Tuesday, May 22, 2007

ชีวิตพอเพียงของมหาเศรษฐีอันดับสองของโลก



Warren Buffet วอร์เรน บัพเฟตต์


มีรายการสัมภาษณ์หนึ่งชั่วโมงของสถานี
โทรทัศน์ CNBC สัมภาษณ์ วอร์เรน บัพเฟตต์
มหาเศรษฐีอันดับสองของโลก ( รองจากบิล เกตส์)
ซึ่งบริจาคเงินให้การกุศล 31,000 ล้านดอลล่าร์

ต่อไปนี้คือแง่มุมบางส่วนที่น่าสนใจยิ่งจากชีวิตของเขา:

>1. เขาเริ่มซื้อหุ้นครั้งแรกเมื่ออายุ 11 ขวบ
และปัจจุบันบอกว่ารู้สึกเสียใจที่เริ่มช้าไป!

>2. เขาซื้อไร่เล็กๆ เมื่ออายุ 14 โดยใช้เงินเก็บจาก
การส่งหนังสือพิมพ์

>3. เขายังอาศัยอยู่ในบ้านเล็กหลังเดิมขนาด
3 ห้องนอน กลางเมืองโอมาฮาที่ซื้อไว้หลังแต่งงาน
เมื่อ 50 ปีก่อน เขาบอกว่ามีทุกสิ่งที่ต้องการใน
บ้านหลังนี้ บ้านเขาไม่มีรั้วหรือกำแพงล้อม

>4. เขาขับรถไปไหนมาไหนต้วยตนเอง
ไม่มีคนขับรถหรือคนคุ้มกัน

>5. เขาไม่เคยเดินทางด้วยเครื่องบินส่วนตัว
แม้จะเป็นเจ้าของบริษัทขายเครื่องบินส่วนตัวที่
ใหญ่ที่สุดในโลก

>6. บริษัท เบิร์กไช แฮทะเวย์ ของเขามีบริษัทใน
เครือ 63 บริษัท เขาเขียนจดหมายถึงซีอีโอของ
บริษัทเหล่านี้เพียงปีละฉบับเดียว เพื่อให้เป้าหมาย
ประจำปี เขาไม่เคยนัดประชุมหรือโทรคุยกับซีอีโอ
เหล่านี้เป็นประจำ

>7. เขาให้กฎแก่ ซีอีโอ เพียงสองข้อ
กฎข้อ 1 อย่าทำให้เงินของผู้ถือหุ้นเสียหาย
กฎข้อ 2 อย่าลืมกฎข้อ 1

>8. เขาไม่สมาคมกับพวกไฮโซ การพักผ่อน
เมื่อกลับบ้าน คือทำข้าวโพดคั่วกินและดูโทรทัศน์

>9. บิล เกตส์ คนที่รวยที่สุดในโลก เพิ่งพบเขา
เป็นครั้งแรกเมื่อห้าปีก่อน บิล เกตส์คิดว่าตนเอง
ไม่มีอะไรเหมือนวอร์เรน บัพเฟตต์เลย จึงให้เวลา
นัดไว้เพียงครึ่งชั่วโมง แต่เมื่อบิล เกดส์ได้พบ
บัฟเฟตต์จริงๆ ปรากฏว่าคุยกันนานถึงสิบชั่วโมง
และบิล เกตส์กลายเป็นผู้มีศรัทธาในตัว
วอร์เรน บัพเฟตต์

>10. วอร์เรน บัพเฟตต์ ไม่ใช้มือถือ และไม่มี
คอมพิวเตอร์บนโต๊ะทำงาน

>11. เขาแนะนำเยาวชนคนหนุ่มสาวว่า:
จงหลีกห่างจากบัตรเครดิตและลงทุนในตัวคุณเอง


ที่สุดของชีวิต คือ มีปัจจัย ๔ อย่างเพียงพอนั่นเอง

๑. มหาเศรษฐีหรือยาจก กินข้าวแล้วก็อิ่ม 1 มื้อ เท่ากัน

๒. มหาเศรษฐีหรือยาจก มีเสื้อผ้ากี่ชุด ก็ใส่ได้ทีละชุด
เท่ากัน

๓. มหาเศรษฐีหรือยาจก มีบ้านหลังใหญ่แค่ไหน
พื้นที่ที่ใช้จริงๆ ก็เหมือนกันคือ ห้องนอน ห้องน้ำ
ห้องครัว เหมือนกัน

๔. มหาเศรษฐีหรือยาจก จะมียารักษาโรคดีแค่ไหน
ยื้อชีวิตไปได้นานเพียงไร สุดท้ายก็ต้องตาย เหมือนกัน


มองทะลุวัตถุนิยม และเห็นความหมายที่แท้จริงของชีวิต



Bill Gates and Warren Buffet

พระพุทธศาสนาเหมือนกับวิทยาศาตร์อย่างไร

ขออนุญาตเก็บตกจากข้อเขียนของ Dr. K. Sri. Dhammananda
เรื่อง, Why Buddhism? นะ.-

พระพุทธศาสนามิใช่เป็นศาสนาที่ปรับปรุงขึ้นมาโดยมีศาสนาอื่น
เป็นฐาน หรือมีความคิดแบบรวมหลายศาสนา สมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า มิได้ทรงรวบรวมคำสอน
จากศาสนาอื่น หรือจากแนวความคิดของปรัชญาสำนักต่าง ๆ ตรงข้ามพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่เหมือนใคร มีคำสอน
อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่โดดเด่น ไม่ข้องแวะกับทฤษฎีเทวนิยม ไม่มีพระเจ้าที่ลึกลับเหนือธรรมชาติคอยบงการ


โดยการตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งไม่มีศาสดาของศาสนาใด
เคยพบความจริงอันติมะ และสูตร์สำเร็จ สำหรับความหลุดพ้น
ของมนุษยชาติมาก่อน พระองค์จึงทรงชี้ให้เห็นว่า นักคิดคน
อื่นได้ค้นพบเฉพาะวิชาการแบบโลกิยะเท่านั้น และสามารถ
ปฏิบัติจนบรรลุผลของการฝึกจิตเพียงบางระดับ ไม่สามารถจะ
ปฏิบัติให้บรรลุถึงขั้นทำจิตให้บริสุทธิ์อย่าง
สมบูรณ์หลุดพ้นจากความเชื่อสิ่งลึกลับ
เหนือธรรมชาติ จากความไม่บริสุทธิ์ จากความหลอกลวง จาก
สิ่งลวงตา จากจินตนาการ อย่างเลื่อนลอย และอวิชชา เหล่านี้ได้


เราจะสามารถเข้าใจความหมายหรือวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของ
ศาสนาได้ ก็ต่อเมื่อเราได้ศึกษาทราบความจริงว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำให้ทุกคนรู้จักทาง
ดำเนินชีวิตอันประเสริฐแล้วเท่านั้น ถ้าเราจะใช้ประโยชน์จาก
คำว่า “ศาสนา” เพื่อศึกษาเกี่ยวกับคำสอนขององค์สมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะต้องทำความเข้าใจความหมาย
ของคำๆนี้ให้เหมือนกับที่
นักการศาสนาคนอื่นเข้าใจ จึงจะเข้าใจว่า
“ทำไมสังคมจึงต้องมีพระพุทธศาสนา” ทั้งๆที่โลกมีศาสนาอื่น
อยู่แล้วหลายศาสนา



ไม่สอนให้เชื่ออย่างงมงาย


สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงขจัดแนวความ
คิดที่ผิด ซึ่งประชาชนยึดถือมานานนับพันๆปี ความเชื่อที่ว่า
วิญญาณเป็น”อัตตาถาวร” ซึ่งพระเจ้าสร้างขึ้น จำเป็น
จะต้องถูกยกเลิก เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงแสดงเหตุผลที่สามารถ
พิสูจน์ได้อย่างมั่นคง ว่าทำไมความเชื่อที่เคยเชื่อกันมาว่ามี
วิญญาณที่มีตัวตนอมตะอยู่ แต่คำสอนของพระพุทธศาสนา
กล่าวว่ามันเป็นเพียงความฝัน ความเชื่อนั้นมีอยู่เพียงในใจ
เหมือนกับที่เรามองเห็นสีของสายรุ้ง
ซึ่งไม่มีตัวตนของสายรุ้งจริง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง
อธิบายว่า แนวความคิดเรื่องวิญญาณ เป็นเพียงความเข้าใจ
ที่ผิดพลาดของความรู้สึกของมนุษย์ แนวความคิดเรื่องวิญญาณนี้
เป็นเรื่องสำคัญมากในทุกศาสนา แต่มีเพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ที่ได้ทรงตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า ไม่มีเหตุผลอะไรสำหรับเราที่
จะเชื่อว่าวิญญาณมีตัวตนถาวรจริง



อีกตัวอย่างหนึ่ง ในสมัยนั้นทุกคนเชื่อว่า พระอาทิตย์พระจันทร
์หมุนรอบโลก ที่คนเชื่ออย่างนี้ เพราะเขาไม่มีความรู้ที่ถูกต้อง
เกี่ยวกับระบบสุริยจักรวาล แต่เมื่อ Copernicus (โคเปอร์นิคุส) พิสูจน์ให้เห็นว่าพระอาทิตย์ไม่ได้หมุนรอบโลก แต่โลกต่างหาก
ที่หมุนรอบดวงอาทิตย์ และต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน คนก็ตระหนัก
ความจริงข้อนี้โดยทั่วถึง


แนวความคิดที่ผิดพลาดอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับโลกก็คือ ทุกคน
เข้าใจว่าโลกแบน Galilao (กาลิเลโอ) ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าโลก
กลมไม่ใช่แบน ต่อมาประชาชนก็ยอมรับความจริงนี้โดยทั่วไป
เช่นเดียวกัน


เมื่อ Copernicus ค้นพบว่า พระอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของโลก
ประชาชนก็ต้องทิ้งความคิดเดิมที่ว่า โลกเป็นศูนย์กลางของ
จักรวาล


ความเชื่อที่นักปรัชญาสมัยโบราณ เคยเชื่อถือต่อๆกันมาจนถึง
ศตวรรษที่ 19 ว่า Atom (ปรมาณู) เป็นแก่นแท้ขั้นสุดของสะสาร
ที่ไม่สามารถจะแบ่งแยกได้อีก ก็จำเป็นต้องถูกยกเลิกไปเมื่อ
นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์สามารถแบ่งแยกปรมาณูได้


ทฤษฎี วิวัฒนาการที่ Charles Darwin (ชารลส์ ดาร์วิน) ค้นพบ
ก็พิสูจน์ให้เห็นว่า ทฤษฎีสร้างโลก ที่ว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก
และทุกสิ่งในโลก ก็เป็นทฤษฎีที่ผิด นักธรณีวิทยา (Geologists)
นักชีววิทยา (Biologists) นักสรีระวิทยา (Physiologists) ต่างก็
ให้คำอธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า ต้องใช้เวลานับล้านๆปี สำหรับ
การเกิดขึ้นของชีวิตแรก เป็นรูปร่าง หรือรูปแบบแรกของชีวิต
ในโลก การค้นพบของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆเหล่านี้ ไม่ขัดแย้งคำสอนของพระพุทธศาสนาแต่ประการใด การค้นพบในยุคใหม่เกี่ยวกับการวิวัฒนาการของชีวิตแร่ธาตุ
ชีวิตพืชและชีวิตมนุษย์และสัตว์ ล้วนสอดคล้องกับคำสอน
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงไว้กว่า 2,500 ปีมา
แล้วเช่นกัน


เมื่อเราได้ศึกษาคำอธิบายของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
เกี่ยวกับจักรวาล เราก็พบว่าพระองค์ได้ตรัสถึงความมีอยู่ของ
สิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีโชคดีและที่ประสบเคราะห์ร้าย
ไม่เฉพาะแต่ในโลกนี้ เท่านั้น แต่ยังมีอยู่ในดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ด้วย

นักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์สมัยใหม่ มีใจเปิดกว้าง
ในเรื่องนี้ และได้ยอมรับว่าเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่บน
ดาวพระเคราะห์บางดวงอย่างแน่นอน

แม้ความเชื่อที่ถือตามๆกันมาจนถึงปัจจุบัน ก็เหมือนความเชื่อ
ของคนโบราณเกี่ยวกับระบบของโลก และต้นกำเนิดของชีวิต แต่คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็สอดคล้อง
กับการค้นพบใหม่ๆ

แต่พระองค์ไม่ทรงสนับสนุนความเชื่อที่ว่า พิธีกรรมทางศาสนา
และการบูชายัญญ์ เป็นเพียงวิธีเดียวสำหรับมนุษย์
ที่จะพบความหลุดพ้น แต่พระองค์สอนการรักษาศีล การปฏิบัติสมาธิ
และการทำใจให้บริสุทธิ์ เป็นการปฏิบัติที่สำคัญในการดำเนิน
ชีวิตตามหลักศาสนาของพระองค์ที่จะนำชีวิตไปสู่ความหลุดพ้น
ในที่สุด

พระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า ผู้ปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระองค์
สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างปราศจากอันตราย (harmless)
ไม่ได้รับความตำหนิติเตียน (unblamable) เป็นที่เคารพนับถือ
(respectable) มีความโอบอ้อมอารีย์ (decent) มีชีวิตประเสริฐ
และบริสุทธิ์ (noble and pure) หากเพียงแต่ทำการสวดขอพร
อ้อนวอนขอร้อง หรือสักแต่ถวายเครื่องสักการะบูชาเพียงเท่านี้ ย่อมไม่ทำให้บุคคลนั้นดำรงชีวิตตามหลักคำสอนของพระองค์
ทั้งยังไม่ได้รับความสำเร็จสมบูรณ์ และไม่สามารถจะหลุดพ้น
จากกิเลสได้

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้ศาสนิก งดเว้นจากการ
ประพฤติชั่วที่เป็นบาปอกุศล ทั้งทางกาย วาจา และใจ เหตุผล
ที่ให้ละและให้หลีกเว้นจากความประพฤติชั่ว ก็เพื่อสวัสดิภาพ
ของเพื่อนร่วมชีวิต ไม่ใช่เพราะเหตุคือความกลัวพระเจ้า
หรือกลัวการถูกทำโทษ ในขณะเดียวกัน พระองค์ทรงแนะนำ
พวกเราให้ฝึกฝนอบรมคุณธรรม คือเมตตากรุณาต่อผู้อื่นสัตว์อื่น
ให้กระทำกรรมดี ให้ช่วยเหลือผู้อื่นโดยปราศจากการเห็นแก่ตัว


สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นพระบรมศาสดาเพียง
พระองค์เดียว ที่ทรงเชื่อในสติปัญญาความเฉลียวฉลาด
ของมนุษยชาติ พระองค์ทรงแนะนำเราท่านทั้งหลายไม่ให้ตก
เป็นทาสของสิ่งภายนอก แต่ให้พัฒนาพลังอำนาจที่ซ่อนอยู่
ภายในตัวของเราด้วยความเชื่อมั่นในตนเอง


พระองค์ยังทรงชี้ให้เห็นอีกว่า มนุษย์ทุกคนเป็นผู้รับผิดชอบ
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ความทุกข์และความสุขของพระองค์
ล้วนเป็นสิ่งที่ พระองค์เองเป็นผู้สร้างขึ้น และพระองค์ทรงเป็น
ผู้มีความสามารถกำจัดความทุกข์และธำรงค์ไว้ซึ่ง ความสงบ ความสุขและปัญญาโดยใช้ความเพียรพยายามของพระองค์
เองโดยไม่ต้องพึ่งอำนาจอิทธิภายนอก จิตของคนที่ไม่ได้รับ
การฝึกฝนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความทุกข์ยากลำบาก
ความพินาศฉิบหาย ความวุ่นวายเดือนร้อนที่เขาต้องเผชิญ
ในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันจิตของคน ที่ได้รับการฝึกฝน
และใช้ไปในทางที่เหมาะสม ที่ถูก ที่ควร ย่อมสามารถเปลี่ยน
แปลงเหตุการณ์วิกฤติ ให้เป็นโอกาส และสามารถสร้างโลกนี้
ให้เป็นโลกที่เปี่ยมไปด้วยสันติภาพ เจริญรุ่งเรือง และสันติสุข
สำหรับทุกคนที่จะอยู่อาศัย เรื่องนี้จะเกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัย
พลังจิตอันบริสุทธิ์ของปัญญาชน ผู้ได้ฝึกฝนดีแล้วเท่านั้น


ให้กล้าเผชิญความจริง


พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่สอนมนุษย์ให้รู้ความจริงที่แท้จริง
และให้ยอมรับความจริงทุกอย่างที่เกิดขึ้น ดังนั้นชาวพุทธจึง
ไม่ปฏิเสธความจริงเกี่ยวกับเรื่องของโลกที่
ค้นพบโดยนักคิดและนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง แม้ว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะมุ่งพัฒนาทางด้านจิตเป็น
หลัก แต่พระองค์ก็มิได้ละเลยที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าในทาง
โลกของมนุษยชาติด้วย ในคำสอนของพระองค์ เราจะพบว่ามีสิ่งที่เราสามารถนำไปปฏิบัติได้เป็นอย่างดีและ
เหมาะสม โดยไม่ทำให้เวลาและความพยายามอันมีค่าเสียไป
โดยเปล่าประโยชน์ พร้อมทั้งสอนให้เราปฏิบัติภารกิจอย่างชาญ
ฉลาด เพื่อความก้าวหน้าของมนุษยชาติ พระองค์ตรัสว่า
มนุษย์ควรทำหน้าที่ของตนที่มีต่อครอบครัว ต่อเครือญาติ
ต่อเพื่อนสนิทมิตรสหายต่อชุมชน ต่อประเทศชาติ และต่อโลก
โดยรวมให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

เพราะฉะนั้น ชาวพุทธทั้งมวลไม่ควรเพิกเฉยต่อหน้าที่และความ
ผูกพัน ในอันที่จะทำให้โลกใบนี้ เป็นโลกที่มีแต่ความสงบสุข
และสันติ โดยเสียสละความสุขส่วนตน ตามความสามารถ
พระพุทธองค์เองไม่ทรงแทรกแซงเรื่องราวต่างๆ ของรัฐ
ไม่ขัดขวางกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่รัฐออกมา ตามเหตุผลและเหมาะกับเหตุการณ์และกาละเทสะ พระองค์ไม่ทรงคัดค้านหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อจารีตและประเพณี
นิยมของสังคม หากเป็นสิ่งที่ไม่มีอันตรายและมีประโยชน์ต่อ
ชุมชน ในขณะเดียวกัน พระองค์ไม่เคยแสวงหาอำนาจทั้งทาง
การเมืองและการทหารเพื่อทรงแนะนำวิถีชีวิตทางศาสนาของ
พระองค์ แม้ว่าทั้งกษัตริย์ราชมนตรีทั้งหลาย ต่างก็เป็นสาวก
ของพระองค์

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนเราให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้เสียสละความสุขของเราเพื่อเห็นแก่ผู้ที่กำลังประสบความทุกข์ และเพื่อปฏิบัติรักษาศีลที่พระองค์ทรงวางไว้ ซึ่งไม่ใช่เป็นข้อบังคับที่สั่งให้เราเชื่อและปฏิบัติตามอย่างงมงาย ถ้าเราได้ปฏิบัติตามหลักคำสอนที่ดีเช่นที่พระองค์ได้สอนไว้ตาม
ความเชื่ออย่างมั่นคงของเรา ไม่เพียงแต่เราจะมีโอกาสทำตัว
ของเราให้บริสุทธิ์สมบูรณ์เท่านั้น แต่เรายังจะได้ชื่อว่าได้ช่วย
เหลือผู้อื่นให้มีชีวิตเป็นสุขอีกด้วย

การทำตนให้บริสุทธิ์เป็นจุดหมายสูงสุด ที่บุคคลต้องพยายาม
ปฏิบัติให้บรรลุถึงความหลุดพ้น ซึ่งไม่สามารถจะทำได้โดย
อาศัยอำนาจของพระเจ้า


ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เราสามารถจะเห็นผล
ของกรรมดีหรือกรรมชั่วของเราได้ในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ก็มี ความสุขแบบชาวสวรรค์หรือความสุขอันเกิดจากนิพพานก็สามารถ
จะเสวยผลได้ขณะที่เรามีชีวิตอยู่เช่นเดียวกัน ไม่จำเป็นที่จะต้องรอคอยให้เราตายก่อนจึงจะเห็นผลเหมือนที่หลาย
ศาสนาสอนไว้

ด้วยเหตุนี้เอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ทรง
ประกาศเชิญชวนให้ทุกคนจงมาดู (เอหิ ปสฺสิโก) คำสอน
(พระธรรม) ของพระองค์ แต่ไม่ใช่ให้มาเชื่อเลย และพระองค์ทรงแนะให้ทุกคนเลือกนับถือศาสนาที่ดีมีเหตุผล
ให้พิจารณาอย่างลึกซึ้ง และตรวจสอบอย่างละเอียดในทุกด้าน
ไม่ควรยอมรับนับถือศาสนาใดๆ โดยอาศัยอารมณ์ หรือศรัทธา
อย่างงมงาย นี้คือเหตุผลที่พระพุทธศาสนาสอนไว้จึงได้รับขนาน
นามว่า เป็นศาสนาที่ทนต่อการวิเคราะห์ ณ จุดนี้ เราจึงพบการวิเคราะห์ทั้งทางจิตและวัตถุตามหลักวิทยาศาสตร์
และจิตวิทยา ซึ่งนักคิดสมัยปัจจุบันรู้สึกประทับใจเป็นอย่างยิ่ง


เป็นศาสนาสากล


สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นศาสดาผู้ทรงค้นพบธรรม
ชาติที่แท้จริงแห่งสากลจักวาล และทรงสอนให้ประชาชนดำรง
ชีวิตตามกฎนี้ พระองค์ทรงกล่าวว่า ผู้ฝ่าฝืนกฎนี้ เช่นดำเนินชีวิต
ฝืนธรรมชาติ และดำรงชีพ แบบปราศจากศีลธรรม จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมที่จะเผชิญกับผลของการกระทำนั้น


เราสามารถจะเห็นบทพิสูจน์ในเรื่องนี้อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อศตวรรษที่แล้วเป็นต้นมา อาณาบริเวณอันกว้างใหญ่ไพศาลของโลกได้ถูกทำให้กลายเป็น
ที่รองรับของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม แม่น้ำหลายสายได้กลาย
เป็นแหล่งมลพิศอย่างรุนแรงขนาดที่เราไม่สามารถที่จะหยุดยั้ง
ความเสียหายที่จะเกิดจากความละโมบอยากได้สมบัติที่เป็นวัตถ
ุอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์โดยตรง อันเนื่องมาจากการขาด
ปัญญาที่จะเข้าใจ เรื่องความสมดุลย์ระหว่างมนุษย์
กับธรรมชาตินั่นเอง

เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่จะหนีเอาตัวรอดจากผลกระทบของกฎ
ธรรมชาติดังกล่าวได้ โดยเพียง ทำพิธีสวดอ้อนวอนขอพรจาก
พระเจ้า เพราะกฎธรรมชาติเป็นกฎสากล ที่ไม่มีความลำเอียง
ไม่เข้าใครออกใคร แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรง
สอนเราให้รู้วิธีที่จะหยุดยั้งผลกระทบเหล่านั้น โดยเลิกละสิ่งชั่ว
กระทำแต่สิ่งดี โดยการฝึกจิต และกำจัดความคิดที่ชั่วร้ายนั้น
ออกจากจิตใจ เมื่อมนุษย์ได้ทำการฝ่าฝืนกฎสากล หรือ
กฎธรรมชาติแล้ว ก็ไม่มีวิธีอื่นใดที่จะกำจัดผลกระทบ (ผลกรรม)
นั้นได้ นอกจากจะปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎสากล หรือกฎธรรมชาติดังกล่าวต้องหยุดความละโมบไม่รู้จักพอ แล้วเปิดโอกาสให้ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เข้ามาแทนที่

กฎของกรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทางแสดงไว้ ได้เป็นที่ยอมรับของนักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียงของโลก คือ
Carl Jung (คาร์ล จุง) ว่าเป็นเรื่องของจิตที่ทำหน้าที่เก็บสะสมกรรม
ทั้งดีทั้งชั่ว (collective Consciousness) ที่กล่าวมานี้หา
ใช่สิ่งใดอื่นไม่ นอกจากการฝากสะสม เมล็ดของกรรมไว้
ในพลังงานของจิต (mental energy) ตราบใดที่จิตที่ทำหน้าที่
สะสมกรรมและความปรารถนาที่จะมีชีวิต ยังคงมีอยู่ในจิต
อย่างที่นักจิตวิทยาได้กล่าวมาแล้ว การเกิดใหม่ ก็จะมีขึ้น
ไม่ว่าใครจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ความจริงย่อมเป็นความจริงธาตุ
ขันธ์ฝ่ายรูปอาจแตกสลายหรือดับศูนย์ไป แต่พลังงานของจิต
(วิญญาณ) ที่มี “ความอยากเกิด” ผสมอยู่ก็จะถูกส่งผ่านไปกับ
วิญญาณ (พลังจิต) สู่การปฏิสนธิ (ปฏิสนธิวิญญาณ) ชีวิตใหม่
อันมีผลกรรมที่สะสมไว้ในจิตก็จะเกิดขึ้น


กฎการดึงดูดของโลก (Law of Gravitation) และกฎการสะสม
พลังงาน (Law of conservation of energy) ที่นักวิทยาศาสตร
์สมัยใหม่ อย่างเช่น New ton ได้ค้นพบ ก็มาสนับสนุนคำสอน
เรื่องกฎแห่งกรรม (Doctrine of Karma) ที่องค์สมเด็จพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงสอนไว้กว่า 2,500 ปีมาแล้ว


ตามคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
มนุษย์สามารถจะกลายเป็นแม้เทวดาก็ได้ หากเขาผู้นั้นดำเนิน
ชีวิตอย่างบริสุทธิ์สะอาด และมีธรรมะที่ทำให้เขาเป็นเทวดา
ประจำใจ- คือมีหิริ ความละอายต่อบาป และมีโตตับปะ ความเกรงกลัวต่อบาป-ไม่ว่าผู้นั้นจะมีความเชื่อทางศาสนา
หรือไม่ก็ตาม เขาก็ถือ ว่าเป็นเทวดา เพราะปฏิบัติเทวธรรม
แด่ศาสนาอื่น ทำได้เพียงแต่สอนให้คนสวดขอพรจากเทวดา
(พระเจ้า) และยังสอนอีกว่าหลังถวายแล้วเท่านั้นที่มนุษย์จะ
ไปสวรรค์ไปเป็นเทวดาได้ ทั้งยังสอนว่า ความสุขหรือการ
เสวยผลบนสวรรค์นั้น ไม่ได้หมายความว่ามนุษย์จะได้อภิสิทธิ์
ในการที่จะเป็นเทวดา ถืออย่างไรก็ตามคำสอนของพระพุทธ
ศาสนาเกี่ยวกับเทวดาก็ต่างจากศาสนาอื่นๆ

ไม่มีผู้ประกาศศาสนาคนใดที่กล่าวว่าวันหนึ่ง สาวกของศาสนา
นั้นจะมีโอกาสได้เสวยสถานะอย่างเดียวกัน มีความสุขอย่างเดียวกัน และมีการหลุดพ้นอย่างเดียวกันกับผู้ก่อตั้งศาสนานั้นๆ
แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ทุกคนสามารถ
เป็นพระพุทธได้ ถ้าได้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด ซึ่งเป็นทาง
สู่ความตรัสรู้ และเป็นทางเดียวกันกับที่พระองค์ได้ดำเนินมาแล้ว จนสำเร็จได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบเอง


ธรรมชาติของใจ
การเปลี่ยนแปลงเร็วของใจ และธาตุที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกาย
ได้มีการอธิบายไว้ในพระพุทธศาสนาอย่างละเอียด คม ชัด ลึก
โดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาผู้ประกาศ
ก่อตั้งพระพุทธศาสนาเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว ตามคำสอนของ
พระองค์ ๆ ไดทรงอธิบายว่า ทุกๆ เสี้ยวของเสี้ยวของเสี้ยววินาที
ใจจะและเปลี่ยนไปมา จิตวิทยาก็ดี สรีวิทยาก็ดี และจิตวิทยาก็ดีล้วนสอนธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงในชีวิต
อย่างเดียวกัน ดังนั้นชีวิตนี้จึงไม่ใช่เป็นของเที่ยงแท้ยั่งยืน

นักจิตวิทยา ศาสตราจารย์ William James (วิลเลี่ยม เจมส์)
ได้อธิบาย “ขณะของจิต” เอาไว้ โดยกล่าวว่า จิตผุดขึ้นแล้วดับ
ไปในลักษณะสืบต่อกันอย่างเร็วมาก


ตามธรรมชาติที่เป็นสาเหตุให้กระบวนการของจิตเกิดดับติดต่อ
กันเป็นลูกโซ่ คือ เกิดดับ-เกิดดับต่อกันไปไม่มีที่สุด

ต่อคำถามที่ว่า ความคิดชั่ว (อกุศลจิต) ผุดขึ้นในใจมนุษย์ครั้ง
แรกได้อย่างไร คำตอบจะพบได้ในคำสอนของพระพุทธ
ศาสนานี้เอง ที่หามีพบไม่ สาเหตุของอกุศลจิตเกิดจากแรง
จูงใจที่เห็นแก่ตัวของมนุษย์ที่มีขึ้นเพราะตัณหาอยากมีมีอยาก
เป็นและฝังตัวอยู่ในความเชื่อของเขาว่ามีตัวตนถาวรอยู่ในตัวเขา
ซึ่งมีความอยากความใคร่ ในความพอใจ ในอารมณ์ต่างๆ
อย่างต่อเนื่อง

เมื่อเราศึกษาชีวิต และคำสอนของพระองค์สมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า เราจะเห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เปิดกว้างให้ทุกคนศึกษา
ไม่มีคำสอนใดที่เป็นความลับสำหรับใครๆ


เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างที่พระองค์ทรงมีพระชนมชีพอยู่
ก็เป็นเหตุการณ์ที่โปร่งใส และไม่เหตุการณ์ใดที่ ถูกปิดบัง
และเป็นสิ่งลึกลับ ในสายพระเนตร์ของสมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า ที่เรียกว่า อำนาจเหนือธรรมชาติต่างๆ
ในสายตาของประชาชนทั่วไป กลับไม่ใช่อำนาจเหนือสายตา
ของพระพุทธองค์หากเป็นเพียงปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติที่
คนธรรมดาไม่สามารถเข้าใจ ในขณะที่ความรู้ความเข้าใจของ
มนุษย์เกี่ยวกับเอกภพมีมากขึ้น ความเชื่อของมนุษย์ในเรื่อง
อำนาจลึกลับเหนือธรรมชาติก็ลดลง “ฟ้าร้อง และ ฟ้าผ่า”
ในสายตาของคนโบราณเป็นการแสดง ความเกริ้ยงกราด
ของพระเจ้าผู้ทรงพิโรธ ปัจจุบันเรารู้ว่า เป็นเพียงการประทะ
กันของสายไฟในอากาศ


ถ้าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีองค์ประกอบถูกส่วนและต้องตก
อยู่ภายใต้้กฎแห่งการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติเมื่อเกิดมาแล้ว
ต้องแก่เก่า เน่าเปื่อย ผุพัง และแตกสลาย หรือตายไปในที่สุดแล้ว
เราจะกล่าวสิ่งเหล่านั้นเป็นไปตามอำนาจ
ของสิ่งลึกลับ เหนือธรรมชาติ บงการอยู่เบื้องหลังได้อย่างไร

แม้องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ก็ทรงเกิดมา
ทรงตรัส แล้วทรงปรินิพพาน (สิ้นพระชนม์) ไปอย่างเปิดเผยตาม
กฎของการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ไม่มีสิ่งใดมาบงการ
อยู่เบื้องหลังให้พระองค์เป็นอย่างนั้น พระองค์ทรงดำเนินชีวิต
เช่นเดียวกับครูสอนศาสนาธรรมดาองค์หนึ่ง และในฐานะเป็น
มนุษย์จริงๆ คนหนึ่ง


สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงชี้ให้เห็นกระบวนการ
ของวิวัฒน์การจากชีวิตสัตว์ มาสู่ความเป็นมนุษย์ และจากความ
เป็นมนุษย์ไปสู่ความเป็นเทวดา ชีวิตของเทวดาก็ดำเนินต่อไปจน
ขึ้นสูงขึ้นสู่ความเป็นพรหม และจากชีวิตของพรหมเข้าสู่ชีวิตสมบูรณ์
และพระองค์ได้ทรงชิงให้เห็นอีกว่า บุคคลสามารถดำเนินจาก
ชีวิตที่บริสุทธิ์ประเสริฐไปสู่ชีวิตแบบหลายพรหมจรรย์อันสมบูรณ์
และในทางกลับ พระองค์ชี้ให้เห็นว่าจากชีวิตมนุษย์อาจกลับไป
สู่ชีวิตของสัตว์เดียรัฉานก็ได้

ทางสายกลางของชีวิต

สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำประชาชนให้
เดินทางสายกลางในทุกกรณีของการดำเนินชีวิต แต่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจความหมายและประโยชน์ที่แท้จริง
ของทางสายกลาง ความหมายที่ลึกซึ่งของทางสายกลางนี้มิใช่
หมายถึงการดำเนินชีวิตแบบยึดธรรมะเป็นหลัก เพียงอย่างเดียว ไม่ใช่เพียงแต่หลีกเลี่ยงการดำเนินชีวิตแบบสุดโต่ง 2 ทาง และ
ดำเนินตามทางสายเท่านั้น แต่หมายถึงการเรียนรู้วิธีที่จะใช้อายตนะ
หรือ ประสาทรับรู้ต่าง ๆ โดยไม่ใช่มันไปในทางที่ผิด ความหมายของ
การใช้ประสาทรับรู้เหล่านี้ก็คือ เพื่อปกป้องชีวิตของเรา
เพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย และเพื่อค้นหาวิถีชีวิตของเรา

นับเป็นเรื่องโชคร้าย ที่คนเป็นอันมากใช้ชีวิตของเขาไปตามความ
พอใจของประสาทสัมผัส (ตา หู จมูก สิ้น กายใจ) เหล่าเพียงเพื่อ
สนอง ตัณหาหรือความอยากของเขา ในที่สุดความทะยานอยาก
ของเขารุนแรงขึ้น แต่พวกเขาไม่เคยพอในสิ่งที่เขาต้องการและ
อยากได้อยากมี ความประพฤตินอกลู่นอกทาง อย่างไร้ศีลธรรม
การกระทำอย่างดุร้ายเหี้ยมโหด การถูกรบกวนทางใจ จนกลาย
เป็นโรคประสาท การแข่งชิงดี ชิงเด่นที่เป็นการทำลายสุขภาพ ความเครียดและความกระสับกระส่ายอยู่ไม่เป็นสุข ซึ่งเป็นเหต
ุการณ์ประจำวันในสังคมยุคใหม่นี้ ก็เนื่องมาจากใจที่รู้จักพอซึ่ง
เป็นเหหตุให้ใช้ประสาทสัมผัสในทางที่ผิด และแล้วพลังทาง
สัญชาตญาณของประสาทสัมผัสเหล่านี้ก็เริ่ม
ค่อยๆ เสื่อม และโรคภัยไข้เจ็บนับชนิดไม่ถ้อยก็ค่อยๆปรากฏ
ในอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์ นี่ก็คือวิธีที่คนเราต้องชดใช้ด้วย
ราคาที่สูง โทษที่ไม่รู้จักใช้และใช้ประสาททั้งห้าอย่างผิดๆ
หรือใช้เกินขอบเขตหน้าที่ของมัน ถ้ามีการยึดติดยู่ในความสุข
อันเกิดทางประสาทสัมผัสเหล่านี้มาก
เกินไปในโลกนี้ และเราไม่มีเวลาที่จะหล่อหลอมฝึกหัดอบรมอินทรีย์
(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ให้พร้อมเพื่อชีวิตในอนาคตหรือในโลกหน้า
ชีวิตของเราก็จะประสบแต่ความทุกข์ เดือดร้อนไม่มีที่สิ้นสุด

พระพุทธองค์ทรงสอนว่า การทำอันตรายหรือทำลายชีวิตสัตว์ไม่ว่า
ชนิดใด แม้จะตัวเล็กเท่าไร ก็ถือว่าเป็นความโหดร้ายและไม่ยุติธรรม
ต่อสัตว์มีชีวิตเหล่านั้น แต่ท่าที่อ่อนโยนนี้ ศาสดาในศาสนาอื่นละเลยที่จะคำนึงถึงคงสอนเพียงว่าเป็นความผิด
เฉพาะกรณีที่ทำอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ การทำลายชีวิตของสัตว์อื่น
ไม่ใช่ทางที่จะพันจากความรำคาญที่สัตว์เหล่านั้นก็ขึ้น

จุดประสงค์ทางพระพุทธศาสนา ก็เพื่อปลุกมนุษยชาติให้ตื่นทำความ
เพียรเพื่อบรรลุถึงความสุขสูงสุด โดยต้องเข้าใจชีวิตและธรรมชาต
ิอย่างแจ่มแจ้ง จุดประสงค์ดังกล่าวนี้มิใช่เพื่อสร้างจินตนาการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพื่อความพอหมกมุ่นอยู่ในตัณหา
ความยากแบบโลกๆ


พระพุทธศาสนาให้ภาพของชีวิตทั้ง 2 ด้านอย่างชัดเจน คือธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิตและเหตุให้เกิดทุกข์พร้อมทั้งเหตุ
แห่งความสุข แต่ทฤษฎีทางการแพทย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยังไม่สามารถจะค้นพบวิธีบำบัดรักษาโลก ความเจ็บปวดทางใจ ความอึดอัดขัดข้องใจและความไม่พึงพอใจในชีวิตของมนุษย์

ให้เข้าใจปัญญา

จากทัศนะของพระพุทธศาสนา ปัญญาต้องตั้งอยู่บนฐานของ
สัมมาทิฐิ-ความเห็นชอบ (Right understanding) และ
สัมมาสังกัปปะ-ความดำริห์ชอบ (Right thought) รวมถึงความรู้
ประจักษ์กฎธรรมชาติหรือกฎสากล และปัญญาหยังรู้ที่พัฒนาแล้ว
เพื่อไม่เพียงแต่จะเห็นความจริงเท่านั้น แต่เพื่อให้ได้รู้ชัดถึงทาง
แห่งความหลุดพ้นจากความไม่พอใจใน
ชีวิตอย่างสมบูรณ์แบบอีกด้วย

เพราะฉะนั้น ปัญญาที่แท้จริงไม่สามารถหาได้ในสถาบันทางวิชาการ หรือในห้องทดลองของการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ หรือในสถานที่บูชาที่ประชาชนมักจะไปเพื่อสวดอ้อนวอน หรือเพื่อ
ประกอบพิธีกรรมบางอย่าง ปัญญาจริงๆ แล้วอยู่ภายในจิตใจ เมื่อมี
ประสบการณ์ มีความเข้าใจ มีความรู้ความประจักษ์ มีการทำใจให้
บริสุทธิ์ บริบูรณ์เติมที่แล้ว เราก็สามารถจะเห็นปัญญา ที่ประกอบ
ด้วยความบริบูรณ์สูงสุดนี้ได้อย่างแจ่มชัด จุดมุ่งหมายของชีวิตก็
คือการบรรลุถึงปัญญาดังกล่าวนี้ แทนที่เราจะแสวงหาสิ่งที่มีอยู่ใน
อวกาศภายนอก มนุษยชาติต้องทำความเพียรพยายามเพื่อให้พบ
ธรรมชาติของสิ่งที่มีอยู่ในภายในใจเพื่อบรรลุถึงจุดหมายสุดท้าย
ของมนุษย์เอง

บุคคลสามารถกำจัดกิเลสอันเป็นพลังธรรมชาติฝ่ายโลกิยะที่เขา
ไม่ชอบ โดยการฝึกอบรมจิต ทำใจให้บริสุทธิ์สะอาดปราศจาก
มลทินเพื่อบรรลุโลกุตตรธรรมอันเป็นที่ที่พลังกิเลสไม่มีอำนาจ
ที่จะทำหน้าที่ได้อีกต่อไป

นักปรัชญาคนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ศาสนาที่เรียกในภาษาอังกฤษ
ว่า Religion จะปฏิเสธทุกอย่างที่มนุษย์ได้เคยมีประสบการณ์มา
ถ้าเป็นเช่นนั้น พระพุทธศาสนาก็ไม่นับว่า เป็นศาสนาแบบนั้น
เพราะสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสอน
ทุกสิ่งทุกอย่างแก่พวกเราโดยอาศัยประสบการณ์ของพระองค์
ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษยชาติ

นักปรัชญา นักคิด และนักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงหลายต่อหลายคน
ใช้เฉพาะความรู้ทางโลกของเขา ใช้พลังความคิดและปัญญาเพื่อ
ค้นหาความจริงของสิ่งทังหลายแล้วก็ได้แสดงความเห็นของเขา
ไว้ตามที่ได้ค้นพบแม้จะใช้ความร้อนอันเกิดจากปัญญาก็จริง
แต่ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของ
ประสบการณ์ต่าง ๆ ถ้าปราศจากการทำใจให้บริสุทธิ์ เมื่อเรา
ได้ศึกษาข้อความต่างๆ ที่นักปราชญ์บางคนเขียนไว้ เราก็สามารถ
พบความจริงในสิ่งที่เขากล่าวไว้ แต่คำกล่าวเหล่านั้นส่วนใหญ่ก็ยัง
คงเป็นเหมือนปรัชญาที่ไม่มีชีวิตชีวา (Dry philosophy) เพราะปักปราชญ์เหล่านั้นใช้เฉพาะสมองของเขาอันเต็มไปด้วยมายา
และยึดอัตตาตนเอง เป็นหลัก แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้
ทั้งสมอง และหัวใจของพระองค์ เป็นเสมือนเชาว์ปัญญา หรือปัญญาหยั่งรู้ของมนุษย์ที่ได้ถูกกลั่นกรองมาแล้วควรรมกับเตตา
จิตและปัญญาที่จะเข้าใจสิ่งทั้งหลายในสภาพที่มันเป็นจริงอย่าง
สมบูรณ์และเหมาะสมเพราะฉะนั้นคำสอนของพระองค์ จึงไม่ใช่เป็น
เพียงปรัชญาหรือทฤษฎีที่เหี่ยวแห้ง แต่เป็นวิธีอย่างหนึ่งที่สามารถนำ
ไปปฏิบัติ เพื่อแก้ปัญหาของมวลมนุษย์ได้

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาเดียวที่มอบให้ไว้แก่มนุษยชาติโดยอาศัย
ประสบการณ์ โดยอาศัยการประจักษ์ความจริง โดยใช้ปัญญาและ
การตรัสรู้ของพระองค์ผู้สถาปนา มิใช่เป็นศาสนาที่ให้ไว้ในฐานะ
เป็นศาส์นจากพระผู้เป็นเจ้า มนุษย์ต้องสามารถเข้าใจปัญหาของ
มนุษย์ได้โดยอาศัยประสบการณ
์ที่ผ่านมาของมนุษย์เองเป็นแนวทาง โดยการอบรมพัฒนาคุมงาน
ความที่มีเมตตาธรรม ศาสดาของประชาชน จะต้องแสวงทางแก้ปัญหาของมนุษย์โดยการสอนให้เขาทำใจให้
บริสุทธิ์และทำแต่ความดี นี้คือเหตุผลที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงแนะนำ
พระองค์เองว่าเป็นผู้ช่วยชีวิตที่อยู่เหนือธรรมชาติ
พระองค์ไม่ยอมรับรู้ว่า มีผู้ช่วยชีวิตให้อยู่รอดเช่นนั้นในโลกนี้
ตามทัศนะของพระองค์
เราทุกคนเท่านั้นที่สามารถช่วยชีวิต
ของเราเองให้อยู่รอดปลอดภัยในโลกนี้

ไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของโลก
นักวิทยาศาสตร์นักคิดผู้ยิ่งใหญ่และนักปรัชญาหลายสำนักได้มี
ท่าทีที่เป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนา โดยกล่าว่าศาสนากีดกันความ
ก้าวหน้าของมนุษยชาติ ศาสนาทำให้ประชาชนเดินทางผิดที่
แนะนำความเชื่อและข้อปฏิบัติที่น่าขบขัน ที่อยู่เหนือฟ้าป่าหิมพานต์ และพยายามทำให้ประชาชนเหินห่างจากความจริงที่นักวิทยาศาสตร์
ค้นพบ จริงๆ แล้ว คาร์ล มาร์กซ์ (karl Marx) กล่าวว่า
“ศาสนาคือยาฝิ่นของประชาชน” (Religion is the opium
of the people) แต่เมื่อเราได้สืบให้รู้แน่ว่า “ศาสนา”
ในความหมายของเขาคืออะไร เราก็เห็นได้ชัดเจน ว่า พระพุทธศาสนา
ไม่ใช่ศาสนาในกลุ่มที่เขาหมายถึง เพราะฉะนั้น ถ้าปัญญาชนเหล่านั้น
ประสบผลสำเร็จในการปฏิเสธศาสนา ก็ไม่ถือว่าเขาได้ทิ้งพระพุทธ
ศาสนาว่าเป็นศาสนาที่ผิดไปด้วย เพราะว่าสมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าได้ทรงประกาศ “ความจริงที่แท้จริง” หรือ
“ความจริงสมบูรณ์” (Absolute Truths) ถ้ามีความจริงอยู่ในเรื่องใด
เรื่องนั้นก็เป็นความจริงอยู่ตลอดไป ถ้าความจริงใดเปลี่ยนแปลงไป
เพราะเงื่อนไข ความจริงนั้นมิใช่ความจริงสมบูรณ์ นี้คือเหตุผลที่ว่าทำไมความจริงที่เปิดเผยโดยพระพุทธเจ้าจึงเป็น
ความจริงอันประเสริฐ (the Noble Truth ) ความจริงนั้นนำบุคคล
ไปสู่ความเป็น “คนประเสริฐ” เพราะฉะนั้นจึงมี “อริยมรรค” คือทางประเสริฐที่ถ้าต้องตามทำนองคลองธรรมยังคงดำรงอยู่ ซึ่งเป็นทางที่แข็งแรงมั่นคงพอที่จะเผชิญกับความท้าทายทางสติ
ปัญญาและการพิสูจน์ของวิทยาศาสตร์ ในแง่นี้คำสอนพระสมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีการสั่นคลอน แน่นอนที่เดียว ปัญญาชนทั้งหลายยอมให้ความเคารพนับถืออย่างเหมาะสมต่อ
วิถีชีวิตแบบนี้ ต่อเนื่องไปสู่ความทะเยอทะยานสู่ชีวิตอันประเสริฐ ศักดิ์สิทธิ์และสมบูรณ์ซึ่งเป็นชีวิตที่เปี่ยมด้วยสันติ และความสุข ไม่ว่าจะมีเครื่องหมายบอกว่าท่านนับถือศาสนาใดหรือไม่ก็ตาม

ศาสนาเสรี

เสรีภาพที่สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชอบใจมาก
ก็คือ เป็นศาสนาที่วิภาควิจารณ์ได้ จริงๆ แล้วพุทธศาสนิกชน
จำนวนมากยังไม่ตระหนักถึงความจริงข้อนี้ เรามีเสรีภาพสมบูรณ์
ในการที่จะพิจารณาตัดสินว่าจะยอมรับหรือ
ปฏิเสธคำสอนข้อใดๆ เราไม่มีข้อผูกมัดว่าจะต้องยอมรับคำสอนใดๆ
ในฐานเป็นคำสอนทางศาสนาของเรา หรือเพียงโดยการคิดถึงความ
ยิ่งใหญ่ของพระบรมศาสดา หรือโดยการคิดว่า เป็นหน้าที่ของเราที่จะ
ต้องยอมรับ เพียงเพราะว่า คำสอนเหล่านั้นปรากฏอยู่ในคำภีร์อัน
ศักดิ์สิทธิ์ของเรา ชาวพุทธมีอิสระที่จะตรวจสอบ และยอมรับเฉพาะเรื่องที่เข้ากันได้กับคำสาปเชื่ออันมั่นคงของเรา
ชาวพุทธจะไม่ยอมปรับหรือปฏิเสธสิ่งใดๆ โดยปราศจากเหตุผลที่
ได้พิจารณารอบคอบแล้ว ชาวพุทธไม่เคยกล่าวว่าเราถูกห้ามไม่ให้
ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ ชาวพุทธจะกล่าวว่า เราไม่อยากทำบางสิ่งบางอย่าง เพราะเมื่อทำแล้วจะก่อให้เกิดความทุกข์และเดือดร้อน หรือเกิด
ความเจ็บปวด หรือเกิดความกระทบกระเทือนใจ ในระหว่างมวลชน
ชาวพุทธจะทำแต่ความดี มิใช่เพราะว่าพระพุทธศาสนาขอให้ทำ
อย่างนั้น แต่เพราะว่าชาวพุทธตระหนักถึงคุณค่า และความหมาย
ของการปฏิบัติดี เช่นนั้นเพื่อความสงบสุขของผู้อื่น นี้คือศาสนา
แห่งเสรีภาพที่ไม่จำกัด เรื่องสอนบุคคลของมนุษย์ ถ้าเรื่องนั้น
ไม่ผิดศีลธรรม หรือมีภัยอันตรายชาวพุทธมีเสรีภาพเต็มที่จะจัด
การธุรกิจของครอบครัวโดยไม่ขัดกับหลักที่สำคัญของศาสนา พระพุทธศาสนาเปรียบเหมือนแร่ทองคำสำหรับปัญญาชนที่จะ
ทำการค้นคว้าทดลอง และค้นให้พบแง่คิดที่ลึกซึ่งลงไปในด้าน
จิตวิทยาปรัชญา วิทยาศาสตร์ และกฎแห่งจักวาล เพื่อการพัฒนา
ทางจิตวิญญาณ และเพื่ออิสระภาพของมนุษยชาติจาก โลภะ
โทสะ โมหะและจากความทุกข์เดือดร้อนกระวนกระวายอย่างไม่มีที่
สิ้นสุดนี้คือเหตุผลที่ว่าทำไมชาวพุทธจึงสามารถทำให้ประชาชน
ในแทบจะทุกประเทศของเอเซียได้ ในคำสอนของพระพุทธเจ้า
มากกว่า 2500 ปีมาแล้ว ตลอดเวลาดังกล่าว ประชาชนได้เชื้อเชิญและต้อนรับคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าในฐานะเป็นศาส์นแห่งสันติภาพหรือในฐานะเป็นศาส์น
สนิถวไมตรี อีกประการหนึ่ง เป็นเหตุผลว่าทำไมชาวพุทธจึงสามารถ
เผยแผ่ศาสนาพุทธได้โดยไม่ประสบความยุ่งยาก

สาเหตุแห่งปัญหาของเรา
ประเด็นที่สำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนาก็คือ บ่อเกิดแห่งปัญหาและความทุกข์ของมนุษยตามคำสอนขององค์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ตรัสว่า เราทุกคนที่เกิดมาใน
โลก ล้วนต้องประสบปัญหาและความทุกข์ เพราะตัณหาของเราเอง
ซึ่งมีอยู่ในจิตใจของเรา พระองค์ทรงเปิดเผยว่า มีตัณหาอยู่สาม
อย่างในตัวเรา ซึ่งเป็นต้นเหตุในมี “เรา” หรือ “ทำให้เราเกิด”
แล้วก็ต้องประสบกับปัญหาร้อยแปดพันเก้า รวมทั้งความทุกข์
โศกเศร้านานาประการ ตัณหาสามอย่างนั่น คือ
กามตัณหา (craving for worldly , sensual indulgence)
ภวตัณหา (craving for existence) และ
วิภวตัณหา (craving for non - existence) เพื่อที่จะเข้าใจความ
หมายที่แท้จริงของเรื่องนี้ เราจำเป็นที่จะต้องใช้ความหมาที่แท้จริง
ของเรื่องนี้ เราจำเป็นที่จะต้องใช้ความคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ
หรือใช้ “โยนิโสมนสิการ” อันประกอบด้วยปัญญา จนกว่าจะเกิด
ความรู้ประจักษ์แจ้งแก่ใจของเรา

นักปรัชญา และนักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียงของโลกก็ได้อธิบายความหมาย
ของตัณหาสามอย่างนี้ในภาษาที่ต่างกันว่า เป็นต้นเหตุแห่งความมีอยู่
อาร์เธอร์ โชเปนอาวเออร์ (Arthur Schophenhour)
อธิบายตัณหาสามนี้ว่า
กามตัณหา หมายถึงความใคร่ทางเพศ (+uality)
ภวตัณหา หมายถึง การรักษาตนเองให้อยู่รอด (self-preservation) และวิภวตัณหาหมายถึงการกระทำอัตตวินิบาตกรรมหรือ
การฆ่าตัวตาย (suicide) ส่วนนักจิตวิทยาอย่างเช่น
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmond Freud) อธิบายว่า
กามตัณหา คือ ความใคร่ (Libido)
ภวตัณหา คือ สัญชาตญาณการมีตัวตน (ego instinct)
และวิภวตัณหา คือสัญชาตญาณ การตาย (death instinct)
แต่นักจิตวิทยาอีกท่านหนึ่งคือ คาร์ล จุง (Carl Jung) กล่าวว่า
“จากแหล่งของสัญชาตญาณ เป็นที่เกิดของทุกสิ่ง ที่เป็นสิ่งสร้างสรรค์”
ที่นี้เราก็เห็นแล้ว่าบันดานักปราชญ์ทางจิตวิทยาผู้ยิ่งใหญ่หลายท่านได้
พยายามที่จะอธิบายสนับสนุนหลักความจริงอันเป็นธรรมดาของ
จิตมนุษย์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้เมื่อกว่า
2500 ปี มาแล้วถึงอย่างไรก็ตาม เมื่อเราได้ตรวจสอบดูคำอธิบาย
ที่นำมากล่าวไว้ข้างบนนี้ ทำให้เราเข้าใจได้ว่าองค์สมเด็จ
พระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ก้าวไปไกลเกินกว่า
ความสามารถในการเข้าใจ “ความจริง” ในเรื่องเดียวกันของบันดา
นักคิดผู้ยิ่งใหญ่คนอื่นๆในโลก

ศาสนาในยุควิทยาศาสตร์

ปัจจุบันเรากำลังมีชีวิตอยู่ในยุควิทยาศาสตร์ เป็นยุคที่ชีวิตเกือบจะ
ทุกด้านได้รับผลกระทบจากวิทยาศาสตร์ นับตั้งแต่การปฏิวัติทาง
วิทยาศาสตร์ ในระหว่างศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา วิทยาศาสตร์ได้มีอิทธิพลต่อความคิดและการกระทำของมนุษย์อย่าง
มากมายและต่อเนื่อง


ผลกระทบทางวิทยาศาสตร์ได้ทวีมากขึ้นโดยเฉพาะเกี่ยวกับความเชื่อ
ทางศาสนาที่เคยเชื่อตาม ๆกันมา แนวความคิดพื้นฐานของหลาย
ศาสนาได้พังครืนลงเพราะแรงกระแทก
ของวิทยาศาสตร์ยุคใหม่โดยไม่เป็นท
ี่ยอมรับของปัญญาชนและผู้
คงแก่เรียนอีกต่อไปและก็เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกันที่จะยืนยันว่าสิ่งใด
จริงหรือไม่จริงโดยอาศัยการเก็งความจริงตามทฤษฎีเทววิทยา
หรือโดยการอ้างคัมภีร์อย่างเดียว ไม่พิจารณาตามหลักวิทยาศาสตร์
ตัวอย่าง การค้นพบของนักจิตวิทยาสมัยใหม่ ระบุว่าจิตใจของมนุษย์
ก็เป็นเช่นเดียวกันกับร่างกาย คือทำงานไปตามธรรมชาติและตาม
เหตุปัจจัย โดยไม่มีวิญญาณอมตะที่มีตัวตนถาวรไม่มีการเปลี่ยน
แปลงครอบครองอยู่ อย่างที่บางศาสนาสอน


นักสอนศาสนาของบางศาสนาเลือกที่จะไม่เชื่อเรื่องการค้นพบทาง
วิทยาศาสตร์ ซึ่งขัดแย้งกับคำสอนของศาสนาของเขา การทำใจ
แข็งไม่ยอมเชื่ออะไรนอกจากคัมภีร์นี้ เป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้า
ของมนุษย์ชาติอย่างแท้จริง แต่คนสมัยใหม่ปฏิเสธที่จะไม่เชื่ออะไร
โดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณา แม้สิ่งนั้นจะได้รับการยอมรับเชื่อถือมา
แต่เดิมก็ตาม จึงทำให้นักศาสนาเหล่านั้นประสบผลในด้านเพิ่มจำนวน
ของผู้ที่ไม่เชื่อคำสอน ของเขามากขึ้น


อีกประการหนึ่ง นักศาสนาบางศาสนาเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะปรับเปลี่ยนคำสอนทางศาสนาของตนเสียใหม่
ให้เหมาะสมกับทฤษฎีวิทยาศาสตร์ ที่มหาชนยอมรับกันอย่างแพร่หลาย
เช่นในประเด็นที่ชาร์ล ดาร์วิน (Charles Darwin)
ค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการ (Theory of Evolution) เป็นตัวอย่าง
นักการศาสนาจำพวกนั้นยังคงยึดหลักที่ว่า มนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาโดย
พระเจ้าโดยตรง ซึ่งตรงกันข้ามกับดาร์วิน ที่อ้างว่ามนุษย์ได้วิวัฒนาการ
มาจากลิง Ape ซึ่งเป็นทฤษฎีที่คว่ำคำสอนเรื่องพระเจ้าผู้สร้าง
(Doctrine of Devine Creation) และความหายนะของมนุษย์ชาติ
(the fall of man) เนื่องจากบรรดานักคิดค้นที่รู้แจ้งความจริงทั้งหลาย
ล้วนยอมรับทฤษฎีของดาร์วิน จึงทำให้นักเทวนิยมปัจจุบันแทบจะไม่
มีทางเลือกนอกจากจะแปลงคำสอนของตนเสียใหม่ เพื่อให้เหมาะกับ
ทฤษฎีที่พวกเขาได้คัดค้านมานาน


มองในแง่ของการค้นพบทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้า
ใจได้โดยไม่ยากว่า ทัศนะเกี่ยวกับเอกภพและชีวิต ที่ศาสนาต่าง ๆ
ยึดถืออยู่ เป็นเพียงความคิดเห็นที่เชื่อตามกันมาแต่โบราณ ซึ่งโดย
ทั่วไปถือว่า ศาสนาต่างๆ ได้มีคุณูปการต่อความเจริญก้าวหน้าของ
มนุษยชาติ เพราะศาสนาได้เป็นผู้วางค่านิยมและมาตรฐานต่าง ๆ รวมทั้งได้สร้างรูปแบบหลักเกณฑ์สำหรับประพฤติปฏิบัติ เพื่อเป็น
แนวทางการดำเนินชีวิตของมนุษย์ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่ศาสนาได้
ทำมา ศาสนาก็ไม่อาจดำรงคำสอนให้อยู่ตลอดไปได้ เมื่อยุคสมัย
เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะเมื่อมาถึงยุควิทยาศาสตร์ ถ้าสาวกของศาสนายังยืนกรานที่จะรักษารูปแบบดั้งเดิม
และยึดคำสอนที่สอนให้เชื่อตามอย่างเดียว ยังยืนหยัดที่จะส่ง
เสริมพิธีกรรมและข้อปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งก็ค่อย ๆ หมดความหมาย
และลดจำนวนผู้เชื่อถือไปตามยุคสมัย


สำหรับพระพุทธศาสนาซึ่งอุบัติขึ้นเมื่อ 543 ปี ก่อนคริสต์ศักราชและได้แพร่หลายอยู่ในหลายประเทศในแถบเอเชีย
ก่อนที่วิทยาศาสตร์ยุคใหม่จะเกิดขึ้น ตั้งแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัม
พุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นต้นมา พระองค์ไม่เคยปิดกั้น แต่ได้เปิดโอกาสให้แนวความคิดทางวิทยาศาสตร์เข้ามาพิสูจน์คำสอน
ของพระองค์ได้เสมอตลอดมา


เหตุผลประการแรกที่คำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอด
คล้องเข้ากันได้กับแนวความคิดของวิทยาศาสตร์ก็คือว่า พระองค์
ไม่ส่งเสริมความเชื่อแบบตายตัว ที่สอนให้ปฏิบัติตามอย่างเดียว พระองค์ไม่ทรงจำกัดสิทธิในการที่จะเชื่อคำสอนของพระองค์
ว่าจะต้องมีศรัทธา (faith) มาก่อนที่จะมีความเชื่อ (belief) หรืออ้างว่าคำสอนของพระองค์เป็นคำสอนที่พระเจ้านำมาเปิดเผย แต่พระองค์ทรงอนุญาตให้ใช้ความคิดอย่างรอบคอบ และอย่าง
เสรีตรวจสอบ แล้วจึงค่อยเชื่อ


เหตุผลประการที่สองก็คือ เราสามารถพบว่า ในการที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เข้าถึงความจริงทางจิตหรือ
วิญญาณ คือความจริงอันประเสริฐนั้น พระองค์ได้ใช้หลักที่เรารู้จัก
ในภายหลัง ว่าเป็นหลักวิทยาศาสตร์ วิธีการค้นพบและการตรวจสอบ
ความจริงดังกล่าว เป็นวิธีที่เหมือนกันกับวิธีที่นักวิทยาศาสตร์ใช้อยู่ใน
ภายหลัง ต่างกันเพียงว่า นักวิทยาศาสตร์สังเกตตรวจสอบโลกภาย
นอกอันเป็นเรื่องของวัตถุ และกำหนดวางหลักทฤษฎีไว้หลังจากได้
ดำเนินการทดลองจนได้ข้อยุติแล้ว


แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงใช้หลักวิธีเดียวกันนี้ พิสูจน์ทดลองหาความจริงเกี่ยวกับโลกภานในอันเป็นเรื่องจิตใจ
หรือวิญญาณ และพระองค์ได้ทรงปฏิบัติจนบรรลุถึงความจริงนั้น
แล้วถอนตัวออกโดยไม่ยึดติด นอกจากนั้นพระองค์ทรงสอนสาวก
ของพระองค์ มิให้ยอมรับคำสอนใด ๆ จนกว่าจะได้ตรวจสอบและ
พิสูจน์ความจริงด้วยตนเองเสียก่อน เช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์
ที่ไม่เคยห้ามว่า ทฤษฎีนั้น ๆ ผู้ใดอื่นจะเอาไปพิสูจน์ทดลองอีกไม่ได้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เช่นเดียวกัน จะไม่อ้างสิทธิว่าประสบ
การณ์แห่งการตรัสรู้ของพระองค์ จะสงวนไว้เฉพาะพระองค์ ผู้ใด
จะนำไปปฏิบัติหรือพิสูจน์ทดลองอีกไม่ได้


สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จัดว่าเป็นนักวิเคราะห์ชั้นเลิศ พระองค์ทรงจำแนกแยกแยะให้รู้ว่าอะไรเป็นเหตุของอะไร และอะไร
เป็นผลของอะไร ซึ่งเป็นหลักวิธีที่นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันกำลัง
กระทำอยู่ พระองค์ได้ทรงวางวิธีการสำหรับการปฏิบัติให้บรรลุผล
สำเร็จ อันเป็นหลักวิทยาศาสตร์ ไว้สำหรับเข้าถึงความจริงสูงสุด

(Ultimate Truth) ตลอดจนประสบการณ์แห่งการตรัสรู้ของพระองค์


การที่พระพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่มีแนวเดียวกัน กับหลักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมากนั้นจะถือว่าพระพุทธศาสนากับ
วิทยาศาสตร์มีค่าเท่าเทียมกันย่อมเป็น
การไม่ถูกต้อง จริงอยู่การนำเอาวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ทำให้
มนุษย์ชาติดำเนินชีวิตไปอย่างสะดวกสบายด้วยการได้ใช้เครื่องใช้
สอยชนิดที่เรียกว่าดีเลิศอย่างที่คนสมัยก่อนไม่เคยพบแม้แต่ในฝัน วิทยาศาสตร์ทำให้มนุษย์สามารถว่ายน้ำได้ดีกว่าปลา บินได้สูงกว่านก
และสามารถเดินบนโลกพระจันทร์ได้ แม้กระนั้นก็ตาม ขอบข่ายของ
ความรู้ที่ยอมรับอันเป็นสิ่งพื้นๆ ธรรมดาๆ สำหรับนักวิทยาศาสตร์


ก็มีวงจำกัดอยู่เฉพาะสิ่งที่จะต้องมีการพิสูจน์ทดลอง และความจริงทางวิทยาศาสตร์ก็ตกอยู่ในภาวะที่จะต้องมีการเปลี่ยน
แปลง วิทยาศาสตร์ไม่สามารถจะสอนให้มนุษย์ควบคุมจิตใจของตัว
เอง และทั้งไม่สามารถจะควบคุมศีลธรรมจรรยา และวางแนวทางให้มนุษย์ปฏิบัติตามหลักศีลธรรมจรรยาเช่นนั้นได้
ทั้ง ๆ ที่วิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์ชั้นเลิศน่ามหัศจรรย์ แต่ก็มีข้อเสีย
มากมายมหาศาลพอกัน แต่พระพุทธศาสนาหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะพุทธศาสนาสอนคนให้รู้ทั้งความดีและความไม่ดี แต่ให้ปฏิบัต
ิแต่ความดี เพื่อประโยชน์และความสุขของตนและของชน หมู่มาก


โดยทั่วไปเรามักจะได้ยินได้ฟังเรื่องราวมากมายนี่เกี่ยวกับความ
สำเร็จวิทยาศาสตร์ และสิ่งที่วิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์ขึ้น แต่ไม่ค่อยจะได้ยินได้ฟังเรื่องที่วิทยาศาสตร์ทำไม่ได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะถูกจำกัดด้วยข้อมูลที่ได้รับผ่านประสาท
รับความรู้สึก (คือ ทางตา ทางหู ฯลฯ) แต่จะไม่รู้จักความจริง
ที่อยู่เหนือข้อมูลดังกล่าว ความจริงทางวิทยาศาสตร์จะถูกสร้างขึ้น
บนพื้นฐานของการสังเกตข้อมูล ทางประสาทรับความรู้สึก
ซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่เสมออย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นความจริงทาง
วิทยาศาสตร์ จึงถือว่าเป็นความจริงสัมพัทธ์ ที่ไม่ได้ตั้งใจ จะให้
เป็นตัวยืนในการทดสอบตลอดกาล และนักวิทยาศาสตร์ก็ตระหนัก
ความจริงข้อนี้ดี จึงสามารถละทิ้งทฤษฎีเดิมเมื่อมีทฤษฎีใหม่ที่ดีกว่า
เข้ามาแทนที่


วิทยาศาสตร์พยายามศึกษาเพื่อให้เข้าใจโลกเฉพาะภายนอก โดยไม่แตะความรู้โลกภายในของมนุษย์แม้แต่น้อย แม้แต่นักวิทยา
ศาสตร์วิชาจิตวิทยาเอง ยังไม่เข้าใจสาเหตุที่แฝงอยู่ภายใต้ความ
ทุกข์ทางใจของมนุษย์ เช่นเมื่อมนุษย์รู้สึกอึดอัดขัดข้องและเบื่อ
หน่ายชีวิต แม้เรื่องภายในใจของเราเต็มไปด้วยความทุกข์ร้อนกระสับ
กระส่าย วิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบันก็ยังไม่สามารถหาเครื่องมือหรือ
อุปกรณ์มาช่วยบันเทาได้ ฝ่ายวิชาสังคมศาสตร์ซึ่งดูแลสอดส่อง
สิ่งแวดล้อมของสังคมมนุษย์ อาจนำความสุขมาให้ได้ระดับหนึ่ง
แต่มนุษย์ไม่เหมือนสัตว์โดยทั่วไป ย่อมต้องการมากไปกว่าความ
สะดวกสบายเฉพาะทางร่างกายเท่านั้น แต่จำเป็นที่จะต้องมีสิ่งช่วย
จัดการกับความทุกข์ใจและความเดือด
ร้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ประจำวันของเขาด้วย


ถามว่า วิทยาศาสตร์สามารถทำให้มนุษย์เป็นคนดีขึ้นกว่าเดิมไหม ?
ถ้าสามารถทำได้ ทำไมการกระทำความรุนแรงและผิดศีลธรรม จึงยังคงมีอยู่ในประเทศทั้งหลายที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ จะไม่ถือว่าเป็นการยุติธรรมหรือที่จะกล่าวว่า ทั้ง ๆ ที่เราประสบความสำเร็จในด้านความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และได้รับประโยชน์มากมายที่วิทยาศาสตร์มอบให้แก่มนุษย์ แต่วิทยาศาสตร์ก็ปล่อยให้พื้นเพภายในของมนุษย์ เป็นไปโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้นเลย วิทยา
ศาสตร์ทำได้เพียงทำให้มนุษย์รู้สึกว่า ตัวเองจะต้องพึ่งวัตถุภายนอก
มากขึ้นและมากขึ้น แต่จุดสุดท้ายแห่ง ”ความพอ”
ในสิ่งที่ต้องการนั้นอยู่ที่ไหน ? นอกเหนือไปจากที่วิทยาศาสตร์
ล้มเหลวในการนำความมั่นคงมาสู่มนุษย์แล้ว วิทยาศาสตร์ยังทำให้มนุษย์เกิดความรู้สึกไม่มั่นใจมากขึ้นไปอีก โดยวิทยาศาสตร์แสดงท่าทีทำนองขู่คนทั่วไป ว่าความรุนแรงของ
อาวุธที่วิทยาศาสตร์ประดิษฐ์ขึ้น อาจจะทำให้โลกแตกสลายไป
ในที่สุดได้


วิทยาศาสตร์ไม่สามารถบ่งชี้จุดหมายปลายทางที่ชีวิตมุ่งประสงค์ได้ วิทยาศาสตร์ไม่สามารถให้เหตุผลที่ชัดเจนสำหรับการดำรงชีวิตอยู่
ของมนุษย์ จริง ๆ แล้ววิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับทางโลก อันเป็น
โลกียวัตถุโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนปลาย เป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ ไม่เกี่ยวกับจุดหมายปลายทางของจิตหรือวิญญาณของมนุษย์ ลัทธิวัตถุนิยมที่ฝังติดอยู่ในแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ปฏิเสธไม่รับรู้เรื่องจุดหมายปลายทางของจิตหรือวิญญาณว่าเป็นสิ่ง
ที่อยู่เหนือหรือสูงกว่าความพอใจทางวัตถุ โดยสรรหาแต่จะสร้าง
ทฤษฎีและความจริงสัมพัทธ์ วิทยาศาสตร์จึงไม่สนใจเรื่องบางเรื่อง ทั้งที่มีสาระสำคัญมากที่สุดและทิ้งคำถามหรือปัญหาข้อสงสัยจำนวน
มากไว้โดยไม่มีการตอบหรือไขข้อข้องใจให้หายสงสัยได้ เช่นเมื่อมี
ผู้ถามว่าทำไมในระหว่างมนุษย์ด้วยกัน จึงมีความไม่เท่าเทียมกันแทบ
จะทุกด้านอย่างที่เห็น วิทยาศาสตร์ก็ไม่สามารถให้คำอธิบายต่อคำ
ถามลักษณะนี้ได้เพราะอยู่นอกเหนือขอบเขตแห่งความรู้ความเข้าใจ
เพียงเสี้ยวเดียวของสิ่งที่วิทยาศาสตร์ยังไม่รู้


แต่จิตที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงพัฒนาและฝึกฝนดีแล้ว
ที่อยู่เหนือประสบการณ์ของคนธรรมดา จะไม่ถูกจำกัดด้วยข้อมูล
ที่ผ่านทางประสาทสัมผัส และอยู่เหนือหลักตรรกศาสตร์ ที่ถูกกัก
ไว้ภายในวงจำกัดของสัญญา คือ ความจำสัมพัทธ์ ตรงกันข้าม เชาวน์ปัญญาของปุถุชนจะทำงานได้เฉพาะเมื่อมีพื้นฐานข้อมูลที่
ได้รวบรวมเก็บเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นในด้านศาสนา ปรัชญา
วิทยาศาสตร์หรือศิลปะ ข้อมูลข่าวสารสำหรับจิตจะถูกเก็บสะสม
ไว้ผ่านทางประสาทรับความรู้ของเรา ซึ่งก็ด้อยกว่าของพระองค์
ในหลายกรณี ข้อมูลข่าวสารที่จดจำไว้ค่อนข้างจำกัดมากนี้ ทำให้เราเข้าใจเรื่องราวของโลกค่อนข้างกระท่อนกระแท่น


ในหนังสือของเขาที่ชื่อ Learned Ignorance,นิโคลาส
แห่งคูลา - (Nicholas of Cula) ปราชญ์ชาวฝรั่งเศสตั้งข้อสังเกตุว่า :-


“ความรู้ที่เรานำไปคุยอวดกันมากมายนั้น ล้วนตั้งอยู่บนฐานของ
ความรู้สึกของเรา จริง ๆ แล้วคือความโง่ และความรู้ที่แท้จริง
ก็ได้มาโดยการสลัดความรู้ที่กล่าวมาแล้ว จนกระทั่งเราสามารถคิดได้ โดยไม่ใช้ความคิดเห็นที่ต้องใช้ประสาทรับความรู้ เท่านั้น”


“ความจริง”(Truth)ไม่ขึ้นอยู่กับวัตถุภายนอกตัวเรา แต่ “ความจริง”
อยู่ภายในตัวของเราเอง เราไม่สามารถหวังจะพบ “ความจริง” โดยการทดลองหรือโดยสัญญาความจำได้หมายรู้ โดยอาศัยประสาท
รับความรู้ หรือแม้โดยตรรกศาสตร์และการหาเหตุผล เหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องมือสำหรับหาความรู้แต่ไม่ใช่เครื่องมือ
สำหรับหา “ความจริง” “ความจริง” จะต้องได้มาจาก
“การตระหนักในความจริง” ภายใน “หนังสือสามารถเพียงกระตุ้น
ความคิดและให้ความรู้แก่เราเท่านั้น สำหรับ ”ความจริง” นั้น ท่านจะต้องหันสายตาของท่านทั้งสองข้างเข้าสู่ภายใน เพราะ
“ความจริง” นั้นอยู่ภายในตัวท่าน และการค้นหาความรู้ก็เป็นคน
ละเรื่องกับการค้นหา “ความจริง”


“คำพูด เป็นผลผลิตที่ไม่ยั่งยืนของจิตใจของเรา และจิตใจของเราก็อาศัยประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของเรา
เพื่อความรู้ทั้งปวงที่เกิดในใจ ประสาทสัมผัสหรือประสาทรับความรู้
เหล่านั้น บางทีก็ไว้วางใจไม่ได้ เหตุการณ์หนึ่งที่หลายคนเห็นพร้อมกัน
ก็อาจถูกอธิบายได้หลายอย่างต่าง ๆกันแล้วแต่คนจะมอง”


ประชาชนบางคนก็ภูมิใจว่าเรารู้อะไรต่ออะไรมากมาย จริง ๆ แล้ว
คนเรายิ่งรู้ว่าตัวเองรู้น้อย ก็ยิ่งแสดงตัวว่ารู้มากในการอธิบาย
อะไรต่ออะไร และเรายิ่งรู้มากเท่าไร เราก็ยิ่งรู้ตัวว่าความรู้ของ
ตัวเองยังน้อยอยู่


ครั้งหนึ่ง มีนักปราชญ์ผู้ชาญฉลาดท่านหนึ่งเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งตัวท่านเองพิจารณาเห็นว่าเป็นงานชั้นเยี่ยมยอด ท่านรู้สึกว่า
หนังสือเล่มนั้นบรรจุ “รัตนะแห่งวรรณกรรม” และปรัชญาหลายสำนัก เนื่องจากท่านภูมิใจในความสำเร็จของท่าน จึงนำงานชิ้นเอกนี้
ไปอวดเพื่อนร่วมวงการของท่าน ซึ่งเป็นคนฉลาดหลักแหลมเท่า
เทียมกัน พร้อมกับขอร้องให้ช่วยวิจารณ์หนังสือเล่มนั้น แต่แทนที่
เพื่อนของท่านจะทำตามคำขอร้อง กลับให้ผู้แต่งเขียนทุกอย่างที่
เขารู้ พร้อมกันนั้นก็ให้เขียนทุกอย่างที่เขาไม่รู้ลงในแผ่นกระดาษ
แผ่นหนึ่งไว้ให้ด้วย ผู้แต่งหนังสือเล่มนั้น นั่งลง คิดอย่างหนักอยู่
สักครู่ใหญ่ ปรากฏว่าไม่สามารถจะเขียนสิ่งที่เขารู้ลงในแผ่น
กระดาษได้ และแล้วก็หันมาคิดหาสิ่งที่เขาไม่รู้ ก็ปรากฏว่าว่าไม่สามารถนึกออกเช่นเดียวกันว่าเขาไม่รู้อะไรบ้าง
ในที่สุด ด้วยการยึดมั่นอัตตาในส่วนลึกแห่งหัวใจ ท่านจึงล้มเลิก
โดยตระหนักชัดว่า ทุกสิ่งที่เขารู้ จริง ๆ แล้วไม่รู้อะไรเลย


เกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้ โซเครติส (Socrates) นักปราชญ์แห่งโลก
สมัยนั้น เมื่อถูกถามเกี่ยวกับความรู้ของท่าน ท่านตอบว่า
“สิ่งเดียวที่ข้าพเจ้ารู้ ” คือ “ รู้ว่า ข้าพเจ้าไม่รู้อะไรเลย ”
( I know only one thing – that is I do not know anything)


พระพุทธศาสนานับว่าได้ก้าวเดินไปไกลกว่าวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ ที่ได้ค้นพบความรู้ลึกซึ้งกว้างขวางกว่าที่วิทยาศาสตร์ได้ค้นพบ พระพุทธศาสนายอมรับทั้งความรู้ที่เกิดขึ้นจากประสาทสัมผัส
(sense organs) และความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ส่วนบุคคล
โดยผ่านการอบรมจิต (mental culture) โดยการฝึกและพัฒนาจิต
ให้มีสมาธิสูงสุด บุคคลย่อมสามารถเข้าใจและพิสูจน์ยืนยันการเห็น
ธรรมได้ เพราะการบรรลุธรรม มิใช่เรื่องที่จะทำได้โดยการทำการ
ทดลองในหลอดทดลอง หรือโดยการตรวจสอบภายใต้กล้องจุลทัศน์


ความจริงที่วิทยาศาสตร์ค้นพบ เป็นความจริงสัมพัทธ์ และต้องขึ้นอยู่
กับความเปลี่ยนแปลง ส่วนความจริงที่ค้นพบโดยองค์สมเด็จพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นความจริงขั้นสิ้นสุด และเบ็ดเสร็จ คือ
ความจริงเกี่ยวกับพระธรรม(The Truth of Dhamma)
ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาละและเทสะ (Time and Space) นอกจากนั้น ในทางตรงกันข้ามกับการวางทฤษฎีแบบเลือกสรรของวิทยาศาสตร์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าส่งเสริมให้ผู้มีปัญญาทั้งหลายอย่าติดอยู่
กับทฤษฎี ไม่ว่าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์สาขาอื่นใด แทนที่จะยึดติดอยู่
กับทฤษฎี สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนประชาชน ให้ดำเนิน
ชีวิตอย่างมีธรรม เพื่อจะได้พบความจริงสูงสุด (Ultimate Truths) โดยการดำเนินชีวิตอันประกอบด้วยธรรมะ โดยการทำอินทรีย์
ให้้สงบระงับ และโดยการสลัดทิ้งตัณหาทั้งหมด นี้เป็นทางที่องค์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้ว่าเป็นทางที่เราสามารถพบความ
จริงภายในตัวเราที่เป็นธรรมชาติของชีวิต และในที่สุดวัตถุประสงค์
อันแท้จริงของชีวิตก็เป็นที่ประจักษ์แก่ใจ


การลงมือปฏิบัติ เป็นสิ่งสำคัญมากในพระพุทธศาสนา บุคคลที่ศึกษา
มากแต่ไม่ปฏิบัติ ก็อุปมาเหมือนบุคคลที่ท่องจำตำหรับอาหารจาก
หนังสือ”ตำราอาหาร”เล่มใหญ่ได้หมด แต่ไม่ลงมือประกอบอาหาร
แม้แต่อย่างเดียว บุคคลผู้นั้นก็ไม่สามารถบัน เทาความหิวของเขา และก็ไม่รู้รสอาหารที่อยู่ในตำราเล่มนั้นได้ การปฏิบัติเป็นองค์
ประกอบที่สำคัญมากของการตรัสรู้ธรรม จนกระทั่งว่าบางนิกาย
ในพระพุทธศาสนา เช่นนิกายเซน (Zen) กำหนดให้ลงมือปฏิบัติ
ไปก่อนแล้วจึงค่อยเรียนรู้ตามทีหลัง


วิธีการของวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการที่มุ่งตรงไปยังสิ่งภายนอก และนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่นั้นใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและ
แร่ธาตุต่าง ๆ เพื่อความสะดวกสบายของเขา โดยไม่คำนึงถึง
ความสมดุลย์ของสิ่งแวดล้อม และด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นเหตุให้
โลกเกิดมลภาวะ ตรงกันข้าม พระพุทธศาสนาดำเนินการปฏิบัติ
ตรงเข้าสู่เป้าหมายภายในด้วยการพัฒนาจิตของมนุษย์เรา

ในระดับพื้น ๆ พระพุทธศาสนาสอนให้แต่ละคนรู้วิธีที่จะปรับปรุงตัว
เองและจัดการกับเหตุการณ์และเหตุแวดล้อมต่าง ๆ ของชีวิตประจำวัน
ในระดับสูงขึ้นมา พระพุทธศาสนาเสนอแนะมนุษยชาติให้มีความ
เพียรพยายามที่จะทำให้ตัวเองมีสถานะสูงขึ้น
โดยการปฏิบัติอบรมและพัฒนาจิตใจให้มีคุณภาพและคุณธรรมสูงสุด


พระพุทธศาสนามีวิธีอบรมและพัฒนาจิต ที่เป็นระบบและสมบูรณ์แบบ ที่ทำให้จิตมีสมาธิและเกิดปัญญาหยั่งรู้ธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ตาม
ความเป็นจริง ซึ่งนำไปสู่การรู้ประจักษ์ความจริงสูงสุด คือ พระนิพพาน
ด้วยตนเอง ระบบนี้เป็นระบบที่เน้นการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาจิตไปสู่การ
ตรัสรู้ อันเป็นวิธีดำเนินการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการสังเกต
อารมณ์และสภาพของจิตอย่างเป็นกลาง ค่อนข้างคล้ายกับนัก
วิทยาศาสตร์มากกว่าคล้ายผู้พิพากษา คือผู้ทำสมาธิจะสังเกตโลก
ภายใน (กาย) โดยใช้สติพิจารณา


วิทยาศาสตร์ ถ้าปราศจากอุดมการณ์ทางศีลธรรม ย่อมก่อให้เกิด
อันตรายต่อมนุษยชาติ วิทยาศาสตร์สร้างเครื่องจักรกลขึ้นมา ซึ่งทำให้เขากลายเป็นเจ้าแผ่นดินเป็นสิ่งตอบแทน กระสุนและลูก
ระเบิด เป็นของขวัญของวิทยาศาสตร์ สำหรับบุคคลเพียงไม่กี่คน
ที่มีอำนาจ ซึ่งชะตากรรมของโลกตกอยู่ในมือของเขา ขณะที่มนุษย์ที่เหลือต้องรอคอยด้วยความทุกข์ร้อนและความกลัว
โดยไม่รู้ว่าเมื่อไรอาวุธนิวเคลียร์ ก๊าซพิษ และอาวุธร้ายแรง อันเป็นผลผลิตของการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งล้วนได้รับการ
ออกแบบเพื่อใช้ในการฆ่า และทำลายมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ
จะถูกนำมาใช้กับพวกเขาด้วยวิทยาศาสตร์ไม่เพียงแต่ไม่สามารถ
จะนำทางสำหรับมนุษยชาติในทางศีลธรรมเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่ป้อนเชื้อของเพลิงแห่งตัณหาของมนุษยชาติด้วย


วิทยาศาสตร์ที่ไม่คำนึงถึงศีลธรรมย่อมก่อให้เกิดการทำลายล้าง
โดยฝ่ายเดียว วิทยาศาสตร์จึงกลายเป็นอสุรกายที่โหดเหี้ยมที่มนุษย์
เคยพบมา และเป็นคราวเคราะห์ร้ายที่อสูรกายตัวนี้ กำลังจะกลายเป็น
สิ่งที่มีอำนาจมากต่อมนุษย์เอง ถ้ามนุษย์เรียนรู้วิธีที่จะกำจัดและควบ
คุมสัตว์ประหลาดตัวนี้ โดยการปฏิบัติตามศีลธรรมของศาสนา
มันก็จะหมดอำนาจควบคุมเหนือมนุษย์ ถ้าไม่รีบดำเนินตามคำสอน
ของศาสนา วิทยาศาสตร์ก็จะข่มขู่โลกด้วยการทำลายล้าง
ในทางตรงกันข้าม แต่วิทยาศาสตร์เมื่อมาจับคู่กับศาสนาอย่าง
เช่นศาสนาพุทธ ก็สามารถเปลี่ยนโลกใบนี้ให้เป็นสวรรค์แห่งสันติ
มีความสะดวกสบายมั่นคงและสงบสุข


ไม่เคยมีแม้แต่สักครั้งเดียวที่วิทยาศาสตร์และศาสนาจะมาประสาน
และร่วมมือกันทำงาน เพื่อความเจริญรุ่งเรือง และความสงบสุขของ
มวลมนุษยชาติ แต่ความหวังนี้ก็คงเป็นความหวังที่ลม ๆ แล้ง ๆ
เพราะศาสนาที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ก็เปรียบเหมือนกับคนตาบอด ในขณะเดียวกันวิทยาศาสตร์ที่ปราศจากศาสนาก็เปรียบเหมือนกับ
คนพิการ


คำสอนของพระพุทธศาสนาที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงวางไว้ โดยอาศัยพระมหากรุณาธิคุณ มีบทบาทที่สำคัญ
อย่างยิ่งยวด ในการที่จะแก้ไขจุดหมายปลายทาง อันเต็มไป
ด้วยอันตรายใหญ่หลวง ที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่กำลังมุ่งมั่นที่
จะไปให้ถึง พระพุทธศาสนาสามารถสร้างความเป็นผู้นำทางวิญญาณ ที่จะนำทางการประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรม
อันสุกใสในอนาคต พระพุทธศาสนาสามารถชี้จุดหมายปลายทางที่มี
คุณค่าให้แก่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งกำลังเผชิญทางตัน
อย่างหมดหวัง ในอันที่จะต้องตกเป็นทาส ของสิ่งที่วิทยาศาสตร์เอง
เป็นผู้สร้างขึ้นมา


อัลเบิร์ด ไอนสไตน์ (Albert Einstein, 1879 - 1955)
ได้สดุดีพระพุทธศาสนาว่า “ถ้าจะมีศาสนาสักสาสนาหนึ่ง
ที่สามารถสนองความต้องการของ
วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ ศาสนานั้น ก็คือพระพุทธศาสนา ” พระพุทธศาสนาไม่จำเป็นจะต้องแก้ไขดัดแปลงคำสอน
เพื่อให้ทันสมัยและเข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์ก็ยอมรับคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นต้นแบบ ทั้งไม่ต้องยกคำสอนและทัศนะความเห็นในเรื่องใดให้เป็นของ
วิทยาศาสตร์ เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้าได้รวมเอา
วิทยาศาสตร์ไว้ในคำสอนของพระองค์ไว้หมดแล้ว และยังมีคำสอนที่เกินเลยออกไปจากที่วิทยาศาสตร์สามารถบอก
แก่มนุษยชาติได้ พระพุทธศาสนาเป็นสะพานเชื่อมระหว่างศาสนา
กับความคิดทางวิทยาศาสตร์ โดยกระตุ้นมนุษชาติให้ค้นหาศักยภาพ
ที่แฝงอยู่ในตัวของมนุษย์เอง และในสิ่งแวดล้อมเพื่อนำมาใช้
ประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ และที่โดดเด่นที่สุด
คือพระพุทธศาสนาเป็น “อกาลิกศาสนา ” คือศาสนาที่มีคำสอนที่เป็น
“ความจริงและใช้ได้ตลอดกาล ”

ข้อเขียนของ Dr.K.Sri Dhammananda เรื่อง Religion in a Scientific Age

Friday, May 18, 2007

เรื่องของการกอด(ต่อ)

มหัศจรรย์ของการกอด

เรื่อง มหัศจรรย์ของการกอด

โดย ใบเตย

คุณคงเคยกอดใครสักคนนะคะ แล้วเคยมองเข้าไปในใจตัวเองรึเปล่าคะ เวลาที่ถูกกอด ว่าคุณรู้สึกอย่างไร

การสร้างความรักความผูกพัน นอกจากความรัก ความเมตตาที่ออกมาจากใจจริงแล้ว การแสดงออก การสัมผัส โดยเฉพาะการกอดกัน เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดได้ดีที่สุดอย่างหนึ่ง การกอด จะทำให้ผู้รับรู้สึกถึงความอบอุ่น ความมั่นคง ความเห็นใจ ความเข้าอกเข้าใจ และรู้สึกถูกปกป้องได้ดีกว่าคำพูดมากมายเป็นล้าน ๆ คำ

เด็ก ๆ ที่เกิดมา ไม่ได้รู้จักที่จะรักพ่อ แม่ เองเป็นโดยกำเนิด แต่สายใยความรักความผูกพัน มันเกิดจากการดูแล เอาใจใส่ ความใกล้ชิด และการแสดงความรักต่อกันและกัน

เจ้าตัวเล็กทั้งหลาย จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีความมั่นคงทางอารมณ์ สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสถานการณ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เช่นสังคมในปัจจุบัน หรืออนาคตอันใกล้ได้ ก็ด้วยคุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองช่วยสร้างเสริมให้เค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกเกิดถึง หกปี ค่ะ

มีการศึกษาในต่างประเทศ พบว่าเด็ก ๆ ที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า หรือเด็กเล็ก ๆ ที่ต้องนอนโรงพยาบาลนาน ๆ โดยไม่มีพ่อแม่ดูแลอยู่ พบว่าเด็ก ๆ เหล่านั้น จะต้องการการกอด การอุ้ม มากกว่าเด็กทั่วไป แต่เนื่องจากจำนวนผู้ดูแลต่อจำนวนเด็กค่อนข้างน้อย จึงไม่มีโอกาสที่จะสร้างความผูกพัน ถ้าเราสังเกตุ เวลาที่ไปสถานเลี้ยงเด็ก จะพบว่าเค้าต้องการให้เราอุ้ม กอด แต่แววตาเค้าจะไม่มีความผูกพัน ความรู้สึกที่เราได้รับจากการกอดของเค้า จะเป็นลักษณะที่ต้องการเกาะ ยึด ใครก็ได้เป็นที่พึ่ง และเด็กกลุ่มนี้เอง ที่ต้องกลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ ในคุก ในอนาคตอันใกล้ เพราะขาดความมั่นคงทางอารมณ์ตั้งแต่เล็ก ๆ

ในทางกลับกัน มีการศึกษาในเด็กแรกเกิดที่เกิดก่อนกำหนด พบว่าแต่เดิม ที่ไม่ให้คุณแม่จับเด็ก เนื่องจากกลัวการติดเชื้อ เปลี่ยนเป็นให้คุณแม่เข้าเยี่ยมเพื่ออุ้มทุกวัน เด็กที่สามารถเริ่มรับนมได้ ก็ให้คุณแม่ให้ดูดนมด้วย พบว่าเด็ก ๆ มีน้ำหนักตัวขึ้นดี และมีพัฒนาการดีกว่าเด็กที่มีโรคเท่า ๆ กัน และอัตราการติดเชื้อน้อยกว่าเดิม

การแก้ปัญหาพฤติกรรมส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ซน ดื้อ ก้าวร้าว ชอบทำร้ายตนเอง ทำลายข้าวของ ก็สามารถแก้ได้ง่าย ๆ ด้วยการ กอด...

