ผู้ใช้เมตตาเป็นอาวุธ
จากหนังสือ “ลีลากรรมของสตรีสมัยพุทธกาล”
ของ อ.วศิน อินทสระ หน้า ๑๘๐ - ๒๐๗
ถ้าเรามีความโกรธ
ความคิดประทุษร้ายตอบต่อเธอ
ก็ขอให้เนยใสจงลวกเรา
ถ้าเราไม่มีความโกรธ
ไม่มีความพยาบาทต่อเธอเลย
ขอให้เนยใสนั้นเย็นเหมือนน้ำธรรมดา
ใน เมืองราชคฤห์ มีคนยากจนคนหนึ่งชื่อปุณณะ เขาอาศัยงานจ้างในบ้านของสุมนเศรษฐีอยู่ ครอบครัวนายปุณณะมีอยู่ด้วยกัน ๓ คน คือ นายปุณณะเอง ภรรยาและลูกสาวคนหนึ่งชื่อ อุตตรา
วัน หนึ่งเป็นวันนักขัตฤกษ์ใหญ่ ประชาชนชาวนครราชคฤห์ต่างประดับตกแต่งร่างกายอย่างสวยงาม แล้วเล่นนักขัตกีฬาต่างๆ สนุกสนานกันอย่างเต็มที่ ประกอบด้วยนครราชคฤห์เป็นนครใหญ่มีพลเมืองคับคั่ง ตั้งแต่เช้าจึงเห็นประชาชนเดินเป็นกลุ่มๆ สรวลเสเฮฮา ที่นั่งจิบสุราแต่เช้าก็มี คนพวกนี้ส่วนใหญ่เป็นประเภทมือสั่นเพราะพิษสุราเรื้อรัง ไม่ดื่มแล้วทำงานไม่ได้ จึงต้องดื่มเพื่อ “ให้มือมันเที่ยง”
เศรษฐีชื่อสุมนะ ได้พูดกับนายปุณณะคนรับจ้างว่า
“ปุ ณณะ เธอจะสนุกสนานในการเล่นนักขัตกีฬาหรือจะทำงานจ้างหาเงิน ตามใจจะไม่บังคับ เลือกเอา ถ้าพอใจจะเล่นสนุกสนานสัก ๗ วันก็ได้”
“ข้า แต่นาย” ปุณณะพูดอย่างเรียบร้อย “การเล่นสนุกในงานนักขัตฤกษ์ ๗ วันนี้ เป็นเรื่องของคนมีเงิน คนอย่างข้าพเจ้าจะหาเช้ากินค่ำก็ลำบาก ประโยชน์อะไรด้วยการสนุกในการเล่นนั้น ข้าพเจ้าสมัครใจทำงานจ้าง”
“ก็ได้” เศรษฐีว่า
นาย ปุณณะพูดถูก ไม่ว่าในเมืองราชคฤห์หรือเมืองไหน ไม่ว่าในอดีตกาลนานไกลหรือบัดนี้ การมหกรรมเฉลิมฉลองอะไรต่าง ๆ แล้วเที่ยวเตร่ดูสิ่งสวยงามต่างๆ นั้นเป็นเรื่องของคนมีทรัพย์ มีเวลาว่างพอ ส่วนคนยากจนหาเช้ากินค่ำ มีภาระต้องส่งเสียเลี้ยงดูบุตรภรรยาอย่างหนักอกหนักใจนั้นต้องทำงาน ยิ่งวันที่คนมีทรัพย์สนุกสนานกันมาก คนยากจนก็ยิ่งต้องทำงานหนักเพื่อแสวงหาทรัพย์
วันหนึ่งพระสารีบุตรอัครสาวกเบื้องขวาของพระศาสดาออกจากนิโรธสมบัติหลังจาก ท่านได้เข้ามาถึง ๗ วัน เป็นธรรมดาที่ท่านจะต้องพิจารณาดูว่าจะไปโปรดใคร บุคคลที่ท่านจะไปโปรดในโอกาสที่ออกจากนิโรธสมาบัตินั้น จะต้องเป็นบุคคลที่ควร มีอัธยาศัย และอุปนิสัยดี ท่านได้มองเห็นนายปุณณว่าเป็นผู้มีศรัทธา ท่านอาจสงเคราะห์ได้ เมื่อท่านโปรดแล้วเขาจะได้สมบัติใหญ่ ประสบความสุขความเจริญต่อไปในภายหน้า
พระเถระตกลงใจอย่าง นั้นแล้ว จึงถือเอาบาตรและจีวรไปสู่สถานที่ที่นายปุณณะกำลังไถนาอยู่ เพราะปุณณะเป็นคนฉลาดมีไหวพริบจึงเข้าใจว่าท่านคงต้องการไม้สำหรับเคี้ยว ชำระฟัน จึงได้ใช้มีดตัดไม้นั้นมาทำให้สมควรที่ท่านจะใช้ได้แล้วถวายท่าน
พระ เถระนำบาตรและหม้อกรองน้ำออกมา นายปุณณะทราบว่าท่านต้องการน้ำ จึงตักน้ำในบ่อถวาย พระเถระรับน้ำมาล้างหน้าบ้วนปากเรียบร้อยแล้วคิดว่า นายปุณณะนี้อาศัยอยู่ในกระท่อมน้อยหลังคฤหาสน์ของสุมนเศรษฐี หากท่านจะไปโปรดเขาที่บ้าน ภรรยาของเขาก็ไม่อาจเห็นท่านได้ ควรจะยืนอยู่ที่นั้นก่อนจนกว่าภรรยาของเขาจะนำอาหารมา
พระ เถระให้เวลาล่วงไปครู่หนึ่ง ณ ที่นั้นด้วยการสนทนาเล็กๆ น้อยๆ กับนายปุณณะ พอทราบว่าภรรยาของเขากำลังเดินทางมาส่งอาหาร พระเถระก็ออกเดินสวนทางไป
นางเห็นพระเถระแล้วคิดว่า บางคราวเราได้เห็นพระเถระแต่ไทยธรรมไม่มี บางคราวไทยธรรมมี แต่ไม่ได้พบพระเถระ แต่บัดนี้ประจวบเหมาะทั้งสองอย่าง ไทยธรรมก็มีอยู่ พระเถระเราก็ได้พบแล้ว แต่นางสงสัยอยู่ในใจว่าคนยากจนหาเช้ากินค่ำอย่างเรานี้ พระเถระจะทำการอนุเคราะห์โดยรับไทยธรรมของนางหรือ
นางได้วางโภชนะลงข้าง ๆ กายแล้วนมัสการพระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์พลางกล่าวว่า
“พระคุณเจ้าโปรดอย่าได้คิดว่าอาหารนี้เลวหรือประณีตเลย ขอได้โปรดรับเพื่อสงเคราะห์พวกเราด้วยเถิด”
พระเถระน้อมบาตรเข้าไป นางเทอาหารลงในบาตร เมื่อได้ครึ่งหนึ่งพระเถระจึงปิดบาตรเสียพร้อมกล่าวว่า “พอละ อุบาสิกา”
นางกล่าว ว่า “อาหารนี้พอสำหรับคนๆ เดียวเท่านั้น สองคนไม่พอ ขอพระคุณเจ้าโปรดรับไว้ทั้งหมดเถิด ขอได้สงเคราะห์ยพวกข้าพเจ้าในโลกหน้าเถิด อย่าสงเคราะห์ในโลกนี้เลย” ว่าแล้วก็เกลี่ยอาหารลงจนหมดและตั้งความปรารถนาว่า “ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีส่วนแห่งโลกุตรธรรมที่ท่านได้เห็นแล้วเถิด”
พระ เถระยืนอนุโมทนาอยู่ตรงนั้นเองว่า “ขอจงเป็นอย่างนั้นเถิดอุบาสิกา” แล้วนั่งลงในที่ ๆ มีน้ำสะดวกแห่งหนึ่ง กระทำภัตกิจ (ฉัน)
นางรีบกลับบ้านเพื่อหุงอาหารใหม่ให้สามี
ฝ่าย นายปุณณะไถนาอยู่จนสายมาก ภรรยาหรือบุตรยังไม่มาส่งอาหาร ถูกความหิวบีบคั้นจึงปลดแอกและไถปล่อยโคคู่ให้และเล็มหญ้า ตนเองมานั่งพักอยู่ใต้ร่มไม้ต้นหนึ่ง เอามือป้องมองทางที่ภรรยาจะมามองแล้วมองอีกอยู่เป็นเวลานาน ภรรยาของเขาเมื่อหุงข้าวเสร็จแล้วก็รีบเดินทางมา เห็นอาการของสามีแล้วรู้ได้ทันทีว่า เขาคงกำลังหิว จึงพูดเอาใจว่า
