Thursday, January 29, 2009

พระไตรปิฎก..เชื่อถือได้แค่ไหน??

พระไตรปิฎก

ถาม : เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เมื่อ ๒๕๐๐ ปีก่อน พระพุทธเจ้าตรัสสอนอะไรไว้บ้าง

ถาม : ในสมัยพระพุทธเจ้า มีพระอรหันต์รูปหนึ่ง ไม่ยอมลงอุโบสถด้วยเข้าใจว่า หมดกิจที่จะต้องทำแล้ว[1] และ มีพระอรหันต์มากมายในสมัยนั้นที่แสดงธรรมใด ๆ ไม่ได้เลย ในเมื่อพระอรหันต์ในสมัยพระพุทธเจ้ายังเป็นเช่นนี้ แล้ว เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าสิ่งที่พระอริยเจ้า ท่านสอนกันในปัจจุบันนี้จะถูกต้องไปเสียงทั้งหมด ..เราจะตรวจสอบความถูกต้องของคำสอนได้โดยวิธีใด?

ตอบ : ตรวจสอบจากข้อความที่บันทึกอยู่ในคัมภีร์ ....?

ก่อนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะดับขันธปรินิพพาน พระองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์เถระว่า โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา[2]

แปลว่า ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใดที่เรา ได้แสดงแล้วและบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลายในเมื่อเราล่วงลับไป

หมายความว่า พระพุทธเจ้าตรัสสั่งให้คำสั่งสอนของพระองค์เป็นศาสดาแทนพระองค์

หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ๓ เดือน พระอรหันตสาวก ๕๐๐ รูป นำโดยพระมหากัสสปะเถระได้ร่วมกัน ประชุมทำสังคายนา คือ ดำเนินการรวบรวมพระดำรัสของพระพุทธเจ้า จัดเป็นหมวดหมู่ คัมภีร์ที่รวบรวมพุทธพจน์ บรรจุพระธรรมวินัยนั้นไว้ เรียกว่า พระไตรปิฎก

ในตอนต้น คือตั้งแต่ครั้งพุทธกาล คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิได้เรียกว่าพระไตร ปิฎก แต่เรียกว่าพระธรรมวินัยบ้าง พระสัทธรรมบ้าง ปาพจน์บ้าง สัตถุศาสน์บ้าง พระบาลีบ้าง สุตตะบ้าง แม้หลังพุทธปรินิพพานก็ยังไม่เรียกว่าพระไตรปิฎก คงเรียกว่าพระธรรมวินัย เช่น การสังคายนาชำระคำสอน ครั้งที่ ๑,๒,๓,๔ ยังคงเรียกว่าสังคายนาพระธรรมวินัย และได้เรียกว่า พระไตรปิฎก เมื่อการสังคายนาครั้งที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐ ณ ประเทศศรีลังกา โดยได้จารึกลงในใบลาน ซึ่งได้แบ่งพระธรรมวินัยเป็น ๓ หมวด จึงได้เรียกว่า พระไตรปิฎก ตั้งแต่บัดนั้น



[1] พระวินัยปิฎก มหาวรรค มหากัปปินวัตถุ (ไทย) ๔/ ๑๓๗/๒๑๔

[2] ที.มหา.(บาลี) ๑๐/๒๑๖/๑๓๔

คัมภีร์พระไตรปิฎกแบ่งออกเป็น หมวด คือ

๑) พระวินัยปิฎก ได้แก่หมวดที่ว่าด้วยบทบัญญัติที่พระพุทธองค์ทรงห้ามแก่พระ พระภิกษุ ภิกษุณี เรียกว่าพระวินัย

๒) พระสุตตันตปิฎก ได้แก่หมวดที่ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรง แสดงแก่แก่บุคคลต่าง ในสถานที่ต่าง ๆ เรียกว่าพระสูตร

๓) พระอภิธรรมปิฎก ได้แก่หมวดที่ว่าด้วยหลักธรรมที่ลึกซึ้ง ที่กล่าวถึงเรื่องปรมัตถ์ คือกล่าวถึงเรื่องจิต เจตสิก รูป และนิพพาน เรียกว่าพระอภิธรรม

การจารึกพระธรรมวินัยลงในใบลานครั้งนั้น ถือเป็นคัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนาเถรวาทครั้งแรกที่เป็นลายลักษณ์อักษร [1] และใช้เป็นคัมภีร์สำคัญของพุทธศาสนาเถรวาทสืบมาจนถึงปัจจุบัน

พระไตรปิฎก คือคัมภีร์ชั้นปฐมภูมิของพุทธศาสนาเป็นคัมภีร์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จารึกหลักธรรมคำสั่งสอนของพุทธศาสนาไว้ โดยแบ่งเป็นหมวดเป็นหมู่ ดังนี้

๑. พระวินัยปิฎก บทบัญญัติและกฎเกณฑ์ที่บัญญัติให้พระภิกษุ และภิกษุณีปฏิบัติตาม หากมีการฝ่าฝืนก็จะมีโทษตามความผิดนั้น ๆ มีโทษสถานหนัก ปานกลาง และอย่างเบา พระวินัยแบ่งออกเป็น หมวด คือ

๑.๑ มหาวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบท(ศีล) ของพระภิกษุ ๒๒๗ ข้อ คือ ปาราชิก ๔, สังฆาทิเสส ๑๓, อนิยต ๒, นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐, ปาจิตตีย์ ๙๒, ปาฏิเทสนียะ ๔, เสขิยวัตร ๗๕, อธิกรณสมถ ๗ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สิกขาบทในปาติโมกข์ ( ภิกขุปาติโมกข์)

๑.๒ ภิกขุณีวิภังค์ว่าด้วยสิกขาบทของนางภิกษุณี หรือภิกขุนีปาติโมกข์ ๓๑๑ สิกขาบท

๑.๓ มหาวรรค เล่าเรื่องตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เสด็จออกไปประกาศพระศาสนา การประทานอุปสมบทแก่ผู้มาขอบวช พูดถึงการอุปสมบท อุโบสถ การจำพรรษา เครื่องหนัง เภสัช กฐิน จีวร นิคหกรรม การออกจากอาบัติ การระงับอธิกรณ์ การทะเลาะวิวาท และสามัคคี

๑.๔ จุลวรรค ว่าด้วยการบัญญัติปลีกย่อย เรื่องเสนาสนะ สังฆเภท วัตรปฏิบัติต่างๆ การงดสวดปาติโมกข์เรื่องกำเนิดและพัฒนาการของภิกษุณีสงฆ์ลงท้ายด้วยประวัติการทำสังคายนาครั้งที่ ๑ และที่ ๒

๑.๕ ปริวาร ประมวลเรื่องเบ็ดเตล็ด เกี่ยวกับสิกขาบทของภิกษุและภิกษุณี เป็นคู่มือศึกษาพระวินัย นำเสนอโดยแต่งเป็นคำถามคำตอบเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง

