เห็นพี่ ๆ น้อง ๆ หลายท่านได้ไปใส่บาตรกัน ก็น่าจะเป็นการดีที่จะได้แนะนำถึงข้อปฏิบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการตักบาตร ลองอ่านดูแล้วกัน
๑. ขณะรอใส่บาตร ให้ทำจิตตั้งมั่นไว้ว่า จะใส่บาตรโดยไม่เจาะจง เมื่อพระเณรรูปใดเดินผ่านมาก็ใส่บาตรไปตามลำดับจนหมดอาหารที่เตรียมมาไม่เลือกใส่องค์นี้ ไม่ใส่องค์นั้นการใส่บาตรโดยไม่เจาะจงนี้ พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่ามีผลานิสงค์มากกว่าการใส่บาตรโดยเจาะจง
๒. เมื่อพระภิกษุเดินมาใกล้จะถึงที่ ที่เราอยู่พึงอธิษฐานจิต เสียก่อน โดยถือขันข้าวด้วยมือทั้งสอง นั่งกระหย่งยกขันข้าวขึ้นเสมอหน้าผาก กล่าวคำอธิษฐานว่า “สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ ทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้ จงเป็นเครื่องนำมาซึ่งความสิ้นกิเลสเถิด”
๓. จากนั้นลุกขึ้นยืน และถอดรองเท้า เพราะการสวมรองเท้าถือว่า ยืนสูงกว่าพระ ถือเป็นการไม่สมควรเหมือนเป็นการขาดความเคารพ แต่ก็ไม่กรณียกเว้นเช่น เท้าเจ็บ หรือเป็นที่น้ำขังเฉอะแฉะ เป็นต้น แต่ที่ไม่ควรก็คือบางคนถอดจริงแต่กลับไปยืนอยู่บนรองเท้าเสียอีก ยิ่งสูงไปกันใหญ่ ดังนั้นถ้าตั้งใจจะไม่ใส่รองเท้าก็จัดที่ให้พระสงฆ์ยืนสูงกว่า
๔. เมื่อใส่บาตรเสร็จแล้ว ถ้ามีโต๊ะรองอาหารหรือรถยนต์จอดอยู่ด้วย ให้วางขันข้าวบนนั้น ยืนตรง น้อมตัวลงไว้พระสงฆ์ แต่ถ้าตักบาตรรอยู่ริมทางควรนั่งกระหย่ง วางขันข้าวไว้ข้างตัวยกมือไว้พระสงฆ์ พร้อมกับอธิษฐานว่า “นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, สังโฆ เม สะระณัง วะรัง, เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสิรฐของข้าพเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ขอให้ข้าพเจ้าเจริญในพระศาสนาของศาสดา”
๕. หลังจากนั้นควรอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยการกรวดน้ำ และกล่าวว่า “อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขอบุญทั้งหลังจงสำเร็จแก่ญาติของข้าพเจ้า ขอให้ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลายจงเป็นสุข เป็นสุขเถิด”
No comments:
Post a Comment