ ก็มี เพราะฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเสวยสุขบ้างทุกข์บ้าง”

พระราชาทรง ทราบข่าวเรื่องพระตำหนักของพระนางสามาวดีถูกไฟไหม้รีบเสด็จมา แต่ไม่ทันการณ์เสียแล้ว ทรงเสียพระทัยทรงระลึกถึงความดีของพระนาง ทรงพิจารณาเหตุผล แล้วแน่พระทัยว่าการครั้งนี้ต้องเป็นการกระทำของพระนางมาคันทิยา แต่หากจะถามตรง ๆ พระนางคงไม่รับ จำต้องออกอุบายถาม จึงตรัสกับอำมาตย์ที่แวดล้อมอยู่ว่า

“เมื่อก่อนนี้เรานั่งนอนหา เป็นสุขไม่ คอยระแวงแต่พระนางสามาวดี เพราะเธอคอยหาช่องทำลายเรา บัดนี้พระนางสิ้นพระชนม์แล้ว เป็นความสุขของเราจริงหนอ ผู้ทำกรรมนี้คงจักมีความรักในเราอย่างหนักแน่น ใครหนอทำกรรมนี้”

ขณะนั้นพระนางมาคันทิยาเฝ้าอยู่ เห็นเป็นโอกาสจึงทูลว่า

“ข้าแต่พระองค์ คนอื่นใครเล่าจักจงรักภักดีเท่าหม่อมฉัน กรรมอันนี้ หม่อมฉันทำแล้ว โดยสั่งให้อาทำ”

พระ ราชาทำทีพอพระทัย รับสั่งว่าจะให้พรแก่พระนางและหมู่ญาติ ขอให้พาญาติมาเข้าเฝ้า เมื่อญาติมากัน พระราชาก็ให้การต้อนรับพระราชทานของเป็นอันมาก คราวนั้นคนที่ไม่ใช่ญาติ ก็ให้สินจ้างแก่ญาติ ให้รับตนเข้าเป็นญาติด้วย พากันมามากมาย

พระ ราชให้จับคนเหล่านั้นมัดไว้ ให้ขุดหลุมลึกประมาณสะดือ ที่ลานหลวง ให้ญาติทั้งหลายยืนในหลุม เอาดินร่วนกลบ เกลี่ยฟางไว้ปากหลุมแล้วจุดไฟเผา พอไฟไหม้หนังแล้วให้เอารถเหล็กไถเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย

ส่วนพระนาง มาคันทิยา รับสั่งให้เอาลงหลุมฝังเหมือนญาติ แต่ให้เชือดเฉือนเนื้อทอดในกะทะแล้วบังคับให้เสวย สิ้นพระชนม์ด้วยอาการน่าสังเวชยิ่ง

วันหนึ่งภิกษุทั้งหลายสนทนากัน ว่า พระนางสามาวดีและบริวารสิ้นพระชนม์ด้วยลักษณาการไม่สมควร เพราะพระนางเป็นผู้ศรัทธา มีศีลเห็นปานนั้น ไม่ควรสิ้นพระชมน์อย่างนั้นเลย

พระศาสดาเสด็จมา ตรัสว่า พระนางสามาวดีสิ้นพระชนม์ไม่สมควรแก่กรรมในบัดนี้ แต่สมควรแก่กรรมในอดีต ตรัสเล่าว่า

ใน อดีตกาล หญิง ๕๐๐ มีพระนางสามาวดีเป็นประมุข บำรุงพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ๘ องค์ อยู่ในวังพระเจ้าพรหมทัต เมืองพาราณสี วันหนึ่งเมื่อฉันเสร็จแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้า ๗ องค์ ไปป่าหิมพานต์ อีกองค์หนึ่งนั่งเข้าฌานอยู่ในกอหญ้าริมแม่น้ำ

พระราชาพาหญิงเหล่า นั้นไปเล่นน้ำในแม่น้ำ หญิงเหล่านั้นเล่นน้ำอยู่แทบทั้งวัน เมื่อขึ้นจากน้ำก็รู้สึกหนาว ต้องการก่อไฟผิง มองไปเห็นกอหญ้าจึงจุดไฟล้อมกอหญ้าผิงอยู่ พอหญ้ายุบแลเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงร้องขึ้นว่า

“พวกเราแย่แล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้าถูกไฟคลอก พระราชาทรงทราบจักลงโทษพวกเราอย่างหนัก พวกเราจะเผาท่านให้ไหม้ให้หมด”

ดังนี้แล้ว ช่วยกันหาฟืนมาสุมเผา เมื่อคิดว่าท่านถูกไหม้หมด จึงชวนกันหลีกไป

พอ วันที่ ๗ พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ลุกไปอย่างสบาย เพราะธรรมดามีอยู่ว่า ขณะที่ท่านอยู่ในสมาบัตินั้น จะเอาฟืนสัก ๖๐๐๐ เล่ม เกวียนมาเผา ก็ไม่สามารถให้สรีระของท่านอุ่นได้

หญิงเหล่านั้นหมกไหม้อยู่ในนรกหลายพันปี เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ก็ถูกไฟคลอกตาย มานับร้อยชาติแล้ว เพราะเศษกรรมที่เหลือ

ต่อ มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสนทนากันเกี่ยวกับเรื่องพระนางสามาวดี และพระนางมาคันทิยาว่า หญิงสองพวกนี้ใครชื่อว่าเป็นอยู่ ใครชื่อว่าตายแล้ว

พระศาสดาเสด็จมา ตรัสว่า “ผู้ประมาทชื่อว่าผู้ตาย ส่วนผู้ไม่ประมาทแม้ตายแล้วก็ชื่อว่าไม่ตาย ส่วนพระนางสามาวดีเป็นผู้ไม่ตาย”