ประวัติความเป็นมาของกฐินที่เป็นปฐมเหตุสำคัญของการจัดทำผ้ากฐิน มีความเป็นมาว่า สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ใกล้เมืองสาวัตถี ซึ่งเป็นอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ครั้งนั้นพระภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูป บางรูปถือการอยู่ป่า การเที่ยวบิณฑบาต การนุ่งห่มผ้าบังสุกุล ซึ่งเป็นผ้าเก็บตกมาปะติดปะต่อทำเป็นจีวรไม่เกิน 3 ผืน พากันเดินทางจะมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อมาถึงเมืองสาเกด ก็ถึงวันเข้าพรรษา จึงต้องจำใจเข้าพรรษาอยู่ในเมืองสาเกด แต่ด้วยระลึกถึงสมเด็จพระบรมศาสดามาก พอออกพรรษาที่ฝนยังตกน้ำท่วม พื้นที่เต็มไปด้วยโคลนตม ไม่เหมาะแก่การสัญจรไปมา แต่ภิกษุเหล่านั้นยังรีบออกจากเมืองสาเกดเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทันที
ทั้งที่พระแต่ละรูปมีสบงจีวรชุ่มไปด้วยน้ำและโคลนตม เมื่อภิกษุทั้งหมดถึงที่ประทับกราบนมัสการเรียบร้อย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามถึงทุกข์สุข และทรงทราบเรื่องราวทั้งหมด จึงทรงปรารภและอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาแล้วสามารถกรานกฐินได้คือ การลาดไม้สะดึงหรือไม้แบบลงไป แล้วนำเอาผ้าที่ได้มาทาบแบบและตัดผ้าตามแบนั้น แจกแก่ภิกษุได้ และเมื่อครั้งพุทธกาล พระพุทธองค์ไม่อนุญาตให้พระสงฆ์รับจีวรเป็นเวลาเกือบ 20 ปี คนที่ถวายผ้าจีวรคนแรกคือ หมอชีวกโกมารภัจจ์ ที่ได้รับผ้าวาติกะ จากพระเจ้าจันทปัชโชติ เป็นผ้าที่ดีที่สุด โดยนำผ้าไปขอพรจากพระพุทธองค์ให้ได้รับผ้าผืนนั้นไว้ รวมทั้งขอให้พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับผ้าได้ เหมือนที่นางวิสาขา มหาอุบาสิกา ขอพรถวายผ้าอาบน้ำฝน
ครั้นสมัยพุทธกาลมีบัญญัติว่าต้องทำผ้าให้เสร็จในวันเดียว เมื่อพระรับผ้าจากญาติโยมจะเก็บผ้าค้างคืนไว้ไม่ได้ ต้องไตร่ตรองว่าจะทำผ้าผืนใดผืนหนึ่งในสามผืนคือ ผ้าอุตราสงค์, ผ้าอันตราวาสก ผ้าสบง (สังฆาฏิ, สบง, จีวร) เมื่อมีเวลาจำกัด
ส่วนมากมักนำผ้ามาทำเป็นผ้าสบง มีความยาวผ้า 2 เมตรครึ่ง กว้างประมาณ 90 เซนติเมตร เมื่อเสร็จการทำผ้า ในตอนเย็นพระสงฆ์จะเข้าโบสถ์ประชุมสงฆ์ ปัจจุธรณ์ถอนผ้า พินทุอธิษฐาน กรานกฐิน และพระสงฆ์อนุโมทนา เป็นการเสร็จขั้นตอน
No comments:
Post a Comment