“นาย ที่ข้าพเจ้ามาช้านี้ หาใช่เพราะเหลวไหลประการใดไม่ แต่เพราะได้ถวายอาหารที่นำมาครั้งก่อนแก่พระคุณเจ้าสารีบุตรจนหมดสิ้นแล้ว ข้าพเจ้าไปหุงใหม่ นายจงทำใจให้เลื่อมใสเถิด”
พระเถระน้อมบาตรเข้าไป นางเทอาหารลงในบาตร เมื่อได้ครึ่งหนึ่งพระเถระจึงปิดบาตรเสียพร้อมกล่าวว่า “พอละ อุบาสิกา”
นางกล่าว ว่า “อาหารนี้พอสำหรับคนๆ เดียวเท่านั้น สองคนไม่พอ ขอพระคุณเจ้าโปรดรับไว้ทั้งหมดเถิด ขอได้สงเคราะห์พวกข้าพเจ้าในโลกหน้าเถิด อย่าสงเคราห์ในโลกนี้เลย” ว่าแล้วก็เกลี่ยอาหารลงจนหมดและตั้งความปรารถนาว่า “ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีส่วนแห่งโลกุตรธรรมที่ท่านได้เห็นแล้วเถิด”
พระ เถระยืนอนุโมทนาอยู่ตรงนั้นเองว่า “ขอจงเป็นอย่างนั้นเถิดอุบาสิกา” แล้วนั่งลงในที่ ๆ มีน้ำสะดวกแห่งหนึ่ง กระทำภัตกิจ (ฉัน)
นางรีบกลับบ้านเพื่อหุงอาหารให้สามี
ฝ่าย นายปุณณะไถนาอยู่จนสายมาก ภรรยาหรือบุตรียังไม่มาส่งอาหาร ถูกความหิวบีบคั้นจึงปลดแอกและไถปล่อยโคคู่ให้และเล็มหญ้าตนเองมานั่งพัก อยู่ใต้ร่มไม้ต้นหนึ่ง เอามือป้องมองทางที่ภรรยาจะมา มองแล้วมองอีกอยู่เป็นเวลานาน ภรรยาของเขาเมื่อหุงข้าวเสร็จแล้วก็รีบเดินทางมา เห็นอาการของสามีแล้วรู้ได้ทันทีว่า เขาคงกำลังหิว จึงพูดเอาใจว่า
“นาย ที่ข้าพเจ้ามาช้านี้ หาใช่เพราะเหลวไหลประการใดไม่ แต่เพราะได้ถวายอาหารที่นำมาครั้งก่อนแก่พระคุณเจ้าสารีบุตรจนหมดสิ้น แล้วข้าพเจ้ากลับไปหุงใหม่ นายจงทำให้เลื่อมใสเถิด”
เพราะความหิวมาก นายปุณณะฟังไม่ถนัด จึงถามซ้ำอีกครั้งหนึ่งว่า “เธอพูดอะไรนะ”
นางเล่าให้ฟังอีกครั้งหนึ่ง
นาย ปุณณะฟังความนั้นแล้ว ปลื้มใจ บอกภรรยาว่านางทำชอบแล้ว วันนี้เขาเองก็ได้ถวายไม้ชำระฟันและน้ำล้างหน้าแก่พระเถระเหมือนกัน ทั้งสองมีใจเลื่อมใสชื่นบาน เป็นผู้มีศีลเสมอกัน มีศรัทธาเสมอกันจึงอยู่ร่วมกันโดยปกติสุข และมีบุตรีที่ดี เมื่อบริโภคอาหารเสร็จกิจ นายปุณณะก็เอาศีรษะพาดตักของภรรยานอนหลับไปด้วยความอ่อนเพลีย
เขา ตื่นขึ้น มองไปทางแปลงนาที่ไถไว้เห็นก้อนดินสุกปลั่งเป็นทองแท่งทั้งหมด เขาขยี้ตาเพราะไม่เชื่อตาตนเอง แต่มองกี่ครั้งกี่หนก็เห็นเป็นทองกระทบแสดงอาทิตย์แวววาวอยู่นั่นเอง จึงบอกให้ภรรยาช่วยดู ภรรยามองไปก็เห็นเป็นทองเหมือนกัน ทั้งสองจึงลุกขึ้นลองไปจับดูก็ยังเห็นเป็นทองอยู่นั่นเอง ลองเอาฟาดกับคันไถ จึงแน่ใจยิ่งขึ้นว่าเป็นทองอย่างแน่นอน เขาอุทานออกมาพร้อมหน้ากันว่า “โอ้ ทานที่เราถวายแก่พระคุณเจ้าธรรมเสนาบดสารีบุตรให้ผลในวันนี้ทีเดียว เราไม่อาจปกปิดทรัพย์เห็นปานนี้ได้อย่างแน่นอน” จึงหยิบใส่ถาดจนเต็มแล้วนำไปสู่ราชตระกูลเข้าเฝ้าพระราชาแล้วทูลเหตุทั้ง ปวงให้ทรงทราบ และขอให้พระราชารับสั่งให้ราชบุรุษทั้งหลายไปขนทองเหล่านั้นสู่พระคลังหลวง
เมื่อราชบุรุษไปหยิบทอง ทองนั้นก็กลายเป็นดินอย่างเดิม จึงกลับมากราบทูลพระราชา
“ขณะหยิบนึกอย่างไรล่ะ” พระราชาตรัสถาม
“นึกว่าทองทั้งหมดนี้เป็นของพระองค์ พระเจ้าข้า”
“นึกเสียใหม่” พระราชารับสั่ง “ต้องนึกว่า ทองนี้เป็นของนายปุณณะ”
ราชบุรุษ กลับไปทำตามกระแสรับสั่ง ทองทั้งหลายก็เป็นทองอย่างเดิมนำมากองไว้ที่หน้าพระลานหลวงสูงถึง ๘๐ ศอก พระราชารับสั่งให้ประชุมชาวพระนครแล้วตรัสถามว่า ในเมืองนี้มีใครบ้างที่มีทองเท่านี้ เมื่อทรงทราบว่าไม่มีใคร ก็ทรงแต่งตั้งนายปุณณะให้เป็นเศรษฐีตั้งแต่นั้นมา
แต่นาย ปุณณะเป็นเศรษฐีที่ยังไม่มีบ้าน เขาได้ทูลความทั้งปวงให้พระราชาทรงทราบว่าบัดนี้เขาอาศัยสุมนเศรษฐีอยู่ หากจะทรงพระกรุณาแล้วขอให้พระราชทานที่และบ้านสักแห่งหนึ่ง พระราชาพระราชทานที่ทางทิศใต้แห่งพระนครให้ปุณณเศรษฐีนั้น และพระราชทานทรัพย์เป็นอันมากให้ปลูกบ้านและอาศัยเลี้ยงชีพต่อไปให้สม ศักดิ์ศรีแห่งตำแหน่งเศรษฐีที่พระองค์ทรงแต่งตั้งให้
ใน การทำมงคลขึ้นบ้านใหม่ปุณณเศรษฐีได้นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขมา ฉันและเสวยเป็นเวลา ๗ วัน พระศาสนาทรงอนุโมทนาทานด้วยการแสดงอนุปุพพิกถา โปรดให้เศรษฐีนั้นพร้อมทั้งภรรยาและบุตรีได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นโสดาบันทั้งหมด
ต่อมาเศรษฐีใหม่คนหนึ่งในเมืองราชคฤห์ นั่นเอง ได้สู่ขอนางอุตตราธิดาของปุณณเศรษฐีให้แก่บุตรของตน แต่ปุณณเศรษฐีไม่ยอมให้ ฝ่ายชายจะอ้อนวอนเท่าไรๆ ก็ไม่ยอม ในที่สุดก็บอกเหตุผลว่า ที่ไม่ยอมนั้นเพราะตระกูลฝ่ายชายมิได้เลื่อมใสพระพุทธศาสนา ธิดาของตนเลื่อมใสพระรัตนตรัยเป็นอย่างยิ่ง เว้นจากพระรัตนตรัยแล้วก็ไม่อาจมีชีวิตอยู่โดยผาสุกได้ จึงไม่ยอมให้ธิดาของตน
คราวนี้เดือดร้อนไปถึงพวกเศรษฐีและ คหบดีเป็นอันมาก ซึ่งก็น่าจะเป็นเพื่อนของเศรษฐีใหญ่ฝ่ายชายนั่นเองต้องพากันมาอ้อนวอนขอร้อง ว่าอย่าให้ตระกูลใหญ่ๆ ต้องแตกกันเลย
ในที่สุด ปุณณเศรษฐีขัดอ้อนวอนไม่ได้ จึงยินยอมและกำหนดแต่งงานบุตรีในวันเพ็ญกลางเดือน ๘ (อาสาฆฬปุณณมี)
