Thursday, July 3, 2008

พ่อแม่เลี้ยงลูกอย่างไร ลูกเป็นอย่างนั้น

พ่อแม่เลี้ยงลูกอย่างไร ลูกเป็นอย่างนั้น

ความ หมายของคำว่า “ลูก” มิใช่เป็นเพียงแค่ผู้สืบสายเลือดหรือดวงใจอันเป็นที่รักยิ่งของพ่อแม่เท่า นั้น แต่ยังเป็นผลิตผลทางจิตวิญญาณของพ่อแม่ด้วย และการที่ลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในสังคมได้หรือไม่ เป็นที่ยอมรับกันว่าขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูตั้งแต่เกิดจนเข้าสู่วัยรุ่นว่า ได้รับการเลี้ยงดูมาแบบใด

สังคมยุคใหม่พ่อแม่มีทัศนคติ ค่านิยม และความคิดความอ่านเปลี่ยนไปจากเดิมและมีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้เป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมทั้งสิ่งแวดล้อม ทำให้พ่อแม่ในสังคมยุคใหม่มีรูปแบบและแนวทางในการเลี้ยงดูลูกที่แตกต่างกัน ไป โดยทั่วไปเรามักจะพบเห็นรูปแบบการเลี้ยงลูก 4 แบบ คือ การเลี้ยงแบบให้ความรักมากเกินไป โดยไม่มีขอบเขต การเลี้ยงแบบไม่ให้ความรักความเอาใจใส่เท่าที่ควร การเลี้ยงแบบประคบประหงม และแบบสุดท้ายคือ การเลี้ยงลูกแบบเจ้าระเบียบ และบังคับเด็กจนเกินไป


รักหนูมากไป...หนูจะเป็นแบบไหนนะ


การ เลี้ยงลูกแบบรักลูกมากไป ตามใจจนไร้ขอบเขตเป็นวิธีที่พบมากในปัจจุบันที่พ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาให้ลูก เมื่อมีเวลาใกล้ชิดก็อยากจะมอบความรักความอบอุ่นให้โดยการยอมตามที่ลูกขอแทบ ทุกครั้งไป


การทำอย่างนี้นอกจากจะขัดขวางไม่ให้ลูกเป็นตัวของตัว เองแล้วยังส่งผลให้ลูกมีนิสัยเห็นแก่ตัว รอคอยไม่เป็น อารมณ์ไม่มั่นคง ก้าวร้าว ไม่เห็นใจคนอื่นที่ต่ำกว่า เก็บกด ปรับตัวได้ไม่ดีต้องพึ่งผู้อื่นโดยเฉพาะพ่อแม่ตลอด ในกรณีที่รุนแรงลูกจะขาดคุณลักษณะที่สำคัญต่อการเรียนรู้และการทำงานในอนาคต ทำให้ในระยะยาวมีผลการเรียนที่ต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง เนื่องจากขาดความเป็นตัวของตัวเอง ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการแข่งขันกับตัวเอง ขาดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความอดทนและความรับผิดชอบ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะหงุดหงิด มีปัญหาทางอารมณ์ในระยะยาว


ประคบประหงมแบบนี้...ความรักหรือยาขมกันนะ

การ เลี้ยงลูกแบบประคบประหงม วิตกกังวลหวาดกลัวไปต่างๆ นานา ว่าลูกจะป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากโรค หรืออุบัติเหตุต่างๆ มักเกิดกับพ่อแม่ที่มีประสบการณ์ที่ไม่ดีในชีวิต โดยเฉพาะครอบครัวที่มีลูกคนเดียว มีลูกยาก ไม่สามารถมีลูกได้อีกเนื่องจากการถูกตัดมดลูกหรือพ่อแม่ที่เคยสูญเสียลูกไป แล้วคนหนึ่งและไม่อยากให้เกิดขึ้น จึงเฝ้าประคบประหงมไม่ให้ลูกผจญต่ออะไรมากนัก คอยติดตามและปกป้องอันตรายให้ลูกตอลดเวลา ไม่ให้ช่วยทำงานบ้าน ไม่มีการฝึกวินัย การทำแบบนี้มีผลดีบ้างตรงที่ลูกได้รับความรักความอบอุ่นเหมือนแบบแรก แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการทำร้ายลูกอย่างไม่รู้ตัว เนื่องจากจะทำให้ลูกไม่รู้จักช่วยเหลือตัวเอง ขาดความเป็นตัวของตัวเอง ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เนื่องจากถูกปิดกั้นด้วยความรักของพ่อแม่ พ่อแม่ควรปรับความคิดใหม่คิดให้เหมือนเด็ก นึกถึงตอนที่เราเป็นเด็กว่าในวัยนี้เราต้องการอะไรจากพ่อแม่บ้าง และอย่าจมกับอดีต อย่าวิตกกังวลมากไป ให้ความมั่นใจกับตัวลูกว่าเขาสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ จะเป็นผลดีต่อการปูพื้นฐานการเรียนรู้ของลูกในอนาคต


เจ้าระเบียบบีบบังคับมากไป...ก็ไม่ดีนะแม่

การ เลี้ยงลูกแบบนี้ พ่อแม่จะเฝ้าควบคุมลูกอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ บางครอบครัวควบคุมไปถึงเรื่องส่วนตัวของลูก ทั้งเรื่องการทานอาหาร การขับถ่าย การออกกำลังกาย เหมือนการเลี้ยงลูกแบบทารกที่คอยควบคุมช่วยเหลือการทำงาน ควบคุมพฤติกรรมที่ไม่ต้องการได้ คอยชี้แนะว่ากล่าวตักเตือนสม่ำเสมอ คอยแก้ปัญหาให้เกือบทุกด้าน ซึ่งจะส่งผลให้เด็กเกิดความเครียดเก็บกดมีพฤติกรรมหน้าไหว้หลังหลอกและอาจ เป็นเด็กเจ้าเล่ห์ในอนาคตหรืออาจเป็นเด็กก้าวร้าวจากการสะสมอารมณ์เก็บกด นั้นๆ


เอายังไงแน่แม่...หนูงงแล้วนะ


การ เลี้ยงลูกแบบไม่สม่ำเสมอ ไม่ให้ความรักความเอาใจใส่เท่าที่ควร บางครั้งเข้มมาก บางครั้งตามใจ บางครั้งปล่อยปละละเลย พ่อแม่สอนลูกคนละแบบหรือขัดแย้งกัน เปลี่ยนวิธีการเลี้ยงลูกบ่อยๆ จนลูกไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าถึงผลแห่งการกระทำของตัวเอง ส่วนมากเกิดกับพ่อแม่ที่มีความเป็นเด็กอยู่ พ่อแม่ที่มีความเครียดมากหรือไม่มีเวลาให้ลูก มักมีการสอนหรือให้ข้อมูลที่สับสน ตีความหมายได้หลากหลายแก่ลูก การเลี้ยงลูกในลักษณะนี้จะทำให้ลูกเกิดความสับสน ขาดวินัย รักสบาย และขาดความยับยั้งชั่งใจ เนื่องจากจะปรับตัวเองตามลักษณะอารมณ์ของพ่อแม่ โดยในระยะแรกลูกจะแสดงออกเพื่อให้เป็นที่พอใจของพ่อแม่ แต่พอนานวันเข้าก็จะกลายเป็นความเคยชิน เกิดการทำโดยอัตโนมัติและไม่รู้สึกเดือดร้อน


เด็กที่เกิดจากพ่อ แม่เดียวกัน รูปร่าง หน้าตา นิสัยใจคอต่างกัน การที่พี่น้องท้องเดียวกัน แม้แต่ฝาแฝดก็มีความแตกต่างกันเพราะได้รับการเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน รวมถึงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันด้วย ส่งผลให้สุขภาพจิตแต่ละคนแตกต่างกัน การอบรมเลี้ยงดูที่แตกต่างส่งผลต่อพฤติกรรมที่แตกต่างออกไป


การ เลี้ยงดูลูกของพ่อแม่แต่ละคนส่วนใหญ่จะอาศัยประสบการณ์ที่ถูกเลี้ยงดูมา การเรียนจากตำรา หรือการเห็นคนอื่นเลี้ยงมาประยุกต์ใช้ในแบบที่ตัวเองคิดว่าเหมาะสม แต่บางครั้งเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของพ่อแม่แต่ละช่วงก็ส่งผลให้การเลี้ยงดูลูกแตกต่างกัน ออกไป เกิดการเลี้ยงดูหลายแบบในครอบครัวเดียวกัน เราไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่า แบบไหนดีไม่ดี หรือแบบไหนถูกแบบไหนผิด พ่อแม่ควรเลือกและปรับวิธีการดูแลเลี้ยงดูลูกตามความเหมาะสม


พ่อแม่มืออาชีพ...ต้องแบบนี้สิ


การอบรม เลี้ยงดูลูกที่ดีนั้น ไม่มีรูปแบบตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูกจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับพ่อแม่ว่าวาง กฎเกณฑ์หรือคุณค่าในเรื่องต่างๆ สูงแค่ไหน เช่น การลงโทษลูก การควบคุมเรื่องต่างๆ รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นของลูกมีมากน้อยแค่ไหน รูปแบบการเลี้ยงลูกควรพิจารณาจาก


ความเท่าเทียมกันทางสังคม


คุณ พ่อคุณแม่ควรตระหนักว่าลูกเรามีสิทธิ์ที่จะคิดและตัดสินใจด้วยตัวเอง อย่าเพิ่งตัดสินว่าลูกวัยนี้อายุยังน้อยตัดสินใจอะไรหรือทำอะไรไม่ค่อยเป็น ปล่อยให้ลูกได้คิด ได้ทำและตัดสินใจในสิ่งที่เขาสนใจ แม้ว่าลูกจะไม่ฉลาด ไม่มีประสบการณ์ ไม่แข็งแรงหรือไม่มีความรู้เท่าพ่อแม่ เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกรู้สึกภูมิใจและมั่นใจในตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ควรให้เกียรติในความคิดของลูก ไม่บังคับให้ทำตามความคิด ความเชื่อของพ่อแม่ ส่งเสริมลูกด้วยการจัดหาแนวทางและชี้นำเรื่องต่างๆ แก่ลูกอย่างเหมาะสม


ความรับผิดชอบร่วมกัน


เมื่อ เกิดปัญหาขึ้นในครอบครัว การร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำและตัดสินใจ หรือการทำข้อตกลงรับผิดชอบร่วมกัน บ้านที่มีความเป็นประชาธิปไตยควรมีทั้งอิสระ ขอบเขตและฝึกให้ลูกเรียนรู้ถึงความรับผิดชอบ เช่น การเก็บของเล่นหลังเล่นเสร็จ การรับประทานอาหารที่ตรงเวลา การให้ลูกได้รับประสบการณ์จากผลการกระทำของเขาเป็นเทคนิคการฝึกที่มีพลังมาก ลูกมีอิสระที่จะเลือกและได้รับประสบการณ์จากผลของการกระทำของตัวเอง เช่น ลูกไม่ยอมรับประทานอาหารจะรู้สึกหิว หรือเล่นมากไปจนกลับมาไม่ทันมื้ออาหารเย็น เพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่ลูกจะเรียนรู้ถึงพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบ ไม่ใช่ทำเพราะรางวัลหรือถูกลงโทษ แต่จะทำเพราะว่าได้รับรู้ถึงผลเสียของการกระทำนั้นๆ และในขณะที่พยายามพัฒนาความรับผิดชอบของลูก พ่อแม่ต้องไม่พยายามเข้าไปช่วยลูกโดยไม่จำเป็นจริงๆ เพราะจะทำให้ลูกมีความรู้สึกรับผิดชอบลดลง


ความร่วมแรงร่วมใจกัน


ครอบ ครัวที่มีการแข่งขันกันทำให้เกิดความแตกต่างของลูกแต่ละคนอย่างเห็นได้ชัด อาจทำให้ลูกคนที่สู้คนอื่นไม่ได้แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ดื้อรั้น ไม่ยอมร่วมกิจกรรมในบ้าน ไม่มีเพื่อน สุดท้ายจะพบความล้มเหลวด้านการเรียน คุณพ่อคุณแม่ควรเปลี่ยนทัศนคติทั้งตัวเองและลูกจากการแข่งขันเป็นร่วมมือ ช่วยเหลือกัน สอนลูกให้มีความเมตตา มีน้ำใจช่วยเหลือคนที่อ่อนแอกว่า จะช่วยให้คนๆ นั้นมีความสุขกับชีวิตมากขึ้น นำไปสู่ความสำเร็จในชีวิตในอนาคต


ความมีวินัยในตัวเอง



พ่อ แม่ที่มักสอนให้เรามีความรับผิดชอบโดยการให้รางวัลและการลงโทษ จะส่งผลให้ลูกเรียนรู้ว่าพ่อแม่และคนอื่นมีผลต่อพฤติกรรมของเขา เมื่อใดที่ไม่มีคนอื่นอยู่ด้วยลูกจะมีพฤติกรรมที่ไม่ดี เพราะไม่มีคนคอยดูหรือคอยสอนให้ทำดี ถ้าพ่อแม่ต้องการให้ลูกทำดี โดยสมัครใจด้วยแรงกระตุ้นภายในตัวเด็กเอง ไม่ใช่จากการถูกลงโทษหรือให้รางวัลได้ พ่อแม่ควรฝึกให้แรงกระตุ้นและแรงเสริมเป็นอย่างอื่น เช่น การชมเชย การกอดลูก เมื่อลูกเกิดความรับผิดชอบโดยสมัครใจ รู้สึกอยากทำสิ่งต่างๆ โดยที่พ่อแม่ไม่ต้อควบคุม นั่นคือพ่อแม่สามารถสร้างบทบาทของการมีวินัยในตนเองให้ลูกได้สำเร็จ


แบบนี้เรียกว่า...พ่อแม่รังแกหนู

ใน ขณะที่พ่อแม่พยายามเลี้ยงลูกให้พร้อมที่จะเผชิญสิ่งต่างๆ ในสังคม เป็นการวางรากฐานให้ลูกออกสู่โลกกว้างเมื่อโตขึ้นได้อย่างเหมาะสมด้วย ประสบการณ์ของตัวลูกเอง บางครั้งพ่อแม่อาจรู้สึกว่าตัวเองเป็นพ่อแม่ที่ไม่เอาไหน หรือด้วยสำนึกของความเป็นพ่อแม่ จึงพยายามเข้าไปช่วยลูก เช่น ช่วยแต่งตัว ช่วยทำการบ้าน ช่วยป้อนข้าว การทำอย่างนี้ไม่เหมาะสมนะคะ เพราะแทนที่ลูกจะพัฒนาตัวเองกลับมีพฤติกรรมถดถอยได้ ซึ่งการอบรมเลี้ยงดูลูกที่ไม่เหมาะสมมีหลายปัจจัยด้วยกัน

การอบรมสั่งสอนลูก ไม่ ควรเป็นการเทศนา เพราะลูกวัยนี้ไม่สามารถเข้าใจทุกอย่างที่พ่อแม่สอนได้ในเวลาเดียวกัน และจะทำให้ลูกเบื่อหน่ายไม่สนใจฟัง ทำให้เกิดผลเสียทั้ง 2 ฝ่าย พ่อแม่อารมณ์เสียและลูกเกิดความเครียด เก็บกด เพราะไม่สามารถแสดงความโกรธออกมา ดังนั้น พ่อแม่ควรสอนลูกด้วยเหตุผลที่สั้น ชัดเจนและเข้าใจง่าย และไม่ควรหลอกหรือหยอกล้อลูกในทางที่ไม่ควร เพราะจะทำให้ลูกเกิดความรู้สึกกลัวโดยไร้เหตุผล อีกทั้งเป็นการขัดขวางความอยากรู้อยากเห็นของลูก ทำให้ลูกขาดความน่าเชื่อถือและไว้วางใจในตัวพ่อแม่ด้วย


การดุด่าและการขู่ลูก เป็นอีกพฤติกรรมที่ไม่ควรนำมาใช้ โดย เฉพาะการดุด่ากลางที่สาธารณะ ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เนื่องจากลูกจะเกิดความอาย เครียดและอาจเกลียดพ่อแม่ได้ รวมถึงการพูดจาเสียดสี เหน็บแนมหรือถากถางลูกโดยหวังผลให้ลูกปรับปรุงพฤติกรรม อย่าใช้กับลูกเด็ดขาด โดยเฉพาะลูกวัยนี้เขาไม่เข้าใจความหมายแฝงของคำเหล่านั้นหรอกค่ะ รังแต่จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองทำถูกอีกทั้งลูกอาจเกิดพฤติกรรม เลียนแบบ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องถูกต้องและนำสิ่งที่ได้เห็นจากพ่อแม่ไปใช้กับคนอื่น ด้วย


การติดสินบนลูก
นิยม มากในกลุ่มพ่อแม่ที่ไม่ต้องการความยุ่งยากในการสอนหรือต้องการหยุดพฤติกรรม ที่ไม่ต้องการในตัวลูก พ่อแม่ควรเปลี่ยนความคิดและมุมมองใหม่ดีกว่าค่ะ เพราะการทำแบบนี้จะทำให้ลูกทำความดีได้เพียงชั่วครู่เท่านั้น แต่ไม่สามารถติดตัวจนกลายเป็นนิสัยได้ ในทางตรงข้ามอาจเป็นการบ่มเพาะนิสัยที่ไม่ดีให้ลูกทำดีเพื่อหวังผลตอบแทน เท่านั้น


สอนลูกสร้างทางเดินอย่างเหมาะสม


ไม่ ว่าจะเลี้ยงลูกแบบใด ล้วนมีผลต่อความคิดความอ่าน และพฤติกรรมของเด็กทั้งสิ้น การที่ลูกจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการสั่งสมประสบการณ์ การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่มาตั้งแต่เล็กจนถึงวัยรุ่น พ่อแม่ที่เลี้ยงดู อบรม สั่งสอนลูกด้วยความรัก ความอบอุ่น ให้กำลังใจ ให้ความยุติธรรม ยอมรับในความสามารถของลูกและพร้อมที่จะให้การสนับสนุน และส่งเสริมความสามารถพิเศษที่มีในตัวของลูก ลูกจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีมานะ อดทน เข้าใจชีวิต มีความรักความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข หากพ่อแม่เลี้ยงลูกอย่างขาดความรัก ความเข้าใจ มุ่งแต่ใช้การตำหนิติเตียน เมื่อลูกโตขึ้นมักจะเป็นคนล้มเหลวในชีวิต การเลี้ยงลูกด้วยความก้าวร้าว มักจะพบว่าเมื่อลูกเติบโตจะกลายเป็นคนที่มีนิสัยแข็งกร้าว หยาบกระด้าง ในการแก้ปัญหามักจะใช้กำลังมากกว่าเหตุผล พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยคำเย้ยหยันให้ลูกเกิดความอับอาย นำลูกไปเปรียบเทียบกับเด็กอื่นที่ประสบความสำเร็จ เมื่อโตขึ้นลูกจะเป็นผู้ใหญ่ที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นคนที่ไม่กล้าแสดงออกและหวาดระแวง


การเลี้ยงลูกด้วยทางสายกลางเป็นวิธีที่ควรทำมากที่สุด
คือ การให้ความรัก ความอบอุ่น ความเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด การยอมรับลูกเป็นสมาชิกในครอบครัวคนหนึ่ง มีความสม่ำเสมอในการอบรมเรื่องต่างๆ รวมถึงการสร้างระเบียบวินัยที่ไม่ย่อหย่อนหรือเคร่งครัดจนเกินไป ให้ความยุติธรรมต่อลูกทุกคนด้วยความเสมอภาคกัน สิ่งนี้จะเป็นเครื่องหล่อหลอมเด็กให้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และเติบโตไปเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศ


(update 28 พฤษภาคม 2005)
[ ที่มา...นิตยสารบันทึกคุณแม่ ปีที่ 11 พฤศจิกายน 2547 ]

No comments: