Tuesday, May 22, 2007

พระพุทธศาสนาเหมือนกับวิทยาศาตร์อย่างไร

ขออนุญาตเก็บตกจากข้อเขียนของ Dr. K. Sri. Dhammananda
เรื่อง, Why Buddhism? นะ.-

พระพุทธศาสนามิใช่เป็นศาสนาที่ปรับปรุงขึ้นมาโดยมีศาสนาอื่น
เป็นฐาน หรือมีความคิดแบบรวมหลายศาสนา สมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า มิได้ทรงรวบรวมคำสอน
จากศาสนาอื่น หรือจากแนวความคิดของปรัชญาสำนักต่าง ๆ ตรงข้ามพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่เหมือนใคร มีคำสอน
อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่โดดเด่น ไม่ข้องแวะกับทฤษฎีเทวนิยม ไม่มีพระเจ้าที่ลึกลับเหนือธรรมชาติคอยบงการ


โดยการตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งไม่มีศาสดาของศาสนาใด
เคยพบความจริงอันติมะ และสูตร์สำเร็จ สำหรับความหลุดพ้น
ของมนุษยชาติมาก่อน พระองค์จึงทรงชี้ให้เห็นว่า นักคิดคน
อื่นได้ค้นพบเฉพาะวิชาการแบบโลกิยะเท่านั้น และสามารถ
ปฏิบัติจนบรรลุผลของการฝึกจิตเพียงบางระดับ ไม่สามารถจะ
ปฏิบัติให้บรรลุถึงขั้นทำจิตให้บริสุทธิ์อย่าง
สมบูรณ์หลุดพ้นจากความเชื่อสิ่งลึกลับ
เหนือธรรมชาติ จากความไม่บริสุทธิ์ จากความหลอกลวง จาก
สิ่งลวงตา จากจินตนาการ อย่างเลื่อนลอย และอวิชชา เหล่านี้ได้


เราจะสามารถเข้าใจความหมายหรือวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของ
ศาสนาได้ ก็ต่อเมื่อเราได้ศึกษาทราบความจริงว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำให้ทุกคนรู้จักทาง
ดำเนินชีวิตอันประเสริฐแล้วเท่านั้น ถ้าเราจะใช้ประโยชน์จาก
คำว่า “ศาสนา” เพื่อศึกษาเกี่ยวกับคำสอนขององค์สมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะต้องทำความเข้าใจความหมาย
ของคำๆนี้ให้เหมือนกับที่
นักการศาสนาคนอื่นเข้าใจ จึงจะเข้าใจว่า
“ทำไมสังคมจึงต้องมีพระพุทธศาสนา” ทั้งๆที่โลกมีศาสนาอื่น
อยู่แล้วหลายศาสนา



ไม่สอนให้เชื่ออย่างงมงาย


สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงขจัดแนวความ
คิดที่ผิด ซึ่งประชาชนยึดถือมานานนับพันๆปี ความเชื่อที่ว่า
วิญญาณเป็น”อัตตาถาวร” ซึ่งพระเจ้าสร้างขึ้น จำเป็น
จะต้องถูกยกเลิก เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงแสดงเหตุผลที่สามารถ
พิสูจน์ได้อย่างมั่นคง ว่าทำไมความเชื่อที่เคยเชื่อกันมาว่ามี
วิญญาณที่มีตัวตนอมตะอยู่ แต่คำสอนของพระพุทธศาสนา
กล่าวว่ามันเป็นเพียงความฝัน ความเชื่อนั้นมีอยู่เพียงในใจ
เหมือนกับที่เรามองเห็นสีของสายรุ้ง
ซึ่งไม่มีตัวตนของสายรุ้งจริง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง
อธิบายว่า แนวความคิดเรื่องวิญญาณ เป็นเพียงความเข้าใจ
ที่ผิดพลาดของความรู้สึกของมนุษย์ แนวความคิดเรื่องวิญญาณนี้
เป็นเรื่องสำคัญมากในทุกศาสนา แต่มีเพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ที่ได้ทรงตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า ไม่มีเหตุผลอะไรสำหรับเราที่
จะเชื่อว่าวิญญาณมีตัวตนถาวรจริง



อีกตัวอย่างหนึ่ง ในสมัยนั้นทุกคนเชื่อว่า พระอาทิตย์พระจันทร
์หมุนรอบโลก ที่คนเชื่ออย่างนี้ เพราะเขาไม่มีความรู้ที่ถูกต้อง
เกี่ยวกับระบบสุริยจักรวาล แต่เมื่อ Copernicus (โคเปอร์นิคุส) พิสูจน์ให้เห็นว่าพระอาทิตย์ไม่ได้หมุนรอบโลก แต่โลกต่างหาก
ที่หมุนรอบดวงอาทิตย์ และต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน คนก็ตระหนัก
ความจริงข้อนี้โดยทั่วถึง


แนวความคิดที่ผิดพลาดอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับโลกก็คือ ทุกคน
เข้าใจว่าโลกแบน Galilao (กาลิเลโอ) ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าโลก
กลมไม่ใช่แบน ต่อมาประชาชนก็ยอมรับความจริงนี้โดยทั่วไป
เช่นเดียวกัน


เมื่อ Copernicus ค้นพบว่า พระอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของโลก
ประชาชนก็ต้องทิ้งความคิดเดิมที่ว่า โลกเป็นศูนย์กลางของ
จักรวาล


ความเชื่อที่นักปรัชญาสมัยโบราณ เคยเชื่อถือต่อๆกันมาจนถึง
ศตวรรษที่ 19 ว่า Atom (ปรมาณู) เป็นแก่นแท้ขั้นสุดของสะสาร
ที่ไม่สามารถจะแบ่งแยกได้อีก ก็จำเป็นต้องถูกยกเลิกไปเมื่อ
นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์สามารถแบ่งแยกปรมาณูได้


ทฤษฎี วิวัฒนาการที่ Charles Darwin (ชารลส์ ดาร์วิน) ค้นพบ
ก็พิสูจน์ให้เห็นว่า ทฤษฎีสร้างโลก ที่ว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก
และทุกสิ่งในโลก ก็เป็นทฤษฎีที่ผิด นักธรณีวิทยา (Geologists)
นักชีววิทยา (Biologists) นักสรีระวิทยา (Physiologists) ต่างก็
ให้คำอธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า ต้องใช้เวลานับล้านๆปี สำหรับ
การเกิดขึ้นของชีวิตแรก เป็นรูปร่าง หรือรูปแบบแรกของชีวิต
ในโลก การค้นพบของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆเหล่านี้ ไม่ขัดแย้งคำสอนของพระพุทธศาสนาแต่ประการใด การค้นพบในยุคใหม่เกี่ยวกับการวิวัฒนาการของชีวิตแร่ธาตุ
ชีวิตพืชและชีวิตมนุษย์และสัตว์ ล้วนสอดคล้องกับคำสอน
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงไว้กว่า 2,500 ปีมา
แล้วเช่นกัน


เมื่อเราได้ศึกษาคำอธิบายของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
เกี่ยวกับจักรวาล เราก็พบว่าพระองค์ได้ตรัสถึงความมีอยู่ของ
สิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีโชคดีและที่ประสบเคราะห์ร้าย
ไม่เฉพาะแต่ในโลกนี้ เท่านั้น แต่ยังมีอยู่ในดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ด้วย

นักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์สมัยใหม่ มีใจเปิดกว้าง
ในเรื่องนี้ และได้ยอมรับว่าเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่บน
ดาวพระเคราะห์บางดวงอย่างแน่นอน

แม้ความเชื่อที่ถือตามๆกันมาจนถึงปัจจุบัน ก็เหมือนความเชื่อ
ของคนโบราณเกี่ยวกับระบบของโลก และต้นกำเนิดของชีวิต แต่คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็สอดคล้อง
กับการค้นพบใหม่ๆ

แต่พระองค์ไม่ทรงสนับสนุนความเชื่อที่ว่า พิธีกรรมทางศาสนา
และการบูชายัญญ์ เป็นเพียงวิธีเดียวสำหรับมนุษย์
ที่จะพบความหลุดพ้น แต่พระองค์สอนการรักษาศีล การปฏิบัติสมาธิ
และการทำใจให้บริสุทธิ์ เป็นการปฏิบัติที่สำคัญในการดำเนิน
ชีวิตตามหลักศาสนาของพระองค์ที่จะนำชีวิตไปสู่ความหลุดพ้น
ในที่สุด

พระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า ผู้ปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระองค์
สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างปราศจากอันตราย (harmless)
ไม่ได้รับความตำหนิติเตียน (unblamable) เป็นที่เคารพนับถือ
(respectable) มีความโอบอ้อมอารีย์ (decent) มีชีวิตประเสริฐ
และบริสุทธิ์ (noble and pure) หากเพียงแต่ทำการสวดขอพร
อ้อนวอนขอร้อง หรือสักแต่ถวายเครื่องสักการะบูชาเพียงเท่านี้ ย่อมไม่ทำให้บุคคลนั้นดำรงชีวิตตามหลักคำสอนของพระองค์
ทั้งยังไม่ได้รับความสำเร็จสมบูรณ์ และไม่สามารถจะหลุดพ้น
จากกิเลสได้

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้ศาสนิก งดเว้นจากการ
ประพฤติชั่วที่เป็นบาปอกุศล ทั้งทางกาย วาจา และใจ เหตุผล
ที่ให้ละและให้หลีกเว้นจากความประพฤติชั่ว ก็เพื่อสวัสดิภาพ
ของเพื่อนร่วมชีวิต ไม่ใช่เพราะเหตุคือความกลัวพระเจ้า
หรือกลัวการถูกทำโทษ ในขณะเดียวกัน พระองค์ทรงแนะนำ
พวกเราให้ฝึกฝนอบรมคุณธรรม คือเมตตากรุณาต่อผู้อื่นสัตว์อื่น
ให้กระทำกรรมดี ให้ช่วยเหลือผู้อื่นโดยปราศจากการเห็นแก่ตัว


สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นพระบรมศาสดาเพียง
พระองค์เดียว ที่ทรงเชื่อในสติปัญญาความเฉลียวฉลาด
ของมนุษยชาติ พระองค์ทรงแนะนำเราท่านทั้งหลายไม่ให้ตก
เป็นทาสของสิ่งภายนอก แต่ให้พัฒนาพลังอำนาจที่ซ่อนอยู่
ภายในตัวของเราด้วยความเชื่อมั่นในตนเอง


