Wednesday, June 20, 2007

ไม้พุทธประวัติ...มณฑา

มณฑา
Talauman candollei Bl.


ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ชื่อวงศ์
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์

จอมปูน จำปูนช้าง (สุราษฎร์ธานี), มณฑา (สตูล), ยี่หุบ(ภาคกลาง,ภาคเหนือ)
มณฺฑารวะ (มัน-ทา-ระ-วะ), มนฺทารโว (มัน-ทา-ระ-โว)
Talauma candollei Bl.
Magnolita
Magnoliaceae
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชอบแดดรำไร ในประเทศไทยขึ้นได้ดีทางภาคใต้ ที่มีความสูง 50-400 เมตรจากระดับน้ำทะเล
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง
ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้ดอกหอม


มณฑา ในพุทธประวัติกล่าวว่า พระมหากัสสปะเถระ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์บริวาร 500 รูป จะเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่กรุงกุสินารา ได้หยุดพักอยู่ข้างทาง เห็นอาชีวกผู้หนึ่งถือดอกมณฑามาแต่เมืองกุสินารา โดยเอาไม้เสียบดอกมณฑาเข้าเป็นคันกั้นต่างร่มเดินสวนทางมา พระมหากัสสปะเห็นดังนั้นก็สงสัยมาก เพราะดอกมณฑาเป็นดอกไม้ที่มิได้มีในมนุษยโลก แต่ปรากฎเฉพาะตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ครรภ์พระมารดา หรือเมื่อประสูติออกสู่มหาภิเนษกรมณ์อภิสมโพธิ ตรัสเทศนาพระธรรมจักรกระทำยมกปาฏิหาริย์ เสด็จจากเทวโลก กำหนดปลงพระชนมายุสังขาร จึงจะบันดาตกลงมาจากเทวโลก แต่บัดนี้มีดอกมณฑาปรากฎ หรือพระพุทธเจ้าจะเข้าสู่ปรินิพพานเสียแล้ว จึงเข้าไปถามอาชีวกผู้นั้น และได้ทราบว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จสู่ปรินิพพานมาแล้ว 7 วัน พระมหากัสสปะจึงพาพระภิกษุสงฆ์รีบเดินทางไปสู่นครกุสินารา



มณฑา เป็นไม้พุ่ม อยู่ในสกุลเดียวกันกับบุณฑา ยี่หุบปรี คือสกุล " Talauma " ในวงศ์เดียวกันกับพวกจำปา จำปี คือวงศ์ " Magnoliaceae"
มณฑาเป็นไม้พุ่ม ใบ เดี่ยว ออกสลับ รูปใบหอกขนาดใหญ่ เนื้อใบค่อนข้างเหนียว แผ่นใบมักเป็นคลื่นหรือเป็นลอน ดอก เดี่ยว สีเหลืองอ่อนขนาดใหญ่ ออกตามซอกใบ ใกล้ๆ ปลายกิ่ง ดอกรูปไข่แหลมหัวแหลมท้าย มักห้อยลง กลีบเลี้ยง 3 กลีบ สีเขียวอ่อนอมเทา หนาแข็ง กลีบดอก 6 กลีบ สีเหลืองอ่อน แข็ง จัดเป็น 2 ชั้น เกสรตัวผู้และตัวเมียมีจำนวนมาก ผล เป็นผลกลุ่ม ดอกจะบานในเวลาเช้าตรู่ มีกลิ่นหอมแรง

No comments: