| จันทน์แดง |
ชื่อพื้นเมือง | จันทน์แดง (ทั่วไป) รตฺตจนฺทน (รัต-ตะ-จัน-ทะ-นะ), รตฺตจนฺทนํ (รัต-ตะ-จัน-ทะ-นัง), สีสก (สี-สะ-กะ) Pterocarpus santalinus Linn. filius. Red Sandal Wood, Red Santal, Ruby Wood,Chandam, Red Saunders, Santalum Rubrum Papilionaceae อินโดจีนและตอนใต้ของอินเดีย ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ในแก่นมีสารสีแดง ชื่อ "santalin" เป็นสีที่ละลายในแอลกอฮอล์ ใช้แต่งสีในยาบางชนิด |
จันทน์แดง เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ในพุทธประวัติกล่าวว่า มีเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ ได้ปุ่มไม้จันทน์แดง จึงนำมาทำเป็นบาตร แล้วนำไปแขวนไว้บนยอดเสา ซึ่งทำขึ้นจากไม้ไผ่ต่อๆกันจนสูงถึง 60 ศอก และประกาศว่าผู้ใดสามารถเหาะมาเอาบาตรไปได้ จะเชื่อว่าผู้นั้นเป็นองค์อรหันต์ พระปิณโฑลภารทวาชเถระได้แสดงปาฏิหาริย์ไปนำเอาบาตรมาได้ ความทราบถึงพระพุทธเจ้า ทรงตำหนิในการกระทำเช่นนั้นแล้วทำลายบาตรให้เป็นจุล แจกให้พระสงฆ์ทั้งหลายบดใช้เป็นโอสถใส่จักษุ และทรงมีบัญญัติห้ามมิให้สาวกกระทำปาฏิหาริย์สืบไป
จันทน์แดง เป็นพืชในสกุล " Pterocarpus " ได้แก่พวกประดู่ ประดู่ป่า อยู่ในวงศ์ " Papilionaceae "
ลักษณะ จันทน์แดงเป็นไม้ใหญ่ แตกกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยรูปไข่ปลายใบเว้าเข้า ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก สีเหลือง รูปดอกเหมือนรูปดอกถั่ว ผล กลมแห้งเป็นฝัก ภายในมี 2 เมล็ด
No comments:
Post a Comment