(ซ้าย) ภาพสิงโตรองรับธรรมจักร เหนือบัวหัวเสา บนเสาศิลาอโศก ขุดพบที่ตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี (ขวา) ภาพจำหลักเป็นดอกบัว และเสาธรรมจักร ที่กำแพงศิลาพระมหาสถูปสาญจี จะเห็นดอกบัวตูมสองดอกชูก้านออกมาจากฐานเหนือบัวคว่ำคล้ายรูประฆังคว่ำ แสดงให้เห็นว่า ยอดเสาศิลาอโศก ภาพซ้าย เมื่อยังสมบูรณ์ดีอยู่ ก็จะมีธรรมจักร ประดิษฐานอยู่เหนือหัวสิงโตทั้งสี่ เช่นใน รูปขวา บรรดาพระราชาผู้เคยเป็นปฏิปักษ์อยู่ในทิศนั้น ๆ ก็เข้ามาเฝ้าถวายการต้อนรับถวาย ความภักดี ยอมอยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพ พระเจ้าจักรพรรดิก็พระราชทานโอวาท ด้วยศีลห้า (ซึ่งเรารู้จักกันดีแล้ว) เมื่อจักกรัตนะนำชัยชนะไปทั่วปฐพี มีมหาสมุทร เป็นแดนโดยรอบแล้ว ก็นำเสด็จกลับมายังราชธานี* จักกรัตตะหรือล้อแก้วนี้ใน คัมภีร์อรรถกถา** พรรณานาขยายความออกไปอีกยืดยาว แต่พอสรุปกล่าวไว้ว่า จักกรัตนะนั้นมีรูปเหมือนล้อรถ ดุมเป็นแก้วอินทนิล ตรงกลางดุมส่องแสงซ่านออก เป็นวงกลมเหมือนพระจันทร์ทรงกลดรอบดุม เป็นแผ่นเงิน มีซี่กำล้วนแล้วด้วยแก้ว 7 ประการ ทั้งพันซี่ กำแต่ละซี่มีลวดลายประดับต่าง ๆ กัน ส่วนกงล้อเป็นแก้วประพาส สีสุกใส วงนอกของกงทุกระยะของกำ 10 ซี่ที่สอดเข้าไปนั้น มีท่อแก้วประพาฬติดอยู่ ขอบนอกของกงทุกระยะ รวม 100 ท่อ เมื่อจักกรัตนะหมุนไปในอากาศท่อแก้วประพาฬ เหล่านี้ จะกินลมเกิดเป็นเสียงไพเราะดุจเสียงปัญจดุริยางคดนตรี บนท่อแก้วประพาฬแต่ละอันมีเศวตฉัตรห้อยเฟื่องดอกไม้แก้วมุกดา เมื่อจักกรัตนะหมุน เวียนไปจะปรากฎคล้ายวงล้อ 3 อัน หมุนอยู่ภายในของกันและกัน แต่เท่าที่เห็นทำรูปกันไว้ ก็ทำเป็นอย่างล้อรถหรือล้อเกวียนนั่นเอง (ดูรูปขวามือ เพื่อเปรียบเทียบ) เมื่อได้พูดถึงจักกรัตนะ หรือล้อแก้ว ซึ่งเป็นสมบัติส่งเสริมพระบรมเดชานุภาพสำคัญยิ่งของ พระเจ้าจักรพรรดิ มาโดยสังเขปเช่นนี้ ก็พอจะนึกเห็นกันได้ว่า พระเจ้าจักรพรรดิก็คือผู้ ทำให้จักรหรือล้อหมุนไป ซึ่งในบางพระสูตรยังกล่าวเป็นตำนานไว้อีกว่า พระราชาจักรพรรดิ ผู้ประกอบด้วยธรรมทรงเป็นธรรมราชา เป็นผู้ทำให้จักรหมุนไปโดยธรรม จักรนั้นอันสัตว ์มนุษย์ไร ๆ ผู้เป็นปรปักษ์ (ต่อพระเจ้าจักรพรรด) จะหมุนไม่ได้ เมื่อพระสิทธัตถะราชกุมารไม่ต้องพระประสงค์สมบัติจักรพรรดิ และทรงประปรารถนา จะเป็นพระพุทธเจ้า จึงเสด็จออกบรรพชาและทรงบำเพ็ญเพียร จนได้ตรัสรู้ "พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ" พระองค์ก็เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือที่เราเรียก กันเป็นคำสามัญว่า "พระพุทธเจ้า" พระพุทธเจ้าได้โปรดประทานเทศนาเป็นครั้งแรก แก่พระภิกษุปัญจวัคคีย์ คือพวกพระภิกษุ 5 องค์ ณ อิสิปตนะมิคทายวัน ในเมืองพาราณสี เมื่อวันอาสาฬหปุณณมี คือวันเพ็ญเดือน 8 เทศนาครั้งแรกนี้เรียกกันว่า "ปฐมเทศนา" และเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เป็นปฐมเทศนานั้น เรียกว่า "ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร" แปลง่าย ๆ ก็ว่าพระสูตรว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้าทรงหมุนล้อแห่งธรรมหรือธรรมจักร .............................................................. * ดู - มหาสุทสฺสนสุตฺต ทีฆนิกาย มหาวคฺค ** สุมงฺคลวิลาสินี ทุติยภาค น. 289 - 290
ที่ข้าพเจ้านำเอาเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิ และจักกรัตนะหรือจักรแก้ว หรือล้อแก้ว มากล่าว นำไว้ยืดยาว ก็โดยประสงค์จะให้เป็นที่กำหนดหมายรู้ไว้ว่า พระเจ้าจักรพรรดินั้นทรง มีจักกรัตนะเป็นเครื่องมือแผ่พระบรมเดชานุภาพ ส่วนพระพุทธเจ้า เมื่อตรัสเทศนาครั้งแรก ก็ทรงใช้ธรรมจักรเป็นเครื่องมือแผ่พระธรรม เป็นตัวอย่างเปรียบเทียบกันจักกรัตนะนั้น ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า พระราชาจักรพรรดิทรงทำให้หมุน สัตว์มนุษย์ไร ๆ ที่เป็น ปรปักษ์ (ต่อพระราชาจักรพรรดิ) จะหมุนไม่ได้ ธรรมจักรก็เช่นเดียวกัน พระพุทธเจ้า ทรงหมุนใครอื่นหมุนไม่ได้ เช่นที่กล่าวไว้ในตอนท้ายธรรมจักกัปปวัตนสูตร มีเรื่องพวกเทวดาประกาศก้องได้ยินเสียงตั้งแต่ภาพพื้นดินต่อ ๆ ขึ้นไปถึงพรหมโลกว่า "ธรรมจักรประเสริฐ ยิ่ง ที่สมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือ ใคร ๆ ในโลก หมุนกันไม่ได้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมนุนได้แล้ว ณ อิสิปตนะมิคทายวัน ในนครพาราณสี" ตามที่กล่าวนี้ ก็คงเห็นกันได้แล้วว่า พระพุทธเจ้า แม้จะได้ทรงสละ ความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เสด็จออกทรงผนวชและตรัสรู้แล้ว ก็ยังนำเอาลักษณะกิริยาหมุนจักรของจักรพรรดิมาใช้ในการประกาศพระธรรม แสดงให้เห็นว่า ในครั้งกระนั้น ความเชื่อในเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิหมุนจักกรัตนะมีอยู่ในหมู่ประชาชน ชาวอินเดียโดยทั่วไป หรืออย่างน้อย ก็มีอยู่ในหมู่ชนชาวอินเดียตอนกลาง เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงแสดงพระธรรมจักร จึงมีข่าวเล่าลือกระฉ่อนไปโดยกว้างขวางอย่างรวดเร็ว เรียกจักรของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมจักร มิใช่จักกรัตนะอย่างของพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าจะตั้งเป็นปัญหาว่า พระพุทธเจ้าทรงหมุนธรรมจักร อย่างไร ? เป็นเรื่องต้องพูดกัน ต่างหาก หวังว่าบรรดาท่านนักธรรมะทั้งหลาย ย่อมทราบกันดีอยู่แล้ว ข้าพเจ้าจะขอนำ ไปกล่าวในโอกาสอื่น จะไม่นำมากล่าวในที่นี้ และจะพิจารณาธรรมจักรเฉพาะทางวิชา โบราณคดีและศิลปต่อไป รูปที่ 1