และ ความลำบากใจก็ได้เกิดขึ้นจริงแก่นางอุตตรานั่นเอง ความขัดแย้งในเรื่องศาสนาเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งในการสมรส เมื่อคนหนึ่งเลื่อมใส อีกคนหนึ่งไม่เลื่อมใส ความขัดแย้งและความดูหมิ่นก็จะต้องมีขึ้นเป็นของธรรมดา ตั้งแต่แต่งงานแล้ว นางอุตตราไม่เคยได้พบปะกับภิกษุหรือภิกษุณีเลย ไม่ต้องพูดถึงการทำบุญหรือฟังธรรม
เหลือเวลาอีกครึ่งเดือน จะออกพรรษา นางอุตตราได้ส่งสารไปถึงพ่อว่า เหตุไฉนจึงนำนางให้มาอยู่ในเรือนจำเช่นนี้ จะให้นางเป็นอัมพาตหรือเสียโฉม หรือให้เป็นทาสเสียยังดีกว่าไปอยู่ในตระกูลที่เป็นมิจฉาทิฏฐิเช่นนั้น ตั้งแต่ล่วงประตูบ้านสามีเข้าไปแล้ว ไม่เคยได้เห็นภิกษุ ภิกษุณี ไม่เคยได้ทำบุญให้ทานเลย
ปุณณเศรษฐีได้รับสารลูกสาวแล้ว เกิดเมตตาว่าบุตรีไปอยู่ได้รับทุกข์ทรมาน จึงบอกลูกสาวไปว่าตนเองก็ไม่สบายใจเหมือนกันที่ทราบว่าลูกไม่มีความสุข พร้อมกันนั้นได้ส่งเงินไปให้หมื่นห้าพันกหาปณะและแนะนำว่า
“ลูก รัก ในนครราชคฤห์นี้ มีหญิงนครโสเภณีอยู่คนหนึ่งชื่อสิริมา ขอให้ลูกส่งคนไปติดต่อขอมาเป็นหญิงบำเรอสามีและมอบเงินให้นางวันละ ๑ พันกหาปณะ ส่วนตัวลูกเองจะได้มีโอกาสทำบุญทำทาน สดับธรรมเทศนาจากภิกษุสงฆ์ ลูกรัก พ่อนั้นหวังดีต่อลูก รักลูกเพียงไร ปรากฎแก่ลูกแล้วทั้งสิ้น ความสุขของลูกก็คือความสุขของพ่อ หากทราบว่าลูกมีความทุกข์อย่างใด พึงทราบเถิดว่าพ่อย่อมมีความทุกข์อย่างนั้นที่เหนือกว่า การแต่งงานครั้งนี้ หากล้มเหลวและผิดพลาดก็เป็นความบกพร่องของพ่อที่ผิดพลาดใจอ่อนทนต่อการ วิงวอนไม่ได้ ลูกไม่มีส่วนผิดพลาดด้วยเลยเพราะลูกมิใช่ผู้ตกลงใจ แม่ของเจ้าก็มีความห่วงใยและทุกข์ร้อนยิ่งกว่าพ่อเสียอีก ขอให้ลูกอดทนไปอีกหน่อย อาจแก้ปัญหาได้โดยการให้เวลาช่วย”
อุ ตตราได้รับสารของพ่อแล้วดีใจเป็นนักหนา นอกจากซึ้งในถ้อยคำปลอบประโลมของพ่อแล้ว ยังได้มองเห็นทางออกซึ่งพ่อแนะไปให้ด้วย
นางได้ดำเนินการตามคำแนะนำของพ่อทุกประการ และทุกอย่างก็เรียบร้อย นางสิริมารับจ้างในเรื่องนี้ด้วยความเต็มใจ
อุ ตตราได้พาสิริมาเข้าพบสามีของตน เล่าเรื่องให้ฟังโดยตลอดมิได้อำพรางเลยแม้แต่น้อย ฝ่ายสามีมองดูอุตตราอย่างแปลกใจ เขาเห็นเป็นเรื่องแปลกมากที่หญิงหนึ่งผู้เป็นภรรยาโดยถูกต้องได้นำหญิงอื่น มามอบให้สามีตน เพื่อตนจักได้ปลีกตัวไปทำบุญ
ความ จริงก็เป็นเรื่องแปลกมาก ธรรมดาที่เคยมีก็คือสตรีผู้พอใจขวนขวายการบุญกุศลเมื่อรู้ว่าสามีตนไปเกี่ยว ข้องกับหญิงอื่นก็เลิกทำบุญเพื่อมาเฝ้าสามีมิให้สตรีอื่นมีโอกาสเกี่ยวข้อง แต่อุตตรากลับตรงกันข้าม นางจ้างสิริมาสตรีผู้โสภาคย์มาเป็นบาทบริจาริกาของสามี เพื่อตนจักได้มีโอกาสทำบุญ
แต่จะแปลกประหลาดอะไรมากนัก เล่า ในเมื่ออุตตราตีค่าแห่งการทำบุญสูงกว่าความหมกมุ่นในกามารมณ์ สูงกว่าการเอาอกเอาใจชายหนึ่งผู้ไม่เคยสนใจไยดีในเรื่องบุญกุศลและเรื่อง การอบรมจิตใจให้สูงขึ้นด้วยคุณธรรมต่าง ๆ เขามุ่งมั่นแต่ความสุขสำราญทางเนื้อหนังและทางอวัยวะสัมผัสอื่นๆ อันส่อไปแต่ในทางโลกีย์ทางของปุถุชนทั้งหลายที่มองเห็นแต่ความสุขทำนองนั้น ไม่เคยถอยกายและใจออกห่างเพื่อรับความสุขอันสงบกว่า ประณีตกว่า
อุ ตตราสาวสวยผู้มีอัธยาศัยงามได้ประจักษ์ชัดแล้วว่า ความสุขของคนคู่นั้นเป็นความสุขเพียงชั่วแล่น ไม่ยั่งยืน เปรียบไปก็เหมือนความสุขในฝัน เมื่อตื่นขึ้นก็พลันหายไป แต่ความสุขใจอันเกิดจากการได้ทำความดีเป็นความสุขที่ยั่งยืน บางเรื่องบางอย่างให้ความสุขไปตลอดชีวิต และทุกครั้งที่ระลึกถึง
สามีของอุตตราได้เพ่งมองสิริมาอยู่นาน ยิ่งมองไปก็ยิ่งเห็นความงามของเธอผุดเด่นยิ่งขึ้น สิริมาเป็นหญิงงามจริงๆ คนหนึ่ง มิฉะนั้นแล้วไฉนจะได้รับเลือกเป็น “นครโสเภณี – หญิงประดับนคร” เล่า
สามีของอุตตรายอมรับเงื่อนไขของอุตตรา เพราะติดใจในความงามของสิริมา และเป็นโอกาสที่จะได้เปลี่ยนสตรีชม
ผู้ชาย ก็มักเป็นอย่างนี้ ใครจะว่าอย่างไรก็ช่างเถิดเขาจะหาความสุขของเขาก่อน เขามิค่อยได้คำนึงว่า หัวใจของสตรีจะเป็นอย่างไร เขาอภัยให้ตัวเองได้เสมอ แต่ความผิดพลาดของสตรีเป็นเรื่องใหญ่โตเสมอสำหรับเขา แม้ความผิดพลาดนั้นจะเพียงเล็กน้อยก็ตาม
อุ ตตราดีใจเป็นล้นพ้นเสมือนหลุดออกมาได้จากเรือนจำ นางได้อาราธนาพระศาสดาและภิกษุสงฆ์บริวารให้รับภัตตาหารที่บ้านของนางเป็น เวลา ๑๕ วันติดต่อกัน ได้ถวายอาหารและปัจจัยอื่นๆ ได้ฟังธรรมจากพระศาสดา ช่างเป็นความสุขเสียนี่กระไร
ทุก ๆ วันนางจะง่วนอยู่ในครัวใหญ่คอยสั่งคนใช้ให้ต้มนั่นแกงนี่อยู่ตลอดเวลา หน้าตาเปรอะด้วยเขม่าไฟ แต่นางก็มีความสุขความแจ่มใสร่าเริงอยู่ตลอดวัน
วัน หนึ่งสามีของนางได้มองดูทางหน้าต่าง เห็นอุตตราง่วนอยู่ในครัวสรีระขะมุกขะมอมด้วยเขม่าไฟ ขี้เถ้า กายนางโซมด้วยเหงื่อ เห็นดังนั้นแล้วจึงพูดออกมาคนเดียวว่า
“ดูเถิด หญิงโง่ อยู่สบาย ๆ ไม่ชอบ ชอบทำอะไรให้เหนื่อย เลี้ยงดูสมณะหัวโล้นทั้งหลายให้ฉันแล้วก็กลับไปนอน”
พูดเท่านี้แล้วก็หัวเราะเยาะแล้วหลบเข้าห้องไป
นาง สิริมายืนอยู่ไม่ไกลนัก เห็นอาการแห่งสามีชั่วคราวของตัวแปลกอยู่ จึงไปยืนทางช่องหน้าต่างมองดูเห็นนางอุตตรา สิริมาเข้าใจว่าบุตรเศรษฐีหัวเราะกับนางอุตตราในเชิงเสน่หาจึงโกรธมาก นางลืมนึกไปว่าอุตตรานั้นเป็นภรรยาโดยชอบธรรมของบุตรเศรษฐี นางได้ยึดมั่นถือมั่นในสามีชั่วคราวของตนจนลืมความเป็นจริง ระยะเวลาเพียง ๑๔ วันเท่านั้นยังทำให้นางเป็นไปได้ถึงเพียงนี้ เข้าใจว่าตนเป็นเจ้าของบ้าน คงทำนองเดียวกับผู้ครองเมืองบางพวก เมื่อขึ้นมาเสวยอำนาจชั่วคราวแล้วก็ลืมตัวเข้าใจว่าประเทศนั้นเป็นของตนทั้ง หมด
นางสิริมาได้ลงจากปราสาทชั้นบนอย่างรวดเร็ว ลงมายังห้องโรงครัวใหญ่ เอาทัพพีตักเนยใสในกระทะที่กำลังเดือดจัดเดินไปหานางอุตตรา สิริมาตั้งใจเต็มที่ในการทำร้ายอุตตราให้เสียโฉมด้วยการเอาเนยใสสาดหน้าหรือ รดบนศีรษะ
ฝ่ายนางอุตตราเห็นอาการดังนั้นรู้ได้ด้วยปัญญา ไวว่าอะไรจะเกิดขึ้นและเกิดขึ้นเพราะเหตุใด จึงคิดว่า “สหายหญิงของเรานี้มีอุปการะต่อเรามาก เมื่อคิดถึงบุญคุณของเธอแล้ว จักรวาลก็แคบไป พรหมโลกก็ต่ำไป เพราะเราได้อาศัยเธอแล้วได้ถวายทาน ได้ฟังธรรม เราขอตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าเรามีความโกรธความคิดประทุษร้ายตอบต่อเธอ ก็ขอให้เนยใสจงลวกเรา ถ้าเราไม่มีความโกรธไม่มีความพยาบาทต่อเธอเลย ขอให้เนยใสนั้นเย็นเหมือนน้ำธรรมดา” นางคิดดังนี้แล้วตั้งใจแผ่เมตตาให้แก่นางสิริมา
“ทำตัวเป็นนักบุญ” นางสิริมาแย้มด้วยเสียงเยาะ “อุตส่าห์เสียเงินวันละพันกหาปณะเพื่อเรา แต่แล้วก็ลอบแสดงอาการเสน่หากับชายที่มอบหมายให้เราแล้ว อย่างนี้ไม่เรียกว่ามือถือสากปากถือศีลจะให้เรียกว่าอย่างไร” ว่าแล้วนางสิริมาก็สาดเนยใสเข้าตรงหน้านางอุตตรา แต่ด้วยเมตตานุภาพซึ่งให้ผลทันที เนยใสที่เดือดจัดอยู่ในกระทะเมื่อครู่นี่เองกลับกลายเป็นเย็นสนิท เหมือนน้ำที่ตักขึ้นมาจากบ่อ สิริมาคิดว่าเนยใสนั้นเย็นเสียแล้ว จึงรีบตักมาอีกทัพพีหนึ่งสาดเข้าไป แต่ได้ผลเท่าเดิม อุตตราคงยิ้มระรื่นไม่มีอาการของผู้เจ็บปวดทุกข์ทรมานเลย
พอ ดีคนใช้ของนางอุตตราซึ่งเพิ่งตื่นจากอาการตกตะลึงเห็นดังนั้นจึงช่วยกันทุบ ตีนางสิริมาจนล้มราบลงกับพื้น หญิงคนใช้มีหลายคนด้วยกันเขากำลังโกรธจัด นางอุตตราห้ามไม่ไหว จึงขอให้หญิงคนใช้ที่ยืนอยู่บนตึกลงมาห้าม ดึงตัวหญิงคนใช้เหล่านั้นออกไป แล้วเธอมาประคบนางสิริมาด้วยน้ำอุ่น ทาด้วยน้ำมันช่วยบำบัดอาการช้ำ พลางกล่าวว่า
“สหาย ไฉนท่านจึงทำกรรมหนักอย่างนี้เล่า”
ขณะ นั้นเองสิริมาจึงสำนึกตัวได้ว่าตนเป็นคนภายนอกมารับจ้างเขาเพียงชั่ว ๑๕ วันเท่านั้น ตัวทำร้ายเขาโดยเขาไม่มีความผิด แต่เมื่อตนถูกทำร้ายบ้าง เขายังช่วยเหลือ เขาดีเหลือเกิน แต่ตนเลวเหลือเกิน คิดดังนี้แล้วจึงขอโทษนางอุตตรา หมอบลงที่แทบเท้าแล้วกล่าวว่า
“อุ ตตรา โปรดยกโทษให้ข้าพเจ้าถ้วยเถิด ข้าพเจ้าทำกรรมหนักไปแล้วโดยความผลุนผลันไม่ทันคิดให้รอบคอบ ข้าพเจ้าเสียใจ อุตตรา ข้าพเจ้าเสียใจเหลือเกิน”
“สิริมา ข้าพเจ้าเป็นคนมีบิดา ถ้าบิดาของข้าพเจ้ายกโทษให้ท่านได้ ข้าพเจ้าก็ยกโทษให้”
“บิดาที่ท่านพูดถึงนี้คือปุณณเศรษฐีใช่ไหม”
“ท่าน ปุณณเศรษฐีนั้นเป็นบิดาของข้าพเจ้าในวัฏฏะ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นบิดาของข้าพเจ้าในวิวัฏฏะ ถ้าท่านสามารถให้บิดาในวิวัฏฏะของข้าพเจ้ายกโทษให้ได้ แล้วข้าพเจ้าก็ไม่มีอะไร” อุตตราตอบ
“แต่ข้าพเจ้ามิได้คุ้นเคยกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” สิริมาว่า
“ไม่ เป็นไร” อุตตราปลอบ “พรุ่งนี้พระองค์ก็จะเสด็จมาเสวยที่นี่ ท่านเตรียมเครื่องสักการะมาขอขมาพระองค์ท่านก็แล้วกัน ข้าพเจ้าจะนำเอง”
นาง สิริมากลับไปสู่บ้านของตน ในวันรุ่งขึ้นจึงจัดเครื่องสักการะต่างๆ เช่น ดอกไม้ ของหอม ขาทนียโภชนียาหารอันประณีต มาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่บ้านของนางอุตตรา แต่เนื่องจากไม่เคยเข้าใกล้พระสงฆ์ไม่เคยทำบุญอย่างนี้จึงทำอะไรไม่ถูก แม้แต่จะใส่อาหารลงบาตรของพระศาสดาและพระสาวกนางก็ทำไม่เป็น นางอุตตราต้องช่วยเหลือจัดแจงให้ทุกอย่าง
เมื่อพระศาสดา เสวยเสร็จแล้ว นางสิริมาและบริวารของตนหมอบลงใกล้พระบาทของพระพุทธองค์ เมื่อพระองค์ตรัสถามว่าเป็นความผิดเรื่องอะไร นางก็เล่าเรื่องทั้งปวงถวายให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ตรัสถามนางอุตตราว่าจริงอย่างนั้นหรือ นางอุตตรารับสนองพระพุทธดำรัสแล้วเล่าเรื่องการแผ่เมตตาของตนในขณะที่ถูกราด รดด้วยเนยในที่กำลังเดือดพล่าน
พระศาสดาทรงประทานสาธุการแก่นางอุตตรา แล้วตรัสว่า
“อุ ตตรา ถูกแล้ว เธอทำอย่างนั้นถูกต้องแล้ว สมเป็นบุตรีของตถาคตผู้สรรเสริญการไม่จองเวร อุตตรา บุคคลพึงเอาชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธตอบ (พึงเอาชนะคนด่าด้วยการไม่ด่าตอบ) พึงเอาชนะคนไม่ดีด้วยการทำดีให้ พึงเอาชนะคนตระหนี่ด้วยการแบ่งปัน พึงเอาชนะคนพูดเหลาะแหละสับปรับด้วยการพูดคำจริง”
เรื่องอุตตราอุบาสิกา
“พึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้ พึงชนะคนพูดเหลาะแหละด้วยคำจริง”
คำ แปลข้างบนนี้ แปลตามนัยแห่งพระอรรถกถาจารย์ บางท่านแปลว่า พึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ พึงชนะความไม่ดีด้วยความดีเป็นต้นก็มี แต่เมื่อกล่าวโดยใจความก็ลงทำนองเดียวกัน คือให้เอาสิ่งที่ดี ไปชนะสิ่งไม่ดี เหมือนเอาน้ำสะอาดไปชำระสิ่งโสโครก
ความ โกรธคือความขุ่นใจ ขัดเคืองใจ เมื่อประสบกับอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา (อนิฏฐารมณ์) เมื่อพลุ่งออกมาเป็นอาการประทุษร้าย ท่านเรียกว่า โทสะ เมื่อผูกใจโกรธไม่ยอมให้หายไป เป็นอุปนาหะ (ความผูกโกรธ) เมื่อคิดให้ศัตรูพินาศล่มจม ล้มเจ็บเป็นต้น เป็นพยาบาท
ในที่นี้จะอธิบายให้กว้างออกไปอีกตามสมควร
๑. พึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ
คน ที่โกรธกัน มีสาเหตุหลายอย่าง อาจเพียงไม่ถูกตากันเฉยๆ ที่เรียกว่าสายตาไม่กินกัน พอเห็นเข้าก็ไม่พอใจ ไม่อยากเห็นอีก ไม่อยากพูดด้วย ไม่อยากสงเคราะห์เอื้อเฟื้อ เมื่อไม่พอใจ (อรติ) สายตาก็แสดงออกนัยน์ตาคนนั้น นอกจากจะใช้ในการดูแล้ว ยังใช้แสดงความรู้สึกอีกด้วย เช่น ความรู้สึกเกลียดชัง รักใคร่ หมั่นไส้ กินแหนงแคลงใจ ขยะแขยง และโกรธ เป็นต้น เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งเห็นดังนั้นก็ไม่พอใจ ด้วยต่างคนต่างเก่ง ไม่พูดกัน บางทีถ้าจะถามว่า โกรธกันเรื่องอะไร ก็ตอบไม่ได้ว่าเรื่องอะไร แต่ก็โกรธกัน ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งไม่โกรธเสีย อีกฝ่ายก็คงโกรธไปได้ไม่นาน อย่างที่คำพังเพยไทยว่า “ตบมือข้างเดียวไม่ดัง”
บางคน โกรธกันเพราะพรรคพวกเขาโกรธ เช่น เมียโกรธใคร ผัวก็พลอยโกรธด้วย หรือผัวโกรธใคร เมียก็พลอยโกรธด้วย อย่างนี้จึงจะเรียกว่ารักกันจริง ถามว่าโกรธเขาเรื่องอะไร ตอบว่าไม่รู้ เห็นเขาโกรธ ก็พลอยโกรธด้วย
บาง คนโกรธกันเพราะผลประโยชน์ขัดกัน อันนี้สำคัญ และทำให้คนเกลียดชังกันนานได้นาน เมื่อผลประโยชน์ลงรอยกันได้ ความโกรธก็หายไป
ความจริงเราโกรธเขา เกลียดชังเขา แต่ตัวเรานั่นแหละต้องเดือดร้อนก่อนเขาหรือมากกว่าเขา ยิ่งถ้าเขาเฉย ๆ ไม่โกรธตอบ เราก็ต้องเดือดร้อนข้างเดียว เขาสบายกายสบายใจ เราเอาความโกรธมาทำลายความสุขของเราเอง มันเกิดขึ้นในตนแล้วทำลายตนของผู้นั้น ท่านจึงสอนมิให้เราทำลายตนเอง โดยยอมให้ความโกรธมีอำนาจเหนือ
เมื่อเรารู้สึกเกลียดชัง ศัตรูของเรา ก็แปลว่าเรายอมให้ศัตรูมีอำนาจเหนือเราโดยไม่รู้ตัว เป็นต้นว่า มีอำนาจเหนือการนอนของเรา การเจริญอาหารของเรา ความดันโลหิตของเรา สุขภาพของเรา และความสุขของเรา ศัตรูของเราจะกระโดดโลดเต้นด้วยความยินดีอย่างไม่ต้องสงสัย ถ้าเขาทราบว่าตัวเขาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ทรมานและเจ็บใจอย่างไรบ้าง ซึ่งดูคล้ายกับว่า เขาได้แก้แค้นเราในทางอ้อมดี ๆ นี่เอง ความเกลียดชังของเรามิได้เป็นอันตรายแก่ศัตรูของเราเลย แต่ความเกลียดชังนั้นจะหันมาเล่นงานเราและเปลี่ยนวันคืนของเราให้กลายเป็น นรกไป
ถ้ามีบุคคลใดซึ่งเห็นแก่ตัว พยายามจะเอารัดเอาเปรียบท่าน จงเลิกคบค้าสมาคมกับบุคคลนั้น ๆ แต่อย่าพยายามที่จะแก้แค้น เพราะเมื่อท่านต้องการจะแก้แค้นผู้ใด มันหมายถึงว่าท่านจะต้องรู้สึกเจ็บใจในเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้สึกอย่างใด เลย
ผู้ที่อยู่ในอาการโกรธแค้นจะทำให้เกิดโรคความดันโลหิต สูง และถ้าอาการโกรธแค้นนั้นเกาะแน่นอยู่ในใจโดยไม่รู้จักหาย เขาผู้นั้นจะกลายเป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิดเรื้อรังและจะเป็นโรคหัวใจพิการ ในอันดับต่อไป
วิธีอันแน่นอนในอันที่จะอภัยโทษและลืมความ โกรธแค้นต่อศัตรูของเราก็คือ ฝังจิตฝังใจในวัตถุประสงค์ของเราให้อยู่เหนือกว่าตัวเราเอง เมื่อเช่นนี้การสบประมาทและความเกลียดชังซึ่งเราเผชิญ จะไม่ทำให้เรารู้สึกอย่างใด เพราะเรามิได้คิดถึงสิ่งอื่น นอกจากวัตถุประสงค์ของเรา
เอปิคคีตัสได้กล่าวเมื่อ ๑๙ ทศวรรษมาแล้วว่า เราเก็บเกี่ยวสิ่งที่เราได้หว่านเมล็ดพืชเอาไว้ และโชคชะตามักจะบังคับให้เราชำระหนี้ความชั่วของเรา ในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า เอปิคคีตัสพูด ”มนุษย์ทุกคนจะต้องได้รับผลร้ายเป็นการตอบแทนกรรมชั่วของเขา ท่านผู้ใดที่จำหลักความจริงนี้ได้ จงอย่าโกรธตอบผู้ใด มีโทโสต่อผู้ใด ด่าผู้ใด ลงโทษผู้ใด ขุ่นเคืองผู้ใด เกลียดชังผู้ใด”
เมื่อ คนโกรธ กลัว ตื่นเต้น หรือกังวล ผลอันแรกที่เห็นได้ชัดเจนคือ อาหารไม่ย่อย แมวที่ถูกเย้าให้โกรธมีอาหารตกค้างอยู่ในกระเพาะตั้งแต่ ๓ ถึง ๖ ชั่วโมง ซึ่งถ้าอาหารเกิดบูดเน่าขึ้นมาทำให้ท้องเสีย สำหรับความเสียใจหรือดีใจมาก ๆ ก็ทำให้งานของกระเพาะอาหารชะงักลงด้วย คนที่เศร้าโศกตื่นเต้นหรือมีเรื่องกังวลในใจเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด น้ำตาลไกลโคเจนซึ่งตับปล่อยออกมา เมื่อไม่ได้ใช้ก็จะปนออกมากับปัสสาวะโดยผ่านไต
เขาเคย ตรวจปัสสาวะของผู้เล่นฟุตบอลที่เป็นตัวสำรอง พวกนี้ตื่นเต้นเท่า ๆ กับคนเล่น และปรากฎว่ามีน้ำตาลอยู่ในปัสสาวะมากกว่าธรรมดา นักเรียนที่เข้าสอบไล่ครั้งสำคัญๆ และยากๆ ออกมาจากห้องสอบแล้วมีไกลโคเจนในปัสสาวะ ซึ่งก่อนเข้าสอบไม่ปรากฏว่ามี
การ สึกหรอทั่ว ๆ ไปของหัวใจ เส้นโลหิต อะดรีแนลแกลนด์ และอวัยวะภายในอื่นๆ ที่ทำงานเกินขีดปกติขณะที่คนมีอาเวค (อาเวค แปลจากคำว่า Emotion ในภาษาอังกฤษ ภาษาทั่วไปใช้ว่า “อารมณ์” แต่ทางจิตวิทยาเห็นว่า อารมณ์ในภาษาไทยน่าจะตรงกับคำว่า mood มากกว่า จึงเลี่ยงใช้ Emotion ว่า อาเวค แปลว่า ความเร็ว หรือเคลื่อนไปเร็ว) แรง ๆ อาจจะเสียหายบาดเจ็บได้ ถ้าสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ มากเกินควร โรคหลายอย่างที่ทำให้คนไร้ความสามารถไปเฉย ๆ ส่วนมากเกิดจากเพราะคนเหล่านั้นมีอาเวคแรง ๆ เกิดขึ้นบ่อย ๆ
เคย มีผู้ถาม ชาลล์ เอลิออต อธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อวันทำบุญวันเกิดครบ ๘๙ ปี ทำไมอายุจึงยืนและแข็งแรงเช่นนี้ ท่านตอบว่า “ข้าพเจ้าเข้าใจว่าสิ่งสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เกิดความผาสุกและอนามัยดี คือการทำใจให้สงบไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะใด ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่ธรรมชาติของท่านจะยอมให้ท่านทำได้”
ท่าน จะเห็นว่า ไม่ว่าทางโลก หรือทางธรรม ไม่ว่าสาขาวิชาใด ย่อมเห็นพ้องต้องกันว่า ความโกรธเป็นอันตรายแก่ตนเอง เป็นภัยแก่ผู้อื่นจึงต้องเอาชนะมัน เอาชนะด้วยความไม่โกรธ จิตโกรธเกิดขึ้น เอาชนะด้วยจิตไม่โกรธ คนอื่นโกรธเรามา เอาชนะด้วยไม่โกรธตอบ
เมื่อเราเห็นว่า ความโกรธเป็นของไม่ดี ก็ไม่จำเป็นจะต้องเก็บไว้
พระ พุทธเจ้าเองก็ไม่เคยทรงโกรธใคร แม้เขาจะให้ร้ายป้ายสีถึงกับลงมือทำร้ายพระองค์ แต่พระองค์ไม่เคยโกรธตอบ ไม่เคยคิดประทุษร้าย คนเหล่านั้นแพ้ภัยตนเอง ประสบเคราะห์กรรมจากเหตุที่เขาหว่านไว้ เพราะฉะนั้นจึงทรงสอนให้เอาชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ การที่เราไม่โกรธตอบนั้น เขาจะกลับดีกับเราหรือไม่ก็ตาม แต่ถือว่าเราชนะแล้วหรืออย่างน้อยก็ชนะไปครึ่งหนึ่งแล้ว ถ้าเราไม่โกรธตอบแล้วทำความดีกับเขาเพิ่มเข้าอีกอย่างหนึ่งตามโอกาส ก็เชื่อได้ว่าต้องชนะแน่ ดังเช่นนางอุตตราอุบาสิกาได้เอาชนะนางสิริมา
๒. พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี
คน ไม่ดีเป็นอย่างไร พอรู้ ๆ กันอยู่ ถ้าจะจำกัดความตามทรรศนะทางพระพุทธศาสนาก็ว่า ”คนที่ประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ เรียกว่าคนชั่ว หรือคนพาล คือ คนไม่ดี”
อาการทุจริตทางกาย เช่น การฆ่า การทุบตี การลักของผู้อื่น การประพฤติผิดในกาม เป็นต้น
อาการประพฤติผิดหรือทุจริตทางวาจา เช่น การพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล
อาการ ทุจริตทางใจ ก็คือความโลภอยากได้ของคนอื่น การพยาบาทคนอื่น และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว เป็นต้น นี่ยกมาพอฟังเป็นตัวอย่าง
อาการ เหล่านี้ ใครมีมากก็เป็นคนชั่วมาก มีน้อยก็ชั่วน้อย คนที่มีชั่วน้อย ดีมาก ท่านเรียกว่าเป็นคนดี ส่วนคนดีน้อย ชั่วมาก เรียกว่าคนชั่ว
มนุษย์ ที่ยังมีกิเลส ก็ย่อมจะมีดีปนชั่ว ชั่วปนดีอยู่เสมอ ที่เขาเรียกกันว่า เป็นคนดีก็ต้องมีอะไรชั่ว ๆ อยู่บ้าง หรือคนที่เขาเรียกว่าเป็นคนชั่วก็ต้องมีอะไร ๆ อยู่บ้าง คนดีโดยประการทั้งปวงก็เห็นจะมีพระอรหันต์เท่านั้น
ในที่ นี้ พูดถึงคนธรรมดาสามัญ คนดีก็มีหลายระดับเหมือนกัน คือ ดีชั้นที่ ๑ ชั้นที่ ๒ ชั้นที่ ๓ เป็นต้น แล้วแต่เราจะเอาอะไรมาเป็นมาตรฐานวัด
สมมติ ว่า เราเอากุศลกรรมบท ๑๐ ดังกล่าวมาเป็นมาตรฐานวัดคนที่ทำได้ครบบริบูรณ์ก็เป็นคนดีชั้นที่ ๑ คนที่ทำได้ ๗๕% เป็นคนดีชั้นที่ ๒ คนทำได้ ๕๐% เป็นคนดีชั้นที่ ๓ เป็นต้น คนทำได้น้อยกว่า ๕๐% เรียกว่าเป็นคนมีดีน้อย เมื่อดีน้อยก็ต้องชั่วมาก
เรื่องดี เรื่องชั่ว เป็นเรื่องที่พูดยาก มีความสลับซับซ้อนมาก และเป็นการยากยิ่งขึ้นที่จะตัดสินว่า ใครเป็นคนดี ใครเป็นคนชั่ว เหตุผลก็คือคนดีล้วนก็หายาก คนชั่วล้วนก็หายาก
ขอตัดลัด ไปยังปัญหาเรื่องการเอาชนะคนชั่วด้วยความดี หรือเอาชนะความชั่วด้วยความดี ถามว่าความชั่วของใคร ความดีของใคร ถ้าเป็นความชั่วของเราเองละก้อ เป็นการแน่นอนว่า เราต้องเอาชนะด้วยความดีของเราเอง กล่าวให้สั้นคือเลิกทำชั่ว และทำความดี หรือใช้เวลาทำความดีทั้งหมด จนไม่มีเวลาทำความชั่ว
แต่ ถ้าเป็นความชั่วของคนอื่น ก็ยากหน่อยที่จะเอาชนะด้วยความดีของเรา จะต้องใช้เวลา ใช้ความอดทนมาก เขาจึงจะเห็นความดีของเราและเปลี่ยนใจเขาได้
เคยมีคนถาม ขงจื้อนักปราชญ์และนักการเมืองชาวจีนว่า จะเอาชนะความชั่วด้วยอะไร ขงจื้อตอบว่า ต้องเอาชนะความชั่วหรือคนชั่วด้วยความยุติธรรม
มี คนถามว่า ทำไมไม่เอาชนะความชั่วด้วยความดี ขงจื้อกล่าวว่า ถ้าเอาชนะความชั่วด้วยความดี หรือตอบแทนความชั่วด้วยความดีเสียแล้ว จะตอบแทนความดีด้วยอะไร
ขงจื้อเป็นนักปราชญ์จริง แต่ขงจื้อก็เป็นนักการเมืองด้วย นักการเมืองจะต้องตอบแทนความชั่วด้วยความยุติธรรม คือต้องฆ่าคนที่ควรฆ่า ต้องขังคนที่ควรขัง เนรเทศคนที่ควรเนรเทศ ไม่ทำอย่างนั้นก็ปกครองเมืองไม่ได้
แต่พระพุทธเจ้าทรงเป็น ปราชญ์และเป็นศาสดา ทรงเป็นนักการศาสนา ไม่เกี่ยวข้องด้วยการเมืองอย่างเด็ดขาด เพราะฉะนั้น คำสอนของพระพุทธเจ้าจึงมีเอกลักษณ์พิเศษ คือให้ทำความดี ให้ยึดมั่นในความดี อะไรจะเป็นอย่างไรก็ตาม หน้าที่ของเราคือยึดมั่นในความดี ใครจะต้องดำรงตนให้ดีอยู่เสมอ เขาดีมา เราก็ดีไป เขาชั่วมา เราก็ดีไป ให้ถืออาวุธอยู่อย่างเดียว คือ “ดี”
พระเยซูแห่งคริสต์ศาสนา ก็ทรงอยู่ในลักษณะนี้เหมือนกัน คือให้ทำความดีกับคนไม่เลือกหน้า ไม่ว่ามิตรหรือศัตรู ทรงสอนให้รักศัตรูเสียอีก
มีคนได้ ชนะคนชั่วด้วยความดีมามากแล้ว ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ขออย่างเดียวว่าให้ทำความดีนั้นอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างที่ดีที่สุดก็คือพระพุทธประวัตินั่นเอง ได้ทรงชนะคนร้ายคนชั่วด้วยความดีที่พระองค์ตลอดมา
ใจชั่ว ของผู้อื่น เมื่อได้มาสัมผัสกับใจดี ความดีอย่างสม่ำเสมอของเราเข้า ไม่ช้าก็สามารถเปลี่ยนไปได้ ที่เอาชนะไม่ได้นั้น เพราะเหตุประการเดียวคือ เราทำไม่จริง
ได้เคยคิดหาวิธี อื่นในการเอาชนะคนชั่ว ก็ยังมองไม่เห็นว่าวิธีใดที่ดีกว่าที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ตกลงว่าวิธีที่ดีที่สุดในการนี้ คือเอาชนะคนชั่วด้วยความดี อาจมีวิธีอื่นอยู่บ้างเหมือนกัน แต่ไม่ดีเท่านี้คนชั่วจะต้องละอายจนไม่สามารถจะชั่วอยู่ได้ต่อไปเมื่อมาพบ กับความดีอย่างจริงจังเข้า
๓. ชนะความตระหนี่ด้วยการให้ปัน
ความ ตระหนี่คือการที่เก็บเงินหรือทรัพย์สมบัติไว้ ไม่ยอมให้ใช้เป็นประโยชน์แก่ตนหรือผู้อื่นแม้ในคราวที่จำเป็น ตรงกันข้ามกับความฟุ่มเฟือย คือใช้อย่างสุรุ่ยสุร่าย ใช้อย่างที่ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้
ท่ามกลางความตระหนี่ และความฟุ่มเฟือยคือความมัธยัสถ์ คือจำเป็นใช้ ไม่จำเป็นไม่ใช้ ส่วนความประหยัดนั้นคือการใช้ของไม่ให้เสียเปล่า ใช้ให้คุ้มราคาของ รู้จักซ่อมแซมของชำรุดให้ใช้การได้ต่อไป
คนประกอบด้วย อาการแห่งความตระหนี่ เรียกว่า ผู้ตระหนี่ คนตระหนี่คงจะมีความสุข ความครึ้มใจที่ได้เก็บของไว้ดู หรืออย่างน้อยที่สุดก็ให้เกิดความพอใจว่า “ของเรามี”
คนตระหนี่ ไม่รู้จักเอื้อเฟื้อแม้แก่ตนเอง แล้วจะเอื้อเฟื้อผู้อื่นได้อย่างไร
แต่ หัวใจคนอาจให้อ่อนลงได้ด้วยการเอื้อเฟื้อแบ่งปัน เมื่อเราให้เขาบ่อย ๆ เข้า เขาก็คงละอายบ้างที่จะไม่ให้เรา เมื่อได้หัดให้เสียครั้งหนึ่งแล้วรู้สึกมีความสุขใจ อาจให้อีกเป็นครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ เพราะกฎทางจิตวิทยามีอยู่ว่า “ความรู้สึกสุขเป็นเหตุให้ทำซ้ำ”
การแบ่งปันเป็นเครื่องผูกมิตร เป็นเครื่องมือทำคนใจแข็งให้ใจอ่อน เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า
“ทาน เป็นเครื่องฝึกคนที่ยังไม่ได้รับการฝึก ยังประโยชน์ทุกอย่างให้สำเร็จ ทายกย่อมบันเทิงด้วยการให้ ฝ่ายผู้รับย่อมนอบน้อมถนอมน้ำใจด้วยการกล่าววาจาน่ารัก”
๔. ชนะคนพูดเหลาะแหละด้วยคำจริง
คน พูดเหลาะแหละ คือพูดคำเหลวไหลไร้สาระอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งคือ พูดคำคลาดเคลื่อนจากคำมั่นสัญญา สัญญาไว้อย่างใด แล้วไม่ทำตามสัญญานั้น เป็นเหตุให้คู่สัญญาได้รับความเสียหาย หรือเสียเวลาในการรอคอยเมื่อคนเหลาะแหละไม่มาตามนัด
คนพูด เหลาะแหละย่อมมาจากใจที่เหลาะแหละ เพราะสิ่งทั้งปวงเริ่มต้นที่ใจ เมื่อใจจริง ใจซื่อตรง วาจาก็ต้องจริงและซื่อตรงด้วย เมื่อใจสงบ กาย วาจา ก็พลอยสงบด้วย ดังพระพุทธภาษิตว่า
สนฺตํ ตสฺส มนํ โหติ สนฺตา วาจา จ กมฺม จ
แปลว่า เมื่อใจของเขาสงบ กายวาจาของเขาก็ต้องสงบด้วย
ใคร มาพูดเหลาะแหละกับเรา ถ้าเราไม่ยอมพูดเหลาะแหละด้วย เราพูดแต่วาจาที่มีประโยชน์ อิงอาศัยอรรถอาศัยธรรม พูดถูกเรื่อง ถูกกาลอยู่เสมอ เขาก็เกรงใจไปเอง ตอนหลังจะไม่กล้าพูดเหลาะแหละกับเรา
ใน ทำนองเดียวกัน ใครมาพูดเล่นกับเรา ถ้าเราไม่ยอมพูดเล่นด้วยเขาก็จะเลิกราไปเอง ถ้าบังเอิญล่วงเกินเราไปบ้าง เขาก็ต้องเสียใจและขอโทษ ดังนี้เป็นต้น
การเอาชนะคน พูดเหลาะแหละด้วยคำจริงนี้ ดูเหมือนจะทำได้ง่ายกว่า ๓ ประการต้น แต่ทั้งนี้ก็สุดแล้วแต่อัธยาศัย นิสัย และความโน้มเอียงของแต่ละคน
คำ จริงที่พระอริยเจ้าสรรเสริญนั้น ต้องเป็นคำจริงที่มีประโยชน์ประกอบด้วยธรรม คือไม่เป็นไรเพื่อเบียดเบียนตนหรือผู้อื่นให้เดือดร้อน ถ้านัดหมายกับใครไว้ว่าจะไปฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม แล้วไม่ทำตามสัญญานั้น อย่างนี้ดี ไม่มีโทษ แม้จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็จริง แต่บัณฑิตท่านไม่ตำหนิ เพราะได้กระทำสิ่งอันเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ตรงกันข้าม การพูดสัจจะ และการรักษาสัจจะอันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น บัณฑิตท่านไม่สรรเสริญ เพราะฉะนั้น ผู้จะยึดมั่นในคำสัตย์จึงต้องระวังไม่ให้คำสัตย์ไปทำความเดือดร้อนแก่ผู้ อื่นโดยไม่จำเป็น ต้องเลือกกาล เลือกเวลา เลือกสถานที่ และเลือกบุคคลที่เราจะพูดด้วย จึงจะสำเร็จประโยชน์สมความมุ่งหมาย
ความ ตระหนี่คือการที่เก็บเงินหรือทรัพย์สมบัติไว้ ไม่ยอมให้ใช้เป็นประโยชน์แก่ตนหรือผู้อื่นแม้ในคราวที่จำเป็น ตรงกันข้ามกับความฟุ่มเฟือย คือใช้อย่างสุรุ่ยสุร่าย ใช้อย่างที่ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้
ท่ามกลางความตระหนี่ และความฟุ่มเฟือยคือความมัธยัสถ์ คือจำเป็นใช้ ไม่จำเป็นไม่ใช้ ส่วนความประหยัดนั้นคือการใช้ของไม่ให้เสียเปล่า ใช้ให้คุ้มราคาของ รู้จักซ่อมแซมของชำรุดให้ใช้การได้ต่อไป
คนประกอบด้วย อาการแห่งความตระหนี่ เรียกว่า ผู้ตระหนี่ คนตระหนี่คงจะมีความสุข ความครึ้มใจที่ได้เก็บของไว้ดู หรืออย่างน้อยที่สุดก็ให้เกิดความพอใจว่า “ของเรามี”
คนตระหนี่ ไม่รู้จักเอื้อเฟื้อแม้แก่ตนเอง แล้วจะเอื้อเฟื้อผู้อื่นได้อย่างไร
แต่ หัวใจคนอาจให้อ่อนลงได้ด้วยการเอื้อเฟื้อแบ่งปัน เมื่อเราให้เขาบ่อย ๆ เข้า เขาก็คงละอายบ้างที่จะไม่ให้เรา เมื่อได้หัดให้เสียครั้งหนึ่งแล้วรู้สึกมีความสุขใจ อาจให้อีกเป็นครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ เพราะกฎทางจิตวิทยามีอยู่ว่า “ความรู้สึกสุขเป็นเหตุให้ทำซ้ำ”
การแบ่งปันเป็นเครื่องผูกมิตร เป็นเครื่องมือทำคนใจแข็งให้ใจอ่อน เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า
“ทาน เป็นเครื่องฝึกคนที่ยังไม่ได้รับการฝึก ยังประโยชน์ทุกอย่างให้สำเร็จ ทายกย่อมบันเทิงด้วยการให้ ฝ่ายผู้รับย่อมนอบน้อมถนอมน้ำใจด้วยการกล่าววาจาน่ารัก”
๔. ชนะคนพูดเหลาะแหละด้วยคำจริง
คน พูดเหลาะแหละ คือพูดคำเหลวไหลไร้สาระอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งคือ พูดคำคลาดเคลื่อนจากคำมั่นสัญญา สัญญาไว้อย่างใด แล้วไม่ทำตามสัญญานั้น เป็นเหตุให้คู่สัญญาได้รับความเสียหาย หรือเสียเวลาในการรอคอยเมื่อคนเหลาะแหละไม่มาตามนัด
คนพูด เหลาะแหละย่อมมาจากใจที่เหลาะแหละ เพราะสิ่งทั้งปวงเริ่มต้นที่ใจ เมื่อใจจริง ใจซื่อตรง วาจาก็ต้องจริงและซื่อตรงด้วย เมื่อใจสงบ กาย วาจา ก็พลอยสงบด้วย ดังพระพุทธภาษิตว่า
สนฺตํ ตสฺส มนํ โหติ สนฺตา วาจา จ กมฺม จ
แปลว่า เมื่อใจของเขาสงบ กายวาจาของเขาก็ต้องสงบด้วย
ใคร มาพูดเหลาะแหละกับเรา ถ้าเราไม่ยอมพูดเหลาะแหละด้วย เราพูดแต่วาจาที่มีประโยชน์ อิงอาศัยอรรถอาศัยธรรม พูดถูกเรื่อง ถูกกาลอยู่เสมอ เขาก็เกรงใจไปเอง ตอนหลังจะไม่กล้าพูดเหลาะแหละกับเรา
ใน ทำนองเดียวกัน ใครมาพูดเล่นกับเรา ถ้าเราไม่ยอมพูดเล่นด้วยเขาก็จะเลิกราไปเอง ถ้าบังเอิญล่วงเกินเราไปบ้าง เขาก็ต้องเสียใจและขอโทษ ดังนี้เป็นต้น
การเอาชนะคน พูดเหลาะแหละด้วยคำจริงนี้ ดูเหมือนจะทำได้ง่ายกว่า ๓ ประการต้น แต่ทั้งนี้ก็สุดแล้วแต่อัธยาศัย นิสัย และความโน้มเอียงของแต่ละคน
คำ จริงที่พระอริยเจ้าสรรเสริญนั้น ต้องเป็นคำจริงที่มีประโยชน์ประกอบด้วยธรรม คือไม่เป็นไรเพื่อเบียดเบียนตนหรือผู้อื่นให้เดือดร้อน ถ้านัดหมายกับใครไว้ว่าจะไปฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม แล้วไม่ทำตามสัญญานั้น อย่างนี้ดี ไม่มีโทษ แม้จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็จริง แต่บัณฑิตท่านไม่ตำหนิ เพราะได้กระทำสิ่งอันเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ตรงกันข้าม การพูดสัจจะ และการรักษาสัจจะอันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น บัณฑิตท่านไม่สรรเสริญ เพราะฉะนั้น ผู้จะยึดมั่นในคำสัตย์จึงต้องระวังไม่ให้คำสัตย์ไปทำความเดือดร้อนแก่ผู้ อื่นโดยไม่จำเป็น ต้องเลือกกาล เลือกเวลา เลือกสถานที่ และเลือกบุคคลที่เราจะพูดด้วย จึงจะสำเร็จประโยชน์สมความมุ่งหมาย
No comments:
Post a Comment