เคยมีคุณแม่คนหนึ่ง พาลูกอายุหนึ่งขวบมาพบหมอ ด้วยรอยหยิกเป็นจ้ำ ๆ ตามตัวคุณแม่ เป็นฝีมือของเจ้าตัวเล็ก เวลาที่โกธร ไม่พอใจ หรือ ไม่ได้ดั่งใจ ก็จะหยิกคุณแม่ ตัวคุณแม่เองอ่านหนังสือเลี้ยงลูกมาเยอะ ไม่กล้าดุ หรือตีลูก แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร

การที่คุณแม่ไม่ดุ ไม่ตีเป็นสิ่งที่ถูกต้องนะคะ อันนี้เอาไว้เป็นดาบสุดท้ายเลย ไม่จำเป็นจริง ๆ อย่าหยิบขึ้นมาใช้ มีวิธีที่ง่ายและได้ผลกว่านั้นค่ะ คือ การกอด เพียงแค่เราใช้หน้าอก สองมือ สองแขนของเราโอบรอบ ๆ ตัวเค้า ใช้มือของเราจับมือเค้าไว้ พร้อมกับพูดสั้น ๆ เช่นว่า "ทำแบบนี้ไม่ดี แม่เจ็บ" เด็กจะเรียนรู้ได้ค่ะ

เมื่อคุณแม่กลับไปปฏิบัติตามคำแนะนำ ช่วงแรก ๆ ก็มีปัญหาบาง ดิ้น ร้องโยเย แต่ประมาณ สองเดือน คุณแม่ก็กลับมาพบหมอ ด้วยผิวพรรณสดใส หน้าตาเบิกบานไม่อมทุกข์ บอกว่าได้ผลค่ะ

มีผู้ใหญ่หลาย ๆ คน เชื่อว่า ถ้าเลี้ยงลูกอย่างใกล้ชิด กอดลูก อุ้มลูกบ่อย ๆ จะทำให้เด็กติดมือ ติดแม่ ทำให้แม่ทำงานไม่ได้ ต้องคอยดูแลตลอด ตรงนี้เป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างยิ่ง เพราะจริง ๆ แล้ว การที่ลูกติดแม่ เป็นสิ่งที่ดีมาก มันแสดงถึง สายใยความผูกพันระหว่างแม่กับลูก ถ้าลูกไม่ติดใครเลย แปลว่าเค้ามีความบกพร่องเรื่องความผูกพันแล้วค่ะ

อาการติดแม่จะค่อย ๆ บรรเทาลง เมื่อเด็กอายุ ห้า ถึงหก ขวบ เค้าจะค่อย ๆ อยู่ห่างแม่ได้มากขึ้น ซึ่งพอถึงจุดนั้น คุณพ่อ คุณแม่เอง ไม่ควรถึงให้ลูกอยู่ด้วยตลอดเวลา ซึ่งจะเป็นผลเสียไปอีกค่ะ

นอกจากให้ความรัก ความเมตตาแล้ว อย่าลืมแสดงออกถึงความรักให้บุคคลใกล้ ๆ ตัวเรานะคะ โดยเฉพาะเด็ก ๆ เพื่อที่เค้าจะได้กลายเป็นผู้ใหญ่ ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) และเป็นกำลังสำคัญในการสืบทอดพุทธศาสนาของเราต่อไปค่ะ

เรียกรอยยิ้มเล็กๆๆ จ้า


หลวงพ่อเล่าให้ ฟังว่า..

ท่านเล่าว่าที่วัดป่าชิคาโก
มีพระพุทธรูปอยู่องค์นึง..
ปางปฐมเทศนาหรือปางแสดง ธรรมจักร
เราคิดว่าเป็นปางนี้
เพราะแม่บอกว่าเป็นปางที่ท่านทำมือจีบๆ

หลวงพ่อท่านเล่า ว่า..
มีเด็กฝรั่งคนนึงมาที่วัดกับแม่ เค้า
ตอนเดินผ่านพระพุทธรูปองค์นี้..
เค้าก็สะกิดๆแม่เค้าแล้วก็บอกว่า..

"Look mom,

Buddha says Everything is Okay.."

เราฟังแล้วขำกลิ้ง เลย..
เด็กอะไร
เข้าใจคิดจริงๆ :

หลวงพ่อบอกว่า เออ
หลวงพ่อก็เห็นพระพุทธรูปองค์นี้มาตั้งนาน แล้ว
เดินผ่านอยู่ทุกวัน ไม่ เห็นเคยมองมุมนั้นมาก่อนเลย :
ท่านบอกว่า
หลังจากนั้น เดินผ่านพระพุทธรูปองค์นี้ทีไร
ก็จะนึกขึ้นมาทุกทีว่า พระพุทธรูปท่านว่า Everything is okay

Monday, May 14, 2007

ประวัติศาสตร์วงล้อธรรมจักร สัญลักษณ์ของพุทธศาสนา




ธนิต อยู่โพธิ์ เรียบเรียง

.....................................................................................................................
ก่อนจะพูดถึงเรื่องธรรมจักร ข้าพเจ้าขอทบทวนฟื้นความจำเรื่องพุทธประวัติแก่บรรดาท่าน
พุทธศาสนิกชน ซึ่งยังคงจำกันได้ดีว่า ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะประสูตินั้น มีพระคัมภีร์ทาย
ลักษณะบอกไว้ว่า ท่านผู้ประกอบด้วยลักษณะของมหาบุรุษ 32 ประการ ย่อมมีคติเป็น 2 คือ
ถ้าอยู่ครองฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าออกบรรพชา จักได้เป็นพระพุทธเจ้า

พระเจ้าจักรพรรดิ มีสมบัติเป็นอย่างไรบ้าง ? เราลองพิจารณากันดู ตามคัมภีร์
พระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า พระเจ้าจักรพรรดิมีสมบัติสำคัญ เรียกว่ารัตนะ มี 7 อย่างคือ
จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว ขุนคลังแก้ว และขุนพลแก้ว ใน 7 อย่างนี้ จักรแก้วเป็นของสำแดงพระบรมเดชานุภาพสำคัญที่สุด และดูเหมือนจักรแก้ว
หรือจักกรัตนะนี้แหละ ที่ เป็นเหตุให้ได้เชื่อว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จักกรัตนะ
หรือจักรแก้ว หรือล้อแก้วนี้ ตามพระคัมภีร์บาลีบอกไว้ว่ามีกำพันซี่ มีกง มีดุม
บริสุทธิ์ด้วยอาการทุกอย่าง เมื่อจักกรัตนะบังเกิดแก่พระราชาองค์ใด พระราชาองค์นั้น
ก็เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ท่านพรรณาไว้ว่า วันที่จักกรัตนะปรากฎนั้น เป็นวันเพ็ญอุโบสถ พระราชาทรงสรงพระเศียรและรักษาอุโบสถศีล เสด็จประทับอยู่บนราชอาสน์ ณ
ประสาทชั้นบน แล้วจักรรัตนะก็ลอยจากจักกทหะ ในภูเขาวิบุลบรรพต
มาปรากฎเฉพาะพระพักตร์ให้ทรงประจักษ์ว่า พระองค์เป็นราชาจักรพรรดิแล้ว
พระเจ้าจักรพรรดิก็จะเสด็จลุกจากราชอาสน์ ทรงทำอุตตราสงค์ แล้วทรงหยิบ
พระสุวรรณภิงคารด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงประพรมน้ำในพระสุวรรณภิงคารลง
บนจักกรัตนะด้วยพระหัตถ์ขวา แล้วมีพระราชดำรัสว่า จักกรัตนะอันเจริญจงหมุน
ไป จักกรัตนะอันเจริญจงนำชัยชนะให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป แล้วจักกรัตนะนั้นก็หมุนไปทาง
ทิศบูรพา หมุนไปทางทิศทักษิณ หมุนไปทางทิศปัศจิน หมุนไปทางทิศอุดร
จักกรัตนะหมุนไปทางทิศใด พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจัตุรงคเสนาก็เสด็จ
ตามไปด้วย จักกรัตนะหยุดอยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิกับจัตุรงคเสนา
ก็พักอยู่ ณ ประเทศนั้นด้วย


(ซ้าย) ภาพสิงโตรองรับธรรมจักร เหนือบัวหัวเสา บนเสาศิลาอโศก ขุดพบที่ตำบลสารนาถ

เมืองพาราณสี
(ขวา) ภาพจำหลักเป็นดอกบัว และเสาธรรมจักร ที่กำแพงศิลาพระมหาสถูปสาญจี จะเห็นดอกบัวตูมสองดอกชูก้านออกมาจากฐานเหนือบัวคว่ำคล้ายรูประฆังคว่ำ
แสดงให้เห็นว่า ยอดเสาศิลาอโศก ภาพซ้าย เมื่อยังสมบูรณ์ดีอยู่ ก็จะมีธรรมจักร
ประดิษฐานอยู่เหนือหัวสิงโตทั้งสี่ เช่นใน รูปขวา

บรรดาพระราชาผู้เคยเป็นปฏิปักษ์อยู่ในทิศนั้น ๆ ก็เข้ามาเฝ้าถวายการต้อนรับถวาย
ความภักดี ยอมอยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพ พระเจ้าจักรพรรดิก็พระราชทานโอวาท
ด้วยศีลห้า (ซึ่งเรารู้จักกันดีแล้ว) เมื่อจักกรัตนะนำชัยชนะไปทั่วปฐพี มีมหาสมุทร
เป็นแดนโดยรอบแล้ว ก็นำเสด็จกลับมายังราชธานี* จัก
กรัตตะหรือล้อแก้วนี้ใน
คัมภีร์อรรถกถา** พรรณานาขยายความออกไปอีกยืดยาว แต่พอสรุปกล่าวไว้ว่า
จักกรัตนะนั้นมีรูปเหมือนล้อรถ ดุมเป็นแก้วอินทนิล ตรงกลางดุมส่องแสงซ่านออก
เป็นวงกลมเหมือนพระจันทร์ทรงกลดรอบดุม เป็นแผ่นเงิน มีซี่กำล้วนแล้วด้วยแก้ว
7 ประการ ทั้งพันซี่ กำแต่ละซี่มีลวดลายประดับต่าง ๆ กัน ส่วนกงล้อเป็นแก้วประพาส
สีสุกใส วงนอกของกงทุกระยะของกำ 10 ซี่ที่สอดเข้าไปนั้น มีท่อแก้วประพาฬติดอยู่
ขอบนอกของกงทุกระยะ รวม 100 ท่อ เมื่อจักกรัตนะหมุนไปในอากาศท่อแก้วประพาฬ
เหล่านี้ จะกินลมเกิดเป็นเสียงไพเราะดุจเสียงปัญจดุริยางคดนตรี บนท่อแก้วประพาฬแต่ละอันมีเศวตฉัตรห้อยเฟื่องดอกไม้แก้วมุกดา เมื่อจักกรัตนะหมุน
เวียนไปจะปรากฎคล้ายวงล้อ 3 อัน หมุนอยู่ภายในของกันและกัน

แต่เท่าที่เห็นทำรูปกันไว้ ก็ทำเป็นอย่างล้อรถหรือล้อเกวียนนั่นเอง (ดูรูปขวามือ เพื่อเปรียบเทียบ)

เมื่อได้พูดถึงจักกรัตนะ หรือล้อแก้ว ซึ่งเป็นสมบัติส่งเสริมพระบรมเดชานุภาพสำคัญยิ่งของ
พระเจ้าจักรพรรดิ มาโดยสังเขปเช่นนี้ ก็พอจะนึกเห็นกันได้ว่า พระเจ้าจักรพรรดิก็คือผู้
ทำให้จักรหรือล้อหมุนไป ซึ่งในบางพระสูตรยังกล่าวเป็นตำนานไว้อีกว่า พระราชาจักรพรรดิ ผู้ประกอบด้วยธรรมทรงเป็นธรรมราชา เป็นผู้ทำให้จักรหมุนไปโดยธรรม จักรนั้นอันสัตว
์มนุษย์ไร ๆ ผู้เป็นปรปักษ์ (ต่อพระเจ้าจักรพรรด) จะหมุนไม่ได้

เมื่อพระสิทธัตถะราชกุมารไม่ต้องพระประสงค์สมบัติจักรพรรดิ และทรงประปรารถนา
จะเป็นพระพุทธเจ้า จึงเสด็จออกบรรพชาและทรงบำเพ็ญเพียร จนได้ตรัสรู้
"พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ" พระองค์ก็เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือที่เราเรียก
กันเป็นคำสามัญว่า "พระพุทธเจ้า" พระพุทธเจ้าได้โปรดประทานเทศนาเป็นครั้งแรก
แก่พระภิกษุปัญจวัคคีย์ คือพวกพระภิกษุ 5 องค์ ณ อิสิปตนะมิคทายวัน ในเมืองพาราณสี
เมื่อวันอาสาฬหปุณณมี คือวันเพ็ญเดือน 8 เทศนาครั้งแรกนี้เรียกกันว่า "ปฐมเทศนา" และเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เป็นปฐมเทศนานั้น เรียกว่า "ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร"
แปลง่าย ๆ ก็ว่าพระสูตรว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้าทรงหมุนล้อแห่งธรรมหรือธรรมจักร

..............................................................
* ดู - มหาสุทสฺสนสุตฺต ทีฆนิกาย มหาวคฺค
** สุมงฺคลวิลาสินี ทุติยภาค น. 289 - 290


ที่ข้าพเจ้านำเอาเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิ และจักกรัตนะหรือจักรแก้ว หรือล้อแก้ว มากล่าว
นำไว้ยืดยาว ก็โดยประสงค์จะให้เป็นที่กำหนดหมายรู้ไว้ว่า พระเจ้าจักรพรรดินั้นทรง
มีจักกรัตนะเป็นเครื่องมือแผ่พระบรมเดชานุภาพ ส่วนพระพุทธเจ้า เมื่อตรัสเทศนาครั้งแรก ก็ทรงใช้ธรรมจักรเป็นเครื่องมือแผ่พระธรรม เป็นตัวอย่างเปรียบเทียบกันจักกรัตนะนั้น
ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า พระราชาจักรพรรดิทรงทำให้หมุน สัตว์มนุษย์ไร ๆ ที่เป็น
ปรปักษ์ (ต่อพระราชาจักรพรรดิ) จะหมุนไม่ได้ ธรรมจักรก็เช่นเดียวกัน พระพุทธเจ้า
ทรงหมุนใครอื่นหมุนไม่ได้ เช่นที่กล่าวไว้ในตอนท้ายธรรมจักกัปปวัตนสูตร มีเรื่องพวกเทวดาประกาศก้องได้ยินเสียงตั้งแต่ภาพพื้นดินต่อ ๆ ขึ้นไปถึงพรหมโลกว่า
"ธรรมจักรประเสริฐ ยิ่ง ที่สมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือ
ใคร ๆ ในโลก หมุนกันไม่ได้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมนุนได้แล้ว ณ อิสิปตนะมิคทายวัน
ในนครพาราณสี" ตามที่กล่าวนี้ ก็คงเห็นกันได้แล้วว่า พระพุทธเจ้า แม้จะได้ทรงสละ
ความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เสด็จออกทรงผนวชและตรัสรู้แล้ว ก็ยังนำเอาลักษณะกิริยาหมุนจักรของจักรพรรดิมาใช้ในการประกาศพระธรรม แสดงให้เห็นว่า
ในครั้งกระนั้น ความเชื่อในเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิหมุนจักกรัตนะมีอยู่ในหมู่ประชาชน
ชาวอินเดียโดยทั่วไป หรืออย่างน้อย ก็มีอยู่ในหมู่ชนชาวอินเดียตอนกลาง เมื่อพระพุทธเจ้า
ทรงแสดงพระธรรมจักร จึงมีข่าวเล่าลือกระฉ่อนไปโดยกว้างขวางอย่างรวดเร็ว
เรียกจักรของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมจักร มิใช่จักกรัตนะอย่างของพระเจ้าจักรพรรดิ
ถ้าจะตั้งเป็นปัญหาว่า พระพุทธเจ้าทรงหมุนธรรมจักร อย่างไร ? เป็นเรื่องต้องพูดกัน
ต่างหาก หวังว่าบรรดาท่านนักธรรมะทั้งหลาย ย่อมทราบกันดีอยู่แล้ว ข้าพเจ้าจะขอนำ
ไปกล่าวในโอกาสอื่น จะไม่นำมากล่าวในที่นี้ และจะพิจารณาธรรมจักรเฉพาะทางวิชา
โบราณคดีและศิลปต่อไป


รูปที่ 1

ภาพสิงโตรองรับธรรมจักร เหนือบัวหัวเสา บนเสาศิลาอโศก ขุดพบที่ตำบลสารนาถ
เมืองพาราณสี

ตอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตรนี้ บรรดาพุทธศาสนิกชนทุกสมัยถือเป็นเหตุการณ์สำคัญอย่างยิ่งตอนหนึ่งในพุทธประวัติ
ซึ่งเรียกกันว่า"ปาง" เช่นเดียวกับอีก 3 ตอน คือ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ และปางปรินิพพาน ครั้งภายหลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว จึงได้มีผู้สร้างรูปแสดงเรื่องตามปาง
เหล่านี้กันขึ้น แต่การที่จะสร้างพระรูปพระพุทธองค์ซึ่งเป็นที่เคารพขึ้นในประเทศอินเดีย
สมัยนั้น เป็นของต้องห้าม บรรดาศิลปินของอินเดียจึงคิดหาวิธีสร้างเป็นรูปภาพแสดง
เรื่องราวตามปางเหล่านั้นขึ้นแทน โดยไมทำเป็นพระรูปพระพุทธองค์ ในเรื่องนี้สมเด็จ ฯ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนำเอาแนวความคิดของนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสมา
อธิบายไว้ว่า "มูลเหตุของรูปภาพในพระพุทธศาสนา ศาสตราจารย์ฟูแชร์ตรวจหลักฐาน
ที่มีอยู่เห็นว่า เดิมจะเกิดขึ้น ณ ที่บริโภคเจดีย์ 4 แห่ง คือ ที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา
และปรินิพพาน ก่อนที่อื่น ด้วยมีเงินตอกตราเป็นรูปดอกบัวเป็นเครื่องหมายที่ประสูติ
รูปต้นโพธิ์เป็นเครื่องหมายที่ตรัสรู้ รูปธรรมจักรเป็นเครื่องหมายที่ปฐมเทศนา
และรูปสถูปเป็นเครื่องหมายที่ปรินิพพาน ปรากฎว่าเป็นของเก่าก่อนเจดีย์วัตถุของ
พระเจ้าอโศกมหาราช ช้านาน......ครั้นต่อมาตั้งแต่พระเจ้าอโศกมหาราชยกพระพุทธศาสนา
ขึ้นเป็นศาสนาสำหรับประเทศ และสร้างเจดีย์วัตถุใหญ่โตต่าง ๆ อันประกอบด้วยฝีมือช่าง พวกช่างเอาเครื่องหมายในเงินตรานั้นมาคิดประกอบเป็นลวดลายของเจดียสถาน ในสมัยนั้นยังห้ามมิให้ทำพระพุทธรูปจึงทำดอกบัวเป็นเครื่องหมายปางประสูติ บัลลังก์กับ
ต้นโพธิ์เป็นเครื่องหมายปางตรัสรู้ ธรรมจักรกับกวางเป็นเครื่องหมายปางปฐมเทศนา
พระสถูปเป็นเครื่องหมายปางปรินิพพาน" ล้อธรรมจักรที่นักปราชน์ทางโบราณคดีได้พบว่า
มีอายุเก่าที่สุด เข้าใจว่า ธรรมจักร เครื่องหมายพระสัทธรรม ทำลอยตัว ซึ่งประดิษฐานอยู่เหนือสิงโต
4 ตัวหันหน้าออกสู่ทิศทั้งสี่ บนฐานกลมเหนือบัวหัวเสาศิลาของพระเจ้าอโศกมหาราช สร้างขึ้นในรัชสมัย
ของพระเจ้าอโศก เมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ 3 (ดูรูปที่ 1)

รูปที่ 2 แผนผังพระมหาสถูปที่สาญจี
อัณฑะ เดิมก่ออิฐ ต่อมาก่อแผ่นหินหุ้ม เมื่อ พ.ศ. 493

แต่ต่อมาได้หักพังตกจมดินอยู่ที่ตำบลสารนาถ ใกล้เมืองพาราณสี เพิ่งขุดค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2447
แต่วงล้อธรรมจักรหักเสียหาย ที่ฐานกลมรองรับเหนือบัวหัวเสา ตรงเท้าสิงโตทั้งสี่ลงมานั้น มีวงล้อ
จำหลักอีก 4 วง ประจำทั้งสี่ด้าน ระหว่างวงล้อ
จำหลักเป็นรูปสัตว์คั่นช่วงล้อละตัว รวม 4 ตัว คือ
รูปช้าง รูปวัว รูปม้า และสิงโต* ภาพของสัตว์ทั้งสี่นี้มองเห็นว่ามิได้ยืนนิ่ง แต่มีท่าวิ่งหรือเดินทุกตัว อันแสดงให้เห็นว่าวงล้อเหล่านั้นกำลังหมุน มิได้หยุดเฉย ซึ่งรัฐบาลอินเดียสมัยนี้ ได้นำรูปบัวหัวเสาม
ีสิงโต 4 ตัวนี้มาใช้เป็นสัญญลักษณ์ของประเทศอินเดียในปัจจุบัน กับมีเสาสิงโตทรงธรรมจักร เรียกว่า
สิงหสตัมภะ ตั้งอยู่ริมประตูหรือโดรณด้านใต้ของพระมหาสถูปสาญจี อีกเสาหนึ่ง (ดูรูปที่ 2 ) ต่อจากสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชมาก็มีล้อธรรมจักรซึ่งนำหลักอยู่เหนือเสาประต ูหรือโดรณของ
พระมหาสถูปสาญจี มีอายุอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 4 - 5 คือ ราว 2000 กว่าปีมาแล้ว




รูปที่3 ปางประทานปฐมเทศนา ศิลปสมัยคันธาระ (พ.ศ. 500 - 1050)

ต่อมาในสมัยคันธาระ (พ.ศ. 500 - 1050) เมื่อศิลปินเชื้อสายกรีกได้คิดสร้างพระรูปพระพุทธองค์ขึ้น
โดยตรงแล้ว จึงสร้างรูปปางปฐมเทศนาเป็นรูปพระพุทธองค์ทรงห่มคลุมทั้งสองพระอังสา ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนพระแท่นผันพระพักตร์ก้มต่ำไปทางขวา พระหัตถ์ขวาทรงถือธรรมจักรอยู่
ระดับพระชานุ กำลังทรงยื่นธรรมจักรนั้นให้แก่พระปัญจวัคคีย์ซึ่งนั่งอยู่ข้างพระแท่น ด้านขวา 2 องค์
อีก 3 องค์นั่งอยู่ทางซ้ายของพระแท่น ที่หน้าพระแท่นมีรูปกวางหมอบ 1 ตัว หันหัวเหลียวหลัง (ดูรูปที่ 3)


รูปที่4 รูปที่5
ปางประทานปฐมเทศนา ศิลปสมัยอมรวดี ปางปฐมเทศนา สมัยคุปตะ (พ.ศ.850 - 1150)

แต่ต่อมาในสมัยอมรวดี (พ.ศ. 700 - 850) ทำพระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธองค์ทรงห่มอุตตราสงค์เปิดพระ
อังสาขวา ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนพระแท่น ยกพระหัตถ์ขวา ซึ่งแบฝ่าพระหัตถ์หันออกข้างนอกในระดับ
พระอังสา ส่วนพระหัตถ์ซ้ายหันฝ่าพระหัตถ์เข้าเป็นท่าทรงกำจีวรอยู่ระดับพระอุระซ้าย พระปัญจวัคคีย์นั่งอยู่ทางเบื้องขวาพระแท่น 2 องค์ ทรงเบื้องซ้าย 3 องค์ ที่หน้าพระแท่นมีกวาง 2 ตัว
หันหน้าเข้าหากัน (ไม่มีธรรมจักร) (ดูรูปที่ 4) แต่พระพุทธรูปปางนี้ ในสมัยคุปตะ (ระหว่าง พ.ศ. 850 - 1150) ทำเป็นรูปพระพุทธองค์ประทับนั่งบนพระแท่น ทรงห้อยพระบาททั้งสองลงอย่างนั่งเก้าอี้บ้าง (ดูรูปที่ 5)
นั่งขัดสมาธิบ้าง ทรงยกพระหัตถ์ขวาจีบเป็นวง หมายถึงธรรมจักร และพระหัตถ์ซ้ายจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นท่ากำลังทรงหมุนอยู่ตรงพระอุระ และมีรูปธรรมจักรหันทางแบนออก
อยู่ ณ บัวเบื้องล่างใต้พระบาทลงมา


รูปที่ 6 ปางปฐมเทศนา ศิลปสมัยคุปตะ

หรือถ้าทำเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ ก็ทำรูปธรรมจักรหันด้านสันกงออกบ้าง (ดูรูปที่ 6)
หันทางส่วนแบนออกบ้าง มีรูปคนนั่งประนมมือตรงหน้าพระแท่นหันด้านข้างออกอยู่สอง
ฟากธรรมจักร ข้างละ 3 คน รวม 6 (กล่าวกันว่าที่ทำเป็น 6 คนนั้นเป็นรูปพระปัญจวัคคีย์ 5 องค์ กับรูปคนสร้างพระพุทธรูปปางนี้อีก 1 จึงเป็น 6 คน) เบื้องหน้าธรรมจักรออกมา มีกวางหมอบ
เหลียวหลังข้างละตัว นอกนั้นก็มีลวดลายประดับบ้าง ทำเป็นภาพประกอบบ้าง ต่าง ๆ กันออกไป
ที่มีรูปกวางอยู่ด้วย ก็เพื่อให้ผู้ดูทราบได้ว่ากำลังทรงประทาน ปฐมเทศนา ในมิคทายวัน
แต่ที่สำคัญก็คือรูปธรรมจักร จำหลักบนแผ่นหิน ทำเป็นภาพลายนูนต่ำบ้าง นูนสูงบ้าง
และมีภาพจำหลักอื่นประกอบ หรือจำหลักประกอบกับภาพอื่น มีภาพพระพุทธองค์ทรง
ประทานเทศนา เป็นต้น ที่ปรากฎว่าจำหลักเป็นธรรมจักร หรือรูปวงล้อลอยตัวโดยเฉพาะ
เช่นล้อธรรมจักรที่พบในประเทศไทย ก็คงมีแต่ธรรมจักรเหนือหัวสิงโต 4 ตัว ซึ่งขุดพบ
ที่สารนาถ และธรรมจักร บนสิงหสตัมภะ ที่สาญจี

........................................

* บางท่านอธิบายว่าสัตว์ทั้งสี่นี้ เป็นสัตว์ประจำทิศสี่ ในคัมภีร์ไตรภูมิฉบับรัชกาลที่ 1
มีกล่าวว่า สระอโนตมีทางน้ำไหลออก 4 ทิศ ทิศตะวันออกไหลออกจากปากราชสีห์
ทิศตะวันตกไหลออกจากปากช้าง ทิศเหนือไหลออกจากปากม้า และทิศใต้ไหลออก
จากปากโค เรื่องนี้คงมาจากแนวทางคิดเดียวกัน


ธรรมจักรที่พบในประเทศไทยส่วนมากจำหลักลอยตัว และจำหลักทั้งสองด้าน มีอยู่อันหรือสองอันที่จำหลักด้านเดียวเช่นที่ในวัดมหาธาตุจังหวัดเพชรบุรี ล้อธรรมจักร
ที่พบและรู้จักกันในประเทศไทยนั้น เข้าใจว่าเริ่มแต่ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งโปรดให้ขุดแต่งบูรณะพระปฐมเจดีย์ในรัชกาลที่ 4
ปรากฎว่าได้ขุดพบธรรมจักรหรือวงล้อศิลา ในบริเวณพระปฐมเจดีย์ เป็นจำนวนหลายอัน
ซึ่งบางอันแตกหัก ชิ้นส่วนสูญหายไป ที่ยังอยู่ครบถ้วนสมบูรณ์ดีก็มี แต่ละอันมีลายประดับมาก
บ้างน้อยบ้าง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ได้ทรงนิพนธ์ถึงธรรมจักรหรือวงล้อเหล่านี้ไว้ในเรื่องพระปฐมเจดีย์ มีความตอนหนึ่งว่า "เขาขุดได้จักรศิลาที่คนแต่ก่อนทำบูชาพระไว้ในวัดเก่า ๆ จมอยู่ใต้ดินมีหลายอัน นี่ก็รู้ได้
ว่าแต่ก่อนนั้นเห็นจะเป็นเมืองใหญ่โต ไพบูลย์ด้วยโภไคยไอศวรรย์สมบัติ เป็นเเมืองอัน
พระมหากษัตริย์ได้ครอบครอง เห็นท่านผู้เป็นเจ้าของจักรสำคัญคิด ว่าสมบัติของเรานี้
วิจิตรโตใหญ่อยู่แล้ว ยังขาดอยู่แต่จักรแก้วยังหามีไม่ จึงได้ทำจักรศิลาบูชาพระรัตนตรัย
ในเพลานั้น ด้วยมุ่งหวังหาผลเป็นสำคัญของท่านผู้ครอบครองแผ่นดิน อีกอย่างหนึ่ง
จะทำไว้ให้เห็นว่าเมืองนี้เป็นสุทัศนเทพนคร เมื่อถึงศาสนกาลนี้ได้มีนามกรว่าเมืองกุสินารา เป็นมงคลประเทศปรากฎเล่าลือมาจนกาลบัดนี้ ว่าเป็นที่เกิดที่มีแห่งพระเจ้าจักรพรรดิมาแต่ก่อน จักกรัตนะจึงได้ซุกซ่อนลับจมอยู่ใต้ดิน"* ธรรมจักรหรือวงล้อเหล่านี้ ต่อมาได้นำมาเก็บรักษา
ไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ บ้าง จัดตั้งแสดงไว้ที่ระเบียงด้านตะวันอตกองค
์พระปฐมเจดีย์บ้าง เก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานฯ พระปฐมเจดีย์บ้าง เมื่อฟูแนโร
(L. Fournerau) นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ได้มาพบวงล้อหรือจักรศิลานี้ในปี พ.ศ. 2438
ก็ได้นำรูปไปพิมพ์ลงในหนังสือเรื่อง "ประเทศสยามโบราณ" (Le Siam ancien)
และอธิบายไว้ว่า วงล้อเหล่านี้เป็นเครื่องหมายแสดงถึงจักรหรือล้อรถของเทพเจ้าในศาสนา
พราหมณ์ แต่ลาจองเกียร์ (L. de Lejonquiere) กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง
"โบราณสถานในประเทศสยาม" (Le domaine archeologique du Siam)
ไม่เชื่อว่าวงล้อเหล่านี้เป็นล้อรถ เพราะเหตุว่าไม่มีการเจอะเป็นรูที่ดุมเลย เขาคิดว่าคงจะเป็น
ใบเสมามากกว่า สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพตรัสเล่าไว้ว่า "ศิลากงจักรนี้
ไม่ปรากฎว่ามีในประเทศพม่า รามัญ หรือเขมร แม้ในประเทศสยามก็พบแต่ที่จังหวัดนครปฐม กับได้ยินว่ามีทางจังหวัดนครราชสีมาบ้าง แต่จังหวัดอื่นหาปรากฏว่ามีไม่"**


รูปที่ 7 รูปที่ 8
ธรรมจักรศิลา วัดคลองขวาง ธรรมจักรหินทรายแดง
ตำบลเมืองเสนา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี
( จำหลักด้านเดียว )


ที่ว่ามีทางจังหวัดนครราชสีมานั้น ปัจจุบันอยู่ที่วัดคลอง ( ดูรูปที่ 7 ) ตำบลเมืองเสมา
ในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา กับได้พบที่วัดพริบพรี และวัดมหาธาตุ
จังหวัดเพชรบุรีด้วย ( ดูรูปที่ 8 ) และต่อมาเมื่อกรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งโบราณสถาน
ในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2506 ก็ได้พบธรรมจักรหรือวงล้อศีลาอีก 3 อัน และมีอยู่อันหนึ่งยังครบถ้วนสมบูรณ์ดี กับพบจำหลักไว้ที่หินตั้งในจังหวัดกาฬสินธุ์อีกแห่งหนึ่ง วงล้อศิลาหรือธรรมจักรดังกล่าวนี้ท่านศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ อธิบายไว้ว่า "เนื่องจากได้ค้นพบรูปกวางใกล้กับรูปวงล้อศิลาเหล่านี้จึงทำให้คิดกันว่า วงล้อเหล่านี้คง
หมายถึงธรรมจักร ซึ่งพระพุทธองค์ทรงหมุน ( คือสั่งสอน )
เมื่อประทานปฐมเทศนา ณ มฤคทายวัน"***


รูปที่ 9
ธรรมจักรศิลา สมัยทวารดี พุทธศตวรรษที่ 11 - 16
ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
กำด้านหน้าที่เห็นอยู่นับได้ 36 ซี่ แต่ด้านหลังนับได้ 35 ซี่

ธรรมจักรหรือวงล้อที่ทำด้วยศิลาตามที่พบเห็นแล้วนั้น มีขนาดต่าง ๆ กัน อันใหญ่ที่สุดวัดผ่านศูนย์กลาง
1.95 เมตร เวลานี้จัดตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( ดูรูปที่ 9 ) อันเล็ก ๆ ก็มีอยู่
ในพิพิธภัณฑสถาน ฯ พระปฐมเจดีย์หลายล้อ แต่ชำรุดทุกล้อ และมีอยู่ล้อหนึ่ง ( ชำรุด ) เวลานี้
อยู่ในพิพิธภัณฑสถานฯ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี วัดผ่านศูนย์กลาง 45 เซนติเมตร


รูปที่ 10 รูปที่ 11
ธรรมจักรศิลา ศิลปสมัยทวารวดี ธรรมจักร พบที่จังหวัดนครปฐม
พุทธศตวรรษ ที่ 11 - 12 ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์
ขุดพบที่เมืองเก่า อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
ภาณุพันธ์ยุคล

ธรรมจักรทั้งล้อใหญ่ล้อเล็กมีลวดลายประดับตามซี่กำวงล้อ วงดุม และฐานที่ตั้ง จำหลักและ
ประดิษฐ์ลายไว้ต่างๆ กัน บางวงล้อก็ฉลุทะลุเป็นช่องโปร่งระหว่างซี่กำ เช่นธรรมจักรอันหนึ่ง
ซึ่งขุดพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ( ดูรูปที่ 10 ) และของส่วนพระองค์ของพระเจ้า
วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ( ดูรูปที่ 11 )**** แต่ส่วนมากมิได้ฉลุให้ทะลุ
ที่น่าสังเกตก็คือ ซี่กำของวงล้อหรือธรรมจักรนั้นมีจำนวนต่าง ๆ กัน และเนื่องจากวงล้อ
แต่ละอันมีจำนวนซี่กำแตกต่างกันนี้เอง จึงชวนให้นักธรรมะชาวไทยขบคิดหาหลักธรรมต่าง ๆ
เข้าประกอบ เพื่อหาคำอธิบาย เช่น วงล้อมีกำ 8 ซี่ ก็ว่าหมายถึงอริยมรรค 8 วงล้อที่มีกำ 12 ซี่
ก็ว่าหมายถึงอาการ 12 ที่กล่าวว่า "ทฺวาทสการํ" ไว้ในธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ที่มีกำ 16 ซี่
ก็ว่าหมายถึงโสฬสธรรมหรืออาการ 16 ของอริยสัจสี่ แต่ธรรมจักรหรือวงล้อศิลาที่พบมาแล้วนั้น
มิได้มีแต่ล้อที่มีจำนวนกำเพียง 8 ซี่ 12 ซี่ และ 16 ซี่เท่านั้น หากแต่มีจำนวน 14 ซี่ก็มี, 17 ซี่ก็มี,
18 ซี่ก็มี, 21 ซี่ก็มี, 22 ซี่ก็มี, 24 ซี่ก็มี, 26 ซี่ก็มี, 32 ซี่ก็มี, 35 ซี่ก็มี มิหนำซ้ำวงล้ออันเดียวกัน แต่ทำซี่กำแต่ละด้านจำนวนไม่เท่ากันก็มี

................................................................................................................
* เรื่องพระปฐมเจดีย์ ฉบับกรมศิลปากรตรวจสอบชำระใหม่ พ.ศ. 2506
** เชิงอรรถ (1) ในตำนานพระพุทธเจดีย์ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2503 น. 94
*** ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 ตีพิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2506 น. 46 - 47
**** ธรรมจักรศิลา ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล
มีจารึกอริยสัจภาษาบาลี ดูในประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 ตีพิมพ์ครั้งที่ 2

ถ้าจะพากเพียรขบคิดหาหัวข้อธรรมเข้าประกอบคำอธิบายให้ลงตัวได้ จำนวนเท่ากับซี่กำ
ของวงล้อนั้น ๆ ก็เชื่อว่าคงจะพากเพียรขบคิดค้นหากันจนได้ แต่ก็คงจะเลอะเทอะเลื่อนลอยไม่เป็นหลักเกณฑ์ที่จะพึงยึดถือให้เกิดสาระอันใด ข้าพเจ้าเข้าใจว่าช่างที่สร้างกงล้อหรือธรรมจักรศิลานี้ขึ้นไว้ อาจจมิได้มุ่งหมาย
จะทำซี่กำให้มีจำนวนเท่ากับหลักธรรมข้อนั้นข้อนี้ หากแต่คงคิดประดิษฐ์ให้เป็นเครื่องหมาย
แทนพระธรรมจักร ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสเทศนา และพระธรรมจักรที่พระพุทธเจ้าโปรดเทศนานั้น
ก็ตรัสไว้ตรงตัวอยู่แล้วว่า ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺต ซึ่งแปลว่าได้ว่าพระสูตรว่า
ด้วยการหมุนล้อแห่งธรรม หมายความว่าธรรมจักร หรือล้อรถแห่งธรรมนั้นมิได้ตั้งอยู่เฉย ๆ
แต่หมุนเวียนไป ซึ่งในพระสูตรนั้นเองก็บอกไว้แล้วว่า "ธรรมจักรประเสริฐยิ่ง ที่สมณะ
หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใคร ๆ ในโลก หมุนกันไม่ได้นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมุนได้แล้ว" เมื่อช่างมาประดิษฐ์สร้างขึ้นเป็นวงล้อ
เป็นสัญญลักษณ์ประทานปฐมเทศนา ก็คงมุ่งหมายให้คนดูเห็นว่า ล้อกำลังหมุนไป
เมื่อวงล้อมันหมุน สายตาของเราที่มองดูอยู่ก็จะเห็นจำนวนของซี่กำแตกต่างกันไป
สุดแต่สายตาจะกำหนดได้ แต่การเขียนภาพหรือทำรูปซึ่งเป็นของตั้งอยู่กับที่
จะทำให้เห็นเป็นหมุนได้อย่างไร เขาคงคิดกันมาแล้ว ข้อนี้ถ้าพิจารณาโดยอาศัยหลัก
ศิลปทางจิตรกรรม และประติมากรรมเข้ามาประกอบกับข้อความในพระบาลีที่กล่าว
ข้างต้น และสังเกตให้ดี จะเห็นลายกระหนกที่ขอบกงชั้นนอกของธรรมจักรหรือวงล้อศิลา
บางอันช่างเขาทำอย่างมีความหมาย คือทำเป็นลายกระหนกเอนลู่ไปมารอบ ๆ วง แสดงว่า
ล้อ หรือธรรมจักรนั้นกำลังหมุนไป มิได้หยุดนิ่ง อาจหมุนเป็นอนุโลมปฏิโลมก็ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเทียบล้อวงล้อที่บัวหัวเสาของของพระเจ้าอโศก จะเห็นท่าทางของสัตว์ทั้งสี่กำลัง
วิ่งและเดิน เมื่อสัตว์เหล่านั้นต่างวิ่งและเดิน วงล้อหรือธรรมจักรจะตั้งอยู่นิ่ง ๆ ได้อย่างไร
จำจะต้องหมุนไปด้วย


รูปที่ 12 รูปที่ 13

ธรรมจักรศิลาแลง ธรรมจักรหินทราย
พิพิธภัณฑสถานฯ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
พระนคร

ธรรมจักรหรือวงล้อศิลา ทำลอยตัว ดังกล่าวมาแล้วนั้นเป็นของทำด้วยหินแลงก็มี
ทำด้วยหินทรายก็มี แต่เป็นส่วนน้อย เท่าที่พบเห็นก็มีอยู่ 2 - 3 อัน และไม่มีลวดลายจำหลักอันใด
นอกจากสกัดให้เป็นรูปวงล้อ มีดุม มีกำและมีกง เช่นที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถาน ฯ พระปฐมเจดีย์
( ดูรูปที่ 12 ) และในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( ดูรูปที่ 13 ) แต่ก็ล้อธรรมจักร ส่วนมากเท่าที่พบในจังหวัดนครปฐมและจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นของทำด้วยหินปูนสีเขียวแก่
อย่างที่เรียกว่า bluish limestone ( ดูรูปที่ 14 - 20 ) ธรรมจักรที่ทำด้วยหินปูนสีเขียวแก่นี้
ได้เคยสืบหาแหล่งหินกัน และเข้าใจว่าเป็นเนื้อหินที่หาได้จากบริเวณเขาตกน้ำ อำเภอเขาย้อย
จังหวัดเพชรบุรี กับบริเวณห้วยชินสีห์ จังหวัดราชบุรี และบริเวณเทือกเขาในอำเภอจอมบึง
จังหวัดราชบุรี ที่ว่าหาได้จากบริเวณนั้นบริเวณนี้ เพราะไม่แต่จะหาหินชนิดนั้นได้จากภูเขา หากแต่มีหินชนิดดังกล่าวเป็นแผ่นหินลอยตัวอยู่ตามพื้นดินที่ราบในบริเวณนั้นๆ เช่นล้อธรรมจักร
ที่วัดคลองขวาง ตำบลเมืองเสมา จังหวัดนครราชสีมา ( ดูรูปที่ 7 ) ก็คงทำจากแผ่นหินที่หาได้
ในลำห้วยแถวตำบลเมืองเสมา อำเภอสูงเนิน นั่นเอง และขอบอกกล่าวไว้เสียเลยว่า เนื้อหินของ
ธรรมจักรที่วัดคลองขวาง เมื่อเปรียบเทียบกับธรรมจักรที่พบในจังหวัดนครปฐมแล้ว เห็นได้
้ว่าฝีมือช่างและเนื้อหินต่างกัน เพราะทำจากหินและฝีมือช่างต่างถิ่นกัน หินปูนดังกล่าวนี้ นอกจากนำมาจำหลักเป็นล้อธรรมจักรแล้วยังใช้จำหลักเป็นพระพุทธรูปปางต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ
ด้วย คงจะเนื่องด้วยเนื้อหินชนิดนี้อ่อน แกะจำหลักได้ง่าย และธรรมจักรที่ขุดพบในอำเภออู่ทอง
จังหวัดสุพรรณบุรี ได้พบทั้งฐานและเสาศิลา จึงเข้าใจกันว่า ล้อธรรมจักรที่เห็นกันมา
แต่เดิมคงจะตั้งอยู่บนยอดเสา หน้าพระสถูป ( ดูรูปที่ 1,2 และ 27,28 เปรียบเทียบ )


รูปที่ 14
ธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต พระปฐมเจดีย์
จังหวัดนครปฐม รอบดุมจำหลักเป็นบัวรวน กงโดยรอบเป็นลายก้านขด


รูปที่ 15
ธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
รอบดุมจำหลักบัวกลีบเตี้ย กงเป็นลายประจำยาม



รูปที่ 16
ธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม



รูปที่ 17
ธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
บัวรอบดุมไม่มีเกสร วงล้อเป็นลายเนื่องและเส้นลวด
บัวรองทำเป็นกลีบยาวคล้ายกาบหอยแคลง



รูปที่ 18
ธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
ลวดลายรอบดุมและที่กงจำหลักเป็นลายบัวรวนแข้งสิงห์
ฐานรูปสี่เหลี่ยมเจาะรู



รูปที่ 19
ธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
ลายรอบดุน จำหลักเป็นลายกลีบบัว ( ธรรมดา )
ส่วนลายขอบกง จำหลักเป็นรูปบัวฟันยักษ์



รูปที่ 20
ธรรมจักรหินปูน พิพิธภัณฑสถาน ฯ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
ที่กงล้อจำหลักเป็นลายก้านขด

ล้อธรรมจักรที่ทำด้วยหินปูนสีเขียวแก่ดังกล่าว มีลวดลายจำหลักอยู่ทั่วไป ทั้งที่วงรอบดุม
ที่กำและที่กง โดยปกติที่วงรอบดุมจะมีรูปจำหลักเป็นเม็ดกลม ๆ เรียกว่า ลายเนื่อง โดยรอบ
คงจะสมมติเป็นเกสรบัว แล้ววงถัดออกมา จำหลักเป็นกลีบบัวธรรมดาบ้าง บัวรวนบ้าง
บัวฟันยักษ์บ้าง วงถัดออกมาจำหลักเป็นลายเนื่องโดยรอบอีก ถัดออกมาจำหลักเป็น ซี่กำ
โคนใหญ่ปลายย่อม ให้เห็นซี่เป็นรูปกลมบ้าง เป็นเหลี่ยมบ้าง และที่วงล้อเบื้องล่างจำหลักเป็น
บัวคว่ำหัวหงาย มี ลายก้านขด ต่อขึ้นไปเป็นรูป 3 เหลี่ยม บางล้อก็มีรูปเทวดาหรือกษัตริย์
ทรงมงกุฎโผล่พระพักตร์เพียงอุระ สองหัตถ์เกาะอยู่ขอบราวกลีบบัว คล้ายโผล่บัญชร
( ดูรูปที่ 21 )


รูปที่ 21
ธรรมจักรหินปูน ขุดพบในโบราณสถาน อำเภอกำแพงแสน
จังหวัดนครปฐม ที่ฐานจำหลักเป็นรูปเทวดาหรือกษัตริย์โผล่บัญชร
หัตถ์ทั้งสองเกาะราวกลีบบัว
ที่ฐานรองรับสี่เหลี่ยมมีจารึกคาถาภาษาบาลี
( ดูรปที่ 25 )


ปลายกำด้านติดกับ ท้องกง แต่ละซี่จำหลักเป็นกระหนกคล้าย บัวหัวเสา รับท้องกง
วงถัดออกมาเป็นท้องกง จำหลักเป็น เส้นลวด เสียรอบหนึ่ง ถัดออกมาก็จำหลักเป็น
รักร้อยประเภทกลีบบัว เป็นวงไปโดยรอบบ้างเป็น ลายก้านขด ชั้นเดียวหรือสองชั้นบ้าง
เป็น ลายก้านต่อดอก บ้าง แล้วจำหลักเป็น เส้นลวด คั่น วงขอบนอกของกงจำหลักลายคล้าย
กระหนกเปลว บ้าง เป็น เม็ดบัว บ้าง เป็นรูปอื่น ๆ บ้าง แต่ธรรมจักรบางอันก็จำหลักละเอียด
ประณีตกว่าที่กล่าวมานี้มาก เช่น ธรรมจักรศิลาอันใหญ่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จำหลักลวดลายละเอียดหลายวงหลายชั้น* และที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ธรรมจักรทุกล้อ
จำหลักเป็นฐานที่ตั้งติดอยู่ในบัว แต่บางล้อก็ทำเป็นแกนคล้ายกับจะเสียบตั้งลงในฐานะ
รองรับอันอื่น ฐานที่ตั้งติดล้อนั้น บางอันก็จำหลักเป็นบัวหงายบัวคว่ำ บางอันที่เป็นบัวหงายก็จำหลักกลีบบัวเสียยาวเฟื้อยมองดูคล้ายหอยแคลง ( ดูรูปที่ 17 )
บางอันก็ทำเป็นลายก้านขดคู่ บางอันก็ทำเป็นลวดลายอย่างอื่น และบางอันก็ทำเป็นลายกระหนกสูงขึ้นมาปิดซี่กำด้านล่างจนถึงขอบดุม มีล้อธรรมจักรอยู่ 2 ล้อ ที่ฐานด้านตั้งทำเป็นรูปเทวดานั่งขัดสมาธิราบ มือทั้งสองถือก้านชูดอกตูมข้างละดอกยกขึ้นเหนือ
บ่าทั้งสอง ซึ่งท่านผู้รู้บางท่านอธิบายว่าเป็นรูปอรุณเทพบุตร ( ดูรูปที่ 22 ) และมีอยู่ล้อหนึ่งที่ข้างทั้งสองของอรุณเทพบุตรนั้นจำหลักเป็นรูปคนแคระหรือกุมภัณฑ์ เอาหลังยันแบกขอบล่างของวงล้อข้างละคน ( ดูรูปที่ 23 )




รูปที่ 22 รูปที่ 23
ธรรมจักรหินปูน พิพิธภัณฑสถาน ฯ พระปฐมเจดีย์ ธรรมจักรหินปูน
ที่ฐานรองมีรูปอรุณเทพบุตร
กงล้อ จำหลักเป็นลายก้านขอ ที่ฐานรองรับทำเป็น และมีคนแคระหรือภุมภัณฑ์
แบบอยู่สองข้าง รูปเทวดาถือดอกบัว หรืออรุณเทพบุตร..........................................................................

กับมีฐานของธรรมจักรชิ้นแตกหัก แต่ตรงที่เป็นรูปอรุณเทพบุตร หรือบางท่านว่าเป็นรุปครุฑ ถือดอกบัว
ยังอยู่ค่อนข้างสมบูรณ์ ตั้งอยู่ที่ระเบียงพระปฐมเจดีย์อีกชิ้นหนึ่ง ( ดูรูปที่ 24 ) กับขุดพบที่เนินโคกเจดีย์ ทางทิศตะวันออกของเมืองเก่ากำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม อีกล้อหนึ่ง ที่ฐานศิลา 4 เหลี่ยมจารึกคาถาภาษาบาลี ( ดูรูปที่ 21 และ 25 ) ว่า




รูปที่ 24 รูปที่ 25
ฐานธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต ฐานรองรับธรรมจักรศิลารูปที่ 21
พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม มีจารึกคาถาภาษาบาลี ดูคำอ่านด้านล่าง
รูปเทวดาหรือบางท่านว่าเป็นรูปครุฑถือดอกบัว ขุดพบที่โบราณสถานเมืองกำแพงแสน

............อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

สจฺจกิจฺกตญาณํ จตุธา จตุธา กตํ
ติวฏฺฏํ ทฺวาทสาการํ ธมฺมจกฺกํ มเหสิโน

แปลว่า ธรรมจักร ของพระ (พุทธเจ้า) ผู้แสวงหาพระคุณอันยิ่งใหญ่ ทำ (ซี่กำ) ให้เป็นสี่ ๆ
(คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) มีญาณรู้สัจจะ รู้ที่ควรทำ รู้ที่ทำแล้ว หมุนไป 3 รอบ
จึงเป็นอาการ 12

ที่ข้าพเจ้านำเรื่องลวดลายจำหลักในธรรมจักรศิลามากล่าวโดยสังเขป ก็เพื่อเป็นแนวให้ท่าน
ผู้สนใจใช้เป็นข้อสังเกตเมื่อพบเห้น ลักษณะของลวดลายในล้อธรรมจักรดังกล่าวนี้ นักโบราณคดีวินิจฉัยกันว่าธรรมจักรในเมืองไทย เป็นของทำขึ้นในสมัยทวารวดี
( พุทธศตวรรษที่ 11 - 16 ) เพราะส่วนใหญ่คล้ายกับลวดลายสมัยราชวงศ์คุปตะในอินเดีย ถ้ากระนั้นก็แสดงว่าได้มีผู้นำเอาแบบอย่างวัฒนธรรมของอินเดียโบราณ เข้ามาสู่ดินแดนเอเซีย
ตะวันออกเฉียงใต้ภาคนี้ อย่างน้อยก็ในสมัยราชวงศ์คุปตะครองประเทศอินเดีย
ระหว่าง พ.ศ. 850 - 1150 หรือถัดมายังมีธรรมจักรศิลาชิ้นสำคัญอีกล้อหนึ่ง แต่น่าเสียดาย
ที่แตกชำรุดและบางส่วนหายไป เดี๋ยวนี้เก็บรักษาล้อธรรมจักรนี้ไว้ในพิพิธภัณฑสถาน ฯ
พระปฐมเจดีย์


ธรรมจักรล้อนี้มีที่น่าสังเกตคือ ฐานสำหรับตั้งจำหลักเป็นดอกบัวใหญ่คล้ายบัวหัวเสา
ทำแย้มกลีบกางออกอย่างแบบบัวกระจับ รองรับวงล้อ บนดอกบัวใหญ่นั้นจำหลักรูปนาง
กษัตริย์นั่งขัดสมาธิราบ ที่กล่าวว่านางกษัตริย์ ก็เพราะในรูปมีศิราภรณ์
สองหัตถ์ประคองพระอุทร มีช้างสองเชือกยืนอยู่บนกลีบบัวดอกเดียวกันนั้นด้วยข้างละตัว ต่างชูงวงลือเต้าน้ำเทลงมายังนางกษัตริย์ ( ดูรูปที่ 26 ) ล้อธรรมจักรนี้ ถ้าว่าในทาง
ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ก็ควรได้รับพิจารณาอย่างยิ่ง จึงขอนำข้อคิดเห็นมากล่าวต่อไป



รูปที่ 26
ธรรมจักรหินปูน (ชำรุด) พิพิธภัณฑสถาน ฯ พระปฐมเจดีย์
จังหวัดนครปฐม
เบื้องล่างจำหลักเป็นนางกษัตริย์ประทับนั่งบนดอกบัวใหญ่
มีช้างสองเชือกชูงวง ถือเต้าน้ำเทลงมา
( เปรียบเทียบกับภาพลายเส้นแสดงส่วนสมบูรณ์ ดูรูปด้านล่าง )


ภาพลายเส้นแสดงส่วนสมบูรณ์ของธรรมจักรหินปูน รูปที่ 26


ภาพนางกษัตริย์นั่งบนดอกบัวใหญ่ มีช้างสองเชือกชูงวงถือเต้นน้ำเทลงมา
ภาพลายเส้น ขยายจากรูปที่ 26 ( เปรียบเทียบรูปที่ 29 และรูปที่ 31 )

รูปจำหลักเป็นนางกษัตริย์นั่งบนดอกบัวใหญ่ และมีช้างสองเชือกยืนอยู่ 2 ข้าง ต่างชูงวงยกเต้าน้ำเทรพลงมายังนางกษัตริย์ที่ล้อธรรมจักรดังกล่าวนี้ ศิลปินผู้สร้างและ
ผู้แกะจำหลักในถิ่นนี้ จะคิดขึ้นเองหรือได้แบบอย่างมาจากไหน ? เราควรจะลองค้นคว้าหาแหล่งที่มาของแนวความคิดและแบบอย่างกันดู จะค้นคว้าได้อย่างใด ?
ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า ได้มีผู้นำเอาแบบอย่างวัฒนธรรมอินเดียโบราณเข้ามาสู่ดินแดนภาคนี้ เราจึงลองพากันเดินทางไปสืบดูในดินแดนนั้นบ้าง บางทีอาจพบแนวความคิดดังกล่าว และสมมติว่าเรามีโอกาสได้เดินทางไปชมและนมัสการปูชนียสถานในอินเดียตอนกลาง ผ่านไปนมัสการปูชนียสถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่โพธิคยา แล้วไปสารนาถที่ทรงประทาน
ปฐมเทศนา แล้วผ่านลึกเข้าไปตอนภาคกลางของประเทศไปดูภารหุต
และวกลงไปนครอุชเชนีโบราณ แล้วค่อย ๆ เลี้ยวลงทางตะวันตกเฉียงใต้เข้าไป
จะพบบรรดาปูชนียสถานโบราณ ณ บริเวณสาญจี ซึ่งมีพระมหาสถูป มีกำแพงศิลา
และมีประตูหรือโดรณทำด้วยหิน ตั้งตระหง่ายประจำอยู่ทั้งสี่ทิศ
ประกอบด้วยพระสถูปใหญ่น้อยและปูชนียสถานอื่น ๆ อีกมากมายมีภาพจำหลักเป็นคนและสัตว์
เป็นลายประดับ เป็นชาดกบางเรื่องและเป็นสัญญลักษณ์แสดงปางต่าง ๆ ในพุทธประวัติบางตอน ซึ่งนักค้นคว้าทางโบราณคดีค้นพบว่าพระมหาสถูปสาญจีนั้น
แรกสร้างขึ้นไว้ในสมัยราชวงศ์เมารยะหรือโมริยะ ครองประเทศอินเดีย ราวระหว่าง พ.ศ. 220
หรือ พ.ศ. 230 ถึงราว พ.ศ. 356 ซึ่งตั้งนครหลวงอยู่ ณ นครปาฏลิบุตร ราชวงศ์เมารยะนี้มีพระมหากษัตริย์ที่นักประวัติศาสตร์รู้จักพระนามกันดี 3 พระองค์
คือ พระเจ้าจันทรคุปต์ ผู้ตั้งราชวงศ์เมารยะ พระเจ้าพินทุสาร ซึ่งมีฉายาว่า อมิตตฆาฏ
และพระเจ้าอโศก มหาราช องค์เอกอัครศาสนูปถัมภกพระบวรพุทธศาสนา
พระมหาสถูปสาญจีก็ดี ภาพจำหลักเป็นสัญญลักษณ์ที่ช่างศิลปชาวอินเดียนำมาใช้แสดง
เป็นปางต่าง ๆ ในพุทธประวัติก็ดี นักประวัติศาสตร์ และโบราณคดีลงความเห็นกันว่า ได้สร้างขึ้นและนำมาใช้ในรัชสมัยพระเจ้าอโศก มหาราช ซึ่งเสวยราชย์ในระหว่าง
ปี พ.ศ. 270 ถึง 311* สถานที่ซึ่งเรียกว่า สาญจี นั้นเป็นเนินเขา ในคัมภีร์มหาวงศ์
ซึ่งเป็นพงศาวดารของลังกา เรียกเนินเขาสาญจีว่า เจติยคิรี ปัจจุบันอยู่ในแคว้นโภปาล
มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระเจ้าโอศก ครั้งดำรงตำแหน่งรัชทายาทและเสด็จไปยังนครอุชเชนี
ระหว่างทางได้หยุดประทับพักอยู่ ณ คฤหาสน์ของเศรษฐีผู้หนึ่งในเมืองวิทิศา
( คือเมือง Besnagar ปัจจุบัน ) ได้ทอดพระเนตรเห็นลูกสาวเศรษฐีผู้นั้นทรงสิริโฉมงดงาม
ก็ทรงสิเนหา และได้ทรงอภิเษกกับธิดาของเศรษฐีผู้นั้น เป็นมเหสีองค์แรก ต่อมาพระมเหสีองค์
นี้มีพระนามว่า วิทิศา - มหาเทวี 3 องค์ เป็นโอรส 2 ชื่อ อุชเชนิยะ กับ พระมหินท์ **
ส่วนธิดา คือ นางสังฆมิตตา ครั้นพระเจ้าอโศกได้เสวยราชย์สืบราชสมบัติต่อมา
พระเจ้าพินทุสาร พระราชบิดา และได้ทรงอุปถัมภ์พระบวรพุทธศาสนาเป็นการใหญ ่ทรงเป็นอุปถัมภกทำตติยสังคายนาซึ่งจัดให้มีขึ้น ณ กรุงปาฏลิบุตร พระมหินท์ ราชโอรสก็เสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา และพระราชบิดได้โปรดให้ทรงเป็นหัวหน้านำคณะสมณฑูตไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา
ในลังกาทวีป ซึ่งในตำนานกล่าวว่า ก่อนพระมหินทเถระจะไปลังกานั้น ได้เสด็จไปเยี่ยม
โยมมารดาที่เจติยคิรี ใกล้เมืองวิทิศา และได้พักอยู่ในวิหารอันโอ่อ่าที่โยมมารดา
ได้สร้างขึ้นที่นั่น ณ บริเวณเนินเขาสาญจี ซึ่งเรียกว่า เจติยคิรี พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงสร้างหลักศิลาจารึกพระราชโองการของพระองค์ ตลอดจนทรงก่อสร้าง
อนุสรณสถานอื่น ๆ ไว้ ณ เนินเขานั้นด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ก่อนหน้านั้นหรือ
ระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าอโศกว่า "ได้ทรงทำให้ชมพูทวีป ( คืออินเดีย )
งดงามด้วยพระสถูปเจดีย์ชั่วพริบตา ด้วยอานุภาพของพวกยักษ์"
ตำนานทางพระพุทธศาสนาก็กล่าวว่า พระเจ้าอโศกได้ทรงสร้างพระสถูปเจดีย์จำนวนถึง
84,000 ในดินแดนประเทศอินเดีย และอาฟกานิสถาน แม้ตำนานจะกล่าวจำนวน
ไว้ดูจะมากเกินไป แต่ก็แสดงว่าได้ทรงสร้างไว้มากมายรวมทั้งที่สร้างมหาสถูปสาญจี
ในแคว้นโภปาลดังกล่าวด้วย แต่เมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้าอโศกมหาราชแล้ว อำนาจ
ของพระราชวงศ์เมารยะก็เสื่อมลง มหาอาณาจักรของราชวงศ์เมารยะก็แตกแยกเป็น
แคว้นเล็กแคว้นน้อย กษัตริย์พระองค์สุดท้ายในราชวงศ์เมารยะ ทรงพระนามว่า
พฤหัทรถ ก็ถูกเสนาบดีมีนามว่าปุษยมิตร ซึ่งเกิดในสกุลพราหมณ์ ปลงพระชนม์เมื่อราว
พ.ศ. 356 แล้วปุษยมิตรก็ขึ้นครองราชสมบัติและตั้งราชวงศ์ใหม่ชื่อ ราชวงศ์ศุงคะ

พระเจ้าปุษยมิตร แห่งราชวงศ์ศุงคะ ขึ้นครองราชสมบัติ ณ นครปาฏลิบุตร ราวระหว่าง
พ.ศ. 356 - 392 มีตำนานกล่าวว่า ทรงเป็นศัตรูจองล้างจองผลาญพระพุทธศาสนา
เช่นที่กล่าวไว้ในคัมภรีย์มัญชุศรีมูลกัลป ว่า นาศยิษฺยติ ตทา มุธา วิหารํ ธาตุวรํ
สตธา ภิกฺษวะ ศีลสมฺปนฺนมฺ ฆาตยิษฺยติ ทุรฺติ
แปลว่า "ครั้งนั้น ผู้โฉดเขลา จักทำลายวิหารที่ประดิษฐานพระบรมธาตุให้ย่อยยับหาประโยชน์มิได้ จักฆ่าพระภิกษ
ุผู้มีศีลสมบูรณ์" และว่าพระเจ้าปุษยมิตรทรงกำหนดวางสินบนเป็นค่าศีรษะพระภิกษุ
สงฆ์ไว้ด้วย ดังมีกล่าวในคัมภรีย์ทิวยาวทาน ว่า โย เม ศฺรมณศิโร ทาสยติ,
ตสฺยาหํ ทินารฺศตํ ทาสยามิ
แปลว่า "ผู้ใดนำศีรษะสมณะมาให้แก่เรา เราจะให้
้รางวัลหนึ่งร้อยทินาร์แก่ผู้นั้น" นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวแย้งว่า ข้อความ
ในคัมภีร์ทั้งสองนี้ ดูจะเป็นคำปรับปรำพระเจ้าปุษยมิตรเกินไป แต่ก็มีความจริงอยู่ว่า พระเจ้าปุษยมิตรนั้นมีพระชาติกำเนิดเป็นพราหมณ์และทรงนับถือศาสนาพราหมณ์
ทั้งปรากฏว่าภายหลังปราบดาภิเษกแล้ว ก็ได้โปรดให้รื้อฟื้นความเชื่อถือและลัทธิพิธี
สมัยพระเวทขึ้นมาอีก ซึ่งเป็นการตรงข้ามกับพระเจ้าอโศกมหาราชที่โปรดอุปถัมภ์
บำรุงพระบวรพุทธศาสนา จึงเป็นธรรมดาที่พระภิกษุสงฆ์ และชาวพุทธศาสนิกจะ
พากันไม่พอใจ จึงได้มีข้อความปรากฏในพระคัมภีร์ดังกล่าว
............................
* ปีเสวยราชย์และสวรรคตของพระเจ้าอโศกมหาราชนี้ กำหนดตามเลขคริสต์ศักราช
ในหนังสือ History of Fine Art in Indes & Ceylon ของ Vincent A. Smith
โดยใช้เกณฑ์ 543
** นักปราชญ์ฝรั่งบางท่านกล่าวว่า บางตำนานอ้างว่า พระมหินท์เป็นพระอนุชา
ของพระเจ้าอโศก


พระเจ้าปุษยมิตร แห่งราชวงศ์ศุงคะเสวยราชย์อยู่ ณ นครปาฏลิบุตร ราว 26 ปี ก็สวรรคต
พระราชโอรสพระนามว่า อัคนิมิตร ซึ่งดำรงตำแหน่งอุปราช ผู้สำเร็จราชการมณฑลฝ่าย
ตะวันตก มีนครวิทิศาเป็นเมืองหลวง ได้เสวยราชย์สืบต่อจากพระเจ้าปุษยมิตร แล้ว
พระเจ้าวสุมิตรราชโอรสพระเจ้าอัคนิมิตร และพระเจ้าภาคภัทร เสวยราชย์ต่อกันมา กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์นี้ก็ประสบชะตากรรมคล้ายคลึงกับกษัตริย์องค์สุดท้าย
ของราชวงศ์เมารยะ คือทรงอ่อนแอและเสื่อมอำนาจลงจนกลายเป็นหุ่นให้เสนาบดี
พรามหณ์ในสกุล กาณวะ จับเชิดอยู่ตลอดเวลา แต่คงครองราชย์ต่อมาจนราว พ.ศ. 500
หรือ 510 ก็สิ้นราชวงศ์ศุงคะ ในรัชกาลหลัง ๆ แห่งราชวงศ์ศุงคะ นับแต่พระเจ้าอัคนิมิตรมา เป็นระยะเวลาที่มีประโยชน์ดีแก่บรรดาพุทธศาสนิก ด้วยมิได้แสดงว่าทรงเป็นศัตรูจองล้าง
จองผลาญพระพุทธศาสนา จึงปรากฏว่ามีพุทธศาสนิกก่อสร้างปูชนียสถานที่สำคัญ ๆ
ณ บริเวณ สาญจี ตลอดจนที่ภารหุตขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก และพระสถูปองค์ที่ 2 กับ
ที่ 3 ณ บริเวณเนินเขาสาญจี ก็กล่าวกันว่าได้สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ศุงคะในระยะนี้ด้วย นักปราชญ์ทางโบราณคดีได้สอบสวนค้นคว้าแล้วลงความเห็นกันว่า พระสถูปที่พระเจ้าอโศก
มหาราชทรงสร้างไว้แต่เดิมนั้น ก่อด้วยอิฐและก็เล็กกว่าปัจจุบันตั้งครึ่ง แต่พระมหาสถูปสาญจี
ปัจจุบันนี้วัดผ่านศูนย์กลางกว้างถึง 121 ฟุตครึ่ง สูงราว 77 ฟุตครึ่ง เป็นของเสริมสร้างจาก
องค์เดิมโดยก่อพอกทับด้วยศิลา พร้อมทั้งกำแพงศิลาที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งสูง 11 ฟุต
ก็เปลี่ยนจากของเก่าที่ทำไว้ด้วยไม้ และประตูหรือโดรณที่ทำด้วยศิลาทั้งสี่ทิศก็ว่าได้สร้างขึ้น
ในสมัยนี้ด้วย ( ดูรูปด้านล่าง )


พระมหาสถูป ที่สาญจี

เขาลงความเห็นกันว่า สิ่งก่อนสร้างเพิ่มเติม ณ พระมหาสถูปสาญจีนี้ ตกอยู่ในระยะระหว่าง
พ.ศ. 400 ถึง 500 แต่ท่าน Sir Marahall กล่าวว่า ประตูทั้งสี่ทิศของพระมหาสถูปกับ
ประตูเดี่ยวของพระสถูปที่ 3 รวม 5 ประตู นั้นจะต้องสร้างขึ้นถัดกันมาในระยะเวลา 20 - 30 ปี และประตูทิศใต้ของพระมหาสถูปซึ่งสร้างขึ้นก่อนประตูอื่นทั้งหมด มีจารึกบอกนามผู้บริจาคไว้บนคานศิลาที่ขวางเสาเหนือช่องประตูว่า อานันทะ ผู้เป็นหัวหน้า
บรรดาช่างฝีมือ ของกษัตริย์ ศรีศาตะกรรณิ แห่งแคว้นอันธระ ซึ่งมีอำนาจครอบครอง
อาณาจักรที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำกฤษณา และโคทาวารีในอินเดียภาคใต้และปรากฏว่า เป็นผู้กำจัดอำนาจของกษัตริย์ราชวงศ์ศุงคะ กับอำมาตย์สกุลกาณวะให้สูญสิ้นไปจากอินเดีย
เมื่อราว พ.ศ. 500 หรือ 510 ถ้ากระนั้น ประตูหรือโดรณที่พระมหาสถูปสาญจีก็อาจสร้างขึ้น
ในระหว่างปี พ.ศ. 500 ถึง 550 ก็เป็นได้


รูปที่ 27 รูปที่ 28
ธรรมจักร ที่สถูปสาญจี คริสต์สตวรรษที่ 1 (บน) ธรรมจักรเป็น
เครื่องหมายทรง ทำเป็นรูปวงล้อกำลังหมุนอยู่บนเสมา ประทานปฐมเทศนา
ภาพจำหลักที่ เครื่องหมายทรงแสดงปฐมเทศนา ประตูสถูปที่สาญจี
หมายเลข 3

(ล่าง) ต้นโพธิ์และบัลลังก์
เป็นเครื่องหมายตรัสรู้

เสาประตูหรือโดรณทั้งสี่ทิศนั้นจำหลักภาพไว้เต็มไปหมด รวมทั้งภาพชาดกบางเรื่อง และภาพสัญญลักษณ์ในพุทธประวัติบางตอน เช่น ภาพธรรมจักร สมมติเป็นปางปฐมเทศนา
( ดูรูปที่ 27 ) ภาพบัลลังก์และต้นพระศรีมหาโพธิ สมมติเป็นปางตรัสรู้ ( ดูรูปที่ 28 )
ภาพพระสถูป สมมติเป็นปางปรินิพพาน และประตูหรือโดรมทิศตะวันออกกับทิศเหนือ
ของพระมหาสถูปสาญจีนั้น จำหลักภาพเป็นใบบัวและดอกบัว ทั้งบานและตูมผุดพ้นขึ้น
มาจากหม้อน้ำ และมีบัวบานใหญ่ดอกหนึ่ง ชูดอกเด่นอยู่ตรงกลาง บนดอกบัวนั้นทำเป็นรูปนางกษัตริย์ประทับนั่งพับพระบาทขวาอยู่บนดอกบัว
ห้อยพระบาทซ้ายลงมาวางอยู่บนใบบัว หัตถ์ซ้ายวางอยู่บนพระเขลาซ้าย ส่วยหัตถ์ขวาถือก้านชูดอกบัวตูมอยู่ระดับเหนืออังสาขวา มีช้างสองเชือกยืนอยู่บนดอก
บัวบานเชือกละดอก ขนาบอยู่ 2 ข้าง แต่ละเชือกชูงวงถือเต้าน้ำเทลงมาบนเศียร
ของนางกษัตริย์ ( ดูรูปที่ 29 )


รูปที่ 29
ปางประสูติ จำหลักไว้บนประตู หรือโดรณทิศตะวันออก
ของพระมหาสถูปสาญจี ( ดูภาพลายเส้นด้านล่าง )


แสดงรายละเอียดของรูปที่ 29 จำหลักเป็นนางกษัตริย์
นั่งบนดอกบัวใหญ่ มีช้างสองเชือกชูงวงถือเต้าน้ำเทลงมา
( เปรียบเทียบรูปที่ 26 )

รูปนางกษัตริย์ประทับนั่งบนดอกบัว มีช้างสองเชือกชูงวงถือเต้มน้ำเทลงบนพระเศียรนี้ นักปราชญ์ทางโบราณคดีชาวอังกฤษและฝรั่งเศสชื่อ มาร์แชล และฟูแชร์ ลงความเห็นกันว่า เป็นภาพพระนางศิริมหามายากำลังประสูติพระบรมโพธิสัตว์ กล่าวคือสมมติเป็นภาพปางประสูต
ิในเรื่องพุทธประวัติ ในสมัยที่อินเดียมีข้อห้ามมิให้สร้างรูปเคารพดังกล่าวมาข้างต้น
ช่างศิลปจึงสร้างรูปแบบนี้ขึ้นแทน นอกจากทำเป็นภาพพระนางศิริมหามายาประทับนั่งบนดอกบัว มีช้างสองเชือกชูงวงยกเต้าน้ำเทลงมาแล้ว มีบางภาพทำเป็นพระนางศิริมหามายาประทับยืนบน
ดอกบัวบ้าง เช่นภาพจำหลักที่โดรณทิศเหนือพระมหาสถูปสาญจี บางภาพก็จำหลักจำเพาะรูปหม้อน้ำมีดอกบัวทั้งบานและตูมชูก้านและดอกขึ้นมา
ไม่มีรูปพระนางศิริมหามายาและช้าง 2 เชือก แต่คงสมมติหมายรู้กันว่าเป็นภาพแสดง
สัญญลักษณ์ปางประสูติเช่นกัน เมื่อได้มาชมภาพจำหลัก ณ โดรณของพระมหาสถูปสาญจี
เช่นนี้แล้วก็ชวนให้คิดไปว่า ที่นี่แล้วกระมังที่ช่างศิลปที่นครปฐมโบราณของเรา ได้แบบอย่างมาทำขึ้นในธรรมจักรศิลาดังกล่าวข้างต้น


ลายจำหลักที่ธรรมจักรศิลาชักพาให้ข้าพเจ้าเล่าประวัติราชวงศ์ของพระมหากษัตริย์โบราณ ที่เคยมีพระบรมเดชานุภาพครอบครองอินเดียตอนภาคกลาง และเลยพาท่านท่องเที่ยวไปชมภาพจำหลักที่ประตูหรือโดรณของพระมหาสถูปสาญจี
ในประเทศอินเดีย คราวนี้เรากลับมาช่วยกันพิจารณาภาพจำหลักที่ล้อธรรมจักร
ในพิพิธภัณฑสถานฯ พระปฐมเจดีย์ของเรา เปรีบเทียบกันดูอีกครั้ง ณ
ตอนล่างของธรรมจักรศิลาล้อนั้น จำหลักเป็นดอกบัวใหญ่ บนดอกบัวจำหลักรูปนางกษัตริย์
ประทับนั่งขัดสมาธิราบ สองหัตถ์ประคองพระอุทร มีช้างสองเชือกยืนอยู่บนกลีบบัวดอก
เดียวกัน ข้างละเชือกชูวงถือเต้าน้ำเทลงมายังนางกษัตริย์ จะเป็นไปได้ไหมที่เราจะสร้าง
จินตนาการของเราให้ล่องลอยไปว่า ในสมัยโบราณประมาณสองพันปีมาแล้ว
มีพุทธศาสนิกชนคนใดคนหนึ่ง หรือคณะใดคณะหนึ่ง เดินทางจากนครปฐมโบราณ
ไปสู่ดินแดนอินเดีย เพื่อไปนมัสการปูชนียสถานในพระพุทธศาสนา และได้เดินทางไป
จนถึงพระมหาสถูปสาญจี หรือตรงกันข้าม มีบุคคลซึ่งเป็นพ่อค้าคหบดี ชาวเดินเรือ
หรือ พระภิกษุสงฆ์ ผู้ใดผู้หนึ่งหรือคณะใดคณะหนึ่ง ซึ่งเคยเห็นพระมหาสถูปสาญจี
ได้เดินทางจากอินเดีย มาสู่ดินแดนแห่งนครปฐมโบราณ มาบอกเล่าเก้าสิบให้ทราบต่อ ๆ
กันมาว่า ที่พระมหาสถูปสาญจี มีประตูหรือโดรณทำด้วยศิลาและจำหลักภาพเป็นรูปล้อ
ธรรมจักร จำหลักภาพเป็นบัลลังก์และต้นพระศรีมหาโพธิ จำหลักเป็นรูปพระนางศิริ
มหามายาประทับนั่งบนดอกบัว มีช้างสองเชือกยืนบนดอกบัวชูงวงถือเต้าน้ำเทลงมายังพระองค์
และช่างศิลปสมัยนั้นก็จดจำไว้ แล้วนำมาจำหลักลงไว้ในล้อธรรมจักรดังที่เห็นกันอยู่ในบัดนี้
แต่ช่างนำมาไม่ถนัด ว่าที่พระมหาสถูปสาญจี เขาทำรูปพระนางศิริมหามายาประทับนั่งอยู่บน
ดอกบัวคนละดอกกับช้างสองเชือก หากแต่สดับตรับฟังมาว่า ช้างสองเชือกก็ยืนอยู่บนดอกบัวด้วย
เหมือนกัน หรืออาจเป็นเพราะเนื้อที่บนล้อธรรมจักรนั้นจำกัดอยู่ ช่างสมัยนครปฐมโบราณจึง
จำหลักรูปพระนางศิริมหามายา กับช้างสองเชือกอยู่บนดอกบัวใหญ่ดอกเดียวกัน ดังท่านจะเห็นได้ที่ธรรมจักรศิลาในพิพิธภัณฑสถาน ฯ พระปฐมเจดีย์บัดนี้
( ดูภาพลายเส้นเขียนจากลายธรรมจักรเปรียบเทียบ กับภาพจำหลักปางประสูติ ณ พระมหาสถูปสาญจี )


รูปที่ 30



ภาพลายเส้น รูปที่ 30

อธิบายรูปที่ 30
ภาพดินปั้น ปางประสูติ หรือ คชลักษมี สมัยทวารวดี
ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
.........................

1. นางกษัตริย์ประทับนั่งขัดสมาธิราบ สองหัตถ์ประคองอุทร หรือถือก้านดอกบัวตูมข้างละดอก จะเห็นดอกบัวตูตั้งขึ้นเบื้องปฤษฎางค์เหนืออังสา
2. ช้างสองเชือกยืนเครื่องคชาธารชูงวงถือเต้าน้ำยื่นไปยังนางกษัตริย์ และคว่ำเต้าน้ำเทลงมา
เห็นเป็นสายเต้าละ 4 สาย
3. แส้จามรี 2 แส้ ตั้งด้ามลง อยู่ระหว่างช้างกับนางกษัตริย์ ข้างละแส้
4. ขอช้าง 2 ขอ ปักปลายลง ด้ามตั้งขึ้น ข้างละขอ
5. วัชระ 2 อัน ตั้งอยู่ 2 ข้าง
6. พวงประคำ หรือพวงมาลัย หรือบ่วงเชือกบาศ 2 พวง หรือ 2 บ่วง อยู่ 2 ข้าง
7. สังข์ 2 ตัว ตั้งหงายข้างละตัว
8. ปลา 2 ตัว หันหัวลงล่าง อยู่ข้างละตัว
9. ฉัตร 2 ฉัตร วางหงาย ด้ามตั้งขึ้นไปเกือบชนกับด้ามแส้จามรี ข้างละฉัตร
10. พัดโบก หรือวาลวิชนี 2 อัน ตั้งปักตัวพัดลง ชูด้ามขึ้น ข้างละอัน
11. เต้าน้ำเบื้องล่าง รองรับดอกบัวอยู่ตรงกลาง
12. วงดอกบัวบานมีกลีบซ้อนแบบมองเห็นจากเบื้องบน อยู่ตรงกลาง รองรับอาสนะกลีบบัวของนางกษัตริย์

4 มุมของดินปั้น มีเสี้ยวกลีบบัวแบบบัวฟันยักษ์ มุมละเสี้ยว



รูปที่ 31 ภาพลายเส้น
คชลักษมี หรือปางประสูติ นายจำรัส เกียรติก้อง
ทำด้วยดินเผา พบที่บริเวณ วาดจากรูปที่ 31 และเติมเส้นจุด
เมืองเก่าอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อให้เห็นว่า เมื่อสมบูรณ์คง
จะมีรูปเช่นนี้

นอกจากภาพจำหลักที่ธรรมจักรศิลาดังกล่าวมาแล้ว ยังได้พบภาพคล้ายคลึงกันนี้
ซึ่งทำเป็นภาพดินปั้นบ้าง หินปูนสีเขียวแก่บ้าง อีกหลายชิ้น แต่ชิ้นที่สมบูรณ์ทำด้วย
ดินปั้นแผ่นสี่เหลี่ยม ยาว 21 เซนติเมตร กว้าง 14.5 เซนติเมตร เก็บไว้
้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีป้ายบอกไว้ว่า "ศิลปสมัยทวารวดี
ได้มาจากพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม" ( ดูรูปที่ 30 ) ภาพดินปั้นแผ่นนี้
นาย เจ. เจ. โบเลส ( J. J. Boeles ) เรียกไว้ในบทความเรื่อง
"กษัตริย์ศรีทวารวดี และเครื่องราชกกุธภัณฑ์" ในจดหมายเหตุของสยามสมาคม เล่ม 42
ภาค 1 ประจำเดือนเมษายน ค.ศ. 1964 ( พ.ศ. 2507 ) ว่าเป็น "คชลักษมี" โดยอธิบายว่าเป็นภาชนะเครื่องสำอางสำหรับใส่แป้งและน้ำมันหอม ซึ่งกษัตริย์สมัยทวารวดี
โปรดให้ทำขึ้นเป็นราชูปโภค นอกจากนี้ ยังมีภาพปั้นดินเผา ( ชำรุด ) ขนาดย่อม ๆ อีกหลายชิ้น
ซึ่งพบที่บริเวณเมืองเก่า อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ทำเป็นรูปสตรีถือดอกบัวสองมือ
และมีช้างสองเชือกอยู่สองข้างซ้ายขวา ( รูปที่ 31 ) น่าจะแสดงว่าในสมัยครั้งกระโน้น คงจะมีผู้รู้จักความหมายของภาพลักษณะนี้กันอยู่แล้ว ช่างในสมัยนั้นจึงนิยมปั้นและ
แกะสลักภาพแบบนี้ขึ้นไว้ อย่างไรก็ตาม ภาพดินปั้นก็ดี ภาพปั้นดินเผาก็ดี
ภาพจำหลักที่ธรรมจักรศิลาดังกล่าวมาข้างต้นก็ดี ถ้าพิจารณาเปรียบเทียบกับภาพจำหลักที่เสาประตูหรือโดรณของพระมหาสถูปสาญจีแล้ว เข้าใจว่าเกิดขึ้นจากความคิดแนวเดียวกัน ซึ่งนายฮาเวลล์ ได้อธิบายไว้ว่า
"บรรดาสัญญลักกษณ์ของพระพุทธศาสนานั้น มิใช่เป็นของที่ ( แรก )
บัญญัติกันขึ้นในพระพุทธศาสนา แต่เป็นสมบัติทั่วไปของศาสนาแบบอินโดอารยันทุกศาสนา การยืมสัญญลักษณ์ของกันและกันไปใช้นี้ จะเห็นได้ เช่น ในแผ่น ( ศิลาจำหลัก )
ต่าง ๆ แสดงรูปพระนาง ( ศิริมหา ) มายา พระพุทธมารดาประทับนั่งหรือยืนบนดอกบัว
ซึ่งชูดอกขึ้นมาจากเต้าน้ำ ส่วนด้านข้างมีช้างโสรจสรงพระนางจากเต้าน้ำที่ถืออยู่ในงวง
เป็นการแน่นอนตาม ม. ฟูแชร์กล่าวไว้ว่า ภาพนี้ช่างประติมากรรมเขาใช้เป็นเครื่องหมาย
ปางประสูติพระพุทธองค์ มีกาลอุบัติอันน่ามหัศจรรย์ที่ได้เห็นกันทุก ๆ เวลาเช้า มาหลาย
ชั่วอายุของศิลปิน แต่สมัยก่อนพุทธกาลแล้ว เช่นแสงเงินแสงทองที่เรียกว่า อุษา โผล่ขึ้นมา
จากมหาสมุทร และดอบบัวพระหรหมา ซึ่งสมมติเป็นบัลลังก์ของพระผู้สร้าง ขยายกลีบแย้มบาน อุษาสมมติเป็นนางฟ้าผู้เปิดประตูสวรรค์ และเธอจะได้รับการโสรจสรงจากช้างของพระอินทร์
กล่าวคือ เมฆฝน ครั้งตนมาในสมัยพุทธกาลความหมายของนิยายดังกล่าวนี้เปลี่ยนแปลงไป
พระพรหมาก็ถูกปลดออกจากบัลลังก์ นางอุษาก็กลายเป็นพระพุทธมารดาผู้มีพระนามว่า
มหามายา ตามความหมายของคำ แปลว่าความยั่วยวนใหญ่ ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์โศกที่พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแห่งความรอดพ้นไว้ ในศิลปของอินเดีย
ยุคหลัง ๆ มาสมมติว่า อุษา หรือ มหามาย นี้เป็นนางลักษมี ว่าเป็นเทพธิดาแห่งความสว่างไสว
ของวัน ผู้ทำให้พระพิษณุองค์สวามีทรงชื่นบานพระทัย เมื่อทรงมีชัยชนะการต่อสู้กับบรรดา
ผีร้ายแห่งความมืดของราตรี แล้วทรงน้ำอมฤตที่ทรงกวนได้จากเกษียรสมุทรมาพร้อมกับองค
์ลักษมีด้วย"

ถ้าภาพดินปั้น ( ดูรูปที่ 30 ) หมายถึงปางประสูติ จะเป็นไปได้ไหม ที่มีภาพราชกกุธภัณฑ์และ
เครื่องราชูปโภคบางอย่าง เช่น ฉัตร และพัดโบก กลับหงาย และห้อยลง มีคั่นฉัตรตั้งขึ้น ซึ่งสมมติเป็นนิมิตว่ากุมารที่ประสูติออกมาจะไปอยู่ครองเศวตฉัตร คือเป็นเครื่องหมายแห่ง
มหาภิเนษกรมณ์

เรื่องความหมายของภาพจำหลักที่ธรรมจักรศิลา จะเป็นสัญญลักษณ์ ปางประสูติ
ในพุทธประวัติดังกล่าวมา หรือจะเป็นคชลักษมี เช่นบทความของนายโบเลส ก็สุดแต่ผู้รู้จะ
วินิจฉัยลงความเห็นกันต่อไป แต่ถ้าเป็นภาพแสดงสัญญลักษณ์ปางประสูติในพุทธประวัติ
ธรรมจักรศิลาล้อนั้น ( ดูรูปที่ 26 ) ก็เป็นสมมติที่มีค่าเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในทางศิลปและโบบราณคดี
ี เพราะนำเอาสัญญลักษณ์ถึง 2 ปาง คือ ปางประสูติและปางประทานปฐมเทศนา
( คือตัวธรรมจักร ) มารวมไว้ในวัตถุชิ้นเดียวกัน. (จบ)