ภาพสิงโตรองรับธรรมจักร เหนือบัวหัวเสา บนเสาศิลาอโศก ขุดพบที่ตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี ตอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตรนี้ บรรดาพุทธศาสนิกชนทุกสมัยถือเป็นเหตุการณ์สำคัญอย่างยิ่งตอนหนึ่งในพุทธประวัติ ซึ่งเรียกกันว่า"ปาง" เช่นเดียวกับอีก 3 ตอน คือ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ และปางปรินิพพาน ครั้งภายหลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว จึงได้มีผู้สร้างรูปแสดงเรื่องตามปาง เหล่านี้กันขึ้น แต่การที่จะสร้างพระรูปพระพุทธองค์ซึ่งเป็นที่เคารพขึ้นในประเทศอินเดีย สมัยนั้น เป็นของต้องห้าม บรรดาศิลปินของอินเดียจึงคิดหาวิธีสร้างเป็นรูปภาพแสดง เรื่องราวตามปางเหล่านั้นขึ้นแทน โดยไมทำเป็นพระรูปพระพุทธองค์ ในเรื่องนี้สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนำเอาแนวความคิดของนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสมา อธิบายไว้ว่า "มูลเหตุของรูปภาพในพระพุทธศาสนา ศาสตราจารย์ฟูแชร์ตรวจหลักฐาน ที่มีอยู่เห็นว่า เดิมจะเกิดขึ้น ณ ที่บริโภคเจดีย์ 4 แห่ง คือ ที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ก่อนที่อื่น ด้วยมีเงินตอกตราเป็นรูปดอกบัวเป็นเครื่องหมายที่ประสูติ รูปต้นโพธิ์เป็นเครื่องหมายที่ตรัสรู้ รูปธรรมจักรเป็นเครื่องหมายที่ปฐมเทศนา และรูปสถูปเป็นเครื่องหมายที่ปรินิพพาน ปรากฎว่าเป็นของเก่าก่อนเจดีย์วัตถุของ พระเจ้าอโศกมหาราช ช้านาน......ครั้นต่อมาตั้งแต่พระเจ้าอโศกมหาราชยกพระพุทธศาสนา ขึ้นเป็นศาสนาสำหรับประเทศ และสร้างเจดีย์วัตถุใหญ่โตต่าง ๆ อันประกอบด้วยฝีมือช่าง พวกช่างเอาเครื่องหมายในเงินตรานั้นมาคิดประกอบเป็นลวดลายของเจดียสถาน ในสมัยนั้นยังห้ามมิให้ทำพระพุทธรูปจึงทำดอกบัวเป็นเครื่องหมายปางประสูติ บัลลังก์กับ ต้นโพธิ์เป็นเครื่องหมายปางตรัสรู้ ธรรมจักรกับกวางเป็นเครื่องหมายปางปฐมเทศนา พระสถูปเป็นเครื่องหมายปางปรินิพพาน" ล้อธรรมจักรที่นักปราชน์ทางโบราณคดีได้พบว่า มีอายุเก่าที่สุด เข้าใจว่า ธรรมจักร เครื่องหมายพระสัทธรรม ทำลอยตัว ซึ่งประดิษฐานอยู่เหนือสิงโต 4 ตัวหันหน้าออกสู่ทิศทั้งสี่ บนฐานกลมเหนือบัวหัวเสาศิลาของพระเจ้าอโศกมหาราช สร้างขึ้นในรัชสมัย ของพระเจ้าอโศก เมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ 3 (ดูรูปที่ 1) รูปที่ 2 แผนผังพระมหาสถูปที่สาญจี อัณฑะ เดิมก่ออิฐ ต่อมาก่อแผ่นหินหุ้ม เมื่อ พ.ศ. 493 แต่ต่อมาได้หักพังตกจมดินอยู่ที่ตำบลสารนาถ ใกล้เมืองพาราณสี เพิ่งขุดค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2447 แต่วงล้อธรรมจักรหักเสียหาย ที่ฐานกลมรองรับเหนือบัวหัวเสา ตรงเท้าสิงโตทั้งสี่ลงมานั้น มีวงล้อ จำหลักอีก 4 วง ประจำทั้งสี่ด้าน ระหว่างวงล้อ จำหลักเป็นรูปสัตว์คั่นช่วงล้อละตัว รวม 4 ตัว คือ รูปช้าง รูปวัว รูปม้า และสิงโต* ภาพของสัตว์ทั้งสี่นี้มองเห็นว่ามิได้ยืนนิ่ง แต่มีท่าวิ่งหรือเดินทุกตัว อันแสดงให้เห็นว่าวงล้อเหล่านั้นกำลังหมุน มิได้หยุดเฉย ซึ่งรัฐบาลอินเดียสมัยนี้ ได้นำรูปบัวหัวเสาม ีสิงโต 4 ตัวนี้มาใช้เป็นสัญญลักษณ์ของประเทศอินเดียในปัจจุบัน กับมีเสาสิงโตทรงธรรมจักร เรียกว่า สิงหสตัมภะ ตั้งอยู่ริมประตูหรือโดรณด้านใต้ของพระมหาสถูปสาญจี อีกเสาหนึ่ง (ดูรูปที่ 2 ) ต่อจากสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชมาก็มีล้อธรรมจักรซึ่งนำหลักอยู่เหนือเสาประต ูหรือโดรณของ พระมหาสถูปสาญจี มีอายุอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 4 - 5 คือ ราว 2000 กว่าปีมาแล้ว
รูปที่3 ปางประทานปฐมเทศนา ศิลปสมัยคันธาระ (พ.ศ. 500 - 1050) ต่อมาในสมัยคันธาระ (พ.ศ. 500 - 1050) เมื่อศิลปินเชื้อสายกรีกได้คิดสร้างพระรูปพระพุทธองค์ขึ้น โดยตรงแล้ว จึงสร้างรูปปางปฐมเทศนาเป็นรูปพระพุทธองค์ทรงห่มคลุมทั้งสองพระอังสา ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนพระแท่นผันพระพักตร์ก้มต่ำไปทางขวา พระหัตถ์ขวาทรงถือธรรมจักรอยู่ ระดับพระชานุ กำลังทรงยื่นธรรมจักรนั้นให้แก่พระปัญจวัคคีย์ซึ่งนั่งอยู่ข้างพระแท่น ด้านขวา 2 องค์ อีก 3 องค์นั่งอยู่ทางซ้ายของพระแท่น ที่หน้าพระแท่นมีรูปกวางหมอบ 1 ตัว หันหัวเหลียวหลัง (ดูรูปที่ 3) รูปที่4 รูปที่5 ปางประทานปฐมเทศนา ศิลปสมัยอมรวดี ปางปฐมเทศนา สมัยคุปตะ (พ.ศ.850 - 1150) แต่ต่อมาในสมัยอมรวดี (พ.ศ. 700 - 850) ทำพระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธองค์ทรงห่มอุตตราสงค์เปิดพระ อังสาขวา ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนพระแท่น ยกพระหัตถ์ขวา ซึ่งแบฝ่าพระหัตถ์หันออกข้างนอกในระดับ พระอังสา ส่วนพระหัตถ์ซ้ายหันฝ่าพระหัตถ์เข้าเป็นท่าทรงกำจีวรอยู่ระดับพระอุระซ้าย พระปัญจวัคคีย์นั่งอยู่ทางเบื้องขวาพระแท่น 2 องค์ ทรงเบื้องซ้าย 3 องค์ ที่หน้าพระแท่นมีกวาง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน (ไม่มีธรรมจักร) (ดูรูปที่ 4) แต่พระพุทธรูปปางนี้ ในสมัยคุปตะ (ระหว่าง พ.ศ. 850 - 1150) ทำเป็นรูปพระพุทธองค์ประทับนั่งบนพระแท่น ทรงห้อยพระบาททั้งสองลงอย่างนั่งเก้าอี้บ้าง (ดูรูปที่ 5) นั่งขัดสมาธิบ้าง ทรงยกพระหัตถ์ขวาจีบเป็นวง หมายถึงธรรมจักร และพระหัตถ์ซ้ายจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นท่ากำลังทรงหมุนอยู่ตรงพระอุระ และมีรูปธรรมจักรหันทางแบนออก อยู่ ณ บัวเบื้องล่างใต้พระบาทลงมา รูปที่ 6 ปางปฐมเทศนา ศิลปสมัยคุปตะ หรือถ้าทำเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ ก็ทำรูปธรรมจักรหันด้านสันกงออกบ้าง (ดูรูปที่ 6) หันทางส่วนแบนออกบ้าง มีรูปคนนั่งประนมมือตรงหน้าพระแท่นหันด้านข้างออกอยู่สอง ฟากธรรมจักร ข้างละ 3 คน รวม 6 (กล่าวกันว่าที่ทำเป็น 6 คนนั้นเป็นรูปพระปัญจวัคคีย์ 5 องค์ กับรูปคนสร้างพระพุทธรูปปางนี้อีก 1 จึงเป็น 6 คน) เบื้องหน้าธรรมจักรออกมา มีกวางหมอบ เหลียวหลังข้างละตัว นอกนั้นก็มีลวดลายประดับบ้าง ทำเป็นภาพประกอบบ้าง ต่าง ๆ กันออกไป ที่มีรูปกวางอยู่ด้วย ก็เพื่อให้ผู้ดูทราบได้ว่ากำลังทรงประทาน ปฐมเทศนา ในมิคทายวัน แต่ที่สำคัญก็คือรูปธรรมจักร จำหลักบนแผ่นหิน ทำเป็นภาพลายนูนต่ำบ้าง นูนสูงบ้าง และมีภาพจำหลักอื่นประกอบ หรือจำหลักประกอบกับภาพอื่น มีภาพพระพุทธองค์ทรง ประทานเทศนา เป็นต้น ที่ปรากฎว่าจำหลักเป็นธรรมจักร หรือรูปวงล้อลอยตัวโดยเฉพาะ เช่นล้อธรรมจักรที่พบในประเทศไทย ก็คงมีแต่ธรรมจักรเหนือหัวสิงโต 4 ตัว ซึ่งขุดพบ ที่สารนาถ และธรรมจักร บนสิงหสตัมภะ ที่สาญจี ........................................ * บางท่านอธิบายว่าสัตว์ทั้งสี่นี้ เป็นสัตว์ประจำทิศสี่ ในคัมภีร์ไตรภูมิฉบับรัชกาลที่ 1 มีกล่าวว่า สระอโนตมีทางน้ำไหลออก 4 ทิศ ทิศตะวันออกไหลออกจากปากราชสีห์ ทิศตะวันตกไหลออกจากปากช้าง ทิศเหนือไหลออกจากปากม้า และทิศใต้ไหลออก จากปากโค เรื่องนี้คงมาจากแนวทางคิดเดียวกัน
ธรรมจักรที่พบในประเทศไทยส่วนมากจำหลักลอยตัว และจำหลักทั้งสองด้าน มีอยู่อันหรือสองอันที่จำหลักด้านเดียวเช่นที่ในวัดมหาธาตุจังหวัดเพชรบุรี ล้อธรรมจักร ที่พบและรู้จักกันในประเทศไทยนั้น เข้าใจว่าเริ่มแต่ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งโปรดให้ขุดแต่งบูรณะพระปฐมเจดีย์ในรัชกาลที่ 4 ปรากฎว่าได้ขุดพบธรรมจักรหรือวงล้อศิลา ในบริเวณพระปฐมเจดีย์ เป็นจำนวนหลายอัน ซึ่งบางอันแตกหัก ชิ้นส่วนสูญหายไป ที่ยังอยู่ครบถ้วนสมบูรณ์ดีก็มี แต่ละอันมีลายประดับมาก บ้างน้อยบ้าง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ได้ทรงนิพนธ์ถึงธรรมจักรหรือวงล้อเหล่านี้ไว้ในเรื่องพระปฐมเจดีย์ มีความตอนหนึ่งว่า "เขาขุดได้จักรศิลาที่คนแต่ก่อนทำบูชาพระไว้ในวัดเก่า ๆ จมอยู่ใต้ดินมีหลายอัน นี่ก็รู้ได้ ว่าแต่ก่อนนั้นเห็นจะเป็นเมืองใหญ่โต ไพบูลย์ด้วยโภไคยไอศวรรย์สมบัติ เป็นเเมืองอัน พระมหากษัตริย์ได้ครอบครอง เห็นท่านผู้เป็นเจ้าของจักรสำคัญคิด ว่าสมบัติของเรานี้ วิจิตรโตใหญ่อยู่แล้ว ยังขาดอยู่แต่จักรแก้วยังหามีไม่ จึงได้ทำจักรศิลาบูชาพระรัตนตรัย ในเพลานั้น ด้วยมุ่งหวังหาผลเป็นสำคัญของท่านผู้ครอบครองแผ่นดิน อีกอย่างหนึ่ง จะทำไว้ให้เห็นว่าเมืองนี้เป็นสุทัศนเทพนคร เมื่อถึงศาสนกาลนี้ได้มีนามกรว่าเมืองกุสินารา เป็นมงคลประเทศปรากฎเล่าลือมาจนกาลบัดนี้ ว่าเป็นที่เกิดที่มีแห่งพระเจ้าจักรพรรดิมาแต่ก่อน จักกรัตนะจึงได้ซุกซ่อนลับจมอยู่ใต้ดิน"* ธรรมจักรหรือวงล้อเหล่านี้ ต่อมาได้นำมาเก็บรักษา ไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ บ้าง จัดตั้งแสดงไว้ที่ระเบียงด้านตะวันอตกองค ์พระปฐมเจดีย์บ้าง เก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานฯ พระปฐมเจดีย์บ้าง เมื่อฟูแนโร (L. Fournerau) นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ได้มาพบวงล้อหรือจักรศิลานี้ในปี พ.ศ. 2438 ก็ได้นำรูปไปพิมพ์ลงในหนังสือเรื่อง "ประเทศสยามโบราณ" (Le Siam ancien) และอธิบายไว้ว่า วงล้อเหล่านี้เป็นเครื่องหมายแสดงถึงจักรหรือล้อรถของเทพเจ้าในศาสนา พราหมณ์ แต่ลาจองเกียร์ (L. de Lejonquiere) กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง "โบราณสถานในประเทศสยาม" (Le domaine archeologique du Siam) ไม่เชื่อว่าวงล้อเหล่านี้เป็นล้อรถ เพราะเหตุว่าไม่มีการเจอะเป็นรูที่ดุมเลย เขาคิดว่าคงจะเป็น ใบเสมามากกว่า สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพตรัสเล่าไว้ว่า "ศิลากงจักรนี้ ไม่ปรากฎว่ามีในประเทศพม่า รามัญ หรือเขมร แม้ในประเทศสยามก็พบแต่ที่จังหวัดนครปฐม กับได้ยินว่ามีทางจังหวัดนครราชสีมาบ้าง แต่จังหวัดอื่นหาปรากฏว่ามีไม่"** รูปที่ 7 รูปที่ 8 ธรรมจักรศิลา วัดคลองขวาง ธรรมจักรหินทรายแดง ตำบลเมืองเสนา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี ( จำหลักด้านเดียว )
ที่ว่ามีทางจังหวัดนครราชสีมานั้น ปัจจุบันอยู่ที่วัดคลอง ( ดูรูปที่ 7 ) ตำบลเมืองเสมา ในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา กับได้พบที่วัดพริบพรี และวัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรีด้วย ( ดูรูปที่ 8 ) และต่อมาเมื่อกรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งโบราณสถาน ในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2506 ก็ได้พบธรรมจักรหรือวงล้อศีลาอีก 3 อัน และมีอยู่อันหนึ่งยังครบถ้วนสมบูรณ์ดี กับพบจำหลักไว้ที่หินตั้งในจังหวัดกาฬสินธุ์อีกแห่งหนึ่ง วงล้อศิลาหรือธรรมจักรดังกล่าวนี้ท่านศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ อธิบายไว้ว่า "เนื่องจากได้ค้นพบรูปกวางใกล้กับรูปวงล้อศิลาเหล่านี้จึงทำให้คิดกันว่า วงล้อเหล่านี้คง หมายถึงธรรมจักร ซึ่งพระพุทธองค์ทรงหมุน ( คือสั่งสอน ) เมื่อประทานปฐมเทศนา ณ มฤคทายวัน"*** รูปที่ 9 ธรรมจักรศิลา สมัยทวารดี พุทธศตวรรษที่ 11 - 16 ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กำด้านหน้าที่เห็นอยู่นับได้ 36 ซี่ แต่ด้านหลังนับได้ 35 ซี่ ธรรมจักรหรือวงล้อที่ทำด้วยศิลาตามที่พบเห็นแล้วนั้น มีขนาดต่าง ๆ กัน อันใหญ่ที่สุดวัดผ่านศูนย์กลาง 1.95 เมตร เวลานี้จัดตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( ดูรูปที่ 9 ) อันเล็ก ๆ ก็มีอยู่ ในพิพิธภัณฑสถาน ฯ พระปฐมเจดีย์หลายล้อ แต่ชำรุดทุกล้อ และมีอยู่ล้อหนึ่ง ( ชำรุด ) เวลานี้ อยู่ในพิพิธภัณฑสถานฯ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี วัดผ่านศูนย์กลาง 45 เซนติเมตร รูปที่ 10 รูปที่ 11 ธรรมจักรศิลา ศิลปสมัยทวารวดี ธรรมจักร พบที่จังหวัดนครปฐม พุทธศตวรรษ ที่ 11 - 12 ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ ขุดพบที่เมืองเก่า อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ภาณุพันธ์ยุคล ธรรมจักรทั้งล้อใหญ่ล้อเล็กมีลวดลายประดับตามซี่กำวงล้อ วงดุม และฐานที่ตั้ง จำหลักและ ประดิษฐ์ลายไว้ต่างๆ กัน บางวงล้อก็ฉลุทะลุเป็นช่องโปร่งระหว่างซี่กำ เช่นธรรมจักรอันหนึ่ง ซึ่งขุดพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ( ดูรูปที่ 10 ) และของส่วนพระองค์ของพระเจ้า วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ( ดูรูปที่ 11 )**** แต่ส่วนมากมิได้ฉลุให้ทะลุ ที่น่าสังเกตก็คือ ซี่กำของวงล้อหรือธรรมจักรนั้นมีจำนวนต่าง ๆ กัน และเนื่องจากวงล้อ แต่ละอันมีจำนวนซี่กำแตกต่างกันนี้เอง จึงชวนให้นักธรรมะชาวไทยขบคิดหาหลักธรรมต่าง ๆ เข้าประกอบ เพื่อหาคำอธิบาย เช่น วงล้อมีกำ 8 ซี่ ก็ว่าหมายถึงอริยมรรค 8 วงล้อที่มีกำ 12 ซี่ ก็ว่าหมายถึงอาการ 12 ที่กล่าวว่า "ทฺวาทสการํ" ไว้ในธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ที่มีกำ 16 ซี่ ก็ว่าหมายถึงโสฬสธรรมหรืออาการ 16 ของอริยสัจสี่ แต่ธรรมจักรหรือวงล้อศิลาที่พบมาแล้วนั้น มิได้มีแต่ล้อที่มีจำนวนกำเพียง 8 ซี่ 12 ซี่ และ 16 ซี่เท่านั้น หากแต่มีจำนวน 14 ซี่ก็มี, 17 ซี่ก็มี, 18 ซี่ก็มี, 21 ซี่ก็มี, 22 ซี่ก็มี, 24 ซี่ก็มี, 26 ซี่ก็มี, 32 ซี่ก็มี, 35 ซี่ก็มี มิหนำซ้ำวงล้ออันเดียวกัน แต่ทำซี่กำแต่ละด้านจำนวนไม่เท่ากันก็มี ................................................................................................................ * เรื่องพระปฐมเจดีย์ ฉบับกรมศิลปากรตรวจสอบชำระใหม่ พ.ศ. 2506 ** เชิงอรรถ (1) ในตำนานพระพุทธเจดีย์ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2503 น. 94 *** ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 ตีพิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2506 น. 46 - 47 **** ธรรมจักรศิลา ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล มีจารึกอริยสัจภาษาบาลี ดูในประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 ตีพิมพ์ครั้งที่ 2 ถ้าจะพากเพียรขบคิดหาหัวข้อธรรมเข้าประกอบคำอธิบายให้ลงตัวได้ จำนวนเท่ากับซี่กำ ของวงล้อนั้น ๆ ก็เชื่อว่าคงจะพากเพียรขบคิดค้นหากันจนได้ แต่ก็คงจะเลอะเทอะเลื่อนลอยไม่เป็นหลักเกณฑ์ที่จะพึงยึดถือให้เกิดสาระอันใด ข้าพเจ้าเข้าใจว่าช่างที่สร้างกงล้อหรือธรรมจักรศิลานี้ขึ้นไว้ อาจจมิได้มุ่งหมาย จะทำซี่กำให้มีจำนวนเท่ากับหลักธรรมข้อนั้นข้อนี้ หากแต่คงคิดประดิษฐ์ให้เป็นเครื่องหมาย แทนพระธรรมจักร ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสเทศนา และพระธรรมจักรที่พระพุทธเจ้าโปรดเทศนานั้น ก็ตรัสไว้ตรงตัวอยู่แล้วว่า ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺต ซึ่งแปลว่าได้ว่าพระสูตรว่า ด้วยการหมุนล้อแห่งธรรม หมายความว่าธรรมจักร หรือล้อรถแห่งธรรมนั้นมิได้ตั้งอยู่เฉย ๆ แต่หมุนเวียนไป ซึ่งในพระสูตรนั้นเองก็บอกไว้แล้วว่า "ธรรมจักรประเสริฐยิ่ง ที่สมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใคร ๆ ในโลก หมุนกันไม่ได้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมุนได้แล้ว" เมื่อช่างมาประดิษฐ์สร้างขึ้นเป็นวงล้อ เป็นสัญญลักษณ์ประทานปฐมเทศนา ก็คงมุ่งหมายให้คนดูเห็นว่า ล้อกำลังหมุนไป เมื่อวงล้อมันหมุน สายตาของเราที่มองดูอยู่ก็จะเห็นจำนวนของซี่กำแตกต่างกันไป สุดแต่สายตาจะกำหนดได้ แต่การเขียนภาพหรือทำรูปซึ่งเป็นของตั้งอยู่กับที่ จะทำให้เห็นเป็นหมุนได้อย่างไร เขาคงคิดกันมาแล้ว ข้อนี้ถ้าพิจารณาโดยอาศัยหลัก ศิลปทางจิตรกรรม และประติมากรรมเข้ามาประกอบกับข้อความในพระบาลีที่กล่าว ข้างต้น และสังเกตให้ดี จะเห็นลายกระหนกที่ขอบกงชั้นนอกของธรรมจักรหรือวงล้อศิลา บางอันช่างเขาทำอย่างมีความหมาย คือทำเป็นลายกระหนกเอนลู่ไปมารอบ ๆ วง แสดงว่า ล้อ หรือธรรมจักรนั้นกำลังหมุนไป มิได้หยุดนิ่ง อาจหมุนเป็นอนุโลมปฏิโลมก็ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเทียบล้อวงล้อที่บัวหัวเสาของของพระเจ้าอโศก จะเห็นท่าทางของสัตว์ทั้งสี่กำลัง วิ่งและเดิน เมื่อสัตว์เหล่านั้นต่างวิ่งและเดิน วงล้อหรือธรรมจักรจะตั้งอยู่นิ่ง ๆ ได้อย่างไร จำจะต้องหมุนไปด้วย รูปที่ 12 รูปที่ 13 ธรรมจักรศิลาแลง ธรรมจักรหินทราย พิพิธภัณฑสถานฯ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ธรรมจักรหรือวงล้อศิลา ทำลอยตัว ดังกล่าวมาแล้วนั้นเป็นของทำด้วยหินแลงก็มี ทำด้วยหินทรายก็มี แต่เป็นส่วนน้อย เท่าที่พบเห็นก็มีอยู่ 2 - 3 อัน และไม่มีลวดลายจำหลักอันใด นอกจากสกัดให้เป็นรูปวงล้อ มีดุม มีกำและมีกง เช่นที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถาน ฯ พระปฐมเจดีย์ ( ดูรูปที่ 12 ) และในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( ดูรูปที่ 13 ) แต่ก็ล้อธรรมจักร ส่วนมากเท่าที่พบในจังหวัดนครปฐมและจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นของทำด้วยหินปูนสีเขียวแก่ อย่างที่เรียกว่า bluish limestone ( ดูรูปที่ 14 - 20 ) ธรรมจักรที่ทำด้วยหินปูนสีเขียวแก่นี้ ได้เคยสืบหาแหล่งหินกัน และเข้าใจว่าเป็นเนื้อหินที่หาได้จากบริเวณเขาตกน้ำ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี กับบริเวณห้วยชินสีห์ จังหวัดราชบุรี และบริเวณเทือกเขาในอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ที่ว่าหาได้จากบริเวณนั้นบริเวณนี้ เพราะไม่แต่จะหาหินชนิดนั้นได้จากภูเขา หากแต่มีหินชนิดดังกล่าวเป็นแผ่นหินลอยตัวอยู่ตามพื้นดินที่ราบในบริเวณนั้นๆ เช่นล้อธรรมจักร ที่วัดคลองขวาง ตำบลเมืองเสมา จังหวัดนครราชสีมา ( ดูรูปที่ 7 ) ก็คงทำจากแผ่นหินที่หาได้ ในลำห้วยแถวตำบลเมืองเสมา อำเภอสูงเนิน นั่นเอง และขอบอกกล่าวไว้เสียเลยว่า เนื้อหินของ ธรรมจักรที่วัดคลองขวาง เมื่อเปรียบเทียบกับธรรมจักรที่พบในจังหวัดนครปฐมแล้ว เห็นได้ ้ว่าฝีมือช่างและเนื้อหินต่างกัน เพราะทำจากหินและฝีมือช่างต่างถิ่นกัน หินปูนดังกล่าวนี้ นอกจากนำมาจำหลักเป็นล้อธรรมจักรแล้วยังใช้จำหลักเป็นพระพุทธรูปปางต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ด้วย คงจะเนื่องด้วยเนื้อหินชนิดนี้อ่อน แกะจำหลักได้ง่าย และธรรมจักรที่ขุดพบในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้พบทั้งฐานและเสาศิลา จึงเข้าใจกันว่า ล้อธรรมจักรที่เห็นกันมา แต่เดิมคงจะตั้งอยู่บนยอดเสา หน้าพระสถูป ( ดูรูปที่ 1,2 และ 27,28 เปรียบเทียบ ) รูปที่ 14 ธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม รอบดุมจำหลักเป็นบัวรวน กงโดยรอบเป็นลายก้านขด รูปที่ 15 ธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม รอบดุมจำหลักบัวกลีบเตี้ย กงเป็นลายประจำยาม รูปที่ 16 ธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม รูปที่ 17 ธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม บัวรอบดุมไม่มีเกสร วงล้อเป็นลายเนื่องและเส้นลวด บัวรองทำเป็นกลีบยาวคล้ายกาบหอยแคลง รูปที่ 18 ธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ลวดลายรอบดุมและที่กงจำหลักเป็นลายบัวรวนแข้งสิงห์ ฐานรูปสี่เหลี่ยมเจาะรู รูปที่ 19 ธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ลายรอบดุน จำหลักเป็นลายกลีบบัว ( ธรรมดา ) ส่วนลายขอบกง จำหลักเป็นรูปบัวฟันยักษ์ รูปที่ 20 ธรรมจักรหินปูน พิพิธภัณฑสถาน ฯ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ที่กงล้อจำหลักเป็นลายก้านขด
ล้อธรรมจักรที่ทำด้วยหินปูนสีเขียวแก่ดังกล่าว มีลวดลายจำหลักอยู่ทั่วไป ทั้งที่วงรอบดุม ที่กำและที่กง โดยปกติที่วงรอบดุมจะมีรูปจำหลักเป็นเม็ดกลม ๆ เรียกว่า ลายเนื่อง โดยรอบ คงจะสมมติเป็นเกสรบัว แล้ววงถัดออกมา จำหลักเป็นกลีบบัวธรรมดาบ้าง บัวรวนบ้าง บัวฟันยักษ์บ้าง วงถัดออกมาจำหลักเป็นลายเนื่องโดยรอบอีก ถัดออกมาจำหลักเป็น ซี่กำ โคนใหญ่ปลายย่อม ให้เห็นซี่เป็นรูปกลมบ้าง เป็นเหลี่ยมบ้าง และที่วงล้อเบื้องล่างจำหลักเป็น บัวคว่ำหัวหงาย มี ลายก้านขด ต่อขึ้นไปเป็นรูป 3 เหลี่ยม บางล้อก็มีรูปเทวดาหรือกษัตริย์ ทรงมงกุฎโผล่พระพักตร์เพียงอุระ สองหัตถ์เกาะอยู่ขอบราวกลีบบัว คล้ายโผล่บัญชร ( ดูรูปที่ 21 ) รูปที่ 21 ธรรมจักรหินปูน ขุดพบในโบราณสถาน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ที่ฐานจำหลักเป็นรูปเทวดาหรือกษัตริย์โผล่บัญชร หัตถ์ทั้งสองเกาะราวกลีบบัว ที่ฐานรองรับสี่เหลี่ยมมีจารึกคาถาภาษาบาลี ( ดูรปที่ 25 )
ปลายกำด้านติดกับ ท้องกง แต่ละซี่จำหลักเป็นกระหนกคล้าย บัวหัวเสา รับท้องกง วงถัดออกมาเป็นท้องกง จำหลักเป็น เส้นลวด เสียรอบหนึ่ง ถัดออกมาก็จำหลักเป็น รักร้อยประเภทกลีบบัว เป็นวงไปโดยรอบบ้างเป็น ลายก้านขด ชั้นเดียวหรือสองชั้นบ้าง เป็น ลายก้านต่อดอก บ้าง แล้วจำหลักเป็น เส้นลวด คั่น วงขอบนอกของกงจำหลักลายคล้าย กระหนกเปลว บ้าง เป็น เม็ดบัว บ้าง เป็นรูปอื่น ๆ บ้าง แต่ธรรมจักรบางอันก็จำหลักละเอียด ประณีตกว่าที่กล่าวมานี้มาก เช่น ธรรมจักรศิลาอันใหญ่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จำหลักลวดลายละเอียดหลายวงหลายชั้น* และที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ธรรมจักรทุกล้อ จำหลักเป็นฐานที่ตั้งติดอยู่ในบัว แต่บางล้อก็ทำเป็นแกนคล้ายกับจะเสียบตั้งลงในฐานะ รองรับอันอื่น ฐานที่ตั้งติดล้อนั้น บางอันก็จำหลักเป็นบัวหงายบัวคว่ำ บางอันที่เป็นบัวหงายก็จำหลักกลีบบัวเสียยาวเฟื้อยมองดูคล้ายหอยแคลง ( ดูรูปที่ 17 ) บางอันก็ทำเป็นลายก้านขดคู่ บางอันก็ทำเป็นลวดลายอย่างอื่น และบางอันก็ทำเป็นลายกระหนกสูงขึ้นมาปิดซี่กำด้านล่างจนถึงขอบดุม มีล้อธรรมจักรอยู่ 2 ล้อ ที่ฐานด้านตั้งทำเป็นรูปเทวดานั่งขัดสมาธิราบ มือทั้งสองถือก้านชูดอกตูมข้างละดอกยกขึ้นเหนือ บ่าทั้งสอง ซึ่งท่านผู้รู้บางท่านอธิบายว่าเป็นรูปอรุณเทพบุตร ( ดูรูปที่ 22 ) และมีอยู่ล้อหนึ่งที่ข้างทั้งสองของอรุณเทพบุตรนั้นจำหลักเป็นรูปคนแคระหรือกุมภัณฑ์ เอาหลังยันแบกขอบล่างของวงล้อข้างละคน ( ดูรูปที่ 23 )
รูปที่ 22 รูปที่ 23 ธรรมจักรหินปูน พิพิธภัณฑสถาน ฯ พระปฐมเจดีย์ ธรรมจักรหินปูน ที่ฐานรองมีรูปอรุณเทพบุตร กงล้อ จำหลักเป็นลายก้านขอ ที่ฐานรองรับทำเป็น และมีคนแคระหรือภุมภัณฑ์ แบบอยู่สองข้าง รูปเทวดาถือดอกบัว หรืออรุณเทพบุตร.......................................................................... กับมีฐานของธรรมจักรชิ้นแตกหัก แต่ตรงที่เป็นรูปอรุณเทพบุตร หรือบางท่านว่าเป็นรุปครุฑ ถือดอกบัว ยังอยู่ค่อนข้างสมบูรณ์ ตั้งอยู่ที่ระเบียงพระปฐมเจดีย์อีกชิ้นหนึ่ง ( ดูรูปที่ 24 ) กับขุดพบที่เนินโคกเจดีย์ ทางทิศตะวันออกของเมืองเก่ากำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม อีกล้อหนึ่ง ที่ฐานศิลา 4 เหลี่ยมจารึกคาถาภาษาบาลี ( ดูรูปที่ 21 และ 25 ) ว่า
รูปที่ 24 รูปที่ 25 ฐานธรรมจักรหินปูน ระเบียงวิหารคต ฐานรองรับธรรมจักรศิลารูปที่ 21 พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม มีจารึกคาถาภาษาบาลี ดูคำอ่านด้านล่าง รูปเทวดาหรือบางท่านว่าเป็นรูปครุฑถือดอกบัว ขุดพบที่โบราณสถานเมืองกำแพงแสน ............อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม สจฺจกิจฺกตญาณํ จตุธา จตุธา กตํ ติวฏฺฏํ ทฺวาทสาการํ ธมฺมจกฺกํ มเหสิโน แปลว่า ธรรมจักร ของพระ (พุทธเจ้า) ผู้แสวงหาพระคุณอันยิ่งใหญ่ ทำ (ซี่กำ) ให้เป็นสี่ ๆ (คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) มีญาณรู้สัจจะ รู้ที่ควรทำ รู้ที่ทำแล้ว หมุนไป 3 รอบ จึงเป็นอาการ 12 ที่ข้าพเจ้านำเรื่องลวดลายจำหลักในธรรมจักรศิลามากล่าวโดยสังเขป ก็เพื่อเป็นแนวให้ท่าน ผู้สนใจใช้เป็นข้อสังเกตเมื่อพบเห้น ลักษณะของลวดลายในล้อธรรมจักรดังกล่าวนี้ นักโบราณคดีวินิจฉัยกันว่าธรรมจักรในเมืองไทย เป็นของทำขึ้นในสมัยทวารวดี ( พุทธศตวรรษที่ 11 - 16 ) เพราะส่วนใหญ่คล้ายกับลวดลายสมัยราชวงศ์คุปตะในอินเดีย ถ้ากระนั้นก็แสดงว่าได้มีผู้นำเอาแบบอย่างวัฒนธรรมของอินเดียโบราณ เข้ามาสู่ดินแดนเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ภาคนี้ อย่างน้อยก็ในสมัยราชวงศ์คุปตะครองประเทศอินเดีย ระหว่าง พ.ศ. 850 - 1150 หรือถัดมายังมีธรรมจักรศิลาชิ้นสำคัญอีกล้อหนึ่ง แต่น่าเสียดาย ที่แตกชำรุดและบางส่วนหายไป เดี๋ยวนี้เก็บรักษาล้อธรรมจักรนี้ไว้ในพิพิธภัณฑสถาน ฯ พระปฐมเจดีย์
ธรรมจักรล้อนี้มีที่น่าสังเกตคือ ฐานสำหรับตั้งจำหลักเป็นดอกบัวใหญ่คล้ายบัวหัวเสา ทำแย้มกลีบกางออกอย่างแบบบัวกระจับ รองรับวงล้อ บนดอกบัวใหญ่นั้นจำหลักรูปนาง กษัตริย์นั่งขัดสมาธิราบ ที่กล่าวว่านางกษัตริย์ ก็เพราะในรูปมีศิราภรณ์ สองหัตถ์ประคองพระอุทร มีช้างสองเชือกยืนอยู่บนกลีบบัวดอกเดียวกันนั้นด้วยข้างละตัว ต่างชูงวงลือเต้าน้ำเทลงมายังนางกษัตริย์ ( ดูรูปที่ 26 ) ล้อธรรมจักรนี้ ถ้าว่าในทาง ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ก็ควรได้รับพิจารณาอย่างยิ่ง จึงขอนำข้อคิดเห็นมากล่าวต่อไป รูปที่ 26 ธรรมจักรหินปูน (ชำรุด) พิพิธภัณฑสถาน ฯ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม เบื้องล่างจำหลักเป็นนางกษัตริย์ประทับนั่งบนดอกบัวใหญ่ มีช้างสองเชือกชูงวง ถือเต้าน้ำเทลงมา ( เปรียบเทียบกับภาพลายเส้นแสดงส่วนสมบูรณ์ ดูรูปด้านล่าง ) ภาพลายเส้นแสดงส่วนสมบูรณ์ของธรรมจักรหินปูน รูปที่ 26 ภาพนางกษัตริย์นั่งบนดอกบัวใหญ่ มีช้างสองเชือกชูงวงถือเต้นน้ำเทลงมา ภาพลายเส้น ขยายจากรูปที่ 26 ( เปรียบเทียบรูปที่ 29 และรูปที่ 31 ) รูปจำหลักเป็นนางกษัตริย์นั่งบนดอกบัวใหญ่ และมีช้างสองเชือกยืนอยู่ 2 ข้าง ต่างชูงวงยกเต้าน้ำเทรพลงมายังนางกษัตริย์ที่ล้อธรรมจักรดังกล่าวนี้ ศิลปินผู้สร้างและ ผู้แกะจำหลักในถิ่นนี้ จะคิดขึ้นเองหรือได้แบบอย่างมาจากไหน ? เราควรจะลองค้นคว้าหาแหล่งที่มาของแนวความคิดและแบบอย่างกันดู จะค้นคว้าได้อย่างใด ? ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า ได้มีผู้นำเอาแบบอย่างวัฒนธรรมอินเดียโบราณเข้ามาสู่ดินแดนภาคนี้ เราจึงลองพากันเดินทางไปสืบดูในดินแดนนั้นบ้าง บางทีอาจพบแนวความคิดดังกล่าว และสมมติว่าเรามีโอกาสได้เดินทางไปชมและนมัสการปูชนียสถานในอินเดียตอนกลาง ผ่านไปนมัสการปูชนียสถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่โพธิคยา แล้วไปสารนาถที่ทรงประทาน ปฐมเทศนา แล้วผ่านลึกเข้าไปตอนภาคกลางของประเทศไปดูภารหุต และวกลงไปนครอุชเชนีโบราณ แล้วค่อย ๆ เลี้ยวลงทางตะวันตกเฉียงใต้เข้าไป จะพบบรรดาปูชนียสถานโบราณ ณ บริเวณสาญจี ซึ่งมีพระมหาสถูป มีกำแพงศิลา และมีประตูหรือโดรณทำด้วยหิน ตั้งตระหง่ายประจำอยู่ทั้งสี่ทิศ ประกอบด้วยพระสถูปใหญ่น้อยและปูชนียสถานอื่น ๆ อีกมากมายมีภาพจำหลักเป็นคนและสัตว์ เป็นลายประดับ เป็นชาดกบางเรื่องและเป็นสัญญลักษณ์แสดงปางต่าง ๆ ในพุทธประวัติบางตอน ซึ่งนักค้นคว้าทางโบราณคดีค้นพบว่าพระมหาสถูปสาญจีนั้น แรกสร้างขึ้นไว้ในสมัยราชวงศ์เมารยะหรือโมริยะ ครองประเทศอินเดีย ราวระหว่าง พ.ศ. 220 หรือ พ.ศ. 230 ถึงราว พ.ศ. 356 ซึ่งตั้งนครหลวงอยู่ ณ นครปาฏลิบุตร ราชวงศ์เมารยะนี้มีพระมหากษัตริย์ที่นักประวัติศาสตร์รู้จักพระนามกันดี 3 พระองค์ คือ พระเจ้าจันทรคุปต์ ผู้ตั้งราชวงศ์เมารยะ พระเจ้าพินทุสาร ซึ่งมีฉายาว่า อมิตตฆาฏ และพระเจ้าอโศก มหาราช องค์เอกอัครศาสนูปถัมภกพระบวรพุทธศาสนา พระมหาสถูปสาญจีก็ดี ภาพจำหลักเป็นสัญญลักษณ์ที่ช่างศิลปชาวอินเดียนำมาใช้แสดง เป็นปางต่าง ๆ ในพุทธประวัติก็ดี นักประวัติศาสตร์ และโบราณคดีลงความเห็นกันว่า ได้สร้างขึ้นและนำมาใช้ในรัชสมัยพระเจ้าอโศก มหาราช ซึ่งเสวยราชย์ในระหว่าง ปี พ.ศ. 270 ถึง 311* สถานที่ซึ่งเรียกว่า สาญจี นั้นเป็นเนินเขา ในคัมภีร์มหาวงศ์ ซึ่งเป็นพงศาวดารของลังกา เรียกเนินเขาสาญจีว่า เจติยคิรี ปัจจุบันอยู่ในแคว้นโภปาล มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระเจ้าโอศก ครั้งดำรงตำแหน่งรัชทายาทและเสด็จไปยังนครอุชเชนี ระหว่างทางได้หยุดประทับพักอยู่ ณ คฤหาสน์ของเศรษฐีผู้หนึ่งในเมืองวิทิศา ( คือเมือง Besnagar ปัจจุบัน ) ได้ทอดพระเนตรเห็นลูกสาวเศรษฐีผู้นั้นทรงสิริโฉมงดงาม ก็ทรงสิเนหา และได้ทรงอภิเษกกับธิดาของเศรษฐีผู้นั้น เป็นมเหสีองค์แรก ต่อมาพระมเหสีองค์ นี้มีพระนามว่า วิทิศา - มหาเทวี 3 องค์ เป็นโอรส 2 ชื่อ อุชเชนิยะ กับ พระมหินท์ ** ส่วนธิดา คือ นางสังฆมิตตา ครั้นพระเจ้าอโศกได้เสวยราชย์สืบราชสมบัติต่อมา พระเจ้าพินทุสาร พระราชบิดา และได้ทรงอุปถัมภ์พระบวรพุทธศาสนาเป็นการใหญ ่ทรงเป็นอุปถัมภกทำตติยสังคายนาซึ่งจัดให้มีขึ้น ณ กรุงปาฏลิบุตร พระมหินท์ ราชโอรสก็เสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา และพระราชบิดได้โปรดให้ทรงเป็นหัวหน้านำคณะสมณฑูตไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในลังกาทวีป ซึ่งในตำนานกล่าวว่า ก่อนพระมหินทเถระจะไปลังกานั้น ได้เสด็จไปเยี่ยม โยมมารดาที่เจติยคิรี ใกล้เมืองวิทิศา และได้พักอยู่ในวิหารอันโอ่อ่าที่โยมมารดา ได้สร้างขึ้นที่นั่น ณ บริเวณเนินเขาสาญจี ซึ่งเรียกว่า เจติยคิรี พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงสร้างหลักศิลาจารึกพระราชโองการของพระองค์ ตลอดจนทรงก่อสร้าง อนุสรณสถานอื่น ๆ ไว้ ณ เนินเขานั้นด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ก่อนหน้านั้นหรือ ระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าอโศกว่า "ได้ทรงทำให้ชมพูทวีป ( คืออินเดีย ) งดงามด้วยพระสถูปเจดีย์ชั่วพริบตา ด้วยอานุภาพของพวกยักษ์" ตำนานทางพระพุทธศาสนาก็กล่าวว่า พระเจ้าอโศกได้ทรงสร้างพระสถูปเจดีย์จำนวนถึง 84,000 ในดินแดนประเทศอินเดีย และอาฟกานิสถาน แม้ตำนานจะกล่าวจำนวน ไว้ดูจะมากเกินไป แต่ก็แสดงว่าได้ทรงสร้างไว้มากมายรวมทั้งที่สร้างมหาสถูปสาญจี ในแคว้นโภปาลดังกล่าวด้วย แต่เมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้าอโศกมหาราชแล้ว อำนาจ ของพระราชวงศ์เมารยะก็เสื่อมลง มหาอาณาจักรของราชวงศ์เมารยะก็แตกแยกเป็น แคว้นเล็กแคว้นน้อย กษัตริย์พระองค์สุดท้ายในราชวงศ์เมารยะ ทรงพระนามว่า พฤหัทรถ ก็ถูกเสนาบดีมีนามว่าปุษยมิตร ซึ่งเกิดในสกุลพราหมณ์ ปลงพระชนม์เมื่อราว พ.ศ. 356 แล้วปุษยมิตรก็ขึ้นครองราชสมบัติและตั้งราชวงศ์ใหม่ชื่อ ราชวงศ์ศุงคะ พระเจ้าปุษยมิตร แห่งราชวงศ์ศุงคะ ขึ้นครองราชสมบัติ ณ นครปาฏลิบุตร ราวระหว่าง พ.ศ. 356 - 392 มีตำนานกล่าวว่า ทรงเป็นศัตรูจองล้างจองผลาญพระพุทธศาสนา เช่นที่กล่าวไว้ในคัมภรีย์มัญชุศรีมูลกัลป ว่า นาศยิษฺยติ ตทา มุธา วิหารํ ธาตุวรํ สตธา ภิกฺษวะ ศีลสมฺปนฺนมฺ ฆาตยิษฺยติ ทุรฺติ แปลว่า "ครั้งนั้น ผู้โฉดเขลา จักทำลายวิหารที่ประดิษฐานพระบรมธาตุให้ย่อยยับหาประโยชน์มิได้ จักฆ่าพระภิกษ ุผู้มีศีลสมบูรณ์" และว่าพระเจ้าปุษยมิตรทรงกำหนดวางสินบนเป็นค่าศีรษะพระภิกษุ สงฆ์ไว้ด้วย ดังมีกล่าวในคัมภรีย์ทิวยาวทาน ว่า โย เม ศฺรมณศิโร ทาสยติ, ตสฺยาหํ ทินารฺศตํ ทาสยามิ แปลว่า "ผู้ใดนำศีรษะสมณะมาให้แก่เรา เราจะให้ ้รางวัลหนึ่งร้อยทินาร์แก่ผู้นั้น" นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวแย้งว่า ข้อความ ในคัมภีร์ทั้งสองนี้ ดูจะเป็นคำปรับปรำพระเจ้าปุษยมิตรเกินไป แต่ก็มีความจริงอยู่ว่า พระเจ้าปุษยมิตรนั้นมีพระชาติกำเนิดเป็นพราหมณ์และทรงนับถือศาสนาพราหมณ์ ทั้งปรากฏว่าภายหลังปราบดาภิเษกแล้ว ก็ได้โปรดให้รื้อฟื้นความเชื่อถือและลัทธิพิธี สมัยพระเวทขึ้นมาอีก ซึ่งเป็นการตรงข้ามกับพระเจ้าอโศกมหาราชที่โปรดอุปถัมภ์ บำรุงพระบวรพุทธศาสนา จึงเป็นธรรมดาที่พระภิกษุสงฆ์ และชาวพุทธศาสนิกจะ พากันไม่พอใจ จึงได้มีข้อความปรากฏในพระคัมภีร์ดังกล่าว ............................ * ปีเสวยราชย์และสวรรคตของพระเจ้าอโศกมหาราชนี้ กำหนดตามเลขคริสต์ศักราช ในหนังสือ History of Fine Art in Indes & Ceylon ของ Vincent A. Smith โดยใช้เกณฑ์ 543 ** นักปราชญ์ฝรั่งบางท่านกล่าวว่า บางตำนานอ้างว่า พระมหินท์เป็นพระอนุชา ของพระเจ้าอโศก พระเจ้าปุษยมิตร แห่งราชวงศ์ศุงคะเสวยราชย์อยู่ ณ นครปาฏลิบุตร ราว 26 ปี ก็สวรรคต พระราชโอรสพระนามว่า อัคนิมิตร ซึ่งดำรงตำแหน่งอุปราช ผู้สำเร็จราชการมณฑลฝ่าย ตะวันตก มีนครวิทิศาเป็นเมืองหลวง ได้เสวยราชย์สืบต่อจากพระเจ้าปุษยมิตร แล้ว พระเจ้าวสุมิตรราชโอรสพระเจ้าอัคนิมิตร และพระเจ้าภาคภัทร เสวยราชย์ต่อกันมา กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์นี้ก็ประสบชะตากรรมคล้ายคลึงกับกษัตริย์องค์สุดท้าย ของราชวงศ์เมารยะ คือทรงอ่อนแอและเสื่อมอำนาจลงจนกลายเป็นหุ่นให้เสนาบดี พรามหณ์ในสกุล กาณวะ จับเชิดอยู่ตลอดเวลา แต่คงครองราชย์ต่อมาจนราว พ.ศ. 500 หรือ 510 ก็สิ้นราชวงศ์ศุงคะ ในรัชกาลหลัง ๆ แห่งราชวงศ์ศุงคะ นับแต่พระเจ้าอัคนิมิตรมา เป็นระยะเวลาที่มีประโยชน์ดีแก่บรรดาพุทธศาสนิก ด้วยมิได้แสดงว่าทรงเป็นศัตรูจองล้าง จองผลาญพระพุทธศาสนา จึงปรากฏว่ามีพุทธศาสนิกก่อสร้างปูชนียสถานที่สำคัญ ๆ ณ บริเวณ สาญจี ตลอดจนที่ภารหุตขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก และพระสถูปองค์ที่ 2 กับ ที่ 3 ณ บริเวณเนินเขาสาญจี ก็กล่าวกันว่าได้สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ศุงคะในระยะนี้ด้วย นักปราชญ์ทางโบราณคดีได้สอบสวนค้นคว้าแล้วลงความเห็นกันว่า พระสถูปที่พระเจ้าอโศก มหาราชทรงสร้างไว้แต่เดิมนั้น ก่อด้วยอิฐและก็เล็กกว่าปัจจุบันตั้งครึ่ง แต่พระมหาสถูปสาญจี ปัจจุบันนี้วัดผ่านศูนย์กลางกว้างถึง 121 ฟุตครึ่ง สูงราว 77 ฟุตครึ่ง เป็นของเสริมสร้างจาก องค์เดิมโดยก่อพอกทับด้วยศิลา พร้อมทั้งกำแพงศิลาที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งสูง 11 ฟุต ก็เปลี่ยนจากของเก่าที่ทำไว้ด้วยไม้ และประตูหรือโดรณที่ทำด้วยศิลาทั้งสี่ทิศก็ว่าได้สร้างขึ้น ในสมัยนี้ด้วย ( ดูรูปด้านล่าง ) พระมหาสถูป ที่สาญจี เขาลงความเห็นกันว่า สิ่งก่อนสร้างเพิ่มเติม ณ พระมหาสถูปสาญจีนี้ ตกอยู่ในระยะระหว่าง พ.ศ. 400 ถึง 500 แต่ท่าน Sir Marahall กล่าวว่า ประตูทั้งสี่ทิศของพระมหาสถูปกับ ประตูเดี่ยวของพระสถูปที่ 3 รวม 5 ประตู นั้นจะต้องสร้างขึ้นถัดกันมาในระยะเวลา 20 - 30 ปี และประตูทิศใต้ของพระมหาสถูปซึ่งสร้างขึ้นก่อนประตูอื่นทั้งหมด มีจารึกบอกนามผู้บริจาคไว้บนคานศิลาที่ขวางเสาเหนือช่องประตูว่า อานันทะ ผู้เป็นหัวหน้า บรรดาช่างฝีมือ ของกษัตริย์ ศรีศาตะกรรณิ แห่งแคว้นอันธระ ซึ่งมีอำนาจครอบครอง อาณาจักรที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำกฤษณา และโคทาวารีในอินเดียภาคใต้และปรากฏว่า เป็นผู้กำจัดอำนาจของกษัตริย์ราชวงศ์ศุงคะ กับอำมาตย์สกุลกาณวะให้สูญสิ้นไปจากอินเดีย เมื่อราว พ.ศ. 500 หรือ 510 ถ้ากระนั้น ประตูหรือโดรณที่พระมหาสถูปสาญจีก็อาจสร้างขึ้น ในระหว่างปี พ.ศ. 500 ถึง 550 ก็เป็นได้ รูปที่ 27 รูปที่ 28 ธรรมจักร ที่สถูปสาญจี คริสต์สตวรรษที่ 1 (บน) ธรรมจักรเป็น เครื่องหมายทรง ทำเป็นรูปวงล้อกำลังหมุนอยู่บนเสมา ประทานปฐมเทศนา ภาพจำหลักที่ เครื่องหมายทรงแสดงปฐมเทศนา ประตูสถูปที่สาญจี หมายเลข 3 (ล่าง) ต้นโพธิ์และบัลลังก์ เป็นเครื่องหมายตรัสรู้ เสาประตูหรือโดรณทั้งสี่ทิศนั้นจำหลักภาพไว้เต็มไปหมด รวมทั้งภาพชาดกบางเรื่อง และภาพสัญญลักษณ์ในพุทธประวัติบางตอน เช่น ภาพธรรมจักร สมมติเป็นปางปฐมเทศนา ( ดูรูปที่ 27 ) ภาพบัลลังก์และต้นพระศรีมหาโพธิ สมมติเป็นปางตรัสรู้ ( ดูรูปที่ 28 ) ภาพพระสถูป สมมติเป็นปางปรินิพพาน และประตูหรือโดรมทิศตะวันออกกับทิศเหนือ ของพระมหาสถูปสาญจีนั้น จำหลักภาพเป็นใบบัวและดอกบัว ทั้งบานและตูมผุดพ้นขึ้น มาจากหม้อน้ำ และมีบัวบานใหญ่ดอกหนึ่ง ชูดอกเด่นอยู่ตรงกลาง บนดอกบัวนั้นทำเป็นรูปนางกษัตริย์ประทับนั่งพับพระบาทขวาอยู่บนดอกบัว ห้อยพระบาทซ้ายลงมาวางอยู่บนใบบัว หัตถ์ซ้ายวางอยู่บนพระเขลาซ้าย ส่วยหัตถ์ขวาถือก้านชูดอกบัวตูมอยู่ระดับเหนืออังสาขวา มีช้างสองเชือกยืนอยู่บนดอก บัวบานเชือกละดอก ขนาบอยู่ 2 ข้าง แต่ละเชือกชูงวงถือเต้าน้ำเทลงมาบนเศียร ของนางกษัตริย์ ( ดูรูปที่ 29 ) รูปที่ 29 ปางประสูติ จำหลักไว้บนประตู หรือโดรณทิศตะวันออก ของพระมหาสถูปสาญจี ( ดูภาพลายเส้นด้านล่าง ) แสดงรายละเอียดของรูปที่ 29 จำหลักเป็นนางกษัตริย์ นั่งบนดอกบัวใหญ่ มีช้างสองเชือกชูงวงถือเต้าน้ำเทลงมา ( เปรียบเทียบรูปที่ 26 ) รูปนางกษัตริย์ประทับนั่งบนดอกบัว มีช้างสองเชือกชูงวงถือเต้มน้ำเทลงบนพระเศียรนี้ นักปราชญ์ทางโบราณคดีชาวอังกฤษและฝรั่งเศสชื่อ มาร์แชล และฟูแชร์ ลงความเห็นกันว่า เป็นภาพพระนางศิริมหามายากำลังประสูติพระบรมโพธิสัตว์ กล่าวคือสมมติเป็นภาพปางประสูต ิในเรื่องพุทธประวัติ ในสมัยที่อินเดียมีข้อห้ามมิให้สร้างรูปเคารพดังกล่าวมาข้างต้น ช่างศิลปจึงสร้างรูปแบบนี้ขึ้นแทน นอกจากทำเป็นภาพพระนางศิริมหามายาประทับนั่งบนดอกบัว มีช้างสองเชือกชูงวงยกเต้าน้ำเทลงมาแล้ว มีบางภาพทำเป็นพระนางศิริมหามายาประทับยืนบน ดอกบัวบ้าง เช่นภาพจำหลักที่โดรณทิศเหนือพระมหาสถูปสาญจี บางภาพก็จำหลักจำเพาะรูปหม้อน้ำมีดอกบัวทั้งบานและตูมชูก้านและดอกขึ้นมา ไม่มีรูปพระนางศิริมหามายาและช้าง 2 เชือก แต่คงสมมติหมายรู้กันว่าเป็นภาพแสดง สัญญลักษณ์ปางประสูติเช่นกัน เมื่อได้มาชมภาพจำหลัก ณ โดรณของพระมหาสถูปสาญจี เช่นนี้แล้วก็ชวนให้คิดไปว่า ที่นี่แล้วกระมังที่ช่างศิลปที่นครปฐมโบราณของเรา ได้แบบอย่างมาทำขึ้นในธรรมจักรศิลาดังกล่าวข้างต้น ลายจำหลักที่ธรรมจักรศิลาชักพาให้ข้าพเจ้าเล่าประวัติราชวงศ์ของพระมหากษัตริย์โบราณ ที่เคยมีพระบรมเดชานุภาพครอบครองอินเดียตอนภาคกลาง และเลยพาท่านท่องเที่ยวไปชมภาพจำหลักที่ประตูหรือโดรณของพระมหาสถูปสาญจี ในประเทศอินเดีย คราวนี้เรากลับมาช่วยกันพิจารณาภาพจำหลักที่ล้อธรรมจักร ในพิพิธภัณฑสถานฯ พระปฐมเจดีย์ของเรา เปรีบเทียบกันดูอีกครั้ง ณ ตอนล่างของธรรมจักรศิลาล้อนั้น จำหลักเป็นดอกบัวใหญ่ บนดอกบัวจำหลักรูปนางกษัตริย์ ประทับนั่งขัดสมาธิราบ สองหัตถ์ประคองพระอุทร มีช้างสองเชือกยืนอยู่บนกลีบบัวดอก เดียวกัน ข้างละเชือกชูวงถือเต้าน้ำเทลงมายังนางกษัตริย์ จะเป็นไปได้ไหมที่เราจะสร้าง จินตนาการของเราให้ล่องลอยไปว่า ในสมัยโบราณประมาณสองพันปีมาแล้ว มีพุทธศาสนิกชนคนใดคนหนึ่ง หรือคณะใดคณะหนึ่ง เดินทางจากนครปฐมโบราณ ไปสู่ดินแดนอินเดีย เพื่อไปนมัสการปูชนียสถานในพระพุทธศาสนา และได้เดินทางไป จนถึงพระมหาสถูปสาญจี หรือตรงกันข้าม มีบุคคลซึ่งเป็นพ่อค้าคหบดี ชาวเดินเรือ หรือ พระภิกษุสงฆ์ ผู้ใดผู้หนึ่งหรือคณะใดคณะหนึ่ง ซึ่งเคยเห็นพระมหาสถูปสาญจี ได้เดินทางจากอินเดีย มาสู่ดินแดนแห่งนครปฐมโบราณ มาบอกเล่าเก้าสิบให้ทราบต่อ ๆ กันมาว่า ที่พระมหาสถูปสาญจี มีประตูหรือโดรณทำด้วยศิลาและจำหลักภาพเป็นรูปล้อ ธรรมจักร จำหลักภาพเป็นบัลลังก์และต้นพระศรีมหาโพธิ จำหลักเป็นรูปพระนางศิริ มหามายาประทับนั่งบนดอกบัว มีช้างสองเชือกยืนบนดอกบัวชูงวงถือเต้าน้ำเทลงมายังพระองค์ และช่างศิลปสมัยนั้นก็จดจำไว้ แล้วนำมาจำหลักลงไว้ในล้อธรรมจักรดังที่เห็นกันอยู่ในบัดนี้ แต่ช่างนำมาไม่ถนัด ว่าที่พระมหาสถูปสาญจี เขาทำรูปพระนางศิริมหามายาประทับนั่งอยู่บน ดอกบัวคนละดอกกับช้างสองเชือก หากแต่สดับตรับฟังมาว่า ช้างสองเชือกก็ยืนอยู่บนดอกบัวด้วย เหมือนกัน หรืออาจเป็นเพราะเนื้อที่บนล้อธรรมจักรนั้นจำกัดอยู่ ช่างสมัยนครปฐมโบราณจึง จำหลักรูปพระนางศิริมหามายา กับช้างสองเชือกอยู่บนดอกบัวใหญ่ดอกเดียวกัน ดังท่านจะเห็นได้ที่ธรรมจักรศิลาในพิพิธภัณฑสถาน ฯ พระปฐมเจดีย์บัดนี้ ( ดูภาพลายเส้นเขียนจากลายธรรมจักรเปรียบเทียบ กับภาพจำหลักปางประสูติ ณ พระมหาสถูปสาญจี ) รูปที่ 30 ภาพลายเส้น รูปที่ 30 อธิบายรูปที่ 30 ภาพดินปั้น ปางประสูติ หรือ คชลักษมี สมัยทวารวดี ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ......................... 1. นางกษัตริย์ประทับนั่งขัดสมาธิราบ สองหัตถ์ประคองอุทร หรือถือก้านดอกบัวตูมข้างละดอก จะเห็นดอกบัวตูตั้งขึ้นเบื้องปฤษฎางค์เหนืออังสา 2. ช้างสองเชือกยืนเครื่องคชาธารชูงวงถือเต้าน้ำยื่นไปยังนางกษัตริย์ และคว่ำเต้าน้ำเทลงมา เห็นเป็นสายเต้าละ 4 สาย 3. แส้จามรี 2 แส้ ตั้งด้ามลง อยู่ระหว่างช้างกับนางกษัตริย์ ข้างละแส้ 4. ขอช้าง 2 ขอ ปักปลายลง ด้ามตั้งขึ้น ข้างละขอ 5. วัชระ 2 อัน ตั้งอยู่ 2 ข้าง 6. พวงประคำ หรือพวงมาลัย หรือบ่วงเชือกบาศ 2 พวง หรือ 2 บ่วง อยู่ 2 ข้าง 7. สังข์ 2 ตัว ตั้งหงายข้างละตัว 8. ปลา 2 ตัว หันหัวลงล่าง อยู่ข้างละตัว 9. ฉัตร 2 ฉัตร วางหงาย ด้ามตั้งขึ้นไปเกือบชนกับด้ามแส้จามรี ข้างละฉัตร 10. พัดโบก หรือวาลวิชนี 2 อัน ตั้งปักตัวพัดลง ชูด้ามขึ้น ข้างละอัน 11. เต้าน้ำเบื้องล่าง รองรับดอกบัวอยู่ตรงกลาง 12. วงดอกบัวบานมีกลีบซ้อนแบบมองเห็นจากเบื้องบน อยู่ตรงกลาง รองรับอาสนะกลีบบัวของนางกษัตริย์ 4 มุมของดินปั้น มีเสี้ยวกลีบบัวแบบบัวฟันยักษ์ มุมละเสี้ยว รูปที่ 31 ภาพลายเส้น คชลักษมี หรือปางประสูติ นายจำรัส เกียรติก้อง ทำด้วยดินเผา พบที่บริเวณ วาดจากรูปที่ 31 และเติมเส้นจุด เมืองเก่าอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อให้เห็นว่า เมื่อสมบูรณ์คง จะมีรูปเช่นนี้ นอกจากภาพจำหลักที่ธรรมจักรศิลาดังกล่าวมาแล้ว ยังได้พบภาพคล้ายคลึงกันนี้ ซึ่งทำเป็นภาพดินปั้นบ้าง หินปูนสีเขียวแก่บ้าง อีกหลายชิ้น แต่ชิ้นที่สมบูรณ์ทำด้วย ดินปั้นแผ่นสี่เหลี่ยม ยาว 21 เซนติเมตร กว้าง 14.5 เซนติเมตร เก็บไว้ ้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีป้ายบอกไว้ว่า "ศิลปสมัยทวารวดี ได้มาจากพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม" ( ดูรูปที่ 30 ) ภาพดินปั้นแผ่นนี้ นาย เจ. เจ. โบเลส ( J. J. Boeles ) เรียกไว้ในบทความเรื่อง "กษัตริย์ศรีทวารวดี และเครื่องราชกกุธภัณฑ์" ในจดหมายเหตุของสยามสมาคม เล่ม 42 ภาค 1 ประจำเดือนเมษายน ค.ศ. 1964 ( พ.ศ. 2507 ) ว่าเป็น "คชลักษมี" โดยอธิบายว่าเป็นภาชนะเครื่องสำอางสำหรับใส่แป้งและน้ำมันหอม ซึ่งกษัตริย์สมัยทวารวดี โปรดให้ทำขึ้นเป็นราชูปโภค นอกจากนี้ ยังมีภาพปั้นดินเผา ( ชำรุด ) ขนาดย่อม ๆ อีกหลายชิ้น ซึ่งพบที่บริเวณเมืองเก่า อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ทำเป็นรูปสตรีถือดอกบัวสองมือ และมีช้างสองเชือกอยู่สองข้างซ้ายขวา ( รูปที่ 31 ) น่าจะแสดงว่าในสมัยครั้งกระโน้น คงจะมีผู้รู้จักความหมายของภาพลักษณะนี้กันอยู่แล้ว ช่างในสมัยนั้นจึงนิยมปั้นและ แกะสลักภาพแบบนี้ขึ้นไว้ อย่างไรก็ตาม ภาพดินปั้นก็ดี ภาพปั้นดินเผาก็ดี ภาพจำหลักที่ธรรมจักรศิลาดังกล่าวมาข้างต้นก็ดี ถ้าพิจารณาเปรียบเทียบกับภาพจำหลักที่เสาประตูหรือโดรณของพระมหาสถูปสาญจีแล้ว เข้าใจว่าเกิดขึ้นจากความคิดแนวเดียวกัน ซึ่งนายฮาเวลล์ ได้อธิบายไว้ว่า "บรรดาสัญญลักกษณ์ของพระพุทธศาสนานั้น มิใช่เป็นของที่ ( แรก ) บัญญัติกันขึ้นในพระพุทธศาสนา แต่เป็นสมบัติทั่วไปของศาสนาแบบอินโดอารยันทุกศาสนา การยืมสัญญลักษณ์ของกันและกันไปใช้นี้ จะเห็นได้ เช่น ในแผ่น ( ศิลาจำหลัก ) ต่าง ๆ แสดงรูปพระนาง ( ศิริมหา ) มายา พระพุทธมารดาประทับนั่งหรือยืนบนดอกบัว ซึ่งชูดอกขึ้นมาจากเต้าน้ำ ส่วนด้านข้างมีช้างโสรจสรงพระนางจากเต้าน้ำที่ถืออยู่ในงวง เป็นการแน่นอนตาม ม. ฟูแชร์กล่าวไว้ว่า ภาพนี้ช่างประติมากรรมเขาใช้เป็นเครื่องหมาย ปางประสูติพระพุทธองค์ มีกาลอุบัติอันน่ามหัศจรรย์ที่ได้เห็นกันทุก ๆ เวลาเช้า มาหลาย ชั่วอายุของศิลปิน แต่สมัยก่อนพุทธกาลแล้ว เช่นแสงเงินแสงทองที่เรียกว่า อุษา โผล่ขึ้นมา จากมหาสมุทร และดอบบัวพระหรหมา ซึ่งสมมติเป็นบัลลังก์ของพระผู้สร้าง ขยายกลีบแย้มบาน อุษาสมมติเป็นนางฟ้าผู้เปิดประตูสวรรค์ และเธอจะได้รับการโสรจสรงจากช้างของพระอินทร์ กล่าวคือ เมฆฝน ครั้งตนมาในสมัยพุทธกาลความหมายของนิยายดังกล่าวนี้เปลี่ยนแปลงไป พระพรหมาก็ถูกปลดออกจากบัลลังก์ นางอุษาก็กลายเป็นพระพุทธมารดาผู้มีพระนามว่า มหามายา ตามความหมายของคำ แปลว่าความยั่วยวนใหญ่ ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์โศกที่พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแห่งความรอดพ้นไว้ ในศิลปของอินเดีย ยุคหลัง ๆ มาสมมติว่า อุษา หรือ มหามาย นี้เป็นนางลักษมี ว่าเป็นเทพธิดาแห่งความสว่างไสว ของวัน ผู้ทำให้พระพิษณุองค์สวามีทรงชื่นบานพระทัย เมื่อทรงมีชัยชนะการต่อสู้กับบรรดา ผีร้ายแห่งความมืดของราตรี แล้วทรงน้ำอมฤตที่ทรงกวนได้จากเกษียรสมุทรมาพร้อมกับองค ์ลักษมีด้วย" ถ้าภาพดินปั้น ( ดูรูปที่ 30 ) หมายถึงปางประสูติ จะเป็นไปได้ไหม ที่มีภาพราชกกุธภัณฑ์และ เครื่องราชูปโภคบางอย่าง เช่น ฉัตร และพัดโบก กลับหงาย และห้อยลง มีคั่นฉัตรตั้งขึ้น ซึ่งสมมติเป็นนิมิตว่ากุมารที่ประสูติออกมาจะไปอยู่ครองเศวตฉัตร คือเป็นเครื่องหมายแห่ง มหาภิเนษกรมณ์ เรื่องความหมายของภาพจำหลักที่ธรรมจักรศิลา จะเป็นสัญญลักษณ์ ปางประสูติ ในพุทธประวัติดังกล่าวมา หรือจะเป็นคชลักษมี เช่นบทความของนายโบเลส ก็สุดแต่ผู้รู้จะ วินิจฉัยลงความเห็นกันต่อไป แต่ถ้าเป็นภาพแสดงสัญญลักษณ์ปางประสูติในพุทธประวัติ ธรรมจักรศิลาล้อนั้น ( ดูรูปที่ 26 ) ก็เป็นสมมติที่มีค่าเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในทางศิลปและโบบราณคดี ี เพราะนำเอาสัญญลักษณ์ถึง 2 ปาง คือ ปางประสูติและปางประทานปฐมเทศนา ( คือตัวธรรมจักร ) มารวมไว้ในวัตถุชิ้นเดียวกัน. (จบ) |
No comments:
Post a Comment