| กุ่มบก |
ชื่อพื้นเมือง | ผักกุ่ม (ศรีสะเกษ) ปุณฺฑริก (ปุน-ดะ-รี-กะ) ,วรโณ (วะ-ระ-โน), กเรริ (กะ-เร-ริ), วรณ (วะ-ระ-นะ) Crateva adansonii DC. subsp. trifoliata Jacobs Capparis trifoliata Roxb. Sacred Barnar} Caper Tree Capparaceae ( Capparidaceae) พบในทวีปเอเชียและแอฟริกา ทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ชอบขึ้นใกล้ๆน้ำ ชอบแสงมาก เพาะเมล็ด ใบต้มน้ำดื่มบำรุงหัวใจ ขับลม ใบสดตำใช้ทารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เปลือก ต้น รวมกับเปลือกต้น ของกุ่มน้ำ และเปลือกทองหลางใบมน ต้มน้ำดื่ม ช่วยขับลม แก่นใช้รักษาริดสีดวงทวาร รากบำรุงธาตุ ใบและเปลือก ราก ใช้ทำยาทาถูนวด ช่วยให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น |
กุ่มบก เป็นไม้ต้น ชาวฮินดูเรียก "มารินา" ตามพุทธประวัติกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จไปซักผ้าบังสุกุลที่ห่อศพนางบุณณทาสี ในอามกสุสาน (ป่าช้าผีดิบ) แล้วนำไปซัก จากนั้นก็หาที่ที่จะตากผ้าบังสุกุลนี้ พฤกษเทวดาซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ต้นกุ่มบก ได้โน้มกิ่งต้นกุ่มบกให้ต่ำลงมา เพื่อให้เป็นที่ตากจีวร
กุ่มบก เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ เปลือกสีเทา มีรูระบายอากาศสีขาวอยู่ทั่วไป เป็นไม้สกุลเดียวกันกับกุ่มน้ำ คือ สกุล " Crateva " ในวงศ์ " Capparidaceae " หรือ " Capparaceae " กุ่มบกนี้มีเนื้อไม้สีขาวปนเหลือง เนื้อละเอียด ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ก้านใบยาว มีใบย่อย 3 ใบ รูปวงรีหรือรูปไข่ ดอก ช่อ ออกที่ง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวเมื่อแรกบานแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน เกสรตัวผู้สีม่วงมีจำนวนมาก ผล สด รูปกลมรี ห้อยลง ก้านผลยาว เมื่อสุกสีน้ำตาล
No comments:
Post a Comment