Wednesday, June 20, 2007

ไม้พุทธประวัติ..หญ้ากุศะ

หญ้ากุศะ
Desmostachy bipinnata Stapf.


ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อพ้อง
ชื่อสามัญ

ชื่อวงศ์
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์

กุศะ (ไทย)
กสะ (กะ-สะ), กุส (กุ-สะ) ,กุโส (กุ-โส), พริหิส (พะ-ริ-หิ-สะ), ทพฺภ (ทับ-พะ)
Desmostachy bipinnata Stapf
Poa cynocuroides Retz.
Kush, Kusha grass
Gramineae
(Poaceae)
เนปาล อินเดีย
ขึ้นตามที่รกร้างและที่โล่งๆ ทั่วไป
เพาะเมล็ด แยกกอ
ทั้งต้นใช้เป็นยาฝาดสมาน ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ รากมีรสหวานเป็นยาเย็น แก้อาการกระหายน้ำ


หญ้ากุศะ เป็นหญ้าชนิดหนึ่งซึ่งถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก ในพุทธประวัติกล่าวไว้ว่า พระสิทธัตถะได้รับหญ้ากุศะ 8 กำ จากโสตถิยะพราหมณ์ นำเอามาทรงลาดต่างบัลลังก์ ภายใต้ควงศรีมหาโพธิ พอรุ่งอรุณก็ได้สำเร็จพระโพธิญาณ และต่อมาก็ได้ทรงชนะมารบนบัลลังก์หญ้ากุศะนี้ หญ้านี้จึงเป็นหญ้าที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง
หญ้ากุศะ เป็นพืชในวงศ์เดียวกับไม้ไผ่และหญ้าอื่นๆ คืออยู่ในวงศ์ " Gramineae " หรือ " Poaceae "
ลักษณะหญ้ากุศะ เป็นหญ้าชนิดหนึ่งชอบขึ้นในที่แห้งแล้ง และขึ้นตามริมฝั่งแม่น้ำ เป็นหญ้าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก ใช้ในทางศาสนา ในงานมงคล เช่น การแต่งงาน ฯลฯ ชอบขึ้นเป็นกอ เหง้าใหญ่อวบ ใบ รูปยาวแหลมเหมือนหอก ขอบใบแหลมคม ดอก ช่อ รูปปิรามิด หรือเป็นแท่งตั้งตรง แข็ง สีน้ำตาลอ่อน ดอกจะออกตลอดฤดูฝน

No comments: