| มะขามป้อม |
ชื่อพื้นเมือง | กันโตด (เขมร-จันทบุรี), กำทวด (ราชบุรี),มั่งลู่ สันยาส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) อมตา (อะ-มะ-ตา), อามาลกี (อา-มะ-ละ-กี), อามลก (อา-มะ-ละ-กะ),อามลโก(อา-มะ-ละ-โก) Phylanthus emblica Linn. Emblic Myrabolan, Malacca Tree, Indian Gooseberry, Amala Plant, Amalak Tree Euphorbbiaceae พบในเอเชียเขตร้อน ชอบดินที่มีการระบายน้ำได้ดี เพาะเมล็ด เปลือกต้นต้มน้ำดื่มแก้ไอ ผลสดมีวิตามินซีสูง ใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ผลใช้แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ช่วยลดอาการกระหายน้ำ เนื้อไม้ใช้ทางการเกษตร ใบสดและเปลือกต้นย้อมผ้าให้สี้นำตาลแกมเหลือง |
มะขามป้อม ฮินดูเรียก "อะมะลา" หรือ "อะมะลิกา" ในพุทธประวัติ กล่าวไว้เช่นเดียวกับเรื่องของมะม่วง คือในคราวที่พระพุทธองค์เสด็จไปเก็บมะม่วง ก็ได้ทรงเก็บมะขามป้อมมาด้วย
|
มะขามป้อม เป็นพันุ์ไม้พวกเดียวกับ มะยม ลูกใต้ใบ หญ้าใต้ใบ คือสกุล "Phyllanthus " และอยู่ในวงศ์เดียวกับยางพารา สลัดได คือวงศ์ " Euphorbiacea "
ลักษณะ มะขามป้อมเป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ แต่จะผลิใบใหม่เร็วมาก เปลือก สีเขียวอ่อนปนเทา กิ่งจะโน้มโลง ใบ เป็นใบเดี่ยว แต่ทว่าดูแล้วเหมือนใบประกอบ เพราะใบขนาดเล็กมาก เล็กกว่าใบมะขาม ใบจะออกสลับเรียงแถวในระนาบเดียวกัน รุปขอบขนาน ดอก ช่อสีนวล ออกเป็นกระจุกตรงโคนของกิ่งย่อยออกมายาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร แล้วจึงจะเป็นส่วนของใบ ดอกแยกเพศ แต่อยู่ในกิ่งเดียวกัน ผล กลมมีเส้นแนวยาวตามผิวผลหกแนว ผลแก่สีเขียวอ่อน รสเปรี้ยวอมฝาด เมล็ดกลมแข็งมี 1 เมล็ด
No comments:
Post a Comment