Sunday, June 10, 2007

ต้นกำเนิดของศาสนา

ต้นกำเนิดของศาสนา


ศาสนา คืออะไรและเป็นมาอย่างไร


มนุษย์ดึกดำบรรพ์มีชีวิตอยู่ท่ามกลางปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหลายอย่าง

ทั้งที่เอื้อประโยชน์แก่การดำรงชีวิต และที่ทำลายล้างสร้างความหายนะและ

ทุกข์ยากเดือดร้อน มนุษย์ได้พบกับภัยธรรมชาติและเหตุการณ์อันน่าสะพรึงกลัว

เช่น ฝนตกหนัก น้ำท่วม น้ำหลาก ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง แผ่นดินถล่ม ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น

ทำให้มนุษย์เกิดความกลัว ความไม่มั่นคง ความหวาดผวา และความทุกข์ทั้ง

ทางกายและจิตใจ มนุษย์สมัยนั้นไม่รู้ว่า สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

อะไรทำให้เกิด คงต้องมีผีสางเทวดา หรือพระเจ้าที่มีฤทธิ์มีอภินิหารอยู่เบื้องหลัง

สิ่งเหล่านี้อยู่ๆก็เกิดขึ้น จึงเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาที่จะเข้าใจได้ จึงโมเม

เอาว่าเป็นผลงานของพระเจ้าประจำสิ่งที่เกิดขึ้น และมนุษย์ก็เริ่มทำการสักการะ

บูชาด้วยวิธีต่างๆ แม้ด้วยเลือดและชีวิต หวังที่จะเอาใจสิ่งลึกลับที่อยู่เบื้องหลัง

ปรากฏการณ์เหล่านั้น นอกจากนั้นยังมีการอ้อนวอนขอให้คุ้มครองให้เขาปลอดภัย

อยู่ดีมีสุข จึงมีประเพณีขอบคุณพระเจ้าปฏิบัติสืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน


ทำไมต้อง-พระพุทธศาสนา














เมื่อปรากฏการณ์บางอย่างเป็นที่โปรดปรานและพอใจ

มนุษย์ก็คิดว่าเป็นการกระทำของพระเจ้าเช่นกัน จุดมุ่งหมายที่เขาทำการบูชา

ก็เพื่อให้เขาได้รับการคุ้มครองและได้รับพรจากพระเจ้า เพื่อทำให้การดำเนิน

ชีวิตของพวกเขาไม่ประสบความยากลำบากต่างๆ เมื่อแนวคิดนี้ได้พัฒนาขึ้นมา

การประกอบพิธีกรรมอย่างอื่นที่สำคัญๆ ก็เข้ามาผสมโรงด้วย

เช่นพิธีกรรมประจำเทศกาลต่างๆ แต่ละชุมชนก็มีรูปแบบการประกอบพิธีกรรม

ต่างกันออกไปตามความต้องการและความจำเป็นทางภูมิประเทศ

เมื่อรูปแบบของพิธีกรรมและความคิดในแง่ปรัชญาวิวัฒนาการขึ้นมา คำว่า

ศาสนา” (Religion) ก็กลายเป็น แกน ของทุกวัฒนธรรมในโลก

ดังนั้น ศาสนาเกิดขึ้นในโลก ก็เพราะมนุษย์เองเป็นผู้ตั้งขึ้น

เพื่อหาทางปกป้องคุ้มครองตนเองจากสิ่งที่ตนกลัว เพราะความโง่ รู้เท่าไม่ถึงการณ์

ความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับชีวิต และปรากฏการณ

์ทางธรรมชาติ ทั้งหมดนี้ทำหน้าที่เสมือนเป็นรากฐานของคำว่า


ศาสนาเปรียบเหมือนกับวัสดุต่างๆ เช่น อิฐ หิน ปูน ทราย และดิน

ที่ใช้เป็นส่วนประกอบรากฐานของตัวอาคาร ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อ

เป็นที่พำนักพักพิง เพื่อหลบฝน หลบหนาวและแดดร้อน

หลังจากนั้น มนุษย์ก็ได้ตบแต่งประดับประดาตัวอาคาร คือ ศาสนา

ด้วยการนำเอา ศรัทธา” (faith) “การถวายเครื่องสังเวย” (offerings)

การสวดอธิษฐาน” (prayers) “การสาบาน” (Vows) “การลงโทษ” (penalties)

ศีลธรรม” (morals) “จริยธรรม” (ethics) มาใช้ในนามของพระเจ้า

เพื่อควบคุมมนุษย์ชาติ และเพื่อค้นหาสถานที่อมตะที่เรียกว่า

แดนสวรรค์” (paradise) เพื่อความสุขและสันติชั่วนิรันต์ของวิญญาณ

หลังจากตายแล้ว


การอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา


ต่อมาเมื่อมีศาสนาอีกศาสนาหนึ่งที่เรียกชื่อตามศาสดาผู้สอนว่า


พระพุทธศาสนา บังเกิดขึ้น เรากลับพบว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ไม่ทรงใช้ความเชื่อแบบเก่าๆ เหล่านั้นเลย พระองค์ไม่ได้ใช้แนวคิดเรื่อง

พระเจ้าทฤษฎีเรื่อง วิญญาณ” “นรกชั่วนิรันตร์ หรือ สวรรค์อันอมตะ

ให้เป็นประโยชน์สำหรับการวางรูปแบบของพระพุทธศาสนา พระองค์ไม่ทรงใช้

ความกลัวหรือ แนวคิดที่ผิดไปจากความจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์

ทางธรรมชาติ เพื่อมาสนับสนุนศาสนาของพระองค์ ยิ่งกว่านั้น พระองค์ไม่บังคับ

ให้คนเชื่อหรือศรัทธาอย่างงมง่าย ทั้งยังไม่ให้ประกอบพิธีกรรม หรือบวงสรวง

สังเวยโดยไม่จำเป็น พระองค์ไม่ทรงเชื่อในเรื่องการทรมานตน การกำหนด

บทลงโทษ หรือการบัญญัติข้อห้ามต่างๆ ในการเผยแผ่ให้คนหันมาเชื่อและ

นับถือศาสนาของพระองค์ ทั้งไม่ทรงแสวงหาอำนาจจากพระเจ้าบนสวรรค์

มาสนับสนุนคำสอนของพระองค์ พระองค์ทรงใช้แนวความคิดที่ทรงคิดค้นจน

ประจักษ์ความจริง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง (สัมมาทิฐิ-Right Understanding)

เกี่ยวกับชีวิตและโลก ตลอดจนปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือความเป็นมา

ของจักรวาล ลักษณะเฉพาะที่แท้จริงของจิตและกาย ธาตุ และพลังงาน

การพัฒนาทางศีลธรรมและวิญญาณ ระเบียบวินัย การฝึกจิต และ การทำจิตให้บริสุทธิ์
ความรู้ที่เกิดจากปัญญา และการตรัสรู้ เพื่อสร้างสิ่งที่เรียกว่า
พระพุทธศาสนา


จริงอยู่ พระองค์ ทรงใช้ข้อมูลบางอย่างที่นักศาสนาอื่นบางท่านใช้อยู่ในขณะนั้น
เช่นเรื่อง
กรรม-การกระทำและผลของการกระทำ” “การตายแล้วเกิด
และหลักศีลธรรมบางประการ แต่พระองค์ก็ไม่ทรงทำตามโดยใช้วิธีการเดิม
หรือ ในความหมายเดิม พระองค์ทรงกลั่นกรอง และนำมาแสดงโดยใช้หลักเหตุผล
ซึ่งเป็นหลักการที่วิทยาศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบันใช้อยู่

ที่มา หนึ่งในคอลัมน์ของธรรมจักษุ เรื่องทำไมต้องพระพุทธศาสนาตอนท ี่1 โดย...พิพัฒน์ บุญยง
พิมพ์ลงในนิตยสาร "ธรรมจักษุ" ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ 2545
http://mahamakuta.inet.co.th/T-BOOK/February-45.html#february

No comments: