Friday, July 25, 2008

.. บุญสลากภัต ..


เช้าวันนี้พวกเรานัดกันตั้งแต่เช้าตรู่
ต่างคนต่างเตรียมข้าวของกันมาหลายอย่าง
ทั้งถ้วยโถโอชาม ทั้งสำรับภัตตาหาร

พวกเรานัดกันไปร่วมทำบุญ "ลากภัต"

วัดเล็กๆ ในหมู่บ้านที่เงียบสงบไม่ไกลจากกรุงเทพฯ สักเท่าไหร่
แค่ขับรถชั่วโมงหนึ่งก็ถึง อ.บ้านนา จ.นครนายก

วันนี้ที่วัดคึกคักด้วยญาติโยมคนในหมู่บ้านใกล้เคียง
ซึ่งว่าไปก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เครือญาติกันเกือบทั้งนั้น

บุญสลากภัตหรือใครจะเรียกว่าฉลากภัตรก็น่าจะได้
ก็คือการถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์
เพียงแต่เราต้องจัดเตรียมสำรับอาหาร
โดยไม่เจาะจงว่าจะถวายให้พระรูปไหน
เราต้องจับฉลากเลขเบอร์ของพระ
ได้เบอร์อะไร ก็ต้องนำอาหารที่เราเตรียมไปถวายพระรูปนั้น

ถึงเรียกกันว่า ฉลาก + ภัตตาหาร นั่นละ
แต่ไม่รู้เพี้ยนมายังไงถึงได้ออกมาเป็น "สลากภัต"
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ เหมือนกันนะ


บางทีจับฉลากได้เป็นพระหนุ่ม หรือพระที่สูงวัย หรือรูปที่อาพาธ
อาหารที่เตรียมไว้จึงควรเป็นอาหารรสกลางๆ ไม่รสจัดเกินไปด้วยเหมือนกัน

ถ้าเป็นวัดในเมืองกรุง
เราอาจเห็นคนเมืองเอาอาหารใส่ถุงพลาสติกหรือกล่องโฟม
หิ้วใส่ถุงก๊อปแก๊ปขึ้นศาลาไปถวายอาหารเพล

แต่ที่วัดแห่งนี้
ชาวบ้านยังคงเก็บงำรักษาประเพณีเล็กๆ ของหมู่บ้านเอาไว้อย่างงดงาม
คนเฒ่าคนแก่นุ่งซิ่นผืนงามแต่งตัวกันเรียกว่าเต็มยศ
จัดเตรียมอาหารกันข้ามวันข้ามคืน
สำรับอาหารจะถูกบรรจงใส่ลงในถ้วยกระเบื้องเคลือบอย่างดี
จัดเรียงลงกระบุงขึ้นคานหาบ

เข้าใจว่าเมื่อก่อน ชาวบ้านคงเอาสำรับอาหาร
ใส่คานขึ้นหาบออกจากบ้านมาที่วัด
แต่ทุกวันนี้คงไม่ต้องลำบากลำบนขนาดนั้น
แค่เอาหาบใส่กระบะขับรถมาที่วัดได้ง่ายขึ้นเยอะ

ทุกครอบครัวเอาอาหารใส่หาบกันขึ้นมาบนศาลา
ทั้งคนเฒ่าคนแก่ ลูกหลานคนหนุ่มคนสาว
แต่เท่าที่ดูเห็นมีแต่คนแก่ๆ ผมสีดอกเลาเท่านั้นละที่หาบของขึ้นมา
ไม่ใช่ว่าหนุ่มๆ รุ่นลูกรุ่นหลานจะใจไม้ไส้ระกำ
ไม่ยอมมาช่วยคุณย่าคุณยายหาบของหรอกนะ

แต่ขืนให้พวกนี้มาหาบสำรับละก็นะ
กระดกขึ้นกระดกลงเป็นไม้กระดกสนามเด็กเล่น
มีหวังข้าวของระเนระนาดไม่ได้ไปทำบุญกันพอดี


ก็ยังดีใจที่ชาวบ้านยังอนุรักษ์การใช้คานหาบ
หาบสำรับอาหารขึ้นศาลามาถวายพระ
ขากลับก็ได้หาบบุญกลับบ้านกันไป
เหมือนได้หาบเงินหาบทองกลับไปเต็มกระบุงนั่นละ

คุณยายที่นั่งข้างๆ เล่าว่า
สมัยที่ยายยังสาวๆ อยากได้ชุดกระเบื้องเคลือบ
ไว้ใส่สำรับสลากภัตของตัวเองสักชุดนึง
ก็เลยไปรับจ้างเกี่ยวข้าวได้ค่าแรงไร่ละห้าสิบสตางค์
ค่อยๆ เก็บหอมรอมริดจนได้พอซื้อชุดกระเบื้องเคลือบ
โถชามสีขาวสะอาดพร้อมฝาปิดลายดอกไม้สีชมพูเล็กๆ
อย่างที่สมัยนี้คนกรุงเทพฯ จะเรียกว่าชามลาย Japanese Occupied

ยายเก็บเงินซื้อมาชุดละ 5 บาทแพงเอาการสำหรับสมัยนั้น
แล้วคุณยายก็ยกโถขึ้นมาใบหนึ่ง พลิกให้ดูที่ก้นถ้วยด้านล่าง
เขียนเลขเอาไว้ด้วยปากกาสีเลือนๆ "2502"

48 ปีแล้วนะ ชามใบนี้..คุณยายยิ้มอย่างภูมิใจ
พร้อมกับสายตาที่มีความสุขกับเรื่องราวของวันวาน

บนศาลาวัดวันนี้ คึกคักเนืองแน่นไปด้วยผู้คนญาติโยม
ต่างคนต่างหน้าตาอิ่มเอิบอิ่มบุญอิ่มใจ

โดยเฉพาะคนแก่เฒ่าคุณตาคุณยาย
ที่นั่งมองพระฉันภัตตาหารด้วยอาการสำรวม
อิ่มใจที่พระท่านฉันอาหารที่เตรียมไว้ได้เยอะ
อิ่มใจที่ได้เอาชุดสำรับที่เก่าเก็บมานมนานออกมาใช้แค่ปีละหน
แม้จะไม่สวยหรูเหมือนถ้วยชามเบญจรงค์สมัยใหม่
แต่ก็เป็นวัตถุที่เก็บงำความทรงจำเรื่องเล่าแห่งเงาอดีต

และเหนืออื่นใด
สุขใจ..ที่ได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา กับลูก กับหลาน
ในวันที่ครอบครัว..เป็นครอบครัวกันพร้อมหน้า

ขอขอบคุณเรื่องดีๆ จาก http://loorsad.exteen.com
เรื่องนี้้ประทับใจอย่างแรง


ทำให้เห็นว่าคนเมื่อก่อนมีศรัทธามหาศาลต่อพระพุทธศาสนามักจะเลือกสิ่ง ที่ดีๆ ไปถวายเป็นพุทธบูชา ดูแล้วถ้วยชามหรูหราเอาการมากๆ ไม่ได้มีโอกาสใช้ในชีวิตประจำวันเป็นแน่ และเรื่องที่คุณยายเล่าให้ฟังก็แสดงถึงความตั้งใจและศรัทธาที่เต็มเปี่ยมใน การทำบุญ

ดูผู้เฒ่า ผู้แก่ทำบุญแล้วรู้สึกดีจริงๆ เลย ^____^

บุญใช่ว่าจะทำได้ง่ายๆ ซะที่ไหน ไหนจะต้องตื่นแต่เช้า จัดเตรียมข้าวของ
ผู้ที่มีบุญมากเท่านั้นจึงจะสามารถทำบุญได้มาก บางคนตายเสียก่อนที่จะมางานบุญใหญ่เพี่ยงไม่กี่วันเท่านั้น
บางคนมัวแต่หาเงิน หรือใช้ชีวิตโดยลืมไปว่าเราจะต้องตายสักวันหนึ่ง
มีแต่บุญและบาปเท่านั้นที่ติดตัวเราไปยังภพหน้า

วีซีดีอบรมธรรมะคอร์ส 4,5




การบรรยายธรรม ความสำเร็จที่มาจากพระพุทธเจ้า คอร์ส 4,5 นี้ อาจารย์ศิริพงษ์ อัครศรียุกต์ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของ
บุคคลสองท่านที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนา และเป็นผู้ที่ได้ทำทานอย่างยิ่งใหญ่อย่างที่ไม่มีใครเสมอเหมือน
นั่นก็คือ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี และนางวิสาขามหาอุบาสิกา ผู้ฟังจะได้ทราบเหตุของการได้เป็นมหาอุบาสก อุบาสิกาที่
ยิ่งใหญ่ของท่านทั้งสอง ได้เรียนรู้การทำบุญที่มีอานิสงค์ไพศาลอันประกอบไปด้วยปัญญาและศรัทธาอันมั่นคง การบรรยายธรรม
ของอาจารย์ศิริพงษ์ ยังคงเต็มไปด้วยเนื้อหาที่ละเอียดและมีอรรถรสชวนให้ติดตามจนท่านอาจรู้สึกว่า ไม่สามารถหยุดการฟังได้โดยง่ายเลย
นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาที่สำคัญๆ อีกมากมาย เช่น
  • ภรรยา 7 ประเภท
  • อานิสงค์ของการบูชาพระเจดีย์ ณ สังเวนียสถานของพระพุทธเจ้า
  • วิธีการทำบุญด้วยทรัพย์น้อย แต่กลับได้รับผลบุญมหาศาล
  • แบบอย่างของการออกอุบายให้ลูกหลานได้เข้าถึงธรรมะ
  • และอีกครั้งกับตัวอย่างสำคัญๆ ของ "ความอัศจรรย์ของการแบ่งบุญ"
ผู้สนใจสามารถเดินทางมาซื้อได้ที่มูลนิธิพิสูจน์ธรรม ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
หรือพบกันที่งานมหาสังฆทานหรือสถานที่จัดการอบรมบรรยายธรรมของมูลนิธิ
สำหรับท่านที่อยู่ต่างจังหวัดหรือไม่สะดวกกับการมายังสถานที่ดังกล่าว
สามารถโทรมาสั่งซื้อได้ที่
โทร. 02-961-7318 แฟกซ์ 02-961-7316
รายการวีซีดี
จำนวนแผ่นต่อชุด
ราคารวมค่าจัดส่ง EMS (บาท)
คอร์ส 1
9
720
คอร์ส 2,3
24
1,765
คอร์ส 4,5
14
1,200

Thursday, July 3, 2008

ของขวัญที่มอบให้กันได้ทุกวัน

ของขวัญที่มอบให้กันได้ทุกวัน

" ข อ ง ข วั ญ "

ของขวัญอันล้ำค่าเหล่านี้
ไม่ต้องรอมอบให้กันในช่วงเทศกาล
เราสามารถมอบให้ผู้อื่นได้ตลอดปี
และเมื่อเรามอบของขวัญนี้แก่ผู้ให้แล้ว
ผลที่ได้รับ มีคุณค่ามากมายมหาศาล



ของขวัญจาก " ก า ร ฟั ง "
จงตั้งใจฟังผู้อื่นให้มาก
อย่าขัดจังหวะการพูด หรือขัดคอคนอื่น
พูดให้น้อย ฟังให้มาก



ของขวัญจาก " ภ า ษ า ก า ย "
อย่าอายที่จะแสดงความรักแก่ครอบครัว หรือเพื่อนของคุณ
การแสดงออกเล็ก ๆ น้อย ๆ
ที่บอกให้พวกเขารู้ถึงความสนิทสนมที่คุณมีให้
จับมือ โอบไหล่ สวมกอด หอมแก้ม ฯลฯ



ของขวัญจาก " ค ว า ม เ บิ ก บ า น "
แบ่งปันเสียงหัวเราะ และความสนุกสนานให้คนรอบข้าง
มีเรื่องสนุก อย่าแอบหัวเราะคนเดียว



ของขวัญจาก " ก า ร เ ขี ย น "
กระดาษโน้ตที่เขียนด้วยลายมือของคุณเอง
เช่น ฉันรักคุณจังเลย ขอบคุณสำหรับความช่วยเหลือ
จะสร้างความรู้สึกดีๆ ให้กับคนอ่านได้ไม่น้อย



ของขวัญจาก " คำ ช ม "
ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ ไม่ว่าใครก็อยากจะได้รับคำชม
เช่น ผมทรงนี้ดูดีจัง กับข้าวอร่อยมากเลยนะ



ของขวัญจาก " ค ว า ม มี น้ำ ใ จ "
ความจริงพวกเราทุกคนล้วนมีน้ำใจ
สภาพสังคมที่ต้องแก่งแย่งแข่งขันอยู่ตลอด
ทำให้น้ำใจของหลายคนเกิดอาการหลับใน
การแบ่งปันให้กัน จะทำให้โลกเราน่าอยู่ขึ้น



ของขวัญจาก " เ ว ล า ส่ ว น ตั ว "
บางเวลาคนเราก็อาจอยากอยู่เงียบ ๆ ตามลำพัง
อย่าลืมเคารพสิทธิผู้อื่นด้วยปล่อยให้เขาอยู่คนเดียว
เมื่อเขาต้องการ



ของขวัญจากการ " ใ ห้ กำ ลั ง ใ จ "
คนเรายามที่จิตใจท้อแท้ ก็เหมือนรถน้ำมันหมด
ช่วยเติมกำลังใจให้คนอื่นทุกครั้งที่มีโอกาส
ใจเย็น ๆ นะ เดี๋ยวก็มีทางแก้ ยากกว่านี้ เธอยังทำได้เลย
สักวันรถคุณเองก็อาจจะขาดน้ำมันเหมือนกันก็ได้



ของขวัญจาก " ม ธุ ร ส ว า จ า "
คำพูดดี ๆ ทำให้เกิดความประทับใจต่อกันได้ดี
อย่าลืมคำพื้นฐานอย่าง ขอบคุณ ขอโทษ
คุณอยากฟังคำพูดดี ๆ คนอื่นเขาก็เหมือนกัน



และที่สำคัญ
มั น เ ป็ น ข อ ง ข วั ญ ที่ ม า จ า ก ใ จ โ ด ย ไ ม่ ต้ อ ง ล ง ทุ น สั ก แ ด ง เ ดีย ว

จะทำอย่างไรให้เด็กสมัยนี้ รู้จักประหยัดและอดออมเจ้าคะ ?

จะทำอย่างไรให้เด็กสมัยนี้ รู้จักประหยัดและอดออมเจ้าคะ ?

การ ประหยัดและอดออมเป็นหัวใจของการตั้งหลักตั้งฐานให้มั่นคง ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเอาไว้ว่า การที่ใครจะตั้งหลักตั้งฐานให้ได้นั้น มีหลักอยู่ ๔ ประการด้วยกัน เรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ได้แก่

๑. อุฏฐานสัมปทา แปลว่า ถึงพร้อมด้วยความหมั่น หรือว่า หาเป็น

๒. อารักขสัมปทา แปลว่า ถึงพร้อมด้วยการรักษา หรือว่า เก็บเป็น

๓. กัลยาณมิตตตา แปลว่า ความมีเพื่อนเป็นคนดี หรือว่า สร้างเครือข่ายคนดีเป็น

๔. สมชีวิตา แปลว่า การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ หรือว่า ใช้เป็น

นิสัยอดออมและนิสัยประหยัดนี้ อยู่ดีๆ คงไม่ตกลงมาจากท้องฟ้าเหมือนอย่างกับน้ำฝน เมื่อเป็นนิสัย ก็ต้องเกิดจากการ ย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ นั่นเอง


เพราะฉะนั้น อยากจะให้ลูกมีนิสัยประหยัด ก็ฝึกลูกให้ ย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ ในเรื่องประหยัด

อยากจะให้ลูกมีนิสัยอดออม รู้จักออมทรัพย์เป็น ไม่ว่าจะออมทรัพย์เป็นตัวเงิน หรือจะออมทรัพย์เป็นบุญก็ตาม ต้องฝึกลูกให้ ย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ ในเรื่องของการอดออมอยู่เสมอ จนกระทั่งกลายเป็นนิสัย

แต่ว่าการที่จะให้ลูกหลานของเรา หรือใครก็ตาม ย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ ในเชิงประหยัด ในเชิงอดออมนั้น ต้องมีข้อแม้ เอาเป็นว่าจากในครอบครัวก็แล้วกัน คือ

๑. คุณพ่อคุณแม่ต้องทำให้ดู การประพฤติปฏิบัติตนด้วยความประหยัดและอดออมให้ลูกดู คือวิธีการสอนที่วิเศษที่สุด เพราะเมื่อพ่อแม่ทำให้ดู ทำให้เห็นอยู่เป็นประจำ ลูกก็จะมีแนวคิด แนวพูด แนวการกระทำ ตามอย่างที่คุณพ่อคุณแม่ทำให้ดูนั้น
เพราะฉะนั้น นิสัยประหยัด นิสัยอดออม ของลูก แน่นอนและชัดเจนลงไปเลยว่า ย่อมได้จากคุณพ่อคุณแม่เป็นหลัก

๒. หาเพื่อนดีให้ลูกคบ เพื่อนที่มีนิสัยประหยัด มีนิสัยอดออม หาทาง ชวนให้แกมาที่บ้านบ่อยๆ เพื่อส่งเสริมให้คบกับลูกๆ ของเรา แล้วการซึมซับนิสัยดีๆ จากเพื่อนก็จะเกิดขึ้น

๓. หาครูดีให้ลูก พาไปเรียนหนังสือ หรือหาครูดีๆ มาสอนหนังสือที่บ้านให้ลูกของเราเป็นพิเศษ ซึ่งครูนั้นนอกจากจะมีความรู้ด้านวิชาการดีแล้ว ยังต้องมีนิสัยประหยัด มีนิสัยอดออมด้วย เดี๋ยวแกก็จะซึมซับนิสัยดีๆ เหล่านั้น จากคุณครูเข้ามาในตัวของแกได้เอง

สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องของการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับลูกของเรา ซึ่งจัดเป็นองค์ประกอบภายนอก
แต่ที่สำคัญคือองค์ประกอบภายใน ซึ่งก็ตกเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่อีกเหมือนกัน ที่จะต้องให้หลักการที่ชัดเจน

เมื่อได้หลักการแห่งการประหยัด การอดออมที่ชัดเจนแล้ว แกจึงจะเข้าใจในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำให้ดู ที่เพื่อนทำให้ดู ที่คุณครูได้อบรมสั่งสอนอยู่เป็นประจำ

คือ การที่ใครจะประหยัดเป็น เขาจะต้องรู้จักคำว่า " จำเป็น" กับคำว่า " อยาก" นั้นแตกต่างกันอย่างไร ต้องแยก ๒ คำนี้ให้ออก ถ้าแยกไม่ออกก็ประหยัดไม่เป็น


ยกตัวอย่าง ลูกเอ๊ย เสื้อผ้าเขามีไว้สำหรับนุ่งห่ม เพื่อกันแดด กันลม กันฝน กันร้อน กันหนาว กันเหลือบ ยุง ลิ้น ไร มาไต่ตอม และที่สำคัญกันอายนะลูก

ถ้าลูกยังใช้เสื้อใช้ผ้า ใช้เครื่องนุ่งห่ม อยู่ในลักษณะเพื่อป้องกันแดด กันลม กันฝน กันอาย อย่างที่ว่ามานี้ ก็เป็นเรื่องของความประหยัด

แต่เมื่อไหร่ ลูกจะใส่เสื้อใส่ผ้าเพื่อ ความเด่น ความดัง ตามแฟชั่น เดินผ่านไปถึงไหน ใครๆ ก็ต้องเหลียวหน้ากลับมาดู อย่างนี้ไม่ประหยัดแล้ว แต่จะกลายเป็นการฟุ่มเฟือยไป

การใช้เสื้อผ้าก็ต้องสอนให้ลูกรู้จักแยกให้ออกได้อย่างนี้

ในบางกรณี ถ้าลูกอยากหล่อ อยากสวย อยากเด่น กับเขาบ้าง เป็นบางครั้งบางคราวก็ได้เหมือนกัน แต่ว่าก็ต้องออกแรงทำงานเสียก่อน โดยอาจจะให้ทำงานในบ้าน หรือไปทำงานนอกบ้านก็ตาม


ฝึกให้ลูกรู้จักเหนื่อยเสียบ้าง ไม่ใช่ว่าค่อยแบมือขอแม่เพียงอย่างเดียว เมื่อต้องเหนื่อยเสียก่อนแล้วจึงจะได้ของที่ต้องการ อย่างนี้ความคิดที่จะฟุ้งเฟ้ื้อก็ลดลง

ยิ่งกว่านั้น ยังต้องสอนให้ลูกของเรารู้จักหยอดเงินใส่กระปุกออมสิน โดยเก็บเงินส่วนที่เหลือจากค่าขนมบ้าง เหลือจากตรงนั้น ตรงนี้บ้าง เอามาใส่กระปุกไว้ หรือว่าเอาไปทำบุญ

ก็จะกลายเป็นทั้งออมเพื่อเตรียมไว้สำหรับอนาคตชาตินี้ และออมไว้สำหรับอนาคตชาติหน้า ด้วยการเปลี่ยนเป็นบุญ
ถ้าทำอย่างนี้กันทั้งครอบครัวตั้งแต่เล็กๆ รับรองนิสัยประหยัดและอดออมของคนทั้งชาติไทยจะบังเกิดขึ้นมาได้ในไม่ช้านี้

ขอขอบคุณ DMC.TV

จะสอนลูกให้ประหยัดอย่างไร

ส ังคมไทยสมัยก่อน มักจะสอนให้ลูกกราบเท้า พ่อแม่ก่อนเข้านอน สิ่งนี้จะพัฒนาคุณธรรมในตัวเด็กได้อย่างไร และถ้าคนในยุคนี้จะทำบ้าง ควรเริ่มต้นอย่างไรเจ้าคะ ?