๒. พระสุตตันตปิฎก หรือพระสูตร เป็นคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่บุคคลต่างๆ หรือเทศนาของพระสาวก ที่แสดงไว้ประกอบด้วยบุคคล สถานที่ เวลา ที่เกิดขึ้นกับเหตุการณ์นั้นๆ พระสูตรแบ่งออกเป็น หมวด คือ

๒.๑ ทีฆนิกาย ได้แก่คัมภีร์หมวดที่รวบรวมพระสูตรที่มีเนื้อหาใจความยาวกว่านิกายอื่น จัดเป็นหมวดหมู่เป็นเรื่องรวมเป็นนิกายแรก

๒.๒ มัชฌิมนิกาย ได้แก่คัมภีร์ที่รวบรวมพระสูตร ที่มีเนื้อหาใจความยาวขนาดกลาง ไม่สั้นหรือยาวเกินไป

๒.๓ สังยุตตนิกาย ได้แก่คัมภีร์หมวดที่รวบรวมพระสูตรที่มีเนื้อเรื่องประเภทเดียวกันไว้เป็นหมวดหมู่ เป็นเรื่องเทวดา ก็มีชื่อว่า เทวตาสังยุตต์ คือประมวลเรื่องเทวดา เรื่องเกี่ยวกับป่าก็เป็นวนสังยุตต์ เป็นต้น

๒.๔ อังคุตตรนิกาย ได้แก่คัมภีร์หมวดที่รวบรวมพระสูตรที่กล่าวถึงธรรมที่เป็นหมวดจำนวนน้อยขึ้นไปตามลำดับ เช่น ธรรมข้อเดียวก็เป็นเอกนิบาตธรรม ข้อ ก็เรียกทุกนิบาต เป็นต้น

๒.๕ ขุททกนิกาย ได้แก่คัมภีร์หมวดที่รวบรวมพระสูตรเล็ก ๆ น้อย ๆ นอกเหนือจากนิกายทั้ง ดังกล่าวมาแล้วทั้งหมดมารวมเป็นหมวดหมู่ไว้ในขุททกนิกายนี้

๓. พระอภิธรรมปิฎก กล่าวถึงหลักธรรมที่เป็นธรรมะล้วน และเป็นธรรมะที่ลึกซึ้ง ไม่กล่าวถึงบุคคล สถานที่ เวลา สถานการณ์ใด ๆ นอกจากธรรมะที่เป็นปรมัตถ์ แบ่งออกเป็น ๗ คัมภีร์ คือ

๓.๑ ธรรมสังคณี ว่าด้วยการรวบรวมกลุ่มธรรมะ คือจัดระเบียบธรรมต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายอยู่รวมเข้าเป็นหมวดหมู่

๓.๒ วิภังค์ ว่าด้วยการแยกแยะหรือวิเคราะห์ข้อธรรมที่สำคัญต่าง ๆ เช่น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ และอริยสัจ เป็นต้น แสดงให้เห็นรายละเอียดอย่างพิสดาร

๓.๓ ธาตุกถา ว่าด้วยการจัดธรรมหรือสงเคราะห์ข้อธรรมต่างๆ เข้าเป็น ๑ ประเภท คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ว่าเข้ากันได้หรือไม่

๓.๔ ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยการบัญญัติหรือกำหนดลักษณะบุคคลตามระดับคุณธรรมของบุคคลนั้น ๆ

๓.๕ กถาวัตถุ ว่าด้วยเรื่องของถ้อยคำแถลงทรรศนะขัดแย้งของนิกายต่างๆ ชี้ให้เห็นว่าทรรศนะที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร โดยเน้นฝ่ายมติเถรวาทเป็นหลัก

๓.๖ ยมก ว่าด้วยการการจัดธรรมเป็นคู่ ๆ โดยการตั้งคำถามเพื่อความเข้าใจที่แจ่มแจ้ง

๓.๗ ปัฏฐาน ว่าด้วยการอธิบายเงื่อนไขทางธรรมหรือปัจจัยทั้ง ๒๔ อย่างว่ามีธรรมข้อใดเป็นปัจจัยกันและกันบ้าง



10 เหตุผลของการจารึกพระพุทธวจนะเป็นลายลักษณ์อักษร ด้วยเกรงว่าการถ่ายทอดโดยระบบท่องจำอาจจะเกิดความคลาดเลื่อนได้ เนื่องจากความจำของบุคคลลดลง

พระเถระที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมพระไตรปิฎก

. พระจุนทะ เป็นพระเถระรูปหนึ่งที่มีความปรารถนาดีต่อศาสนา ท่านเป็นน้อง ชายพระสารีบุตร[1] ครั้ง หนึ่ง เมื่อนิครนถ์นาฏบุตร(หัวหน้านักบวชนอกศาสนา) ได้สิ้นบุญไปใหม่ๆ ที่เมืองปาวา พระจุนทะได้เห็นความแตกแยกขัดแย้ง และระส่ำระสายในหมู่สาวกของนิครนถ์นาฏบุตร ที่ขัดแย้งกันในคำสอนของศาสดาของตนเอง จึงได้เข้าไปเล่าเหตุการณ์ให้พระอานนท์ฟัง แสดงความเป็นห่วงความมั่นคงแห่งพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า พระอานนท์ฟังเรื่องแล้วเห็นด้วย จึงได้พาไปเฝ้าพระศาสดา ทูลเรื่องให้ทรงทราบ และแสดงความเป็นห่วงว่า ขอการทะเลาะวิวาทอย่างนั้นอย่าเกิดมีในหมู่พระสาวกของพวกเราเลย เพราะไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของพหูชน เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พระ พุทธเจ้าจึงตรัสถามว่า มีการขัดแย้งในธรรมที่พระองค์ตรัสรู้แล้วแสดงให้ฟังหรือไม่ เช่นในหลักธรรมเกี่ยวกับ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรค ๘ พระอานนท์ก็ทูลว่าไม่มี แล้วจึงทรงแนะว่า สาเหตุ แห่งการวิวาทมี ๖

) โกรธ และผูกโกรธ

) ดูถูกผู้อื่น-ตีเสมอ

) อิจฉา-ตระหนี่

) โอ้อวด-เจ้ามายา

) ปรารถนาลามก-เห็นผิด

) ถือแต่ความเห็นของตนอย่างแน่น ไม่สละคืน

เมื่อ เป็นเช่นนี้ ย่อมไม่เคารพในพระรัตนตรัย ไม่เคารพในการศึกษา ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท ก่ออธิกรณ์ทั้ง ๔ ขึ้น จะระงับได้ก็โดยวิธีการ ๗ อย่างที่เรียกว่า วิธีระงับอธิกรณ์ คือ ระงับต่อหน้า-ให้สติ-ให้แก่คนบ้า-ปรับตามรับสารภาพ-เอาเสียงข้างมาก-ลงโทษคนกลับกลอก และแบบประนีประนอมกัน แล้วทรงแสดงหลักที่ทำให้สามัคคีกัน ๖ ประการ (สาราณียธรรม) คือ

) ทำอะไรในระหว่างเพื่อนนักบวชก็ทำด้วยเมตตา

) พูดอะไรในระหว่างเพื่อนนักบวชก็พูดด้วยเมตตา

) คิดอะไรในระหว่างเพื่อนนักบวชก็คิดด้วยเมตตา

) มีลาภอะไรเกิดขึ้นก็แบ่งปัน ไม่บริโภคคนเดียว

) มีศีลคือระเบียบเสมอกัน

) มีทิฏฐิคือความเห็นเสมอกันตรงกัน

นี่คือความหวังดีของพระจุนทะ จนทำให้พระพุทธเจ้าแสดงแนวทางแห่งการระงับความขัดแย้ง และให้เกิดสามัคคีไว้[2]

. พระสารีบุตร เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าคู่กับพระโมคคัลลานะ ท่านได้แสดงความปรารถนาดีที่ขอให้พระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระวินัย เพื่อให้พระศาสนาตั้งมั่นและดำรงอยู่สิ้นกาลนาน พระพุทธองค์ก็ทรงรับหลักการ แต่ทรงมีข้อแม้ว่า ให้ถึงกาลเสียก่อน ให้มีพระมาก ลาภสักการะมาก มีอาสวัฏฐานียธรรมปรากฏในหมู่สงฆ์เสียก่อนแล้วจะทรงบัญญัติพระวินัย[3]

มีข้อความในสังคีติสูตร[4]และทสุตตรสูตร[5] ได้แสดงถึงตัวอย่างการจัดหมวดธรรมเป็นหมวดหมู่โดยพระสารีบุตรซึ่งทรงสดับ แล้วทรงประทานสาธุการ ทรงให้ชื่อว่า สังคีติ เป็นแนวการแห่งการรวบรวมพระธรรมวินัย ข้อความในทสุตตรสูตรก็เช่นกัน แสดงแนวการรวบรวมธรรมเป็นหมวดหมู่ เป็นแม่บทของคัมภีร์อังคุตตรนิกายในกาลต่อมา คือ เริ่มด้วยธรรมหมวด ๑ ถึงหมวด ๑๐ ตามลำดับ

. พระโสณะโกฏิกัณณะ เป็นศิษย์ของท่านพระมหากัจจายนะ อยู่ ในแคว้นอวันตี ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าอาราธนาให้ท่านกล่าวธรรมให้ทรงสดับ ท่านโสณะรับพระดำรัส สวดธรรมเป็นหมวดแปดรวม ๑๖ ครั้ง ด้วยสรภัญญะ เมื่อจบแล้วพระพุทธองค์ทรงประทานสาธุการ ทรงชมว่า จำได้ดี กล่าวได้สละสลวย ได้เนื้อถ้อยกระทงความ[6]

. พระอานนท์ ท่านได้เป็นอริยบุคคลชั้นพระโสดาบันหลังจากบวชได้ไม่นาน ต่อ มาได้รับเลือกจากพระสงฆ์ให้ทำหน้าที่พุทธอุปัฏฐาก ก่อนรับหน้าที่พุทธอุปัฏฐาก ท่านได้ทูลขอพร ๘ ประการ จากพระพุทธเจ้า ดังนี้

. ฝ่ายปฏิเสธ

. ขอพระพุทธองค์อย่าได้ประทานจีวรอันประณีตแก่ข้าพระองค์

. ขอพระผู้มีพระภาคอย่าได้ประทานอาหารบิณฑบาตอันประณีตแก่ข้าพระองค์

. ขอพระผู้มีพระภาค อย่าโปรดให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับเดียวกันกับพระองค์

. ขอพระองค์อย่าได้พาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์

. ฝ่ายขอร้อง

. ขอพระองค์ได้โปรดเสด็จไปในที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับไว้

. ขอให้ข้าพระองค์นำบริษัทที่มาจากที่ไกล เข้าเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่มาแล้ว

. ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามได้เมื่อนั้น

. ถ้าพระองค์แสดงข้อความอันใดในที่ที่ข้าพระองค์ไม่อยู่ด้วย เมื่อกลับมาแล้วขอให้ทรงตรัสบอกข้อความนั้นแก่ข้าพระองค์ด้วย

แสดง ถึงการที่ท่านทำหน้าที่โดยไม่เห็นแก่ลาภสักการะใด ๆ ทั้งสิ้น และขอโอกาสทำหน้าที่พุทธอุปัฏฐากให้สมบูรณ์ โดยเฉพาะพรข้อที่ ๘ นั้น เป็นประโยชน์ต่อการทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยในครั้งที่ ๑ เป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงได้ตอบคำถาม เกี่ยวกับพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดในคราวสังคายนาครั้งที่ ๑ ที่เรียกว่า พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎกในปัจจุบัน สมัย นั้นการบันทึกไม่มี จึงต้องอาศัยการจดจำด้วยพลังสมองทั้งสิ้น กล่าวได้ว่าพระอานนท์เป็นเครื่องบันทึกเสียงของพระพุทธเจ้าเลยทีเดียว นับว่าท่านได้มีส่วนสำคัญต่อการรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้า สืบมาจนทุกวันนี้

. พระอุบาลี เมื่อ บวชแล้วได้บำเพ็ญตนสมกับที่ราชกุมารได้ถวายเกียรติเช่นกันคือ ตั้งใจปฏิบัติธรรมจนบรรลุอรหันต์ และได้ทำหน้าที่ทรงจำพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เป็นอย่างดี จนได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้า ในวินัยปิฎก เสนาสนขันธกะ[7]ได้ แสดงไว้ว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงวินัยกถาสรรเสริญพระวินัยและยกย่องการเรียนพระวินัย ได้ทรงยกพระอุบาลีเป็นตัวอย่าง และทรงชักชวนให้พระภิกษุทั้งหลายเรียนพระวินัยในสำนักของพระอุบาลี อนึ่ง ในอุปาลิปัญจกะ[8] ได้แสดงคำถามของพระอุบาลีในพระวินัยแง่ต่าง ๆ ต่อพระ พุทธเจ้าพระองค์ได้ทรงแสดงพุทธมติข้อวินิจฉัยต่าง ๆ ตอบพระอุบาลี ซึ่งมีหัวข้อสำคัญถึง ๑๔ เรื่อง ดังนั้น ในคราวทำสังคายนาครั้งที่ ๑ พระอุบาลีจึงได้รับเลือกจากพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ให้ทำหน้าที่เป็นผู้ตอบปัญหาในพระวินัยแล้วจัดเป็นหมวดหมู่ เรียกว่าพระวินันปิฎก จนกระทั่งปัจจุบันนี้

๖. พระมหากัสสปะ พระ มหากัสสปะ เป็นพระเถระที่บวชเมื่อสูงอายุ เพราะต้องรับผิดชอบตระกูลสนองพระคุณพ่อแม่ของท่าน ท่านอุปสมบทโดยวิธีโอวาทานุสารณีอุปสัมปทา เมื่อบวชแล้วได้บำเพ็ญตนเป็นผู้มักน้อยสันโดษครองผ้าบังสุกุลจีวร ๓ ผืน เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และอยู่ป่าเป็นวัตร ไม่คนองกายวาจาใจ เมื่อเข้าไปสู่ตระกูล และได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า มีคุณธรรมเบื้องสูง คือมีความสามารถในการเข้าฌานเสมอกับพระองค์ ประพฤติตนเป็นตัวอย่างแก่อนุชนรุ่นหลังตลอดชีวิต ในระยะกาลปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ท่านได้สดับคำของ สุภัททวุฑฒบรรพชิต ที่กล่าวจ้วงจาบพระพุทธองค์และพระธรรมวินัย จึงดำริที่จะทำการสังคายนาพระธรรมวินัยให้เป็นหลักพระศาสนา หลังถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระศพแล้ว ได้ชักชวนพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ทำสังคายนาพระธรรมวินัย โดยมีท่านเป็นประธาน มีพระอานนท์เป็นผู้วิสัชชนาพระธรรม มีพระอุบาลีเป็นผู้วิสัชชนาพระวินัย ที่ถ้ำสัตต บรรณ คูหา ใกล้กรุงราชคฤห์ โดยความอุปถัมภ์ของพระเจ้าอชาตศัตรู ทำอยู่ ๗ เดือนจึงเสร็จ นับเป็นรูปแรกที่ได้รวบรวมพระธรรมวินัยให้เป็นหมวดหมู่ จนเกิดพระไตรปิฎกขึ้น

พระ พุทธวจนะสำคัญที่พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พระมหากัสสปะเกี่ยวกับความเจริญและ ความเสื่อมแห่งพระพุทธศาสนา มีปรากฏในกัสสปสังยุตต์ สังยุตตนิกาย ดังนี้

ดู กรกัสสปะ สัทธรรมปฏิรูป ไม่เกิดขึ้นในโลกเพียงไร การอันตรธานแห่งพระสัทธรรม ก็ไม่มีตราบนั้น เมื่อใดสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลก กัสสปะ เมื่อนั้น การสูญสิ้นแห่งพระสัทธรรมย่อมมี เหมือนทองแท้ย่อมไม่อันตรธาน ตราบเท่าที่ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้น เมื่อทองเทียมเกิด ทองแท้ก็ย่อมหายไป

ดูกรกัสสปะ ปฐวีธาตุ-อาโปธาตุ-เตโชธาตุ-วาโยธาตุ หาทำให้พระศาสนาเสื่อม ไปไม่ ที่แท้ โมฆบุรุษที่เกิดขึ้นในพระศาสนานี้ต่างหากที่ทำให้พระศาสนาเสื่อมหายไป ดุจ เรือจะจมลงก็เพราะต้นหน กัสสปะ การเสื่อมไปของพระสัทธรรม ย่อมไม่มีอย่างนี้แล

ดูกรกัสสปะ ธรรมฝ่ายต่ำ ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเลอะเลือน เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

. ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา

. ไม่เคารพยำเกรงพระธรรม

. ไม่เคารพยำเกรงพระสงฆ์

. ไม่เคารพยำเกรงในการศึกษา

. ไม่เคารพยำเกรงในสมาธิ

ดูกรกัสสปะ ธรรม ๕ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่นไม่เลอะเลื่อน ไม่เสื่อมสูญ แห่งพระสัทธรรม (คือศาสนา) คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

. ยังเคารพยำเกรงในพระศาสดา

. ยังเคารพยำเกรงในพระธรรม

. ยังเคารพยำเกรงในพระสงฆ์

. ยังเคารพยำเกรงในการศึกษา

. ยังเคารพยำเกรงในสมาธิ

ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความตั้งมั่นไม่เลอะเลือน ไม่เสื่อมสูญ แห่งพระสัทธรรม[9]



[1] สามคามสูตร ใน ม.อุปริ (ไทย) ๑๔/๕๑/๔๙

[2] ดูรายละเอียด ม.อุ.(ไทย)๑๔/๕๑/๔๙

[3] ดูรายละเอียด วิ.มหา.(ไทย)๑//๑๕

[4] ที.ปา.(ไทย) ๑๑/๒๒๑-๑๖๓/๒๒๒-๒๘๗

[5] ที.ปา.(ไทย) ๑๑/๓๖๔-๔๗๕/๒๘๘-๓๔๓

[6] ดูรายละเอียด ขุ.อุ.(ไทย)๒๕/๑๑๙/๑๖๐-๑๖๖

[7] วิ.จู.(ไทย) (/๒๘๔/๑๒๙)

[8] วิ.ป.(ไทย)๘/๑๑๖๑-๑๒๒๙/๔๔๓-๕๐๘

[9] สังยุตตนิกาย (๑๖/๕๓๒-/๒๖๓-)

พระไตรปิฎกเชื่อถือได้แค่ไหน

คัมภีร์ ที่บันทึกหลักธรรมคำสั่งสอนของพุทธศาสนานั้นเรียกว่าพระไตรปิฎก ซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์ที่สำคัญที่สุดของพุทธศาสนา เพราะเป็นคัมภีร์ที่จารึกคำสอนของพระพุทธเจ้าและของพระอรหันตสาวกไว้ โดยมีกระบวนการสืบทอดคำสอนของพระพุทธองค์ไว้ในรูปแบบของการสังคายนาอย่างระมัดระวังและรัดกุมที่สุด ตั้งแต่สมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่ จนถึงการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖ มาตามลำดับ

หลัก ธรรมคำสั่งสอนทางพุทธศาสนาได้มีการสืบทอดกันมาโดยมุขปาฐะ คือ การท่อง จำสืบๆ กันมา (Oral Tradition) การท่องจำนี้ ได้กระทำมาจนถึงสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๕ ในลังกาทวีป การจารึกเป็นคัมภีร์ครั้งแรกเมื่อคราวสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐[1] (ถ้านับเฉพาะที่ทำสังคายนาในศรีลังกาก็เป็นครั้งที่ ๒ ) ในรัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย โดยมีพระรักขิตมหาเถระเป็นประธาน ทำที่อาโลกเลณสถาน ณ มตเล ชนบทหรือที่เรียกว่า มลัยชนบท สาเหตุ ของการจารึกพระพุทธวจนะลงในใบลาน ก็เพราะว่าถ้าจะใช้วิธีท่องจำพระพุทธวจนะต่อไป ก็อาจมีข้อวิปริตผิดพลาดได้ง่าย เพราะปัญญาในการท่องจำของกุลบุตรเสื่อมถอยลง นอกจากนั้นพระสงฆ์ยังได้รับความกระทบกระเทือนจากภัยธรรมชาติและภัยสงครามอยู่เนืองๆทำให้ไม่มีเวลาท่องจำพระพุทธวจนะ จะทำให้ช่วงการสืบต่อขาดลงได้ และในการจารึกครั้งนี้ได้จารึกอรรถกถาลงไว้ด้วย

มีผู้สงสัยว่า สมัยพุทธกาลคนไม่รู้จักการเขียนหนังสือหรืออย่างไร? จึงไม่ปรากฏว่ามีตำรับตำราจารึกไว้เป็นหลักฐาน พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณฺณวณฺโณ ได้ประมวลทัศนะนี้ไว้ในหนังสือภาษาศาสตร์ภาษาบาลี ไว้ว่า

ความ จริงการเขียนหนังสือน่าจะมีมาก่อนพุทธกาลแล้ว ในพระไตรปิฎกเองก็มีข้อ ความเอ่ยถึงการขีดเขียนเป็นครั้งคราว เช่น ตอนหนึ่ง ห้ามภิกษุเล่นเกม "อักขริกา" ได้แก่ การทายอักษรในอากาศหรือบนหลังเพื่อนภิกษุ วิชาเขียนหนังสือได้รับยกย่องว่า เป็นศิลปะพิเศษอย่างหนึ่ง สิกขาบทบางข้อห้ามภิกษุณีเรียนศิลปะทางโลก หนึ่งในศิลปะเหล่านี้คือวิชาเขียนหนังสือ ในบทสนทนาภายในครอบครัว พ่อแม่ปรารภว่าจะให้บุตรเรียนวิชาอะไรดี ถ้าจะให้เรียนเขียนหนังสือ บุตรก็อาจยังชีพอยู่ได้อย่างสบาย แต่ก็อาจเจ็บนิ้วมือ ถ้าภิกษุเขียนหนังสือพรรณนาคุณของอัตตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตายเอง) ปรับทุกกฎทุกตัวอักษร ถ้ามีผู้อ่านพบข้อความนั้นเข้าเห็นดีเห็นงามด้วย แล้วฆ่าตัวตายตามนั้นปรับอาบัติปาราชิก หลักฐานเหล่านี้แสดงว่าอักษรหรือการเขียนมีมาก่อนสมัยพระพุทธเจ้าแล้ว แต่ที่พระพุทธองค์ไม่นิยมใช้หันมาใช้วิธีมุขปาฐะแทน น่าจะทรงเห็นประโยชน์อานิสงส์บางสิ่งบางอย่างกระมัง หรือว่าระบบการขีดเขียนยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควร ทั้งยังไม่มีอุปกรณ์การขีดการเขียนเพียงพอ ก็ยากที่จะทราบได้ แต่ข้อที่น่าคิดอยู่อย่างคือ วิธีเรียนด้วยมุขปาฐะนี้ นอกจากจะสร้างสัมพันธภาพอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้เรียนและผู้สอนแล้ว ยังเป็นการสร้างสมาธิฝึกจิตของผู้เรียนไปในตัวด้วย นักปราชญ์ยุคก่อนที่มีความคิดเช่นนี้ก็มีไม่น้อย เปลโต้เคยกล่าวไว้ว่า "การคิดอักษรขึ้นใช้แทนการท่องจำ ทำให้มนุษย์ขาดอานุภาพแห่งความทรงจำ คือแทนที่จะจดจำจากอินทรีย์ภายใน ต้องอาศัยสัญลักษณ์นอกเข้าช่วย"[2]

พระไตรปิฎกเคยถูกดัดแปลงแก้ไขจริงหรือไม่ ?

ยังมีผู้สงสัยต่อไปอีกว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่พระไตรปิฏกอาจจะถูกสาวกรุ่นหลังๆ แก้ไขเพิ่มเติม ก็ขอตอบว่า เป็นไปไม่ได้แน่นอน ด้วยเหตุผลดังนี้

๑. พระ ไตรปิฎกสืบทอดกันมาด้วยภาษาบาลี ที่มีหลักไวยากรณ์เฉพาะ มีกฎตายตัวไว้เฉพาะภาษาบาลี โดยปฏิเสธกฎไวยากรณ์หลายประการของสันสกฤตเพื่อไว้ให้เป็นหลักเกณฑ์ของ ไวยากรณ์บาลีโดยเฉพาะ เช่น พระบาลีมี ๒วจนะเท่านั้น คือ เอกวจนะ และพหุวจนะ ไม่มีทวิวจนะ [3] เป็นต้น

๒. แม้ บางช่วงของประวัติศาสตร์เกิดภัยต่าง ๆ ทำให้คัมภีร์พระไตรปิฎกขาดหายหรือเลอะเลือนไป แต่เมื่อสังคายนาใหม่อีกครั้งก็ได้เปรียบเทียบ ตรวจสอบดูกัพระไตรปิฎกของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จนหมดข้อสงสัย จึง ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นพระไตรปิฎกที่สังคายนาเสร็จนั้นมีมาตรฐานเดียวกันทั่ว ทั้งโลก ตรงกับพระไตรปิฎกที่ได้รับการสังคายนาครั้งก่อน ๆ ทุกประการ

๓. มีข้อความในคัมภีร์รุ่นหลังกล่าวอ้างถึงข้อความคัมภีร์พระไตรปิฎก แต่เมื่อตรวจสอบในบาลีพระไตรปิฎกแล้วกลับไม่มีข้อความนั้น ทั้งที่เมื่อพิจารณาข้อความนั้นแล้วมีอรรถเข้ากันได้กับพระไตรปิฎก เช่น บาลีสังยุตตนิกาย มหาวรรคว่า จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว อริยสจฺจานิ กตมานิ จตฺตาริ ฯ ทุกฺข อริยสจฺจ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจ อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ ตถานิ อวิตถานิ อนฺถานิ ตสฺมาอริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ[4]

แต่คัมภีร์วิสุทธิมรรค นำไปอ้างโดยเพิ่มข้อความว่า จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว อริยสจฺจานิ ฯ กตมานิ จตฺตาริ ทุกฺข อริยสจฺจ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจ อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ อริยา อิมานิ ปฏิวิชฺฌนฺติ ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺตีติ ฯ อปิจ อริยสฺส สจฺจานีติปิ อริยสจฺจานิ ฯ ยถาห ฯ สเทวเก โลเก ฯเปฯ มนุสฺสา ตถาคโต อริโย ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺตีติ อถวา เอเตส อภิสมฺพุทฺธตฺตา อริยภาวสิทฺธิโตปิ อริยสจฺจานิ ฯ ยถาห ฯ อิเมส โข ภิกฺขเว จตุนฺน อริยสจฺจาน ยถาภูต อภิสมฺพุทฺธตฺตา ตถาคโต อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ อริโยติ วุจฺจตีติ อปิจ โข ปน อริยานิ สจฺจานีติปิ อริยสจฺจานิ อริยานีติ ตถานิ อวิตถานิ อวิสวาทกานีติ อตฺโถ ฯ ยถาห อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ ตถานิ อวิตถานิ อนฺถานิ ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺตีติ ฯ เอวเมตฺถ นิพฺพจนโต วินิจฺฉโต เวทิตพฺโพ ฯ[5] (อักษรตำหนา เป็นข้อความที่คัมภีร์วิสุทธิมรรคเพิ่มเข้ามา โดยอ้างว่านำมาจากพระไตรปิฎก)

ดังข้อมูลดังกล่าวมานี้ก็หมายความว่า พระไตรปิฎกภาษาบาลีไม่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมอย่างแน่นอน เพราะ ทั้งที่ปรากฏข้อความที่ตกหล่นอยู่ในคัมภีร์อันน่าเชื่อถือเป็นที่สุดเล่ม หนึ่งอย่างคัมภีร์วิสุทธิมรรค ข้อความนั้นก็ยังมิได้ถูกบรรจุไว้ในคัมภีร์พระไตรปิฎก สรุป ว่า คัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาบาลีย่อมเป็นไปได้ที่มีการตกหล่นบ้าง แต่คำกล่าวอ้างที่ว่าถูกสาวกรุ่นหลังแก้ไขเพิ่มเติมย่อมเป็นไปไม่ได้อย่าง แน่นอน



[1] บางแห่งว่า พ.ศ.๔๓๓

[2] พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณณวณโณ ภาษาศาสตร์ภาษาบาลี, ชุดวรรณไวทยากร, กรุงเทพฯไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๑๔

[3] ดูรายละเอียด พระอัครวงศาจารย์ , สทฺทนีติปฺปกรณํ (ปทมาลา) ฉบับภูมิพโลภิกขุ . โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ, วัดสระเกศ กรุงเทพฯ:พ.ศ. ๒๕๒๑ .หน้า ๑๕๖

[4] ส.ม.(บาลี) ๑๙/๑๐๙๗/๓๘๐

[5] วิสุทฺธิ.(บาลี)๒/๑๔๐-๑๔๑

พระพุทธเจ้าไม่ให้เชื่อคัมภีร์(พระไตรปิฎก)

หลักกาลามสูตร ๑๐ ที่ว่าด้วยการอย่าเชื่อ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ดังนี้
๑. มา อนุสฺสาเวน อย่าเชื่อโดยฟังตามกันมา
๒. มา ปรมฺปราย อย่าเชื่อโดยเหตุสักว่าตามสืบๆ กันมา
๓. มา อิติ กิราย อย่าเชื่อโดยตื่นข่าว
๔. มา ปิฎกสัมฺปทาเนน
อย่าเชื่อโดยอ้างปิฎก
๕. มา ตกฺกเหตุ อย่าเชื่อโดยนึกเดาเอาเอง
๖. มา นยเหตุ อย่าเชื่อโดยคาดคะเน
๗. มา อาการปริวิตกฺเกน อย่าเชื่อโดยการตรึกตรองตามอาการ
๘. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนกฺขนฺติยา อย่าเชื่อโดยเห็นว่าถูกตามลัทธิของตน
๙. มา ภพฺพรูปตาย อย่าเชื่อโดยเห็นว่า ผู้พูดควรเชื่อได้
๑๐. มา สมโฌ โน ครุ อย่าเชื่อโดยถือว่า สมณะนี้เป็นครูของตน
[1]

พุทธประสงค์ที่แท้จริงในการตรัสเรื่องนี้ ก็คือ ไม่ทรงให้ปลงใจเชื่อถือเพียงเพราะอ้างตำรารวมไปถึงตำราที่เรียกกันว่าพระไตรปิฎกด้วย แต่ก็มิใช่หมายความว่าไม่ให้เชื่ออะไรเลย ทรงประสงค์ว่า การตัดสินใจเชื่อในแต่ละเรื่องมิใช่ตัดสินใจเชื่อเพียงเพราะเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง ใน ๑๐ ประการนี้ แต่ควรจะมีข้อมูลในการตัดสินใจเชื่อที่มากไปกว่านั้น เช่น ไม่ให้ตัดสินใจเชื่อเพียงเพราะฟังจากอาจารย์อย่างเดียว แต่ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนว่า คำพูดของอาจายร์นั้นสอดคล้องกับตำราอื่นหรือไม่ นำไปทดสอบทดลองแล้ว มีหลักการพอจะเข้ากันได้หรือไม่ เป็นต้น ทำดังนี้แล้วจึงค่อยตัดสินใจเชื่อ ....มิใช่ว่า ห้ามไม่ให้เชื่ออะไรเลย ( เพราะการเชื่อในหลักกาลามสูตร..ก็เป็นการเชื่อคัมภีร์เช่นกันมิใช่หรือ??)

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอีกว่า เมื่อใด ท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครยึดถือปฏิบัติถึงที่แล้วจะเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้งหลายพึงละเสีย ฯลฯ เมื่อ ใดท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษธรรมเหล่านี้วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครยึดถือปฏิบัติ จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้นท่านทั้งหลายพึงถือปฏิบัติบำเพ็ญ(ธรรมเหล่านั้น)"[2]
ในกรณีที่ผู้ฟังยังไม่รู้ไม่เข้าใจและยังไม่มีความเชื่อในเรื่องใด ๆ พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงชักจูงความเชื่อ เป็นแต่ทรงสอนให้พิจารณาตัดสินเอาตามเหตุผลที่เขาเห็นได้ด้วยตนเอง
คำว่า ปิฎก ในพระสูตรนี้ รวมหมายถึงพระไตรปิฎกด้วย มีเหตุผลอธิบายดังต่อไปนี้
ภาษาบาลีว่า มา ปิฏกสมฺปทาเนนา ท่านพระธรรมปิฎก แปลว่า อย่ายึดถือ โดยการอ้างตำรา

คัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า

มา ปิฏกสมฺปทาเนนาติ อมฺหาก ปิฏกตนฺติยา สทฺธึ สเมตีติปิ มา คณฺหิตฺถ[3].

ปิฏก ปิฏกตฺถวิทู ปริยตฺติภาชนตฺถโต อาหุ

เตน สโมธาเนตฺวา ตโยปิ วินยาทโย เยฺยา.

ปริยตฺติปิ หิ "มา ปิฏกสมฺปทาเนนา"ติ อาทีสุ ปิฏกนฺติ วุจฺจติ.[4]

ปิฏกสมฺปทายาติ อมฺหาก ปิฏกตนฺติยา สทฺธึ สเมตีติ น โหติ.[5]

คัมภีร์ฏีกา อธิบายว่า ปิฏก คนฺโถ สมฺปทียติ เอตสฺสาติ ปิฏกสมฺปทาน, คนฺถสฺส อุคฺคณฺหนโก. เตน ปิฏกอุคฺคณฺหนกภาเวน เอกจฺโจ ตาทิส คนฺถ ปคุณ กตฺวา เตน ต สเมนฺต สเมติ, ตสฺมา "ภูตเมตนฺ"ติ คณฺหาติ, ต สนฺธาเยส ปฏิกฺเขโป "มา ปิฏกสมฺปทาเนนา"ติ, อตฺตโน อุคฺคหคนฺถสมฺปตฺติยา มา คณฺหิตฺถาติ วุตฺต โหติ[6]

อรรถกถามัชฌิมนิกายกล่าวว่า ปิฏก ศัพท์ หมายถึง พระไตรปิฎก มีบาลีว่า ปิฏกสมฺปทายาติ ปาวจนสงฺขาตสมฺปตฺติยา. สาวิตฺติอาทีหิ ฉนฺทพนฺเธหิ วคฺคพนฺเธหิ จ สมฺปาเทตฺวา อาคตนฺติ ทสฺเสติ[7]

ฎีกาทีฆนิกายกล่าวว่า ปิฏก ศัพท์ หมายถึง พระบาลี (พระไตรปิฎก)ว่า มา ปิฏกสมฺปทาเนนาติ กาลามสุตฺเต, สาฬฺหสุตฺเต อาคต ปาฬิมาห. ตทฏฺกถายฺจ "อมฺหาก ปิฏกตนฺติยา สทฺธึ สเมตีติ มา คณฺหิตฺถา"ติ อตฺโถ วุตฺโต. อาจริยสาริปุตฺตตฺเถเรน ปน "ปาฬิสมฺปทานวเสน มา คณฺหถา"ติ วุตฺต[8]

ในเรื่องนี้ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ประยุทธ์ ปยุตฺโต) อธิบายว่า

คำว่า อย่ายึดถือ ในที่นี้ ขอให้เข้าใจความว่า หมายถึงการไม่ตัดสินหรือลงความเห็นแน่นอนเด็ดขาดลงไปเพียงเพราะเหตุเหล่านี้ ตรงกับคำว่า "อย่าปลงใจเชื่อ" อนึ่ง ไม่พึงแปลความเลยเถิดไปว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่อสิ่งเหล่านี้และให้เชื่อสิ่งอื่นนอกจากนี้ แต่พึงเข้าใจว่าแม้แต่สิ่งเหล่านี้ซึ่งบางอย่างก็เลือกเอามาแล้วว่าเป็นสิ่งที่น่าเชื่อที่สุด ท่านก็ยังเตือนไม่ให้ปลงใจเชื่อไม่ให้ด่วนเชื่อ ไม่ให้ถือเป็นเครื่องตัดสินเด็ดขาด ยัง อาจผิดพลาดได้ ต้องใช้ปัญญาพิจารณาก่อน ก็ขนาดสิ่งที่น่าเชื่อที่สุดแล้วท่านยังไม่คิดเชื่อ ให้พิจารณาให้ดีก่อน สิ่งอื่นคนอื่นเราจะต้องคิดพิจารณาระมัดระวังให้มากสักเพียงไหน

สำหรับ ผู้ที่ยังไม่ได้นับถือในลัทธิศาสนาหรือหลักคำสอนใดๆ พระองค์จะตรัสธรรมเป็นกลางๆเป็นการเสนอแนะความจริงให้เขาคิด ด้วยความปรารถนาดี เพื่อประโยชน์แก่ตัวเขาเอง โดยมิต้องคำนึงว่าหลักธรรมนั้นเป็นของผู้ใด โดยให้เขาเป็นตัวของเขาเอง ไม่มีการชัดจูงให้เขาเชื่อเลื่อมใสต่อพระองค์หรือเข้ามาสู่อะไรสักอย่างที่ อาจจะเรียกว่าศาสนาของพระองค์ พึงสังเกตด้วยว่าจะไม่ทรงอ้างพระองค์หรืออำนาจเหนือธรรมชาติพิเศษอันใดเป็น เครื่องยืนยันคำสอนของพระองค์ นอกจากเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ให้เขาพิจารณาเห็นด้วยปัญญาของเขาเอง[9]



[1] พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต เกสปุตติสูตร (ไทย) ๒๐/๖๖/๒๕๙

[2] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ภัททิยสูตร (ไทย)๒๑/๑๙๓/๒๘๗

[3] อรรถกถา องฺ.อ.(บาลี) ๒/๑๕๔/๒๐๓

[4] อรรถกถา ที.สี.อ.(บาลี) ๑/๑๗

[5] อรรถกถา ขุ.มหา.อ.(บาลี) ๑๕๖/๓๙๑

[6] คัมภีร์ฏีกา องฺ.ฏีกา.(บาลี)๒/๒๖๘/๒๐๙

[7] อรรถกถา ม.ติก.อ.(บาลี)๓/๔๕๓/๓๐๔

[8] คัมภีร์ฏีกา ที.สี.อภินวฏีกา (บาลี) หน้า ๑๑๖

[9] ดูรายละเอียดใน หนังสือพุทธธรรม

ปัญญาสำคัญไฉน ?

ศาสนาพุทธ : ปัญญามีไว้สำหรับทำลายศรัทธา เพราะเมื่อรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง แล้ว ก็ไม่ต้องเชื่อต่อใครอีกต่อไป เปรียบเหมือน ผู้ที่เคยลิ้มรสมะนาวมาแล้ว เขาไม่ ต้องเชื่อต่อใครอีกต่อไปว่ามะนาวมีรสเปรี้ยว เพราะได้ประจักษ์ด้วยตน เองแล้ว..พระอรหันต์เป็นอสัทธา ( ผู้ไม่มีความเชื่อ มีแต่ความรู้แจ้งในสภาวะธรรมที่ปรากฏ)

ศาสนาอื่นๆ : ปัญญามีไว้เพื่อค้นหาเหตุผลมาเพิ่มพูนสนับสนุนศรัทธา ที่มีอยู่แล้วให้น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

พระสารีบุตรไม่เชื่อใคร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลผู้ไม่ยินดีในสิ่งน่ายินดี ไม่ประกอบในความดูหมิ่นละเอียดอ่อนมีปฏิภาณ ไม่ต้องเชื่อใคร และไม่ต้องคลายกำหนัด[1]

คำว่า ไม่ต้องเชื่อใคร คือ ธรรมที่ตนรู้ยิ่งเห็นจริงด้วยตนเองแล้ว บุคคลไม่ต้องเชื่อต่อใคร ๆ อื่นอีกต่อไป ( ..ขอยกตัวอย่างเสริม เช่น ผู้ที่เคยลิ้มรสมะนาวแล้ว ก็ไม่ต้องเชื่อต่อใคร ๆ อีกต่อไปว่ามะนาวนั้นมีรสเปรี้ยว เพราะได้รู้ยิ้งเห็นจริงด้วยลิ้นของตนเองแล้ว) เพราะตนรู้ยิ่ง เห็นจริงด้วยตนเองแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ...

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสถามพระสารีบุตรว่า สารีบุตร เธอเชื่อหรือไม่ว่า อินทรีย์ ๕ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่ไปในเบื้อง เป็นที่สุด

..ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ ข้าพระองค์ไม่จำต้องเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเลยว่า สัทธินทรีย์ ...วิริยินทรีย์ ..สตินทรีย์ ...สมาธินทรีย์ ...ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตธรรมเป็นที่สุด

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ หากชนเหล่าใด ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ มิได้ทำให้แจ้ง มิได้สัมผัสด้วยปัญญาแล้ว ชนเหล่านั้นก็ยังต้องถึงความเชื่อต่อผู้อื่น แต่หากชนเหล่าใดรู้ เห็น เข้าใจ ทำให้แจ้ง สัมผัสด้วยปัญญาแล้ว ชนเหล่านั้นก็ ย่อมไม่มีความสงสัย ไม่มีความแคลงใจในข้อนั้นเลยว่า สัทธินทรีย์ ..วิริยินทรีย์ ..สตินทรีย์ ...สมาธินทรีย์ ...ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตธรรมเป็นที่สุด

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีแล้ว สารีบุตร ในเรื่องนี้ ชนเหล่าใดไม่รู้ ไม่เห็นไม่เข้าใจ มิได้ทำให้แจ้ง มิได้สัมผัสด้วยปัญญาแล้ว ชนเหล่านั้นก็ยังต้องดำเนินไปด้วยความเชื่อต่อผู้อื่นว่าสัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตธรรมเป็นที่สุด[2]

พระอรหันต์ คือ ผู้ที่ไม่ต้องมีความเชื่อต่อใคร ๆ อีกต่อไป

คัมภีร์พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย ปรากฎข้อความว่า พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อติสสะบรรลุธรรมแล้ว ..หมดความสงสัยแล้วปราศจากความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น[3]ในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระวิปัสสีพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆเปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูปได้ ข้าพระองค์ทั้งสองนี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมเป็นสรณะ และพึงได้การบรรพชาพึงได้การอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค[4]

บุคคลผู้ไม่ยินดีในสิ่งที่น่ายินดี

ไม่ประกอบในความดูหมิ่น

ละเอียดอ่อน มีปฏิภาณ

ไม่ต้องเชื่อใคร และไม่ต้องคลายกำหนัด

บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ

ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ

ไม่เดือดดาลและไม่ยินดีในรสเพราะตัณหา[5]

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

นรชนใดผู้ไม่ต้องเชื่อใคร

รู้จักนิพพานที่ปัจจัยอะไรปรุงแต่งไม่ได้

ตัดรอยต่อแห่งการเกิดใหม่

ทำลายโอกาสแห่งการท่องเที่ยวไปในสงสาร

คลายความหวังแล้ว นรชนนั้นแล เป็นบุรุษสูงสุด[6]



[1] มหานิทเทส ปุราเภทสุตตนิทเทส เล่มที่ ๒๙ ข้อ ๘๗ หน้า ๒๗๑

[2] พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๒๙ ข้อ ๘๘ หน้า ๒๗๔

[3] ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น หมายถึง ไม่ต้องอาศัยผู้อื่นคอยแนะนำพร่ำสอนในคำสอนของพระศาสนา ไม่ได้หมายถึง ว่า ไม่ต้องเชื่อใคร (อปรปฺปจฺจโย =ไม่มีใครอื่นอีกเป็นปัจจัย สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๘/๒๒๒0

[4] ทีฆนิกาย มหาวรรค ๑๐/๗๖/๔๓ , สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ปุพพโกฏฐกสูตร ๑๙/๕๑๔/๓๒๖

[5] ขุ.สุตฺต. ๒๕/๘๖๐/๗๐๖ , สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ปุพพโกฏฐกสูตร ๑๙/๕๑๔/๓๒๖

[6] ขุ.ธ. ๒๕/๙๗/๓๔

อัลเบิร์ต ไอสไตน์

อัลเบิร์ต ไอสไตน์ได้เริ่มสงสัยว่า พระพุทธศาสนาอาจเป็นศาสนาที่ให้คำตอบต่อคำถามที่เขากำลังพยายามค้นหาอยู่ ในช่วง ๑ ปีสุดท้าย ก่อนที่จะเสียชีวิตนั้น(ค.ศ.๑๙๕๔) มหาวิทยาลัยปรินซ์ตันได้ตีพิมพ์งานเขียนชิ้นหนึ่งของเขาชื่อเรื่อง " The Human Side " ซึ่งนักฟิสิกส์ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลผู้นี้ ได้กล่าวทิ้งท้ายให้เป็นปริศนาแห่งโลกอนาคตว่า

The religion of the future will be a cosmic religion. It should transcend personal God and avoid dogma and theology. Covering both the natural and the spiritual, it should be based on a religious sense arising from the experience of all things natural and spiritual as a meaningful unity. Buddhism answers this description. If there is any religion that could cope with modern scientific needs it would be Buddhism. (Albert Einstein)[1]

ศาสนาในอนาคตจะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรจะเว้นคำสอนแบบเบ็ดเสร็จ(แบบ สำเร็จรูปที่ให้เชื่อตามเพียงอย่างเดียว) และแบบพึ่งพาเทพเจ้า ศาสนานั้นเมื่อครอบคลุมทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนสามัญสำนึกทางศาสนาที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ตรงต่อสิ่ง ทั้งปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจอย่างเป็นหน่วยรวมที่มีความหมาย พระพุทธศาสนาตอบข้อกำหนดนี้ได้ ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ปัจจุบัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระพุทธศาสนา"

คำ พูดของไอสไตน์นั้นมีความนัยสำคัญที่ซ่อนอยู่และรอคอยการค้นพบ ...ซึ่งอันที่จริงแล้ว พระพุทธเจ้าได้ตอบให้เบ็ดเสร็จก่อนหน้านั้นแล้วกว่า ๒๕๐๐ ปี

"ความจริง" คืออะไร

ความจริงแท้ คือ สิ่งที่พิสูจน์ได้ ด้วยอุปกรณ์ และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ แต่..อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ก็ยังพิสูจน์ความมีอยู่จริงของ นรก สวรรค์ และ มรรค ผล นิพพานไม่ได้ แต่..พุทธศาสนาท้าให้พิสูจน์ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน มาตลอด ๒๐๐๐ ปี เมื่อยังมีผู้ตัดสินใจบวชถวายชีวิตในพุทธศาสนาอยู่ นั่นก็แสดงว่า ผู้นั้นได้ยอมจำนนต่อคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างไม่มีเงื่อนไข.. นี่แล..คือความจริง เหนือจริงของพุทธศาสนา



[1] 1954, from Albert Einstein:The Human Side, edited by Helen Dukas and Banesh Hoffman, Princeton University Press] และ Written statement (September 1937) as quoted in Albert Einstein, The Human Side: New Glimpses From His Archives (1981) edited by Helen Dukas and Banesh Hoffman ISBN 0691023689

http://members.shaw.ca/sanuja/buddhismquorts.html


พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี
*************************
ที่มา
http://www.tlcthai.com/club/view_topic.php?club=buddhism&club_id=1278&table_id=1&cate_id=788&post_id=11639

No comments: