ตาล
|
ชื่อพื้นเมือง | ต๋าล (เชียงใหม่), โหนด(ภาคใต้), ตาล ตาลี (อินเดีย),ตาลโหนด ตาลใหญ่ (ทั่วไป), ทองถู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) |
ตาล ฮินดูเรียก "ตาละ" "ตาลี" ตามพุทธประวัติกล่าวไว้ว่า ในพรรษาที่ 2 หลังจากที่พระพุทธองค์สำเร็จสัมมาสัมโพธิญาณแล้วได้ไปประทับ ณ ลัฏฐีวนุทยานคือวนอุทยานที่เป็น "สวนตาลหนุ่ม" เพื่อโปรดให้พระเจ้าพิมพิสาร ผู้ซึ่งเป็นราชาแห่งแคว้นมคธ รวมทั้งบริวารทั้งหลายเข้าเฝ้า แล้วพระเจ้าพิมพิสารได้ทูลเชิญเสด็จเข้าประทับในเมือง และถวายพระกระยาหาร เสร็จแล้วได้ถวายเวฬุวนาราม แด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก
|
|
ตาล เป็นพืชพวกปาล์มชนิดหนึ่ง อยู่ในสกุล " Borussus " และอยู่ในวงศ์เดียวกับมะพร้าว หมาก คือวงศ์ " Palmae " หรือ "Arecaceae "
ลักษณะ ตาลเป็นพันธุ์ไม้พวกปาล์มที่มีลำต้นสูงใหญ่ ต้นตัวผู้และตัวเมียแยกกัน ต้นสูงได้ถึง 40 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของต้นประมาณ 50-60 เซนติเมตร ลำต้นผ่าออกเป็นเสี้ยนสีดำแข็งมาก ตรงไส้กลางลำต้นจะอ่อนนิ่ม ใบ เดี่ยว ขนาดใหญ่ รูปร่างเหมือนพัด ขอบใบหยัก ก้านใบใหญ่ยาว ยาว 1-2 เมตร แข็งแรง ขอบของก้านใบทั้งสองข้างมีหนามเหมือนฟันเลื่อยสีดำแข็ง และคมมาก โคนก้านใบจะแยกออกคล้ายคีมโอบหุ้มลำต้นไว้ ดอก ช่อ ดอกเพศผู้มีขนาดใหญ่และยาว ลักษณะเป็นแท่งๆ ในหนึ่งช่อดอกมีหลายสิบแท่งคล้ายนิ้วมือ เรียก "นิ้วตาล" แต่ละนิ้วยาวได้ 30-45 เซนติเมตร โคนกลุ่มช่อจะมีก้านช่อรวม และมีกาบแข็งๆ หลายกาบหุ้มโคนก้านช่อดอกอีกชั้นหนึ่ง ดอกเพศเมียจะออกคล้ายดอกเพศผู้แต่ละนิ้วจะมีปุ่มๆ ซึ่งเป็นอวัยวะของเพศ แต่ละดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร มีกาบแข็งๆ หุ้มแต่ละดอก แต่ละกาบจะเจริญเป็นกลีบเลี้ยง และจะคงอยู่จนเป็นผลตาล ผล รูปทรงกระบอกกลม ขนาดใหญ่ ผิวผลยังไม่สุกสีเขียวถึงน้ำตาล เมื่อผลแก่จัดมีสีน้ำตาลดำ ผลสุกจะนิ่มถ้าผ่าผลจะมีเนื้อเละๆ สีเหลืองหุ้มเส้นใยซึ่งเหนียวจำนวนมาก มีเมล็ดแข็ง 1-3 เมล็ด
No comments:
Post a Comment