Friday, March 23, 2012

ห้องพระ...จัดดีเป็นมงคลกับบ้าน





ห้องพระ เป็นอีกห้องหนึ่งที่จะต้องนำมาพิจารณากัน ถ้าบ้านหลังนั้นกำหนดให้มีห้องพระ บางบ้านอาจจะไม่มีห้องพระก็ได้ อาจทำแค่หิ้งพระเล็กๆ แทน ซึ่งเรื่องนี้ขึ้นอยู่ความต้องการของเจ้าของบ้านเป็นหลัก การกำหนดห้องพระให้อยู่ส่วนไหนของบ้านนั้น มีหลักเกณฑ์อยู่หลายประการทีเดียว แต่ต้องบอกเอาไว้ก่อนว่า เรื่องห้องพระเป็นเรื่องละเอียดอ่อน อาจใช้หลักเหตุผลอย่างเดียวมาวิเคราะห์ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของจิตวิญญาณที่หาคำอธิบายได้ยาก



( สองภาพนี้เป็นห้องพระที่บ้านคุณสมนึก จิรายุกูล ผลงานของบริษัท W House สวยจริงๆ ไว้จะไปใช้บริการบ้างชอบมากๆ http://www.whouse.co.th/project-01-2.php )














1.
ห้องพระวางชั้นบนดีกว่าชั้นล่าง
การกำหนดผังบ้าน พยายามเลือกวาง
ห้อง พระเอาไว้ชั้นบนสุด ไม่ว่าบ้านจะกี่ชั้นก็ตาม เพราะพระเป็นของสูง เป็นที่สักการะบูชา การวางต่ำกว่าคนในบ้าน ย่อมไม่เป็นมงคลแน่ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะวางห้องพระชั้นล่างไม่ได้ เพียงแต่ว่า การวางห้องพระชั้นล่าง จะมีข้อจำกัดมากมาย และการหาตำแหน่งในการวางห้องพระค่อนข้างจะยาก เพราะชั้นล่าง จะเต็มไปด้วยห้องรับแขกห้องอาหาร ห้องครัว ห้องส้วม
นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาห้องที่อยู่ชั้นบนอีกด้วยว่า ห้องชั้นบนที่ตรงกับห้องพระชั้นล่าง เป็นห้องอะไร ถ้าเป็นห้องส้วม ห้องนอน ก็จะห้ามเอาไว้อีก บ้านที่เอาห้องพระไว้ชั้นล่าง ชั้นบนที่ตรงกับห้องพระจะต้องเป็นห้องว่าง ที่ไม่มีคนอยู่ถึงจะใช้ได้


ถ้ามีความจำเป็นจะต้องวางห้องพระติดกับห้องส้วม ควรหาตู้มาพิงผนังห้องส้วม แล้วหันพระไปทางอื่นที่ไม่ตรงกับห้องส้วม

2. ห้องพระห้ามติดกับห้องส้วม เหตุผลในเชิงฮวงจุ้ยบอกว่า ห้องส้วมเป็นธาตุน้ำ ห้องพระเป็นธาตุไฟ ตามกฎเบญจธาตุ ( 5 ธาตุ) ธาตุน้ำพิฆาตธาตุไฟ

ห้องนอนตรงกับห้องพระชั้นล่าง ถ้าพระตรงกับเตียงถือเป็นข้อห้าม

3. ห้องพระต้องอยู่ในทำเลที่สงบ ลองพิจารณาดูพื้นที่บ้านสิว่า มีมุม
ไหน ที่ไม่พลุกพล่าน เป็นมุมสงบบ้าง ห้องพระต้องการความสงบนิ่ง ไม่ใช่อยู่ในตำแหน่งที่วุ่นวาย เช่น ติดกับห้องเอนเตอร์เทน ที่มีเสียงดังจากทีวี วิทยุ ห้องครัว ซึ่งนอกจากมีเสียงทำกับข้าวแล้ว ยังมีกลิ่นมารบกวนความสงบอีกด้วย ห้องรับแขก ที่มีเสียงคุยกัน เพราะฉะนั้น การเลือกวางห้องพระเอาไว้ชั้นบน น่าจะหามุมสงบได้ง่ายกว่า เพราะจะมีแต่ห้องนอนเป็นส่วนใหญ่

4. ห้องพระติดห้องนอน ต้องระวังเรื่องการวางเตียง กรณีที่วางตำแหน่งห้องพระติดกับห้องนอน จะต้องพิจารณาเรื่องการวางเตียงนอน เป็นประเด็นสำคัญ


ห้ามวางเตียงในลักษณะหันปลายเท้าไปที่ห้องพระ เพราะถือเป็นการไม่เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ตำแหน่งเตียงนอน ควรวางในลักษณะที่ขวางกับห้องพระ ห้ามวางเอาปลาย เตียงหันไปที่ห้องพระ เพราะคนนอนจะเอาเท้าหันไปที่ห้องพระ ซึ่งถือว่าไม่เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่เป็นมงคลกับคนที่นอน
กรณีที่เอาหัวเตียงไปที่ห้องพระ ต้องพิจารณาว่า ถ้าตำแหน่งขององค์พระหรือ
โต๊ะ หมู่บูชาไม่ติดกับหัวเตียง ก็สามารถวางได้ แต่ถ้าติดกันจะถือว่าเสีย เพราะคนนอนจะได้รับอิทธิพลของธาตุไฟ ทำให้ปวดหัวได้ง่าย นอนไม่ค่อยหลับ

5. ห้องพระห้ามต่ำกว่าห้องอื่น กรณีที่เป็นบ้านเล่นระดับ ห้องพระจะต้อง
เลือก วางในตำแหน่งที่สูงกว่าห้องอื่นๆ โดยเฉพาะห้องที่มีคนอยู่ เพราะโดยหลักแล้วคนห้ามนอนสูงกว่าพระ แต่ถ้าห้องที่สูงกว่าไม่มีคนอยู่ เช่น เป็นห้องว่าง ห้องเก็บของ ก็จะอนุโลมให้ทำห้องพระได้

ห้องพระควรวางหน้าบ้านจริงหรือไม่ ?
ความ จริงแล้วเรื่องการวางห้องพระหน้าบ้านหรือหลังบ้านนั้น ในตำราฮวงจุ้ยไม่ได้ระบุเอาไว้ชัดเจน เพียงแต่บอกว่า ตำแหน่งหน้าคือ "โชคลาภ" ตำแหน่งหลังคือ "บารมี" และจากประสบการณ์ที่ผมไปตระเวนดูบ้านมามากมาย ส่วนใหญ่ก็มักจะวางห้องพระไว้ส่วนด้านหลังมากกว่าด้านหน้าของบ้าน ซึ่งเหตุผลก็คงเป็นเรื่องของความนิ่งสงบมากกว่า บริเวณหน้าบ้านค่อนข้างจะพลุกพล่าน แต่ถ้ามองตามหลักฮวงจุ้ย การวางห้องพระด้านหลังก็น่าจะเหมาะสมกว่า เพราะด้านหลัง แทนความหมายของ "บารมี" นอกจากนี้ ด้านหลังตามหลักชัยภูมิก็มีสภาพเป็น "หยิน" คือ นิ่ง (หน้าเป็นหยางที่เคลื่อนไหว) ก็จะเป็นชัยภูมิที่ถูกต้อง
กฎเกณฑ์ในการวางตำแหน่งห้องพระในบ้าน ความจริงแล้วยังมีเรื่องของทิศและ
ตำแหน่ง ของดวงดาวที่จะต้องนำมาพิจารณาด้วย แต่ผมว่า เอาชัยภูมิให้ได้เสียก่อน เพราะเรื่องทิศและเรื่องของดาวยังเป็นเรื่องรอง และเป็นเรื่องละเอียดอ่อนพอสมควร ต้องวัดกันเป็นองศา คงต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญด้านฮวงจุ้ยจะดีกว่า?

ห้องพระอยู่ชั้นล่างได้หรือไม่ ?
การ นำสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาไว้ชั้นล่างจะต้องระมัดระวังในการวางตำแหน่งห้องพระ เพราะจะหาตำแหน่งค่อนข้างยากเนื่องจากบริเวณชั้นล่างจะพลุกพล่านมีการเดิน เข้าเดินออก มีกิจกรรมมากมาย ดูทีวี ทำอาหาร พูดคุย หามุมสงบๆ แทบจะไม่ได้

ห้องพระควรเป็นบริเวณที่มีความสงบ การทำ ห้องพระชั้นล่างจะต้องพิจารณาถึงพื้นที่ชั้นบนที่ตรงกับห้องพระด้วย ถ้าเป็นห้องส้วมหรือห้องนอนอยู่เหนือห้องพระ ซึ่งถือเป็นการไม่สมควร จะต้องหาห้องที่ว่างหรือไม่มีคนอยู่จะดีที่สุด เช่น ตรงกับห้องโถงระเบียงชั้นบน เป็นต้น การทำห้องพระชั้นล่างสามารถทำได้อีกทางหนึ่งคือ การแยกส่วนของห้องพระออกจากตัวบ้าน ซึ่งผลกระทบจากชั้นบนก็จะไม่มี

กรณีของการวางหิ้งพระในบ้านหลักการก็เช่นเดียวกับห้องพระ แต่การเลือกตำแหน่งจะง่ายกว่าเพราะพื้นที่ไม่มากเท่าห้องพระ จุดที่เหมาะในการวางหิ้งพระชั้นล่าง ส่วนใหญ่นิยมวางในห้องรับแขกส่วนหน้าบ้านมากกว่าจะตั้งหิ้งไว้หลังบ้าน เพราะในตำราฮวงจุ้ยบอกเอาไว้ว่า เวลาเดินเข้าบ้านจะต้องเห็นสิ่งที่เป็นมงคลก่อน
การเดินเข้า บ้านแล้วมองเห็นพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมทำให้เจ้าของบ้านรู้สึกดีกว่า เห็นอย่างอื่น การวางสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในลักษณะที่ตรงกับทางเข้าบ้าน จะต้องไม่วางมากจนเกินความเหมาะสม เพราะจะเข้าข่ายผิดฮวงจุ้ย

ถ้าพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีมาก พลังของสิ่งศักดิ์สิทธ์ซึ่งเป็นพลังอิม(หยิน) จะมีมากด้วย ซึ่งจะสกัดโชคลาภไม่ให้เข้าบ้านได้ หรืออีกนัยหนึ่ง บ้านจะดูคล้ายโบสถ์ ซึ่งเป็นที่ทำกิจกรรมของสงฆ์ ไม่ใช่ที่อยู่ของคนธรรมดา เพราะฉะนั้นอย่าวางพระมาก ถ้ามีพระมากก็ควรทำเป็นห้องพระจะดีกว่า
บ้านที่มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ควรคำนึงถึงหลักเกณฑ์และความเหมาะสมในการวางตำแหน่งห้องพระหรือหิ้งพระ เพื่อความเป็นสิริมงคลกับบ้านและผู้อยู่อาศัย




เนื้อหา kachin.biz

Thursday, March 22, 2012

สวด ปฏิจจสมุปบาท (ทำนองอินเดีย)



ป ฏิ จ จ ส มุ ป บ า ท

อวิชชาปัจจะยา สังขารา ( เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี )
สังขาระปัจจะยา วิญญานัง ( เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี )
วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง ( เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี )
นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง ( เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี )
สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส ( เพราะสฬายตนเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี )
ผัสสะปัจจะยา เวทนา ( เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี )
เวทะนายะปัจจะยา ตัณหา ( เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี )
ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง ( เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี )
อุปาทานะปัจจะยา ภะโว ( เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี )
ภะวะปัจจะยา ชาติ ( เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี )
ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง ( เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี )
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ
( ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม )
เอวะเม ตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ สะมุทะโย โหติ
( การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้ ฯ )

อวิชชา ยะ เตววะ อะเสสะวิราคะนิโรธา สังขาระนิโรโธ
( เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ )
สังขาระนิโรธา วิญาณะนิโรโธ ( เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ )
วิญญาณะนิโรธา นามรูปะนิโรโธ ( เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ )
นามะรูปะนิโรธา สะฬายะตะนะนิโรโธ ( เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ )
สะฬายะตะนะนิโรธา ผัสสะนิโรโธ ( เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ )
ผัสสะนิโรธา เวทนานิโรโธ ( เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ )
เวทนานิโรธา ตัณหานิโรโธ ( เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ )
ตัณหานิโรธา อุปาทานะนิโรโธ ( เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ )
อุปาทานะนิโรธา ภะวะนิโรโธ ( เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ )
ภะ วะนิโรธา ชาตินิโรโธ ( เพราะภพดับ ชาติจึงดับ )
ชาตินิโรธา ชะรามะระณัง ( เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ )
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา นิรุชฌันติ
( ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจจึงดับ )
เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ นิโรโธ โหติ
( การดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้ ฯ )

สวดอิติปิโส ศรีลังกา

Thursday, March 15, 2012

บทสวดมนต์ชัยยะ (ทำนองสองฝั่งโขง)

บทสวดมนต์ชัยยะ (ทำนองสองฝั่งโขง)

บทสวดคุ้มครองประเทศในยามศึกสงครามอีกบทที่มีความไพเราะมาก




คำแปล
บทสวดพรรณนาชัยชนะของพระพุทธเจ้า เหนือหมู่มารทั้งปวง

ทั้งล่วงพ้นอำนาจท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ และเป็นชัยชนะเหนือเทวดาทุกๆ ชั้น

ทั้งเป็นชัยชนะอมนุษย์ ยักษ์ ภูติผีปีศาจ อาวุธทั้งหลายก็ทำอันตรายไม่ได้

ทั้งชัยชนะพญานาคราช ทั้งพระจันทร์ พระอาทิตย์ พระอินทร์ พระพรหม

ทั้งลม และไฟ ก็ทำอันตรายไม่ได้

ขอเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ ๑๘ พระองค์ จงมารักษา

ทั้งพระฤาษี พระสาวก พระธรรม พระสงฆ์ จงมาอวยชัย

ขอความสวัสดีมีชัยจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระรัตนตรัย

ในครั้งนั้น มารผู้ชั่วช้าได้พ่ายแพ้ต่อพระรัศมีของพระพุทธเจ้า

ครั้นแล้วพระองค์ก็ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ

พระพรหม พระอินทร์ เทวดาทั้งหลาย ผู้มีเดชานุภาพมาก

ทั้งหมู่พญานาค หมู่พญาครุฑผู้มีศักดายิ่งใหญ่

ต่างชื่นชมชอบใจในชัยชนะของพระพุทธเจ้า ต่อหมู่มาร ณ โพธิบัลลังก์

เป็นชัยชนะที่เป็นอุดมมงคล ทั้งเป็นฤกษ์ดียามดี

และขณะดีที่ได้ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ขององค์สม เด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ขอความสวัสดีมีชัย จงมีแก่ท่านด้วยเดชแห่งคุณพระรัตนตรัย

ขอให้ท่านจงได้รับประโยชน์และความสุข

ทั้งเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนา ขอให้มีอายุยืนยาว

ปรารถนาสิ่งหนึ่งประการใด ขอให้ได้ดังใจประสงค์

และปราศจากโรคภัยทั้งหลายทั้งปวง ทั้งห่างไกลความทุกข์

ขอให้ประสบสุขทั้งกายและใจ




จุลลไชยยปกรณ์

สุโข พุทธานัง อุปปาโท สุขา สัทธัมมะเทสะนา สุขา สังฆัสสะ สามัคคี สามมัคคานัง ตะโป สุขา ทิวา ตะปะติ อาทิจโจรัตติง อาภาติ จันทิมา สันนัทโธ ขัตติโยตะปะติฌายี ตะปะติพราหมะโณ อะถะสัพพะมโหรัตติง พุทโธตะปะติ เตชะสา หิริโอตัปปะ สัมปันนา สุกกา ธัมมา สะมาหิตา สันโต สัปปุริสะ โลเก เทวา ธัมมาติ วุจจะเร สันติปักขา อะปัตตะนา สันติปาทา อะวัญจะนา มาตาปิตา จะ นิกขันตา ชาตะ เวธะ ปะติกกะมะ สุวัณณะภูมิง คันตะวาะ โสนุตตะรา มะหิทธิกา ปิสาเจ นิททะมิตตะวานะ พรัหมะชาลัง อาเทเสยยุง เอเตสัพเพ ยักขา ปะลายันตุ ...

อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวะนาคา มิหิทธิกา ปุญัง โน อนุโมทันตุ .... จิรัง รักขันตุ สาสะนัง

อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวะนาคา มิหิทธิกา ปุญัง โน อนุโมทันตุ .... จิรัง รักขันตุ ปาณิโน

อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวะนาคา มิหิทธิกา ปุญัง โน อนุโมทันตุ .... จิรัง รักขันตุ โนสะทา

อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวะนาคา มิหิทธิกา ปุญัง โน อนุโมทันตุ .... จิรัง รักขันตุ สาสะนัง โสตถิง คัจฉันตุ เทวะตาคะตา

นะโมเม

นะโม เม พุทธะ เตชัสสา ระตะนะตะยะ ธัมมิกา
เตชะ ประสิทธิ ปะสีเทวา นารา ยะปะระเมศะวะรา
สิทธิ พรัหมา จะ อินทา จะ จะตุโลกาภิ รักขะกา
สะมุทา ภูตะ คังคา จะ สัพพะชัยยะ ประสิทธิ ภะวันตุเต

ชัยยะ ชัยยะ ธ รณี ธ รณี อุทะธิ อุทะธิ นะ ทิ นะ ที
ชัยยะ ชัยยะ คัคคะนะตะละนิสะยะ นิละยะ เสยยะเสละ สุมเรราชะพะนะระชี

ชัยยะ ชัยยะ คัมภี ระ โสพภี นาเคน ทะนาคี ปิ ศาจ จะ ภู ตะกาลี
ชัยยะ ชัยยะ ทุน นิมิต ตะ โรคี ชัยยะ ชัยยะ สิงคีสุทา ทา ฆานะมุขะชา

ชัยยะ ชัยยะ รุณ ณะมุขะ ศาตรา ชัยยะ ชัยยะ จัม ปาทินา คะ กุละคัณฐะกัง

ชัยยะ ชัยยะ คะชะคะณะตุรังคะณะ สุกะระภูชังคะ สีหะพะยัคฆะทีปา

ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะมุขะ ยาตรา ชินะ เสน นาริปู ปุนะสุทธิระตี

ชัยยะ ชัยยะ สุขา สุขา ชีวี ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณี ตะเล สะทา สุชัยยะ
ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณี สานะ ติ สะทา

ชัยยะ ชัยยะ มังกะระละยา ภะวัคเค ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะยักเข

ชัยยะ ชัยยะ รักขะเส สุระภุ ชะเตชา ชัยยะ ชัยยะ พรัหมเมณ ทะคะณา

ชัยยะ ชัยยะ ราชา ธิราชะ ชะยัง ชัยยะ ชัยยะ ปะฐะวิง สัพ พัง

ชัยยะ ชัยยะ อะระหันตัง ปัจเจ กะพุทธะสาวะกัง ชัยยะ ชัยยะ มะเห สุสุรังคะ หะโร หะรินทะ เทวา

ชัยยะ ชัยยะ พรัหมา สุรักโข ชัยยะ ชัยยะ นาโค วิรุฬ หะโก วิรู ปักโข จัน ทิมา ระวิ

อินโท จะ เวนะ เตยโย จะกุเว โร วะรุโณ ปิ จะ
อัคคิ วาโย จะ ปา ชุณโห กุมาโร ธะตะรัฏฏะโก
อัฏฐา ระสะ มะหา เทวา สิทธิตา ปะสะอา ทะโย
เอสิ โน สา วะกา สัพ เพ ชัย ยะ ราโม ภะวัน ตุเต
ชัยยะ ธัมโม จะ สังโฆ จะ ทะสะปาโล จะ ชัยยะ กัง

เอเต นะ ชัยยะ เต เชนะ ชัยยะ โสตถี ภะวันตุ โน
เอเตนะ พุทธะ เต เชนะ โหตุ เต ชัยยะมัง คะลัง

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุงโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยะตะทา พรัหมะคะนา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุงโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัย ยะตะทา อินทะ คะณา มะเห สิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุงโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา เทวะ คะณา มะเห สิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุงโฆ สะยัม โพธิ มันเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา สุปัณณะ คะนา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มา รัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุงโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา นาคะ คะณา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุงโฆ สะยัมโพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตาชัยยะตะทา สะพรัหมะคะณา มะเหสิโน

สุณันตุ โภนโต เย เทวา อัสสะมิงฐาเน อธิคะตา

ทีฆายุกา สะทาโหนตุ สุขิตาโหนตุ สัพพทา

รักขันตุ สัพพะสัตตานัง รักขันตุ ชินะสาสะนัง
ยา กาจิ ปัตถะนา เตสัง สัพเพ ปูเรนตุ มะโนระถา
ยุตตะกาเล ปะวัสสันตุ วัสสัง วัสสา วะราหะกา
โรคา จุปัททะวา เตสัง นิวาเรนตุ จะ สัพ พะทา
กายาสุขัง จิตติสุขัง อะระหันตุ




Thursday, March 8, 2012

บทเพลงพุทธชนะมาร



มารพันมือถืออาวุธสุดพันลึก ขี่ช้างศึกครีเมขละจะห้ำหั่น
ยกเสนาโห่ก้องฟ้า มาประจัญ หมายฟาดฟัน ภควันต์ ให้บรรลัย

จอมมุนี ประทับ ระงับจิต นิ่งสนิท พระทัยมั่น มิหวั่นไหว
อาศัยทานบารมี ฤทธิ์ไกร บันดาลให้พระทรงภพ สยบมาร

ขอเดชะ ชัยชนะ พุทธองค์ บันดาลมงคลชัย ให้ไพศาล
เป็นยอดยิ่ง มิ่งขวัญ ทุกวันวาร แด่เราท่าน ถ้วนทั่ว ทุกตัว

Wednesday, March 7, 2012

ประเพณี “แห่ผ้าขึ้นธาตุ”"กวนข้าวยาคู”ที่”เมืองคอน


เมืองหรือประเทศใดๆ ทั่วโลกที่พระพุทธศาสนาเผยแพร่ไปถึง ย่อมมีประวัติและประเพณีที่เกี่ยวโยงให้ประชาชนประพฤติ ปฏิบัติไปตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขั้นพื้นฐานเพือสังคมอยู่เย็นเป็นสุข (ถ่ายทอดตามนิพนธ์ของท่านพุทธทาสภิกขุคือ สงบ ร่มเย็น เป็นประโยชน์)และเมื่อปฏิบัติแล้วจะถ่ายทอดการปฏิบัติออกไปเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติ ที่มาจากพื้นฐานแนวทางของศาสนา

แล้วมีการแสดงออกถึงการเคารพ บูชาต่อ"องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า"ในแต่ละพื้นที่ย่อมมีความแตกต่างกันบ้างในขนบธรรมเนียมประเพณี แต่ก็เพื่อจุดประสงค์เดียวกันคือ "บูชาต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า"แสดงออกความเคารพบูชาต่อหน้าพระพุทธรูปหรือต่อพระธาตุของพระพุทธเจ้า

ผ้าพระบฎพระราชทาน(ภาพจากเวป)

ภาพแห่ผ้าขึ้นธาตุของ"เมืองคอน"ภาพโดย น.ส.ปุณิกา(ศรีรัตน์) พันธรังษี เมื่อเยาว์วัย

  • แห่ผ้าขึ้นธาตุที่"เมืองคอน"(ภาพจากเวป)

ภาพอดีตแห่ผ้าขึ้นธาตุ(ภาพจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี)

" เมืองคอน" ก็เช่นกัน ตามประวัติและตำนาน เจ้าฟ้าหญิงเหมชาลาและเจ้าชายทนทกุมารได้นำพระทันตธาตุมาเมืองคอนเมื่อ พ.ศ.854 และได้เริ่มก่อสร้างเป็นลักษณะเจดีย์และก็ทิ้งเวลาถึง พ.ศ.1300 โดยประมาณ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช ได้มีการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์และมีการฉลองพระบรมธาตุเจดีย์ จึงได้มีการสมโภชและกำเหนิดประเพณี"แห่ผ้าขึ้นธาตุ"ตามประวัติคือ

"ตามตำนานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุมีว่า ในสมัยที่พระเจ้าสามพี่น้อง คือ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระเจ้าจันทรภาณุ และพระเจ้าพงษาสุระ กำลังดำเนินการสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น คลื่นได้ซัดผ้าแถบยาวชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีลายเขียนเรื่องราวพุทธประวัติ (เรียกว่า พระบฎ หรือ พระบต) ขึ้นที่ชายหาดปากพนัง จึงนำผ้าผืนนั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระองค์จึงรับสั่งให้ซักจนสะอาด แต่ลายเขียนพุทธประวัติก็ไม่ลบเลือนยังคงสมบูรณ์ดีทุกประการ จึงรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ ได้ความว่าชาวพุทธกลุ่มหนึ่ง จะเดินทางไปลังกา เพื่อนำพระบฎไปถวายเป็นพุทธบูชาพระทันตธาตุ คือ พระเขี้ยวแก้ว แต่เรือถูกมรสุมซัดแตกที่ชายฝั่งเมืองนครมีรอดชีวิต 10 คน ส่วนพระบฏถูกคลื่นซัดขึ้นฝั่งปากพนัง พระเจ้าศรีธรรมโศกราชทรงพิจารณาเห็นว่าควรจะนำขึ้นไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์ เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุ เจ้าของพระบฎที่รอดชีวิตก็ยินดีด้วย จึงโปรดให้ชาวเมืองนครจัดเครื่องประโคมแห่แหนผ้าห่มโอบฐานพระบรมธาตุเจดีย์ จึงเป็นประเพณีประจำเมืองนครสืบมาจนทุกวันนี้"

สำหรับวันประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุจะนำผ้าไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ.วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารในวันขึ้น 15 ค่ำ เืดือน 3 ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา(ปี 2554 ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์) มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนาคือ

ภาพจากหนังสือ"ภาพเล่าพระพุทธประวัติในโอกาสทำบุญ 100 วันคุณพ่อวราวุฒิ สุวรรณโกศัย"

ความหมาย
วันมาฆบูชาหมายถึง การบูชา ในวันเพ็ญเดือน ๓ เนื่องในโอกาสคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
ความสำคัญ
วันมาฆบูชา เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ มีเหตุการณ์อัศจรรย์ที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมายกันพระสงฆ์ ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์

ได้อภิญญา ๖และเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจากพระพุทธเจ้า ในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นทั้งหลักการอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติที่ นำไปใช้ได้ทุกสังคม มีเนื้อหา โดยสรุปคือให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดี ให้ถึงพร้อมและทำจิตใจให้ผ่องใส

ประวัติความเป็นมา
๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๙ เดือนขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน ๓ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มาประชุม พร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. วันนั้นเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
๒. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้ นัดหมาย
๓. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖
๔. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นผู้ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจาก พระพุทธเจ้

เพราะเหตุที่มีองค์ประกอบสำคัญดังกล่าว จึงมีชื่อเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า วันจาตุรงคสันนิบาต และในโอกาสนี้ พระพุทธเจ้า ได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประกาศหลักการอุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา


  • ผ้าพระบฎยุคต้นรัตนโกสินทร์(ภาพจากเวป)

ผ้าพระบฏของเมืองไทยและนานาชาติ(ภาพจากเวป)

  • ผ้าะพระบฎของไทยที่เป็นเรืองราวพุทธประวัติพระเวสสันดรชาดก(ภาพจากเวป)

  • ประเพณีกวนข้าวยาคู

ภาพจากหนังสือ"ภาพเล่าพระพุทธประวัติในโอกาสทำบุญ 100 วันคุณพ่อวราวุฒิ สุวรรณโกศัย"

ประเพณีกวนข้าวยาคู
ข้าวยาคูหรือข้าวยาโค เป็นชื่อที่คนภาคใต้เรียกกันท่าไป ในพุทธประวัติเรียกว่า “ข้าวมธุปายาสยาคู” ซึ่งเป็นข้าวที่นางสุชาดานำไปถวายพระพุทธเจ้า

ความเชื่อ
พุทธศาสนิกชนเชื่อว่าข้าวยาคูเป็นอาหารทิพย์ให้สมองดีเกิดปัญญาแก่ผู้ บริโภค ทำให้ผิวพรรณผ่องใส อายุยืนยาว และเป็นโอสถขนานเอก ขจัดโรคร้ายทุกชนิด และบันดาลความสำเร็จในการประกอบอาชีพเป็นสิริมงคลแก่ผู้บริโภคด้วย

ภาพจากหนังสือ วารสาร อบจ.นครศรีธรรมราชและจากเวป

กำหนดเวลากวนข้าวยาคู

เดือนสามเป็นระยะเวลาที่ข้าวในนากำลังออกรวง เมล็ดข้าวยังไม่แก่กำลังเป็นน้ำนมข้าวสำหรับนำมากวนข้าวยาคู ชาวบ้านจึงนิยมกวนข้าวยาคูในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ และ ๑๔ ค่ำ เดือน๓ โดยใช้วัดเป็นสถานที่กวนข้าวยาคู เพราะว่าวัดเป็นศูนย์รวมของประชาชน โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราชมีการจัดกวนข้าวยาคูขึ้นตามวัดต่างๆ และได้มีการจัดพิธีกวนข้าวยาคูเป็นพิเศษ จำนวน ๙ กระทะ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เป็นประจำทุกปี

การเตรียมการ

๑.เครื่องปรุง
เครื่องปรุงมีมากกว่า ๕๐ ชนิด มีทั้งพวกพืชผลและพืชสมุนไพรผลไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นตามฤดูกาล ซึ่งจัดเครื่องปรุงแยกเป็นประเภทได้ดังนี้
๑.๑ น้ำนมข้าว เป็นเครื่องปรุงที่สำคัญที่สุดได้จากการเก็บข้าวที่กำลังมีน้ำนม ชาวใช้กะลามะพร้าวรูดเอาแต่เมล็ดออกจารวงนำเมล็ดข้าวไปตำให้แหลกแล้ว นำมาคั้นเอาน้ำนมข้าว ใช้วิธีการเดียวกับการคั้นกะทิ แล้วกรองให้สะอาดเก็บเตรียมไว้
๑.๒ ประเภทผลไม้ เช่น ขนุน จำปาดะ มังคุด ละมุด อินทผาลัม กล้วย เงาะ พุทรา มะละกอ ทุเรียนสด ทุเรียนกวน มะตูม สาคูวิลาด และผลไม้อื่นๆ ที่มีตามฤดูกาล ผลไม้เหล่านี้ปอกเปลือกแกะเมล็ด หั่น ต้ม เตรียมไว้
๑.๓ประเภทพืชผัก ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวโพดอ่อน ข้าวเม่า ข้าวตอก ฟักทอง ถั่วลิสงคั่ว เมล็ดผักชี ลูกบัว หอม กระเทียม ซึ่งแต่ละชนิดเตรียมด้วยการหั่น ซอย คั่วหรือตำให้ละเอียด
๑.๔ประเภทพืชมีหัว ได้แก่ เผือก มันเทศ มันล่า หัวมันหอม เป็นต้น ปอกเปลือกหั่นแล้วนำไปต้มในน้ำกะทิเตรียมไว้
๑.๕ประเภทน้ำผึ้งและนม ได้แก่ น้ำผึ้งรวง น้ำตาลทราย น้ำตาลขัณฑสกร น้ำตาลปิ๊บ น้ำอ้อย นมสด นมข้น นมผง น้ำลำไย น้ำบัวบก เป็นต้น
๑.๖ประเภทสมุนไพร ได้แก่ พริกไทย ลูกกระวาน กานพลู ราแดง ราขาว ราตั๊กแตน ชะเอม ดีปลีเชือก (ดีปลี) ลูกจันทน์ รกจันท์ ดอกจันท์ นำเครื่องเทศทั้งหมดคั่วให้มีกลิ่นหอมแล้วนำไปตำร่อนเอาแต่ส่วนที่ละเอียด ส่วนขิงแห้ง หัวเปราะ หัวกระชาย หัวข่า อบเชย และโป้ยกั๊ก นำไปต้มกรองเอาแต่น้ำ
๑.๗ประเภทแป้ง ได้แก่ แป้งข้าวเจ้า แป้งขาวเหนียว เวลาจะกวนจึงละลายผสมในน้ำนมข้าว
๑.๘มะพร้าว นำไปขูดเอกน้ำกะทิแล้วเคี่ยวให้แตกมันจนกลายเป็นน้ำมันมะพร้าวเก็บพักไว้

การผสมเครื่องปรุง
นำเครื่องปรุงทั้งหมดมาผสมผสานเข้าด้วยกัน โดยแบ่งเครื่องปรุงทุกชนิดออกเป็นส่วนๆ เท่าๆ กัน ใส่ภาชนะโอ่งดินพักไว้ จำนวนโอ่งดินที่ใช้ใส่เครื่องปรุงทั้งหมดจะเท่ากับจำนวนกระทะใบบัวที่ใช้กวน ข้าวยาคู อาจจะเป็น ๕ – ๗ – ๙ กระทะ
การเตรียมอุปกรณ์เตาไฟ
การกวนข้าวยาคูต้องใช้ความร้อนสูง ลักษณะของเตานิยมขุดลงไปในพื้นดินเป็นรูปตัวที ให้ความร้อนระอุอยู่ภายในตลอดเวลา เตาดินสามารถเก็บความร้อนไว้ได้มากลมไม่โกรก มีช่องสำหรับใส่ฟืนเชื้อเพลิงและมีรูช่องระบายอากาศ ชาวบ้านเรียกว่า รูพังเหย เตาไฟของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารใช้เป็นเตาเหล็กตั้งบนพื้นดินแต่เก็บความ ร้อนได้ดี
การเตรียมบุคลากรที่สำคัญ
๑.สาวพรหมจารี เพื่อความเป็นสิริมงคลในการกวนข้าวยาคูในพิธีต้องใช้สาวพรหมจารีคือผู้หญิง ที่บริสุทธิ์ รับสมาทานเบญจศีลก่อนเข้าพิธีกวนแต่ละเตาจะใช้จำนวน ๓ คน
๒.นิมนต์พระสงฆ์สำหรับสวดชัยมงคลคาถาพร้อมทั้งเครื่องใช้ในพิธีสงฆ์ เช่น ด้าย สายสิญจน์ และอื่นๆ
๓.ด้านสายสิญจน์ วงจากพระสงฆ์มาผูกไว้ที่ไม้พาย (ไม้กวน) เพื่อให้สาวพรหมจารีจับไม้พายที่ผูกสายสิญจน์ไว้
ขั้นตอนในการกวนข้าวยาคู
การกวนข้าวยาคู ของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เริ่มด้วยพิธีบวงสรวงพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์ เสร็จแล้วจึงบูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล สาวพรหมจารีรับสมาทานศีล ประธานในพิธีทัดดอกมะตูมให้สาวพรหมจารี
๑.เริ่มพิธีกวน สาวพรหมจารียืนประจำกระทะละ ๓ คน พนักงานนำเครื่องปรุงวางบนโต๊ะข้างกระทะ ประธานในพิธีเข้าประจำที่กระทะ เริ่มพิธีกวนข้าวยาคูโดยประธานในพิธีเทเครื่องปรุงลงในกระทะ จับไม้กวนมีการลั่นฆ้องชัย ตั้งแต่เริ่มกวนพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถาจนจบเป็นอันว่าเสร็จพิธีต่อไปใครจะ กวนก็ได้
๒.วิธีกวน การกวนข้าวยาคูต้องกวนอยู่ตลอดเวลา เพื่อจะได้ไม่ติดกระทะ เมื่อข้าวยาคูเริ่มเหนียวหนืดจะใช้น้ำมันมะพร้าวที่เคี่ยวไว้เติมลงในกระทะ ไม่ให้ข้าวยาคูติดไม้พาย ข้าวยาคูจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ำเมื่อกวนเสร็จ และมีกลิ่นหอมเครื่องเทศ
๓.ระยะเวลาในการกวนข้าวยาคู ใช้เวลาประมาณ ๘ ถึง ๙ ชั่วโมง ส่วนมากเริ่มกวนเวลา ๑๙.๐๐ น. แต่ละกระทะจะใช้เวลากวนไม่เท่ากัน เพราะการใส่ส่วนผสมและขนาดของกระทะไม่เท่ากัน รวมทั้งการเติมไฟเชื้อเพลิงแต่ละกระทะไม่เสมอกัน ทำให้ข้าวยาคูกระทะแรกมักจะสุกได้ที่ใช้เวลาประมาณ ๗ ชั่วโมง คือเสร็จประมาณ ๐๒.๐๐ น. ส่วนกระทะสุดท้ายอาจกวนจนเช้าถึงเวลา ๐๕.๐๐ น. จึงแล้วเสร็จ
๔.ตักข้าวยาคูจากกระทะใส่ถาด เกลี่ยข้าวยาคูให้บางๆ ในถาดวางไว้จนข้าวยาคูเย็นลงต้องทิ้งระยะหนึ่ง ในวันรุ่งขึ้นจึงร่วมกันตัดข้าวยาคูบรรจุใส่ถุงและบรรจุลงกล่องสำหรับนำไป ถวายพระในวัด แจกจ่ายฝากญาติมิตรที่มาร่วมในพิธีทั่วทุกคน ที่เหลือจัดส่งไปยังวัดต่างๆ และนำไปฝากญาติมิตร ซึ่งข้าวยาคูของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารพุทธศาสนิกชนจะรับได้ในวันมาฆบูชา แห่ผ้าขึ้นธาตุ

สาระสำคัญ
การกวนข้าวยาคูเป็นกิจกรรมที่สำคัญ ที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติเพราะเป็นการปลูกฝังให้คนมีความศรัทธาต่อพระพุทธ ศาสนาสาระสำคัญมีดังนี้
๑.ทำให้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่ญาติและมิตรสหาย เพราะต้องร่วมแรงร่วมใจจัดหาอุปกรณ์ เครื่องปรุง การกวนต้องใช้ทั้งเวลาและผู้คน
๒.เป็นประเพณีที่มีความสัมพันธ์กับสังคมเกษตรกรรม คือให้ความสำคัญต่อข้าวหรือน้ำนมข้าวซึ่งเป็นพืชหลักของชาวไทย
๓.การแบ่งปันข้าวยาคูแสดงให้เห็นว่าทุกคนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน เกิดความห่วงใยซึ่งกันและกัน แม้ไม่ได้มาร่วมกวนข้าวยาคู ก็จะได้รับข้าวยาคูเป็นของฝากให้ได้รับประทานทั่วถึงกันทุกคน
๔.เป็นการอนุรักษ์และปฏิบัติตามประเพณีที่ดีงาม และเป็นการถ่ายทอดประเพณีให้แก่เยาวชนได้เรียนรู้ถึงวิธีการกวนข้าวยาคู เพื่อสืบทอดประเพณีให้คงอยู่ตลอดไป

สูตรข้าวยาคูของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช

ส่วนผสมข้าวยาคู ๙ กระทะ
สูตรข้าวยาคูของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นสูตรของชาวบ้านพระเพรง อำเภอพระพรหม ซึ่งส่วนผสมมีทั้งหมด ๒๖ ชนิด แบ่งออกเป็น ๘ ประเภท ดังนี้
เครื่องปรุง
๑.น้ำนมข้าว ได้แก่
-น้ำนมข้าว โดยใช้ข้าวที่ตั้งท้อง จำนวน ๖๐ เลียง
ซึ่งต้องนำมาขูดเมล็ดข้าวออกจากรวง ใส่ครกตำ แล้วนำมาคั้นกรองเอาเฉพาะน้ำนมข้าว
๒.ประเภทผลไม้ ได้แก่
-ขนุน จำนวน ๒๐๐ ก.ก.
-จำปา(จำปาดะ) จำนวน ๒๐๐ ก.ก.
-ทุเรียน จำนวน ๒๐๐ ก.ก.
-ทุเรียนกวน จำนวน ๙ ก.ก.
ผลไม้แต่ละชนิดต้องปอกหั่นเตรียมไว้สำหรับผสมเครื่องปรุง
๓.ประเภทพืชผัก ได้แก่
-ฟักทอง จำนวน ๑๐ ก.ก.
-ลูกบัว จำนวน ๒ ก.ก.
-งาขาว จำนวน ๒ ก.ก.
-ถั่วลิสง จำนวน ๑๕ ก.ก.
-หัวหอม จำนวน ๑๕ ก.ก.
ฟักทองต้องนำมาปอกหั่นเป็นชิ้นแล้วนำไปต้มให้สุกในน้ำกะทิ ลูกบัวแช่น้ำแล้วนำไปตำให้ละเอียด ถั่วลิสงและงาขาวคั่วให้สุก หัวหอมปอกเปลือกหั่นเตรียมไว้
๔.พืชประเภทหัว ได้แก่
-มันเทศ จำนวน ๑๐ ก.ก.
-เผือก จำนวน ๑๐ ก.ก.
-หัวมันหอม จำนวน ๓๐ ก.ก.
เผือกมันทุกชนิดปอกเปลือก หั่นแล้วนำไปต้มในน้ำกะทิเตรียมไว้
๕.ประเภทน้ำผึ้ง น้ำตาล และนม ได้แก่
-น้ำตาลปี๊บ จำนวน ๒ ปี๊บ
-น้ำตาลทราย จำนวน ๖ กระสอบ
-น้ำตาลกรวด จำนวน ๑ ก.ก.
-นมข้น จำนวน ๙ โหล
-นมสด จำนวน ๑๘ โหล หรือใช้นมสด จำนวน ๒ ถัง
-น้ำผึ้งรวง จำนวน ๙ ขวด หรือมากกว่านี้ก็ได้
-น้ำอ้อย จำนวน ๙ แกลลอน
-โอวัลติน จำนวน ๑๐ ก.ก.
๖.ประเภทพืชสมุนไพร ได้แก่
-เครื่องเทศ จำนวน ๔ ก.ก.
เช่น พริกไทย พริกเชือก ลูกกระวาน อบเชย โกษบัว โกษฐพุงปลา โป้ยกั๊ก กานพลู ให้นำสมุนไพรทั้งหมดไปอบให้สุกนำไปบดให้ละเอียดแล้วร่อนเอาเฉพาะผงละเอียด
๗.ประเภทแป้ง ได้แก่
-แป้งข้าวเจ้า จำนวน ๕ ลัง
-แป้งข้าวเหนียว จำนวน ๕ ลัง
เมื่อใกล้เวลาจะกวนให้ละลายแป้งด้วยน้ำกะทิเตรียมไว้โดยใช้ผ้าขาวกรองแป้งให้ละเอียด
๘.ประเภทมะพร้าว และน้ำมัน ได้แก่
-มะพร้าว จำนวน ๙๐๐ ลูก
-น้ำมันพืช จำนวน ๑๘ ปี๊บ
มะพร้าวต้องขูดแล้วคั้นกะทิไปเคี่ยวให้ได้น้ำมันมะพร้าวเตรียมไว้ก่อน เวลากวน

ข้อมูลจากสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครศรีธรรมราช

สำหรับใน"เมืองคอน"การกวนข้าวยาคูมีหลายวัดหลายสูตรซึ่งแล้วแต่สภาพท้องถิ่น แต่ก็มีจุดประสงค์ในการกวนข้าวเป็นอย่างเดียวกันทั้งหมด

ที่มา http://www.gotonakhon.com/2011/02/10/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8/

นครเมืองพระ ธรรมะครองใจ เที่ยวไทยให้ถึงธรรม มาฆบูชาที่...เมืองนคร

นครเมืองพระ ธรรมะครองใจ เที่ยวไทยให้ถึงธรรม มาฆบูชาที่...เมืองนคร






เป็นที่ภาพประทับใจมาก...เทศกาลแห่ผ้าขึ้นธาตุเมืองนครฯ ด้วยประเพณีที่สืบทอดยาวนานกว่าแปดร้อยปี















ขบวนแห่ผ่าพระบฏที่จังหวัดนครศรีธรรมราช..ศรัทธาประชาชนล้นหลาม... งานนี้อิ่มบุญกันถ้วนหน้า^^


เป็นงานบุญที่งดงามมาก ขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุ ยาวเหยียด อิ่มบุญกันทั่วกัน สาธุ ๆ
















บรรยากาศมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ เมืองนคร ปี 54

ภาพประเพณี”แห่ผ้าขึ้นธาตุ”"กวนข้าวยาคู”ผ้าพระบฏนานาชาติ”ที่เมืองคอน”ตอน 2

  • จากการที่ "เมืองคอน"มีประเพณีอันยิ่งใหญ่ "แห่ผ้าขึ้นธาตุ"กวนข้าวยาคู"ที่สืบทอดมาเป็นเวลาอันยาวนาน และปัจจุบันได้มีแห่ผ้าพระบฏนานาชาติห่มพระบรมธาตุ ซึ่งมีหลายชาติที่นับถือพระพุทธศาสนาได้ร่วมสืบสานประเพณีผ้าพระบฏห่มพระ บรมธาตุ ซึ่งในปีนี้ประเทศที่เข้าร่วม มี 12 ประเทศ และ"เมืองคอน"จะเป็นศูนย์รวมสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีไปชั่วลูกชั่วหลาน สำหรับภาพบรรยากาศในวันที่ 18 กพ.2554 ที่ยิ่งใหญ่มีภาพดังนี้
  • ผ้าพระบฏพระราชทาน

  • นิทรรศการผ้าพระบฏนานาชาติ ณ.สวนศรีธรรมโศกราช

  • ภาพกวนข้าว"ยาคูเมือง 12 นักษัตร"

  • ภาพแห่ผ้าขึ้นธาตุ"ภาคประชาชนและชมงาน"แห่ผ้าขึ้นธาตุ"

  • ประเพณี"แห่ผ้าขึ้นธาตุ"คงดำรงอยู่อีกนานแสนนานจากความศรัธาของหนูน้อยชาวพุทธ

  • ภาพแห่"ผ้าขึ้นธาตุ"ภาคราชการ

  • ฟ้อนรำถวายเป็นพุทธบูชาจากประเทศอินเดีย

  • ฟ้อนรำถวายเป็นพุทธบูชาจากประเทศลังกา

ภาพอดีตชาวประเทศลังกาฟ้อนรำถวายเป็นพุทธบูชา(ภาพจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี)

  • ฟ้อนรำถวายเป็นพุทธบูชาจากประเทศจีน

  • ฟ้อนรำถวายจากประเทศไทย(เมืองคอน)

ภาพอดีตรำมโนราห็เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เมื่อ ร.ศ.117 พ.ศ.2458 และประมาณ พ.ศ.2500(ภาพจากศิลปากรที่ 14และสารนครศรีธรรมราช)



ที่มา http://www.gotonakhon.com/2011/02/19/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B2/