Wednesday, June 20, 2007

ไม้พุทธประวัติ...มะม่วง

มะม่วง
Mangifera indica Linn.


ชื่อพื้นเมือง

ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ
ชื่อวงศ์
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์




ขุ (กาญจนบุรี), โคกแล้ะ(ละว้า-กาญจนบุรี), เจาะช๊อก,ช้อก(ชอง-จันทบุรี), หมักโม่ง (เงี้ยว-ภาคเหนือ), โตร๊ก(นครราชสีมา)
เปา (มาเลย์-ภาคใต้), แป (ละว้า-เชียงใหม่)
อมฺพ (อัม-พะ), อมฺโพ (อัม-โพ), เสตมฺโพ (เส-ตัม-โพ)
Mangifera indica Linn.
Mango Tree
Anacardiaceae
มะม่วงเป็นไม้ดั้งเดิมแถบเอเชียเขตร้อนทั่วไป เช่น อินเดีย ไทย พม่า
พบตามป่าทั่วๆไป และปลูกเป็นไม้ผล ตามบ้าน
เพาะเมล็ด ติดตา ทาบกิ่ง ตอนกิ่ง เลี้ยงเนื้อเยื่อ
ผลดิบช่วยระบายอ่อนๆ เนื้อในเมล็ดรักษาโรคท้องเดิน ยางจากต้นและผลดิบเป็นพิษกัดผิวหนัง ผลดิบ ผลสุก เป็นผลไม้และ
ทำน้ำปานะ ผลดิบทำอาหารหวานคาว ใบอ่อนเป็นผักจิ้ม เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง


มะม่วง ฮินดูเรียก "อะมะ" "อะมะริ" ตามพุทธประวัติกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับอยู่ใน "สวนอัมพวาราม" ของหมอชีวกโกมารภัจจ์ คือป่ามะม่วง
อีกตอนหนึ่ง ในขณะที่พระพุทธเจ้าได้ไปพำนักอยู่กับกัสสปะชฎิลดาบส ซึ่งเป็นพระฤๅษี พระฤๅษีได้กราบทูลนิมนต์ภัตตากิจ พระพุทธองค์ตรัสให้พระฤๅษีไปก่อน แล้วเสด็จเหาะไปเก็บผลมะม่วง ผลหว้า ฯลฯ และเสด็จไปสู่ดาวดึงส์เทวโลก นำเอาปาริฉัตรพฤกษชาติกลับมาด้วย และแล้วเสด็จกลับไปสู่ที่โรงเพลิงก่อนฤๅษีตนนั้น

มะม่วง เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ อยู่ในสกุลเดียวกับมะม่วงป่า มะม่วงขี้ไต้ คือสกุล " Mangifera " ในวงศ์เดียวกันกับมะปริง คือ วงศ์ " Anacardiaceae "
ลักษณะ ไม้ต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาล หรือน้ำตาลดำ ถ้าสับเปลือกมียางใสๆ ซึมออกมา ยางเมื่อถูกอากาศนานๆ จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ยางนี้จะกัดผิวหนัง ใบดกหนาทึบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ใบ เดี่ยว รูปขอบขนานแกมรุปหอก ยาว เนื้อใบหนาเหนียวเป็นมัน ดอก ช่อ ดอกย่อยสีเหลืองอ่อนๆ ขนาดเล็กมาก รวมกันอยู่เป็นช่อใหญ่ออกที่ปลายกิ่ง ในช่อจะมีดอกทั้งเพศผู้และเพศเมียปะปนกันอยู่ เกสรตัวผู้มี 5 อัน แต่จะเป็นเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์เพียงหนึ่งอัน ผล กลมหรือรี มีเนื้อมาก มีเมล็ด 1 เมล็ด ผลสุกเนื้อจะนิ่ม มีสีเหลือง ถึงเหลืองส้ม กลิ่นหอม รสหวานมีเส้นใยมาก

No comments: