Tuesday, October 28, 2008

ราชวัสดีธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม 4 ภาค 3 - หน้าที่ 328
ราชวัสดีธรรม
จริยาวัตรของราชเสวกนามว่า "ราชวัสดีธรรม" อันเป็นหลักปฏิบัติของข้าราชการมาแต่โบราณ
ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเจริญด้วยยศศักดิ์แก่แวดวงศ์ราชการ ของท่านจงตั้งใจฟังราชวัตรสดีธรรมนี้ให้ดี
บุคคลผู้อยู่ในแวดวงศ์ราชการหากยังไม่มีคุณงามความดีให้เห็น ก็ไม่สมควร ที่จะได้รับพระราชทาน
ยศถาบรรดาศักดิ์ จนกว่าจะมีคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง ให้ปรากฏอย่างเด่นชัด เพื่อจะไได้ไม่ถูกตำหนิในภายหลัง
ผู้ที่เป็นข้าราชการ อย่าทำตัวกล้าบ้าบิ่นจนเกินพอดี ชนิดที่ไม่มองหน้ามองหลังว่า จะเกิดผลกระทบขึ้นอย่างไรกับใคร
ซึ่งจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนติดตามมาภายหลัง
ผู้ที่ข้าราชการอย่าขลาดกลัวจนเสียราชการ คือมีความลำเอียงอันเกิดจากความกลัวภัยที่จะมาถึงตัว ทำให้กระทำในสิ่งที่
ไม่เป็นธรรม เพราะความขี้ขลาด หวาดกลัว เพื่อทำให้ตนปลอดภัยไว้ก่อน
ผู้ที่เป็นข้าราชการ อย่าได้ประมาทเลินเล่อในที่ทุกสถาน ต้องคอยสอดส่อง ระแวดระวังภัยที่จะเกิดขึ้นกับพระราชาอยู่เสมอ
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น เมื่อพระราชาทรงทราบความประพฤติอันประกอบด้วยปัญญา และความบริสุทธิ์อย่างดีแล้ว
เมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์ย่อมทรงวางพระทัย และไม่ทรงปกปิดความลับ จะทรงเปิดเผยความลับนั้นให้ฟัง แล้วก็ไม่ควรแพร่งพรายออกไป
ผู้ที่เป็นข้าราชการทั้งหลาย หากพระราชาไม่ตรัสใช้ ไม่ควรหวั่นไหวด้วยอำนาจฉันทาคติเป็นต้น ดั่งตราชูที่บุคคลประคองให้มีคันเสมอ
เที่ยงตรง ย่อมไม่ยุบลงไม่ฟูขึ้นฉะนั้น
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น พึ่งตั้งใจกระทำราชกิจทุกอย่างให้เสมอต้นเสมอปลาย เหมือนตราชูที่บุคคลประคองให้มีคันเสมอเที่ยงตรงดี
ฉะนั้นควรทำกิจทุกอย่างด้วยความตั้งใจ เที่ยงตรง และด้วยความยุติธรรม
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ต้องเป็นคนฉลาดในราชกิจอันพระราชาตรัสใช้ ไม่ว่าจะเป็นราชกิจในเวลากลางวัน หรือในเวลากลางคืนก็ตาม
ไม่ควรหวาดหวั่นในการกระทำราชกิจนั้นๆ โดยจะต้องทำอย่างเต็มที่ เต็มกำลัง เต็มความสามารถ อันประกอบด้วยสติปัญญา
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ไม่ควรเดินทางที่เขาตกแต่งไว้เรียบร้อยดี สำหรับรับเสด็จพระราชดำเนิน ถึงพระราชาจะทรงอนุญาตก็ตามก็ไม่ควรเดินทางนั้น
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ไม่ควรใช้สอย สมบัติที่น่าปรารถนาทัดเทียมกับพระราชา ไม่ว่าในกาลไหนๆ เพราะว่าเมื่อพระราชาทรงทราบ
ก็จะทรงกริ้วได้ว่า ตีตนเสมอท่าน พึงตามหลังพระราชาในเรื่องกามคุณทุกสิ่งทุกอย่าง
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ไม่ควรใช้สอยประดับประดา เสื้อผ้า มาลา เครื่องลูบไล้ ทัดเทียมกับพระราชา ไม่พึงประพฤติอากัปกิริยาหรือพูดจาทัดเทียม
หรือเลียนแบบพระราชา ควรแสดงอากัปกิริยาให้ต่างออกไป อย่าได้เหมือนพระราชา
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น เมื่อพระราชาทรงพระสำราญอยู่กับหมู่ข้าราชบริพาร มีพระสนมกำนัลในเฝ้าแหนอยู่ อย่าแสดงอาการทอดสายตา
ทำความสนิทสนมกับพระสนมกำนัลในเป็นอันขาด
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ไม่ควรเป็นคนฟุ้งซ่าน แสดงอาการคนพอง อย่าได้คะนองกาย วาจาให้เสียจริยาของข้าเฝ้า รู้จักรักษาตน
ไม่ให้เป็นคนเสียหายด้วยเหตุนั้นๆ สำรวมอินทรีย์ คือไม่พึงมองในสิ่งที่ไม่ควรมองเป็นต้น ระมัดระวังอินทรีย์ไม่ให้เกิดราคีขึ้นได้
พร้อมมีอัธยาศัยไมตรีที่สุจริต อย่าคิดฟุ้งซ่าน
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ไม่ควรเล่นหัว เจรจาปราศรัยในที่ลับสองต่อสองกับพระสนมกำนัลในของพระราชาเป็นอันขาด
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ไม่ควรถือเอาทรัพย์ออกจากพระคลังหลวง หมายถึงไม่ลักลอบหรือขโมย เอาพระราชทรัพย์ออกจากพระคลังหลวงเป็นอันขาด
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ไม่ควรเห็นอก่การหลับนอนมากนัก จนเป็นเหตุให้เสียการเสียงาน ไม่ควรดื่มสุราจนเมามาย จนเป็นเหตุให้เสียสติ
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ไม่ควรฆ่าสัตว์หรือเบียดเบียนสัตว์ต่างๆ ในสถานที่ที่พระราชทานอภัย
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ไม่ควรขึ้นร่วงพระตั่ง ราชบัลลังก์ พระราชอาสน์ เรือและรถพระที่นั่ง ด้วยอาการทนงตนว่าเป็นคนโปรดปราน
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ต้องเข้าใจในราชกิจ มีปฏิภาณไหวพริบในกิจอุปัฏฐาก ไม่ควรเฝ้าให้ไกลนัก ให้ใกล้นัก ควรยืนเฝ้าให้ทอดพระเนตรเห็นถนัด
ทางเบื้องพระพักตร์ และในสถานที่ที่พอจะได้ยินพระราชดำรัสของพระราชาอย่างชัดเจน
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ไม่ควรทำความวางใจว่า พระราชาเป็นเพื่อนของเรา เป็นคู่สนิทสนมกับเรา เพราะพระราชทั้งหลายย่อมทรงพระพิโรธได้โดยเร็วพลัน
เหมือนนัตย์ตาที่ถูกปลายแหลมของเมล็ดข้าวมากระทบฉะนั้น
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น อย่าได้ถือตัวว่าเป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต คือเมื่อพระราชาทรงยกย่องบูชา ก็ชะล่าใจ อย่าได้จาบจวงเพ็ดทูลด้วยถ้อยคำหยาบคาย
ขณะประทับอยู่ในราชบริษัทสมาคม เป็นการทะนงอวดดีจะมีภัย
ผู้ที่เป็นข้าราชการ เมื่อได้รับพระราชทานทางเข้าเป็นพิเศษให้เข้านอกออกในได้ ก็ไม่ควรวางใจในพระราชฐาน ต้องได้รับพระบรมราชนุญาตเสียก่อน
อย่าได้ประมาท ควรระมัดระวังตนเสมือนคนอยู่ใกล้ไฟ
พระราชาทรงยกย่องพระราชโอรส หรือพระราชวงศ์ โดยพระราชทาน หมู่บ้าน นิคม แว่นแคว้น หรือชนบทก็ตาม ผู้ที่เป็นข้าราชการควรนิ่งอยู่ก่อน
อย่าได้เพ็ดทูล ถึงคุณหรือโทษในขณะนั้นโดยทันที
พระราชาจะปูนบำเหน็จรางวัลให้กับกรมช้าง กรมม้า กรมรถ กรมเดินเท้า ตามความชอบในราชการของเขา ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ไม่พึงเพ็ดทูลทัดทานเขา
ทำให้เสียลาบผลที่เขาควรจะได้
ข้าราชการผู้เป็นนักปราชญ์นั้น พึงโอนอ่อนเหมือนคันธนู และไม่มีลิ้นเหมือนปลา คือไม่เจรจาหาเรื่องให้เคืองพระราชหฤทัย พึงเป็นผู้กินน้อย คือไม่มักมากในลาบผล
และไม่ใช้จ่ายใช้ฟุ่มเฟือย
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้นพึงสอดส่องรักษาราชกิจ มิให้ผิดราชประเพณี มีความแกล้วกล้า อาจหาญในการต่อสู้กับอุปสรรค แก้ไขปัญหาข้อขัดข้อง
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ไม่ควรมัวเมาสัมผัสอิสตรีให้บ่อยนัก ซึ่งจะเป็นเหตุให้สิ้นเดช สิ้นปัญญา แล้วก็จะประสบกับโรคทางเดินหายใจ เกิดความกระวนกระวายมีกำลังถดถอย
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ไม่ควรพูดมากเกินไป แต่ไม่ควรนิ่งเสียทุกคราวไป เมื่อถึงเวลาก็ควรพูดแต่พอประมาณ ไม่พร่ำเพรื่อ
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น อย่าเป็นคนมักโกรธ ย่าพูดกระทบใครให้รำคาญหู ต้องเป็นคนพูดจริง พูดจาอ่อนหวาน ไม่พูดจาเสียดสี ไม่พูดเพ้อเจ้อหาสาระมิได้
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ควรเลี้ยงดูมารดาบิดาให้ผาสุข ต้องประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในตระกูล เป็นคนอ่อนหวาน เจรจาไพเราะให้เหมาะแก่ฐานะเป็นลูกหลาน
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ต้องเป็นผู้ได้ฝึกฝนอบรมมาดีแล้วในสมบัติผู้ดี มีศิลปะได้ศึกษามาดี ในการปฏิบัติราชกิจ ต้องข่มจิตอบรมตนมิให้เกิดมลทินโทษ
บำเพ็ญประโยชน์ให้สมบูรณ์ มีจิตใจแน่วแน่ มั่นคง ไม่แปรผัน ไม่เย่อหยิ่ง ไม่ประมาทเลินเล่อเป็นคนสะอาด ไม่มัวหมอง และขยันหมั่นเพียรในหารปฏิบัติราชกิจ
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ควรเป็นผู้มีความประพฤติอ่อนน้อม มีความเคารพยำเกรงในท่านผู้อาวุโสกว่า เป็นผู้สงบเสงี่ยม เรียบร้อย อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
ไม่ทำตัวให้เป็นที่เดือนร้อนของคนอื่น
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ควรอยู่ห่างๆ จากคนที่ถูกส่งมาเพื่อมาเป็นสายลับ พึงเว้นเสียให้ไกลอย่าใกล้ชิด พึงดูแลรับใช้เฉพาะแต่เจ้านายของตน
อย่าสาละวนสนใจถึงพระราชาพระองค์อื่น
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ควรเข้าหาสมาคมกับสมณะ และผู้มีศีลเป็นพหูสูต ด้วยความเคารพนบน้อม เมื่อเข้าไปหาแล้วก็ควรสมาทานรักษาอุโบสถศีลโดยเคารพ
ควรอุปถัมภ์บำรุงเลี้ยงท่านเหล่านั้น ด้วยข้าวและน้ำอย่างปราณีต อย่าให้ขาดตกบกพร่อง ข้าราชการผู้หวังความเจริญแก่ตนนั้น พึงเข้าไปสมาคมคบหากับสมณะผู้มีศีล
เป็นพหูสูตมีปัญญาเพื่อศึกษาธรรม และฟังคำแนะนำ สั่งสอนจากท่าน ให้เป็นกิจสำคัญ เป็นประจำ โดยการไถ่ถามเรื่องบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
พร้อมกับปฏิบัติตามคำแนะนำให้เคร่งครัด
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น อย่าทำให้ทานที่เคยพระราชทานแก่สมณะผู้มีศีล ให้เสื่อมสลายไป พึงใส่ใจสืบสานให้ดำรงอยู่ตลอดไป และเมื่อเห็นเหล่าวณิพก
มาในเวลาพระราชทาน ก็อย่าได้ห้ามปราบขัดประโยชน์เขา
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ต้องเป็นผู้มีปัญญาสมบูรณ์ด้วยจิตสำนึกที่ดี ฉลาดในวิธีจัดการ และทำงานราชกิจ รู้จักกาลรู้จักสมัย ที่จะจัดแจงว่า จะปฏิบัติราชกิจอะไรในเวลาใด
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ควรไปตรวจตราดูลานข้าวสาลี ปศุสัตว์ และนาหลวงอย่างสม่ำเสมอ ให้เก็บข้าวไว้พอประมาณ ให้หุงต้มเลี้ยงกันพอประมาณ
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ไม่ควรยกย่องตั้งคนที่ไม่อยู่ในศีลในธรรมให้เป็นใหญ่ ปกครองหมู่คณะ แม้ว่าจะเป็นลูกหรือเป็นพี่น้องของตนก็ตาม
เพราะคนเหล่านั้น นับได้ว่าเป็นคนพาล พวกเขาเปรียบเหมือนกับคนตายที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า หากได้เป็นใหญ่ ก็มีแต่จะผลาญทรัพย์ในตระกูลหรือในท้องพระคลังให้หมดไป
ทั้งไม่อาจเพิ่มพูนทรัพย์สมบัติอะไรให้ได้ จึงไม่ควรยกย่อง แต่เมื่อพวกเขามานั่งคอยก็ควรช่วยเหลือ สงเคราะห์ให้เสื้อผ้าและอาหารไปตามสมควร
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น ควรตั้งอยู่ในศีลไม่โลบมาก ควรประพฤติเยี่ยงตามเจ้านาย ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เจ้านาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
มีความภักดีเสมอต้นเสมอปลาย
ข้าราชการต้องรู้จักพระราชอัธยาศัย ต้องปฏิบัติตามพระราชประสงค์ อย่าประพฤติให้เป็นที่ขัดพระราชประสงค์
ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น พึงช่วยขัดสีพระวรกาย ช่วยสรงสนาน ควรก้มศรีษะล้างพระบาท แม้ว่าจะถูกกริ้วก็อย่าอาฆาตโกรธตอบ
บุรุษผู้หวังความเจริญรุ่งเรืองแก่ตน จึงควรนอบน้อมบูชาพระราชาผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ ผู้สูงสุดยอด สามารถจะพระราชทานสมบัติที่น่าปรารถนาทุกอย่าง
เพราะว่า พระราชาทรงพระราชทาน ที่นอน ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ยวดยาน ที่อยู่อาศัย บ้านเรือน ผู้ยังโภคสมบัติให้ตกทั่วถึง เหมือนมหาเมฆยังน้ำฝนให้ตก
เป็นประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั่วไปฉะนั้น
ท่านทั้งหลาย นี่แหละราชวัสดีธรรม อันเป็นอนุศาสน์สำหรับข้าราชการทั้งหลาย ตั้งแต่ครั้งโบราณมา เมื่อข้าราชการทั้งหลายประพฤติปฏิบัติตาม
ก็จะเป็นที่โปรดปรานของพระราชา และย่อมได้รับการยกย่องจากเจ้านาย อันเป็นเหตุให้เจริญรุ่งเรืองและก้าวหน้าในแวดวงศ์ข้าราชการสืบไป
พวกเราจะเห็นได้ว่า ข้อปฏิบัติของข้าราชการในกาลก่อน เมื่อได้ปฏิบัติตามครบทุกข้อแล้ว จะได้ชื่อว่าเป็นผู้เจริญด้วยลาบยศ ในหน้าที่การงาน
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า อีกทั้งยังเป็นหารปิดนรกเปิดสวรรค์อีกด้วย

สาธุนรธรรม

สาธุนรธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุกทกนิกาย ชาดก เล่ม 4 ภาค 3 - หน้าที่ 332 (เล่มที่64)
สาธุนรธรรม คือหลักปฏิบัติสำหรับคนดี ที่คนดีย่อมปฏิบัติตาม มี 4 ประการคือ
1. จงเดินไปตามทางที่ท่านเดินไปแล้ว
2. จงอย่าเผาฝ่ามืออันชุ่ม
3. อย่าได้ประทุษร้ายมิตรไม่ว่าในกาลไหนๆ
4. อย่าตกอยู่ในอำนาจของหญิงไม่ดี
ผู้ใดมีน้ำใจเชื้อเชิญคนที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่เคยอยู่ร่วมกันแม้สักวันหรือสองวัน ไม่เคยพบเห็นกันมาก่อน
ให้นั่งบนอาสนะที่ได้จัดไว้ ให้ข้าวและให้น้ำบริโภคอย่างดี ก็ผู้ที่ถูกเชิญเช่นนั้นควรทำประโยชน์ตอบแทนบุคคล
ผู้มีน้ำใจเชื้อเชิญนั้นอย่างตั้งใจ การที่เขาทำเช่นนั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้เดินไปตามทางที่ท่านได้เดินแล้ว คือ ผู้เชื้อเชิญ
ชื่อว่าเป็นผู้เดินนำหน้า ส่วนผู้ถูกเชื้อเชิญหรือผู้ทำตอบแทนชื่อว่าผู้เดินตามหลัง
อนึ่งเหล่าบุพการีชนเช่น บิดา มารดา ครู อาจารย์ ผู้มีอุปการะแก่บุตร ธิดา และศิษย์น้อยใหญ่ บุคคลเหล่านั้น
เมื่อรู้อุปการะคุณของท่านแล้ว ย่อมตอบแทนอุปการะท่านด้วยความสำนึกในบุญคุณ ชื่อว่าผู้เดินตามทางที่ท่านเดินกันมา
จัดเป็นสาธุนรธรรมข้อที่หนึ่ง
บุคคลได้อยู่ในเรือนของผู้ใดแม้เพียงคืนเดียวและเจ้าของบ้านได้ต้อนรับ ด้วยข้าวและน้ำทำอาหารมาเลี้ยงดูเป็น
อย่างดี ชื่อว่ามีฝ่ามือชุ่มด้วยการทำปฏิสันฐาน
บุคคลนั้นไม่ควรคิดร้ายต่อเจ้าของบ้านผู้นั้นแม้ด้วยใจ การที่บุคคลคิดร้ายต่อผู้มีใจเอื้อเฟื้อเช่นนั้นชื่อว่าเผาฝ่ามืออันชุ่ม
นี้เป็นสาธุนรธรรมข้อที่สอง
บุคคลได้อาศัยนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่ควรหักก้านรานกิ่งหรือหน่อของต้นไม้นั้น เพราะรู้ถึงคุณประโยชน์ของต้นไม้นั้น
ที่มีต่อตน ส่วนบุคคลผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประทุษร้ายเป็นคนชั่วช้านั้นเพราะที่ตนได้อาศัยร่มเงานั้นมีอุปการะคุณแก่ตน ก้ยังหักก้านรานกิ่ง
หรือทำลายหน่อของต้นไม้นั้นได้ บัณฑิตจึงจัดว่า เป็นคนชั่วช้าสามาร ทำได้แม้กระทั่งต้นไม้ที่ไม่มีจิต อันตนได้เคยอาศัยนั่งนอน
ผู้ที่ตัดต้นไม้หรือกิ่งไม้ที่มีอุปการะคุณยังถูกตำหนิขนาดนี้ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงผู้ประทุษร้ายบุคคลผู้มีบุญคุณที่เคยอุปการะช่วยเหลือตนมาเลย
การไม่ประทุษร้ายมิตรจัดเป็นสาธุนรธรรมข้อที่สาม
หญิงที่สามียกย่องเป็นอย่างดี ถึงกับยกความเป็นใหญ่ในทรัพย์สินเงินทองให้ แต่เมื่อได้โอกาสแล้วกลับดูหมิ่นสามีนั้นได้
บุคคลไม่ควรตกอยู่ในอำนาจของหญิงเช่นนั้น กล่าวคือธรรมดาหญิงทั่วๆไป ย่อมมีความรักใคร่นับถือสามีของตน ยกย่องให้เกียรติสามี
ไม่พูดจาก้าวร้าว ดูหมิ่นสามี หญิงเช่นนั้นชื่อว่าเป็นหญิงดี เป็นกุลสตรีที่น่ายกย่อง ตรงกันข้ามกับหญิงที่ไม่มีความจงรักภักดีในสามี
ประกอบด้วยอสัตย์ธรรม เรียกว่า อสติ คือหญิงไม่ดี หญิงประเภทนี้แม้สามีจะยกย่อง เชิดชูให้เกียรติ มอบทรัพย์สมบัติทั้งหลายให้ดูแล
แต่เมื่อมีโอกาสกลับดูหมิ่นเหยียดหยามสามี นำความไม่ดีของสามีออกไปบอกหรือเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับรู้ หญิงไม่ดีอย่างนี้
ไม่ควรจะไปคบหาสมาคมด้วย ขืนยังไปคบหาสมาคมเป็นเพื่อน เป็นมิตร หรือเป็นภรรยา ย่อมทำให้เสื่อมเสียเกียรตินำความตกต่ำมาให้แน่แท้
การไม่ตกอยู่ในอำนาจของหญิงไม่ดี จัดเป็นสาธุนรธรรมข้อที่สี่

Sunday, October 19, 2008

ขอเชิญร่วมทอดกฐินสามัคคีสร้างพระอุโบสถ อาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน


คณะมูลนิธิพิสูจน์ธรรม นำโดยอาจารย์ศิริพงษ์ อัครศรียุกต์ มีกำหนดจะจัดงานทอดกฐินสามัคคีเพื่อสร้างพระอุโบสถ
ณ วัดสองพี่น้อง ต.แพรกศรีราชา อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาถ ในวันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2551 นี้
กำหนดการ
09.00 ถวาย "มหาสังฆทาน" แด่พระภิกษุสงฆ์
13.00 พิธีถวายกฐินสามัคคี
ท่านที่ประสงค์จะร่วมบุญสามารถโอนเงินเข้าบัญชี
ธ.กสิกรไทย ย่อยเซ็นทรัลปิ่นเกล้า
ชื่อบัญชี ศิริพงษ์ อัครศรียุกต์ เลขที่บัญชี 758-2-30382-1
**จากนั้นนำใบ Pay in (พร้อมทั้งเขียนชื่อ-สกุล เบอร์โทรศัพท์ของท่าน)
ส่งแฟ็กซ์มาที่ 02-961-7316
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม (จันทร์-ศุกร์ 08.00-17.00 น.)
โทร.: 02-961-7318, 081-808-6796, 086-978-9379
แฟ็กซ์: 02-961-7316

เอาบุญมาฝากจ้า.....กระทงทอง





























ดูต่อที่นี่ http://picasaweb.google.com/dhammavoice/

Sunday, October 5, 2008

มาร่วมกันสร้างอุโบสถกันเถอะ












































































ด้วยทางคณะกรรมการ วัดหลวง บ้านลาดพร้าว หมู่6 ตำบลยุ้งทะลาย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ร่วมกันกราบอาราธนา หลวงพ่อ ชัยวัฒน์ วรธมโม (หลวงพ่อเต๋อ) มาเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวง (วัดร้างเก่า) องค์ปัจจุบัน และหลวงพ่อได้โปรดมีเมตตาเสนอให้คณะกรรมการวัดหลวง แจ้งกำหนดการทอดกฐินสามัคคีวัดหลวง เพื่อกราบขอความเมตตาจากท่าน ได้โปรดพิจารณาอนุเคราะห์ให้ความสนับสนุนแก่วัดหลวงแห่งนี้ ซึ่งได้รับการอนุญาตจากกรมการศาสนา ให้ยกฐานะจากวัดร้างเก่า (สมัยทราวดี 1500 ปีเศษ) ขึ้นเป็นวัดที่มีภิกษุ จำพรรษา ตามประกาศ เถรสมาคม เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2545 ในปีนี้มีพระภิกษุ จำพรรษาจำนวน 6 รูป ทางวัดได้ดำเนินการพัฒนา ก่อสร้างอุโบสถ ขึ้นใหม่บนเนื้อที่อุโบสถหลังเดิม ตั้งแต่ พ.ศ 2543 เป็นเวลา 8 ปีเศษ ยังไม่แล้วเสร็จ คงก่อสร้างไปได้ประมาณ 40 - 50 เปอร์เซ็นเท่านั้น เนื่องจากเจ้าอาวาสองค์ก่อนได้มรณภาพลง การพัฒนาก่อสร้างเสนาสนต่างๆ ต้องหยุดการก่อสร้างลงซึ่งยังคงขาดแคลนทุนทรัพย์อยู่อีกเป็นจำนวนมาก

ดังนั้นคณะสงฆ์และคณะกรรมการวัดหลวงจึงได้มีมติที่ประชุมให้จัดดำเนินการทอดกฐินสามัคคีประจำปี 2551 ขึ้น ในวันแรม 12 ค่ำ เดือน 11 ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม 2551 การทอดกฐินสามัคคีครั้งนี้เพื่อจัดหาทุนทรัพย์มาดำเนินการก่อสร้างอุโบสถวัดหลวงแห่งนี้ให้สำเร็จลุล่วงไป เพื่อไว้เป็นศาสนสมบัติในบวรพระพุทธศาสนา และใช้ในพิธีสังฆกรรมอุปสมบทบุตรหลานสืบต่อพระศาสนา สืบต่อไปชั่วกาลนานด้วยเทอญ

วัดหลวง โทรศัพท์ 08 4412 3441
ร่วมสมทบทุนได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาอู่ทอง เลขที่บัญชี 712-217810-5


ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.watluang.info/

Saturday, October 4, 2008

เอาบุญมาฝากจ้า...ขนมจีบไทยตัวนก

วันนี้เป็นขนมจีบไทยตัวนก

































ดูต่อที่นี่
www.picasaweb.google.com/dhammavoice