พระองค์ยังทรงชี้ให้เห็นอีกว่า มนุษย์ทุกคนเป็นผู้รับผิดชอบ
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ความทุกข์และความสุขของพระองค์
ล้วนเป็นสิ่งที่ พระองค์เองเป็นผู้สร้างขึ้น และพระองค์ทรงเป็น
ผู้มีความสามารถกำจัดความทุกข์และธำรงค์ไว้ซึ่ง ความสงบ ความสุขและปัญญาโดยใช้ความเพียรพยายามของพระองค์
เองโดยไม่ต้องพึ่งอำนาจอิทธิภายนอก จิตของคนที่ไม่ได้รับ
การฝึกฝนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความทุกข์ยากลำบาก
ความพินาศฉิบหาย ความวุ่นวายเดือนร้อนที่เขาต้องเผชิญ
ในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันจิตของคน ที่ได้รับการฝึกฝน
และใช้ไปในทางที่เหมาะสม ที่ถูก ที่ควร ย่อมสามารถเปลี่ยน
แปลงเหตุการณ์วิกฤติ ให้เป็นโอกาส และสามารถสร้างโลกนี้
ให้เป็นโลกที่เปี่ยมไปด้วยสันติภาพ เจริญรุ่งเรือง และสันติสุข
สำหรับทุกคนที่จะอยู่อาศัย เรื่องนี้จะเกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัย
พลังจิตอันบริสุทธิ์ของปัญญาชน ผู้ได้ฝึกฝนดีแล้วเท่านั้น


ให้กล้าเผชิญความจริง


พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่สอนมนุษย์ให้รู้ความจริงที่แท้จริง
และให้ยอมรับความจริงทุกอย่างที่เกิดขึ้น ดังนั้นชาวพุทธจึง
ไม่ปฏิเสธความจริงเกี่ยวกับเรื่องของโลกที่
ค้นพบโดยนักคิดและนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง แม้ว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะมุ่งพัฒนาทางด้านจิตเป็น
หลัก แต่พระองค์ก็มิได้ละเลยที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าในทาง
โลกของมนุษยชาติด้วย ในคำสอนของพระองค์ เราจะพบว่ามีสิ่งที่เราสามารถนำไปปฏิบัติได้เป็นอย่างดีและ
เหมาะสม โดยไม่ทำให้เวลาและความพยายามอันมีค่าเสียไป
โดยเปล่าประโยชน์ พร้อมทั้งสอนให้เราปฏิบัติภารกิจอย่างชาญ
ฉลาด เพื่อความก้าวหน้าของมนุษยชาติ พระองค์ตรัสว่า
มนุษย์ควรทำหน้าที่ของตนที่มีต่อครอบครัว ต่อเครือญาติ
ต่อเพื่อนสนิทมิตรสหายต่อชุมชน ต่อประเทศชาติ และต่อโลก
โดยรวมให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

เพราะฉะนั้น ชาวพุทธทั้งมวลไม่ควรเพิกเฉยต่อหน้าที่และความ
ผูกพัน ในอันที่จะทำให้โลกใบนี้ เป็นโลกที่มีแต่ความสงบสุข
และสันติ โดยเสียสละความสุขส่วนตน ตามความสามารถ
พระพุทธองค์เองไม่ทรงแทรกแซงเรื่องราวต่างๆ ของรัฐ
ไม่ขัดขวางกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่รัฐออกมา ตามเหตุผลและเหมาะกับเหตุการณ์และกาละเทสะ พระองค์ไม่ทรงคัดค้านหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อจารีตและประเพณี
นิยมของสังคม หากเป็นสิ่งที่ไม่มีอันตรายและมีประโยชน์ต่อ
ชุมชน ในขณะเดียวกัน พระองค์ไม่เคยแสวงหาอำนาจทั้งทาง
การเมืองและการทหารเพื่อทรงแนะนำวิถีชีวิตทางศาสนาของ
พระองค์ แม้ว่าทั้งกษัตริย์ราชมนตรีทั้งหลาย ต่างก็เป็นสาวก
ของพระองค์

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนเราให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้เสียสละความสุขของเราเพื่อเห็นแก่ผู้ที่กำลังประสบความทุกข์ และเพื่อปฏิบัติรักษาศีลที่พระองค์ทรงวางไว้ ซึ่งไม่ใช่เป็นข้อบังคับที่สั่งให้เราเชื่อและปฏิบัติตามอย่างงมงาย ถ้าเราได้ปฏิบัติตามหลักคำสอนที่ดีเช่นที่พระองค์ได้สอนไว้ตาม
ความเชื่ออย่างมั่นคงของเรา ไม่เพียงแต่เราจะมีโอกาสทำตัว
ของเราให้บริสุทธิ์สมบูรณ์เท่านั้น แต่เรายังจะได้ชื่อว่าได้ช่วย
เหลือผู้อื่นให้มีชีวิตเป็นสุขอีกด้วย

การทำตนให้บริสุทธิ์เป็นจุดหมายสูงสุด ที่บุคคลต้องพยายาม
ปฏิบัติให้บรรลุถึงความหลุดพ้น ซึ่งไม่สามารถจะทำได้โดย
อาศัยอำนาจของพระเจ้า


ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เราสามารถจะเห็นผล
ของกรรมดีหรือกรรมชั่วของเราได้ในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ก็มี ความสุขแบบชาวสวรรค์หรือความสุขอันเกิดจากนิพพานก็สามารถ
จะเสวยผลได้ขณะที่เรามีชีวิตอยู่เช่นเดียวกัน ไม่จำเป็นที่จะต้องรอคอยให้เราตายก่อนจึงจะเห็นผลเหมือนที่หลาย
ศาสนาสอนไว้

ด้วยเหตุนี้เอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ทรง
ประกาศเชิญชวนให้ทุกคนจงมาดู (เอหิ ปสฺสิโก) คำสอน
(พระธรรม) ของพระองค์ แต่ไม่ใช่ให้มาเชื่อเลย และพระองค์ทรงแนะให้ทุกคนเลือกนับถือศาสนาที่ดีมีเหตุผล
ให้พิจารณาอย่างลึกซึ้ง และตรวจสอบอย่างละเอียดในทุกด้าน
ไม่ควรยอมรับนับถือศาสนาใดๆ โดยอาศัยอารมณ์ หรือศรัทธา
อย่างงมงาย นี้คือเหตุผลที่พระพุทธศาสนาสอนไว้จึงได้รับขนาน
นามว่า เป็นศาสนาที่ทนต่อการวิเคราะห์ ณ จุดนี้ เราจึงพบการวิเคราะห์ทั้งทางจิตและวัตถุตามหลักวิทยาศาสตร์
และจิตวิทยา ซึ่งนักคิดสมัยปัจจุบันรู้สึกประทับใจเป็นอย่างยิ่ง


เป็นศาสนาสากล


สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นศาสดาผู้ทรงค้นพบธรรม
ชาติที่แท้จริงแห่งสากลจักวาล และทรงสอนให้ประชาชนดำรง
ชีวิตตามกฎนี้ พระองค์ทรงกล่าวว่า ผู้ฝ่าฝืนกฎนี้ เช่นดำเนินชีวิต
ฝืนธรรมชาติ และดำรงชีพ แบบปราศจากศีลธรรม จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมที่จะเผชิญกับผลของการกระทำนั้น


เราสามารถจะเห็นบทพิสูจน์ในเรื่องนี้อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อศตวรรษที่แล้วเป็นต้นมา อาณาบริเวณอันกว้างใหญ่ไพศาลของโลกได้ถูกทำให้กลายเป็น
ที่รองรับของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม แม่น้ำหลายสายได้กลาย
เป็นแหล่งมลพิศอย่างรุนแรงขนาดที่เราไม่สามารถที่จะหยุดยั้ง
ความเสียหายที่จะเกิดจากความละโมบอยากได้สมบัติที่เป็นวัตถ
ุอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์โดยตรง อันเนื่องมาจากการขาด
ปัญญาที่จะเข้าใจ เรื่องความสมดุลย์ระหว่างมนุษย์
กับธรรมชาตินั่นเอง

เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่จะหนีเอาตัวรอดจากผลกระทบของกฎ
ธรรมชาติดังกล่าวได้ โดยเพียง ทำพิธีสวดอ้อนวอนขอพรจาก
พระเจ้า เพราะกฎธรรมชาติเป็นกฎสากล ที่ไม่มีความลำเอียง
ไม่เข้าใครออกใคร แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรง
สอนเราให้รู้วิธีที่จะหยุดยั้งผลกระทบเหล่านั้น โดยเลิกละสิ่งชั่ว
กระทำแต่สิ่งดี โดยการฝึกจิต และกำจัดความคิดที่ชั่วร้ายนั้น
ออกจากจิตใจ เมื่อมนุษย์ได้ทำการฝ่าฝืนกฎสากล หรือ
กฎธรรมชาติแล้ว ก็ไม่มีวิธีอื่นใดที่จะกำจัดผลกระทบ (ผลกรรม)
นั้นได้ นอกจากจะปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎสากล หรือกฎธรรมชาติดังกล่าวต้องหยุดความละโมบไม่รู้จักพอ แล้วเปิดโอกาสให้ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เข้ามาแทนที่

กฎของกรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทางแสดงไว้ ได้เป็นที่ยอมรับของนักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียงของโลก คือ
Carl Jung (คาร์ล จุง) ว่าเป็นเรื่องของจิตที่ทำหน้าที่เก็บสะสมกรรม
ทั้งดีทั้งชั่ว (collective Consciousness) ที่กล่าวมานี้หา
ใช่สิ่งใดอื่นไม่ นอกจากการฝากสะสม เมล็ดของกรรมไว้
ในพลังงานของจิต (mental energy) ตราบใดที่จิตที่ทำหน้าที่
สะสมกรรมและความปรารถนาที่จะมีชีวิต ยังคงมีอยู่ในจิต
อย่างที่นักจิตวิทยาได้กล่าวมาแล้ว การเกิดใหม่ ก็จะมีขึ้น
ไม่ว่าใครจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ความจริงย่อมเป็นความจริงธาตุ
ขันธ์ฝ่ายรูปอาจแตกสลายหรือดับศูนย์ไป แต่พลังงานของจิต
(วิญญาณ) ที่มี “ความอยากเกิด” ผสมอยู่ก็จะถูกส่งผ่านไปกับ
วิญญาณ (พลังจิต) สู่การปฏิสนธิ (ปฏิสนธิวิญญาณ) ชีวิตใหม่
อันมีผลกรรมที่สะสมไว้ในจิตก็จะเกิดขึ้น


กฎการดึงดูดของโลก (Law of Gravitation) และกฎการสะสม
พลังงาน (Law of conservation of energy) ที่นักวิทยาศาสตร
์สมัยใหม่ อย่างเช่น New ton ได้ค้นพบ ก็มาสนับสนุนคำสอน
เรื่องกฎแห่งกรรม (Doctrine of Karma) ที่องค์สมเด็จพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงสอนไว้กว่า 2,500 ปีมาแล้ว


ตามคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
มนุษย์สามารถจะกลายเป็นแม้เทวดาก็ได้ หากเขาผู้นั้นดำเนิน
ชีวิตอย่างบริสุทธิ์สะอาด และมีธรรมะที่ทำให้เขาเป็นเทวดา
ประจำใจ- คือมีหิริ ความละอายต่อบาป และมีโตตับปะ ความเกรงกลัวต่อบาป-ไม่ว่าผู้นั้นจะมีความเชื่อทางศาสนา
หรือไม่ก็ตาม เขาก็ถือ ว่าเป็นเทวดา เพราะปฏิบัติเทวธรรม
แด่ศาสนาอื่น ทำได้เพียงแต่สอนให้คนสวดขอพรจากเทวดา
(พระเจ้า) และยังสอนอีกว่าหลังถวายแล้วเท่านั้นที่มนุษย์จะ
ไปสวรรค์ไปเป็นเทวดาได้ ทั้งยังสอนว่า ความสุขหรือการ
เสวยผลบนสวรรค์นั้น ไม่ได้หมายความว่ามนุษย์จะได้อภิสิทธิ์
ในการที่จะเป็นเทวดา ถืออย่างไรก็ตามคำสอนของพระพุทธ
ศาสนาเกี่ยวกับเทวดาก็ต่างจากศาสนาอื่นๆ

ไม่มีผู้ประกาศศาสนาคนใดที่กล่าวว่าวันหนึ่ง สาวกของศาสนา
นั้นจะมีโอกาสได้เสวยสถานะอย่างเดียวกัน มีความสุขอย่างเดียวกัน และมีการหลุดพ้นอย่างเดียวกันกับผู้ก่อตั้งศาสนานั้นๆ
แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ทุกคนสามารถ
เป็นพระพุทธได้ ถ้าได้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด ซึ่งเป็นทาง
สู่ความตรัสรู้ และเป็นทางเดียวกันกับที่พระองค์ได้ดำเนินมาแล้ว จนสำเร็จได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบเอง


ธรรมชาติของใจ
การเปลี่ยนแปลงเร็วของใจ และธาตุที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกาย
ได้มีการอธิบายไว้ในพระพุทธศาสนาอย่างละเอียด คม ชัด ลึก
โดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาผู้ประกาศ
ก่อตั้งพระพุทธศาสนาเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว ตามคำสอนของ
พระองค์ ๆ ไดทรงอธิบายว่า ทุกๆ เสี้ยวของเสี้ยวของเสี้ยววินาที
ใจจะและเปลี่ยนไปมา จิตวิทยาก็ดี สรีวิทยาก็ดี และจิตวิทยาก็ดีล้วนสอนธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงในชีวิต
อย่างเดียวกัน ดังนั้นชีวิตนี้จึงไม่ใช่เป็นของเที่ยงแท้ยั่งยืน

นักจิตวิทยา ศาสตราจารย์ William James (วิลเลี่ยม เจมส์)
ได้อธิบาย “ขณะของจิต” เอาไว้ โดยกล่าวว่า จิตผุดขึ้นแล้วดับ
ไปในลักษณะสืบต่อกันอย่างเร็วมาก


ตามธรรมชาติที่เป็นสาเหตุให้กระบวนการของจิตเกิดดับติดต่อ
กันเป็นลูกโซ่ คือ เกิดดับ-เกิดดับต่อกันไปไม่มีที่สุด

ต่อคำถามที่ว่า ความคิดชั่ว (อกุศลจิต) ผุดขึ้นในใจมนุษย์ครั้ง
แรกได้อย่างไร คำตอบจะพบได้ในคำสอนของพระพุทธ
ศาสนานี้เอง ที่หามีพบไม่ สาเหตุของอกุศลจิตเกิดจากแรง
จูงใจที่เห็นแก่ตัวของมนุษย์ที่มีขึ้นเพราะตัณหาอยากมีมีอยาก
เป็นและฝังตัวอยู่ในความเชื่อของเขาว่ามีตัวตนถาวรอยู่ในตัวเขา
ซึ่งมีความอยากความใคร่ ในความพอใจ ในอารมณ์ต่างๆ
อย่างต่อเนื่อง

เมื่อเราศึกษาชีวิต และคำสอนของพระองค์สมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า เราจะเห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เปิดกว้างให้ทุกคนศึกษา
ไม่มีคำสอนใดที่เป็นความลับสำหรับใครๆ


เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างที่พระองค์ทรงมีพระชนมชีพอยู่
ก็เป็นเหตุการณ์ที่โปร่งใส และไม่เหตุการณ์ใดที่ ถูกปิดบัง
และเป็นสิ่งลึกลับ ในสายพระเนตร์ของสมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า ที่เรียกว่า อำนาจเหนือธรรมชาติต่างๆ
ในสายตาของประชาชนทั่วไป กลับไม่ใช่อำนาจเหนือสายตา
ของพระพุทธองค์หากเป็นเพียงปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติที่
คนธรรมดาไม่สามารถเข้าใจ ในขณะที่ความรู้ความเข้าใจของ
มนุษย์เกี่ยวกับเอกภพมีมากขึ้น ความเชื่อของมนุษย์ในเรื่อง
อำนาจลึกลับเหนือธรรมชาติก็ลดลง “ฟ้าร้อง และ ฟ้าผ่า”
ในสายตาของคนโบราณเป็นการแสดง ความเกริ้ยงกราด
ของพระเจ้าผู้ทรงพิโรธ ปัจจุบันเรารู้ว่า เป็นเพียงการประทะ
กันของสายไฟในอากาศ


ถ้าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีองค์ประกอบถูกส่วนและต้องตก
อยู่ภายใต้้กฎแห่งการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติเมื่อเกิดมาแล้ว
ต้องแก่เก่า เน่าเปื่อย ผุพัง และแตกสลาย หรือตายไปในที่สุดแล้ว
เราจะกล่าวสิ่งเหล่านั้นเป็นไปตามอำนาจ
ของสิ่งลึกลับ เหนือธรรมชาติ บงการอยู่เบื้องหลังได้อย่างไร

แม้องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ก็ทรงเกิดมา
ทรงตรัส แล้วทรงปรินิพพาน (สิ้นพระชนม์) ไปอย่างเปิดเผยตาม
กฎของการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ไม่มีสิ่งใดมาบงการ
อยู่เบื้องหลังให้พระองค์เป็นอย่างนั้น พระองค์ทรงดำเนินชีวิต
เช่นเดียวกับครูสอนศาสนาธรรมดาองค์หนึ่ง และในฐานะเป็น
มนุษย์จริงๆ คนหนึ่ง


สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงชี้ให้เห็นกระบวนการ
ของวิวัฒน์การจากชีวิตสัตว์ มาสู่ความเป็นมนุษย์ และจากความ
เป็นมนุษย์ไปสู่ความเป็นเทวดา ชีวิตของเทวดาก็ดำเนินต่อไปจน
ขึ้นสูงขึ้นสู่ความเป็นพรหม และจากชีวิตของพรหมเข้าสู่ชีวิตสมบูรณ์
และพระองค์ได้ทรงชิงให้เห็นอีกว่า บุคคลสามารถดำเนินจาก
ชีวิตที่บริสุทธิ์ประเสริฐไปสู่ชีวิตแบบหลายพรหมจรรย์อันสมบูรณ์
และในทางกลับ พระองค์ชี้ให้เห็นว่าจากชีวิตมนุษย์อาจกลับไป
สู่ชีวิตของสัตว์เดียรัฉานก็ได้

ทางสายกลางของชีวิต

สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำประชาชนให้
เดินทางสายกลางในทุกกรณีของการดำเนินชีวิต แต่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจความหมายและประโยชน์ที่แท้จริง
ของทางสายกลาง ความหมายที่ลึกซึ่งของทางสายกลางนี้มิใช่
หมายถึงการดำเนินชีวิตแบบยึดธรรมะเป็นหลัก เพียงอย่างเดียว ไม่ใช่เพียงแต่หลีกเลี่ยงการดำเนินชีวิตแบบสุดโต่ง 2 ทาง และ
ดำเนินตามทางสายเท่านั้น แต่หมายถึงการเรียนรู้วิธีที่จะใช้อายตนะ
หรือ ประสาทรับรู้ต่าง ๆ โดยไม่ใช่มันไปในทางที่ผิด ความหมายของ
การใช้ประสาทรับรู้เหล่านี้ก็คือ เพื่อปกป้องชีวิตของเรา
เพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย และเพื่อค้นหาวิถีชีวิตของเรา

นับเป็นเรื่องโชคร้าย ที่คนเป็นอันมากใช้ชีวิตของเขาไปตามความ
พอใจของประสาทสัมผัส (ตา หู จมูก สิ้น กายใจ) เหล่าเพียงเพื่อ
สนอง ตัณหาหรือความอยากของเขา ในที่สุดความทะยานอยาก
ของเขารุนแรงขึ้น แต่พวกเขาไม่เคยพอในสิ่งที่เขาต้องการและ
อยากได้อยากมี ความประพฤตินอกลู่นอกทาง อย่างไร้ศีลธรรม
การกระทำอย่างดุร้ายเหี้ยมโหด การถูกรบกวนทางใจ จนกลาย
เป็นโรคประสาท การแข่งชิงดี ชิงเด่นที่เป็นการทำลายสุขภาพ ความเครียดและความกระสับกระส่ายอยู่ไม่เป็นสุข ซึ่งเป็นเหต
ุการณ์ประจำวันในสังคมยุคใหม่นี้ ก็เนื่องมาจากใจที่รู้จักพอซึ่ง
เป็นเหหตุให้ใช้ประสาทสัมผัสในทางที่ผิด และแล้วพลังทาง
สัญชาตญาณของประสาทสัมผัสเหล่านี้ก็เริ่ม
ค่อยๆ เสื่อม และโรคภัยไข้เจ็บนับชนิดไม่ถ้อยก็ค่อยๆปรากฏ
ในอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์ นี่ก็คือวิธีที่คนเราต้องชดใช้ด้วย
ราคาที่สูง โทษที่ไม่รู้จักใช้และใช้ประสาททั้งห้าอย่างผิดๆ
หรือใช้เกินขอบเขตหน้าที่ของมัน ถ้ามีการยึดติดยู่ในความสุข
อันเกิดทางประสาทสัมผัสเหล่านี้มาก
เกินไปในโลกนี้ และเราไม่มีเวลาที่จะหล่อหลอมฝึกหัดอบรมอินทรีย์
(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ให้พร้อมเพื่อชีวิตในอนาคตหรือในโลกหน้า
ชีวิตของเราก็จะประสบแต่ความทุกข์ เดือดร้อนไม่มีที่สิ้นสุด

พระพุทธองค์ทรงสอนว่า การทำอันตรายหรือทำลายชีวิตสัตว์ไม่ว่า
ชนิดใด แม้จะตัวเล็กเท่าไร ก็ถือว่าเป็นความโหดร้ายและไม่ยุติธรรม
ต่อสัตว์มีชีวิตเหล่านั้น แต่ท่าที่อ่อนโยนนี้ ศาสดาในศาสนาอื่นละเลยที่จะคำนึงถึงคงสอนเพียงว่าเป็นความผิด
เฉพาะกรณีที่ทำอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ การทำลายชีวิตของสัตว์อื่น
ไม่ใช่ทางที่จะพันจากความรำคาญที่สัตว์เหล่านั้นก็ขึ้น

จุดประสงค์ทางพระพุทธศาสนา ก็เพื่อปลุกมนุษยชาติให้ตื่นทำความ
เพียรเพื่อบรรลุถึงความสุขสูงสุด โดยต้องเข้าใจชีวิตและธรรมชาต
ิอย่างแจ่มแจ้ง จุดประสงค์ดังกล่าวนี้มิใช่เพื่อสร้างจินตนาการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพื่อความพอหมกมุ่นอยู่ในตัณหา
ความยากแบบโลกๆ


พระพุทธศาสนาให้ภาพของชีวิตทั้ง 2 ด้านอย่างชัดเจน คือธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิตและเหตุให้เกิดทุกข์พร้อมทั้งเหตุ
แห่งความสุข แต่ทฤษฎีทางการแพทย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยังไม่สามารถจะค้นพบวิธีบำบัดรักษาโลก ความเจ็บปวดทางใจ ความอึดอัดขัดข้องใจและความไม่พึงพอใจในชีวิตของมนุษย์

ให้เข้าใจปัญญา

จากทัศนะของพระพุทธศาสนา ปัญญาต้องตั้งอยู่บนฐานของ
สัมมาทิฐิ-ความเห็นชอบ (Right understanding) และ
สัมมาสังกัปปะ-ความดำริห์ชอบ (Right thought) รวมถึงความรู้
ประจักษ์กฎธรรมชาติหรือกฎสากล และปัญญาหยังรู้ที่พัฒนาแล้ว
เพื่อไม่เพียงแต่จะเห็นความจริงเท่านั้น แต่เพื่อให้ได้รู้ชัดถึงทาง
แห่งความหลุดพ้นจากความไม่พอใจใน
ชีวิตอย่างสมบูรณ์แบบอีกด้วย

เพราะฉะนั้น ปัญญาที่แท้จริงไม่สามารถหาได้ในสถาบันทางวิชาการ หรือในห้องทดลองของการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ หรือในสถานที่บูชาที่ประชาชนมักจะไปเพื่อสวดอ้อนวอน หรือเพื่อ
ประกอบพิธีกรรมบางอย่าง ปัญญาจริงๆ แล้วอยู่ภายในจิตใจ เมื่อมี
ประสบการณ์ มีความเข้าใจ มีความรู้ความประจักษ์ มีการทำใจให้
บริสุทธิ์ บริบูรณ์เติมที่แล้ว เราก็สามารถจะเห็นปัญญา ที่ประกอบ
ด้วยความบริบูรณ์สูงสุดนี้ได้อย่างแจ่มชัด จุดมุ่งหมายของชีวิตก็
คือการบรรลุถึงปัญญาดังกล่าวนี้ แทนที่เราจะแสวงหาสิ่งที่มีอยู่ใน
อวกาศภายนอก มนุษยชาติต้องทำความเพียรพยายามเพื่อให้พบ
ธรรมชาติของสิ่งที่มีอยู่ในภายในใจเพื่อบรรลุถึงจุดหมายสุดท้าย
ของมนุษย์เอง

บุคคลสามารถกำจัดกิเลสอันเป็นพลังธรรมชาติฝ่ายโลกิยะที่เขา
ไม่ชอบ โดยการฝึกอบรมจิต ทำใจให้บริสุทธิ์สะอาดปราศจาก
มลทินเพื่อบรรลุโลกุตตรธรรมอันเป็นที่ที่พลังกิเลสไม่มีอำนาจ
ที่จะทำหน้าที่ได้อีกต่อไป

นักปรัชญาคนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ศาสนาที่เรียกในภาษาอังกฤษ
ว่า Religion จะปฏิเสธทุกอย่างที่มนุษย์ได้เคยมีประสบการณ์มา
ถ้าเป็นเช่นนั้น พระพุทธศาสนาก็ไม่นับว่า เป็นศาสนาแบบนั้น
เพราะสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสอน
ทุกสิ่งทุกอย่างแก่พวกเราโดยอาศัยประสบการณ์ของพระองค์
ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษยชาติ

นักปรัชญา นักคิด และนักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงหลายต่อหลายคน
ใช้เฉพาะความรู้ทางโลกของเขา ใช้พลังความคิดและปัญญาเพื่อ
ค้นหาความจริงของสิ่งทังหลายแล้วก็ได้แสดงความเห็นของเขา
ไว้ตามที่ได้ค้นพบแม้จะใช้ความร้อนอันเกิดจากปัญญาก็จริง
แต่ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของ
ประสบการณ์ต่าง ๆ ถ้าปราศจากการทำใจให้บริสุทธิ์ เมื่อเรา
ได้ศึกษาข้อความต่างๆ ที่นักปราชญ์บางคนเขียนไว้ เราก็สามารถ
พบความจริงในสิ่งที่เขากล่าวไว้ แต่คำกล่าวเหล่านั้นส่วนใหญ่ก็ยัง
คงเป็นเหมือนปรัชญาที่ไม่มีชีวิตชีวา (Dry philosophy) เพราะปักปราชญ์เหล่านั้นใช้เฉพาะสมองของเขาอันเต็มไปด้วยมายา
และยึดอัตตาตนเอง เป็นหลัก แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้
ทั้งสมอง และหัวใจของพระองค์ เป็นเสมือนเชาว์ปัญญา หรือปัญญาหยั่งรู้ของมนุษย์ที่ได้ถูกกลั่นกรองมาแล้วควรรมกับเตตา
จิตและปัญญาที่จะเข้าใจสิ่งทั้งหลายในสภาพที่มันเป็นจริงอย่าง
สมบูรณ์และเหมาะสมเพราะฉะนั้นคำสอนของพระองค์ จึงไม่ใช่เป็น
เพียงปรัชญาหรือทฤษฎีที่เหี่ยวแห้ง แต่เป็นวิธีอย่างหนึ่งที่สามารถนำ
ไปปฏิบัติ เพื่อแก้ปัญหาของมวลมนุษย์ได้

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาเดียวที่มอบให้ไว้แก่มนุษยชาติโดยอาศัย
ประสบการณ์ โดยอาศัยการประจักษ์ความจริง โดยใช้ปัญญาและ
การตรัสรู้ของพระองค์ผู้สถาปนา มิใช่เป็นศาสนาที่ให้ไว้ในฐานะ
เป็นศาส์นจากพระผู้เป็นเจ้า มนุษย์ต้องสามารถเข้าใจปัญหาของ
มนุษย์ได้โดยอาศัยประสบการณ
์ที่ผ่านมาของมนุษย์เองเป็นแนวทาง โดยการอบรมพัฒนาคุมงาน
ความที่มีเมตตาธรรม ศาสดาของประชาชน จะต้องแสวงทางแก้ปัญหาของมนุษย์โดยการสอนให้เขาทำใจให้
บริสุทธิ์และทำแต่ความดี นี้คือเหตุผลที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงแนะนำ
พระองค์เองว่าเป็นผู้ช่วยชีวิตที่อยู่เหนือธรรมชาติ
พระองค์ไม่ยอมรับรู้ว่า มีผู้ช่วยชีวิตให้อยู่รอดเช่นนั้นในโลกนี้
ตามทัศนะของพระองค์
เราทุกคนเท่านั้นที่สามารถช่วยชีวิต
ของเราเองให้อยู่รอดปลอดภัยในโลกนี้

ไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของโลก
นักวิทยาศาสตร์นักคิดผู้ยิ่งใหญ่และนักปรัชญาหลายสำนักได้มี
ท่าทีที่เป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนา โดยกล่าว่าศาสนากีดกันความ
ก้าวหน้าของมนุษยชาติ ศาสนาทำให้ประชาชนเดินทางผิดที่
แนะนำความเชื่อและข้อปฏิบัติที่น่าขบขัน ที่อยู่เหนือฟ้าป่าหิมพานต์ และพยายามทำให้ประชาชนเหินห่างจากความจริงที่นักวิทยาศาสตร์
ค้นพบ จริงๆ แล้ว คาร์ล มาร์กซ์ (karl Marx) กล่าวว่า
“ศาสนาคือยาฝิ่นของประชาชน” (Religion is the opium
of the people) แต่เมื่อเราได้สืบให้รู้แน่ว่า “ศาสนา”
ในความหมายของเขาคืออะไร เราก็เห็นได้ชัดเจน ว่า พระพุทธศาสนา
ไม่ใช่ศาสนาในกลุ่มที่เขาหมายถึง เพราะฉะนั้น ถ้าปัญญาชนเหล่านั้น
ประสบผลสำเร็จในการปฏิเสธศาสนา ก็ไม่ถือว่าเขาได้ทิ้งพระพุทธ
ศาสนาว่าเป็นศาสนาที่ผิดไปด้วย เพราะว่าสมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าได้ทรงประกาศ “ความจริงที่แท้จริง” หรือ
“ความจริงสมบูรณ์” (Absolute Truths) ถ้ามีความจริงอยู่ในเรื่องใด
เรื่องนั้นก็เป็นความจริงอยู่ตลอดไป ถ้าความจริงใดเปลี่ยนแปลงไป
เพราะเงื่อนไข ความจริงนั้นมิใช่ความจริงสมบูรณ์ นี้คือเหตุผลที่ว่าทำไมความจริงที่เปิดเผยโดยพระพุทธเจ้าจึงเป็น
ความจริงอันประเสริฐ (the Noble Truth ) ความจริงนั้นนำบุคคล
ไปสู่ความเป็น “คนประเสริฐ” เพราะฉะนั้นจึงมี “อริยมรรค” คือทางประเสริฐที่ถ้าต้องตามทำนองคลองธรรมยังคงดำรงอยู่ ซึ่งเป็นทางที่แข็งแรงมั่นคงพอที่จะเผชิญกับความท้าทายทางสติ
ปัญญาและการพิสูจน์ของวิทยาศาสตร์ ในแง่นี้คำสอนพระสมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีการสั่นคลอน แน่นอนที่เดียว ปัญญาชนทั้งหลายยอมให้ความเคารพนับถืออย่างเหมาะสมต่อ
วิถีชีวิตแบบนี้ ต่อเนื่องไปสู่ความทะเยอทะยานสู่ชีวิตอันประเสริฐ ศักดิ์สิทธิ์และสมบูรณ์ซึ่งเป็นชีวิตที่เปี่ยมด้วยสันติ และความสุข ไม่ว่าจะมีเครื่องหมายบอกว่าท่านนับถือศาสนาใดหรือไม่ก็ตาม

ศาสนาเสรี

เสรีภาพที่สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชอบใจมาก
ก็คือ เป็นศาสนาที่วิภาควิจารณ์ได้ จริงๆ แล้วพุทธศาสนิกชน
จำนวนมากยังไม่ตระหนักถึงความจริงข้อนี้ เรามีเสรีภาพสมบูรณ์
ในการที่จะพิจารณาตัดสินว่าจะยอมรับหรือ
ปฏิเสธคำสอนข้อใดๆ เราไม่มีข้อผูกมัดว่าจะต้องยอมรับคำสอนใดๆ
ในฐานเป็นคำสอนทางศาสนาของเรา หรือเพียงโดยการคิดถึงความ
ยิ่งใหญ่ของพระบรมศาสดา หรือโดยการคิดว่า เป็นหน้าที่ของเราที่จะ
ต้องยอมรับ เพียงเพราะว่า คำสอนเหล่านั้นปรากฏอยู่ในคำภีร์อัน
ศักดิ์สิทธิ์ของเรา ชาวพุทธมีอิสระที่จะตรวจสอบ และยอมรับเฉพาะเรื่องที่เข้ากันได้กับคำสาปเชื่ออันมั่นคงของเรา
ชาวพุทธจะไม่ยอมปรับหรือปฏิเสธสิ่งใดๆ โดยปราศจากเหตุผลที่
ได้พิจารณารอบคอบแล้ว ชาวพุทธไม่เคยกล่าวว่าเราถูกห้ามไม่ให้
ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ ชาวพุทธจะกล่าวว่า เราไม่อยากทำบางสิ่งบางอย่าง เพราะเมื่อทำแล้วจะก่อให้เกิดความทุกข์และเดือดร้อน หรือเกิด
ความเจ็บปวด หรือเกิดความกระทบกระเทือนใจ ในระหว่างมวลชน
ชาวพุทธจะทำแต่ความดี มิใช่เพราะว่าพระพุทธศาสนาขอให้ทำ
อย่างนั้น แต่เพราะว่าชาวพุทธตระหนักถึงคุณค่า และความหมาย
ของการปฏิบัติดี เช่นนั้นเพื่อความสงบสุขของผู้อื่น นี้คือศาสนา
แห่งเสรีภาพที่ไม่จำกัด เรื่องสอนบุคคลของมนุษย์ ถ้าเรื่องนั้น
ไม่ผิดศีลธรรม หรือมีภัยอันตรายชาวพุทธมีเสรีภาพเต็มที่จะจัด
การธุรกิจของครอบครัวโดยไม่ขัดกับหลักที่สำคัญของศาสนา พระพุทธศาสนาเปรียบเหมือนแร่ทองคำสำหรับปัญญาชนที่จะ
ทำการค้นคว้าทดลอง และค้นให้พบแง่คิดที่ลึกซึ่งลงไปในด้าน
จิตวิทยาปรัชญา วิทยาศาสตร์ และกฎแห่งจักวาล เพื่อการพัฒนา
ทางจิตวิญญาณ และเพื่ออิสระภาพของมนุษยชาติจาก โลภะ
โทสะ โมหะและจากความทุกข์เดือดร้อนกระวนกระวายอย่างไม่มีที่
สิ้นสุดนี้คือเหตุผลที่ว่าทำไมชาวพุทธจึงสามารถทำให้ประชาชน
ในแทบจะทุกประเทศของเอเซียได้ ในคำสอนของพระพุทธเจ้า
มากกว่า 2500 ปีมาแล้ว ตลอดเวลาดังกล่าว ประชาชนได้เชื้อเชิญและต้อนรับคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าในฐานะเป็นศาส์นแห่งสันติภาพหรือในฐานะเป็นศาส์น
สนิถวไมตรี อีกประการหนึ่ง เป็นเหตุผลว่าทำไมชาวพุทธจึงสามารถ
เผยแผ่ศาสนาพุทธได้โดยไม่ประสบความยุ่งยาก

สาเหตุแห่งปัญหาของเรา
ประเด็นที่สำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนาก็คือ บ่อเกิดแห่งปัญหาและความทุกข์ของมนุษยตามคำสอนขององค์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ตรัสว่า เราทุกคนที่เกิดมาใน
โลก ล้วนต้องประสบปัญหาและความทุกข์ เพราะตัณหาของเราเอง
ซึ่งมีอยู่ในจิตใจของเรา พระองค์ทรงเปิดเผยว่า มีตัณหาอยู่สาม
อย่างในตัวเรา ซึ่งเป็นต้นเหตุในมี “เรา” หรือ “ทำให้เราเกิด”
แล้วก็ต้องประสบกับปัญหาร้อยแปดพันเก้า รวมทั้งความทุกข์
โศกเศร้านานาประการ ตัณหาสามอย่างนั่น คือ
กามตัณหา (craving for worldly , sensual indulgence)
ภวตัณหา (craving for existence) และ
วิภวตัณหา (craving for non - existence) เพื่อที่จะเข้าใจความ
หมายที่แท้จริงของเรื่องนี้ เราจำเป็นที่จะต้องใช้ความหมาที่แท้จริง
ของเรื่องนี้ เราจำเป็นที่จะต้องใช้ความคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ
หรือใช้ “โยนิโสมนสิการ” อันประกอบด้วยปัญญา จนกว่าจะเกิด
ความรู้ประจักษ์แจ้งแก่ใจของเรา

นักปรัชญา และนักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียงของโลกก็ได้อธิบายความหมาย
ของตัณหาสามอย่างนี้ในภาษาที่ต่างกันว่า เป็นต้นเหตุแห่งความมีอยู่
อาร์เธอร์ โชเปนอาวเออร์ (Arthur Schophenhour)
อธิบายตัณหาสามนี้ว่า
กามตัณหา หมายถึงความใคร่ทางเพศ (+uality)
ภวตัณหา หมายถึง การรักษาตนเองให้อยู่รอด (self-preservation) และวิภวตัณหาหมายถึงการกระทำอัตตวินิบาตกรรมหรือ
การฆ่าตัวตาย (suicide) ส่วนนักจิตวิทยาอย่างเช่น
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmond Freud) อธิบายว่า
กามตัณหา คือ ความใคร่ (Libido)
ภวตัณหา คือ สัญชาตญาณการมีตัวตน (ego instinct)
และวิภวตัณหา คือสัญชาตญาณ การตาย (death instinct)
แต่นักจิตวิทยาอีกท่านหนึ่งคือ คาร์ล จุง (Carl Jung) กล่าวว่า
“จากแหล่งของสัญชาตญาณ เป็นที่เกิดของทุกสิ่ง ที่เป็นสิ่งสร้างสรรค์”
ที่นี้เราก็เห็นแล้ว่าบันดานักปราชญ์ทางจิตวิทยาผู้ยิ่งใหญ่หลายท่านได้
พยายามที่จะอธิบายสนับสนุนหลักความจริงอันเป็นธรรมดาของ
จิตมนุษย์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้เมื่อกว่า
2500 ปี มาแล้วถึงอย่างไรก็ตาม เมื่อเราได้ตรวจสอบดูคำอธิบาย
ที่นำมากล่าวไว้ข้างบนนี้ ทำให้เราเข้าใจได้ว่าองค์สมเด็จ
พระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ก้าวไปไกลเกินกว่า
ความสามารถในการเข้าใจ “ความจริง” ในเรื่องเดียวกันของบันดา
นักคิดผู้ยิ่งใหญ่คนอื่นๆในโลก

ศาสนาในยุควิทยาศาสตร์

ปัจจุบันเรากำลังมีชีวิตอยู่ในยุควิทยาศาสตร์ เป็นยุคที่ชีวิตเกือบจะ
ทุกด้านได้รับผลกระทบจากวิทยาศาสตร์ นับตั้งแต่การปฏิวัติทาง
วิทยาศาสตร์ ในระหว่างศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา วิทยาศาสตร์ได้มีอิทธิพลต่อความคิดและการกระทำของมนุษย์อย่าง
มากมายและต่อเนื่อง


ผลกระทบทางวิทยาศาสตร์ได้ทวีมากขึ้นโดยเฉพาะเกี่ยวกับความเชื่อ
ทางศาสนาที่เคยเชื่อตาม ๆกันมา แนวความคิดพื้นฐานของหลาย
ศาสนาได้พังครืนลงเพราะแรงกระแทก
ของวิทยาศาสตร์ยุคใหม่โดยไม่เป็นท
ี่ยอมรับของปัญญาชนและผู้
คงแก่เรียนอีกต่อไปและก็เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกันที่จะยืนยันว่าสิ่งใด
จริงหรือไม่จริงโดยอาศัยการเก็งความจริงตามทฤษฎีเทววิทยา
หรือโดยการอ้างคัมภีร์อย่างเดียว ไม่พิจารณาตามหลักวิทยาศาสตร์
ตัวอย่าง การค้นพบของนักจิตวิทยาสมัยใหม่ ระบุว่าจิตใจของมนุษย์
ก็เป็นเช่นเดียวกันกับร่างกาย คือทำงานไปตามธรรมชาติและตาม
เหตุปัจจัย โดยไม่มีวิญญาณอมตะที่มีตัวตนถาวรไม่มีการเปลี่ยน
แปลงครอบครองอยู่ อย่างที่บางศาสนาสอน


นักสอนศาสนาของบางศาสนาเลือกที่จะไม่เชื่อเรื่องการค้นพบทาง
วิทยาศาสตร์ ซึ่งขัดแย้งกับคำสอนของศาสนาของเขา การทำใจ
แข็งไม่ยอมเชื่ออะไรนอกจากคัมภีร์นี้ เป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้า
ของมนุษย์ชาติอย่างแท้จริง แต่คนสมัยใหม่ปฏิเสธที่จะไม่เชื่ออะไร
โดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณา แม้สิ่งนั้นจะได้รับการยอมรับเชื่อถือมา
แต่เดิมก็ตาม จึงทำให้นักศาสนาเหล่านั้นประสบผลในด้านเพิ่มจำนวน
ของผู้ที่ไม่เชื่อคำสอน ของเขามากขึ้น


อีกประการหนึ่ง นักศาสนาบางศาสนาเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะปรับเปลี่ยนคำสอนทางศาสนาของตนเสียใหม่
ให้เหมาะสมกับทฤษฎีวิทยาศาสตร์ ที่มหาชนยอมรับกันอย่างแพร่หลาย
เช่นในประเด็นที่ชาร์ล ดาร์วิน (Charles Darwin)
ค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการ (Theory of Evolution) เป็นตัวอย่าง
นักการศาสนาจำพวกนั้นยังคงยึดหลักที่ว่า มนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาโดย
พระเจ้าโดยตรง ซึ่งตรงกันข้ามกับดาร์วิน ที่อ้างว่ามนุษย์ได้วิวัฒนาการ
มาจากลิง Ape ซึ่งเป็นทฤษฎีที่คว่ำคำสอนเรื่องพระเจ้าผู้สร้าง
(Doctrine of Devine Creation) และความหายนะของมนุษย์ชาติ
(the fall of man) เนื่องจากบรรดานักคิดค้นที่รู้แจ้งความจริงทั้งหลาย
ล้วนยอมรับทฤษฎีของดาร์วิน จึงทำให้นักเทวนิยมปัจจุบันแทบจะไม่
มีทางเลือกนอกจากจะแปลงคำสอนของตนเสียใหม่ เพื่อให้เหมาะกับ
ทฤษฎีที่พวกเขาได้คัดค้านมานาน


มองในแง่ของการค้นพบทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้า
ใจได้โดยไม่ยากว่า ทัศนะเกี่ยวกับเอกภพและชีวิต ที่ศาสนาต่าง ๆ
ยึดถืออยู่ เป็นเพียงความคิดเห็นที่เชื่อตามกันมาแต่โบราณ ซึ่งโดย
ทั่วไปถือว่า ศาสนาต่างๆ ได้มีคุณูปการต่อความเจริญก้าวหน้าของ
มนุษยชาติ เพราะศาสนาได้เป็นผู้วางค่านิยมและมาตรฐานต่าง ๆ รวมทั้งได้สร้างรูปแบบหลักเกณฑ์สำหรับประพฤติปฏิบัติ เพื่อเป็น
แนวทางการดำเนินชีวิตของมนุษย์ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่ศาสนาได้
ทำมา ศาสนาก็ไม่อาจดำรงคำสอนให้อยู่ตลอดไปได้ เมื่อยุคสมัย
เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะเมื่อมาถึงยุควิทยาศาสตร์ ถ้าสาวกของศาสนายังยืนกรานที่จะรักษารูปแบบดั้งเดิม
และยึดคำสอนที่สอนให้เชื่อตามอย่างเดียว ยังยืนหยัดที่จะส่ง
เสริมพิธีกรรมและข้อปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งก็ค่อย ๆ หมดความหมาย
และลดจำนวนผู้เชื่อถือไปตามยุคสมัย


สำหรับพระพุทธศาสนาซึ่งอุบัติขึ้นเมื่อ 543 ปี ก่อนคริสต์ศักราชและได้แพร่หลายอยู่ในหลายประเทศในแถบเอเชีย
ก่อนที่วิทยาศาสตร์ยุคใหม่จะเกิดขึ้น ตั้งแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัม
พุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นต้นมา พระองค์ไม่เคยปิดกั้น แต่ได้เปิดโอกาสให้แนวความคิดทางวิทยาศาสตร์เข้ามาพิสูจน์คำสอน
ของพระองค์ได้เสมอตลอดมา


เหตุผลประการแรกที่คำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอด
คล้องเข้ากันได้กับแนวความคิดของวิทยาศาสตร์ก็คือว่า พระองค์
ไม่ส่งเสริมความเชื่อแบบตายตัว ที่สอนให้ปฏิบัติตามอย่างเดียว พระองค์ไม่ทรงจำกัดสิทธิในการที่จะเชื่อคำสอนของพระองค์
ว่าจะต้องมีศรัทธา (faith) มาก่อนที่จะมีความเชื่อ (belief) หรืออ้างว่าคำสอนของพระองค์เป็นคำสอนที่พระเจ้านำมาเปิดเผย แต่พระองค์ทรงอนุญาตให้ใช้ความคิดอย่างรอบคอบ และอย่าง
เสรีตรวจสอบ แล้วจึงค่อยเชื่อ


เหตุผลประการที่สองก็คือ เราสามารถพบว่า ในการที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เข้าถึงความจริงทางจิตหรือ
วิญญาณ คือความจริงอันประเสริฐนั้น พระองค์ได้ใช้หลักที่เรารู้จัก
ในภายหลัง ว่าเป็นหลักวิทยาศาสตร์ วิธีการค้นพบและการตรวจสอบ
ความจริงดังกล่าว เป็นวิธีที่เหมือนกันกับวิธีที่นักวิทยาศาสตร์ใช้อยู่ใน
ภายหลัง ต่างกันเพียงว่า นักวิทยาศาสตร์สังเกตตรวจสอบโลกภาย
นอกอันเป็นเรื่องของวัตถุ และกำหนดวางหลักทฤษฎีไว้หลังจากได้
ดำเนินการทดลองจนได้ข้อยุติแล้ว


แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงใช้หลักวิธีเดียวกันนี้ พิสูจน์ทดลองหาความจริงเกี่ยวกับโลกภานในอันเป็นเรื่องจิตใจ
หรือวิญญาณ และพระองค์ได้ทรงปฏิบัติจนบรรลุถึงความจริงนั้น
แล้วถอนตัวออกโดยไม่ยึดติด นอกจากนั้นพระองค์ทรงสอนสาวก
ของพระองค์ มิให้ยอมรับคำสอนใด ๆ จนกว่าจะได้ตรวจสอบและ
พิสูจน์ความจริงด้วยตนเองเสียก่อน เช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์
ที่ไม่เคยห้ามว่า ทฤษฎีนั้น ๆ ผู้ใดอื่นจะเอาไปพิสูจน์ทดลองอีกไม่ได้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เช่นเดียวกัน จะไม่อ้างสิทธิว่าประสบ
การณ์แห่งการตรัสรู้ของพระองค์ จะสงวนไว้เฉพาะพระองค์ ผู้ใด
จะนำไปปฏิบัติหรือพิสูจน์ทดลองอีกไม่ได้


สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จัดว่าเป็นนักวิเคราะห์ชั้นเลิศ พระองค์ทรงจำแนกแยกแยะให้รู้ว่าอะไรเป็นเหตุของอะไร และอะไร
เป็นผลของอะไร ซึ่งเป็นหลักวิธีที่นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันกำลัง
กระทำอยู่ พระองค์ได้ทรงวางวิธีการสำหรับการปฏิบัติให้บรรลุผล
สำเร็จ อันเป็นหลักวิทยาศาสตร์ ไว้สำหรับเข้าถึงความจริงสูงสุด

(Ultimate Truth) ตลอดจนประสบการณ์แห่งการตรัสรู้ของพระองค์


การที่พระพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่มีแนวเดียวกัน กับหลักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมากนั้นจะถือว่าพระพุทธศาสนากับ
วิทยาศาสตร์มีค่าเท่าเทียมกันย่อมเป็น
การไม่ถูกต้อง จริงอยู่การนำเอาวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ทำให้
มนุษย์ชาติดำเนินชีวิตไปอย่างสะดวกสบายด้วยการได้ใช้เครื่องใช้
สอยชนิดที่เรียกว่าดีเลิศอย่างที่คนสมัยก่อนไม่เคยพบแม้แต่ในฝัน วิทยาศาสตร์ทำให้มนุษย์สามารถว่ายน้ำได้ดีกว่าปลา บินได้สูงกว่านก
และสามารถเดินบนโลกพระจันทร์ได้ แม้กระนั้นก็ตาม ขอบข่ายของ
ความรู้ที่ยอมรับอันเป็นสิ่งพื้นๆ ธรรมดาๆ สำหรับนักวิทยาศาสตร์


ก็มีวงจำกัดอยู่เฉพาะสิ่งที่จะต้องมีการพิสูจน์ทดลอง และความจริงทางวิทยาศาสตร์ก็ตกอยู่ในภาวะที่จะต้องมีการเปลี่ยน
แปลง วิทยาศาสตร์ไม่สามารถจะสอนให้มนุษย์ควบคุมจิตใจของตัว
เอง และทั้งไม่สามารถจะควบคุมศีลธรรมจรรยา และวางแนวทางให้มนุษย์ปฏิบัติตามหลักศีลธรรมจรรยาเช่นนั้นได้
ทั้ง ๆ ที่วิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์ชั้นเลิศน่ามหัศจรรย์ แต่ก็มีข้อเสีย
มากมายมหาศาลพอกัน แต่พระพุทธศาสนาหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะพุทธศาสนาสอนคนให้รู้ทั้งความดีและความไม่ดี แต่ให้ปฏิบัต
ิแต่ความดี เพื่อประโยชน์และความสุขของตนและของชน หมู่มาก


โดยทั่วไปเรามักจะได้ยินได้ฟังเรื่องราวมากมายนี่เกี่ยวกับความ
สำเร็จวิทยาศาสตร์ และสิ่งที่วิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์ขึ้น แต่ไม่ค่อยจะได้ยินได้ฟังเรื่องที่วิทยาศาสตร์ทำไม่ได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะถูกจำกัดด้วยข้อมูลที่ได้รับผ่านประสาท
รับความรู้สึก (คือ ทางตา ทางหู ฯลฯ) แต่จะไม่รู้จักความจริง
ที่อยู่เหนือข้อมูลดังกล่าว ความจริงทางวิทยาศาสตร์จะถูกสร้างขึ้น
บนพื้นฐานของการสังเกตข้อมูล ทางประสาทรับความรู้สึก
ซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่เสมออย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นความจริงทาง
วิทยาศาสตร์ จึงถือว่าเป็นความจริงสัมพัทธ์ ที่ไม่ได้ตั้งใจ จะให้
เป็นตัวยืนในการทดสอบตลอดกาล และนักวิทยาศาสตร์ก็ตระหนัก
ความจริงข้อนี้ดี จึงสามารถละทิ้งทฤษฎีเดิมเมื่อมีทฤษฎีใหม่ที่ดีกว่า
เข้ามาแทนที่


วิทยาศาสตร์พยายามศึกษาเพื่อให้เข้าใจโลกเฉพาะภายนอก โดยไม่แตะความรู้โลกภายในของมนุษย์แม้แต่น้อย แม้แต่นักวิทยา
ศาสตร์วิชาจิตวิทยาเอง ยังไม่เข้าใจสาเหตุที่แฝงอยู่ภายใต้ความ
ทุกข์ทางใจของมนุษย์ เช่นเมื่อมนุษย์รู้สึกอึดอัดขัดข้องและเบื่อ
หน่ายชีวิต แม้เรื่องภายในใจของเราเต็มไปด้วยความทุกข์ร้อนกระสับ
กระส่าย วิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบันก็ยังไม่สามารถหาเครื่องมือหรือ
อุปกรณ์มาช่วยบันเทาได้ ฝ่ายวิชาสังคมศาสตร์ซึ่งดูแลสอดส่อง
สิ่งแวดล้อมของสังคมมนุษย์ อาจนำความสุขมาให้ได้ระดับหนึ่ง
แต่มนุษย์ไม่เหมือนสัตว์โดยทั่วไป ย่อมต้องการมากไปกว่าความ
สะดวกสบายเฉพาะทางร่างกายเท่านั้น แต่จำเป็นที่จะต้องมีสิ่งช่วย
จัดการกับความทุกข์ใจและความเดือด
ร้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ประจำวันของเขาด้วย


ถามว่า วิทยาศาสตร์สามารถทำให้มนุษย์เป็นคนดีขึ้นกว่าเดิมไหม ?
ถ้าสามารถทำได้ ทำไมการกระทำความรุนแรงและผิดศีลธรรม จึงยังคงมีอยู่ในประเทศทั้งหลายที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ จะไม่ถือว่าเป็นการยุติธรรมหรือที่จะกล่าวว่า ทั้ง ๆ ที่เราประสบความสำเร็จในด้านความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และได้รับประโยชน์มากมายที่วิทยาศาสตร์มอบให้แก่มนุษย์ แต่วิทยาศาสตร์ก็ปล่อยให้พื้นเพภายในของมนุษย์ เป็นไปโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้นเลย วิทยา
ศาสตร์ทำได้เพียงทำให้มนุษย์รู้สึกว่า ตัวเองจะต้องพึ่งวัตถุภายนอก
มากขึ้นและมากขึ้น แต่จุดสุดท้ายแห่ง ”ความพอ”
ในสิ่งที่ต้องการนั้นอยู่ที่ไหน ? นอกเหนือไปจากที่วิทยาศาสตร์
ล้มเหลวในการนำความมั่นคงมาสู่มนุษย์แล้ว วิทยาศาสตร์ยังทำให้มนุษย์เกิดความรู้สึกไม่มั่นใจมากขึ้นไปอีก โดยวิทยาศาสตร์แสดงท่าทีทำนองขู่คนทั่วไป ว่าความรุนแรงของ
อาวุธที่วิทยาศาสตร์ประดิษฐ์ขึ้น อาจจะทำให้โลกแตกสลายไป
ในที่สุดได้


วิทยาศาสตร์ไม่สามารถบ่งชี้จุดหมายปลายทางที่ชีวิตมุ่งประสงค์ได้ วิทยาศาสตร์ไม่สามารถให้เหตุผลที่ชัดเจนสำหรับการดำรงชีวิตอยู่
ของมนุษย์ จริง ๆ แล้ววิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับทางโลก อันเป็น
โลกียวัตถุโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนปลาย เป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ ไม่เกี่ยวกับจุดหมายปลายทางของจิตหรือวิญญาณของมนุษย์ ลัทธิวัตถุนิยมที่ฝังติดอยู่ในแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ปฏิเสธไม่รับรู้เรื่องจุดหมายปลายทางของจิตหรือวิญญาณว่าเป็นสิ่ง
ที่อยู่เหนือหรือสูงกว่าความพอใจทางวัตถุ โดยสรรหาแต่จะสร้าง
ทฤษฎีและความจริงสัมพัทธ์ วิทยาศาสตร์จึงไม่สนใจเรื่องบางเรื่อง ทั้งที่มีสาระสำคัญมากที่สุดและทิ้งคำถามหรือปัญหาข้อสงสัยจำนวน
มากไว้โดยไม่มีการตอบหรือไขข้อข้องใจให้หายสงสัยได้ เช่นเมื่อมี
ผู้ถามว่าทำไมในระหว่างมนุษย์ด้วยกัน จึงมีความไม่เท่าเทียมกันแทบ
จะทุกด้านอย่างที่เห็น วิทยาศาสตร์ก็ไม่สามารถให้คำอธิบายต่อคำ
ถามลักษณะนี้ได้เพราะอยู่นอกเหนือขอบเขตแห่งความรู้ความเข้าใจ
เพียงเสี้ยวเดียวของสิ่งที่วิทยาศาสตร์ยังไม่รู้


แต่จิตที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงพัฒนาและฝึกฝนดีแล้ว
ที่อยู่เหนือประสบการณ์ของคนธรรมดา จะไม่ถูกจำกัดด้วยข้อมูล
ที่ผ่านทางประสาทสัมผัส และอยู่เหนือหลักตรรกศาสตร์ ที่ถูกกัก
ไว้ภายในวงจำกัดของสัญญา คือ ความจำสัมพัทธ์ ตรงกันข้าม เชาวน์ปัญญาของปุถุชนจะทำงานได้เฉพาะเมื่อมีพื้นฐานข้อมูลที่
ได้รวบรวมเก็บเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นในด้านศาสนา ปรัชญา
วิทยาศาสตร์หรือศิลปะ ข้อมูลข่าวสารสำหรับจิตจะถูกเก็บสะสม
ไว้ผ่านทางประสาทรับความรู้ของเรา ซึ่งก็ด้อยกว่าของพระองค์
ในหลายกรณี ข้อมูลข่าวสารที่จดจำไว้ค่อนข้างจำกัดมากนี้ ทำให้เราเข้าใจเรื่องราวของโลกค่อนข้างกระท่อนกระแท่น


ในหนังสือของเขาที่ชื่อ Learned Ignorance,นิโคลาส
แห่งคูลา - (Nicholas of Cula) ปราชญ์ชาวฝรั่งเศสตั้งข้อสังเกตุว่า :-


“ความรู้ที่เรานำไปคุยอวดกันมากมายนั้น ล้วนตั้งอยู่บนฐานของ
ความรู้สึกของเรา จริง ๆ แล้วคือความโง่ และความรู้ที่แท้จริง
ก็ได้มาโดยการสลัดความรู้ที่กล่าวมาแล้ว จนกระทั่งเราสามารถคิดได้ โดยไม่ใช้ความคิดเห็นที่ต้องใช้ประสาทรับความรู้ เท่านั้น”


“ความจริง”(Truth)ไม่ขึ้นอยู่กับวัตถุภายนอกตัวเรา แต่ “ความจริง”
อยู่ภายในตัวของเราเอง เราไม่สามารถหวังจะพบ “ความจริง” โดยการทดลองหรือโดยสัญญาความจำได้หมายรู้ โดยอาศัยประสาท
รับความรู้ หรือแม้โดยตรรกศาสตร์และการหาเหตุผล เหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องมือสำหรับหาความรู้แต่ไม่ใช่เครื่องมือ
สำหรับหา “ความจริง” “ความจริง” จะต้องได้มาจาก
“การตระหนักในความจริง” ภายใน “หนังสือสามารถเพียงกระตุ้น
ความคิดและให้ความรู้แก่เราเท่านั้น สำหรับ ”ความจริง” นั้น ท่านจะต้องหันสายตาของท่านทั้งสองข้างเข้าสู่ภายใน เพราะ
“ความจริง” นั้นอยู่ภายในตัวท่าน และการค้นหาความรู้ก็เป็นคน
ละเรื่องกับการค้นหา “ความจริง”


“คำพูด เป็นผลผลิตที่ไม่ยั่งยืนของจิตใจของเรา และจิตใจของเราก็อาศัยประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของเรา
เพื่อความรู้ทั้งปวงที่เกิดในใจ ประสาทสัมผัสหรือประสาทรับความรู้
เหล่านั้น บางทีก็ไว้วางใจไม่ได้ เหตุการณ์หนึ่งที่หลายคนเห็นพร้อมกัน
ก็อาจถูกอธิบายได้หลายอย่างต่าง ๆกันแล้วแต่คนจะมอง”


ประชาชนบางคนก็ภูมิใจว่าเรารู้อะไรต่ออะไรมากมาย จริง ๆ แล้ว
คนเรายิ่งรู้ว่าตัวเองรู้น้อย ก็ยิ่งแสดงตัวว่ารู้มากในการอธิบาย
อะไรต่ออะไร และเรายิ่งรู้มากเท่าไร เราก็ยิ่งรู้ตัวว่าความรู้ของ
ตัวเองยังน้อยอยู่


ครั้งหนึ่ง มีนักปราชญ์ผู้ชาญฉลาดท่านหนึ่งเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งตัวท่านเองพิจารณาเห็นว่าเป็นงานชั้นเยี่ยมยอด ท่านรู้สึกว่า
หนังสือเล่มนั้นบรรจุ “รัตนะแห่งวรรณกรรม” และปรัชญาหลายสำนัก เนื่องจากท่านภูมิใจในความสำเร็จของท่าน จึงนำงานชิ้นเอกนี้
ไปอวดเพื่อนร่วมวงการของท่าน ซึ่งเป็นคนฉลาดหลักแหลมเท่า
เทียมกัน พร้อมกับขอร้องให้ช่วยวิจารณ์หนังสือเล่มนั้น แต่แทนที่
เพื่อนของท่านจะทำตามคำขอร้อง กลับให้ผู้แต่งเขียนทุกอย่างที่
เขารู้ พร้อมกันนั้นก็ให้เขียนทุกอย่างที่เขาไม่รู้ลงในแผ่นกระดาษ
แผ่นหนึ่งไว้ให้ด้วย ผู้แต่งหนังสือเล่มนั้น นั่งลง คิดอย่างหนักอยู่
สักครู่ใหญ่ ปรากฏว่าไม่สามารถจะเขียนสิ่งที่เขารู้ลงในแผ่น
กระดาษได้ และแล้วก็หันมาคิดหาสิ่งที่เขาไม่รู้ ก็ปรากฏว่าว่าไม่สามารถนึกออกเช่นเดียวกันว่าเขาไม่รู้อะไรบ้าง
ในที่สุด ด้วยการยึดมั่นอัตตาในส่วนลึกแห่งหัวใจ ท่านจึงล้มเลิก
โดยตระหนักชัดว่า ทุกสิ่งที่เขารู้ จริง ๆ แล้วไม่รู้อะไรเลย


เกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้ โซเครติส (Socrates) นักปราชญ์แห่งโลก
สมัยนั้น เมื่อถูกถามเกี่ยวกับความรู้ของท่าน ท่านตอบว่า
“สิ่งเดียวที่ข้าพเจ้ารู้ ” คือ “ รู้ว่า ข้าพเจ้าไม่รู้อะไรเลย ”
( I know only one thing – that is I do not know anything)


พระพุทธศาสนานับว่าได้ก้าวเดินไปไกลกว่าวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ ที่ได้ค้นพบความรู้ลึกซึ้งกว้างขวางกว่าที่วิทยาศาสตร์ได้ค้นพบ พระพุทธศาสนายอมรับทั้งความรู้ที่เกิดขึ้นจากประสาทสัมผัส
(sense organs) และความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ส่วนบุคคล
โดยผ่านการอบรมจิต (mental culture) โดยการฝึกและพัฒนาจิต
ให้มีสมาธิสูงสุด บุคคลย่อมสามารถเข้าใจและพิสูจน์ยืนยันการเห็น
ธรรมได้ เพราะการบรรลุธรรม มิใช่เรื่องที่จะทำได้โดยการทำการ
ทดลองในหลอดทดลอง หรือโดยการตรวจสอบภายใต้กล้องจุลทัศน์


ความจริงที่วิทยาศาสตร์ค้นพบ เป็นความจริงสัมพัทธ์ และต้องขึ้นอยู่
กับความเปลี่ยนแปลง ส่วนความจริงที่ค้นพบโดยองค์สมเด็จพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นความจริงขั้นสิ้นสุด และเบ็ดเสร็จ คือ
ความจริงเกี่ยวกับพระธรรม(The Truth of Dhamma)
ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาละและเทสะ (Time and Space) นอกจากนั้น ในทางตรงกันข้ามกับการวางทฤษฎีแบบเลือกสรรของวิทยาศาสตร์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าส่งเสริมให้ผู้มีปัญญาทั้งหลายอย่าติดอยู่
กับทฤษฎี ไม่ว่าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์สาขาอื่นใด แทนที่จะยึดติดอยู่
กับทฤษฎี สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนประชาชน ให้ดำเนิน
ชีวิตอย่างมีธรรม เพื่อจะได้พบความจริงสูงสุด (Ultimate Truths) โดยการดำเนินชีวิตอันประกอบด้วยธรรมะ โดยการทำอินทรีย์
ให้้สงบระงับ และโดยการสลัดทิ้งตัณหาทั้งหมด นี้เป็นทางที่องค์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้ว่าเป็นทางที่เราสามารถพบความ
จริงภายในตัวเราที่เป็นธรรมชาติของชีวิต และในที่สุดวัตถุประสงค์
อันแท้จริงของชีวิตก็เป็นที่ประจักษ์แก่ใจ


การลงมือปฏิบัติ เป็นสิ่งสำคัญมากในพระพุทธศาสนา บุคคลที่ศึกษา
มากแต่ไม่ปฏิบัติ ก็อุปมาเหมือนบุคคลที่ท่องจำตำหรับอาหารจาก
หนังสือ”ตำราอาหาร”เล่มใหญ่ได้หมด แต่ไม่ลงมือประกอบอาหาร
แม้แต่อย่างเดียว บุคคลผู้นั้นก็ไม่สามารถบัน เทาความหิวของเขา และก็ไม่รู้รสอาหารที่อยู่ในตำราเล่มนั้นได้ การปฏิบัติเป็นองค์
ประกอบที่สำคัญมากของการตรัสรู้ธรรม จนกระทั่งว่าบางนิกาย
ในพระพุทธศาสนา เช่นนิกายเซน (Zen) กำหนดให้ลงมือปฏิบัติ
ไปก่อนแล้วจึงค่อยเรียนรู้ตามทีหลัง


วิธีการของวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการที่มุ่งตรงไปยังสิ่งภายนอก และนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่นั้นใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและ
แร่ธาตุต่าง ๆ เพื่อความสะดวกสบายของเขา โดยไม่คำนึงถึง
ความสมดุลย์ของสิ่งแวดล้อม และด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นเหตุให้
โลกเกิดมลภาวะ ตรงกันข้าม พระพุทธศาสนาดำเนินการปฏิบัติ
ตรงเข้าสู่เป้าหมายภายในด้วยการพัฒนาจิตของมนุษย์เรา

ในระดับพื้น ๆ พระพุทธศาสนาสอนให้แต่ละคนรู้วิธีที่จะปรับปรุงตัว
เองและจัดการกับเหตุการณ์และเหตุแวดล้อมต่าง ๆ ของชีวิตประจำวัน
ในระดับสูงขึ้นมา พระพุทธศาสนาเสนอแนะมนุษยชาติให้มีความ
เพียรพยายามที่จะทำให้ตัวเองมีสถานะสูงขึ้น
โดยการปฏิบัติอบรมและพัฒนาจิตใจให้มีคุณภาพและคุณธรรมสูงสุด


พระพุทธศาสนามีวิธีอบรมและพัฒนาจิต ที่เป็นระบบและสมบูรณ์แบบ ที่ทำให้จิตมีสมาธิและเกิดปัญญาหยั่งรู้ธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ตาม
ความเป็นจริง ซึ่งนำไปสู่การรู้ประจักษ์ความจริงสูงสุด คือ พระนิพพาน
ด้วยตนเอง ระบบนี้เป็นระบบที่เน้นการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาจิตไปสู่การ
ตรัสรู้ อันเป็นวิธีดำเนินการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการสังเกต
อารมณ์และสภาพของจิตอย่างเป็นกลาง ค่อนข้างคล้ายกับนัก
วิทยาศาสตร์มากกว่าคล้ายผู้พิพากษา คือผู้ทำสมาธิจะสังเกตโลก
ภายใน (กาย) โดยใช้สติพิจารณา


วิทยาศาสตร์ ถ้าปราศจากอุดมการณ์ทางศีลธรรม ย่อมก่อให้เกิด
อันตรายต่อมนุษยชาติ วิทยาศาสตร์สร้างเครื่องจักรกลขึ้นมา ซึ่งทำให้เขากลายเป็นเจ้าแผ่นดินเป็นสิ่งตอบแทน กระสุนและลูก
ระเบิด เป็นของขวัญของวิทยาศาสตร์ สำหรับบุคคลเพียงไม่กี่คน
ที่มีอำนาจ ซึ่งชะตากรรมของโลกตกอยู่ในมือของเขา ขณะที่มนุษย์ที่เหลือต้องรอคอยด้วยความทุกข์ร้อนและความกลัว
โดยไม่รู้ว่าเมื่อไรอาวุธนิวเคลียร์ ก๊าซพิษ และอาวุธร้ายแรง อันเป็นผลผลิตของการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งล้วนได้รับการ
ออกแบบเพื่อใช้ในการฆ่า และทำลายมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ
จะถูกนำมาใช้กับพวกเขาด้วยวิทยาศาสตร์ไม่เพียงแต่ไม่สามารถ
จะนำทางสำหรับมนุษยชาติในทางศีลธรรมเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่ป้อนเชื้อของเพลิงแห่งตัณหาของมนุษยชาติด้วย


วิทยาศาสตร์ที่ไม่คำนึงถึงศีลธรรมย่อมก่อให้เกิดการทำลายล้าง
โดยฝ่ายเดียว วิทยาศาสตร์จึงกลายเป็นอสุรกายที่โหดเหี้ยมที่มนุษย์
เคยพบมา และเป็นคราวเคราะห์ร้ายที่อสูรกายตัวนี้ กำลังจะกลายเป็น
สิ่งที่มีอำนาจมากต่อมนุษย์เอง ถ้ามนุษย์เรียนรู้วิธีที่จะกำจัดและควบ
คุมสัตว์ประหลาดตัวนี้ โดยการปฏิบัติตามศีลธรรมของศาสนา
มันก็จะหมดอำนาจควบคุมเหนือมนุษย์ ถ้าไม่รีบดำเนินตามคำสอน
ของศาสนา วิทยาศาสตร์ก็จะข่มขู่โลกด้วยการทำลายล้าง
ในทางตรงกันข้าม แต่วิทยาศาสตร์เมื่อมาจับคู่กับศาสนาอย่าง
เช่นศาสนาพุทธ ก็สามารถเปลี่ยนโลกใบนี้ให้เป็นสวรรค์แห่งสันติ
มีความสะดวกสบายมั่นคงและสงบสุข


ไม่เคยมีแม้แต่สักครั้งเดียวที่วิทยาศาสตร์และศาสนาจะมาประสาน
และร่วมมือกันทำงาน เพื่อความเจริญรุ่งเรือง และความสงบสุขของ
มวลมนุษยชาติ แต่ความหวังนี้ก็คงเป็นความหวังที่ลม ๆ แล้ง ๆ
เพราะศาสนาที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ก็เปรียบเหมือนกับคนตาบอด ในขณะเดียวกันวิทยาศาสตร์ที่ปราศจากศาสนาก็เปรียบเหมือนกับ
คนพิการ


คำสอนของพระพุทธศาสนาที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงวางไว้ โดยอาศัยพระมหากรุณาธิคุณ มีบทบาทที่สำคัญ
อย่างยิ่งยวด ในการที่จะแก้ไขจุดหมายปลายทาง อันเต็มไป
ด้วยอันตรายใหญ่หลวง ที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่กำลังมุ่งมั่นที่
จะไปให้ถึง พระพุทธศาสนาสามารถสร้างความเป็นผู้นำทางวิญญาณ ที่จะนำทางการประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรม
อันสุกใสในอนาคต พระพุทธศาสนาสามารถชี้จุดหมายปลายทางที่มี
คุณค่าให้แก่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งกำลังเผชิญทางตัน
อย่างหมดหวัง ในอันที่จะต้องตกเป็นทาส ของสิ่งที่วิทยาศาสตร์เอง
เป็นผู้สร้างขึ้นมา


อัลเบิร์ด ไอนสไตน์ (Albert Einstein, 1879 - 1955)
ได้สดุดีพระพุทธศาสนาว่า “ถ้าจะมีศาสนาสักสาสนาหนึ่ง
ที่สามารถสนองความต้องการของ
วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ ศาสนานั้น ก็คือพระพุทธศาสนา ” พระพุทธศาสนาไม่จำเป็นจะต้องแก้ไขดัดแปลงคำสอน
เพื่อให้ทันสมัยและเข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์ก็ยอมรับคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นต้นแบบ ทั้งไม่ต้องยกคำสอนและทัศนะความเห็นในเรื่องใดให้เป็นของ
วิทยาศาสตร์ เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้าได้รวมเอา
วิทยาศาสตร์ไว้ในคำสอนของพระองค์ไว้หมดแล้ว และยังมีคำสอนที่เกินเลยออกไปจากที่วิทยาศาสตร์สามารถบอก
แก่มนุษยชาติได้ พระพุทธศาสนาเป็นสะพานเชื่อมระหว่างศาสนา
กับความคิดทางวิทยาศาสตร์ โดยกระตุ้นมนุษชาติให้ค้นหาศักยภาพ
ที่แฝงอยู่ในตัวของมนุษย์เอง และในสิ่งแวดล้อมเพื่อนำมาใช้
ประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ และที่โดดเด่นที่สุด
คือพระพุทธศาสนาเป็น “อกาลิกศาสนา ” คือศาสนาที่มีคำสอนที่เป็น
“ความจริงและใช้ได้ตลอดกาล ”

ข้อเขียนของ Dr.K.Sri Dhammananda เรื่อง Religion in a Scientific Age

No comments: