Monday, November 15, 2010

การถวายผ้ากฐินที่ถูกต้องควรทำอย่างไร? (ตอน ๓)

“ผ้ากฐินนั้น มิใช่ผ้าไตรจีวรที่ตัดเย็บเรียบร้อยแล้ว ที่ญาติโยมจัดซื้อมาถวายพระสงฆ์ เพราะถ้าตัดเย็บย้อมมาเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์ก็จะไม่ได้ทำการรับผ้ามาเพื่อทำการกรานกฐิน ซึ่งจะไม่ครบองค์คุณสมบัติในกฐินกรรม อันเป็นไปตามพุทธบัญญัติในพระพุทธศาสนา”

โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส

“ผ้ากฐินนั้น มิใช่ผ้าไตรจีวรที่ตัดเย็บเรียบร้อยแล้ว ที่ญาติโยมจัดซื้อมาถวายพระสงฆ์ เพราะถ้าตัดเย็บย้อมมาเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์ก็จะไม่ได้ทำการรับผ้ามาเพื่อทำการกรานกฐิน ซึ่งจะไม่ครบองค์คุณสมบัติในกฐินกรรม อันเป็นไปตามพุทธบัญญัติในพระพุทธศาสนา”

ปุจฉา : กราบเรียน พระอาจารย์อารยะวังโส ด้วยข้าพเจ้ามีความสับสนเรื่องการถวายผ้ากฐิน ซึ่งมีอานิสงส์มาก ว่า การถวายผ้ากฐินอย่างไรที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา เพราะบางวัดรับผ้าไตรจีวรตัดเย็บแล้ว บางวัดรับผ้าขาวไปตัดเย็บเอง และบางวัดก็ไม่ตัดเย็บใดๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปจนไม่รู้ว่าแบบไหนคือแบบที่ถูกต้อง

พิธีการจากสำนักวัฒนธรรมฯ แห่งหนึ่งเป็นโฆษกบรรยายว่า “การถวายผ้ากฐินให้กับพระสงฆ์มหานิกายก็จะทำอย่างหนึ่ง ถวายให้กับพระสงฆ์ธรรมยุตก็จะทำอย่างหนึ่ง จึงให้สับสนว่า “ทำไมถือปฏิบัติไม่เหมือนกัน ทั้งที่เป็นพุทธศาสนาเดียวกัน”

ขอพระอาจารย์ช่วยแจกแจงแสดงเหตุผลให้หายสงสัยด้วยเถิด เพื่อจะได้ถึงบุญกุศลที่แท้จริงสำหรับชาวพุทธไทยเรา...

ความเคารพอย่างสูง

“ศรัทธาธรรมส่องโลก”

วิสัชนา : “อันสามารถย้อมสีสำหรับจีวรของพระได้” ซึ่งสีที่อนุญาตว่าใช้ได้นั้น คือ

๑.สีเหลืองเจือแดงเข้ม

๒.สีเหลืองหม่น

๓.สีกรัก

สำหรับสีที่ห้ามย้อมจีวร คือ สีคราม สีเหลือง สีแดง สีบานเย็น สีแสด สีชมพู และสีดำ

ดังนั้น ลักษณะผ้าสีขาวจึงเป็นสีนิยม ที่สาธุชนจะได้จัดทำมาเป็นผ้ากฐินเพื่อถวายสงฆ์ ตรงนี้จึงเป็นคำตอบที่ชัดเจนว่า “ผ้ากฐินนั้น มิใช่ผ้าไตรจีวรที่ตัดเย็บเรียบร้อยแล้ว ที่ญาติโยมจัดซื้อมาถวายพระสงฆ์” เพราะถ้าตัดเย็บย้อมมาเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์ก็จะไม่ได้ทำการรับผ้ามาเพื่อทำการกรานกฐิน ซึ่งจะไม่ครบองค์คุณสมบัติในกฐินกรรม อันเป็นไปตามพุทธบัญญัติในพระพุทธศาสนา

สำหรับเครื่องบริวารทั้งหลายของ “ผ้ากฐิน” ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยเงินทอง ของมีค่า เครื่องใช้ทั้งหลาย ที่ญาติโยมจัดหามา ซึ่งเรียกว่า บริวารผ้ากฐินนั้น มักจะน้อมนำถวายสงฆ์ โดยผู้ถวายไม่ได้จำกัดเฉพาะเจาะจงภิกษุผู้กรานกฐิน ก็คือว่า เป็นของสงฆ์ สงฆ์เป็นใหญ่ คือ ให้จัดการไปตามมติของสงฆ์

อนึ่ง ความวิบัติแห่ง “กฐินกรรม” มีอยู่ ๓ ประการ ซึ่งทำให้การกรานกฐินย่อมใช้ไม่ได้ คือ

๑.วัตถุวิบัติ

๒.กาลวิบัติ

๓.กิริยาที่ทำวิบัติ

วัตถุวิบัติ นั้น ก็คงต้องนึกถึงผ้าที่จะใช้กรานกฐินเป็นสำคัญ ซึ่งมีผ้าต้องห้ามอยู่ ๓ ชนิด ที่สาธุชนควรรับทราบ ได้แก่

๑.ผ้าที่ได้โดยไม่เป็นสิทธิ (ไม่ใช่เจ้าของ) ทำวิบัติ

๒.ผ้าที่ได้มาโดยอาการมิชอบ

๓.ผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์

ขอขยายความพอเข้าใจในส่วนของผ้า ซึ่งอาจจะทำให้ กฐินวิบัติ ได้ ดังที่กล่าวไปแล้วในส่วนวิบัติข้อที่ ๑ คือ ผู้ถวายผ้ามิได้มีกรรมสิทธิ์หรือเป็นเจ้าของผ้านั้น เช่น ขอยืมผ้าเขามา ฯลฯ ในข้อที่ ๒ ผ้าที่ได้มาโดยอาการมิชอบ คือ ทำนิมิตและพูดเลียบเคียง ในหัวข้อนี้ หากพูดให้เข้ากับกาลสมัยคือ พระสงฆ์ไปแสดงเจตนาพูดขอให้โยมนำผ้ากฐินมาทอดถวาย หรือพูดชักชวนโน้มน้าวโดยมีเจตนา เพื่อหวังให้ญาติโยมที่มิได้กล่าวปวารณาไว้ นำผ้าหรือวัตถุปัจจัยไทยทานทั้งหลายมาถวายตนหรือหมู่คณะ เรียกว่า พูดจาโน้มลาภ อันต้องอาบัติและเป็นวิบัติของกฐินกรรมนั้น และในข้อที่ ๓ ผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์ อันเป็นผ้าที่เขาถวายกฐินแล้ว แต่ภิกษุเก็บไว้ค้างคืน ไม่ได้ทำให้เสร็จในวันนั้น ผ้าเหล่านี้ท่านห้ามนำมาทำเป็นผ้ากฐิน ไม่ได้เป็นกฐินที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย


ที่มา

http://www.posttoday.com/%E0%B8

No comments: