หลวงพ่อตอบปัญหาโดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว)เรียบเรียง จาก รายการหลวงพ่อตอบปัญหา ทาง DMCคำถาม:กราบนมัสการพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ด้วยความเคารพครับ ลูกและเพื่อนๆต่างก็เปิดบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจ ในการนี้ต้องรับพนักงานเข้าทำงาน เราควรจะใช้หลักธรรมข้อใดในการพิจารณาเพื่อรับพนักงานครับตอบ:เจริญ พร...โดยทั่วไปในการคัดคนเข้ามาทำงาน จะเป็นในระดับไหนก็ตาม ส่วนมากในยุคนี้ เขาก็มักจะมองว่า มีวุฒิอย่างไร จบอันโน้น จบอันนี้ ปริญญาตรี ปริญญาโท หรือปริญญาเอก...กันบ้าง พิจารณาจากประสบการณ์ในการทำงาน...บ้าง พิจารณาจากบุคลิกลักษณะ...บ้าง อะไรทำนองนี้ บางทีก็ไล่ไปจนกระทั่งชาติตระกูลก็มี สอบสาวเข้าไป เจ็ดชั่วโคตรเลย บางทีก็สอบไปถึงการเงินการทอง ประวัติของตระกูลในอดีตแต่ว่าจะใช้หลักอะไรก็ใช้ไป นั่นถือว่า เป็นแค่องค์ประกอบ แต่เรื่องหลักจริงๆแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้เราคัดคนดีเข้ามาอยู่ร่วมกับเรา ในการคัดคนดีก็มีวิธีมองว่า ใครเป็นคนดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการที่จะเอาคนมาทำงาน ถือหลักง่ายๆ คนที่จะทำงานได้ดี คือ คนอย่างไร...คำตอบ คือ คนที่มีความรับผิดชอบ พูดง่ายๆ...คนดี ดีกันด้วยความรับผิดชอบ ไม่ใช่ดีเพราะมีปริญญา ไม่ใช่ดีเพราะหุ่นดี เสียงดี ชื่อดี หรือ ตระกูลดี...ไม่ใช่ เมื่อจะเอาคนมาทำงาน เพราะฉะนั้นคนจะดี ต้องดีด้วยความรับผิดชอบความรับผิดชอบ มีดังนี้ประการที่1.รับผิดชอบตนเองที่เรียกว่า...รับผิดชอบต่อตนเองเป็นอย่างไร เอาขั้นต้นก็แล้วกัน ในทางศาสนา รับผิดชอบต่อตนเอง คือ รับผิดชอบต่อความเป็นมนุษย์ของตัวเอง วัดด้วยอะไร...ก็วัดด้วยศีลห้าของเขา เขาอาจจะมีความรู้ความสามารถเยอะ แต่ถ้าศีลไม่มี ถือว่าเขาไม่รับผิดชอบต่อความเป็นมนุษย์ของเขา เอาเข้ามาใกล้ตัวอันตราย จะฆ่าเราตายเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ จะหักหลังเราเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ประการที่2.รับผิดชอบต่อครอบครัว พ่อแม่ พี่น้อง วงศ์วาน ว่านเครือ รับผิดชอบหมดมี ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ดูง่ายๆ ตั้งแต่เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่หรือไม่ ถ้ามีครอบครัวแล้ว เลี้ยงลูก เลี้ยงภรรยาหรือไม่ เลี้ยงสามีหรือไม่ ถ้าเขายังปล่อยปละละเลยในสิ่งเหล่านี้...อย่าเอามาเลยประการที่3.รับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ อาจจะฟังยากสักหน่อยรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ หมายถึง ไม่ไปแตะต้องอบายมุขนั่นเอง สุรา นารี พาชี กีฬาบัตร ไม่เกี่ยวข้อง เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ ถมไม่รู้จักเต็มสุรา ยาเสพติด...รู้จักกันอยู่แล้วว่าไม่ดีอย่างไรนารี...ก็เจ้าพวกที่เที่ยวกลางคืนพาชี...ไม่ใช่ไปแทงม้าที่สนามม้า แต่ว่าไอ้พวกนี้คือขี่ม้ากินลม ขี่รถกินลม พูดง่ายๆ ไอ้ขี้เกียจ อย่าไปเอามาประการสุดท้าย กีฬาบัตร...คือการพนันทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเล่นไพ่หรือว่าพนันมวย พนันบอล การพนันทุกชนิดไปแตะต้องกับอบายมุขทุกชนิด ได้ชื่อว่าไม่รับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ เพราะ อย่างนั้น ใครแตะต้องสิ่งเหล่านี้ อย่าไปเอามาเลย คนพวกนี้ในใจไม่มีคิดดี คนในวงไพ่คิดอย่างเดียว จะให้ทุกคนที่เล่นไปด้วยฉิบหาย เพราะถ้าเขาไม่ฉิบหาย เราก็ไม่รวย...แล้วทั้งวงมีกี่คน...มันก็คิดแบบเดียวกัน เพราะฉะนั้นวงพวกนี้จึงเรียกว่า “วงฉิบหาย” เพราะฉะนั้นเอาพวกนี้มาร่วมด้วยไม่ได้ประการที่4.รับผิดชอบต่อสังคม ตรงนี้เราคุ้น แต่ถ้าถามว่า “มันเป็นอย่างไร รับผิดชอบสังคม” เราอาจจะตอบกันไม่ได้รับผิดชอบต่อสังคม คือ ไม่มีความลำเอียง คนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหน...คนพวกนี้จะเกลียดนักเกลียดหนาคือ ความอยุติธรรม ความลำเอียง ถ้าเอาคนมาใช้งาน แล้วมีความลำเอียงอยู่ในใจ เอามาใช้ไม่ได้ จำไว้ก็แล้วกัน คุณต้องสอบจนแน่ใจได้ว่า เขาไม่มีความลำเอียง คุณเอามาเถอะประการที่5.รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมรับ ผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม พูดง่ายๆ เราอยู่ในโลกนี้ ถ้าไม่ช่วยกันถนอมโลก ไม่ว่าแผ่นดินในโลกนี้ อากาศในโลกนี้ น้ำในโลกนี้ ต้นไม้ ต้นไร่ในโลกนี้ แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร ถ้าเขามีสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมดีละก็ อย่างนั้น สมบัติทุกชิ้นที่เรามี ที่เราต้องไปเกี่ยวข้อง คนแบบนี้เขาจะช่วยเรารักษาทั้งห้าประการนี้ เป็นเรื่องหลัก ซึ่งแสดงถึงความรับผิดชอบ หรือเป็นตัวบ่งบอกให้เรารู้ล่วงหน้าว่า “ฝึกเขาเข้าไปเถอะ จะช้าจะเร็ว เขาจะมีความรับผิดชอบต่องานที่เราต้องการให้เขาทำ” นี่เป็นหลักเมื่อ ได้คนที่มีคุณสมบัติทั้ง 5ประการนี้ล่ะก็ เราจะฝึกขึ้น ถ้าไม่อย่างนั้นฝึกไม่ขึ้นหรอกคุณ ทีนี้เมื่อเราได้มาแล้ว ยังไม่พอนะ คุณจะต้องฝึกให้เป็นด้วย แต่เอาเถอะ...หลวงพ่อเชื่อว่า ในความสามารถของคุณ ตั้งเนื้อตั้งตัวกันมาขนาดนี้แล้ว ฝึกตัวเองมาขนาดนี้ คุณสามารถฝึกเขาได้ ยกเว้นไม่ได้ทุ่มเทในการฝึก ถ้าอย่างนั้นแม้ได้คนดีมา ก็เอามาทำอะไรไม่ได้เหมือนกัน ตรงนี้ต้องโทษคุณนั่นแหละ อย่าไปโทษเขานะคำถาม:กราบหลวงพ่อด้วยความเคารพครับ ในอีกด้านหนึ่งครับ ถ้าเราจำเป็นจะต้องคัดบุคคลที่ไม่มีคุณภาพออก เราจะมีหลักในการตัดสินใจอย่างไรบ้างครับตอบ:คุณโยม...ความจริงเมื่อตอนเอาเขาเข้ามา เราก็ว่าเราคัดแล้วล่ะนะ...ตรงนี้ ครั้งใดที่คัดคนออก ต้องโทษว่า เป็นความผิดของเราเป็นประการแรก คือ ดูคนพลาด หรือดูคนไม่เป็น ไม่ใช่ความผิดของเขาเพียงลำพัง...เอาล่ะ...เราพบว่าเขาไม่ดี แต่ขอให้รู้ด้วยว่า นั่นเป็นความผิดของเราด้วย เพราะว่า เราว่าเราคัดแล้ว แล้วเราคัดอย่างไร เขาถึงได้หลุดหูหลุดตาเรามาได้อีก ประการหนึ่ง ต้องดูด้วย เราอาจจะคัดเขามาดี ดูแล้วดูอีกก็ดีจริง แต่ว่าเมื่อมาถึงเราแล้ว เราฝึกเขาไม่ถึงขั้น แม้อย่างนี้ก็เป็นความผิดของเราที นี้...เมื่อดูว่า จำเป็นต้องคัดเขาออกเสียแล้ว ผลปรากฏว่า ขณะนี้...เขาไม่ค่อยดีเท่าที่เราหวัง หรือไม่ใช่เขาไม่ค่อยดี แต่แย่เอามากๆเลย ตรงนี้ก็ต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่าทำด้วยความเคียดแค้น เพราะถ้าเราจะคัดใครออกสักคน จำไว้...หากเราทำผิดพลาดนิดเดียว มีโอกาสถึงตายเชียวล่ะคุณ คุณจำไว้ คัดคนเข้าว่ายากแล้ว คัดคนออกยิ่งแสนยากหนักเข้าไปอีกเมื่อเป็นอย่างนี้ จะคัดคนออกแต่ละครั้ง คิดแล้วคิดอีกให้ดี ไล่ความหนักหนาสาหัสไปตามลำดับว่า ควรจะกรณีอย่างไหน เอาออกก่อน-หลังขั้นต้นเลย... ในการจะเอาคนออก ที่จะประจักษ์กับคนทั้งหลายว่า เขาไม่เหมาะสมที่จะอยู่ต่อไป แล้วคนอื่นก็สามารถเห็นได้ด้วย ตัวเขาก็ยอมรับด้วยว่า เขามันไม่ค่อยจะเข้าท่าบุคคลประเภทแรก ที่พอจะคัดออกได้ง่ายหน่อย แล้วใครก็ติเราไม่ได้ คือ ผู้ที่เขาก็ไม่ค่อยจะมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน พูดง่ายๆ เช้าชามเย็นชาม พวกทำงานอย่างนี้ เช้าช้อนเย็นช้อน พวกอย่างนี้...ออกไปได้ก็ดี พรรคพวกก็อยากให้ออกอยู่แล้ว อย่างนี้อันตรายไม่เกิดกับเรา เอาออกไปเถอะบุคคลประเภทที่สอง คือ ผู้ที่ไม่รับผิดชอบต่อศีลธรรม กล่าว คือ เขาอาจจะรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน แต่ว่าศีลธรรมที่จะพึงมีกับหมู่คณะมันไม่ค่อยจะมี เช่น แอบไปกินเหล้าบ้าง หรือยืมเงินเพื่อนแล้วไม่คืนบ้าง อะไรทำนองนี้ คนพวกนี้เอาไว้ไม่ได้ จัดเป็นพวกไม่รับผิดชอบต่อศีลธรรม อย่าเอาไว้ หาทางคัดออกไปเถอะ เพราะฝึกก็ยากบุคคลประเภทที่สาม คือ ผู้ที่ไม่เคารพต่อกฎระเบียบ ฝีมือ อาจจะดี ความรับผิดชอบการงานใช้ได้ แต่ว่า...ทำงานอยู่กับหมู่กับคณะ แล้วมักไม่เคารพกฎระเบียบ มีกฎมีระเบียบขั้นตอนอย่างนั้น...อย่างนี้ เขาก็มักข้ามขั้นตอนอยู่บ่อยๆ ทำให้หมู่คณะกระทบกระทั่ง...ตรงนี้คัดออก แต่ต้องระวังนะ มีโอกาสเดือดร้อนได้ เพราะว่าคนส่วนมากในองค์กร อาจจะไม่ทราบในความไม่เหมาะไม่ควรในสิ่งเหล่านี้ ต้องระมัดระวังให้ดี คนประเภทนี้ควร “เชิญออก” หรือ “แนะนำให้ออก” ไม่ใช่ “ไล่ออก” ไม่อย่างนั้น เดี๋ยวเดือดร้อนบุคคลประเภทที่สี่ ประเภทนี้อันตรายแล้วเอาออกยากมากๆด้วย คือ ผู้ที่ชักนำ ไปชักชวน เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงานไปในทางที่ผิด ตัวอย่าง เช่น ชักชวนกันไปยกพวกตีกันกับคนอื่น ชักชวนไปเที่ยวในที่ไม่ควรเที่ยว ไม่ว่าที่ไหนก็ตามที ถ้ามีแววชักชวนในทางนี้บ่อยๆล่ะก็ คนประเภทนี้ ถ้าหาทางเชิญเขาออกมาได้แต่ต้นมือจะดี แต่ว่าขอเตือนไว้นะ...ยากมาก แล้ว ถ้าปล่อยเอาไว้ คนประเภทอย่างนี้จะชักชวนกันเดินขบวน ชักชวนสไตร์ท ทีแรกก็ไปเดินขบวนให้กับที่อื่น ไปๆมาๆ เดี๋ยวเถอะเดินขบวนในที่ของคุณเองนั่นแหละ บุคคลประเภทนี้เป็นบุคคลที่ต้องพึงระมัดระวัง เพราะฉะนั้นถ้าคุณไม่ดูให้ดีตั้งแต่ต้น จะมาเสียหายตรงนี้ตรง นี้ฟ้องว่าอะไร...ฟ้องว่าจริงๆแล้ว เขาไม่ค่อยจะรับผิดชอบทั้งตัวเอง และครอบครัวของเขาเท่าที่ควรจะเป็น คนที่รับผิดชอบต่อครอบครัวดีจริงแล้ว จะไม่ทำแน่นอน ในเรื่องของชักชวนพรรคพวกเพื่อนฝูงร่วมงานในทางที่ผิด เขาจะไม่ทำ ถ้ามีอย่างนี้เมื่อไหร่ แสดงว่า คุณแย่มากเลย ไม่ได้เช็คถึงความรับผิดชอบในครอบครัวของเขาตั้งแต่ต้นบุคคลประเภทที่ห้า ประเภทนี้ยิ่งยากต่อการที่จะคัดออก แต่จริงๆเอาไว้ไม่ได้ เป็นอย่างไร...ก็คือ ผู้ที่ใครๆก็เตือนไม่ได้ ถาม ว่า มีฝีมือดีหรือไม่...ดี แต่ถือตัวว่าเจ๋งมาก เพราะอย่างนั้นใครๆก็เตือนไม่ได้ เตือนก็โกรธ พวกนี้ถึงคราวจะต้องเอาออกก็ยาก...คุณแทบจะต้องกราบให้เขาออกเลย เตือนไว้ อย่าเอาออกด้วยวิธีการง่ายๆ ไม่งั้นอันตรายเพราะ ฉะนั้น ดีที่สุด คือ คุณต้องคัดคนให้สุดฝีมือ แล้วก็ทดลองงานให้นานพอสมควร แล้วหาวิธีค้นให้ได้ว่า เขาเป็นมนุษย์ที่ใครเตือนไม่ได้หรือไม่ หรือถ้ามีแววว่า ทีแรกค้นอย่างไรก็ไม่เจอ ต่อมามีแววว่าจะเตือนไม่ได้ ใครเตือนไม่ได้ เหลือแต่เราคนเดียวล่ะก็...ตรงนี้หาทางยักย้ายถ่ายเทให้ดี ให้ไปอยู่ในตำแหน่งหรือในงานที่พร้อมจะยุบล่ะก็...บางทีจะรอดตัว...ถ้าไม่ อย่างนั้นจะยากบุคคลประเภทที่หก ที่คุณจะต้องกำจัดออก คือ ผู้ที่ชอบก้าวก่ายหน้าที่ของคนอื่น... คนพวกนี้ จะมีความสามารถในการที่จะรายงานเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องของคนอื่นทั้งๆที่ไม่เกี่ยวกับตัวเอง แล้วเราก็มีความรู้สึกว่า “เออ...คนนี้เป็นหูเป็นตาเราดี” ที่ไหนได้ คนแบบนี้ชอบแต่ยุ่งเรื่องของคนอื่น คุณเองก็ระวังเอาก็แล้วกัน ถ้าคุณไม่ระวังในสิ่งเหล่านี้ตั้งแต่ต้น แล้วคุณต้องมาคัดออกตอนท้าย องค์กรของคุณจะป่วนหมดนะ แล้วคุณก็มีสิทธิ์ตายได้อีกด้วยคำถาม:หลวงพ่อครับ ถ้าเราจะเลื่อนตำแหน่งลูกน้อง ขึ้นมาเป็นหัวหน้างาน บุคคลผู้นั้นควรจะมีคุณสมบัติอย่างไรบ้างครับตอบ:คุณโยม...ถ้าพูดโดยหลักการ การจะเลือกใครขึ้นมาเป็นหัวหน้างาน นั้นไม่ยาก...ลองฟังหลักการก่อน หลักการมีอยู่ 2ประการ คือประการแรก บุคคลนั้นต้อง ไม่ลำเอียง เพราะถึงเขาจะเก่งงานขนาดไหนก็ตาม แต่ถ้าเขาลำเอียงเสียแล้ว เมื่อเขาขึ้นมาเป็นหัวหน้าคน เดี๋ยวเขาก็ทำหน่วยงานนั้นพังหมด คนเก่งแต่ลำเอียง ฝีมือดี เก่งขนาดไหนก็ทำให้หน่วยงานพังซะจนได้ เพราะฉะนั้นอย่าเอาขึ้นไปเป็นหัวหน้าผู้ที่จะขึ้นมาเป็นหัวหน้าคน ที่ว่าไม่ลำเอียงเป็นอย่างไร...คือ ผู้ที่ไม่มีความลำเอียง ดังต่อไปนี้1.ลำเอียงเพราะรัก คือ ประเภทที่ชอบเล่นพวกเล่นพ้อง พูด ง่ายๆ เอาคนชอบเล่นพวกเล่นพ้องมาเป็นหัวหน้าหน่วยงาน เดี๋ยวก็ทำงานพัง ดูเผินๆ คนพวกนี้มีมนุษยสัมพันธ์ แต่จริงๆไม่ใช่ ถ้าหันหน้าหน่วยงานเล่นพวกแล้ว งานก็จะพัง คือ จะมีคนประจบสอพลอ หรือคนคุณภาพไม่ถึง มาอยู่เต็มไปหมด แล้วคุณจะพัง2.ลำเอียงเพราะชัง คือ ประเภทที่ตัวเองฝีมือดี แต่ว่า...ถ้าได้โกรธใครล่ะก็...ผูกอาฆาตเลย ใครไม่ถูกใจ...จะจงเกลียดจงชัง ขังลืมเอาไว้ในใจ ใครทำให้ไม่ถูกใจสักหน่อย...คนคนนั้น ชาตินี้ทำอะไรก็ไม่ถูกตลอด อย่างนี้ก็ให้ไปเป็นหัวหน้าคนไม่ได้3.ลำเอียงเพราะกลัว คือ ประเภทที่กลัวเส้นก๋วยเตี๋ยว กลัวเส้นกวยจั๊บ พูดง่ายๆ คนพวกนี้ พอมีลูกน้องที่หัวแข็งสักหน่อย ไม่กล้าว่า ไม่กล้าเตือน ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ถือว่าลำเอียงเพราะกลัว เราได้คนอย่างนี้ขึ้นมา หน่วยงานก็รวน4.ลำเอียงเพราะโง่ ตรงนี้ยากหน่อย การที่ใครคนใดคนหนึ่งจะไม่ลำเอียงเพราะโง่นี่...ตรงนี้ยากนะลูกนะ...เพราะอะไร...เพราะทุกคนในโลกไม่ได้เป็นสัพพัญญู คือ รู้ไม่หมดทุกอย่าง โอกาสที่จะลำเอียงเพราะโง่จึงมีมากสรุป การเลือกคนที่จะไม่ลำเอียง เพื่อมาขึ้นเป็นหัวหน้า หลักง่ายๆก็คือ1.ดูว่า เขาไม่เล่นพรรคเล่นพวก2.ดูว่า เขาไม่ใช่เป็นคนที่อาฆาตคน3.ดูว่า เขากล้าเตือนคน กล้าเตือนลูกน้อง4.ดูว่า เขาเป็นคนที่อ่อนน้อมถ่อมตน รักการค้นคว้า รักความก้าวหน้า และใครก็สามารถจะเตือนเขาได้คนอย่างนี้ คือ เป็นคนที่มีแววว่าจะไม่ลำเอียง พร้อมที่จะเป็นหัวหน้าประการที่สอง บุคคลที่จะขึ้นเป็นหัวหน้างานได้ ต้องมีมนุษยสัมพันธ์ดี แต่ คุณต้องระมัดระวังไว้ พวกที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีนั้น ส่วนมากฝีมืองาน หรือความทุ่มเทในงาน มักจะหย่อน ในขณะที่ผู้ที่ทุ่มเทกับงานอย่างชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพัน มนุษยสัมพันธ์มักจะหย่อน พูดง่ายๆ ถ้าดีในเรื่องงานล่ะก็ มนุษยสัมพันธ์จะหย่อน ถ้ามนุษยสัมพันธ์ดีล่ะก็ งานจะหย่อน ตรง นี้เราต้องชั่งใจให้ดี ถ้าชั่งใจไม่ดี เดี๋ยวมันพลาดไป แน่นอนเราอยากได้ทั้งมนุษยสัมพันธ์ก็ดี การทุ่มเทกับงานก็ดี ถ้าได้อย่างนี้มันก็วิเศษ แต่...มันไม่ง่ายหรอกนะ...อันนี้เตือนไว้ก่อนดูความมีมนุษยสัมพันธ์ของเขาให้ดี คือ คุณจะเอาใครขึ้นมา คุณก็คงจะมองว่า เขามีความสามารถในงาน ถ้าไม่มีความสามารถในงาน คุณก็คงไม่คิดจะเอาเขาขึ้นไปเป็นหัวหน้า ตรง นี้อีกเหมือนกัน ระวังก็แล้วกัน ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น...มีความสามารถในงาน แต่มักจะขาดมนุษยสัมพันธ์ อีกพวกหนึ่ง มีความสามารถในมนุษยสัมพันธ์ แต่ว่างานมักจะหย่อนตรงนี้คุณดูนะ...ในพวกมีความสามารถในงาน แต่มนุษยสัมพันธ์หย่อน คุณต้องเข้าไปประกบ แล้วค่อยๆสอนให้เขา ตั้งแต่...1.ให้เขารู้จักเป็นคนให้ทาน หรือว่าโอบอ้อมอารีต่อลูกน้อง2.ให้เขาพูดเพราะๆให้เป็น ไม่อย่างนั้น เดี๋ยวกระทบกระทั่งกันตาย3.คอยสอนเขาว่า...อย่าหวงความรู้ อบรมลูกน้องให้เป็น4. ให้เขาเป็นคนประเภทที่เสมอต้นเสมอปลาย ได้ดีไม่เหลิง ไม่ยกตนข่มท่าน ตกต่ำทำผิดทำพลาดไม่ใช่เศร้าสร้อยหงอยเหงา คุณต้องไปประกบตรงนี้ให้ดีพุทธองค์ทรงให้หลักเอาไว้ คนที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีนั้น คือ1.มีทาน คือ รู้จักปัน2.มีปิยวาจา คือ พูดเพราะ พูดให้กำลังใจคนเป็น3.มีอัตถจริยา คือ พร้อมจะให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วยให้ความรู้เป็นทาน4.มีความเสมอต้นเสมอปลาย ได้ดีก็ไม่ยโสโอหัง ไม่ใช่พอได้รับการ Promote ขึ้น ไปเป็นหัวหน้าเลยดูถูกคนทั้งแผนก คุณดูให้ดีว่า เขาเสมอต้นเสมอปลายได้ อย่างนี้ก็ถือว่าเขามีมนุษยสัมพันธ์ ถ้ายังมีไม่พอคุณก็เติมให้เต็มส่วนพวกที่มนุษยสัมพันธ์ดี แต่ว่างานหย่อน ก็ฝึกงาน เคี่ยวงานให้หนักหน่อย ก่อนจะไป Promote หรือถ้าจำเป็นต้อง Promote คุณก็ต้องประกบให้ดี ไม่อย่างนั้นงานของคุณจะแย่ก็มีหลักง่ายๆสองประการ ดังที่ได้กล่าวมานี้ ทั้งไม่ลำเอียง ทั้งมีมนุษยสัมพันธ์ดี อย่างนี้งานของคุณจะเดิน เพราะเขาเหมาะจะเป็นหัวหน้างาน
ขอขอบคุณ http://www.dmc.tv
Sunday, November 23, 2008
ถ้าเราจำเป็นจะต้องคัดบุคคลที่ไม่มีคุณภาพออก เราจะมีหลักในการตัดสินใจอย่างไร?
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment