| สีเสียด |
ชื่อพื้นเมือง | สีเสียดแก่น(ราชบุรี), สีเสียดเหนือ(ภาคกลาง), สีเสียดลาว(ทั่วไป), สีเสียดเหลือง(เชียงใหม่),กะเมีย(ภาคใต้) เสเรยฺยก (เส-เรย-ยะ-กะ), เสเรยฺยโก (เส-เรย-ยะ-โก),ขทิร (ขะ-ทิ-ระ) Acacia catechu willd. Cutch Tree, Catechu Tree, Kathe of India Mimosaceae พม่า ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ทนทานต่อความแห้งแล้ง และทนไฟได้ดี เพาะเมล็ด เปลือกต้น แก้บิด แก้ท้องเดิน ใช้ต้มกับน้ำใช้ล้างแผลเปื่อย แก่น ใช้ต้มกินแก้ท้องเดิน ใช้ฝนกับน้ำทาบริเวณที่เป็นโรค ผิวหนัง สำหรับสีเสียด (สารสกัดจากการใช้แก่นต้มเคี่ยวกับน้ำ จนข้นทิ้งไว้ให้เย็น มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง สีน้ำตาล เปราะ รสฝาด) นิยมใช้ใส่กับปูนกันปูนกัดปาก เมื่อกินร่วมกับหมากพลู สีเสียด ใช้เป็นยาแก้ท้องเดิน ฝนกับน้ำ ทารักษาแผลน้ำ กัดเท้า ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง และใช้เป็นสีย้อมให้สีน้ำตาลแดง |
สีเสียด ชาวฮินดูเรียก "แคร" ตามพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ ได้ 8 พรรษา ได้เสด็จไปประทับ ณ "ภูสกภวัน" บางเล่มเรียก "เภสกลาวัน" คือ ป่าไม้สีเสียด ใกล้สุงสุมารคีรีในภัคคฏฐี บางเล่มว่าในแคว้นภัคคะ
|
|
|
สีเสียด เป็นพันธุ์ไม้ในกลุ่มกระถินณรงค์ ชะอม คือ อยู่ในสกุล " Acacia " ในวงศ์ " Mimosaceae "
ลักษณะ เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ ลำต้น เปลาตรง เปลือกสีเทาคล้ำ แตกเป็นสะเก็ดหลุดห้อยลง ตามกิ่งก้านมีหนามโค้งออกเป็นคู่ ถ้าต้นโตเต็มที่ กิ่งก้านจะแตกที่บริเวณกลางต้นขึ้นไป บริเวณโคนของต้นจะไม่มีกิ่ง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อย จะมีขนาดเล็กมาก ดอก ช่อ ช่อดอกออกเป็นช่อแบบก้านธูป หรือรูปทรงกระบอก ยาว 5-10 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีนวล มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกตามซอกใบ 1-3 ช่อ ผล เป็นฝักแบนตรง เมื่อแก่สีน้ำตาลแตก 2 ซีก
No comments:
Post a Comment