Wednesday, June 20, 2007

ไม้พุทธประวัติ ...โพธิ

โพธิ
Ficus religiosa Linn.


ชื่อพื้นเมือง

โพ โพศรีมหาโพ โพธิ (ภาคกลาง),ย่อง(แม่ฮ่องสอน),สลี(ภาคเหนือ),โพธิใบ

ชื่อบาลี

อสสตถ (อัด-สัด-ถุ), โพธิ (โพ-ทิ), อสสตโถ (อัด-สัด-โถ)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Ficus religiosa L.

ชื่อสามัญ

Po Tree} Bodhi Three} Peepul of India} Pipal of India} Sacred Fig Tree
Pipal Tree} Bo Tree

ชื่อวงศ์

Moraceae

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย และพบทั่วๆไปทั้งในลังกาและทวีปเอเชีย

สภาพนิเวศน์

ขึ้นได้ในดินทั่วๆไป ไม่ชอบน้ำขังแฉะ แต่ก็ต้องมีความชุ่มชื้นพอควร

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด นกเป็นตัวช่วยกระจายพันธุ์ที่ดี อาจใช้กิ่งชำ หรือกระโดงจากราก
ประโยชน์ ทางยา น้ำจากเปลือกช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน ผล ใช้เป็นยาระบายและช่วยย่อย



่างยิ่งอีกชนิดหน
ต้นโพธิ
ลังกาเรียก "Po Tree" ชาวฮินดูเรียก "Pipal" หรือ "Bodhi Tree" เป็นไม้ที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนาอยึ่ง ดังความในพุทธประวัติ
ต้นโพธิ เป็นสหชาติกับพระพุทธเจ้า (สหชาติ หมายถึงบุคคลหรือต้นไม้ที่เกิดขึ้นในวัน เดือน ปี เดียวกันกับพระพุทธเจ้า) ต้นโพธินี้เป็น 1 ใน 7 ของสหชาติ

ตอนพระพุทธเจ้าตรัสรู้
เจ้าชายสิทธัตถะ ในระหว่างบำเพ็ญพรต เพื่อหาสัจธรรมได้ประทับนั่งที่โคนต้นโพธิ จนกระทั่งพระองค์ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ คือ อริยสัจ 4 ประกอบด้วย ทุข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อวันเพ็ญเดือน 6 หลังจากพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว แต่ก็ยังต้องทรงทำจิตให้แน่วแน่ตั้งมั่นยิ่งขึ้น จนกิเลสมิอาจรบกวนได้ต่อไป พระองค์ยังคงประทับอยู่ใต้ต้นโพธิอีกเป็นเวลา 7 วัน และกล่าวกันว่า ต้นพระศรีมหาโพธิที่พระพุทธองค์ประทับจนตรัสรู้นั้น ได้ถูกประชาชนผู้ถือนับถือศาสนาอื่นโค่นทำลายไป แต่ด้วยบุญญาภินิหาร มื่อนำนมโคไปรดที่รกจึงมีแขนงแตกขึ้นมาใหม่ และมีชีวิตอยู่มานานและแล้วก็ตายไป แล้วกลับแตกหน่อขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ต้นโพธิที่พุทธคยาที่อยู่ในปัจจุบันนี้ นับว่าเป็นช่วงที่สามของต้นดั้งเดิม
หมายเหตุ คำว่าโพธิ มิได้เป็นชื่อของไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่เป็นชื่อเรียกต้นไม้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ประทับใต้ต้นไม้ต้นนั้นๆ และได้ตรัสรู้ เป็นต้นไม้ที่ชาวพุทธ พราหมณ์ และชาวฮินดูให้ความเคารพนับถือย่างสูง (โพธิ แปลว่า เป็นที่รู้ เป็นที่ตรัสรู้ โพธิรุกข หมายถึงต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับและตรัสรู้ ยกตัวอย่างเช่น พระพุทธกัสสปะ ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง พระศรีมหาโพธิ หรือ โพธิรุกข ได้แก่ "ต้นโพธินิโครธ" สำหรับพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธโคตมะ พระศรีมหาโพธิ คือต้นไม้ที่ชื่อว่า "ต้นโพธิใบ" )


ลักษณะ ต้นโพธิเป็นไม้ขนาดใหญ่มาก แตกกิ่งก้านสาขา ผลัดใบ ยอดอ่อนมีสีน้ำตาลแดง ผิวใบเป็นมัน เป็นพืชในสกุลเดียวกับไทร กร่าง คือสกุล "Ficus " อยู่ในวงศ์ " Moraceae " ไม้ในวงศ์นี้จะมียางสีขาว โคนต้นจะเป็นพูพอนขนาดใหญ่ ลำต้น แตกกิ่งก้านสาขา ปลายกิ่งลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ปลายยอดจะมีหูใบ เป็นปลอกแหลมสีน้ำตาลแดง ผิวเป็นมันหุ้มมิด กิ่งมีรากอากาศห้อยลงมาบ้าง ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง เมื่อแก่มีสีเขียว ก่อนใบจะร่วงหล่นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวใบเกลี้ยง เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ห้อยลง ก้านใบยาว ใบรูปป้อม โคนใบป้าน หรือเว้าเข้าเล็กน้อยแล้วผายกว้างออกเป็นรูปหัวใจ ปลายสุดจะคอด และเป็นติ่งยาวมาก (ประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตร) ติ่งน้บางใบมีความยาวมากกว่าครึ่งหนึ่งของความยาวของแผ่นใบ ดอก เป็นช่อกลมๆ ออกตอนปลายกิ่ง เจริญไปเป็นผล ผล กลมเล็ก สีเขียว เมื่อแก่จัดสีแดงคล้ำหรือม่วงดำและร่วงหลน
โพธิ ในสกุล Ficus มี 2 ชนิด คือ โพธิใบ Ficus religiosa Linn. ส่วนอีกชนิดหนึ่งเรียก โพธิขี้นก หรือโพธิประสาท มีชื่อวิทยาศาสตร์ F.rumphii Bl. (Mock Bodh Tree) ข้อแตกต่างของโพธิ 2 ชนิดนี้คือ ใบและผล ใบของโพธิขี้นกขนาดใบจะเล็กกว่าของโพธิใบมาก (ติ่งปลายใบไม่เกิน 2 เซนติเมตร) ผลสุกของโพธิขี้นกมีสีดำ ส่วนของโพธิใบจะมีสีแดงคล้ำหรือม่วงดำ

No comments: