เกด
|
ชื่อพื้นเมือง | เกด ราชายตน (รา-ชา-ยะ-ตะ-นะ),ชีริกา (ชี-ริ-กา),ราชายตนํ (รา-ชา-ยะ-ตะ-นัง) Manikara hexandra Dub. Mimusops hexandra Roxb. Milkey Tree Sapotaceae อินเดีย พม่า ไทย ชอบขึ้นในที่แห้งแล้ง เป็นดินทรายหรือดินปนหิน ไม่ชื้นแฉะ สภาพป่าที่ค่อนข้างแห้งแล้งในเอเชีย พบตามหินปูน ตามเกาะที่มีเขาหินปูน ในประเทศไทยพบมากตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป เพาะเมล็ด ผล รับประทาน ทำให้ชุ่มคอ ลดอาการกระหายน้ำ ผลสุกเป็นผลไม้ เนื้อไม้ ต่อเรือและทำลูกสลัก ใช้ในกาต่อเรือ |
เกด ฮินดูเรียก "ครินี" หรือ "ไรนี" ตามพุทธประวัติ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ใต้ต้นจิก 7 วัน แล้วได้เสด็จไปทรงประทับต่อใต้ต้นเกดอีก 7 วัน
เกด เป็นพืชสกุลเดียวกับละมุดฝรั่ง ละมุดสีดา คืออยู่ในสกุล " Manikara " วงศ์ " Sapotaceae "
ลักษณะ ไม้ต้นขนาดใหญ่ มีน้ำยางขาว ลำต้น เปลาค่อนข้างตรง เปลือกแตกร่อนเป็นสะเก็ดสีดำ เนื้อไม้สีน้ำตาลแดง เหนียว แข็งมาก กิ่งมักคดงอเป็นข้อศอก ไม่ผลัดใบ ถ้าต้นยังเล็กอยู่ ปลายกิ่งและกิ่งจะมีลักษณะคล้ายหนามขนาดใหญ่และมีใบออกที่ปลายกิ่ง ใบ เดี่ยว ออกเวียนสลับ รูปไข่กลับ ใบจะเรียวสอบมาทางโคนใบ ผิวใบด้านบนเป็นมัน ผิวใบด้านล่างมีคราบขาว เส้นใบจะนานกันและค่อนข้างถี่ เนื้อใบหนา ดอก ช่อ ออกเป็นกระจุก 3-5 ดอก ตามใบ ดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ผล กลมรี โดยประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร สุกสีเหลืองแสด ผลรับประทานได้ รสหวาน
No comments:
Post a Comment