Thursday, March 5, 2009

เพราะ..อะไรที่เกิดมาเป็นแบบนี้ ??



รู้ชีวิต กำหนดชีวิต
คำนำ
ปรัชญาที่นำมาเรียบเรียงและบันทึกไว้ในหนังสือเล่มนี้ "รู้ชีวิต กำหนดชีวิต" ว่าด้วยเรื่องการทำความเข้าใจชีวิตอย่างแจ่มแจ้ง ใน ทรรศนของคนทั่วไปอาจมองชีวิตโดยเปรียบเทียบความแตกต่างที่วัด จากรูปลักษณ์ภายนอกเป็นต้นว่ารูปร่าง ฐานะความเป็นอยู่ ความรู้ การศึกษา ตำแหน่งหน้าที่และฐานันดรศักดิ์ฯ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่แก่นสาร ของชีวิตโดยแท้ เป็นเพียงบทบาทที่ถูกกำหนดมาแล้วจากฟ้าปางก่อน ชีวิตในชาตินี้จึงต้องรับบทบาทนั้นและเป็นไปตามลิขิตชะตา ชีวิตจึง กลายเป็นปริศนาสำหรับคนที่ไม่รู้ชีวิต ชีวิตจึงไร้คำตอบและหาทาง ออกไม่ได้ว่าทำไมเราเกิดมาเป็นผู้ชายหรือทำไมเป็นผู้หญิง ทำไมบาง คนอายุสั้นทั้งที่ใครๆ ก็อยากมีชีวิตอยู่ไปจนแก่ ทำไมเป็นคนขี้โรคทั้ที่ อาหารก็อุดมสมบูรณ์ ทำไมโง่เขลา ทำไมอัปลักษณ์ ทำไมยากจนฯ เหล่านี้ความรู้ทางโลกอย่างเดียวยังไม่สามารถหาข้อพิสูจน์และที่มา เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้
เมื่อมีชีวิตแต่ไม่รู้ชีวิตก็เท่ากับชีวิตอยู่ท่ามกลางความมืดมิด ย่อมพบกับความหายนะคือความทุกข์อย่างมหันต์ แต่สำหรับบุคคลที่ ปรารถนาและแสวงหาความเข้าใจในชีวิต ชีวิตจึงไม่ใช่ปริศนาอีกต่อไป ปาฏิหารย์จะบังเกิด ชีวิตจะได้รับการช่วยเหลือ เมื่อใดที่ชีวิตพบทาง ออกคือ "รู้ชีวิต" เมื่อนั้นบุคคลจึงสามารถ "กำหนดชีวิต" ให้ไปเป็นได้ ด้วยตัวตนเอง.
ทรรศนภูมิ * ๑ ชาติ
* ทรรศนภูมิ คือ ภูมิปัญญาอันเห็นธรรม
บุคคลใดไม่รู้ชีวิตมาจากไหน?
ไม่รู้ว่าตายแล้วจะไปไหน?
เขาใช้ชีวิตอยู่ไปตามยถากรรม (รู้แต่ทำมาหากิน)
ได้ชื่อว่า ทุรชนโดยแท้
มีคนจำนวนมากที่ยึดถือโนทรรศนภูมิ ๑ ซาติ กล่าวคือมีความคิด ที่ว่าคนเรานั้นเกิดมามีสังขารได้ก็เพราะพ่อแม่ ความรู้สึกนึกคิดเกิดจาก สมอง และเซลล์ประสาท ตายไปแล้วชีวิตก็ไม่เหลืออะไร พวกเขาใช้ชีวิต ทำงานอย่างหนัก ใช้ความฉลาดแสวงหาผลประโยชน์ ชีวิตของพวกเขา คิดและมองเพียงสิ่งใกล้ตัว เพลิดเพลินกับอบายมุข อารมณ์เต็มไปด้วย กิเลสอันเป็นเหตุให้เกิดความใคร่และความทะยานอยาก กระหายในชื่อ เสียงเงินทองลาภยศ ที่แย่ไปกว่านั้นบุคคลเหล่านี้แม้จะมีศาสนาแต่ชีวิต กลับเกลือกกลั้วอยู่กับบาปกรรม ไม่เกรงกลัวความผิดบาป ชีวิตเช่นนี้ จัดว่าเป็นชีวิตมืดชีวิตบอด เกิดมาก็ลุ่มหลงตายไปก็หลงทางนั่นเอง
ทรรศนภูมิ ๒ ชาติ
บุคคลใดไม่รู้ว่าชีวิตมาจากไหน ?
รู้เพียงว่าตายแล้วจะไปไหน ?
รู้จักกลัวบาปสร้างบุญกุศล
ได้ชื่อว่า สุภาพชน โดยแท้
มีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยึดถือในทรรศนภูมิ ๒ ชาติ กล่าวคือมี ความเข้าใจว่าคนดีตายไปแล้วขึ้นสวรรค์ คนชั่วตายไปแล้วตกนรก คนดี ตายไปแล้วได้เป็นเทพเทวา คนชั่วตายไปแล้วกลายเป็นผี หลักความเชื่อ ในข้อนี้นับว่ายังดีกว่าข้อแรกอย่างอักโขคือพวกบูชาวัตถุ ซึ่งอย่างน้อย ก็ยังมีส่วนช่วยจรรโลงภูมิปัญญายกระดับจิตใจให้สูงขึ้น อาจเป็นเพราะ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาปนี้เอง ชีวิตจึงพยายามหลีกเลี่ยงการ ทำผิดบาป ปรารถนาในการทำความดี ทรรศนะเช่นนี้นับว่ามีคุณอย่างยิ่ง ทั้งยังช่วยให้สังคมสงบร่มเย็น อย่างไรก็ดีทรรศนภูมิ ๒ ชาติก็ยังไม่ใช่ บทสรุปที่สมบูรณ์ทีเดียว และในขณะเดียวกันก็ยังไม่สมหวังไปทั้งหมด
ทรรศนภูมิ ๓ ชาติ
บุคคลใดรู้ว่าชีวิตมาจากไหน ?
รู้ว่าตายแล้วจะไปไหน ?
รู้ว่าจะกำหนดชีวิตอย่างไร ?
ได้ชื่อว่า ปัญญาชน โดยแท้ อดีตชาติ ตระหนี่ถี่เหนี่ยว
ปัจจุบันชาติ - เกิดเป็นขอทาน
- ต่อมาขอทานรู้ว่าชาติอดีตเป็นคนตระหนี่
ชาตินี้ต้องมาเกิดเป็นขอทาน จึงเริ่มต้น
ปลูกเหตุใหม่ด้วยการสั่งสมบุญกุศล
อนาคตชาติ ขอทานกลับชาติไปเกิดเป็นมหาเศรษฐี
รู้ชีวิตกำหนดชีวิต
ขอนอบน้อมจอมมุนีศรีสัมพุทธ์ บริสุทธิ์ไกลกิเลสเหตุทุกข์เข็ญ
ตรัสรู้ชอบล้ำธรรมบำเพ็ญ ผู้ทรงเป็นโลกนาถพระศาสดา
อุบัติมาให้เวไนย์ "รู้ชีวิต" ชี้ให้คิดลิขิตกรรมเลิศล้ำค่า
เรื่องสามชาติประกาศธรรมพระสัมมา เป็นปัญหาน่าคิดเชิญติดตาม
ชนชาวโลกโศกระกำช้ำดวงจิต เพราะชีวิตผิดพลาดในชาติสาม
มุ่งกอบโกยโหยหาพยายาม กินเกียรติกามในสามชาติอนาถใจ
อันสามชาติคือสามช่วงบ่วงชีวิต ตนลิขิตอดีตกรรมทำไฉน
ปัจจุบันนั้นหรือคือผลใบ ต้องชดใช้ได้รับผลที่ตนทำ
อนาคตจะงดงามหรือทรามชั่ว อยู่ที่ตัวลิขิตทุกข์หรือสุขล้ำ
สร้างเหตุขาวพราวพร่างทางศีลธรรม สุขเลิศล้ำกำชัยได้ไปครอง
สร้างเหตุดำทำชั่วกลั้วทางผิด ผลลิขิตชีวิตทรามตามสนอง
ปลูกเหตุไซร์ได้รับผลตามครรลอง คือกรรมกฏกำหนดคนในโลกา
รู้อันใดไม่สู้ "รู้ชีวิต" กำกับจิตไม่ผิดพลาดในชาติสาม
รักษาศีลกุศลธรรมบำเพ็ญทาน แปรชาติสามงดงามตามลิขิตเอย
อนาคาริก
ความมงคล & อัปมงคล
โชคลาภ & เคราะห์ภัย
โศลกการมา ๑๐ ประการ
ในพุทธธรรมคัมภีร์มีโศลกบทหนึ่งได้บันทึกลักษณะสิบประการใน ปัจจุบันชาติของคนเรา ลักษณะเหล่านี้สามารถบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอดีต ชาติซึ่งเป็นปริศนาที่วิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถหาทางพิสูจน์ได้ โศลก บทนี้เรียกว่า "โศลกการมาสิบประการ"
รูปร่างหน้าตาดี... มาจาก ทนอดกลั้นไม่ถือโทษ
ยากจนขัดสน... มาจาก โลภมากตระหนี่ถี่เหนียว
ยศฐาสูงศักดิ์... มาจาก ให้เกียรติไม่เหยียดหยาม
ต่ำต้อยด้อยค่า... มาจาก เย่อหยิ่งไร้สัมมาคารวะ
บ้าใบ้... มาจาก กล่าวประณามคำหยาบช้า
หูหนวกตาบอด... มาจาก ขาดสำรวมปล่อยใจไม่ระวัง
อายุยืน... มาจาก มีคุณธรรมเมตตาจิต
อายุสั้น... มาจาก ทำลายชีวิตคนสัตว์ไม่ละเว้น
รูปร่างสมประกอบ... มาจาก สร้างบุญทานฯ รักษาศีล
พิกลพิการ... มาจาก ทำลายศีลธรรมสร้างบาป
สาเหตุที่เกิดมาอายุสั้น
๑. : เข่นฆ่าชีวิตสัตว์น้อยใหญ่ไม่เว้น
๒. : เรียกให้ผู้อื่นฆ่าหรือสั่งให้ฆ่า
๓. : ชื่นชมกับฝีมือการล่า/ฆ่าสัตว์ที่ตนไปเห็นมา
๔. : มีความสุขใจเมื่อเห็นคนกำลังล่า/ฆ่าสัตว์
๕. : หวังว่าคนที่เราเกลียดชังจะตายวันตายพรุ่ง
๖. : เห็นศัตรูคู่อริตายไป เกิดความสุขใจ
๗. : ทำลายรังของสัตว์เดรัจฉาน
๘. : เรียกให้ผู้อื่นทำลายหรือสั่งให้ทำลายรังของสัตว์
๙. : จัดงานบุญงานบวชแต่เอาชีวิตสัตว์น้อยใหญ่มาสังเวย
๑๐. : เห็นการทารุณสัตว์เป็นเรื่องสนุก (ชนไก่ ชนวัวฯ)
ด้วยเหตุแห่งกุศลกรรมทีได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงมีอายุสั้น กล่าวคือมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้ไม่นาน ต้องมี อันถึงแก่กรรมตั้งแต่วัยเยาว์ วัยรุ่น หรือไม่พ้นวัยกลางคน อย่างไรก็ดี หากได้ชดเชยด้วยการทำความดีสร้างบุญกุศลบ้าง อาจต่อชะตาได้แค่ ช่วงหนึ่งเท่านั้น แต่ก็ไม่เสียเที่ยวได้เกิดมา ที่น่าเป็นห่วงสำหรับคนที่ยัง มัวตะบอยเสเพลเถลไถล ผลกรรมของการปาณาติบาตนั้นแรงมากยาก ผ่อนผัน ชีวิตต้องเผชิยเคราะห็ร้ายเป็นกิจวัตร พึงสำนึกอยู่เสมอว่า ความสุขสบายไม่ได้ช่วยให้อายุยืน จำต้องชดใช้ชีวิตคืนเมื่อถึงเวลา.
สาเหตุที่เกิดมาอายุยืน
๑. : เว้นขาดจากการเข่นฆ่าทำร้ายชีวิตสัตว์น้อยใหญ่
๒. : ตักเตือนผู้อื่นให้ละเว้นการเข่นฆ่า
๓. : กล่าวชมเชยเมื่อเห็นผู้อื่นละเว้นการเข่นฆ่า
๔. : เกิดความสุขใจเมื่อเห็นผู้อื่นละเว้นการเข่นฆ่า
๕. : หาทางช่วยเหลือสัตว์ที่กำลังถูกฆ่า ถูกทรมาน
๖. : ปลอบขวัญให้กำลังใจแก่คนที่กำลังหวาดกลัว
๗. : คิดหาอุบายช่วยคนขวัญอ่อน
๘. : เห็นคนประสบเหตุเภทภัยก็บังเกิดความสงสาร
๙. : เห็นคนกลุ้มอกกลุ้มใจก็คิดหาวิธีช่วยเหลือ
๑๐. : บริจาคข้าวปลาอาหารแก่ผู้อดอยากหิวโหย
ด้วยเหตุแห่งกุศลกรรมทีได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงมีอายุยืน แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ไม่ได้เข่นฆ่าทำลาย ชีวิตสัตว์ แต่เอาสัตว์มาขังไว้ในกรงเลี้ยงดูอุดมสมบูรณ์ เช่นนี้อนาคต ชาติแม้ว่าได้อายุขัยที่ยืนยาวก็จริงอยู่ แต่ชะรอนชะตาชีวิตนั้นก็ถูกริดรอน ทอนบุญบางอย่างไปตามเหตุที่สร้างไว้ กล่าวคือเป็นคนที่มีอายุยืนแต่ขาด อิสรภาพต้องอยู่เฝ้าบ้านไปจนแก่ เพราะอำนาจแห่งกรรมจำกัดขอบเขต ไว้แล้ว การออกนอกบ้านแต่ละครั้งไม่วายมีเหตุให้ต้องรีบร้อนกลับบ้าน ด้วยความเป็นห่วง ชีวิตเช่นนี้ก็ไม่ต่างจากนกในกรงทองนั่นเอง.
สาเหตุที่เกิดมามีโรคมาก
๑. : ชอบทุบตีทรมานสัตว์อย่างโหดร้ายทารุณ
๒. : เรียกใช้ไหว้วานให้ผู้อื่นทำแทน
๓. : กล่าวชมเชยเมื่อเห็นผู้อื่นกระทำทารุณกับสัตว์
๔. : มีความสุขเมื่อเห็นคนกำลังจับสัตว์มาทรมาน
๕. : สร้างความหนักใจให้พ่อแม่เป็นทุกข์
๖. : ใส่ร้ายป้ายสีนักบวชผู้ทรงศีล
๗. : ดีใจเมื่อรู้ว่าศัตรูคู่อริล้มป่วยอาการหนัก
๘. : เห็นศัตรูคู่อริอาการดีขึ้นเกิดความไม่พอใจ
๙. : ใช้ยาปลอม จ่ายยาไม่ตรงโรค ไม่รักษาจรรยาแพทย์
๑๐. : กินตามใจปาก ไม่คำนึงถึงสภาพร่างกาย
ด้วยเหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงกลายเป็นคนขี้โรค กล่าวคือ มีโรคติดตัวมาตั้งแต่เกิด หรืออาจเป็นเมื่อโตขึ้น บาปกรรมที่ทำไว้คือโรคภัยที่เบียดเบียนความทุกข์ ทรมานเป็นผลมาจากแรงกรรม สามวันดีสี่วันไข้ไม่หยุดหย่อน โรคเรื้อรัง รักษากี่หมอผ่าตัดกี่ครั้งก็ยังไม่หาย วิทยาศาสตร์ตามไม่ทันเพราะโรคล้ำ หน้า เหตุจากจิตใจของมนุษย์ชั่วร้ายขึ้นทุกวัน ลองคิดดูสิว่าการแพทย์ เจริญแต่ทำไมผู้คนขยันเป็นโรคไม่หยุดหย่อน คนยุคใหม่ตายด้วยโรคมาก ที่สุด หากแก้ที่โรคไม่ได้ผลก็ลองหันมาแก้กรรมกันดูบ้าง.
สาเหตุที่เกิดมาห่างไกลจากโรคภัย
๑. : เว้นขาดจากการทุบตีหรือทรมานสัตว์
๒. : ตักเตือนผู้อื่นไม่ให้จับสัตว์มาทุบตีหรือทรมาน
๓. : กล่าวชมเชยเมื่อผู้อื่นล้มเลิกการทารุณสัตว์
๔. : เกิดความสุขใจเมื่อเห็นสัตว์ปลอดภัยจากถูกทรมาน
๕. : ปรนนิบัติรับใช้พ่อแม่หรือผู้ป่วยด้วยความเต็มใจ
๖. : ช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์ภัยฯ
๗. : เห็นศัตรูคู่อริหายจากโรคภัยก็เกิดความเจริญใจ
๘. : บริจาคยารักษาโรค
๙. : เกิดความสงสารเมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ทรมาน
๑๐. : บริโภคอาหารโดยคำนึงถึงสภาพร่างกาย
ด้วยเหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงมีสุขภาพดี กล่าวคือตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยชราความ ทุกข์ทรมานจากโรคภัยไข้เจ็บไม่มีย่างกรายมารบกวนแม้แต่น้อย เพราะ เหตุที่เคยได้ช่วยเหลือดูแลผู้อื่นไว้ในปางก่อน ชาตินี้จึงได้ร่างกายที่แข็ง แรงเป็นของขวัญ อีกทั้งเงินทองยังมีเหลือเอาไปทำบุญ เพราะการบุญ นั่นแล คือหลักประกันสุขภาพที่ได้ซื้อไว้ตั้งแต่ชาตินี้ ชาติหน้าไม่ต้องเสีย ทรัพย์เป็นเงินหมื่นเงินแสนเป็นค่ายารักษา อย่างนี้ก็มีความสุขไปตลอด ชีวิตดั่งคำพังเพยที่ว่า "ความไม่มีโรคคือลาภอันประเสริฐ" นั่นเอง.
สาเหตุที่เกิดมาอัปลักษณ์
๑. : อารมณ์หงุดหงิด ขุ่นเคือง โมโหง่าย
๒. : ฝังใจอาฆาตพยาบาทเคียดแค้น
๓. : ฉีกหน้า ไม่ไว้หน้า ทำให้คนอื่นขายขี้หน้า
๔. : ไม่ให้เกียรติผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส (หยามหน้า)
๕. : โกหกหลอกลวงต้มตุ๋น (ปั้นหน้า)
๖. : ใส่ร้ายป้ายสี (ทำผู้อื่นเสียหน้า)
๗. : ขัดขวางกีดกันไม่ให้คนทำดี
๘. : ทำลายสาธารณสมบัติ (หน้าตาของสังคม)
๙. : เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน (ตำแหน่งบังหน้า)
๑๐. : เห็นคนหน้าตาอัปลักษณ์ รังเกียจหัวเราเยาะ
ด้วยเหตุแห่งอกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ซาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงเป็นคนอัปลักษณ์ กล่าวคือ รูปร่างหน้าตาผิดแผกไป จากคนทั่ว ๆ ไปคือ รูปชั่ว ตัวดำดึก หน้าตาเหยเก ตัวเตี้ย แขนขาสั้น ฯ เหล่านี้เกิดจากใจอัปลักษณ์ เป็นผลกรรมที่มาถึงกาลสุกงอมในชาตินี้ เตือนหญิงชายอย่างหลงไหลรูปลักษณ์แค่ภาพพจน์เพียงภายนอก หากไม่ รู้จักยับยั้งชั่งใจใฝ่ทางชั่วกลั้วทางผิด มีหวังชาติหน้าได้อภิสิทธิ์รูปชั่วตัว อัปลักษณ์ สวยทางตรงคือสั่งสมความดี สวยชาตินี้ไม่กี่ปีก็สร่าง อยาก สวยอนันตกาลพึงบ่มความงามไว้ในจิตใจ.
สาเหตุที่เกิดมาหน้าตาดี
๑. : อารมณ์เยือกเย็นสุขุม อดทนอดกลั้น
๒. : มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจ
๓. : กล่าวชมเชยเมื่อเห็นคนทำความดี
๔. : ยกคุณงามความดีให้ผู้อื่น
๕. : สุภาพอ่อนโยนต่อผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส
๖. : สมทบทุนหรือจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการตกแต่ง
๗. : ดูแลทำความสะอาดสถานที่ปฏิบัติธรรม
๘. : ตกแต่งประดับประดาสถานที่ปฏิบัติธรรม
๙. : ให้เกียรติคนอัปลักษณ์โดยไม่คิดรังเกียจ
๑๐. : เชื่อว่ารูปร่างหน้าตา คือวาสนามาจากชาติก่อน
ด้วยเหตุแห่งอกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ซาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงมีรูปร่างหน้าตาดี กล่าวคือเป็นที่ต้องตาต้องใจของ ผู้คนที่พบเห็น ใครต่อใครก็ชื่นชมในความสวยความงาม กล่าวได้ว่า ไม่เป็นสองรองใคร เข้าตากรรมการทุกเหลี่ยมทุกมุม หากเกิดเป็นชาย ก็หล่อเหลาเอาการ เป็นสตรีก็สวยปานนางฟ้านางงามเป็นดาวดารา เป็น บุญตากับคนได้พบเห็น อย่างไรก็ดีหากสวยแล้วโอหังอีกทั้งยังถือดี สวย อย่างนี้ชื่อว่าสวยแค่กระพี้ประชาชีจะครหา หากสวยทั้งทียังคงไว้ซึ้ง ความดีคือ คุณสมบัติของกุลสตรีศรีเรือนนั่นเอง.
สาเหตุที่เกิดมาผู้คนรังเกียจ
๑. : มีใจอิจฉาริษยา
๒. : รู้สึกไม่พอใจไม่ว่าใครได้ดี
๓. : เห็นความฉิบหายล่มจมแล้วสะใจ
๔. : เห็นเขามีชื่อเสียงโด่งดังแล้วด่าว่าสาดเสียเทเสีย
๕. : เห็นเขาชื่อเสียงย่อยยับแล้วเกิดความสนุกสุขใจ
๖. : ทำลายสาธารณะสมบัติส่วนรวม
๗. : เป็นคนเนรคุณ หรือทรยศต่อผู้มีพระคุณ
๘. : ทำลายความสามัคคีให้แตกแยก
๙. : ขัดแย้งไม่ให้ผู้อื่นลงรอยกัน
๑๐. : ทำตัวเป็นอุปสรรค เป็นคนเจ้าปัญหา (ก่อกวน)
ด้วยเหตุแห่งอกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงเป็นที่รังเกียจของผู้คน กล่าวคือเป็นบุคคลที่สังคมไม่ ต้อนรับไม่ยินดีด้วย ถึงแม้เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้มาอยู่ในตำแหน่ง เป็นเจ้าใหญ่นายโต แต่สุดท้ายจะต้องถูกประท้วง ถูกขู่ ถูกทำร้ายจาก คนส่วนใหญ่คือประชาชนหรือลูกจ้างบริวาร สร้างความไม่พอใจจนถูก ขับไล่ไสส่ง บุคคลเมื่อมีบาปติดตัวมาเช่นนี้เข้าไปสู่สังคมใดก็จะนำความ ฉิบหายไปสู่สังคมนั้น กล่าวได้ว่าเป็นตัวเสนียด เป็นอัปมงคล พึงระวัง พฤติกรรมของบุคคลอันนำมาซึ่งความพินาศเช่นนี้แล.
สาเหตุที่เกิดมาผู้คนนิยมชมชอบ
๑. : ไม่มีใจอิจฉาริษยา
๒. : รู้สึกเบิกบานใจไม่ว่าใครได้ดี
๓. : เห็นความฉิบหายล่มจมก็แสงความเสียใจ
๔. : เห็นเขามีชื่อเสียงโด่งดังก็พลอยยินดีไปด้วย
๕. : เห็นเขาชื่อเสียงย่อยยับก็คิดหาทางช่วยเหลือ
๖. : บริจาคสิ่งปลูกสร้างเป็นสาธารณะสมบัติมากมาย
๗. : ประกาศคุณงามของผู้มีพระคุณให้ฟุ้งขจร
๘. : ส่งเสริมความสามัคคีให้เกิดขึ้น
๙. : สมานความขัดแย้งที่แตกร้าวให้ลงรอยกัน
๑๐. : คลี่คลายปัญหา เป็นที่ปรึกษาไขข้อข้องใจ
ด้วยเหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงเป็นที่ชื่นชอบของผู้คน กล่าวคือเป็นบุคคลที่มหาชนให้ ความเคารพยกย่องอย่างท่วมท้นล้นหลาม พูดได้ว่าเป็นคนของประชาชน เป็นบุคคลแถวหน้าระดับผู้นำประเทศ ผู้นำกองทัพ ผู้นำองค์กรต่าง ๆ อีกทั้งบุคคลซึ่งเป็นขวัญใจของมหาชนที่ให้การต้อนรับอย่างคับคั่งไม่ว่า แฟนเพลง แฟนหนัง แฟนละคร แฟนฟุตบอล เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เนื่อง จากอำนาจแห่งกรรมดีที่สั่งสมไว้เป็นบารมีแผ่นไพศาลดั่งสนามแม่เหล็กซึ่ง ดึงดูดความนิยมและครองใจมหาชนไว้ตราบนานเท่านาน.
สาเหตุที่เกิดมาต่ำต้อย
๑. : ทำตัวเย่อหยิ่งยโส จองหองลำพองตน
๒. : ไม่เคารพบิดามารดา ซ้ำดูถูกเหยียดหยาม
๓. : ไม่เคารพผู้มีพระคุณ ฯ
๔. : ไม่เคารพนักบวช ผู้ทรงศีล ฯ
๕. : ไม่เคารพต่อครูบาอาจารย์ ฯ
๖. : ไม่ให้เกียรติผู้ประพฤติพรหมจรรย์
๗. : ไม่เต็มใจรับใช้ผู้อาวุโสกว่า
๘. : ไม่มีสัมมาคารวะ ความอ่อนน้อมถ่อมตน
๙. : ปฏิเสธความหวังดีที่พ่อแม่พร่ำเตือนอบรมสั่งสอน
๑๐. : กดขี่ข่มเหงลูกจ้างบริวาร
ด้วยเหตุแห่งอกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงเป็นคนต่ำต้อย กล่าวคือเป็นบุคคลที่ผู้อื่นดูถูกเหยียด หยาม เป็นคนไม่มีเกียรติ ไม่มีศักดิ์ศรีในสายตาของใคร ๆ (ดูไม่ขึ้น) ต้อง ใช้ชีวิตอยู่อย่างต่ำต้อยด้อยค่า ถึงความชั่วไม่มีแต่ความดีที่ปรากฏก็ไม่มี คนเห็น มักถูกมองข้ามเสมอแม้เป็นเจ้าของผลงานหรือถูกผู้อื่นฉวยเอา ประโยชน์ไป หากไม่ถูกกลั่นแกล้งก็ถูกโกงเงินค่าจ้างค่าแรง ถูกใช้แรง งานอย่างกดขี่ ชีวิตต้องเร่ร่อนหากินด้วยการแบมือขอและยกมือไหว้ซึ่ง เป็นกรรมแต่ปางก่อนที่ไม่เคยให้ความเคารพใคร ๆ นั่นเอง.
สาเหตุที่เกิดมาสูงศักดิ์
๑. : ไม่เป็นคนเย่อหยิ่งยโส จองหองลำพองตน
๒. : เคารพบิดามารดา
๓. : เคารพผู้มีพระคุณ
๔. : เคารพผู้ออกบวช ผู้ทรงศีล นักบุญ
๕. : ให้เกียรติผู้บำเพ็ญพรหมจรรย์
๖. : เคารพครูบาอาจารย์
๗. : เต็มใจรับใช้ผู้สูงอายุ
๘. : มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน
๙. : รับฟังคำว่ากล่าวตักเตือน
๑๐. : มีความกรุณาต่อลูกจ้างบริวาร
ด้วยเหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงสูงศักดิ์ กล่าวคือเป็นบุคคลที่มีเกียรติ มีบารมี มียศ ศักดิ์ เป็นที่นับหน้าถือตาและเคารพยำเกรงของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นผู้มี ฐานะหรือชนชั้นธรรมดา กล่าวได้ว่ามหาชนให้ความเคารพยกย่องและ สรรเสริญ บุคคลเหล่านี้มักถูกเชิญไปเป็นเกียรติ เป็นประธาน เป็นผู้ มอบของรางวัลในพิธี รัฐพิธี หรือพระราชพิธีต่าง ๆ อย่างไรก็ดีบุคคล เช่นนี้เมื่อเข้าไปอยู่ร่วมในสังคมใดก็จะเป็นสิริมงคลนำมาซึ่งความรุ่งเรือง รุ่งโรจน์สู่สังคมนั้นนั่นเอง.
สาเหตุที่เกิดมายากจนขัดสน
๑. : ตระหนี่ถี่เหนียว
๒. : ปล้นชิงวิ่งราว ลักเล็กขโมยน้อย
๓. : เสี้ยมสอนให้ผู้อื่นเป็นขโมย หรือชี้ช่องทาง
๔. : กล่าวชมเชยเทคนิคในการลักขโมย
๕. : รู้เห็นเป็นใจกับแก๊งมิจฉาชีพ ๑๘ มงกุฏ
๖. : รีดไถพ่อแม่จนอัตคัดฝืดเคือง
๗. : เบียดเบียนจตุปัจจัยของนักบวช ผู้ทรงศีล
๘. : เห็นเขามั่งคั่งร่ำรวยเกิดจิตคิดละโมบ
๙. : ขัดขวางผลประโยชน์ที่ผู้อื่นจะได้รับ
๑๐. : โขกสับคนจนอย่างไม่ปราณี
ด้วยเหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงยากจน กล่าวคือมีฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างอัตคัด ขัดสนในปัจจัย ๔ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีพเป็นต้นว่าที่พักอาศัย ไม่มีเป็นของตน ต้องขออาศัยหรือเช่าทำมาหากิน บ้างขาดแคลนเสื้อผ้า สวมใส่ต้องทนเหน็บหนาวทุกข์ทรมาน บ้างข้างปลาอาหารไม่พอกินพอใช้ อด ๆ อยาก ๆ หาเช้ากินค่ำหรือต้องขอเขากิน บ้างยามเจ็บไข้ได้ป่วยเงิน ทองไม่เพียงพอค่าเยียวยารักษา ชีวิตมีหนี้สินล้นพ้นตัวเพราะมีเหตุให้เสีย ทรัพย์อยู่เสมอ กล่าวได้ว่าตกอยู่ในสภาพยากจนขัดสนชั่วชีวิตนั่นเอง.
สาเหตุที่เกิดมามั่งคั่งร่ำรวย
๑. : ใจบุญสุนทาน ชอบเผื่อแผ่แบ่งปัน
๒. : บริจาคทรัพย์สินเงินทองเป็นจำนวนมาก
๓. : ฝึกฝนผู้อื่นให้รู้จักการให้ การอุทิศเสียสละ
๔. : เห็นผู้อื่นทำบุญบริจาคก็บังเกิดจิตอนุโมทนา
๕. : กล่าวชมเชยผู้อุทิศตนบำเพ็ญประโยชน์
๖. : ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
๗. : พบเห็นคนอดอยากยากจนเกิดความสงสาร
๘. : ปรนนิบัติรับใช้พ่อแม่ไม่ขาดตกบกพร่อง
๙. : ถวายจตุปัจจัยแก่นักบวช ผู้ทรงศีล
๑๐. : เห็นเขาได้รับผลตอบแทนก็พลอยปลาบปลี้มยินดี
ด้วยเหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงมั่งคั่งร่ำรวย กล่าวคือเป็นบุคคลที่มีฐานะความเป็นอยู่ ค่อนข้างสุขสบาย เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี เป็นเจ้าของมรดกฯ ชีวิตอุดม ด้วยปัจจัย ๔ และเงินทองทรัพย์สมบัติโชคลาภวาสนา กล่าวได้ว่าเกิดมา บนกองเงินกองทอง ไม่ต้องตรากตรำลำบากก็มีกินมีใช้จนชั่วชีวิต แต่ อย่างไรก็ดีหากชาตินี้ไม่สร้างบุญตุนไว้เป็นทุนสำรอง เท่ากับกินบุญเก่า ให้หมดไป เกิดชาติใหม่ไร้คนอุปถัมภ์ต้องถอยหลังไปเริ่มต้นตั้งหลักกว่า จะกรุยทางสร้างตัวขึ้นมาได้ก็ต้องรอจนถึงบั้นปลายชีวิตนั่นเอง.
สาเหตุที่เกิดมาโง่เขลาเบาปัญญา
๑. : คบคนพาลเป็นมิตร (โง่เขลา, ชั่วร้าย)
๒. : เอาความรู้ความฉลาดไปใช้ในทางผิด
๓. : ไม่ได้ใช้ความรู้ความฉลากแยกแยะผิดชอบชั่วดี
๔. : เห็นเขามีความรู้การศึกษาเกิดความไม่สบายใจ
๕. : หวงแหนวิชาความรู้ อมภูมิไม่เปิดเผย
๖. : ปิดกั้นโอกาสในการเรียนรู้ (เผาโรงเรียน)
๗. : ยกย่องชมเชยคนทำความผิด
๘. : รังเกียจเหยียดหยามคนโง่เขลาเบาปัญญา
๙. : ความคิดมิจฉา ขัดแข้งกับเหตุผล เชื่อเรื่องงมงาย
๑๐. : ลบหลู่พระธรรมคำสอน ฯ
ด้วยเหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงโง่เขลาเบาปัญญา กล่าวคือเป็นบุคคลที่มีความคิดอ่าน ที่ตื้นเขิน พัฒนาการด้านสมองค่อนข้างเชื่องช้าเป็นต้นว่า หัวทึบ หัว ขี้เลื่อย สมองฝ่อ ความจำเสื่อม ไอคิวเตี้ย ไอเดียต่ำ ปัญญานิ่มฯ บุคคลเหล่านี้มีพฤติกรรมไม่เหมือนคนปกติ มักสับสนในตนเอง เข้าใจ เรื่องราวต่าง ๆ ได้ยากแม้ว่าเป็นเรื่องง่าย ๆ ของคนทั่วไป ชีวิตจึงหมด โอกาสทางด้านการศึกษา กล่าวได้ว่าเป็นบุคคลที่ตกอยู่ในสภาพเป็นรอง ผู้อื่นทางด้านความคิดไปตลอดชีวิตนั่นเอง.
สาเหตุที่เกิดมาฉลาดปราดเปรื่อง
๑. : คบหาสมาคมกับบัณฑิต (ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์)
๒. : แบ่งปันความรู้ให้คำปรึกษาเป็นวิทยาทาน
๓. : ส่งเสริมผู้คนให้เห็นความสำคัญของวิชาความรู้
๔. : ถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความเต็มใจ
๕. : เปิดโลกการศึกษาให้ชนทุกชั้น
๖. : ยกย่องชมเชยความคิดสร้างสรรค์
๗. : รู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี
๘. : ไม่รังเกียจเหยียดหยามคนโง่เขลาเบาปัญญา
๙. : ความคิดเที่ยงตรง รับฟังเหตุผล ไม่หลงงมงาย
๑๐. : จรรโลงพระธรรมคำสอนฯ
ด้วยเหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงฉลาดปราดเปรื่อง กล่าวคือเป็นบุคคลที่มีความคิดสติ ปัญญาเฉียบแหลม ไหวพริบปฏิภาณดีเยี่ยม พัฒนาการทางสมองโดด เด่น เรียนรู้ได้ไว มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ รู้รอบและรอบรู้ สารพัด บุคคลเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มผู้บริหาร นักวิเคราะห์ นักวางแผน ครู อาจารย์ ด็อคเตอร์ ศาสตราจารย์หรือนักวิทยาศาสตร์ซึ่งมีบทบาท ด้านวิจัย ด้านความรู้และการศึกษา กล่าวได้ว่าข้อได้เปรียบของบุคคล เหล่านี้คือมีความคิดและสติปัญญาที่เป็นเลิศนั่นเอง.
สาเหตุที่ไปเกิดเป็นสัตว์นรก
๑. : พอใจในการทำลายชีวิตคนหรือสัตว์ให้ตกล่วง
๒. : พอใจในการลักขโมย ทุจริต ฉ้อโกง ยักยอก
๓. : พอใจในการประพฤติผิดหญิงชาย (ทั้งที่เต็มใจหรือข่มขืน)
๔. : พอใจในการพูดโกหกหลอกลวงปลิ้นปล้อน
๕. : พอใจในการพูดจาเหลวไหลไร้สาระ
๖. : พอใจในการวิจารณ์นินทา ส่อเสียด ให้ร้ายป้ายสี
๗. : พอใจในการพูดจาหยาบคาย ด่าประณาม สาปแช่ง
๘. : พอใจในความอยากได้เป็นเจ้าของ (โดยไม่ชอบธรรม)
๙. : พอใจในการปองร้ายหรือวางแผนลอบทำร้ายผู้อื่น
๑๐. : พอใจในความคิดตามแบบฉบับของตน (ไม่สนถูกผิด)
สาเหตุที่ไปเกิดเป็นเปรต
๑. : ตระหนี่ถี่เหนียว เห็นแก่ตัว
:โลภในทรัพย์สินเงินทอง
๒. : ไม่ยินดีในการบริจาคให้ทาน
: เพราะคิดว่าไม่มีผลกำไร
๓. : ทุจริต หลอกลวง ฉ้อราษฎร์บังหลวง
๔. : หาประโยชน์ในทางมิชอบ
: ใช้อำนาจบังคับกดขี่ข่มเหง
๕. : ตัดสินบน ใช้ตำแหน่งบังหน้าหากิน
๖. : รีดไถ เก็บส่วน รีดนาทาเร้น ข่มขู่
๗. : ฉกชิงวิ่งราว เลี้ยงปากท้องด้วยมิจฉาอาชีพ
๘. : ปล่อยเงินกู้เรียกเก็บดอกเบี้ยอย่างขูดเลือดขูดเนื้อ
๙. : ทุบตีพ่อแม่ ใช้วาจาหยาบคาย เป็นคนเนรคุณ
๑๐. : ทำลายเครื่องให้ทานที่มีผู้นำไปถวายพระสงฆ์องค์เจ้าฯ
สาเหตุที่ไปเกิดเป็นอสุรกาย
๑. : มีใจอิจฉาริษยาเมื่อเห็นคนอื่นได้ดีกว่า
๒. : หยิ่งยโส อวดดี ทะนงตน ใจมีอคติ
๓. : ดื้อรั้นเอาแต่ใจตนเอง
๔. : มารยาทต่ำทราม หยาบคาย
๕. : แก้ตัว มีแต่ข้ออ้าง ไม่รับผิดชอบ โยนความผิดให้ผู้อื่น
๖. : บันดาลโทสะ โกรธง่าย โมโหร้าน อารมณ์รุนแรง
๗. : ชอบกลั่นแกล้ง ทดสอบ ลองภูมิ เย้ยหยัน
๘. : มีจิตอาฆาตพยาบาลเคียดแค้น ไม่รู้จักให้อภัย รอทวงคืน
๙. : ใจคออำมหิตดุร้าย นิยมการทำลายใช้กำลัง เป็นอันธพาล
๑๐. : มีนิสัยชอบความฉิบหาย ชอบทำสงคราม ยกพวกตีกัน
สาเหตุที่ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
๑. : เบียดเบียนชีวิตคนสัตว์ไม่เว้น (เกิดเป็นสัตว์หนีการตามล่า)
๒. : กู้หนี้ยืมสินไม่ชดใช้คืน (เป็นช้างม้าวัวควายใช้แรงงาน)
๓. : มักมายในกามราคะ ไม่รู้พอ (เป็นสัตว์ผสมพันธุ์ไม่เลือกหน้า)
๔. : ปากเป็นอาวุธสร้างวจีกรรมหนำใจ (เป็นสัตว์น้ำใช้ปากหายใจ)
๕. : มัวเมาในรสสุรายาเสพติดฯ (เป็นสัตว์ที่กินของสกปรก)
๖. : ทรยศต่อผู้มีคุณ ประเทศชาติบ้านเมือง
๗. : เชื่อว่าตายแล้วยังได้กลับมาเกิดเป็นคนอีกแม้ว่าทำชั่ว
๘. : เชื่อว่าชีวิตสัตว์ไม่ได้มาจากคน คนตายแล้วก็จบสิ้น
๙. : เช้าใจว่ากฎแห่งกรรมเป็นเรื่องงมงาย ชีวิตหลังความตายไม่มี
๑๐. : เชื่อว่าการเหนือเกิดพ้นตายเป็นเรื่องเกินความจริง
สาเหตุที่ไปเกิดเป็นมนุษย์
๑. : เว้นขาดจากการเบียดเบียนทำลายชีวิตคนสัตว์
๒. : เว้นขาดจากการขโมยของผู้อื่นเป็นของตน
๓. : เว้นขาดจากการประพฤติผิดหญิงชาย
๔. : เว้นขาดจากการใช้วาจาคำพูดไปสร้างความเสียหาย
๕. : เว้นขาดจากการเสพสุรายาเสพติด
๖. : มีใจเมตตาโอบอ้อมอารี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
๗. : ทำมาหากินในทางสุจริต ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่เห็นแก่ตัว
๘. : รู้จักผิดชอบชั่วดี บาปบุญคุณโทษ
๙. : มีมารยาท วาจาสุภาพไม่หยาบคาย มีสัมมาคารวะ
๑๐. : ใช้ความคิดสติปัญญาในทางที่ชอบ
สาเหตุที่ไปเกิดเป็นเทพเทวา
๑. : มีใจเกรงกลัวและละอายต่อบาป
๒. : นิยมการทำบุญ บริจาคให้ทานอยู่เสมอ
๓. : มีจิตเมตตาสงสาร ชอบช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก
๔. : ประพฤติตนอยู่ในศีล
๕. : ใจเย็น สุขุม รู้จักควบคุมอารมณ์ รู้จักให้อภัย
๖. : มีวินัย เจ้าระเบียบ รักความสะอาดเรียบร้อย
๗. : พูดจาอ่อนหวาน ไพเราะเสนาะหู
๘. : มีความจริงใจ อัธยาศัยที่ดี เป็นมิตรกับทุกคน
๙. : รักษาสัจจะ ไม่ผิดคำพูด รักความยุติธรรม
๑๐. : เป็นผู้เจริญธรรม ชอบศึกษาใฝ่หาธรรม ยึดมั่นในความดี
อกุศลกรรมสิบ คือ ทานที่ไม่ควรดำเนิน ๑๐ ประการ เพราะให้ผลไปในทางเสื่อม เมื่อผู้ใดได้กระทำลงไปจะเป็นเหตุให้ชีวิตผู้นั้นต้องได้รับผลดังต่อไปนี้
๑. เข่นฆ่าชีวิต คนสัตว์ไม่ละเว้น
ผลที่จะได้รับจากการกระทำเหตุเช่นนี้ มากน้อยแตกต่างกันขึ้น อยู่กับความรุนแรงของการกระทำเช่น ผู้ที่ฆ่าสัตว์ใหญ่จำพวก วัว ควาย หมู จะบาปและรับผลรุนแรงกว่าการฆ่า มด ปลวก ยุง ฯ ทั้งนี้เพราะ กรรมวิธีและระยะเวลาของการกระทำบาปนั้นมีมากกว่า ทำให้จิตเก็บ อารมณ์นั้นได้มากกว่า ผลต่าง ๆ ที่จะได้รับจากการฆ่าสัตว์นี้มีมากมาย แตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นไปตามลักษณะและอาการของสัตว์ที่เราได้ทำร้าย หรือทรมานเพื่อให้ตาย เพราะการที่เราได้กระทำปาณาติบาตออกไปนั้น จะทำให้เราต้องได้รับผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
๑. ร่างกายทุพพลภาพ
กล่าวคือ เกิดมาพิการแต่กำเนิด หรือได้รับอุบัติเหตุแล้วเสียอวัยวะกลายเป็น คนพิการ
๒. รูปไม่งาม
เช่น ขี้ริ้วขี้เหร่ รูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ ไม่มีเสน่ห์ เป็นเหมือนอาการของสัตว์ ที่ถูกทำร้ายหรือกำลังบาดเจ็บ
๓. กำลังกายอ่อนแอ
กล่าวคือ มีอาการอยู่ในสภาพเดียวกับสัตว์ที่ได้ทำร้ายและใกล้ตายนั่นเอง
๔. กำลังปัญญาไม่ว่องไว
เพราะสัตว์ที่กำลังจะตาย ย่อมมีแต่ความมืดบอด คิดอะไรก็ไม่ออก
๕. เป็นคนขลาดหวาดกลัวง่าย
เพราะสัตว์ทุกชนิดย่อมรักชีวิต เมื่ออยู่ในภาวะที่กำลังถูกทำร้ายเพื่อให้ตาย ย่อมมีความขลาดหวาดกลัวอย่างรุนแรง
๖. กล้าฆ่าตนเอง หรือถูกฆ่า
เพราะเราได้ฆ่าชีวิตอื่นไว้ ชีวิตของเราก็อาจต้องถูกฆ่าในชาติต่อ ๆ ไป แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นสัตว์ตัวที่เราฆ่านั้นกลับมาฆ่าเรา เพียงแต่เป็นเหตุผลผลักดันให้เราถูกฆ่าโดยใครหรือสัตว์ใดก็ได้ และ การฆ่าสัตว์บ่อย ๆ จากสัตว์เล็ก ๆ จะทำให้มีอำนาจกล้าฆ่าสัตว์ที่ใหญ่ ขึ้น ในที่สุดความกล้านี้จะมีอำนาจทำให้สามารถกล้าฆ่าตนเองซึ่งเป็น ชีวิตที่เรารักที่สุดได้
๗. พินาศในบริวาร
กล่าวคือ ทำให้ชีวิตของเรานั้นไม่มีใครอยากอยู่ด้วย เช่นมีคนใช้ก็อยู่ ไม่ทนต้องเปลี่ยนแล้วเปลี่ยนอีก หรือเป็นหัวหน้างาน ก็มีลูกน้องที่ไม่ จริงใจ ไม่ซื่อตรง เป็นต้น
๘. โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน
กรณีนี้แล้วแต่อาการที่ได้กระทำต่อสัตว์นั้น เช่น คนบางคนชอบฆ่าสัตว์ โดยการใช้ไฟหรือน้ำร้อนลวกพวกมด หนู ฯลฯ คนเหล่านี้มักจะได้รับผล จากการถูกไฟครอก หากไม่ตายก็ถึงขึ้นพิการ หรือเสียโฉมไปตลอดชีวิต หรือบางคนมีการกระทำที่ทรมานสัตว์ เช่น จับปลาไหลที่ยังมีชีวิตอยู่ เอา ตะขอเกี่ยวไว้ที่ปาก และแขวนไว้จากนั้นก็นำใบไม้มารูด เอาเมือกและหนัง มันออก ทำให้สัตว์นั้นได้รับความทรมานจนตาย ผลที่ได้รับในชาติต่อไป ของคนพวกนี้คือเมื่อเกิดมาอาจจะต้องเป็นพวกที่พิการอวัยวะส่วนใดส่วน หนึ่งเป็นต้นว่า เพดานปากโหว่ จมูกแหว่ง ปากบิดเบี้ยว หรือเกิดการแพ้ยา ผลก็คือทำให้เกิดลักษณะและอาการที่ทำให้คล้ายกับถูกไฟลวก ผิวหนังถลอก ปอกเปิก ได้รับความทรมานปวดแสบปวดร้อน เป็นต้น หรือบางคนชอบทำร้าย สัตว์โดยการกรีดทำให้เกิดบาดแผล หรือบางกลุ่มคนมีความเห็นที่ผิดว่าถ้าได้ กินเลือดสัตว์บางชนิดจะทำให้แข็งแรงกระชุ่มกระชวย จึงมีการกรีดเพื่อเอา เลือดสัตว์ที่ยังเป็น ๆ อยู่มาดื่มกิน ผลที่คนพวกนี้ได้รับคืนมีโรคภัยไข้เจ็บที่ ต้องเข้ารับการผ่าตัดอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นเหล่านี้เป็นต้น
๙. อายุสั้น
โดยปกติคนเราจะมีอายุขัยประมาณ ๗๕ ถึง ๑๐๐ ปีทั้งนี้ถ้าผู้ใดตายก่อนอายุ ขัยแสดงว่าผู้นั้นได้เคยฆ่าสัตว์ แล้วแต่ความรุนแรงของกรรมที่กระทำมา การรับผลของกรรมในการกระทำเช่นนี้ หรือที่คนทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า "ชด ใช้หนี้กรรม" นั้นไม่มีวันหมดสิ้นถ้าตราบใดที่เรายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่
แต่ความรุนแรงที่ได้รับอาจเบาบางลง อย่างเช่นชาติที่แล้วเรามี จิตใจที่โหดร้าน ชอบฆ่าสัตว์และทรมานสัตว์เป็นประจำ มีเวลาว่างชอบ ออกล่าสัตว์ป่าเป็นเกมกีฬา แต่ในขณะเดียวกันก็ทำบุญใส่บาตรทุกวัน เมื่อใกล้ถึงเวลาจวนจะสิ้นลม จิตจับอารมณ์ของการใส่บาตรซึ่งเป็นกุศล จึงทำให้ได้เกิดเป็นคนในชาติถัดไป แต่อาจเป็นคนพิการมาแต่กำเนิดคือ รูปไม่งาม หรือในชาติต่อ ๆ ไปอาจเกิดมาเป็นคนที่สมบูรณ์ แต่ว่าอายุสั้น หรือมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ต้องเทียวเข้าเทียวออกโรงพยาบาล ถูก ผ่าตัดครั้งแล้วครั้งเล่า ในขณะที่ชาติต่อๆ ไปบางชาติอาจเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ถึงกับต้องผ่าตัด แต่อาจเป็นโรคภูมิแพ้ โดนฝนก็เป็นหวัด แดด ร้อนมากก็ไม่สบาย ครอบครัวที่มีลูกหลายคน แต่พบว่าลูกบางคนจะ ต้องมีเหตุหกล้มเลือดตกยางออก ต้องไปเย็บแผลกันเป็นประจำ ทั้งที่ สุขภาพร่างกายก็แข็งแรงไม่คอยเป็นอะไร เหตุการณ์เช่นนี้มักเกิดกับเด็ก ผู้ชาย เพราะมีอำนาจของอสังขาริก กล่าวคือ ทำอะไรเด็ดเดี่ยวเด็ดขาด ฉะนั้น บาปที่ทำมาก็กล้าที่จะทำอย่างเด็ดเดี่ยว เป็นต้น
ผลเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราได้รับเช่นนี้บางคนเรียกกันว่า "เศษกรรม" ตัวอย่างเช่น ทำให้เป็นคนขลาดหวานกลัวง่าย ที่เราได้พบเห็นจากคน บางคน คือ พอตกกลางคืนในขณะที่คนอื่นนอนกันหมด ตัวเองกลับมี ความกังวลนอนไม่หลับ จะต้องลงมาเดินย่องดูประตูหน้าต่างว่าปิดสนิท หรือไม่ เพราะกลัวว่าจะมีผู้ร้ายปืนเข้าบ้าน หรือคนบางคนจะทำอะไรก็ กลัวโดนดุ หรือบางคนมีลูกก็กลัวลูกจะไม่สบาย กลัวลูกสอบตก กลัว ลูกสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ กลัวลูกตกงาน กล่าวได้ว่ากลัวไปร้อยแปด พันประการ หรือที่เรียกกันว่าฟุ้งซ่านนั่นเอง
ในปัจจุบันโรคภัยไข้เจ็บนับวันจะทวีความน่ากลัวมากยิ่งขึ้น เช่น โรค มะเร็ง ซึ่งทุกวันนี้มีคนเป็นมะเร็งกันมาก แต่ก็ยังไม่สามารถติดต่อได้แพร่ หลายเท่ากับโรคที่เพิ่งจะรู้จักใหม่นั่น คือ โรคเอดส์ โรคซาร์ส ซึ่งติดต่อ กันได้และเป็นโรคที่ร้ายแรง นับว่าจะเพิ่มจำนวนผู้ป่ายขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งถ้าเรายอมรับตามพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงสอนว่า โรคภัยไข้เจ็บ นั้นเป็นผลเกิดจากเหตุที่เราได้ฆ่าสัตว์ และทรมานสัตว์มาแต่อดีตชาติ แล้วเราลองมาพิจารณาดูว่าทำไมโรคนี้สมัยก่อนจึงไม่มี แต่สมัยนี้นับวัน โรคจะมีมาแปลก ๆ และพิสดารน่ากลัวมากขึ้น ถ้าเราลองมาศึกษาสาเหตุ และเปรียบเทียบพฤติกรรมของคนรุ่นก่อนกับคนรุ่นหลังแล้วจะเห็นว่า คุณธรรมของคนโบราณนั้นมีมากกว่าคนสมัยใหม่ซึ่งต้องประสบปัญหา รอบด้าน ในสมัยก่อนนั้นโจรผู้ร้านมีน้อย หัวขโมยจะย่องเข้าบ้านใคร ก็ต้องยามดึก รอให้เจ้าของบ้านหลับเสียก่อน ถ้าเจ้าของบ้านตื่นขึ้นมา พบก็จะเผ่นหนี แต่ในปัจจุบันนี้แม้กระทั่งกลางวันก็มีวิธีการเข้าไปหลอก ล่อและกระทำทารุณกรรมเจ้าทรัพย์ ซึ่งเราได้พบเห็นบ่อยครั้งจากหน้า หนังสือพิมพ์ ดังนั้น การกระทำปาณาติบาตนับวันจะแปลกและพิสดาร มีกรรมวิธีที่ซับซ้อนและน่ากลัวมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุที่ทำให้ผล ที่จะเกิดขึ้นต้องพิสดารและน่ากลัวขึ้นตามเหตุที่ได้กระทำนั่นเอง.
๒. ลักขโมย ยักยอก ฉ้อโกง
หมายถึง การลักทรัพย์ รวมไปถึงการฉ้อโกง ยักยอก หยิบฉวย โดยที่เจ้าของไม่ได้อนุญาต
ผลของบาปนั้นจะหนักหรือเบาขึ้นอยู่กับว่าได้ทำครบองค์ประกอบ หรือไม่เช่น การถือวิสาสะหยิบของผู้อื่นมาใช้ด้วยความคิดว่าเป็นคนกัน เองนั้น เท่ากับเป็นการสะสมความเคยชินในทางที่ผิด เพราะเมื่อกระทำ บ่อย ๆ เข้าจะเกิดความชำนาญ กล้าที่จะหยิบของผู้อื่นมากขึ้น ในที่สุด ก็จะเป็นขโมยอย่างแท้จริงได้ในวันข้างหน้า ทั้งนี้ผู้ที่ได้กระทำการลักขโมย ออกไปนั้น จะทำให้ได้รับผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
๑. ด้อยทรัพย์
กล่าวคือ ทำให้ต้องเกิดในครอบครัวที่มีฐานะ ต่ำ เมื่อโตแล้วก็มีความยากลำบากในการ สร้างฐานะ แม้จะทำงานได้เงินเดือนสูงแต่ ก็ไม่เคยพอใช้ เป็นต้น
๒. ยากจน
อาจเป็นเพราะเกิดในตระกูลต่ำทำให้ชีวิตต้อง ดิ้นรนเพื่อหาเงินมา บางคนอาจมีวิบากดีของ การทำทานมาในอดีตชาติ แต่ผลของกรรม ที่ทำมาในข้อนี้รุนแรงกว่ามาก แม้ชาตินี้จะมี โชคถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ ๑ ก็ไม่สามารถที่จะรักษาทรัพย์นั้นได้ มีการ ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายและถูกปอกลอกไปจนหมด ตัวอย่างเช่นนี้เคยมีข่าวใน หน้าหนังสือพิมพ์รายวันฉบับหนึ่งว่า คนถีบสามล้อที่มีฐานะยากจนแต่มี กรรมตัดรอนฝ่ายดีทำให้กลายเป็นเศรษฐี ในระยะเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น เงินทองที่มีอยู่ก็หมด ต้องกลับมารับจ้างถีบสามล้อตามเดิม ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเหตุในอดีตเขาได้กระทำอทินนาทาน ฉ้อโกงคนอื่นเอาไว้มาก จึง ต้องได้รับผลหนักเช่นนี้ บางคนอาจเกิดมาอยู่ในฐานะที่ดีมีเงินทอง แต่ ทำงานได้เงินมาเท่าไรต้องให้ภรรยาหมด ตนเองต้องเบิกจากภรรยามา ใช้เป็นรายวัน เช่นนี้ก็จัดอยู่ในผลของความยากจน แต่เป็นเศษกรรม
๓. อดอยาก
กล่าวคือ มีชีวิตอยู่อย่างแร้นแค้น อด ๆ อยาก ๆ ซึ่งอาจเป็นผลที่ได้ รับพร้อมกับการด้อยทรัพย์ หรือ ยากจน จึงทำให้มีความอดอยาก แต่ในบางครั้ง ผลเหล่านี้อาจเป็น เศษกรรมของผู้มีฐานะก็ได้ เช่น บางครั้งมีเงินแต่ไม่สามารถซื้อหาอาหารได้ ทำให้ต้องอดอาหารในบางมื้อ หรือคนรวยบางคนมีความตระหนี่ไม่ค่อยซื้ออะไร คอยเก็บของเหลือจาก ลูกมารับประทานเพราะความเสียดาย หรือบางคนที่เรามักจะพบเห็น บ่อย ๆ ว่าเป็นคนมีเงินก็ไม่ค่อยซื้ออะไร แต่พอเห็นของกินเมื่อไรเป็นต้อง ขอชิมเมื่อนั้น เป็นต้น
๔. ไม่ได้ในสิ่งที่ตนปรารถนา
กล่าวคือ เป็นผู้ที่ได้รับความผิดหวัง บ่อย อยากได้ของอะไรก็ไม่มีเงิน ซื้อ หรือมีเงินซื้อแต่ของสิ่งนั้นถูก คนอื่นแย่งซื้อตัดหน้าไป ทั้งนี้ก็ เพราะเราไม่เคยเบียดเบียนทรัพย์ ของผู้อื่นมาก่อนนั่นเอง
๕. พินาศในกิจการค้าและการลงทุน
กล่าวคือ ไม่มีความเจริญในกิจการงาน ลงทุนไปเท่าไรก็ถูกคนอื่นโกง หรือ ทำกิจการค้าอะไรก็ขาดทุน เล่นหุ้นเท่าไร ก็หมด เราอาจเห็นตัวอย่างได้ในกิจการ บางอย่างที่เจริญมาก ซึ่งทำเงินให้กับ ผู้ลงทุนอย่างมหาศาล แต่ก็มีบางรายทำแล้วเจ๊ง ต้องมีอันล้มละลาย ทั้งที่อุตส่าห์กู้เงินเอามาลงทุน แต่ทำไปไม่เท่าไรกิจการเสียหายหมด ไม่ได้ผลซ้ำยังต้องมาเป็นหนี้ธนาคาร ทำให้ฐานะยากจนลง หรือในยุค หนึ่งมีแชร์รายใหญ่ชื่อเสียงโด่งดังมาก คนอื่น ๆ เล่นได้ดอกผลมามากมาย แต่เมื่อเราไปเล่นบ้างก็เป็นช่วงจังหวะที่เกิดการล้มและถูกจับ มีผลทำให้ บางคนต้องด้อยทรัพย์ตามมาเหล่านี้ เป็นต้น.
๖. พินาศเพราะภัยพิบัติ
เช่น อัคคีภัย อุทกภัย โจรภัย ราชภัย (ทางการ) เป็นต้น ปัจจุบันนี้ นับว่าชีวิตของเราจะต้องเจอะเจอกับภัยต่าง ๆ ทั้งภัยที่เกิดจาก ธรรมชาติ และภัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นผลจากการกระทำของเราเองที่ได้เคยทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือด ร้อนต้องสูญเสียทรัพย์มาแล้วในอดีตชาติ ผลที่ได้รับจึงทำให้ชาตินี้เรา ต้องประสบสภาวะเดือดร้อน เช่น น้ำท่วมบ้านทำให้เกิดการเสียหาย ทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่นเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ของ ภาคใต้ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อปีพ.ศ.๒๕๔๑ มีผู้เสียชีวิตและ เสียหายในทรัพย์สินจำนวนมาก เหล่านี้ล้วนเป็นกรรมร่วมซึ่งสร้างกันมา เป็นต้นว่า ร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมผลประโยชน์กันมาในครั้ง กาลก่อน บางรายหมดเนื้อหมดตัวจำเป็นต้องกู้เงินมาซ่อมแซมบ้านที่ เสียหาย เช่นนี้ทำให้ชีวิตเกิดภาวะขัดสนทางการเงินขึ้น ในกรณีบ้านถูก ไฟไหม้ แต่บางคนได้ทำประกันไว้ ทำให้ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นน้อย กว่าผู้ที่ไม่ได้ทำ บางรายขนบ้ายข้าวของทัน สูญเสียเฉพาะบ้าน แต่บาง รายหมดตัวไม่เหลือหลอ บางรายยังไม่ค่อยสูญเสียมากเพราะเป็นบ้าน ที่เช่าอาศัยอยู่ ทั้งหมดล้วนเป็นผลจากการสร้างอทินนาทาน แต่ความ หนักเบาที่ได้รับนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของบาปที่ได้กระทำมานั่นเอง.


๓. ละเมิด ล่วงเกิน ผิดประเวณี
โดยส่วนใหญ่การกระทำผิดในข้อนี้ คนส่วนมากมักจะนึกถึงการ ประพฤติผิดในกาม หรือการล่วงประเวณีอันเป็นการกระทำลามก ไม่ว่า ยินยอมหรือขัดขืน หากผิดจากทำนองคลองธรรมคือผิดลูกผิดเมียเขา อันเป็นความประพฤติที่สังคมไม่ยอมรับ ผู้ที่กระทำจึงต้องมีพฤติกรรม ที่ปิดบังและซ่อนเร้น ทั้งนี้ผู้ที่ได้กระทำผิดกาเมสุมิจฉาจารออกไปนั้น จะทำให้ได้รับผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้วคือ
๑. มีผู้เกลียดชังมาก
เพราะการกระทำที่ผิดลูกเมียเขา ย่อมสร้างความโกรธแค้นให้กับบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียหาย ผลที่ได้รับคือ มีศัตรูและมีคนเกลียดชังมาก ข้อนี้ทุกคนก็ต้องเคยประสบมา แต่อาจเป็นเพียงเศษกรรม เช่น เวลาที่มีเรื่อง ขัดใจกับใครและมีการโต้เถียงทำให้มองหน้ากันไม่ติด หรือบางคนอาจมี ตำแหน่งหน้าที่การงานสูง มียศถาบรรดาศักดิ์ แต่ไม่เป็นที่สบอารมณ์ของ ลูกน้อง เป็นต้น
๒. มีผู้คิดปองร้าย
เพราะได้เคยสร้างศัตรู สร้างความเจ็บซ้ำน้ำใจให้กับผู้อื่น ตัวอย่างเช่น นักเรียนบางคนเป็นคนเรียบร้อย ไม่เคยมีเรื่องราวอะไรกับใคร แต่ถูก นักเรียนโรงเรียนอื่นรุมทำร้ายจนบาดเจ็บ อันนี้ผลที่เขาถูกทำร้านก็เพราะ อดีตชาติเคยทำบาปข้อกาเมสุมิจฉาจาร และที่ต้องบาดเจ็บก็เพราะได้เคย ทำปาณาติบาตมานั่นเอง แม้กระทั่งสามีภรรยามีเรื่องระหองระแหง การ ใช้สายตาและคำพูดที่ทำร้ายจิตใจกันก็ถือว่าเป็นผลของการกระทำอกุศล ในข้อนี้เช่นเดียวกัน
๓. ขัดสนทรัพย์
กล่าวคือไม่ว่าจะทำอะไรก็มีแต่ความฝืดเคือง เงินเดือนชักหน้าไม่ถึงหลัง ดังที่เราเห็นบาง คนต้องเข้าโรงจำนำเป็นประจำ เพราะอดีต ได้สร้างความไม่รู้จักพอนั่นเอง
๔. อดอยาก ยากจน
เพราะการประพฤติผิดในกาม หรือการล่วง ประเวณีนั้น เป็นการกระทำที่ตนเองเป็นผู้ ไม่รู้จักพอ ไม่พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่คือ สามีภรรยาของตนเอง แล้วยังไม่เบียดเบียน ผู้อื่น จึงเป็นการสร้างทางให้ตนเองต้องอด อยากยากจน
๕. เกิดเป็นผู้หญิง
เพราะการกระทำอกุศลกรรมในข้อนี้ จะเป็น ไปแบบปิดบังซ่อนเร้น ไม่กล้าเปิดเผย การ กระทำที่ต้องหลบเลี่ยงเช่นนี้จัดเป็นอำนาจ อ่อนแบบที่เรียกว่า สสังขาริก อันจะนำไป เกิดเป็นหญิงซึ่งเป็นเพศที่มีความลำบากกว่าผู้ชาย มีความอับอายในบาง สิ่งบางอย่างมากกว่า มีเรื่องที่ต้องปกปิดมากกว่านั่นเอง
๖. เกิดเป็นกะเทย
กล่าวคือเป็นเพศที่สังคมส่วนใหญ่ยังไม่ยอม รับและถูกวิพากษ์วิจารณ์ ถูกล้อเลียนให้เกิด ความอับอาย เนื่องจากเหตุที่ได้เคยกระทำ กาเมสุมิจฉาจารที่สังคมไม่ยอมรับนั่นเอง
๗. เกิดในตระกูลต่ำ
เพราะขณะที่ตายจิตจับอารมณ์ที่ดีและเป็น อำนาจที่เด็ดเดี่ยว ทำให้เกิดเป็นชาย แต่เหตุ ที่เคยประพฤติผิดในกามยังให้ผลอยู่ จึงต้อง เกิดในตระกูลต่ำ ขัดสนทรัพย์ แล้วความ อดอยากยากจนก็ตามมา
๘. ได้รับความอับอายอยู่เสมอ
กล่าวคือเป็นคนเปิ่น ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะ เป็นที่ขบขันของคนอื่น พฤติกรรมที่แสดง ออกไปจึงทำให้ตนเองต้องอับอาย เพราะ เหตุที่เคยสร้างความอับอายไว้ให้ผู้อื่น นั่นเอง
๙. ร่ายกายไม่สมประกอบ
กล่าวคือ ร่างกายพิการ หรือเป็นผู้ที่มีส่วนใด ส่วนหนึ่งของร่างกายผิดแผกแตกต่างไปจาก คนอื่น เช่น มีความผิดปกติของอวัยวะบาง ส่วนอาจโตหรือเล็กผิดไปจากธรรมดา เคย มีข่าวว่าหญิงคนหนึ่งมีอวัยวะเพศใหญ่โตผิดปกติ มีคนแห่กันไปดูมากมาย เพราะมีร่างกายไม่สมประกอบ ซึ่งอาจจะทำให้ต้องได้รับความอับอาย ตามมา ทั้งนี้เพราะอดีตชาติได้เคยล่วงเกินร่างกายของผู้อื่นนั่นเอง
๑๐. เป็นคนวิตกจริต
เพราะเหตุที่ได้เคยกระทำกรรมที่ต้องปกปิด กลัวว่าใครจะรู้เรื่องราวที่ตนเองกระทำมา จึงทำให้เกิดมาต้องเป็นคนที่มีแต่ความวิตก กังวล บางคนเมื่อมีหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบ งานชิ้นหนึ่ง ก็มีแต่ความวิตกอยู่ตลอดเวลาจนกว่างานนั้นสำเร็จ นักเรียน บางคนพอใกล้สอบก็เกิดอาการท้องเสียบ้างปวดท้องบ้าง แต่เมื่อสอบ เสร็จอาการปวดนั้นก็หายไป สิ่งเหล่านี้ก็เป็นผลของความเครียดหรือ ความวิตกกังวลนั่นเอง
๑๑. พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก
เพราะได้เคยทำพฤติกรรมที่เหมือนกับการ พรากผู้เป็นที่รักของบุคคล อื่นหรือผู้ที่มีเจ้าของ จึงทำให้ได้รับผลต้องสูญเสียหรือพลัดพรากจากผู้ที่ ตนรัก เช่น สามีภรรยาที่เคยรักกันแต่ต้องมีเรื่องไม่เข้าใจกันจนต้องเลิก ร้างไปในที่สุด หรือหนุ่มสาวที่ต้องอกหัก และแม้กระทั่งเด็กที่ต้องกำพร้า ขาดพ่อขาดแม่ เหล่านี้ล้วนเป็นผลจากการทำผิดกาเมสุมิจฉาจารทั้งสิ้น
๔. พูดเท็จ พูดไม่ตรงความจริง
หลายคนคงตั้งข้อสงสัยว่าการพูดไม่ปดนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะบางครั้งดูเหมือนจำเป็นต้องทำ เพราะอยู่ในหน้าที่การทำงานซึ่ง หาทางเลี่ยงไม่ได้ เช่น เมื่อรับโทรศัพท์แล้วมีคนต้องการพูดกับเจ้านาย แต่เจ้านายให้บอกว่าไม่อยู่ เช่นนี้แล้วถือว่าเป็นอกุศลกรรมหรือไม่ ? ถ้าเรามาไตร่ตรองให้รอบคอบ อาจเป็นเพราะเรายังไม่เคยทราบ ว่าเมื่อได้กระทำออกไปแล้วผลที่เราจะต้องได้รับเป็นอย่างไร ถ้าเราได้ ทราบผลที่จะเกิดและกลัวต่อผลนั่น ๆ เราจะต้องหาทางหลีกเลี่ยง ลด ละ เลิก การกระทำนั้นได้ดีที่สุด เพราะการที่เราได้พูดปดออกไปนั้นจะทำให้ เราต้องได้รับผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้วคือ
๑. พูดไม่ชัด
เช่น พูดแบบคนลิ้นไก่สั้น หรือพูด ด้วยปลายปาก ปลายลิ้น ฟังไม่ ค่อยรู้เรื่อง ทั้งนี้เพราะคนที่พูดปด นั้นขณะที่พูดย่อมไม่กล้าพูดเสียง ดังหรือชัดเจน กลัวว่าคนอื่นจะได้ ยิน กลัวว่าความจริงจะถูกแพร่ง พราย เมื่อได้พูดโป้ปดมดเท็จอยู่ บ่อย ๆ พฤติกรรมก็อาจเปลี่ยนไป จิตก็เสพลักษณะอารมณ์ที่ได้กระทำ และสร้างกรรมชรูป (รูปที่เกิดตาม ผลกรรมนั้น) ทำให้พูดไม่ชัดนั่นเอง
๒. ฟันไม่เรียบ
เพราะการพูดแต่ละคำต้องอาศัย ปาก ฟัน และลิ้น ประกอบกัน เมื่อปากได้กระทำวาจา ที่ทุจริตจึงทำให้อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด นั้นไม่สวยงามน่าดู หรืออาจมีผลทำให้เกิด การผิดปกติภายในปาก เช่น เป็นแผลในปากหรือมีเนื้องอกเป็นเนื้อร้าย ผลที่เป็นนี้เกิดจากมุสาวาททั้งสิ้น แต่ถ้าเป็นเหตุให้ต้องไปหาหมอเพื่อการ รักษาหรือผ่าตัดนั้น เป็นผลจากปาณาติบาตดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
๓. มีกลิ่นปากเหม็นรุนแรง
เพราะวาจาทุจริตที่พูดออกไปนั้น อาจสร้าง ความเสื่อมเสียให้กับผู้อื่น ผลที่เราทำให้ผู้อื่น เสียหาจึงทำให้ในชาติต่อ ๆ ไปนั้น เวลาที่ พูดออกมาจะมีกลิ่นปากเหม็นรุนแรง ไม่มี ใครอยากสนทนาด้วย
๔. ไอตัวร้อนจัด มีกลิ่นตัวแรง
เพราะผู้ที่โกหกเกือบทุกรายถ้ามีใครมาพูด พาดพิงถึงเรื่องที่ตนเองได้พูดไปนั้น ย่อมมี ความร้อนตัวกลัวภัยที่จะมาถึงตนเอง อำนาจ นี้จะทำให้เกิดมาเป็นคนที่มีไอตัวร้อนจัดหรือ มีกลิ่นตัวแรง ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ เหตุเพราะอดีตชาติเป็นคนพูดโกหก เก่ง พูดอะไรหาความจริงได้ยาก จึงไม่มีใครอยากคบคนประเภทนี้
๕. ตาไม่อยู่ในระดับปกติ
เช่น ตาเข ตาเหล่ เพราะคนพูดไม่ จริง เมื่อจะกล่าวเรื่องอะไรเกี่ยว กับใคร ขณะที่พูด สายตาก็จะ สอดส่ายคอยระวังเพราะกลัวว่า เขาจะมาได้ยินเข้า อำนาจนี้จึง สร้างกรรมชรูปให้เกิดมา สายตา ไม่อยู่ในระดับปกติ ดังนั้น คนที่มีสายตาผิดปกติก็เป็นผลจากการกระทำ ผิดอกุศลกรรมในข้อนี้ เช่น คนที่มีสายตาเอียง สายตาสั้น สายตายาว เป็นต้น แต่อำนาจที่ได้รับเป็นเพียงเศษกรรมเท่านั้น
๖. พูดติดอ่าง พูดไม่สะดวก
กล่าวคือคนที่ทำผิดในข้อมุสาวาทนี้ ต้องคอยคิดว่าจะต้องพูดอย่างไร เพราะเรื่องที่พูดนั้นไม่เป็นจริงและ เมื่อจะพูดเรื่องนี้ในครั้งต่อไป ต้อง คอยคิดว่าคราวที่แล้วพูดไปอย่างไร อำนาจนี้จึงทำให้เกิดเป็นคนที่พูด ไม่สะดวกหรือพูดติดอ่างนั้นเอง
๗. บุคลิกไม่สง่าผ่าเผย
กล่าวคือ เป็นคนที่ขาดความเชื่อมั่น ในตนเอง เพราะคอยระแวงว่าจะ มีใครจับได้ว่าตนเองเป็นคนโกหก หรือเป็นคนที่รุกรี้รุกรน เป็นคน ที่ต้องคอยแก้ตัวอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากกลัวคนอื่นจับโกหกได้
๘. จิตจรวนเรคล้ายคนวิกลจริต
คนที่โกหกนั้นจะมีแต่ความวิตกกังวล ในเรื่องที่ได้พูดออกไปบางครั้งเรื่อง เดียวกันแต่พูดหลายครั้งไม่ตรงกัน เพราะเรื่องนั้นไม่จริง และตนเองจำ ไม่ได้ว่าพูดไปอย่างไรในครั้งแรก จึงทำให้เป็น คนที่รวนเร เมื่อคนอื่นจับได้ก็ไม่มีใครอยากพูดด้วย อำนาจเช่นนี้จึงทำให้ เกิดมามีจิตใจรวนเรคล้ายคนวิกลจริต และคนที่วิกลจริตนั้นพูดไปก็ไม่มี ใครฟัง การทำบาปในข้อนี้น่ากลัวมาก เพราะเป็นการกระทำที่เลิกได้ยาก เมื่อได้กระทำไปครั้งแรก ครั้งต่อไปก็ต้องตามมา เมื่อเราโกหกไป เรื่องหนึ่ง มีใครมาถามเรื่องนั้นอีก เราต้องพยายามพูดให้เหมือนเดิม เท่ากับเป็นการโกหกครั้งที่สอง ฉะนั้น เรื่องเดียวที่พูดออกไปย่อมให้ผล มากมายอย่างไม่มีวันจบสิ้น.
๕. พูดส่อเสียด พูดให้แตกแยก
หมายถึง พูดส่อเสียด พูดให้แตกแยก พูดพาดพิง พูดให้ร้ายฯ เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับผลหรือโทษอย่างเบา ที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้วคือ
๑. ชอบตำหนิตนเอง
กล่าวคือ เมื่อได้ทำอะไรผิดมักอุทานออกเป็น คำพูที่ตำหนิตนเอง เช่น "บ้าจัง" หรือ "แย่ จริง" บางคนกลัวเพื่อนฝูงจะหยิบยืมเงิน ทอง มักชอบพูดเป็นทำนองว่าตนเองไม่มี เงินหรือบางคนชอบพูดว่าตนเองไม่ดีอย่างโน้นอย่างนี้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นเพราะอดีตชาติชอบตำหนิและส่อเสียดผู้อื่นไว้ อำนาจนี้จึงทำให้ ชาติต่อ ๆ ไปกล้าที่จะตำหนิตนเองซึ่งเป็นชีวิตที่เรารักที่สุดได้
๒. มักถูกกล่าวหาโดยไม่เป็นจริง
หลายท่านอาจเคยประสบพบเห็นมาว่าเมื่อมี เรื่องราวอะไรเกิดขึ้น หรือมีข้าวของอะไร เสียหาย เด็กบางคนมักจะถูกพ่อแม่ดุเป็น ประจำทั้ง ๆ ที่เด็กคนนั้นไม่ได้ทำอะไรผิดเลย หรือขณะที่เด็ก ๆ เล่นกัน เมื่อมีเรื่องราวเกิดขึ้นเด็กบางคนต้องตกเป็นผู้ เสียหาย ถูกฟ้องทั้งที่ตนเองเป็นฝ่ายถูก นั่นคือไม่ว่าจะมีความผิดใด ๆ เกิดขึ้น แม้ไม่ได้เป็นผู้กระทำก็จะถูกมองว่าเป็นคนผิด นักโทษที่ถูกตำรวจ จับและต้องถูกกักขัง บางรายก็ไม่ได้กระทำผิดจริง แต่กลับถูกส่งฟ้อง เพราะสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นหลักฐานสำคัญทำให้ถูกจับ การถูก กักขังก็เป็นผลเนื่องจากอดีตชาติเป็นคนที่ชอบกักขังสัตว์มาก่อนนั่นเอง
๓. ถูกบัณฑิตติเตียน
กล่าวคือไม่ว่าจะทำการงานอะไร แม้งานที่ คิดว่าเสร็จสมบูรณ์ดีแล้ว ก็ยังมีช่องโหว่ทำ ให้ได้รับคำตำหนิจากหัวหน้างาน หรือเด็ก บางคนที่ถูกพ่อแม่ครูอาจารย์ดุเป็นประจำ
๔. แตกกับมิตรสหาย
เช่น คนมีพฤติกรรมบางอย่างที่ ใคร ๆ ไม่ชอบหรือเป็นคนที่เข้ากับ ใคร ๆ ไม่ได้ แม้มีเพื่อนก็มีเหตุทำให้ ต้องมีเรื่องแตกแยกในที่สุด ทั้งนี้ เป็นเพราะอดีตชาติได้เคยส่อเสียด คนอื่นเอาไว้มาก อำนาจนี้จึงทำให้ ต้องได้รับผลคือ ไม่มีใครอยากคบหาสมาคมด้วย เป็นการแตกกับมิตร สหายนั่นเอง อกุศลกรรมในข้อนี้ถ้าพิจารณาอย่างละเอียดแล้ว หลาย ๆ คนยังประพฤติและปฏิบัติกันอยู่ เช่น การกล่าวถึงบุคคลอื่นในทางที่ไม่ดี การกระทำนี้จะสร้างความสันทัดให้ติดตัวไป และในที่สุดจะผลักดันให้มี การกระทำทางวาจา เช่น หลาย ๆ คนเมื่อมีเสียงดังจากภาชนะที่ตกหล่น มักจะส่งเสียงร้องโทษแมว อันนี้เป็นผลของความสันทัดในการส่อเสียด เริ่มต้นจากการว่าแมวแล้วอาจส่อเสียดคนอื่น ๆ ต่อไปได้อีก เมื่อได้กระทำ กรรมเช่นนั้นย่อมได้รับผลดังที่กล่าวมาแล้ว
๖. พูดคำหยาบ ด่า สาปแช่ง
หมายถึง พูดคำหยาบ ด่าด้วยคำหยาบช้า ด่าพ่อล่อแม่ ด่า ประจาน สาปแช่งฯ เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับ ผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้วคือ
๑. มีกายและวาจาหยาบกระด้าง
เพราะอำนาจของการพูดคำหยาบที่ติดมา เป็นนิสัยสร้างความสันทัดติดตัว จึงทำให้ ชาติต่อ ๆ ไปเกิดเป็นคนที่มีบุคลิกท่าทาง ตลอดจนคำพูดหยาบกระด้างนั่นเอง
๒. พินาศในทรัพย์
เพราะการพูดหยาบบางคำ เช่น บางคนติด พูดคำว่า "ฉิบหาย" เมื่อพูดออกไปในแต่ละ ครั้ง จิตนั้นก็จะรับรู้ความหมายและเสพ อารมณ์นั้นเข้าไปเก็บไว้ ทำให้ผลที่ได้รับก็จะ เป็นไปตามนั้น คือ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ไม่เจริญ หรือที่มักพูดกันว่า "ฉิบหาย วายวอด" ประกอบกับอกุศลกรรมในข้ออทินนาทานที่เราเคยได้กระทำ มา จึงเป็นแรงช่วยส่งให้เราต้องได้รับผลเร็วขึ้นหรือมากขึ้น
๓. ได้รับฟังแต่เรื่องไม่สบายใจ
เพราะอำนาจของการพูดหยาบคายที่เราได้ พูดออกไป ผู้อื่นที่ได้ยินคำพูดเช่นนี้ ย่อม เกิดความไม่สบายใจ การกระทำเช่นนี้จึง ทำให้เราต้องได้รับผลคือ ได้ฟังแต่เรื่อง ไม่สบายใจ เช่น บางคนเวลาทำงานเจอเพื่อนร่วมงานที่พูดมากหรือเจ้า นายที่เป็นคนจุกจิกหยุมหยิม ชอบคิดเล็กคิดน้อย ถ้าประกอบกับเราเคย กระทำปิสุณวาจาไว้ (กล่าวคำส่อเสียด) ก็ทำให้ต้องได้รับคำติเตียน ผลที่ ตามมาคือความไม่สบายใจ ซึ่งเป็นผลจากการที่ได้พูดคำหยาบ คนบาง คนพอกลับบ้านก็ต้องเจอกับภรรยาที่จู้จี้ขี้บ่น หรือต้องได้ฟังเรื่องราวที่ ไม่ดีของลูกต่าง ๆ นานา ทำให้เกิดความไม่สบายใจ ผลในข้อนี้บางคนได้ รับร่วมกับกุศลกรรม เช่น บางคนอดีตชอบทำทาน แต่ในขณะเดียวกัน เป็นคนมีนิสัยพูดจาหยาบกระด้าง พูดคำด่าคำ หรือที่เรามักเรียกว่าเป็น คนปากร้ายแต่ใจดี เมื่อเกิดมาคนเช่นนี้จะเป็นที่รักของคนหมู่มาก หรือ มีเพื่อนรักมาก ความรู้สึกเช่นนี้ทำให้เพื่อนฝูงมักชอบมาปรับทุกข์ด้วย เมื่อมีเรื่องเดือดร้อนใจอะไรจะวิ่งมาปรึกษาและระบายทุกข์นั้นให้ฟัง เท่ากับว่ามีผลให้ตนต้องได้รับฟังแต่เรื่องไม่สบายใจนั่นเอง
๔. ตายด้วยอาการหลงใหล
กล่าวคือ เมื่อมีอายุมากขึ้นทำให้ขาด สติเป็นคนหลงลืม เช่น กินข้าวแล้ว แต่บอกว่ายังไม่ได้กิน คนพวกนี้ เมื่อเวลาตายก็จะตายด้วยอาการที่ ขาดสติ ที่เป็นเช่นนี้เพราะได้พูดจา หยาบคาย ผู้ที่กระทำอกุศลกรรม ในการพูดเช่นนี้แสดงว่าขาดสติที่จะ ควบคุมตนเอง จึงทำให้ต้องได้รับ ผลคือ เป็นคนที่ขาดสตินั่นเอง.
๗. พูดเพ้อเจ้อ พูดไร้สาระ
หมายถึง พูดไม่มีเนื้อหา พูดเหลวไหล พูดเรื่อยเปื่อย พูดไม่ เป็นประโยชน์ฯ เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับผลหรือ โทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
๑. เป็นอธรรมวาทบุคคล
กล่าวคือ เป็นคนที่พูดมากและเรื่องราวที่พูด นั้นไร้สาระหาประโยชน์ไม่ได้ บางคนไม่ว่า ใครจะพูดอะไรก็พูดกับเขาได้ทุกเรื่อง มีการ เพลิดเพลินในการพูด โดยไม่สนใจว่าคนอื่น เขาจะรู้สึกอย่างไร บางคนไม่ว่าใครจะทำอะไร หรือซื้ออะไรมาก็ชอบ พูดวุ่นวายทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องของตนเอง เช่น เขาซื้อผ้ามาก็ต้องไปถามว่า "ซื้อเท่าไร.. ไปซื้อมาจากที่ไหน..?" และพูดติว่าซื้อแพงเป็นตน คนที่มี พฤติกรรมเช่นนี้เป็นเพราะความสันทัดจากการเป็นคนพูดเพ้อเจ้อปลูกฝัง ตั้งแต่อดีตชาติติดตามมานั่นเอง
๒. ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูด
กล่าวคือ แม้ในบางครั้งจะพูดความ จริงแต่ก็ไม่มีใครเชื่อถือ สิ่งเหล่านี้ เป็นผลที่ได้รับเพราะเคยพูดเพ้อเจ้อ มาแต่อดีตชาติ คนที่พูดหาสาระ ไม่ได้ เมื่อดูดจริงคนอื่นก็ไม่แน่ใจว่า สิ่งที่พูดนั้นเชื่อถือได้หรือไม่ เพราะ สิ่งที่เขาพูดมีมากมาย และข้อความ บางอย่างที่พูดก็ไม่มีประโยชน์เลย
๓. เป็นคนไร้อำนาจ
กล่าวคือ แม้ว่าจะมีตำแหน่งเป็น หัวหน้า แต่ลูกน้องก็ไม่มีความยำ เกรง เป็นพ่อแม่พูดจาสั่งสอน ลูก ก็ไม่เชื่อฟัง เป็นครูอาจารย์ ลูก ศิษย์ก็ไม่ให้ความเคารพ ทั้งนี้เพราะ อดีตชาติเป็นคนเพ้อเจ้อ ไม่มีใคร ให้ความเชื่อถือมาก่อนนั่นเอง
๔. วิกลจริต
กล่าวคือ คนวิกลจริตบางครั้งนั่งพูดอยู่คน เดียว ที่เป็นเช่นนี้เพราะอดีตชาติเป็นคนพูด มาก ไร้สาระ ไม่มีใครอยากฟัง จิตจึงเก็บ อำนาจนั้นไว้ ผลที่ตามมาจึงทำให้เป็นคนวิกล จริต กล้าพูดอยู่คนเดียว
ทั้ง ๔ ประการที่กล่าวมาข้างต้นจัดเป็นวาจาทุจริต คือการสร้าง กรรมทางปากเป็นอกุศลกรรมหรือวจีกรรม เมื่อได้กระทำออกไปย่อมมี ผลตามมามากมาย ดังนั้น ในศีลห้าข้อที่ ๔ มุสาวาท ซึ่งหมายถึงเว้นขาด จากการพูดจาโป้ปดมดเท็จ เพราะฉะนั้นจะรักษาศีลข้อนี้ให้บริสุทธิ์นั้น ทั้งนี้ต้องรวมถึงการไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ เข้าไป ด้วยนั่นเอง
๘. เพ่งเล็งอยากได้เป็นเจ้าของ
หมายถึง ปรารถนาที่จะได้มาครอบครองเป็นเจ้าของ ไม่ว่าสิ่งนั้น เป็นบุคคลหรือทรัพย์สินสิ่งของ ความคิดเช่นนี้เป็นอกุศลกรรมทางใจ หรือมโนกรรม ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการกระทำทุจริตในข้ออทินนา ทาน (ลักขโมย) มุสาวาท (พูดเท็จ) หรือกาเมสุมิจฉาจาร (ผิดประเวณี) ตามมา เมื่อมีความอยากได้อาจทำให้ต้องสร้างเรื่องโกหกขึ้นมาเพื่อให้ได้ สิ่งของนั้น หรือมีการหยิบฉวยเมื่อเจ้าของเผลอ หรือฉุดพรากลูกเมีย เขา เป็นต้น เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับผลหรือ โทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
๑. เสื่อมในทรัพย์และคุณงามความดี
เช่น เมื่อซื้อรถมาได้ไม่นานก็มีการประกาศ ลดภาษีรถยนต์ ทำให้เราคารถยนต์ถูกลง หรือบางคนพอซื้อบ้านมาเรียบร้อย เกิดหลัง คารั่ว ท่อประปาที่ฝังอยู่แตก ทำให้ต้องรื้อ ซ่อมทั่ง ๆ ที่เป็นบ้านใหม่ หรือบางคนไปเที่ยวด้วยกันและซื้อของชนิดเดียว กันแต่ซื้อได้แพงกว่า เหล่านี้ล้วนเป็นการเสื่อมในทรัพย์ เช่นเดียวกับผู้ที่ ทำงานรับราชการบางคน ทำดีเท่าไรผู้ใหญ่ก็มองไม่เห็น บางคนทำงาน มากกว่าคนอื่น ผลงานก็มีมากมายแต่ไม่เคยได้ ๒ ขั้น เช่นนี้จัดว่าเสื่อม ในคุณงามความดี การได้รับผลในข้อนี้เป็นเพราะเจตนาที่เคยมีมาในอดีต นั้นคิดจะเบียดเบียนทรัพย์ของผู้อื่น หรือหวังจะให้ผู้อื่นเสื่อมจากทรัพย์สิน หรือคิดจะให้ผู้อื่นพลาดไปจากตำแหน่งที่เขาควรจะได้เพื่อผลประโยชน์ ของตนเอง
๒. เกิดในตระกูลต่ำ
เพราะความเพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่นเป็น ความไม่รู้จักพอ และส่อเจตนาให้ผู้อื่นเสีย หายตกต่ำไปจากเดิม อำนาจนี้จึงทำให้ต้อง เกิดในตระกูลต่ำ ประกอบกับการลักขโมย ที่ได้เคยทำมาในอดีตชาติก็จะทำให้ความด้อย ทรัพย์อดอยากยากจนตามมา
๓. ขัดสนในลาภสักการะ
เพราะผู้ที่มีความอยากได้ของผู้อื่น ย่อมมี แรงผลักดันให้เกิดการพูดขอ ฉะนั้น ผู้ที่มี ความอยากได้จนไม่อายเช่นนี้ ย่อมไม่มีใคร ชอบ ไม่มีใครให้เกียรติ บุคคลเช่นนี้จึงมัก ขัดสนในลาภสักการะ
๔. ได้รับคำติเตียนอยู่เสมอ
เพราะผู้ที่อยากได้ของผู้อื่นมีความไม่รู้จักพอ ย่อมเป็นที่รังเกียจของบุคคลอื่น และเมื่อ ความสันทัดในการขอมีติดตัวมา เมื่อต้อง มาเกิดจึงไปเกิดในตระกูลต่ำ อำนาจนี้ก็จะ ผลักดันให้เป็นขอทาน สภาพเช่นนี้ย่อมเป็น ที่น่ารังเกียจของคนทั่วไป ไม่มีโอกาสได้รับ คำยกย่อง มีแต่คำติเตียนอยู่เสมอ
๙. ความคิดชั่วร้าย ผูกพยาบาท
หมายถึง ความคิดที่มุ่งร้ายต่อผู้อื่น มีความปรารถนาที่จะทำร้าย ผู้อื่น หรือทำลายประโยชน์และความสุขของผู้อื่นให้เสียไป เช่น เมื่อมี ความโกรธแค้นก็คิดพยาบาทหรืออาฆาต เป็นแรงผลักดันให้เกิดวาจา ทุจริตคือ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และอาจผลักดันให้เกิดความทุจริต ทางกายตามมาคือ กาเมสุมิจฉาจาร หรือปาณาติบาต (โดยการหาวิธี การทำร้านให้ถึงแก่ชีวิต) เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับ ผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
๑. มีรูปกายทราม
เพราะมีผู้ที่กำลังมีความพยาบาทคิดปองร้าย เขา สภาพจิตนั้นย่อมมีโทสะ มีความเศร้า หมอง ร่างกายทรุดโทรม สภาพเช่นนี้จิต ย่อมเสพอารมณ์สร้างกรรมชรูปให้เกิดเป็น คนรูปกายทรามในชาติต่อ ๆ ไป
๒. มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนอยู่เสมอ
เนื่องจากคนที่มีจิตพยาบาทคิดปองร้ายจะมี พฤติกรรมคอยติดตามหาทางตามเอาคืนอยู่ ตลอดเวลา จึงทำให้ชาตินี้มีสุขภาพร่างกาย ไม่ปกติ จิตใจเป็นทุกข์เพราะเป็นกังวลอยู่ กับความกลัวอย่างไม่มีสาเหตุ
๓. อายุสั้น
เพราะองค์ประกอบของพยาบาทเป็นส่วน หนึ่งของปาณาติบาต กล่าวคือมีผู้อื่น เช่น คนหรือสัตว์ซึ่งมีชีวิต เพราะชีวิตเป็นสิ่งที่รัก ของสรรพสัตว์ เมื่อเกิดความคิดให้มีความ เสียหายเกิดขึ้น (มีจิตคิดจะฆ่าทำร้ายหรือเบียดเบียน) ดังนั้น ผลที่จะ ได้รับย่อมคล้ายกับปาณาติบาตคือ มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนอยู่เสมอ และอายุสั้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในผลของปาณาติบาต
๔. ตายด้วยการถูกประหารชีวิต
เพราะผู้ที่มีความอาฆาตนั้น ความรู้สึกย่อม รุนแรงและให้เวลานาน ยิ่งพยาบาทรุนแรง และยังไม่สบโอกาสที่จะแก้แค้น ความครุ่น คิดในเรื่องนั้นย่อมเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ยิ่ง นานเท่าไรจิตก็ยิ่งเสพอารมณ์นั้นได้มากขึ้น (ต่างกับปาณาติบาตเพราะ การฆ่าสัตว์นั้นบางครั้งไม่มีความพยาบาทร่วมด้วย เช่น ผู้ที่มีอาชีพในโรง ฆ่าสัตว์ เพราะทำไปตามความสันทัดและหน้าที่ ซึ่งผลกรรมที่ได้รับจะต่าง กัน) อารมณ์เช่นนี้จึงผลักดันให้ต้องได้รับผลที่รุนแรง กล่าวคือแม้ตาย ก็ต้องตายด้วยการถูกประหารชีวิต เพราะการที่ต้องรู้ตัวว่าตนกำลังจะ ตายนั้นย่อมน่ากลัวกว่าผู้ที่ไม่รู้ตัว ผู้ที่ถูกฆ่าหรือผู้ที่ต้องตายด้วยอุบัติเหตุ รถชน เครื่องบินตก พวกนี้ส่วนใหญ่ไม่ตายทันที จะต้องเจ็บหรือทรมาน ก่อน ขณะนั้นจิตย่อมรู้ว่าจะต้องตาย ดังนั้น ผลที่ได้รับเช่นนี้ก็จัดเป็น การถูกประหารชีวิตเช่นกัน
๑๐. มิจฉาความคิด เห็นผิดเป็นชอบ
หมายถึง ความเห็นผิดจากความเป็นจริง คือ

๑. มีความเห็นว่าตายแล้วสูญ ทำอะไรก็ตาม ผลที่พึงได้รับย่อม ไม่มีคือ ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว คุณบิดามารดาไม่มี ผีสางเทวดาไม่มี
๒. มีความเห็นว่าผู้ที่กำลังได้รับความลำบากหรือความสุขสบาย ก็ตาม ล้วนเป็นไปเองทั้งสิ้น เป็นการปฏิเสธต้นเหตุผลกรรมโดยสิ้นเชิง
๓. มีความเห็นว่าการกระทำต่าง ๆ นั้น ไม่มีผลของบาปบุญคุณ โทษแต่ประการใด
เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับผลหรือโทษอย่าง เบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
๑. ห่างไกลต่อรัศมีพระธรรม
กล่าวคือ เป็นผู้ที่ไม่ยอมรับความจริง ไม่ยอม รับรู้และไม่ยอมศึกษา เพราะพระธรรม เป็นเรื่องที่สอนความจริงเกี่ยวกับชีวิต เมื่อ ปฏิเสธที่จะยอมรับความจริง อำนาจนี้จึง ผลักดันให้ชีวิตที่มีอยู่ต่อ ๆ ไปห่างไกลต่อความเจริญมากขึ้น บุคคลประเภท นี้แม้จะเกิดในสมัยพุทธกาล ในขณะที่พระพุทธองค์ทรงประกาศศาสนา ก็ต้องเกิดอยู่ แต่เกิดในทุคติภูมิคือ เป็นเปรต สัตว์นรก อสุรกาย หรือ สัตว์เดรัจฉาน ทำให้ไม่สามารถรับคำสอนและเข้าใจคำสอนนั้นได้ จึงเป็น ผู้ที่ห่างไกลแม้แต่รัศมีของพระธรรม บางครั้งเราอาจพบว่ามีบุคคลบาง คนที่นับถือศาสนาพุทธ แต่ไม่เคยรู้เลยว่าศาสนาพุทธให้อะไรกับตนเอง บางคนบ้านอยู่ใกล้วัด ใกล้สถานที่สอนธรรมะ แต่ไม่เคยสนใจ คนพวกนี้ ล้วนเป็นผลจากมิจฉาทิฐิทั้งสิ้น
๒. เกิดเป็นคนป่า
กล่าวคือ มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากความเจริญ มีการกระทำที่โง่เขลา ทั้งนี้เพราะอดีตเป็น ผู้ที่มีมิจฉาทิฐิ ไม่ยอมรับรู้ความจริงอันเป็น ปัญญาที่จะพาให้ชีวิตเจริญขึ้น การปฏิเสธ สิ่งดีย่อมเป็นแรงผลักดันให้ไปเกิดในที่ที่ไม่ดี ห่างไกลจากความเจริญคือ เกิดเป็นคนป่า สภาพเช่นนั้นทำให้ชีวิตต้องวนเวียนอยู่กับบาปอกุศลทั้ง ปวง ต้องประทังชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์หรือการกระทำที่ป่าเถื่อนต่าง ๆ
๓. คนบ้าปัญญาทราม
กล่าวคือ เป็นคนสติฟั่นเฟือน วิปลาส หรือ วิกลจริต ความคิดสับสนตาลปัตร แยกแยะ ความจริงไม่ออก จึงแยกการกระทำไม่ได้ว่า อะไรถูกอะไรผิด ใช้ชีวิตอยู่อย่างผิดผู้ผิดคน เพราะความงมงายจากมิจฉาทิฐิในอดีต
๔. มีฐานะทางจิตใจต่ำไม่ทัดเทียมผู้อื่น
กล่าวคือ มีสภาพจิตใจที่ไม่มั่นคง ไม่มีเหตุไม่มี ผล ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง มีความ หวั่นไหวได้ง่ายเมื่อมีอะไรมากระทบ ดังนั้น ขณะใดที่มีความน้อยใจ ขณะนั้นเป็นผลของ มิจฉาทิฐิ เพราะฐานะของจิตใจต่ำเป็นความสันทัดที่ติดตัวมา และผลัก ดันให้เกิดความคิดที่เป็นมิจฉาทิฐิต่อไป นั่นคือคิดว่าตนทำดีแล้วไม่ได้ดี หรือทำดีแล้วเขาไม่เห็นความดี เป็นต้น
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้เราทุกคนหนีไม่พ้นไปจากผลของกรรม ที่เราได้กระทำมา ไม่ว่ากรรมนั้นจะเป็นบุญหรือบาป เมื่อได้กระทำเรา ต้องได้รับผลทั้งสิ้น บางครั้งเราอาจจะพบว่ามีเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง หลาย ๆ ท่านเมื่อชราภาพมักต้องได้รับวิบากไม่ดี ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ กับโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้น ทั้ง ๆ ที่ประวัติของท่านนั้นทำกรรมดีโดยตลอด เราไม่อาจทราบได้เลยว่าอดีตชาตินั้นท่านได้ทำกรรมอะไรบ้าง ฉะนั้นสิ่งที่ เราได้ประสบพบเห็นมาทั้งชีวิตของเราเอง และของบุคคลอื่น ๆ ย่อมเป็น ที่ประจักษ์ว่าบาปและบุญลบล้างกันไม่ได้ ถ้าเปรียบเกลือเป็นบาปและน้ำ เป็นบุญ ชีวิตของเราก็เปรียบเสมือนภาชนะที่บรรจุน้ำเกลือ คือมีทั้งบุญ และบาป เมื่อใดที่เราเติมเกลือเข้าไปมาก ความเค็มย่อมมีอำนาจมาก แต่ถ้าเมื่อใดเราไม่ต้องการเค็มเราก็ใส่น้ำลงไปให้มาก น้ำยิ่งมากเท่าไร ความเค็มก็จะยิ่งน้อยลง จนในที่สุดจะไม่รู้สึกเค็มเลย แต่ปริมาณของ เกลือที่มีอยู่ก่อนนั้นก็ไม่ได้หายไปไหน ยังคงมีปริมาณเท่าเดิม แต่ไม่ สามารถแสดงออกมาได้เพราะปริมาณของน้ำที่มีมากกว่า ฉันใด ถ้าเรา ไม่ต้องการให้ผลของบาปทั้งหลายที่ได้กล่าวมาแล้วแสดงผลออกมาใน ชีวิตของเรา เราก็ต้องเติมบุญเข้าไปให้มาก ๆ ฉันนั้น ดังโอวาทธรรมที่ พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสสอนไว้ว่า :
"จงละจากความชั่วทั้งปวง (บาป) จงทำแต่ความดี (บุญ) ให้ถึงพร้อม จงทำจิตให้บริสุทธิ์"
เมื่อนั้นเราจะได้ไม่ต้องรับผลของกรรมที่เราได้กระทำมาเลย
กำหนดชีวิตตามรอยบาท
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงตรัสถึง วิบากกรรมอันเป็นผลบุญของพระองค์ ให้แก่เหล่าภิกษุในที่นั้นได้ฟังว่า :
ไม่มีใครข่มได้
"ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติ กาลก่อน เป็นผู้ถือปฏิบัติมั่นคงในกุศล ธรรม ไม่ถดถอยในการปฏิบัติทั้งกาย วาจา ใจอันสุจริต ไม่ถดถอยในการทำ ทาน รักษาศีล ไม่ถดถอยในการปฏิบัติดี แก่บิดามารดา สมณะพราหมณ์ ได้ถด ถอยในการเคารพผู้ใหญ่ในสกุลในธรรม อันเป็นกุศลชั้นสูง ฯ
ด้วยผลแห่งบุญที่เราได้กระทำ สั่งสมไว้นั้น ต่อเมื่อเราได้เป็นพระพุทธ เจ้าแล้ว ย่อมไม่มีเหล่าข้าศึกภายใน คือ ราคะ โมหะ โทสะ หรือศัตรูภายนอก คือ สมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกนี้จะพึงข่มเรา ได้เลย"
เป็นที่รักยิ่ง
"ตถาคตเคยเกิดเป็นมนุษย์ในชาติกาลก่อน ไม่เคยเลยที่จะ ถลึงตาดูใคร ๆ ไม่ค้อนตาดู ไม่ชำเลืองตาดู เป็นผู้ซื่อตรง มีใจตรง เป็นปกติ แลดูใครก็ดูตรง ๆ ดูด้วยดวงตาอันเป็นที่รักอยู่
ด้วยผลแห่งบุญที่เราได้กระทำสั่งสมไว้นั้น ต่อเมื่อเราได้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว เราจึงได้รับผลบุญนั้น คือ เป็นผู้ที่มหาชนเห็นแล้วรัก เป็นที่รัก ที่เคารพ ที่พอใจของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค และคนธรรพ์"
อายุยืน
"ตถาคตเคยเกิดเป็นมนุษย์ในชาติกาลก่อน เป็นผู้ละเว้นปาณา ติบาต (ไม่เบียดเบียนชีวิตคนและสัตว์) เว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว วางทัณฑะ (ไม่ลงโทษ) วางศาตราแล้ว มีความละอาย มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่
ด้วยผลแห่งบุญที่เราได้กระทำสั่งสมไว้นั้น ต่อเมื่อเราได้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว เราจึงได้รับผลบุญนั้นคือ มีอายุยืนนาน ไม่มีข้าศึก ศัตรูใด แม้สมณพราหมณ์ เทวดา พรหม มาร ใคร ๆ ในโลกนี้ จะสามารถปลงชีวิตเราให้ตกร่วงไปได้เลย"
โรคน้อย
"ตถาคตเคยเกิดเป็นมนุษย์ในชาติกาลก่อน ได้เป็นผู้ไม่เบียด เบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนหิน ด้วยท่อนไม้ แม้ด้วยศัตรา (ของ มีคม) ใด ๆ เลย
ด้วยผลแห่งบุญที่เราได้กระทำสั่งสมไว้นั้น ต่อเมื่อเราได้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว เราจึงได้รับผลบุญนั้นคือ มีโรคน้อย มีความลำบาก น้อย สมบูรณ์ด้วยธาตุไฟย่อยอาหารได้ดี ทั้งไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลางพอดี เหมาะควรแก่ความเพียร"
บริวารสะอาด
"ตถาคตเคยเกิดเป็นมนุษย์ในชาติกาลก่อน เป็นผู้ละมิจฉา อาชีพ (อาชีพที่ชั่วบาป) กระทำการเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีพ (อาชีพที่ดีเป็นบุญ) เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง โกงด้วยของปลอม โกงด้วยเครื่องตวงวัด โกงด้วยการรับสินบน เว้นขาดจากการหลอก ลวงและการตลบตะแลง เว้นขาดจากการตัด ฆ่า จองจำ ตี ชิง ปล้น และกรรโชกผู้อื่น
ด้วยผลแห่งบุญที่เราได้กระทำสั่งสมไว้นั้น ต่อเมื่อเราได้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว เราจึงได้รับผลบุญนั้นคือ มีบริวารผู้สะอาดจาก กิเลสเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์"
ผู้นำของมหาชน
"ตถาคตเคยเกิดเป็น มนุษย์ในชาติกาลก่อน เคยเป็น หัวหน้าของมหาชนผู้ใฝ่ธรรมใน กุศลทั้งหลาย เป็นประธาน ด้วยกายสุจริต วาจาสุจริต ใจ สุจริต เป็นผู้นำในการถือศีล บำเพ็ญทาน ในการปฏิบัติดีแก่ มารดาบิดา สมณพราหมณ์ ใน ความเคารพต่อผู้ใหญ่ในสกุล และเป็นผู้นำให้เคารพในธรรม ที่เป็นกุศลชั้นสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ด้วยผลแห่งบุญที่เราได้กระทำสั่งสมไว้นั้น ต่อเมื่อเราได้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว เราจึงได้รับผลบุญนั้นคือ ได้เป็นผู้นำของมหาชนโดย ธรรม ได้เป็นผู้ที่มหาชนคล้อยตาม ไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค และคนธรรมพ์"
มหาชนทำตาม
"ตถาคตเคยเกิดเป็นมนุษย์ในชาติกาลก่อน ได้ประพฤติละ การพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่ความจริง ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐานอันควรเชื่อถือ ไม่กล่าวคำลวงโลกใด ๆ
ด้วยผลแห่งบุญที่เราได้กระทำสั่งสมไว้นั้น ต่อเมื่อเราได้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว เราจึงได้รับผลบุญนั้นคือ ตถาคตเป็นที่ประพฤติตาม ของมหาชนทั้งหลาย ทั้งที่เป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรมพ์"
บริวารสามัคคี
"ตถาคตเคยเกิดเป็นมนุษย์ในชาติกาลก่อน ได้เว้นขาดจากคำ ส่อเสียด คือฟังความจากข้างนี้แล้ว ไม่ไปบอกข้างโน้น หรือฟังความ จากข้างโน้นแล้ว ก็ไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อพวกเขาจะได้ไม่แตกร้าวกัน แต่จะพูดสมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง จะส่งเสริมคนที่สามัคคีกัน แล้วบ้าง ชอบหมู่คนผู้สามัคคีกัน ยินดีในหมู่คนผู้สามัคคีกัน เพลิด เพลินในหมู่คนที่สามัคคีกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้หมู่คนสามัคคีกันเท่านั้น
ด้วยผลแห่งบุญที่เราได้กระทำสั่งสมไว้นั้น ต่อเมื่อเราได้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว เราจึงได้รับผลบุญนั้นคือ มีบริษัทไม่แตกแยกกัน สามัคคีกัน ไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์"
เชื่อถือในวาจา
"ตถาคตเคยเกิดเป็นมนุษย์ในชาติกาลก่อน ในภพนั้น ๆ เราได้ ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษที่ไพเราะหู ชวนให้รักจับใจ อันเป็นคำของชาวเมือง ซึ่งคนส่วนมากรักใคร่พอใจ ยิ่งนัก
ด้วยผลแห่งบุญที่เราได้กระทำสั่งสมไว้นั้น ต่อเมื่อเราได้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว เราจึงได้รับผลบุญนั้นคือ วาจาของตถาคตเป็นที่รัก เป็นที่เชื่อถือของมหาชนทั้งหลาย ทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรมพ์"
ศัตรูกำจัดไม่ได้
"ตถาคตเคยเกิดเป็น มนุษย์ในชาติกาลก่อน ได้เคย ประพฤติละคำเพ้อเจ้อ เว้น ขาดจากคำเพ้อเจ้อ มุ่งพูดให้ ถูกเวลา พุดแต่คำที่เป็นจริง พูดมีเนื้อหาสาระ พูดอิงธรรมะ พูดอิงวินัย พูดแต่คำที่มีหลัก ฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนดอัน ประกอบด้วยประโยชน์ในเวลา ที่เหมาะควร
ด้วยผลแห่งบุญที่เราได้กระทำสั่งสมไว้นั้น ต่อเมื่อเราได้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว เราจึงได้รับผลบุญนั้นคือ ไม่มีข้าศึกศัตรูภายใน พระพุทธเจ้าแล้ว เราจึงได้รับผลบุญอันนั้นคือ ไม่มีข้าศึกศัตรูภายใน ทั้งราคะ โทสะ โมหะ ที่จะกำจัดเราได้ หรือแม้ศัตรูภายนอกทั้งที่ เป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม ใคร ๆ ในโลกนี้ ไม่อาจ กำจัดเราได้เลย"
มั่งคั่งร่ำรวย
"ตถาคตเคยเกิดเป็น มนุษย์ในชาติกาลก่อน ได้ใส่ใจ มหาชนที่ควรสงเคราะห์ รู้จัก ผู้ที่มีฐานะเท่าเทียมกันและฐานะ ที่ต่างกัน รู้จักว่าผู้มีฐานะเยี่ยงนี้ ควรช่วยเหลือย่างนี้ รู้จักว่า ผู้มีฐานะพิเศษเยี่ยงนั้น ควร สักการะอย่างนั้น แล้วก็ลงมือ ทำกิจช่วยเหลือเป็นประโยชน์ แก่บุคคลเหล่านั้น
ด้วยผลแห่งบุญที่เราได้กระทำสั่งสมไว้นั้น ต่อเมื่อเราได้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว เราจึงได้รับผลบุญนั้นคือ เป็นผู้มั่งคั่งร่ำรวย มีทรัพย์ มาก มีสมบัติมาก ทรัพย์ของเราก็คือศรัทธา ศีล ความละอายที่ทำ บาป ความเกรงกลัวที่ทำบาป สุตะ (ฟังธรรม) จาระ (เสียสละแบ่ง ปัน) ปัญญา เหล่านี้เป็นอริยทรัพย์ของเรา"
ผิวทอง, ผ้าเนื้อดี
บริโภคของปราณีต
"ตถาคตเคยเกิดเป็นมนุษย์ในชาติกาลก่อน เป็นผู้ไม่มีความ โกรธ ไม่มีความแค้นใจ แม้จะถูกคนหมู่มากด่าว่าเอาก็ไม่ขัดใจ ไม่ โกรธ ไม่ปองร้าย ไม่จองเวร ไม่ทำโกรธ ไม่ทำแค้นเคือง และไม่ทำ เสียใจให้ปรากฏ อีกทั้งเรายังเป็นผู้ให้เครื่องลาดมีเนื้อละเอียดอ่อน ให้ผ้านุ่งห่มเนื้อละเอียด ได้ทำตนเป็นผู้ให้ของที่ควรเคี้ยว ของที่ควร บริโภคอันปราณีต มีรสอร่อย ให้น้ำที่น่าดื่มแก่คนทั้งหลาย
ด้วยผลแห่งบุญที่เราได้กระทำสั่งสมไว้นั้น ต่อเมื่อเราได้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว เราจึงได้รับผลบุญนั้นคือ มีผิวพรรณงามดั่งทองคำ ได้เครื่องลาดที่มีเนื้อละเอียดอ่อน ได้ผ้านุ่งห่มอย่างดีที่มีเนื้อละเอียด ได้ของที่ควรเคี้ยว ได้ของที่ควรบริโภคอันปราณีตมีรสอร่อย และได้ น้ำที่ควรซดควรดื่ม"
บริวารมาก
"ตถาคตเคยเกิดเป็นมนุษย์ในชาติกาลก่อน ได้เป็นผู้นำความ สุขมาให้แก่ชนเป็นจำนวนมาก บรรเทาภัยคือความหวาดกลัวและ หวาดเสียว จัดการรักษาปกครองป้องกันโดยธรรม ทั้งทำทานพร้อม ด้วยวัตถุเป็นอันมากไว้
ด้วยผลแห่งบุญที่เราได้กระทำสั่งสมไว้นั้น ต่อเมื่อเราได้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว เราจึงได้รับผลบุญนั้นคือ มีบริวารมาก ทั้งที่เป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์"
บริวารช่วยเหลือ
"ตถาคตเคยเกิดเป็นมนุษย์ในชาติกาลก่อน เป็นผู้สงเคราะห์ ประชาชนด้วยสังคหวัตถุ ๔ คือ มีการให้ทาน การกล่าวคำเป็นที่รัก การประพฤติให้เป็นประโยชน์ และการทำตัวให้เข้าใจกัน
ด้วยผลแห่งบุญที่เราได้กระทำสั่งสมไว้นั้น ต่อเมื่อเราได้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว เราจึงได้รับผลบุญนั้นคือ มีบริวารช่วยเหลือเป็น อย่างดี ทั้งที่เป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์"
ได้ปัจจัยเร็วพลัน
"ตถาคตเคยเกิดเป็นมนุษย์ในชาติกาลก่อน ภพนั้นเราตั้งใจ สอนเรื่องศิลปะ วิชชา จรณะ (ข้อที่ควรประพฤติ) และเรื่องของ กรรม ด้วยการทำในใจว่าทำอย่างไรชนทั้งหลายจะพึงรู้เรื่องเหล่านี้ ได้รวดเร็ว จะพึงสำเร็จผลได้เร็วไว ไม่ต้องทุกข์ลำบากนาน
ด้วยผลแห่งบุญที่เราได้กระทำสั่งสมไว้นั้น ต่อเมื่อเราได้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว เราจึงได้รับผลบุญนั้นคือ ได้รับจีวรหรือผ้าห่ม อันสมควรแก่พุทธบริษัท ๔ โดยพลัน ได้บริขาร (เครื่องใช้สอย) อัน สมควรแก่สมณะเร็วไว"
สิ้นความเสื่อม
"ตถาคตเคยเกิดเป็น มนุษย์ในชาติกาลก่อนนั้น ได้ เป็นผู้หวังประโยชน์ให้เกิดแก่ ประชาชนเป็นอันมาก ด้วยการ ทำในใจว่าทำอย่างไรหนอผู้คน ทั้งหลายจะพึงเจริญด้วยศรัทธา เจริญด้วยศีล เจริญด้วยการ ฟังธรรม เจริญด้วยการเรียนรู้ เจริญด้วยการเสียสละแบ่งปัน เจริญด้วยธรรม เจริญด้วย ปัญญา แม้แต่เจริญด้วยทรัพย์ เจริญด้วยนาและสวน เจริญ ด้วยบุตรและภรรยา เจริญ ด้วยทาสและกรรมกร เจริญ ด้วยญาติ เจริญด้วยมิตร เจริญด้วยพวกพ้องทั้งหลาย
ด้วยผลแห่งบุญที่เราได้กระทำสั่งสมไว้นั้น ต่อเมื่อเราได้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว เราจึงได้รับผลบุญนั้นคือ ไม่มีความดีใด ๆ เสื่อมเป็น ธรรมดา ไม่เสื่อมจากศรัทธา ไม่เสื่อมจากศีล ไม่เสื่อมจากการฟัง ธรรม ไม่เสื่อมจากการเสียสละแบ่งปัน ไม่เสื่อมจากปัญญา ไม่เสื่อม จากอริยทรัพย์ทั้งปวง"
เลิศด้วยปัญญา
"ตถาคตเคยเกิดเป็นมนุษย์ที่เข้าหาสมณะหรือพราหมณ์ แล้วซัก ถามว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ กรรมส่วนกุศลเป็นอย่างไร ? กรรมส่วน อกุศลเป็นอย่างไร ? กรรมที่มีโทษเป็นอย่างไร ? กรรมที่ไม่มีโทษเป็น อย่างไร ? กรรมอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ แต่ จะเป็นไปเพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน ? กรรมอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เป็นไปเพื่อสุขตลอดกาลนาน ?
ด้วยผลแห่งบุญที่เราได้กระทำสั่งสมไว้นั้น ต่อเมื่อเราได้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว เราจึงได้รับผลบุญนั้นคือ เป็นผู้มีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาว่องไว มีปัญญาเฉียบ แหลม และมีปัญญาทำลายกิเลส โดยไม่มีสรรพสัตว์ใดในโลกนี้จะมี ปัญญาเสมอเรา หรือมีปัญญาประเสริฐไปกว่าเราได้เลย"
เลิศกว่าใคร ๆ ในโลก
"ตถาคตเคยเกิดเป็นมนุษย์ในชาติกาลก่อน ภพนั้นเราเป็นผู้ กล่าวถ้อยคำวาจาประกอบด้วยอรรถ (มีสาระ) ประกอบด้วยธรรม แนะนำประชาชนเป็นอันมาก เรายกย่องบูชาธรรมเป็นปกติ เป็นผู้นำ เอาประโยชน์และความสุขมาให้แก่สัตว์โลกทั้งหลาย
ด้วยผลแห่งบุญที่เราได้กระทำสั่งสมไว้นั้น ต่อเมื่อเราได้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว เราจึงได้รับผลบุญนั้นคือ เป็นผู้ประเสริฐ เลิศ ยอด เป็นประธานสูงสุด ดีกว่าสรรพสัตว์ใด ๆ ในโลก"


จิตอนุโมทนา
เป็นสุขเช่นเดียวกับผู้ให้
เมื่อเห็นผู้อื่นทำความดี พึงบังเกิดใจยินดีและศรัทธา จงอย่า ได้บังเกิดจิตอิจฉาริษยา เพราะการบังเกิดใจยินดี (มุทิตาจิต) นั้นก็คือ กุศลปัจจัยอันนำมาซึ่งวาสนา แต่การบังเกิดใจอิจฉาคือการสร้างกรรม
เมื่อเราเห็นผู้อื่นสร้างกุศล ยิ่งจะต้องเข้าช่วยเหลือตามกำลัง ตามฐานะของตน แล้วกล่าวชมเชยยกย่องการกระทำที่ดีงามของเขา และข้อดีด้วยความจริงใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนยากจนพึงเรียนรู้พุทธ วิธีเช่นนี้ เพราะคนจนขัดสนเงินทองที่จะนำมาบริจาค ดังนั้นเมื่อเห็น ผู้อื่นบริจาคก็ควรบังเกิดใจยินดี (อนุโมทนา) ดังที่ว่า " มีเงินออกเงิน ไม่มีเงินก็ออกแรง" นอกเสียจากไม่มีกำลังเรี่ยวแรงที่จะช่วยได้ ขอ เพียงบังเกิดใจยินดีแล้วอนุโมทนา เท่านี้ก็สามารถเพิ่มพูนวาสนาบารมี ได้เหลือคณานับ
เช่นเดียวกับในขณะที่เรากำลังนึกถึงเรื่องบริจาคในอดีตที่ผ่านมา เป็นต้นว่าเคยให้ทานแก่คนยากจนขาดแคลน หรือคิดไว้ว่าจะไปทำบุญ บริจาคที่นั่นที่นี่ ภาพเหล่านั้นก็จะถูกสร้างขึ้นในจินตนาการ เพียงแค่ เราได้ทำการบริจาคในจินตนาการนั้น ความปิติที่เราได้รับก็จะบังเกิดขึ้น ไม่แตกต่างไปจากการได้ลงมือช่วยเหลือ เช่นนี้แล้วบุคคลที่ใช่จินตนาการ ระลึกถึงการสร้างบุญกุศลและอนุโมทนานับได้ว่าเป็นพุทธวิธีอย่างหนึ่ง ในการบำเพ็ญกุศลซึ่งได้ผลไม่น้อยไปกว่ากันเลย.
แก่นสารของชีวิต
เร่งรุดหาทางหลุดพ้น
การสร้างบุญกุศลสิ่งสำคัญอยู่ที่ความเพียร ถือโอกาสนี้เชิญ ชวนสาธุชนทั้งหลายมาสร้างบุญบารมีกันเถิด ! มิฉะนั้นแล้วเกรงจะ สายเกิน เพราะชีวิตนั้นอนิจจังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ความตายจะมาเยือน ด้วย เหตุนี้จึงควรเร่งรีบสร้างกุศลจิตและสั่งสมบุญบารมีกันดีกว่า
สิ่งที่ได้สนทนากับท่านในวันนี้ถึงต้นเหตุผลกรรมและหลักการของชะตาชีวิต เมื่อเปรียบเทียบกับภูมิปัญญาแห่งการหลุดพ้นเวียนว่าย ตายเกิดในพุทธธรรมแล้วยังนับว่าห่างไกลกันอีกมาก หวังว่าวิญญูชน เมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้อย่าหยุดเพียงเท่านี้ เมื่อบังเกิดจิตกุศลการชำระ ล้างภายในก็จะเกิดขึ้น ควรใสวิสุทธิ์ของดวงญาณก็คือบ่อเกิดแห่ง ปัญญา ไม่ใช่อื่นเลยหากเราต้องเริ่มต้นจากการสั่งสมบุญกุศลด้วยการ สร้างบุญทานบารมี จงเพียรศึกษาต่อไปเพื่อให้ถึงแก่นแท้แห่งพุทธธรรม นั่นคือ อนุตตรสัมมนาสัมโพธิจิต ความสำเร็จของท่านในอนาคตก็ไม่อาจ ประมาณได้
สุดท้ายนี้ขออวยพรทุกท่านให้ได้พบกับความปิติในธรรม พบดวงญาณอันวิสุทธิ์คือธาตุแท้แห่งตน บำเพ็ญทั้งบุญทั้งปัญญารู้แจ้งไปสู่ ความหลุดพ้น ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะสงสารแห่งความ ทุกข์อีกต่อไป.

บทความนี้มาจาก mindcyber.com! สังคมธรรมะออนไลน์
http://thai.mindcyber.com

URL สำหรับเรื่องนี้คือ:
http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=253

No comments: