เกิดมาเพื่อพัฒนาจิตใจ
ตามธรรมดา ความปรารถนาของมนุษย์ทุกคน อยากเกิดมาสบาย สุขภาพสมบูรณ์ สติปัญญาดี ฐานะดี ครอบครัวอบอุ่น แต่ตามความเป็นจริงแล้วก็เป็นไปได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีใครสมบูรณ์พร้อมทุกด้าน บางครั้งเมื่อเราประสบปัญหา มีประสบการณ์ทุกข์ เรามักน้อยใจ ท้อใจ บางคนก็สรุปเอาว่าชีวิตนี้เกิดมาเพื่อชดใช้กรรม อาจารย์รู้สึกว่า ข้อสรุปแบบนี้เป็นการเข้าใจกฏแห่งกรรมในแง่ลบ ถ้าเราพิจารณาด้วยปัญญาแล้วก็ไม่ใช่ การเกิดมานั้นเป็นกรรมเก่าก็จริงอยู่ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือกรรมเก่า แต่พระพุทธองค์ก็ทรงสอนด้วยว่า เราเกิดมาเพื่อศึกษา “ไตรสิกขา” ศึกษาเพื่อที่จะพัฒนาชีวิตจิตใจและสติปัญญาอันจะนำไปสู่ความรู้แจ้งเพื่อความดับแห่งทุกข์ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดที่มนุษย์ทุกคนสามารถบรรลุได้
หากเราพิจารณากฏแห่งกรรมด้วยปัญญาชอบแล้ว เราจะเข้าใจว่ากรรมปัจจุบันสำคัญที่สุด
อดีตเป็นเหตุ ปัจจุบันเป็นผล
ปัจจุบันเป็นเหตุ อนาคตเป็นผล
เราต้องยอมรับความจริงว่า อดีตผ่านไปแล้วเราไม่อาจแก้ไขอะไรได้ อนาคตก็ยังมาไม่ถึง แต่ปัจจุบันเราสามารถเลือกได้ว่าเราจะใช้ชีวิตอย่างไร
เมื่อหลายปีก่อน อาจารย์ได้อ่านเรื่องราวของชายชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง ผ่านงานเขียนของเขาซึ่งติดอันดับขายดีในญี่ปุ่น หนังสือของเขาได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ หลายภาษาทั่วโลก ในภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า No One’s Perfect เมื่อแปลเป็นภาษาไทยเขาก็ใช้ชื่อตามต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นว่า “ไม่ครบห้า”
หากเราพิจารณากฏแห่งกรรมด้วยปัญญาชอบแล้ว เราจะเข้าใจว่ากรรมปัจจุบันสำคัญที่สุด
อดีตเป็นเหตุ ปัจจุบันเป็นผล
ปัจจุบันเป็นเหตุ อนาคตเป็นผล
เราต้องยอมรับความจริงว่า อดีตผ่านไปแล้วเราไม่อาจแก้ไขอะไรได้ อนาคตก็ยังมาไม่ถึง แต่ปัจจุบันเราสามารถเลือกได้ว่าเราจะใช้ชีวิตอย่างไร
เมื่อหลายปีก่อน อาจารย์ได้อ่านเรื่องราวของชายชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง ผ่านงานเขียนของเขาซึ่งติดอันดับขายดีในญี่ปุ่น หนังสือของเขาได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ หลายภาษาทั่วโลก ในภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า No One’s Perfect เมื่อแปลเป็นภาษาไทยเขาก็ใช้ชื่อตามต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นว่า “ไม่ครบห้า”
“ไม่ครบห้า” เป็นชีวิตจริงของฮิโรทาดะ โอโตตาเกะ ชายชาวญี่ปุ่นเกิดที่โตเกียว เขาไม่มีแขนขาเลยตั้งแต่เกิด แต่ที่น่าแปลกตรงที่เขากลับมองความพิการของตัวเองว่านั่นคือ ลักษณะพิเศษทางกาย ไม่ต่างไปจาก คนอ้วน คนผอม คนสูง คนเตี้ย คนตัวดำ หรือตัวขาว ความพิการของเขานั้นเป็นแค่เพียง ความไม่สะดวก แต่ไม่ใช่ความไม่สบาย โอโตตาเกะเล่าว่า วันแรกที่หมออนุญาตให้แม่ของเขาได้พบกับเขาเป็นครั้งแรก หลังจากที่คลอดเขาออกมาได้ 3 สัปดาห์นั้น ทางโรงพยาบาลเตรียมการไว้พร้อม เตรียมเตียงว่างไว้หนึ่งเตียง เผื่อแม่เห็นเขาแล้วเกิดเป็นลมไปด้วยความตกใจ ทุกฝ่ายเคร่งเครียดกันไปหมด ทั้งโรงพยาบาลพ่อและแม่ของเขา
แต่ปรากฏว่าประโยคแรกที่คุณแม่ของเขาอุทานเมื่อได้เห็นหน้าลูกเป็นครั้งแรกคือ เธอช่างเป็นเด็กที่น่ารักเหลือเกิน อารมณ์ครั้งแรกที่คุณแม่มีต่อโอตาเกะไม่ได้เป็นอารมณ์ของการตกใจหรือเศร้าโศก แต่เป็นอารมณ์ของความปิติยินดีที่มีต่อตัวลูก ความรักที่ถ่ายทอดจากแม่มาสู่เขาเป็นพลังผลักดันให้เขาสามารถพิสูจน์ว่าเขาไม่ได้แตกต่างจากคนอื่น
พ่อแม่เลี้ยงดูโอตาเกะให้เป็นเด็กที่เข้มแข็งมาตั้งแต่เล็กๆ ไม่ให้หนีจากสิ่งต่างๆ โดยเอาความพิการเป็นข้ออ้าง ไม่ให้คิดว่าความพิการเป็นปมด้อย ด้วยเหตุนี้โอตาเกะจึงเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่ยอมแพ้ต่ออะไรง่ายๆ พยายามที่จะทำสิ่งต่างๆ ให้ได้ด้วยตนเอง เขียนหนังสือได้ ใช้คอมพิวเตอร์เป็น เล่นกีฬาได้หลายอย่าง เขานั่งรถเข็นที่ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ไปไหนมาไหนได้โดยไม่ต้องพึ่งพาใคร เขาสามารถใช้ชีวิตทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่นโดยไม่ได้รู้สึกว่าแตกต่างไปจากคนอื่น เรียนหนังสือจนจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยชั้นนำโดยไม่ต้องใช้อภิสิทธิ์ใดๆเลย
โอโตตาเกะไม่ได้มองว่าการไม่มีแขนขาเป็นปมด้อย แต่เขากลับมองในแง่บวกว่าสิ่งนี้ต่างหากที่เป็นจุดแข็งของเขาที่ไม่มีใครเหมือน เขาไม่เคยโทษโชคชะตาฟ้าลิขิต ที่สร้างเขามาให้มีรูปร่างไม่สมประกอบ ไม่เคยคิดฆ่าตัวตาย แต่กลับภูมิใจในสิ่งที่ตนเป็น เขามีความคิดว่าโลกนี้ไม่ควรมีพรมแดนและสิ่งกีดขวางระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เพียงเพราะคนใดคนหนึ่งเกิดมาพิการเท่านั้น เขาได้เรียกร้องให้สังคมเปิดใจให้กว้าง ให้ทุกหัวใจในสังคมเป็นหัวใจที่ไร้สิ่งกีดขวาง เขาใช้ชีวิตได้อย่างสง่างามน่าชื่นชม
ทุกวันนี้โอโตตาเกะ กำลังใช้ร่างกายเล็กๆ ของเขาขับเคลื่นสังคมอยู่ เขาช่วยเหลือให้กำลังใจแก่คนพิการ เขาต้องการสร้างโลกแบบหัวใจไร้สิ่งกีดขวางให้ได้ ด้วยการเขียนหนังสือและเดินทางไปเผยแพร่แนวความคิดดังกล่าวทั่วญี่ปุ่น
เรื่องของฮิโรทาดะ โอโตตาเกะ น่าจะเป็นตัวอย่างให้คนอีกหลายๆคนที่คิดท้อแท้หันกลับมามองตัวเองแล้วมีกำลังใจที่จะต่อสู้ชีวิตต่อไปด้วยใจที่เข้มแข็ง
No comments:
Post a Comment