คุณโยมถามได้ถูกจังหวะทีเดียว เพราะว่าปัจจุบันประเพณีอันดีงาม ของปู่ย่าตาทวดในเรื่องนี้ กำลังจะหายไปจากแผ่นดินไทยของเรา ซึ่งถ้าปล่อยให้หายไปเมื่อใด การถ่ายทอดคุณธรรม จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ก็คงจะหมดไปด้วย

ปัญหาต่างๆ ที่มีให้เห็นอยู่เป็นประจำ เช่น วัยรุ่นยกพวกตีกัน วัยรุ่นเสพยาเสพติด เป็นต้น สาเหตุเบื้องต้นก็มาจากการที่เด็กเหล่านั้น ไม่ได้รับการสอนให้กราบเท้าคุณพ่อคุณแม่ก่อนนอนนั่นเอง

กุศโลบายถ่ายทอดนิสัย

เรื่องสอนให้ลูกกราบเท้าคุณพ่อคุณแม่ก่อนนอนนี้ เป็นหลักการ หรือว่าเป็นกุศโลบายในการถ่ายทอดนิสัยอันดีงามที่คุณพ่อคุณแม่ได้ฝึกฝนมา ตลอดชีวิต ไปสู่ลูกหลานของตัวเอง เพราะว่าความดีที่จะเกิดขึ้น ได้ในตัวของคนทุกคนนั้น เป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังให้กันและกัน จะรอให้เกิดขึ้นมาเองนั้นไม่ได้ เหมือนชาวนาต้องลงมือปลูกข้าว ถ้าไม่ปลูกต้นข้าวในนา ก็ไม่สามารถที่จะงอกขึ้นมาเองได้

ปู่ย่าตาทวดของเรามองในเรื่องเหล่านี้ออก ท่านจึงมีกุศโลบายโดยสอนให้ลูกหลาน มากราบเท้าท่านก่อนเข้านอน

ประโยชน์จากการที่ลูกกราบเท้าพ่อแม่ก่อนเข้านอน

การที่ลูกคลานเข้าไปหาคุณพ่อคุณแม่ แล้วกราบงามๆ นั้น ไม่ได้เป็นการบังคับจิตใจลูกเลย แต่ว่ากลับก่อให้เกิดประโยชน์ขึ้นมาอย่างมากมาย คือ

๑ . พ่อแม่ลูกมีโอกาสได้ใกล้ชิดกัน ทำให้ได้พูดคุย ได้ทำความเข้าใจกัน และเมื่อทำเป็นประจำทุกคืน ลูกๆ จะเกิดความซาบซึ้งถึงความปรารถนาดี ที่คุณพ่อคุณแม่มีต่อตน

๒ . คุณพ่อคุณแม่ได้เห็นพฤติกรรมของลูก ตามธรรมดาใจของเด็กสะอาดเหมือน กับผ้าขาว เพราะฉะนั้นเวลาไปทำอะไรผิดมาในครั้งแรกๆ แกจะรู้ตัวว่าทำผิด และจะมีพิรุธกลับมาให้คุณพ่อคุณแม่เห็น

แต่ว่าถ้าปล่อยให้แกทำผิดซ้ำๆ กันเกิน ๓ ครั้ง แกจะถือว่าสิ่งที่ทำไปนั้นเป็นเรื่องปกติ และจะไม่มีพิรุธกลับมาให้คุณพ่อคุณแม่ได้เห็นอีก คุณพ่อคุณแม่จึงไม่รู้เลยว่า ลูกของตนไปทำอะไรผิดพลาดมาบ้าง ในที่สุดแม้ลูกติดยาเสพติด หรือว่าไปเกะกะเกเรมาอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะรู้ เพราะแกไม่มีพิรุธอะไรกลับมาให้เห็น

เพราะฉะนั้น การที่คุณพ่อคุณแม่สอนให้ลูกกราบเท้าก่อนเข้านอน นอกจากจะทำให้ได้ใกล้ชิดกันแล้ว ยังมีโอกาสตักเตือนลูกในตอนที่แกทำผิดพลาดครั้งแรกๆ และมีโอกาสแก้ไขได้ทันท่วงทีอีกด้วย

๓. คุณพ่อคุณแม่มีโอกาสเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ลูกฟัง เช่น สถานการณ์ของบ้านเมือง ตอนนี้เป็นอย่างไร ลูกจะได้มีหูตาที่กว้างไกล หรือว่าสถานการณ์ของครอบครัว ตอนนี้มีสถานะทางการเงินเป็นอย่างไร ยิ่งกว่านั้น คุณพ่อคุณแม่มีแนวทางที่จะปูพื้นฐานเส้นทางชีวิตให้กับลูกอย่างไรในอนาคต ก็จะเล่าให้ลูกฟังกันตอนนี้แหละ

๔ . คุณพ่อคุณแม่มีโอกาสอบรมสั่งสอนให้ลูกเป็นคนดี โดยใช้วิธีง่ายๆ คือ เล่าถึงความดีที่พ่อแม่ทำในแต่ละวันให้ลูกฟัง ลูกๆ ก็จะซึมซับความดีเหล่านั้นเข้าไปในใจ จนกระทั่งทำให้รู้ว่า ดี ชั่ว ถูก ผิด และบุญ บาปเป็นอย่างไร

ในยุคนี้มีคุณพ่อคุณแม่จำนวนมากที่มักจะหวังว่า ลูกของเราเมื่อโตขึ้นมาคงจะเป็นคนดี เพราะว่าคุณครูที่โรงเรียนได้อบรมสั่งสอนให้แล้ว หรือว่าเราให้ความรักต่อลูกมากพอแล้ว เช่น ตุ๊กตาตัวโตๆ ก็ซื้อให้เล่น อยากกินขนมอะไรก็ไปหาซื้อมาให้ เป็นต้น ก็คิดว่า ลูกของเราจะต้องเป็นคนดีแน่นอน แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น กลับกลายเป็นว่าได้ลูกที่มีนิสัยเอาแต่ใจตัวเองมา ๑ คน

ถ้าวันนี้คุณพ่อคุณแม่กลับมาใช้วิธีสอนให้ลูกกราบเท้าก่อนนอนทุกคืน แล้วถ่ายทอดความรู้และความดีที่ตนทำมาในแต่ละวันด้วยการเล่าให้ฟังว่า ขณะที่ทำงานในวันนี้ พ่อแม่มีวิธีตัดสินใจที่จะทำ หรือไม่ทำงานนั้นๆ อย่างไร พ่อแม่ทำอย่างไรงานถึงได้ออกมาดี ซึ่งก็คือการถ่ายทอดความรู้ ในเรื่องการประกอบอาชีพให้ลูกนั่นเอง

หรือเล่าให้ฟังว่า วันนี้แม่ไปทำบุญ ไปปล่อยสัตว์ปล่อยปลามา วันนี้เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา แม่จึงตั้งใจรักษาศีลเป็นพิเศษ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

ลูกก็จะเห็นภาพของชีวิตในวันข้างหน้า อีกทั้งได้รับความรู้และความดีจากประสบการณ์ของพ่อแม่อยู่ในตัวอย่างพร้อม สรรพอีกด้วย กลายเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาประจำตัวลูกที่พ่อแม่มอบให้แก่เขาทุกคืนไม่ได้ขาด และเป็นแนวทางการเผชิญโลกและชีวิตด้วยความดีอย่างตลอดฝั่งในวันข้างหน้า

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความดีที่ควรนำมาเล่าให้ลูกๆ ฟัง เพราะถือว่าเป็นอริยทรัพย์ คือทรัพย์อันประเสริฐ ที่ใช้เท่าไรก็ไม่หมด ย่อมดีกว่าสมบัติพันล้าน หมื่นล้านที่พ่อแม่หาสะสมไว้ให้ แต่ลูกแยกไม่ออกว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด แล้วก็เอาสมบัติเหล่านั้น ไปมั่วสุมในอบายมุขจนหมด

วิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสมบูรณ์

การสอนให้ลูกกราบพ่อแม่ก่อนเข้านอนนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสมบูรณ์ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรปฏิบัติ คือ

๑. เป็นต้นแบบทางศีลธรรมให้ลูกดู ถ้าคุณพ่อยังชอบดื่มเหล้า ส่วนคุณแม่ก็ชอบเล่นไพ่ แล้วเรียกให้ลูกเข้าไปกราบ อย่างนี้ลูกคงจะกราบไม่ไหวเหมือนกัน

๒. สอนให้กราบเท้าพ่อแม่ ตั้งแต่ตอนเด็กๆ ไม่ต้องรอจนโตขึ้นมาก่อน เดี๋ยวแกไม่อยากเข้าใกล้คุณพ่อคุณแม่ แต่กลับไปติดเพื่อนแทน แล้วจะไปโทษว่าลูกดื้อไม่ได้

๓. สอนให้กราบเท้าพ่อแม่ เป็นประจำทุกคืน พ่อแม่ต้องสอนให้ทำเป็นประจำสม่ำเสมอ ไม่ใช่ว่าวันไหนอารมณ์ดีก็เรียกลูกให้เข้ามากราบ วันไหนอารมณ์ไม่ดีก็ไล่ให้ไปพ้นๆ อย่าเข้ามาใกล้

หากทำได้อย่างนี้ หิริโอตตัปปะ หรือว่าความอายบาป กลัวบาป จะเกิดขึ้นกับลูกของเรา ทำให้ไม่กล้าทำความชั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลัวว่าถ้าคุณพ่อคุณแม่รู้เข้าจะเสียใจ เช่น เวลาจะทำความชั่วครั้งใด หน้าแม่ก็ลอยขึ้นมา หน้าพ่อก็ลอยขึ้นมา “ ลูกเอ๊ย ไม่รักพ่อรักแม่แล้วหรือ” แค่นี้ก็จะกลายเป็นยันต์สำหรับปิดนรกให้ลูกแล้ว

การฟื้นฟูประเพณีลูกกราบเท้าพ่อแม่ก่อนเข้านอน

การสอนลูกให้มากราบเท้าพ่อแม่ก่อนเข้านอนทุกคืน มีผลดีต่ออนาคตของลูกถึงขนาดนี้ ปู่ย่าตายายท่านจึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก แต่ว่าคนในยุคปัจจุบัน กำลังจะลืมเลือนไปหมดแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าอยากจะฟื้นฟูประเพณีอันดีงามนี้ให้กลับมาอีก

๑. คุณพ่อคุณแม่ต้องเพาะนิสัยตัวเองเสียใหม่ คือคุณพ่อคุณแม่ที่ชอบดูหนัง ดูละคร จนกระทั่งหลับไปต่อหน้าโทรทัศน์ ก็เลิกเสียที หัดนอนแต่หัวค่ำ จะได้ตื่นตั้งแต่เช้ามืด เป็นตัวอย่างให้ลูกดู สิ่งที่สำคัญก็คือคุณพ่อคุณแม่จะได้มีเวลาพาลูกๆ ไหว้พระ สวดมนต์ พอสวดมนต์เสร็จก็ให้พร แล้วเล่าเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งคุณแม่คุณพ่อได้ประกอบคุณงามความดีเอาไว้ให้ลูกฟัง

๒. อย่าทำโทษลูกในขณะนั้น หากรู้ว่าลูกไปทำผิดอะไรมา ถ้าไม่รุนแรงนัก แค่ว่ากล่าวตักเตือนกันบ้างก็ทำได้ แต่ถ้าหนักหนาสาหัสจนถึงขั้นต้องลงโทษกัน อย่าทำในขณะนั้นเป็นอันขาด เอาไว้ค่อยพิพากษากันในวันต่อไปก็ได้ เมื่อพ่อแม่ทำอย่างนี้ ลูกจะเกิดความอุ่นใจ ต่อไปในภายภาคหน้า ไม่ว่าไปทำผิดทำพลาดอะไร เขาก็กล้าที่จะมาสารภาพกับคุณพ่อคุณแม่

เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ที่เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นครูบาอาจารย์ ตลอดจนกระทั่งผู้บริหารบ้านเมือง สามารถฟื้นฟูประเพณีสอนให้เด็กกราบเท้าพ่อแม่ก่อนเข้านอนกลับมาได้ รับรองว่าปัญหา เรื่องวัยรุ่นชายยกพวกตีกัน หรือว่าวัยรุ่นหญิงแอบไปทำแท้ง จะไม่มีเกิดขึ้นอีก จะมีแต่เด็กๆ ประเภทที่เป็นลูกแก้วเท่านั้น คุณพ่อคุณแม่เองก็จะได้ตายตาหลับ เพราะลูกแก้วจะรักษาประเทศชาติ พระพุทธศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ไว้คู่บ้านคู่แผ่นดินตลอดไป
ขอขอบคุณ DMC.TV

พ่อแม่เลี้ยงลูกอย่างไร ลูกเป็นอย่างนั้น

พ่อแม่เลี้ยงลูกอย่างไร ลูกเป็นอย่างนั้น

ความ หมายของคำว่า “ลูก” มิใช่เป็นเพียงแค่ผู้สืบสายเลือดหรือดวงใจอันเป็นที่รักยิ่งของพ่อแม่เท่า นั้น แต่ยังเป็นผลิตผลทางจิตวิญญาณของพ่อแม่ด้วย และการที่ลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในสังคมได้หรือไม่ เป็นที่ยอมรับกันว่าขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูตั้งแต่เกิดจนเข้าสู่วัยรุ่นว่า ได้รับการเลี้ยงดูมาแบบใด

สังคมยุคใหม่พ่อแม่มีทัศนคติ ค่านิยม และความคิดความอ่านเปลี่ยนไปจากเดิมและมีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้เป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมทั้งสิ่งแวดล้อม ทำให้พ่อแม่ในสังคมยุคใหม่มีรูปแบบและแนวทางในการเลี้ยงดูลูกที่แตกต่างกัน ไป โดยทั่วไปเรามักจะพบเห็นรูปแบบการเลี้ยงลูก 4 แบบ คือ การเลี้ยงแบบให้ความรักมากเกินไป โดยไม่มีขอบเขต การเลี้ยงแบบไม่ให้ความรักความเอาใจใส่เท่าที่ควร การเลี้ยงแบบประคบประหงม และแบบสุดท้ายคือ การเลี้ยงลูกแบบเจ้าระเบียบ และบังคับเด็กจนเกินไป


รักหนูมากไป...หนูจะเป็นแบบไหนนะ


การ เลี้ยงลูกแบบรักลูกมากไป ตามใจจนไร้ขอบเขตเป็นวิธีที่พบมากในปัจจุบันที่พ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาให้ลูก เมื่อมีเวลาใกล้ชิดก็อยากจะมอบความรักความอบอุ่นให้โดยการยอมตามที่ลูกขอแทบ ทุกครั้งไป


การทำอย่างนี้นอกจากจะขัดขวางไม่ให้ลูกเป็นตัวของตัว เองแล้วยังส่งผลให้ลูกมีนิสัยเห็นแก่ตัว รอคอยไม่เป็น อารมณ์ไม่มั่นคง ก้าวร้าว ไม่เห็นใจคนอื่นที่ต่ำกว่า เก็บกด ปรับตัวได้ไม่ดีต้องพึ่งผู้อื่นโดยเฉพาะพ่อแม่ตลอด ในกรณีที่รุนแรงลูกจะขาดคุณลักษณะที่สำคัญต่อการเรียนรู้และการทำงานในอนาคต ทำให้ในระยะยาวมีผลการเรียนที่ต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง เนื่องจากขาดความเป็นตัวของตัวเอง ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการแข่งขันกับตัวเอง ขาดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความอดทนและความรับผิดชอบ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะหงุดหงิด มีปัญหาทางอารมณ์ในระยะยาว


ประคบประหงมแบบนี้...ความรักหรือยาขมกันนะ

การ เลี้ยงลูกแบบประคบประหงม วิตกกังวลหวาดกลัวไปต่างๆ นานา ว่าลูกจะป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากโรค หรืออุบัติเหตุต่างๆ มักเกิดกับพ่อแม่ที่มีประสบการณ์ที่ไม่ดีในชีวิต โดยเฉพาะครอบครัวที่มีลูกคนเดียว มีลูกยาก ไม่สามารถมีลูกได้อีกเนื่องจากการถูกตัดมดลูกหรือพ่อแม่ที่เคยสูญเสียลูกไป แล้วคนหนึ่งและไม่อยากให้เกิดขึ้น จึงเฝ้าประคบประหงมไม่ให้ลูกผจญต่ออะไรมากนัก คอยติดตามและปกป้องอันตรายให้ลูกตอลดเวลา ไม่ให้ช่วยทำงานบ้าน ไม่มีการฝึกวินัย การทำแบบนี้มีผลดีบ้างตรงที่ลูกได้รับความรักความอบอุ่นเหมือนแบบแรก แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการทำร้ายลูกอย่างไม่รู้ตัว เนื่องจากจะทำให้ลูกไม่รู้จักช่วยเหลือตัวเอง ขาดความเป็นตัวของตัวเอง ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เนื่องจากถูกปิดกั้นด้วยความรักของพ่อแม่ พ่อแม่ควรปรับความคิดใหม่คิดให้เหมือนเด็ก นึกถึงตอนที่เราเป็นเด็กว่าในวัยนี้เราต้องการอะไรจากพ่อแม่บ้าง และอย่าจมกับอดีต อย่าวิตกกังวลมากไป ให้ความมั่นใจกับตัวลูกว่าเขาสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ จะเป็นผลดีต่อการปูพื้นฐานการเรียนรู้ของลูกในอนาคต


เจ้าระเบียบบีบบังคับมากไป...ก็ไม่ดีนะแม่

การ เลี้ยงลูกแบบนี้ พ่อแม่จะเฝ้าควบคุมลูกอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ บางครอบครัวควบคุมไปถึงเรื่องส่วนตัวของลูก ทั้งเรื่องการทานอาหาร การขับถ่าย การออกกำลังกาย เหมือนการเลี้ยงลูกแบบทารกที่คอยควบคุมช่วยเหลือการทำงาน ควบคุมพฤติกรรมที่ไม่ต้องการได้ คอยชี้แนะว่ากล่าวตักเตือนสม่ำเสมอ คอยแก้ปัญหาให้เกือบทุกด้าน ซึ่งจะส่งผลให้เด็กเกิดความเครียดเก็บกดมีพฤติกรรมหน้าไหว้หลังหลอกและอาจ เป็นเด็กเจ้าเล่ห์ในอนาคตหรืออาจเป็นเด็กก้าวร้าวจากการสะสมอารมณ์เก็บกด นั้นๆ


เอายังไงแน่แม่...หนูงงแล้วนะ


การ เลี้ยงลูกแบบไม่สม่ำเสมอ ไม่ให้ความรักความเอาใจใส่เท่าที่ควร บางครั้งเข้มมาก บางครั้งตามใจ บางครั้งปล่อยปละละเลย พ่อแม่สอนลูกคนละแบบหรือขัดแย้งกัน เปลี่ยนวิธีการเลี้ยงลูกบ่อยๆ จนลูกไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าถึงผลแห่งการกระทำของตัวเอง ส่วนมากเกิดกับพ่อแม่ที่มีความเป็นเด็กอยู่ พ่อแม่ที่มีความเครียดมากหรือไม่มีเวลาให้ลูก มักมีการสอนหรือให้ข้อมูลที่สับสน ตีความหมายได้หลากหลายแก่ลูก การเลี้ยงลูกในลักษณะนี้จะทำให้ลูกเกิดความสับสน ขาดวินัย รักสบาย และขาดความยับยั้งชั่งใจ เนื่องจากจะปรับตัวเองตามลักษณะอารมณ์ของพ่อแม่ โดยในระยะแรกลูกจะแสดงออกเพื่อให้เป็นที่พอใจของพ่อแม่ แต่พอนานวันเข้าก็จะกลายเป็นความเคยชิน เกิดการทำโดยอัตโนมัติและไม่รู้สึกเดือดร้อน


เด็กที่เกิดจากพ่อ แม่เดียวกัน รูปร่าง หน้าตา นิสัยใจคอต่างกัน การที่พี่น้องท้องเดียวกัน แม้แต่ฝาแฝดก็มีความแตกต่างกันเพราะได้รับการเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน รวมถึงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันด้วย ส่งผลให้สุขภาพจิตแต่ละคนแตกต่างกัน การอบรมเลี้ยงดูที่แตกต่างส่งผลต่อพฤติกรรมที่แตกต่างออกไป


การ เลี้ยงดูลูกของพ่อแม่แต่ละคนส่วนใหญ่จะอาศัยประสบการณ์ที่ถูกเลี้ยงดูมา การเรียนจากตำรา หรือการเห็นคนอื่นเลี้ยงมาประยุกต์ใช้ในแบบที่ตัวเองคิดว่าเหมาะสม แต่บางครั้งเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของพ่อแม่แต่ละช่วงก็ส่งผลให้การเลี้ยงดูลูกแตกต่างกัน ออกไป เกิดการเลี้ยงดูหลายแบบในครอบครัวเดียวกัน เราไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่า แบบไหนดีไม่ดี หรือแบบไหนถูกแบบไหนผิด พ่อแม่ควรเลือกและปรับวิธีการดูแลเลี้ยงดูลูกตามความเหมาะสม


พ่อแม่มืออาชีพ...ต้องแบบนี้สิ


การอบรม เลี้ยงดูลูกที่ดีนั้น ไม่มีรูปแบบตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูกจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับพ่อแม่ว่าวาง กฎเกณฑ์หรือคุณค่าในเรื่องต่างๆ สูงแค่ไหน เช่น การลงโทษลูก การควบคุมเรื่องต่างๆ รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นของลูกมีมากน้อยแค่ไหน รูปแบบการเลี้ยงลูกควรพิจารณาจาก


ความเท่าเทียมกันทางสังคม


คุณ พ่อคุณแม่ควรตระหนักว่าลูกเรามีสิทธิ์ที่จะคิดและตัดสินใจด้วยตัวเอง อย่าเพิ่งตัดสินว่าลูกวัยนี้อายุยังน้อยตัดสินใจอะไรหรือทำอะไรไม่ค่อยเป็น ปล่อยให้ลูกได้คิด ได้ทำและตัดสินใจในสิ่งที่เขาสนใจ แม้ว่าลูกจะไม่ฉลาด ไม่มีประสบการณ์ ไม่แข็งแรงหรือไม่มีความรู้เท่าพ่อแม่ เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกรู้สึกภูมิใจและมั่นใจในตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ควรให้เกียรติในความคิดของลูก ไม่บังคับให้ทำตามความคิด ความเชื่อของพ่อแม่ ส่งเสริมลูกด้วยการจัดหาแนวทางและชี้นำเรื่องต่างๆ แก่ลูกอย่างเหมาะสม


ความรับผิดชอบร่วมกัน


เมื่อ เกิดปัญหาขึ้นในครอบครัว การร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำและตัดสินใจ หรือการทำข้อตกลงรับผิดชอบร่วมกัน บ้านที่มีความเป็นประชาธิปไตยควรมีทั้งอิสระ ขอบเขตและฝึกให้ลูกเรียนรู้ถึงความรับผิดชอบ เช่น การเก็บของเล่นหลังเล่นเสร็จ การรับประทานอาหารที่ตรงเวลา การให้ลูกได้รับประสบการณ์จากผลการกระทำของเขาเป็นเทคนิคการฝึกที่มีพลังมาก ลูกมีอิสระที่จะเลือกและได้รับประสบการณ์จากผลของการกระทำของตัวเอง เช่น ลูกไม่ยอมรับประทานอาหารจะรู้สึกหิว หรือเล่นมากไปจนกลับมาไม่ทันมื้ออาหารเย็น เพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่ลูกจะเรียนรู้ถึงพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบ ไม่ใช่ทำเพราะรางวัลหรือถูกลงโทษ แต่จะทำเพราะว่าได้รับรู้ถึงผลเสียของการกระทำนั้นๆ และในขณะที่พยายามพัฒนาความรับผิดชอบของลูก พ่อแม่ต้องไม่พยายามเข้าไปช่วยลูกโดยไม่จำเป็นจริงๆ เพราะจะทำให้ลูกมีความรู้สึกรับผิดชอบลดลง


ความร่วมแรงร่วมใจกัน


ครอบ ครัวที่มีการแข่งขันกันทำให้เกิดความแตกต่างของลูกแต่ละคนอย่างเห็นได้ชัด อาจทำให้ลูกคนที่สู้คนอื่นไม่ได้แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ดื้อรั้น ไม่ยอมร่วมกิจกรรมในบ้าน ไม่มีเพื่อน สุดท้ายจะพบความล้มเหลวด้านการเรียน คุณพ่อคุณแม่ควรเปลี่ยนทัศนคติทั้งตัวเองและลูกจากการแข่งขันเป็นร่วมมือ ช่วยเหลือกัน สอนลูกให้มีความเมตตา มีน้ำใจช่วยเหลือคนที่อ่อนแอกว่า จะช่วยให้คนๆ นั้นมีความสุขกับชีวิตมากขึ้น นำไปสู่ความสำเร็จในชีวิตในอนาคต


ความมีวินัยในตัวเอง



พ่อ แม่ที่มักสอนให้เรามีความรับผิดชอบโดยการให้รางวัลและการลงโทษ จะส่งผลให้ลูกเรียนรู้ว่าพ่อแม่และคนอื่นมีผลต่อพฤติกรรมของเขา เมื่อใดที่ไม่มีคนอื่นอยู่ด้วยลูกจะมีพฤติกรรมที่ไม่ดี เพราะไม่มีคนคอยดูหรือคอยสอนให้ทำดี ถ้าพ่อแม่ต้องการให้ลูกทำดี โดยสมัครใจด้วยแรงกระตุ้นภายในตัวเด็กเอง ไม่ใช่จากการถูกลงโทษหรือให้รางวัลได้ พ่อแม่ควรฝึกให้แรงกระตุ้นและแรงเสริมเป็นอย่างอื่น เช่น การชมเชย การกอดลูก เมื่อลูกเกิดความรับผิดชอบโดยสมัครใจ รู้สึกอยากทำสิ่งต่างๆ โดยที่พ่อแม่ไม่ต้อควบคุม นั่นคือพ่อแม่สามารถสร้างบทบาทของการมีวินัยในตนเองให้ลูกได้สำเร็จ


แบบนี้เรียกว่า...พ่อแม่รังแกหนู

ใน ขณะที่พ่อแม่พยายามเลี้ยงลูกให้พร้อมที่จะเผชิญสิ่งต่างๆ ในสังคม เป็นการวางรากฐานให้ลูกออกสู่โลกกว้างเมื่อโตขึ้นได้อย่างเหมาะสมด้วย ประสบการณ์ของตัวลูกเอง บางครั้งพ่อแม่อาจรู้สึกว่าตัวเองเป็นพ่อแม่ที่ไม่เอาไหน หรือด้วยสำนึกของความเป็นพ่อแม่ จึงพยายามเข้าไปช่วยลูก เช่น ช่วยแต่งตัว ช่วยทำการบ้าน ช่วยป้อนข้าว การทำอย่างนี้ไม่เหมาะสมนะคะ เพราะแทนที่ลูกจะพัฒนาตัวเองกลับมีพฤติกรรมถดถอยได้ ซึ่งการอบรมเลี้ยงดูลูกที่ไม่เหมาะสมมีหลายปัจจัยด้วยกัน

การอบรมสั่งสอนลูก ไม่ ควรเป็นการเทศนา เพราะลูกวัยนี้ไม่สามารถเข้าใจทุกอย่างที่พ่อแม่สอนได้ในเวลาเดียวกัน และจะทำให้ลูกเบื่อหน่ายไม่สนใจฟัง ทำให้เกิดผลเสียทั้ง 2 ฝ่าย พ่อแม่อารมณ์เสียและลูกเกิดความเครียด เก็บกด เพราะไม่สามารถแสดงความโกรธออกมา ดังนั้น พ่อแม่ควรสอนลูกด้วยเหตุผลที่สั้น ชัดเจนและเข้าใจง่าย และไม่ควรหลอกหรือหยอกล้อลูกในทางที่ไม่ควร เพราะจะทำให้ลูกเกิดความรู้สึกกลัวโดยไร้เหตุผล อีกทั้งเป็นการขัดขวางความอยากรู้อยากเห็นของลูก ทำให้ลูกขาดความน่าเชื่อถือและไว้วางใจในตัวพ่อแม่ด้วย


การดุด่าและการขู่ลูก เป็นอีกพฤติกรรมที่ไม่ควรนำมาใช้ โดย เฉพาะการดุด่ากลางที่สาธารณะ ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เนื่องจากลูกจะเกิดความอาย เครียดและอาจเกลียดพ่อแม่ได้ รวมถึงการพูดจาเสียดสี เหน็บแนมหรือถากถางลูกโดยหวังผลให้ลูกปรับปรุงพฤติกรรม อย่าใช้กับลูกเด็ดขาด โดยเฉพาะลูกวัยนี้เขาไม่เข้าใจความหมายแฝงของคำเหล่านั้นหรอกค่ะ รังแต่จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองทำถูกอีกทั้งลูกอาจเกิดพฤติกรรม เลียนแบบ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องถูกต้องและนำสิ่งที่ได้เห็นจากพ่อแม่ไปใช้กับคนอื่น ด้วย


การติดสินบนลูก
นิยม มากในกลุ่มพ่อแม่ที่ไม่ต้องการความยุ่งยากในการสอนหรือต้องการหยุดพฤติกรรม ที่ไม่ต้องการในตัวลูก พ่อแม่ควรเปลี่ยนความคิดและมุมมองใหม่ดีกว่าค่ะ เพราะการทำแบบนี้จะทำให้ลูกทำความดีได้เพียงชั่วครู่เท่านั้น แต่ไม่สามารถติดตัวจนกลายเป็นนิสัยได้ ในทางตรงข้ามอาจเป็นการบ่มเพาะนิสัยที่ไม่ดีให้ลูกทำดีเพื่อหวังผลตอบแทน เท่านั้น


สอนลูกสร้างทางเดินอย่างเหมาะสม


ไม่ ว่าจะเลี้ยงลูกแบบใด ล้วนมีผลต่อความคิดความอ่าน และพฤติกรรมของเด็กทั้งสิ้น การที่ลูกจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการสั่งสมประสบการณ์ การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่มาตั้งแต่เล็กจนถึงวัยรุ่น พ่อแม่ที่เลี้ยงดู อบรม สั่งสอนลูกด้วยความรัก ความอบอุ่น ให้กำลังใจ ให้ความยุติธรรม ยอมรับในความสามารถของลูกและพร้อมที่จะให้การสนับสนุน และส่งเสริมความสามารถพิเศษที่มีในตัวของลูก ลูกจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีมานะ อดทน เข้าใจชีวิต มีความรักความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข หากพ่อแม่เลี้ยงลูกอย่างขาดความรัก ความเข้าใจ มุ่งแต่ใช้การตำหนิติเตียน เมื่อลูกโตขึ้นมักจะเป็นคนล้มเหลวในชีวิต การเลี้ยงลูกด้วยความก้าวร้าว มักจะพบว่าเมื่อลูกเติบโตจะกลายเป็นคนที่มีนิสัยแข็งกร้าว หยาบกระด้าง ในการแก้ปัญหามักจะใช้กำลังมากกว่าเหตุผล พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยคำเย้ยหยันให้ลูกเกิดความอับอาย นำลูกไปเปรียบเทียบกับเด็กอื่นที่ประสบความสำเร็จ เมื่อโตขึ้นลูกจะเป็นผู้ใหญ่ที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นคนที่ไม่กล้าแสดงออกและหวาดระแวง


การเลี้ยงลูกด้วยทางสายกลางเป็นวิธีที่ควรทำมากที่สุด
คือ การให้ความรัก ความอบอุ่น ความเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด การยอมรับลูกเป็นสมาชิกในครอบครัวคนหนึ่ง มีความสม่ำเสมอในการอบรมเรื่องต่างๆ รวมถึงการสร้างระเบียบวินัยที่ไม่ย่อหย่อนหรือเคร่งครัดจนเกินไป ให้ความยุติธรรมต่อลูกทุกคนด้วยความเสมอภาคกัน สิ่งนี้จะเป็นเครื่องหล่อหลอมเด็กให้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และเติบโตไปเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศ


(update 28 พฤษภาคม 2005)
[ ที่มา...นิตยสารบันทึกคุณแม่ ปีที่ 11 พฤศจิกายน 2547 ]

พ่อแม่เลี้ยงลูกอย่างไร...

คุณเคยอยู่ในภาวะกดดันไหม ความรู้สึกนั้นแย่และเครียดจนต้องหาทางระบายใช่ไหม แล้วถ้าลูกคุณต้องอยู่ในภาวะนี้ โดยมีคุณเป็นต้นเหตุล่ะ ?

ไปเจอบทความนึงมา ลองอ่านกัน

เมื่อ ไม่กี่วันนี้ กระเตงลูกไปสังสรรค์กับเพื่อนร่วมก๊วนสมัยเรียนมาค่ะ นอกจากแม่ๆ จะได้แลกเปลี่ยนเรื่องราวระหว่างกันแล้ว ลูกๆ ก็ได้เพื่อนเล่นด้วย แต่ลูกสาววัย 2 ขวบกว่าของเพื่อนดิฉันสิคะ เอาแต่หลบหลังแม่ตลอด ดูท่าทางไม่มั่นใจเอาเสียเลย


สังเกตอาการ หลานสาวสักพัก ก็เห็นว่าเขาเองก็อยากจะไปวิ่งเล่นเหมือนกัน แต่เพื่อนของดิฉันก็คอยส่งสายตาปรามไว้เสมอ เพราะไม่อยากให้ลูกวิ่งซน เธอบอกว่ากลัวลูกจะหกล้มเจ็บตัวน่ะค่ะ แต่แหม...ธรรมชาติของเด็กวัยนี้น่ะเขาจะซน อยากวิ่ง อยากปีนป่าย อยากสำรวจ แล้วมาถูกบังคับให้อยู่นิ่งๆ แบบนี้คงอึดอัดแย่


และเธอยังบ่นให้ ดิฉันฟังอีกว่า ลูกสาวไม่ได้อย่างใจเอาเสียเลย เพราะออกนอกบ้านทีไรหลบหลังแม่ตลอด อยากให้ลูกเป็นคนมั่นใจในตัวเองมากกว่านี้ ปล่อยไว้แบบนี้เห็นทีจะไม่ได้การ เพื่อนที่แสนดีอย่างดิฉันต้องหาทางช่วยแล้วล่ะค่ะ


กรณีอย่างนี้ พญ.เสาวภา วชิรโรจน์ไพศาล กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและการเจริญเติบโต แนะนำว่า คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรบังคับหรือห้ามเด็กอย่างไม่เหมาะสม เพราะจะเป็นการกดดันลูกได้ค่ะ

เรื่องที่หนูๆ มักโดนกดดัน


ลูก ได้รับความกดดันจากพ่อแม่ได้หลายทางค่ะ เช่น จากการที่พ่อแม่ใช้เสียงดังตวาด บางคนอาจถึงขั้นตี เป็นการใช้อำนาจซึ่งลูกย่อมกลัว ยอมจำนน และต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ รู้สึกไม่มีความสุข ส่วนเรื่องที่เด็กวัยนี้มักจะโดนกดดันเสมอคือ


การ รับประทานอาหาร พ่อแม่ส่วนใหญ่จะมีพื้นฐานความคิดที่ปรารถนาดีต่อลูก ว่าลูกต้องได้สารอาหารอย่างครบถ้วนทั้ง 3 มื้อ บางบ้านนอกจากข้าวแล้ว ลูกยังต้องรับประทานผักทุกชนิดด้วย เพื่อร่างกายจะได้สมบูรณ์แข็งแรง จึงพยายามอธิบายให้ลูกเห็นถึงความสำคัญของข้าวและผัก แล้วก็คอยควบคุมและจัดการให้ลูกรับประทานให้ได้ตามที่คุณแม่เตรียมไว้ แทนที่จะใช้วิธีเชิญชวนหรือโน้มน้าว โดยลืมคิดไปว่านี่เป็นการกดดันลูก


การ เล่น เด็กวัยนี้จะชอบเล่นโลดโผน ชอบเล่นปีนป่าย บางบ้านพ่อแม่เองก็อยากให้ลูกเล่น แต่ในขณะเดียวกันก็กลัวลูกเจ็บเลยห้าม แต่พอออกไปข้างนอกเห็นเด็กคนอื่นปีน ลูกตัวเองปีนไม่ได้ ก็คะยั้นคะยอลูกว่าทำไมไม่ปีน คืออยากให้ลูกทำได้แต่ไม่เปิดโอกาสให้ลูกลองทำ

เมื่อหนูโดนกดดัน


การกดดันลูกสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ

ลูกไม่อยากทำ แต่พ่อแม่อยากให้ทำ อย่างนี้จะเป็นการบังคับ เช่น บังคับให้กิน

ลูกอยากทำ แต่พ่อแม่ไม่อยากให้ทำ อย่างนี้จะเป็นการห้าม ลงโทษ เช่น ห้ามปีน ห้ามเล่น


ผลลัพธ์ ออกมาคือ เด็กจะสงสัยในศักยภาพของตัวเองในการทำกิจกรรมต่างๆ พ่อแม่ที่มักจะห้ามหรือดุลูกก็มักจะไม่ได้ดุแค่เรื่องเดียวในหนึ่งวัน แต่จะห้ามและดุลูกอยู่อย่างนี้เกือบทุกเรื่อง โอกาสที่เด็กจะทำอะไรสำเร็จดังใจน้อยมาก เขาจะถูกอำนาจสั่งการอยู่ตลอดเวลา


อาการที่แสดงให้เห็นว่าเด็กกำลังได้รับความกดดัน ในเรื่องของการรับประทานอาหาร เช่น บ้วนทิ้ง อมข้าว วิ่งหนี ร้องไห้ เป็นต้น


ส่วน ในเรื่องของการเล่น สิ่งที่เป็นตัวบ่งชี้ว่าเด็กกำลังได้รับความกดดันอยู่ จะแสดงออกมาเมื่อออกไปข้างนอกค่ะ คือเขาจะอาย ไม่มั่นใจ ติดแม่ มีความเครียดเหมือนลูกสาวของเพื่อนดิฉันนี่แหละ


ซึ่งคุณหมอบอก ว่าถ้าไม่รีบแก้ปัญหา เมื่อเขาโตกว่านี้จะกลายเป็นเด็กที่ไม่มี Self-esteem (ความมั่นใจและเห็นคุณค่าในตัวเอง) ออกไปข้างนอกก็แก้ปัญหาไม่เป็นต้องยอมแพ้ และเด็กที่ได้รับความกดดันส่วนใหญ่มักจะลงเอยด้วยการร้องไห้ค่ะ

เลี้ยงอย่างไร ไม่กดดัน

คุณ พ่อคุณแม่หลายท่านอาจมีคำถามเกิดขึ้นว่า แล้วจะทำอย่างไรจึงจะไม่กดดันลูกเกินไปค่ะ ในเมื่อสิ่งที่ทำอยู่ด้วยรักและเป็นห่วงลูกทั้งนั้นนี่น่า คุณหมอแนะนำว่า ควรเดินสายกลางค่ะ ทั้งคุณพ่อคุณแม่ควรคุยกัน และร่วมกันสร้างกฎของบ้านขึ้นมาเพื่อสร้างวินัย (Discipline) ให้กับเด็กตามวัย โดยต้องเป็นกฎที่ชัดเจน แต่ก็ต้องมีอิสระอยู่ในเรื่องเดียวกันด้วยค่ะ เช่น ในเรื่องการรับประทานอาหาร ควรกำหนดเวลาให้ชัดเจน อาจเป็นครึ่งชั่วโมงที่ลูกต้องนั่งรับประทานด้วยกันที่โต๊ะเหมือนกับทุกคนใน บ้าน ฝึกให้ลูกใช้ช้อนป้อนตัวเอง ลูกจะมีอิสระที่จะได้ใช้ช้อนเอง โดยไม่ถูกตำหนิว่าเปื้อนหรือเสียเวลา ลูกจะลงจากโต๊ะเพื่อไปเล่นก่อนถึงเวลาที่กำหนด หรือเล่นที่โต๊ะอาหารไม่ได้ ซึ่งลูกมีอิสระที่จะหยิบของเล่นโปรด 1 ชิ้นมาร่วมโต๊ะได้ แต่ไม่ให้หยิบมาหลายๆ อย่างเพื่อตั้งใจมาเล่น ถ้าลูกไม่ต้องการรับประทานอาหารแล้ว พ่อแม่ไม่ควรบังคับให้กิน แต่ควรยืนยันให้ลูกอยู่บนโต๊ะอาหารจนครบเวลาเหมือนทุกคน ส่วนการกระตุ้นให้ลูกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็ต้องใช้วิธีเชิญชวนหรือ ดัดแปลงอาหารให้น่ารับประทาน เป็นต้น


ส่วนการเล่น ในเมื่อเด็กวัยนี้ชอบวิ่ง ชอบปีนป่าย พ่อแม่ก็ต้องจัดที่ให้ลูกได้เล่นอย่างที่เขาต้องการ กำหนดเวลาให้เล่น เช่น ให้เวลาเล่นน้ำ 1 ชั่วโมง แล้วหลังจากนั้นมาฟังนิทานกับแม่ ให้ลูกเลือกว่าจะทำกิจกรรมใดก่อน พยายามมีขอบเขตเรื่องของเวลาที่ชัดเจนด้วยว่านานเท่าไหร่ และพยายามทำตามกฎนั้นเสมอ โดยขึ้นอยู่กับแต่ละบ้านที่จะตกลงกันระหว่างพ่อแม่ค่ะ


นอกจาก นั้นควรสอนให้ลูกมีวินัยแบบไม่กดดันเกินไป คือสอนให้รู้ว่าช่วงไหนควรหรือไม่ควรทำอะไรโดยอาศัยความสม่ำเสมอและจริงจัง อาจใช้เสียงเข้มแต่ไม่ใช่เสียงตวาด เด็กจะสามารถรับสัญญาณได้ค่ะ เพราะโดยสัญชาตญาณของเด็ก เขาต้องการภาพเชิงบวกจากพ่อแม่ ถ้าพ่อแม่ยิ้มหรือชมเชย เขาจะภูมิใจและมีกำลังใจมากค่ะ


คุณ หมอบอกว่าถ้าพ่อแม่เริ่มมองเห็นและเข้าใจว่าลูกกำลังเกิดปัญหา ก็ถือว่าแก้ปัญหาสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้วค่ะ เพราะส่วนใหญ่พ่อแม่มักไม่เข้าใจว่าตัวเองทำผิด แต่ถ้าเริ่มเข้าใจแสดงว่าพ่อแม่เปิดกว้างและพร้อมที่จะรับหลักการใหม่ ก็อาจจะหาข้อมูลจากหนังสือ หรือพาไปพบแพทย์ก็ได้ค่ะ


เฮ้อ...ได้ ฟังแล้วก็ต้องหันกลับมาพิจารณาตัวเองเป็นการใหญ่ ว่าทุกวันนี้กดดันลูกบ้างหรือเปล่า กลับถึงบ้านคงต้องไปสร้างกฎของบ้านร่วมกับพ่อของเจ้าตัวเล็กแล้วล่ะค่ะ


(update 20 กุมภาพันธ์ 2006)
[ ที่มา..นิตยสารรักลูก ปีที่ 23 ฉบับที่ 275 ธันวาคม 2548 ]

3 วิธีง่ายๆ ในการครองใจให้ลูกน้องรัก

3 วิธีง่ายๆ ในการครองใจให้ลูกน้องรัก

หลวงพ่อเจ้าคะ เนื่องจากลูกทำธุรกิจส่วนตัวต้องดูแลลูกน้องจำนวนมาก ทำอย่างไรลูกถึงจะเป็นผู้บริหารที่สามารถครองใจลูกน้องได้ ?


การครองใจคนนั้นความจริงไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ขอให้เราครองใจของเราเองให้ได้เสียก่อน เมื่อครองใจตนเองได้แล้ว จึงค่อยไปครองใจคนอื่น ตรงนี้จำไว้ให้ดี

การครองใจตนเอง คือ การรักษาใจให้ผ่องใสอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราสามารถรักษาใจให้ผ่องใสอยู่ตลอดเวลาได้อย่างนั้น เรื่องครองใจคนอื่นก็ไม่ยาก ส่วนที่ถามว่า การครองใจลูกน้องจะทำอย่างไร ก็ต้องดูศัพท์คำว่า "ลูกน้อง" ให้ดี เพราะว่าผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของเรานั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน

เรามีคำหลายคำตั้งแต่คำว่า "พนักงาน" "คนงาน" "คนรับใช้" หนักเข้าไปก็คำว่า "ข้าทาส" แย่หนักเข้าไปอีกก็คำว่า "ขี้ข้า"

สำหรับคำว่า "ขี้ข้า" กับคำว่า "ข้าทาส" นั้น ปู่ ย่า ตา ทวดเราไม่ใช้กันหรอก เพราะถือว่าเป็นคำที่ใช้จิกหัวเรียกกัน จนกระทั่งหมดความเป็นคนเลย

ท่านให้มีจิตเมตตามองว่า เขากับเราก็เป็นมนุษย์ด้วยกัน การที่เขามาอยู่กับเรา เขาก็เป็นบุคคลที่มาช่วยผ่อนแรง มาช่วยเราทำมาหากิน เราได้เขาเป็นแรงกาย ส่วนเราก็ออกแรงสติปัญญา พูดไปแล้วก็เหมือนอย่างกับมือซ้ายกับมือขวา หรือเท้าหน้ากับเท้าหลัง คิดอย่างนี้ถึงจะไปด้วยกันได้

เพราะฉะนั้น ถ้าคิดจะครองใจลูกน้อง ขั้นต้นเลยต้องมองคำว่า "ลูก" กับคำว่า "น้อง" ก่อน คือไม่ว่าใครมาอยู่กับเราก็ให้ความเมตตาเขา เรารักความสุข รักความสะดวกสบายอย่างไร คนอื่นเขาก็เป็นคน เขาก็รักความสุข รักความสะดวกสบายเหมือนเรานั่นแหละ

เพียงแต่ว่า วันนี้เรามีฐานะ มีความรู้ มีความสามารถมากกว่าเขา เขาเลยยอมมาอยู่ใต้บังคับบัญชาของเรา แล้วเราล่ะถือว่าเขาเป็นคนหรือเปล่า

ถ้าถือว่าเขาเป็นคน แต่เป็นแค่คนรับใช้ เป็นแค่คนงาน ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเรา หรือถือว่าเขาไม่ใช่คน เพราะว่าเขาอยู่ต่ำกว่าเรา เป็นไอ้ขี้ข้า ไอ้ข้าทาส อย่างนี้ก็หมดสัมพันธไมตรีกันเลย

แต่ถ้าถือว่าเขาเหมือนลูก เหมือนน้อง อย่างนี้ใช้ได้ เพราะว่าลูกน้องก็คือลูก แต่ว่าเป็นลูกชนิดที่ต้องจ่ายเงินจ่ายทอง หรือจะเรียกว่าเป็นลูกจ้างก็ยังดี
แต่ไม่ว่าจะเป็นลูกน้องหรือลูกจ้างก็เท่ากับเรายอมรับว่า เขามีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคนเช่นเดียวกับเรา เพียงแต่เขาด้อยโอกาสกว่าเราสักหน่อย เราก็ให้โอกาสเขา อย่าไปดูถูกดูหมิ่น แต่คิดว่าเขามาช่วยทำมาหากิน ไม่ใช่ทาส ไม่ใช่ขี้ข้า แล้วทำใจให้ได้อย่างนี้

ข้อที่ ๑ มีจิตเมตตา คือ สอนงานให้เขาทำเป็น ใช้งานให้พอเหมาะพอสม แล้วก็อบรมศีลธรรมให้เขาด้วย เพราะถึงแม้เขาด้อยโอกาสชาตินี้ แต่ถ้าชาติหน้าพอมีศีลมีธรรมติดตัวไป เขาก็จะได้ไม่ด้อยโอกาสอีก ถ้ายกระดับชีวิตให้เขาได้อย่างนี้ เขาก็เหมือนลูก เหมือนน้องเราแล้ว

ข้อที่ ๒ มีความกรุณา คือ ถึงคราวดีก็ใช้ ถึงคราวไข้ก็รักษา เจ็บไข้ได้ป่วยก็รักษา หอบหิ้วกันไปไม่ทอดทิ้ง เรียกว่าเอาใจซื้อใจกันนั่นเอง

ข้อที่ ๓ มีมุทิตาจิต คือ คนไหนฝีมือดีกว่าก็ส่งเสริมให้เขาก้าวหน้าไป อย่าไปกัก อย่าไปกดเขาเอาไว้ แล้วเอาแต่พวก เอาแต่ลูกหลานของตัว ใครฝีมือดีไม่ดีก็ต้องว่ากันตามผลงาน
อย่าเอาคำว่า "คนอื่น" คำว่า "ญาติ" มาปนเปกัน เพราะว่าถึงตอนนี้ต้องถือว่าจะเป็นญาติหรือไม่ใช่ญาติ จะเป็นสายเลือดหรือไม่ใช่สายเลือด เมื่อมาเป็นเพื่อนร่วมงาน เป็นพี่ร่วมงาน เป็นน้องร่วมงานกันแล้วอย่าไปเกี่ยง ใครมีฝีมือดีกว่าก็ต้องส่งเสริมให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป มีมุทิตาจิตกับเขาไม่กักกันเอาไว้

ในเวลาเดียวกันใครย่ำแย่ ฝีมือยังไม่ถึง ถ้าบ่ายหน้ามาพึ่งเราแล้ว ก็อย่าไปทอดทิ้งเขา อย่างน้อยที่สุดถ้าพบว่า ยังมีแววรักดี มีแววซื่ออยู่ละก็ ใครล้าหลังก็ลากก็จูงกันไปไม่ ทอดทิ้ง

ถ้าทำกันอย่างนี้ ถึงจะครองใจคนได้ ไม่อย่างนั้นหากมัวแต่ใช้อำนาจบาตรใหญ่ เขาจะได้แต่เงิน เราจะได้แต่งาน แต่ว่าไม่ได้ใจกัน ถ้าจะให้ได้ใจกันละก็ ต้องเข้าไปครองใจกันอย่างนี้ โดยถือว่าเขาเป็นลูก ถือว่าเขาเป็นน้อง แล้วประคับประคอง สร้างงาน สร้างบุญ สร้างความดี กันไป


ขอขอบคุณ kalyanamitra.org

เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นคนดี

เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นคนดี

เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนา
พระภาวนาวิริยคุณ
(หลวงพ่อทัตตชีโว)


ลูกเอ๊ย พ่อแม่ ครูอาจารย์ ไม่เคยสอนให้ลูกสูบบุหรี่
ไม่เคยสอนให้ลูกเล่นไพ่ ไม่เคยสอนให้ลูกโกหก
แต่ปรากฏว่า ของเหล่านี้เราเป็นกันเกือบทุกคน
เหล้า พ่อไม่เคยสอนให้กิน แต่ลูกก็กินเป็น
บุหรี่ พ่อไม่เคยสอนให้สูบ แต่ลูกก็สูบกันควันโขมงอย่างกับโรงสี
แม่ไม่เคยสอนให้โกหกเลย แต่ลูกก็โกหกกันเป็นว่าเล่น


นิสัยไม่ดีได้มาจากไหน

พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ไม่เคยสอนให้เราเกเรเลย ถามว่าแล้วเราได้นิสัยเหล่านี้มาจากไหน ลูกเอ๊ย มันก็ได้มาจากเพื่อนที่เราคบนั่นแหละ พ่อแม่สอนให้ลูกทำความดี แต่ลูกก็ไม่ค่อยอยากจะเอา ไปสังเกตดูให้ดีเถอะ นิสัยเลวๆ ทั้งหลายถามว่า ได้มาจากไหน ก็ได้มาจากเพื่อน แล้วเพื่อน ก็ได้นิสัยเลวๆ มาจากเรา ติดกันไปติดกันมา

ยกตัวอย่าง เรื่องเหล้า ทีแรกเพื่อนเอาเหล้ามาล่อเรา เราก็กินเข้าไป อาทิตย์สองอาทิตย์กินที เราก็ชักติดใจเข้า งวดนี้ชวนเพื่อนกินเหล้ากลับไปบ้าง วันสองวันกินที เพื่อนก็แน่เหมือนกัน ชวนเรากลับบ้าง งวดนี้เลยกินเหล้าได้ทุกวัน เราแน่หนักเข้าไปอีก ชวนเพื่อนกินเหล้าทั้งเช้าทั้งเย็น นี่เป็นอย่างนี้


นิสัยดีๆ ได้มาจากไหน


ในเวลาเดียวกัน นิสัยดีๆ หลายๆ อย่างก็ได้มาจากเพื่อนอีกเหมือนกัน

ยกตัวอย่าง ความสามารถความละเอียดลออในการทำงาน บางอย่างเราก็ได้มาจากเพื่อน เราไปได้มาแล้วก็มาปรับปรุงเป็นนิสัยของเรา วันหลังเพื่อนมาเห็นเราทำงานฝีมือดีๆ เพื่อนก็ลอกเอากลับไปเป็นของเขา แล้วก็เอาไปปรับปรุง เพื่อนปรับปรุงแล้วเราเห็นว่าดี เราก็เอากลับมาเป็นของเราอีก มันก็กลับกันไปกลับกันมา ถ่ายทอดความดีจากกัน นิสัยเลวๆ ก็ได้จากเพื่อนเลวๆ นิสัยดีๆ ก็ได้จากเพื่อนดีๆ


หลักการเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งเอาไว้ว่า ถ้าอยากจะเป็นคนดีมีมงคลติดตัว เพื่อนเลวๆ เลิกคบเสีย เพื่อนขี้เหล้าเมายา เพื่อนเล่นการพนัน เพื่อนเจ้าชู้ เพื่อนขี้เกียจ เลิก ไม่คบกัน คบแล้วจะติดนิสัยเสียกันไปหมด

ในเวลาเดียวกันเพื่อนที่ดีๆ คบเถอะ คบไปทุกคน ใครเขามีความดี คบเขาเรื่อยไป นี่เป็นเรื่องตัวของเรา

หลวงพ่อขอฝากเรื่องสำหรับคนที่มีลูกแล้ว หรือกำลังจะมีลูกก็ตาม โบราณท่านเตือนไว้ อยากได้ลูกแก้ว ให้ทำ ๔ อย่างนี้


๑. ทำดีๆ ให้ลูกดู


อยากจะให้ลูกน่ารัก ลูกดี พ่อแม่ต้องทำดีๆ ให้ลูกดู พูดง่ายๆ พ่อแม่ก็เป็นเพื่อนชนิดหนึ่งของลูกเหมือนกัน แต่เป็นเพื่อนชนิดผู้ใหญ่ เพราะพ่อแม่เป็นคนที่ใกล้ชิดกับลูกที่สุด ทำดีๆ ให้ลูกดู ลูกจะได้ติดนิสัยดีๆ จากเรา

เพราะฉะนั้น ใครอยากจะได้ลูกดีๆ อย่าไปกินเหล้าให้ลูกดู ลูกจะได้ติดนิสัยดีๆ เอาไป

บางคนบอกว่า "อู้ย ไอ้ลูกเนี่ย ดื้อ กับพ่อกับแม่ล่ะ มันเถียงคอเป็นเอ็นเชียว"

หลวงพ่อเลยถามเขากลับว่า "แล้วเอ็งสองคนผัวเมียเถียงกันบ้างมั้ย"

"โอ๊ย ทั้งเช้าทั้งเย็นล่ะ"

"เออ ก็ทำอย่างนั้น ลูกมันก็ติดนิสัยเอามาล่ะซิ"

เพราะฉะนั้น อะไรไม่ดีอย่าไปทำให้ลูกเห็น


๒. หาเพื่อนดีๆ ให้ลูกเล่น


ไปสังเกตดูเถอะลูกเอ๊ย เด็กคนไหนถ้าคบกับเพื่อนขี้ขโมย เดี๋ยวเขาก็ขี้ขโมยตามเพื่อน ให้ไปเล่นกับเพื่อนด่าเก่งๆ เดี๋ยวเถอะด่าฉอดๆ เลย ขนาดเด็กผู้หญิงอายุ ๒-๓ ขวบ ยังพูดไม่ทันชัดเลย แต่ชักจะด่าคล่องเสียแล้ว เพราะฉะนั้นต้องหาเพื่อนดีๆ ให้ลูกเล่น


๓. หาหนังสือดีๆ ให้ลูกอ่าน


วิธีหาหนังสือดีๆ แบบง่ายๆ ก็คือการเขียนบันทึกข้อคิดประจำวัน เช่น วันนี้ไปฟังเทศน์จากหลวงพ่อมา ได้ข้อคิดมาปรับปรุงแก้ไขตนเองเยอะเลย ก็หัดบันทึกข้อคิดประจำวันลงในสมุดไป พอลูกโตขึ้น ส่งให้ลูกแล้วบอกว่า "ลูกอ่านให้พ่อ ฟังที อ่านแล้วจะได้ประโยชน์"

แต่ถ้าเราขี้เกียจเขียนบันทึก พอถึงเวลา เรื่องราวต่างๆ ในชีวิตเราไม่มีพิมพ์เป็นหนังสืออยู่ในเล่มไหนหรอก แล้วก็จะสูญหายไป แต่ถ้าเราเขียนบันทึกไว้ดี ไม่ต้องไปสอนลูกสอนหลานมากหรอก ให้ลูกอ่านให้พ่อแม่ฟังทุกคืนๆ แล้ว ลูกเราจะดีเอง


๔. พาลูกไปหาพระอาจารย์ดีๆ


หลวงพ่อ หลวงปู่ หรือครูบาอาจารย์ดีๆ ผู้ใหญ่ดีๆ พาลูกไปหา แล้วลูกเราก็จะได้เห็นของมาตรฐาน แล้วลูกก็จะรู้ว่า ของดีเป็นอย่างไร ของเลวเป็นอย่างไร ถ้าพ่อแม่ทำอย่างนี้ จะได้ลูกแก้วไว้ในบ้าน

ถ้าทำได้ทั้ง ๔ ข้อนี้ แล้วเราจะได้ลูกแก้วไว้ในบ้าน ข้อสำคัญที่สุดคือใน ๔ ข้อนี้ อยู่ที่ตัวเรา นั่นแหละ คือต้องทำตัวดีๆ ให้ลูกดู การจะทำ ตัวดีๆ ให้ลูกดูนั้น มีทางเดียว คือเพื่อนเลวๆ เราอย่าไปคบ เลิกให้เด็ดขาด เพื่อนขี้เหล้า เพื่อนเล่นการพนัน เพื่อนเจ้าชู้ เพื่อนขี้เกียจ เลิกคบกัน ไม่อย่างนั้น เดี๋ยวลูกเราจะติดนิสัยพรรค์นั้นไป แล้วเราจะเสียชาติเกิด ตัวเราก็เลว ลูกก็เลว ผลสุดท้ายเจ็ดชั่วโคตรเลวหมด แต่ถ้าทำอย่างหลวงพ่อว่า คือตัวเราก็ดี ลูกก็ดี เจ็ดชั่วโคตรทั้งหมดดีนะ

ขอขอบคุณ kalyanamitra.org

ครอบครัวเป็นสุข

ครอบครัวเป็นสุข

เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนา
พระภาวนาวิริยคุณ
(หลวงพ่อทัตตชีโว)

ลูกเอ๊ย มีเรื่องหนึ่งในครอบครัวของพวกเรา ซึ่งถ้าใครปล่อยปละละเลย พยายามแก้ไขเสียเถอะ ถ้าแก้ไขได้ พี่น้องทุกๆ คนในครอบครัวจะรักกัน หลวงพ่อเคยเตือนพวกเรามาแล้วว่า สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในครอบครัวซึ่งพ่อแม่จะต้องรีบแก้ไข คือ ทำอย่างไรลูกๆ ทุกคนจึงจะรักกัน ในขณะที่พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ ถ้าลูกยังไม่รักกันแล้วจะไปหวังว่า เราตายแล้วลูกคงจะรักกัน ช่วยเหลือกัน ย่อมเป็นไปไม่ได้


ส า เ ห ตุ ที่ ลู ก ไ ม่ รั ก กั น


หลวงพ่อเห็นครอบครัวของพวกเรา หลายๆ คน ลูกๆ ไม่ค่อยถูกกัน ทั้งที่กินข้าวหม้อเดียวกัน วันเกิดก็คลอดตามกันมาจากพ่อแม่เดียวกัน แต่เสร็จแล้วลูกก็ยังไม่ถูกกัน

จะใช้ได้อย่างไร ถ้ากินข้าวด้วยกันยังไม่พูดกัน
ยกตัวอย่าง แม่ใช้ลูกคนโตไปสั่งงานลูกคนเล็ก เจ้าคนเล็กไม่พูดด้วยเสียอย่างนั้นแหละ พอแม่ใช้เจ้าคนเล็กไปเรียกเจ้าคนโต เจ้าคนเล็กก็ไม่ยอมไป ขนาดพ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ยังมีสภาพอย่างนี้ นี่เป็นความพินาศของครอบครัววงศ์ตระกูล
อะไรเป็นสาเหตุใหญ่ของสิ่งเหล่านี้ ที่ทำให้พี่ๆ น้องๆ ลูกๆ ในครอบครัวไม่รักกัน


ประการแรก พ่อแม่ไม่ได้ฝึกลูกให้มีความเคารพกันตามลำดับอาวุโส


พี่ต้องเป็นพี่ น้องต้องเป็นน้อง ให้เคารพนับถือกันตามอาวุโสอย่างนี้ ตั้งแต่เล็กจึงจะถูกต้อง

ถ้าน้องคนไหนเรียกพี่ว่า "ไอ้ อี" ขึ้นมาละก็ พ่อแม่ต้องห้ามปรามดุว่าไปเลยตั้งแต่ยังเล็ก สอนเขาให้เรียกพี่เรียกน้องกันว่า "พี่ครับ พี่จ๋า" "แม่จ๊ะ แม่จ๋า" "พ่อจ๊ะ พ่อจ๋า"

ถ้าลูกพูด "จ๊ะ จ๋า" "ครับ ผม" ไม่เป็นตั้งแต่เล็ก โตขึ้นลูกก็พูดไม่เป็น แล้วคำพูดทุกคำเวลาเขาโตขึ้น จะเป็นคำพูดที่ระคายหู ไม่เพียงระคายหูเฉพาะเราหรอก กับคนอื่นก็ระคายหูไปหมด แล้วลูกเราก็คือคนที่โลกไม่ต้องการ เข้าไปที่ไหนคนเขาก็รังเกียจ เพราะลูกพูดจาระคายหู เหมือนอย่างเอาลวดหนามแยงหูอย่างนั้นแหละ


ประการที่ ๒ พ่อแม่บางคนลำเอียงรักลูกไม่เท่ากัน


นี่ก็ความผิดของพ่อแม่ ถามใจตัวเองดูว่า เรามีลูกกี่คน แล้วรักลูกเท่ากันไหม ถ้ารักไม่เท่ากัน นี่จะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกมองหน้ากันไม่ติด ถึงแม้สมมติว่า เรารักลูกไม่เท่ากัน ก็ต้องเก็บเรื่องนี้ไว้ข้างในใจ ข้างนอกต้องปฏิบัติกับลูกให้เสมอกันให้ได้ ถ้าไม่อย่างนั้นลูกจะไม่ถูกกัน ใครรักลูกไม่เท่ากัน แก้ไขเสีย


ประการที่ ๓ ถึงเวลากินข้าว กินไม่พร้อมกัน

ระวังนะ ถ้ากินไม่พร้อมกัน แม้กับข้าวเตรียมไว้เพียงพอสำหรับทุกๆ คน แต่ถ้ามากิน ไม่พร้อมกัน คนหนึ่งมาก่อน มือหนักกินมากไปบ้าง คนหลังมา เหลือแต่น้ำแกง เขาก็ขุ่นอยู่ในใจ แล้วก็เก็บไว้ข้างใน วันหลังเจออย่างนั้นอีก ก็ยิ่งขุ่นใจหนักเข้าไปอีก แต่ไม่รู้ว่าจะพูดว่าอย่างไร มีความรังเกียจกันอยู่ในใจ แต่ยังหาเหตุไม่ได้ พอไปหาเหตุอะไรได้สักอย่างหนึ่ง ระเบิดตูมเลย แล้วตั้งแต่นั้นมาพี่น้องจะกินใจกัน

แล้วไปสังเกตเถอะ ถ้าบ้านไหนกินข้าวไม่พร้อมกัน ลูกคนขี้เกียจที่สุดนั่นแหละ จะรีบมากินก่อน เขาจะเป็นคนที่อิ่มที่สุด ในขณะที่ลูกคนขยันจะเป็นลูกที่อดที่สุด แล้วลูกขยันคนนี้แหละ ก็จะหาทางออกจากบ้านให้เร็วที่สุด ไม่รู้จะอยู่ทำไม ส่วนลูกคนขี้เกียจ ก็รู้ตัวว่าทำงานไม่เป็น เขาก็ประจบแม่ประจบพ่ออย่างที่สุด ให้พ่อให้แม่โอ๋ ต่อหน้าทำตัวให้น่ารัก แต่ลับหลังกลับไปก่อเรื่องแสบที่สุดเอาไว้ เมื่อเป็นอย่างนี้ต่อไป เจ้าลูกดีๆ ออกจากบ้านหมด เหลือเจ้าลูกเกเรอยู่ในบ้าน แล้วพ่อแม่ก็มาบ่น "แหม..ลูกมันไม่รักเรา ลูกทิ้งๆ ขว้างๆ เรา"
ความจริงคือมันรักไม่ไหวหรอก เพราะเขาทนเจ้าคนขี้เกียจรังแกไม่ได้ ก็เลยต้องไป อย่างนี้เรียกว่า เลี้ยงลูกไม่เป็น


ประการที่ ๔ ไม่เคยสอนลูกให้สวดมนต์ ไหว้พระ

เมื่อไม่เคยสอนลูกให้สวดมนต์ไหว้พระ แต่ละคนก็พูดแต่ว่า "กูเก่งๆ" คนเราถ้าได้สวดมนต์ไหว้พระกราบพระเป็นประจำแล้ว เท่ากับฝึกลูกให้รู้ตัวว่า คนเก่งกว่าเขายังมี อย่างน้อยก็คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่เคยสวดมนต์ ไม่เคยไหว้พระเลย ลูกจะมีความนึกคิดอย่างนี้เข้ามาว่า "กูก็หนึ่ง ใครๆ ก็สู้กูไม่ได้" แล้วถ้ามี พี่น้องกัน ๓ คน ๕ คน แต่ละคน "กูก็หนึ่ง แล้วกูก็เก่ง" ใครจะไปยอมกันได้อย่างไร ลูกเอ๊ย

ถ้าเราช่วยกันแก้ไขในสิ่งเหล่านี้ ครอบครัว เราจะอยู่เย็นเป็นสุข พ่อแม่มีชีวิตอยู่ก็ชื่นใจ เพราะลูกเต้าไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ตายก็นอนตาหลับ มั่นใจว่าพี่ๆ น้องๆ คงจะประคับประคองกันไปได้ ใครยังไม่ได้ทำ รีบทำเสีย ถึงแม้บางท่าน ไม่มีลูก แต่ขณะนี้ยังอยู่กับพ่อกับแม่ ลองถาม ตัวเองสิว่า "ขณะนี้ในบ้านเราเป็นอย่างไร กินข้าว พร้อมกันไหม พี่ๆ น้องๆ พูดกันเพราะดีไหม เคารพกันตามอาวุโสไหม หรือเรียกพี่ก็เรียก "อี" เรียก "ไอ้" เวลาอยู่ในบ้านก่อนนอนสวดมนต์กันบ้างหรือเปล่า ถ้าสวดมนต์สวดพร้อมกันไหม ไปดูแก้ไขกันให้ครบให้ถ้วน ถ้าไม่อย่างนั้นอย่าหวังเลยว่า ที่บ้านจะมีความสุข มีพี่น้องก็เหมือนเป็นคนอื่น เพราะถ้ากินใจกันเพียงแค่กินข้าวไม่พร้อมหน้ากัน ก็พอมีเหตุที่จะทำให้พี่ๆ น้องๆ แตกแยกกันได้ ขอให้พิจารณากันให้ดี แล้วครอบครัวจะได้เป็นสุข

งานมหาสังฆทานครั้งต่อไป 17 ส.ค. 2551

งานมหาสังฆทานจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม 2551





















































ท่านที่ประสงค์จะมาร่วมงานมหาสังฆทาน
กรุณาแจ้งชื่อลงทะเบียนล่วงหน้ากับเจ้าหน้าที่ที่
โทร. 02-961-7318, 081-808-6796, 086-978-9379 แฟกซ์ 02-961-7316

ส่วนท่านที่ประสงค์จะร่วมทำบุญในครั้งนี้ สามารถโอนเงิน
ผ่านบัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาบางใหญ่ ประเภทออมทรัพย์
ชื่อบัญชีนายศิริพงษ์ อัครศรียุกต์ เลขที่บัญชี 269-2-70593-1

หากท่านจะนำอาหารมาร่วมบุญ โปรดเตรียมภาชนะมาเอง
เนื่องจากภาชนะที่ทางเราเตรียมไว้อาจไม่เพียงพอ