On Dec. 12-13th, 2008 night the Moon becomes full and has the closest distance from earth. In the language of astronomy called "perigee" (nearby). This made it 14% bigger and 30% brighter than lesser full Moons we've seen earlier in 2008.
The moon in the above photo has been blended with the Bangkok night scene for pleasure, since just the moon only can't tell the size, the brightness and the place which was taken. How is it?:)
Read more at NASA webpage science.nasa.gov/headlines/y2008/09dec_fullmoon.htm
พระจันทร์ ในคืนที่มีระยะใกล้โลกที่สุด วันที่ 12-13 ธันวาคม 2551
ภาพจาก http://www.flickr.com/photos/pattpoom
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 481
๖. สสปัณฑิตชาดก
ผู้สละชีวิตเป็นทาน
[๕๖๒] ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้ามีปลาตะเพียน
อยู่ ๗ ตัว ซึ่งนายพรานตกเบ็ดขึ้นมาจากน้ำ
เอาไว้บนบก ข้าพเจ้ามีอาหารอย่างนี้ ท่าน
จงบริโภคอาหารนี้ แล้วเจริญสมณธรรมอยู่
ในป่าเถิด.
[๕๖๓] อาหารของตนรักษานาคนโน้น ข้าพเจ้า
นำเอามาไว้ในกลางคืน คือ เนื้อย่าง ๒ ไม้
เหี้ย ๒ ตัว และนมส้ม ๑ หม้อ ดูก่อน
พราหมณ์ ข้าพเจ้ามีอาการอย่างนี้ ท่านจง
บริโภคอาหารนี้ แล้วเจริญสมณธรรมอยู่ใน
ป่าเถิด.
[๕๖๔] ผลมะม่วงสุก น้ำเย็น ร่มเงาอันเย็น
เป็นที่รื่นรมย์ใจ ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้ามี
อาหารอย่างนี้ ท่านจงบริโภคอาหารนี้ แล้ว
เจริญสมณธรรมอยู่ในป่าเถิด.
[๕๖๕] กระต่ายไม่มีงา ไม่มีถั่ว ไม่มีข้าวสาร
ท่านจงบริโภคเราผู้สุกไปด้วยไฟนี้ แล้วเจริญ
สมณธรรมอยู่ในป่าเถิด.
จบ สสปัณฑิตชาดกที่ ๖
อรรถกถาสสปสัณฑิตชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
การถวายบริขารทุกอย่าง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
สตฺต เม โรหิตา มจฺฉา ดังนี้.
ได้ยินว่า ในนครสาวัตถี มีกฎุมพีคนหนึ่งตระเตรียมการถวาย
บริขารทุกอย่างแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้สร้าง
มณฑปที่ประตูเรือน แล้วนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
ให้นั่งบนบวรอาสน์ในมณฑปที่ได้จัดแจงไว้ดีแล้ว ถวายทานอันประ-
ณีตมีรสเลิศต่าง ๆ แล้วนิมนต์ฉันอีกตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ ได้
ถวายบริขารทั้งปวงแก่ภิกษุ ๕๐๐ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. ใน
เวลาเสร็จภัตกิจ พระศาสดาเมื่อจะทรงกระทำอนุโมทนา จึงตรัสว่า
ดูก่อนอุบาสก ควรที่ท่านจะกระทำปีติโสมนัส. ก็ชื่อว่าทานนี้เป็นวงศ์
ของโบราณกับณฑิตทั้งหลาย ด้วยว่าโบราณกับณฑิตทั้งหลายได้บริจาค
ชีวิตแก่เหล่ายาจกผู้มาถึงเฉพาะหน้า แม้ชีวิตของตนก็ได้ให้แล้ว อัน
อุบาสกนั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อ
ไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดกระต่ายอยู่ในป่า. ก็ป่านั้น
ได้มีเชิงเขา แม่น้ำและปัจจันตคาม มารวมกันแห่งเดียว. สัตว์แม้
อื่นอีก ๓ ตัว คือ ลิง สุนัขจิ้งจอก และนาก ได้เป็นสหายของกระ-
ต่ายนั้น. สัตว์แม้ทั้ง ๔ นั้น เป็นบัณฑิตอยู่รวมกัน ถือเอาเหยื่อใน
ที่เป็นที่โคจรของตน ๆ แล้วมาประชุมกันในเวลาเย็น. สสบัณฑิต
แสดงธรรมโดยการโอวาทแก่สัตว์ทั้ง ๓ ว่า พึงให้ทาน พึงรักษาศีลพึง
กระทำอุโบสถกรรม. สัตว์ทั้ง ๓ นั้นรับโอวาทของสสบัณฑิตนั้นแล้ว
เข้าไปยังพุ่มไม้อันเป็นที่อยู่อาศัยของตน ๆ อยู่. เมื่อกาลล่วงไปอยู่
อย่างนี้ วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์มองดูอากาศเห็นดวงจันทร์ รู้ว่า
พรุ่งนี้เป็นวันอุโบสถ จึงกล่าวกะสัตว์ทั้ง ๓ นอกนี้ว่า พรุ่งนี้เป็นวัน
อุโบสถ แม้ท่านทั้ง ๓ จงสมาทานศีลรักษาอุโบสถ ทานที่ผู้ตั้งอยู่ใน
ศีลแล้วให้ ย่อมมีผลมาก เพราะฉะนั้น เมื่อยาจกมาถึงเข้า ท่าน
ทั้งหลายพึงให้รสอาหารที่ควรกินแล้วจึงค่อยกิน. สัตว์ทั้ง ๓ นั้นรับคำ
แล้วพากันอยู่ในที่เป็นที่อยู่ของตน ๆ. วันรุ่งขึ้น บรรดาสัตว์เหล่านั้น
นากคิดว่าเราจักแสวงหาเหยื่อแต่เช้าตรู่ จึงไปยังฝั่งแม่น้ำคงคา. ครั้ง
นั้น พรานเป็ดคนหนึ่งตกปลาตะเพียนได้ ๗ ตัว จึงเอาเถาวัลย์ร้อย
คุ้ยทรายที่ฝั่งแม่น้ำคงคาเอาทรายกลบไว้ เมื่อจะจับปลาอีก จึงไปยัง
ด้านใต้แม่น้ำคงคา. นากสูดได้กลิ่นปลาจึงคุ้ยทราย เห็นปลาจึงนำ
ออกมา คิดว่า เจ้าของปลาเหล่านี้มีไหมหนอ จึงประกาศขึ้น ๓ ครั้ง
เมื่อไม่เห็นเจ้าของ จึงคาบปลายเถาวัลย์นำไปเก็บไว้ในพุ่มไม้อันเป็นที่
อยู่ของตน คิดว่า เราจักกินเมื่อถึงเวลา จึงนอนนึกถึงศีลของตนอยู่.
ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกออกเที่ยวแสวงหาเหยื่อ ได้เห็นเนื้อย่าง ๒ ไม้ เหี้ย
๑ ตัว และหม้อนมส้ม ๑ หม้อ ในกระท่อมของคนเฝ้านาคนหนึ่ง
คิดว่า เจ้าของของสิ่งนี้มีอยู่หรือไม่หนอ จึงร้องประกาศขึ้น ๓ ครั้ง
ไม่เห็นเจ้าของ จึงสอดเชือกสำหรับหิ้วหม้อนมส้มไว้ที่คอ เอาปากคาบ
เนื้อย่างและเหี้ย นำไปเก็บไว้ในพุ่มไม้เป็นที่นอนของตน คิดว่าจัก
กินเมื่อถึงเวลา จึงนอนนึกถึงศีลของตนอยู่. ฝ่ายลิงเข้าไปยังไพรสณฑ์
นำพวงมะม่วงมาเก็บไว้ในพุ่มไม้เป็นที่อยู่ของตน คิดว่าจักกินเมื่อถึง
เวลา จึงนอนนึกถึงศีลของตน. ส่วนพระโพธิสัตว์ คิดว่า พอถึง
เวลาจักออกไปกินหญ้าแพรก จึงนอนอยู่ในพุ่มไม้เป็นที่อยู่ของตน
นั่นแหละ. คิดอยู่ว่า เราไม่อาจให้หญ้าแก่พวกยาจกผู้มายังสำนักของ
เรา แม้งาเละข้าวสารเป็นต้นของเราก็ไม่มี ถ้ายาจกจักมายังสำนัก
ของเราไซร้ เราจักให้เนื้อในร่างกายของเรา. ด้วยเดชแห่งศีลของ
พระโพธิสัตว์นั้น ภพของท้าวสักกะได้แสดงอาการเร่าร้อน. ได้ยิน
มาว่า ภพนั้นเป็นภพร้อน เพราะท้าวสักกะสิ้นอายุหรือสิ้นบุญ หรือ
เมื่อสัตว์อื่นผู้มีอานุภาพมากปรารถนาสถานที่นั้น หรือด้วยเดชะแห่ง
ศีลของสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม. ในกาลนั้น ภพของท้าวสักกะ
ได้เร่าร้อน เพราะเดชแห่งศีล. ท้าวสักกะนั้นทรงรำพึงอยู่ ทรงทราบ
เหตุนั้นแล้วจึงทรงดำริว่า เราจักทดลองพระยากระต่ายดู จึงครั้งแรก
เสด็จไปยังที่อยู่ของนาก ได้แปลงเพศเป็นพราหมณ์ยืนอยู่. เมื่อนาก
กล่าวว่า พราหมณ์ ท่านมาเพื่อต้องการอะไร ? จึงตรัสว่า ท่านบัณ-
ฑิต ถ้าข้าพเจ้าพึงได้อาหารบางอย่าง จะเป็นผู้รักษาอุโบสถกระทำ
สมณธรรม. นากนั้นกล่าวว่า ดีละ ข้าพเจ้าจักให้อาหารแก่ท่าน
เมื่อจะเจรจากับท้าวสักกะนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ปลาตะเพียนของเรามีอยู่ ๗ ตัว ซึ่ง
นายพรานเบ็ดตกขึ้นจากน้ำ เก็บไว้บนบก
ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้ามีสิ่งนี้อยู่ ท่านจง
บริโภคสิ่งนี้ แล้วอยู่ในป่าเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ถลมุพฺภตา ความว่า แม้อัน
นายพรานเบ็ดตกขึ้นจากน้ำเก็บไว้บนบก. บทว่า เอตํ ภุตฺวา ความว่า
ท่านจงปิ้งมัจฉาหาร อันเป็นของเรานี้บริโภคนั่งที่โคนไม้อันรื่นรมย์
การทำสมณธรรมอยู่ในป่านี้เถิด.
พราหมณ์กล่าวว่า เรื่องนี้จงยกไว้ก่อนเถิด ข้าพเจ้าจักรู้ภาย-
หลัง แล้วไปยังสำนักของสุนัขจิ้งจอก แม้เมื่อสุนัขจิ้งจอกกล่าวว่า
ท่านยืนอยู่เพื่อต้องการอะไร ? ก็ได้กล่าวเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ.
สุนัขจิ้งจอกกล่าวว่า ดีละข้าพเจ้าจักให้ เมื่อจะเจรจากับท้าวสักกะ
นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
อาหารของคนรักษานาคนโน้น ข้าพเจ้า
นำเอามาไว้ในตอนกลางคืน คือ เนื้อย่าง ๒
ไม้ เหี้ย ๑ ตัว นมส้ม ๑ หม้อ ดูก่อน
พราหมณ์ ข้าพเจ้ามีอาหารสิ่งนี้อยู่ ท่านจง
บริโภคอาหารสิ่งนี้ แล้วเจริญสมณธรรมอยู่
ในป่าเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุสฺส เม ความว่า คนผู้รักษา
นาซึ่งอยู่ในที่ไม่ไกลเรานั่น คือโน้น. บทว่า อปาภตํ ได้แก่ อาภตํ
แปลว่า นำมาแล้ว. บทว่า มํสสูลา จ เทฺว โคธา ความว่า
เนื้อย่าง ๒ ไม้ที่สุกบนถ่านไฟ และเหี้ย ๑ ตัว. บทว่า ทธิวารกํ ได้แก่
หม้อนมส้ม. บทว่า อิทํ เป็นต้นไปมีความว่า เรามีสิ่งนี้ คือ มี
ประมาณเท่านี้ ท่านจงปิ้งสิ่งนี้แม้ทั้งหมด โดยการให้สุกตามความ
ชอบใจ แล้วบริโภค เป็นผู้สมาทานอุโบสถ นั่งที่โคนไม้อันน่ารื่น-
รมย์ กระทำสมณธรรมอยู่ในป่านี้เถิด.
พราหมณ์กล่าวว่า เรื่องนี้จงยกไว้ก่อนเถิด ข้าพเจ้าจักรู้ภาย
หลัง แล้วไปยังสำนักของลิง แม้เมื่อลิงนั้นกล่าวว่า ท่านยืนอยู่เพื่อ
ต้องการอะไร ? จึงกล่าวเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. ลิงกล่าวว่า ดีจะ
ข้าพเจ้าจักให้ เมื่อจะเจรจากับท้าวสักกะนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ผลมะม่วงสุก น้ำเย็น ร่มเงาอันเย็น
เป็นที่รื่นรมย์ใจ ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้า
มีอาหารอย่างนี้ ท่านจงบริโภคอาหารนี้ แล้ว
เจริญสมณธรรมอยู่ในป่าเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมฺพปกฺกํ ได้แก่ ผลมะม่วงสุก
อันอร่อย. บทว่า อุทกํ สีตํ ได้แก่ น้ำในแม่น้ำคงคาเย็น. บทว่า
เอตํ ภุตฺวา ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงบริโภคผลมะม่วงนี้
แล้วดื่มน้ำเย็น นั่งที่โคนไม้อันรื่นรมย์ตามชอบใจแล้ว กระทำสมณ-
ธรรมอยู่ในชัฏป่านี้เถิด.
พราหมณ์กล่าวว่า เรื่องนี้จงยกไว้ก่อนเถิด ข้าพเจ้าจักรู้ใน
ภายหลัง แล้วไปยังสำนักของสสบัณฑิต แม้เมื่อสสบัณฑิตนั้นกล่าว
ว่า ท่านมาเพื่ออะไร ? ก็กล่าวเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. พระโพธิสัตว์
ได้ฟังดังนั้นก็มีความชื่นชมโสมนัส กล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่าน
มายังสำนักของเราเพื่อต้องการอาหาร ได้ทำดีแล้ว วันนี้ข้าพเจ้าจัก
ให้ทานที่ยังไม่เคยให้ ก็ท่านเป็นผู้มีศีลจักไม่ทำปาณาติบาต ท่านจง
ไปรวมไม้ฟืนนานาชนิดมาก่อถ่านไฟ แล้วจงบอกข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจัก
เสียสละตนโดดลงในกลางถ่านไฟ เมื่อร่างกายของข้าพเจ้าสุกแล้ว
ท่านพึงกินเนื้อแล้วกระทำสมณธรรม เมื่อจะเจรจากับท้าวสักกะนั้น
จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
กระต่ายไม่มีงา ไม่มีถั่ว ไม่มีข้าวสาร
ท่านจงบริโภคเราผู้สุกด้วยไฟนี้ แล้วเจริญ
สมณธรรมอยู่ในป่าเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มมํ ภุตฺวา ความว่า ท่านจง
บริโภคเราผู้สุกด้วยไฟที่เราบอกให้ท่านก่อขึ้นนี้ แล้วจงอยู่ในป่านี้
ธรรมดาว่าร่างกายของกระต่ายตัวหนึ่ง ย่อมจะพอยังชีพของบุรุษคน
หนึ่งให้เป็นไปได้.
ท้าวสักกะได้ทรงสดับถ้อยคำของสสบัณฑิตนั้นแล้ว จึงเนรมิต
กองถ่านเพลิงกองหนึ่งด้วยอานุภาพของตน แล้วบอกแก่พระโพธิสัตว์
พระโพธิสัตว์นั้นลุกขึ้นจากที่นอนหญ้าแพรกของตนแล้วไปที่กองถ่าน
เพลิงนั้น คิดว่า ถ้าสัตว์เล็ก ๆ ในระหว่างขนของเรามีอยู่. สัตว์
เหล่านั้นอย่าตายด้วยเลย แล้วสบัดตัว ๓ ครั้ง บริจาคร่างกายทั้งสิ้น
ในทานมุขปากทางของทาน กระโดดโลดเต้นมีใจเบิกบาน กระโดด
ลงในกองถ่านเพลิง. เหมือนพระยาหงส์กระโดดลงในกอปทุมฉะนั้น.
แต่ไฟนั้นไม่อาจทำความร้อนแม้สักเท่าขุมขนในร่างกายของพระโพธิ-
สัตว์ ได้เป็นเสมือนเข้าไปในห้องหิมะฉะนั้น. ลำดับนั้น พระโพธิ-
สัตว์เรียกท้าวสักกะมากล่าวว่า พราหมณ์ ไฟที่ท่านก่อไว้เย็นยิ่งนัก
ไม่อาจทำความร้อนแม้สักเท่าขุมขนในร่างกายของข้าพเจ้า นี่อะไรกัน.
ท้าวสักกะตรัสว่า ท่านบัณฑิต เรามิใช่พราหมณ์ เราเป็นท้าวสักกะ
มาเพื่อจะทดลองท่าน. พระโพธิสัตว์จึงบรรลือสีหนาทว่า ข้าแต่
ท้าวสักกะ พระองค์จงหยุดพักไว้ก่อนเถิด หากโลกสันนิวาสทั้งสิ้น
จะพึงทดลองข้าพระองค์ด้วยทานไซร้ จะไม่พึงเห็นความที่ข้าพระองค์
ไม่เป็นผู้ประสงค์จะให้ทานเลย. ลำดับนั้น ท้าวสุกกะจึงตรัสกะพระ-
โพธิสัตว์นั้นว่า ดูก่อนสสบัณฑิต คุณของท่านจงปรากฏอยู่ตลอดกัป
ทั้งสิ้นเถิด แล้วทรงบีบบรรพตถือเอาอาการเหลวของบรรพต เขียน
ลักษณะของกระต่ายไว้ในดวงจันทร์ แล้วนำพระโพธิสัตว์มาให้นอน
บนหลังหญ้าแพรกอ่อนในพุ่มไม้ป่านั้นนั่นแหละในไพรสณฑ์นั้น แล้ว
เสด็จไปยังเทวโลกของพระองค์ทีเดียว. บัณฑิตทั้ง ๔ แม้นั้นพร้อม
เพรียงบันเทิงอยู่ พากันบำเพ็ญศีล รักษาอุโบสถกรรมแล้วไปตาม
ยถากรรม.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะประชุมชาดก ในเวลาจบสัจจะคฤหบดีผู้ถวายบริขารทุก
อย่างดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. นากในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์
สุนัขจิ้งจอกได้เป็นพระโมคคัลลานะ ลิงได้เป็นพระสารีบุตร ท้าวสักกะ
ได้เป็นพระอนุรุทธะ ส่วนสสบัณฑิต ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสสบัณฑิตชาดกที่ ๖
ที่มา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่481- 489
(พระไตรปิฏกฉบับมหามกุฏ เล่มที่ 58)
No comments:
Post a Comment