Tuesday, August 7, 2007

คำสมาทานศีลอุโบสถ

ต้องกล่าวอธิษฐานรับมา (นั่งคุกเข่า)
ขั้นตอนที่1 กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ขั้นตอนที่2 บูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา - พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ บริสุทธิ์หมดจด จากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย ได้ตรัสรู้ถูกถ้วนดีแล้ว

อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ - ข้าพเจ้าบูชา ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม - พระธรรมคือศาสนา อันพระผู้มีพระภาคเจ้า แสดงไว้ดีแล้ว

อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ- ข้าพเจ้าบูชา ซึ่งพระธรรมเจ้านั้น ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ -หมู่พระสงฆ์ผู้เชื่อฟัง ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว

อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ - ข้าพเจ้าบูชา ซึ่งหมู่สงฆเจ้านั้น ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ)

ขั้นตอนที 3 อาราธนาศีลอุโบสถ

มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ
อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ
อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ

(กรณี ว่าคนเดียวให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง ,ยาจามะ เป็น ยาจามิ)

ขั้นตอนที่ 4 นะโมสรรเสริญพระพุทธเจ้า (นั่งพับเพียบ)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.

ขั้นตอนที่ 5 ไตรสรณคมณ์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ.
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ.
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.

ขั้นตอนที่ 6 สมาทานศีลอุโบสถ

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

อะพรหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

นัจจะคีตะวาทิตะวิสุกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะทาระณะ
มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

ขั้นตอนที่ 7 อธิษฐานรักษาศีลอุโบสถ

(พระนำ) อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง
สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ.
ข้าพเจ้าสมาทานอุโบสถที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
ดังได้สมทานมาแล้วนี้ จะรักษาไว้ให้ดี ไม่ให้ขาด ไม่ให้ทำลาย วันหนึ่ง คืนหนึ่ง ณ เวลานี้

ขั้นตอนที่ 8 สรุปศีลอุโบสถ

อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ อัชเชกัง รัตตินทิวัง อุโปสะถะวะเสนะ สาธุกัง รักขิตัพพานิ.
(รับว่า... อามะภันเต) (รับว่า... สาธุ)

ขั้นตอนที่ 9 กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

ข้อห้ามศีลอุโบสถ
ข้อห้าม ศีลข้อ 1,2,4,5 เหมือศีล 5 ทุกประการ

ศีลข้อ 3 อะพรหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์) คือ ห้ามมีเพศสัมพันธ์ จับมือถือแขนได้ แต่ห้ามเล้่าโลม
กอดจูบศีลยังไม่ขาด แต่ศีลด่างพร้อย การสำเร็จความใคร่ให้ตัวเองก็ไม่ได้ เช่นกัน

ศีลข้อ 6 วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
(เว้นจากการรับประทานอาหารในเวลาวิกาล) คือหลังเที่ยงจนถึงรุ่งอรุณ คือ แสงอาทิตย์ส่องเห็นลายมือ หรือแสงส่องใบไม้เป็นสีเขียวแล้ว จึงรับประทานอาหารได้ (ควรแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเที่ยงแล้ว เพื่อจะได้ไม่มีเศษอาหาร ล่วงลำคอหลังเที่ยงวันไปแล้ว)

สิ่งที่รับประทานได้หลังเที่ยงวันไปแล้ว
-ยารักษาโรคทุกชนิด
-เภสัชทั้ง 5 มีเนยใส เนยข้น น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำมัน
-น้ำตาลทุกชนิด น้ำอัดลม
-น้ำปานะ คือน้ำผลไม้ที่คั้นแล้วกรองแล้วไม่มีกาก คั้นกรองจากผลไม้ที่มีขนาดตั้งแต่ผลลูกมะตูมลงไป
เช่น น้ำส้ม น้ำองุ่น น้ำลำไย น้ำเก็กฮวย น้ำมะขาม น้ำกระเจี๊ยบ น้ำฝรั่ง น้ำแอปเปิ้ล น้ำลิ้นจี่ น้ำลูกพรุน น้ำมะตูม น้ำขิง น้ำตาลสด
ชา,กาแฟ(ที่ไม่ใส่ครีมและนม)

สิ่งที่รับประทานไม่ได้หลังเที่ยงวันไปแล้ว

-น้ำผลไม้มหาผล หมายถึง ผลไม้ที่มีผลใหญ่กว่าลูกมะตูมขึ้นไปดื่มไม่ได้ เช่น น้ำมะพร้าว น้ำส้มโอ น้ำสัปปะรด น้ำแตงโม
-น้ำนมทุกชนิดโอวัลติน โกโก้ กาแฟที่ใส่ครีมเทียมและ ชาใส่ครีมเทียม
-โกโก้ที่ไม่ใส่นม ช็อคโกแลต ก็ไม่ได้ เพราะผลโกโก้ใหญ่กว่ามะละกอ
-น้ำผัก น้ำธัญพืชทุกชนิด เช่น น้ำผักทุกชนิด น้ำข้าวทุกชนิด น้ำถั่วทุกชนิด น้ำเต้าหู้ น้ำฟักทอง น้ำแครอท
-หากมีข้อสงสัยไม่แน่ใจ (ก็ยกให้ศีลไม่รับประทานดีกว่า)

ศีลข้อ 7 นัจจะคีตะวาทิตะวิสุกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะทาระณะ
มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. (แยกออกเป็น 2 ส่วนคือ)
-นัจจะคีตะวาทิตะวิสุกะทัสสะนา

คือ เว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมเครื่องดนตรี ดูกีฬา การละเล่น ละคร โขน หนังต่างๆ เว้นจากการวิ่งเล่นกีฬา เล่นหมากรุก เล่นซ่อนหา ผิวปาก ตบมือเคาะจังหวะตามเสียงเพลง
ดูเกมส์โชว์ไม่ได้ ดูข่าวหรือสารคดีได้ ซื้อหวยวันนี้ไม่ได้เพราะว่าเป็นเชิงการพนันและการละเล่นอดใจไว้ซื้อวันอื่นนะจ๊ะ
-
มาลาคันธะ วิเลปะนะ ทาระณะมัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา คือ เว้นจากการประดับตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับ เช่นสร้อยคอประดับ สร้อยข้อมือแหวน ต่างหู ผ้าชายครุย ดอกไม้ ของหอม เครื่องทาผิวเครื่องย้อมขัดผิวให้งาม แต่ถ้ามีเหตุ เช่น เป็นผื่นคัน สามารถทาแป้งแก้คันได้ ผิวแห้งทาโลชั่นได้ ริมฝีปากแตกแห้งทาลิปมันที่ไม่มีสีได้ ใช้ลูกกลิ้งเพื่อป้องกันหรือขจัดกลิ่นกายได้ แต่ทาเพื่อให้หอมไม่ได้
สำหรับคุณผู้หญิงที่ต้องทำงานโดยหน้าที่ที่ต้องแต่งหน้าแล้ววันพระที่จะถือศีลอุโบสถจะต้องทำอย่างไร
ในวันนี้ก่อนที่จะสมาทานศีลอุโบสถก็ให้แต่งหน้าให้เข้มไปเลยชนิดที่ว่าอยู่ได้ทั้งวัน เครื่องประดับจะใส่อะไรก็ใส่ได้ตามใจชอบ จะใส่อะไรก็ให้เต็มที่เลยก่อนสมาทานศีล แต่หลังจากที่สมาทานศีลแล้ว อันนี้เติมแป้งไม่ได้แล้วนะ เครื่องประดับ เช่นแหวนที่ใส่อยู่หากหลังสมาทานศีลแล้วหากถอดออก แล้วจะใส่เข้าไปใหม่อันนี้ก็ไม่ได้เช่นกััน

ศีลข้อ 8 อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
เว้นจากการนั่งหรือนอนบนที่นอนสูง ที่นอนใหญ่)
-ที่นอนสูง คือ เตียงหรือตั่งที่ขาเตียงหรือตั่งสูงเกิน 8 นิ้วพระสุคต(นิ้วของพระพุทธเจ้า)
ประมาณ 10 นิ้ว 3 กระเบียด (มาตราช่างไม้ไทย 4 กระเบียดเท่ากับ 1 นิ้ว)
(พิจารณาง่ายๆคือที่นอนใดที่นั่งแล้วขาลอยจากพื้นอันนี้ก็ถือว่าสูง)

-ที่นอนใหญ่ คือที่นอนหรือเครื่องปูลาดที่มีขนาดใหญ่พอ นางฟ้อนรำ 16 นางยืนรำได้

- ฟูกที่ยัดด้วยนุ่นหรือสำลีห้ามนอนเช่นกัน แต่หมอนยัดด้วยนุ่นหรือสำลีใช้หนุนศีรษะได้ ห้ามกอดหมอนข้าง

-เครื่องปูลาดที่วิจิตรด้วยเงินและทองห้ามนั่งหรือนอนเช่นกัน

ศีลอุโบสถที่รักษาในวันพระนั้น สามารถสมาทานศีลด้วยตนเอง รักษาศีลอุโบสถอยู่ที่บ้านได้
จะเริ่มสมาทานศีลอุโบสถในวันพระได้ตั้งแต่รุ่งอรุณ คือแสงอาทิตย์ส่องเห็นลายมือ หรือเห็นใบไม้เป็นสีเขียวแล้ว และเมื่อถึงรุ่งอรุณในวัดถัดไป ศีลอุโบสถที่สมาทานไว้จะเหลือเพีงแค่ ศีล 5หรือศีล 8 ตามที่ได้สมาทานรักษาไว้ก่อนหน้าที่จะสมาทานศีลอุโบสถในวันพระ โดยไม่ต้องลาศีลอุโบสถ เพราะในคำสมาทานนั้นได้ประกาศไว้แล้วว่า จะรักษาศีลอุโบสถเพียงแค่วันหนึ่ง คืนหนึ่งเท่านั้น



2 comments:

Homepany said...

ผมสมัครกับทางเว็บของอาจารย์ไปแล้วครับ
แต่ไม่ได้จดหมายยืนยันตัวครับ
รวมทั้งแอดอีเมลที่จะส่งมายืนยันตัวด้วยครับ

U:bcc23488
bcc23488@hotmail.com

ช่วยตรวจสอบให้ทีครับ

journey said...

เดี๋ยวถามให้นะคะ มีอะไรก็เมล์ถามที่ adminของเว็บอาจารย์ได้โดยตรงที่นี่นะคะ sakayabutri[at]gmailดอทcom